ขณะที่เศรษฐกิจไทยอยู่ในภาวะเสี่ยง และมีแนวโน้มที่เดินเข้าสู่เส้นทางของความยากลำบากมากขึ้น จากที่สภาพัฒน์ได้แถลงตัวเลขเศรษฐกิจไตรมาส 2 ของไทย ที่พบว่ามีการขยายตัวเพียง 2.8% ทั้งปรับลดคาดการณ์เติบโตของเศรษฐกิจทั้งปีลงมาอยู่ที่ 3.8-4.3% พร้อมปรับลดตัวเลขส่งออกจาก 7.6% ลดลงเหลือ 5% จนทำให้หลายฝ่ายตั้งข้อสังเกตว่าเศรษฐกิจไทยกำลังจะเดินสู่ "ภาวะเศรษฐกิจถดถอย" หรือไม่
สอดคล้องกับที่เกิดคำถามและกระตุ้นเตือนจากหลายภาคส่วน รวมทั้ง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มองว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาขาดการวางรากฐานเพื่อการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ให้ผลระยะสั้น โอกาสนี้ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายประสารถึงมุมมองต่อปัญหา แนวคิด และกลไกที่จะขับเคลื่อนไปสู่การวางรากฐานการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
- แนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
เพราะนโยบายเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง ๆ เป็นการมองระยะสั้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการเงินการคลังช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นนโยบายด้านดีมานด์ที่กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลระยะสั้นเป็นหลัก ซึ่งหากพูดกันแค่นี้คงไม่สามารถพาประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้ เช่น นโยบายการเงินส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ดูแลเสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนนโยบายการคลังก็พูดถึงเรื่องการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภค อย่างโครงการรถคันแรก เหล่านี้ไม่มีผลเป็นลูกโซ่ให้ประเทศเข้มแข็งในระยะยาว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดึงให้คนหันมาสนใจด้านซัพพลาย ที่จะเป็นตัวพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งในระยะยาวและยั่งยืนได้ ซึ่งหมายถึงการสร้างความพร้อมของประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพคน ด้านความรู้เทคโนโลยี วัฒนธรรม และความพร้อมของตลาดแรงงาน เหล่านี้คือซัพพลายไซด์ที่จะเป็นรากฐานของการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศ
- มีกลไกหรือเครื่องมืออะไรที่จะทำให้ฝ่ายการเมืองเห็นพ้อง
ก็เป็นความท้าทาย เวลานี้ก็เห็นบทเรียน อย่างอียิปต์มีเลือกตั้ง อีกข้างหนึ่งก็ล้ม มีความขัดแย้งกัน เราก็หวังว่าในบ้านเราจะไปแบบสันติได้ เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกันทุกฝ่าย เริ่มต้นต้องมีฝ่ายคิดจากนักวิชาการต่าง ๆ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายประชาชน และภาคเอกชน ต้องประกอบกันหมด คนที่คิดก็ต้องคิดอย่างมีหลักการ มีเหตุผล ฝ่ายการเมืองที่อาศัยฐานประชาชน หากการมีส่วนร่วมประชาชนมีทั้งปริมาณและคุณภาพก็จะมีพลังมากขึ้น