การที่นักการเมืองรุ่นใหญ่อย่างนายอุทัย พิมพ์ใจชน อดีตประธานสภาร่างรัฐธรรมนูญฉบับสีเขียว พ.ศ.2540 อดีตประธานรัฐสภาสมัยพรรคไทยรักไทย ออกมาแสดงบทบาทยื่นหนังสือถึงประธานรัฐสภาคนปัจจุบันให้ถอนญัตติร่างพ.ร.บ.นิรโทษกรรม และร่างพ.ร.บ.บัญญัติปรองดอง
ในจังหวะที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังเร่งเครื่องผลักดันเต็มสูบ ส่วนฝ่ายค้านก็ตั้งกำแพงต้านอย่างเต็มที่ คือเพียงภาพของคนแก่ว่างงานที่อยากร่วมวงสนุก หรือเรื่องที่ผู้ใหญ่ที่หวังดีต่อประเทศชาติออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยที่มิอาจมองข้าม
ข้ออ้างของอดีตประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นักการเมืองรุ่นเก๋าที่ยุติบทบาทไปนานแล้ว ที่ว่าสังคมไทยยังเป็นปกติดี ไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายทั้งสองรูปแบบ อาจจะฟังดูบางเบาในภาพรวมเพราะสังคมไทยนั้นไม่ปกติมาหลายปีแล้ว ประกอบกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มามากมายจนถึงจุดว่าจะเอาหรือไม่เอาแล้ว ดังนั้นการขับเคลื่อนของนายอุทัยครั้งนี้จึงมีคำถามว่าเพราะ ได้ข้อมูลวงใน หรือเพราะเห็นอะไรที่จะเกิด
เป็นเพราะเห็นรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ช่วงวันที่ 1-10 สิงหาคม และการระดมกำลังตำรวจเข้ารักษาพื้นที่สำคัญในเขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบฯ โดยอ้างอิงข้อมูลของสันติบาลและหน่วยข่าวกรองที่ว่าจะมีผู้ชุมนุมประมาณ 2 หมื่นคน ที่จะมาชุมนุมอย่างยืดเยื้อ มีกลุ่มที่ต้องการสร้างสถานการณ์เพื่อยกระดับการชุมนุมสู่การจลาจลรุนแรงเพื่อหวังผลต่อเนื่อง
หรือเพราะว่าเห็นวงจรอุบาทว์ทางการเมืองกำลังย้อนกลับมาเล่นงานประเทศไทยอีกรอบ ด้วยกระแสประชาธิปไตยข้างถนน มีความพยามยามปลุกม็อบสร้างสถานการณ์รุนแรง นำไปสู่การยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นำประเทศไทยถอยหลังกลับสู่ระบอบเผด็จการอีกครั้ง ซึ่งนักประชาธิปไตยอย่างนายอุทัยมีจุดยืนต่อต้านอำนาจเผด็จการมาโดยตลอด
แต่ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นก็คงเพราะนายอุทัยเห็นว่าประเทศไทยต้องมองข้ามปัญหาที่ฉุดยึดประเทศไทยเอาไว้นานแล้ว เช่นเรื่องพาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกลับบ้าน เพราะนายอุทัยก็เคยขึ้นเวทีขับไล่มาก่อน การมองข้ามเรื่องปรองดอง เพราะนายอุทัยเชื่อว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองจะทำให้เกิดความแตกแยกรุนแรง และมองข้ามการนิรโทษกรรม เพราะนายอุทัยเห็นว่าเป็นแค่ปัญหาของคน 200-300 คนที่ถูกคุมขังในคุกอันเนื่องจากการชุมนุม ไม่ใช่ปัญหาของคนทั้งประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนั้นประเทศไทยก็คงต้องเดินหน้าด้วยกฎหมายที่ชัดเจนเด็ดขาดทุกกรณี ใครโกงบ้านโกงเมืองก็ต้องนำตัวกลับมาลงโทษ ใครก่อม็อบยึดทำเนียบยึดสนามบินสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติก็ต้องลงโทษดำเนินคดี ใครก่อม็อบเผาบ้านเผาเมืองเผาศาลากลางก็ต้องดำเนินคดี ใครสั่งสลายม็อบขอคืนพื้นที่และสั่งฆ่าผู้ชุมนุมด้วยกระสุนจริงก็ต้องดำเนินคดี