สำหรับภาคเอกชนที่มีบทบาทเยอะในทางเศรษฐกิจก็ต้องสร้างแรงจูงใจให้ดี พร้อมกับมีหลักธรรมาภิบาลรวมถึงการใช้กฎหมายหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้นำทางการเมืองต้องมีหน้าที่ประกาศวิสัยทัศน์และนโยบายที่มีความต่อเนื่อง อย่างเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามกรอบเวลา 5 ปี เวลาฝ่ายการเมืองออกนโยบาย แม้จะเป็นระยะสั้นก็ต้องอ้างอิงถึง อย่าทำอะไรที่ขัดกัน
- ในส่วนของ ธปท.ทำอะไรได้บ้าง
ธปท.ก็พยายามทำส่วนของเรา เช่น ที่จะจัดสัมมนาเชิงวิชาการในเดือน ก.ย.นี้ หัวข้อ "การวางรากฐานสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย" เพราะก็รู้อยู่ว่าเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น นโยบายการเงิน ก็ทำได้ระดับหนึ่งในการดูแลเสถียรภาพระยะสั้น ที่เปิดโอกาสให้เสริมศักยภาพในระยะยาวได้ แต่การจะสร้างศักยภาพระยะยาว เรารู้ว่าข้อจำกัดนโยบายการเงินไปไม่ถึง ก็พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจร่วม เปิดเวทีให้คนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นช่วยกันในมุมต่าง ๆ
- จะทำอย่างไรไม่ให้เรื่องนี้อยู่แค่ในวงวิชาการ
เชื่อว่าทางการเมืองก็คงจะนำไปคิดบ้าง เพราะเราพยายามจะพูดเสมอว่า การกระตุ้นอุปโภคบริโภค หากทำเพราะเกิดน้ำท่วมใหญ่ ชุมนุมทางการเมือง สึนามิแบบญี่ปุ่น การกระตุ้นช่วงสั้น ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นการกระตุ้นด้วยการลงทุนจะยั่งยืนกว่า โดยเฉพาะที่ประเทศไทยเวลานี้มีการลงทุนน้อยกว่าในอดีต เดิมมีงบฯลงทุนกว่า 20% ของจีดีพี เวลานี้ก็เหลือเพียง 15-16% ทำให้งบฯลงทุนแต่ละปีก็น้อย
ตอนนี้รัฐบาลก็มีการพูดถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เราก็ยังมีเรื่องที่ไม่อยากให้ทำต่อเนื่องไปเยอะ เช่น โครงการรับจำนำข้าว รถยนต์คันแรก
- ลงทุน 2 ล้านล้านถือว่าตอบโจทย์ความยั่งยืนหรือไม่
เรื่องนี้เป็นโจทย์ 2 อันซ้อน ถ้าถามถึงความจำเป็นลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แน่นอนเราสนับสนุนให้มีนโยบายที่ทำต่อเนื่อง เพราะเวลานี้ค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ของไทย 15% ของจีดีพี แต่ของอเมริกาแค่ 8% ของจีดีพี พูดง่าย ๆ เราสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 100 บาท เสียไปกับค่าขนส่ง 15 บาท แต่อเมริกาเสียแค่ 8% เท่านี้เราก็เสียเปรียบแล้ว
แต่คำถามที่สองต่อมา คือ โครงการใด และวิธีการใด ตรงนี้มีรายละเอียดที่มีการตั้งคำถาม อย่างเช่น ไฮสปีดเทรน เหมาะสมหรือไม่ หรือการลงทุนจะใช้เงินงบประมาณรายปีได้หรือไม่ เพราะการใช้เงินกู้นอกงบประมาณ จะไม่มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลต่าง ๆ อันนี้ก็มีความเห็นที่หลากหลาย มีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน ถ้าไม่เอาข้อมูลมากางก็คงไม่สามารถตัดสินได้
- เรื่อง 2 ล้านล้านรัฐบาลควรเอาข้อมูลมากางก่อนตัดสินใจ
บนเวทีสัมมนาวิชาการของ ธปท.จะมีการเสนอ 6 หัวข้อ จะมีเรื่องกฎหมายธรรมาภิบาลอยู่ด้วย ซึ่งก็จะสามารถแก้โจทย์ข้อสองได้ จะมีการนำเสนอการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับกติกาภาครัฐ และประสิทธิภาพของตลาด ก็จะเกี่ยวกับสเตรตคอนโทรลหรือไม่สเตรตคอนโทรล เช่น เรื่องจำนำข้าว และเรื่องวัฒนธรรม สถาบันและการเติบโตระยะยาว ที่พูดถึงเรื่องธรรมาภิบาล คอร์รัปชั่น เพราะในขณะที่เราอยากเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็จะมีเรื่องคอร์รัปชั่น ความไม่โปร่งใสเข้ามา ดังนั้น ซัพพลายไซด์ไม่ใช่เรื่องของแรงงานหรือเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเท่านั้น ก็ต้องมีเรื่องกฎกติกาต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นเครื่องมือสร้างหลักธรรมาภิบาลด้วย
- ในแง่เอกชนต้องให้การสนับสนุนอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
ภาคเอกชนมีความตระหนักรู้อยู่แล้ว ไม่ใช่โจทย์ใหม่ แต่ว่าสิ่งที่เราต้องเพิ่มคือระดับนโยบาย ตั้งแต่การแถลงทิศทางของประเทศ และนโยบายที่เกี่ยวข้องต้องออกมาเป็นขบวนและสอดคล้องกัน ประกาศแนวทางที่ชัดเจนของประเทศ ให้เขารู้ว่าประเทศกำลังเดินไปในทิศไหน พร้อมกับการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม คืออย่าไปสร้างอุปสรรคให้กับภาคธุรกิจ
- ความเสี่ยงในครึ่งปีหลังมีอะไรบ้าง
ไม่มีอะไรที่เป็นตัวหนัก ๆ ที่จะมาน็อกเอาต์ ให้ปัจจัยสนับสนุนการทำงานของเศรษฐกิจไม่ทำงาน อาจมีเร่งไปบ้าง พักฐานบ้างในบางช่วง ส่วนความเสี่ยงที่จับตามอง เรื่องความผันผวนในตลาดการเงินโลกยังมีอยู่ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักยังไม่แข็งแรงเต็มที่ ดังนั้น ธปท.ยังติดตามความเสี่ยงอยู่
ปัจจัยเสี่ยงในประเทศ คือ ระดับหนี้ของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น จะกระทบสภาพคล่องของผู้บริโภค มีผลต่อกำลังซื้อ แม้รายได้ประชากรไม่ตก แต่การมีหนี้เพิ่มขึ้นย่อมฉุดกำลังซื้อออกไป ดังนั้นเราจึงต้องติดตามว่า การผิดนัดชำระหนี้จะมีผลต่อกำลังซื้ออย่างไร ความเสี่ยงอีกเรื่องคือ แรงกระเพื่อมทางการเมือง ไม่แน่ใจว่าจะกระทบต่อนโยบายการลงทุนหรือไม่ หากโครงการลงทุน 2 ล้านล้าน มีข้อโต้แย้งทางกฎหมายอยู่ อาจมีผลทำให้เลื่อนลงทุนออกไป แต่หากภาครัฐมีแผนสำรอง โดยใช้กรอบงบประมาณปกติซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันเวลาก็สามารถช่วยได้ คงไม่เสียหายมากนัก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////
สอดคล้องกับที่เกิดคำถามและกระตุ้นเตือนจากหลายภาคส่วน รวมทั้ง นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ที่มองว่า เศรษฐกิจไทยในช่วงที่ผ่านมาขาดการวางรากฐานเพื่อการสร้างการเติบโตอย่างยั่งยืน เพราะการดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่ผ่านมาเป็นนโยบายกระตุ้นเศรษฐกิจที่ให้ผลระยะสั้น โอกาสนี้ได้สัมภาษณ์พิเศษ นายประสารถึงมุมมองต่อปัญหา แนวคิด และกลไกที่จะขับเคลื่อนไปสู่การวางรากฐานการเติบโตของเศรษฐกิจไทยอย่างยั่งยืน