นายอุทัยเป็นนักกฎหมายและคงเชื่อมั่นในกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียว แต่กับยุคตุลาการภิวัตน์ที่เราได้เห็นการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน นายอุทัยจะมองเห็นบ้านเมืองสงบสุขหรือไม่
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////
ในจังหวะที่ฝ่ายรัฐบาลกำลังเร่งเครื่องผลักดันเต็มสูบ ส่วนฝ่ายค้านก็ตั้งกำแพงต้านอย่างเต็มที่ คือเพียงภาพของคนแก่ว่างงานที่อยากร่วมวงสนุก หรือเรื่องที่ผู้ใหญ่ที่หวังดีต่อประเทศชาติออกมาส่งสัญญาณเตือนภัยที่มิอาจมองข้าม
ข้ออ้างของอดีตประธานที่ปรึกษาหัวหน้าพรรคไทยรักไทย นักการเมืองรุ่นเก๋าที่ยุติบทบาทไปนานแล้ว ที่ว่าสังคมไทยยังเป็นปกติดี ไม่มีความจำเป็นต้องมีกฎหมายทั้งสองรูปแบบ อาจจะฟังดูบางเบาในภาพรวมเพราะสังคมไทยนั้นไม่ปกติมาหลายปีแล้ว ประกอบกับร่างกฎหมายทั้งสองฉบับก็ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์มามากมายจนถึงจุดว่าจะเอาหรือไม่เอาแล้ว ดังนั้นการขับเคลื่อนของนายอุทัยครั้งนี้จึงมีคำถามว่าเพราะ ได้ข้อมูลวงใน หรือเพราะเห็นอะไรที่จะเกิด
เป็นเพราะเห็นรัฐบาลประกาศใช้พ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงในราชอาณาจักร ช่วงวันที่ 1-10 สิงหาคม และการระดมกำลังตำรวจเข้ารักษาพื้นที่สำคัญในเขตพระนคร ดุสิต ป้อมปราบฯ โดยอ้างอิงข้อมูลของสันติบาลและหน่วยข่าวกรองที่ว่าจะมีผู้ชุมนุมประมาณ 2 หมื่นคน ที่จะมาชุมนุมอย่างยืดเยื้อ มีกลุ่มที่ต้องการสร้างสถานการณ์เพื่อยกระดับการชุมนุมสู่การจลาจลรุนแรงเพื่อหวังผลต่อเนื่อง
หรือเพราะว่าเห็นวงจรอุบาทว์ทางการเมืองกำลังย้อนกลับมาเล่นงานประเทศไทยอีกรอบ ด้วยกระแสประชาธิปไตยข้างถนน มีความพยามยามปลุกม็อบสร้างสถานการณ์รุนแรง นำไปสู่การยึดอำนาจล้มล้างรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง นำประเทศไทยถอยหลังกลับสู่ระบอบเผด็จการอีกครั้ง ซึ่งนักประชาธิปไตยอย่างนายอุทัยมีจุดยืนต่อต้านอำนาจเผด็จการมาโดยตลอด
แต่ถ้าไม่ใช่เช่นนั้นก็คงเพราะนายอุทัยเห็นว่าประเทศไทยต้องมองข้ามปัญหาที่ฉุดยึดประเทศไทยเอาไว้นานแล้ว เช่นเรื่องพาพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีกลับบ้าน เพราะนายอุทัยก็เคยขึ้นเวทีขับไล่มาก่อน การมองข้ามเรื่องปรองดอง เพราะนายอุทัยเชื่อว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองจะทำให้เกิดความแตกแยกรุนแรง และมองข้ามการนิรโทษกรรม เพราะนายอุทัยเห็นว่าเป็นแค่ปัญหาของคน 200-300 คนที่ถูกคุมขังในคุกอันเนื่องจากการชุมนุม ไม่ใช่ปัญหาของคนทั้งประเทศ
เมื่อเป็นเช่นนั้นประเทศไทยก็คงต้องเดินหน้าด้วยกฎหมายที่ชัดเจนเด็ดขาดทุกกรณี ใครโกงบ้านโกงเมืองก็ต้องนำตัวกลับมาลงโทษ ใครก่อม็อบยึดทำเนียบยึดสนามบินสร้างความเสียหายแก่ประเทศชาติก็ต้องลงโทษดำเนินคดี ใครก่อม็อบเผาบ้านเผาเมืองเผาศาลากลางก็ต้องดำเนินคดี ใครสั่งสลายม็อบขอคืนพื้นที่และสั่งฆ่าผู้ชุมนุมด้วยกระสุนจริงก็ต้องดำเนินคดี
นายอุทัยเป็นนักกฎหมายและคงเชื่อมั่นในกฎหมายที่เป็นมาตรฐานเดียว แต่กับยุคตุลาการภิวัตน์ที่เราได้เห็นการใช้กฎหมายสองมาตรฐาน นายอุทัยจะมองเห็นบ้านเมืองสงบสุขหรือไม่
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น