- แนวทางสร้างการเติบโตทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน
เพราะนโยบายเศรษฐกิจของประเทศในช่วงหลัง ๆ เป็นการมองระยะสั้น โดยเฉพาะนโยบายด้านการเงินการคลังช่วง 2 ปีที่ผ่านมา เป็นนโยบายด้านดีมานด์ที่กระตุ้นเศรษฐกิจให้เกิดผลระยะสั้นเป็นหลัก ซึ่งหากพูดกันแค่นี้คงไม่สามารถพาประเทศเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืนในระยะยาวได้ เช่น นโยบายการเงินส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์ดูแลเสถียรภาพ ไม่ว่าจะเป็นดอกเบี้ยหรืออัตราแลกเปลี่ยน ส่วนนโยบายการคลังก็พูดถึงเรื่องการใช้จ่ายเพื่อกระตุ้นให้เกิดการอุปโภคบริโภค อย่างโครงการรถคันแรก เหล่านี้ไม่มีผลเป็นลูกโซ่ให้ประเทศเข้มแข็งในระยะยาว จึงเป็นจุดเริ่มต้นที่ดึงให้คนหันมาสนใจด้านซัพพลาย ที่จะเป็นตัวพัฒนาประเทศให้เข้มแข็งในระยะยาวและยั่งยืนได้ ซึ่งหมายถึงการสร้างความพร้อมของประเทศในด้านต่าง ๆ ได้แก่ ด้านโครงสร้างพื้นฐาน คุณภาพคน ด้านความรู้เทคโนโลยี วัฒนธรรม และความพร้อมของตลาดแรงงาน เหล่านี้คือซัพพลายไซด์ที่จะเป็นรากฐานของการสร้างความยั่งยืนของเศรษฐกิจประเทศ
- มีกลไกหรือเครื่องมืออะไรที่จะทำให้ฝ่ายการเมืองเห็นพ้อง
ก็เป็นความท้าทาย เวลานี้ก็เห็นบทเรียน อย่างอียิปต์มีเลือกตั้ง อีกข้างหนึ่งก็ล้ม มีความขัดแย้งกัน เราก็หวังว่าในบ้านเราจะไปแบบสันติได้ เรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจกันทุกฝ่าย เริ่มต้นต้องมีฝ่ายคิดจากนักวิชาการต่าง ๆ ฝ่ายการเมือง ฝ่ายประชาชน และภาคเอกชน ต้องประกอบกันหมด คนที่คิดก็ต้องคิดอย่างมีหลักการ มีเหตุผล ฝ่ายการเมืองที่อาศัยฐานประชาชน หากการมีส่วนร่วมประชาชนมีทั้งปริมาณและคุณภาพก็จะมีพลังมากขึ้น สำหรับภาคเอกชนที่มีบทบาทเยอะในทางเศรษฐกิจก็ต้องสร้างแรงจูงใจให้ดี พร้อมกับมีหลักธรรมาภิบาลรวมถึงการใช้กฎหมายหรือแผนพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ผู้นำทางการเมืองต้องมีหน้าที่ประกาศวิสัยทัศน์และนโยบายที่มีความต่อเนื่อง อย่างเรามีแผนพัฒนาเศรษฐกิจตามกรอบเวลา 5 ปี เวลาฝ่ายการเมืองออกนโยบาย แม้จะเป็นระยะสั้นก็ต้องอ้างอิงถึง อย่าทำอะไรที่ขัดกัน
- ในส่วนของ ธปท.ทำอะไรได้บ้าง
ธปท.ก็พยายามทำส่วนของเรา เช่น ที่จะจัดสัมมนาเชิงวิชาการในเดือน ก.ย.นี้ หัวข้อ "การวางรากฐานสู่การเติบโตอย่างยั่งยืนของเศรษฐกิจไทย" เพราะก็รู้อยู่ว่าเครื่องมือที่มีอยู่ เช่น นโยบายการเงิน ก็ทำได้ระดับหนึ่งในการดูแลเสถียรภาพระยะสั้น ที่เปิดโอกาสให้เสริมศักยภาพในระยะยาวได้ แต่การจะสร้างศักยภาพระยะยาว เรารู้ว่าข้อจำกัดนโยบายการเงินไปไม่ถึง ก็พยายามสร้างความรู้ความเข้าใจร่วม เปิดเวทีให้คนแลกเปลี่ยนความคิดเห็นช่วยกันในมุมต่าง ๆ
- จะทำอย่างไรไม่ให้เรื่องนี้อยู่แค่ในวงวิชาการ
เชื่อว่าทางการเมืองก็คงจะนำไปคิดบ้าง เพราะเราพยายามจะพูดเสมอว่า การกระตุ้นอุปโภคบริโภค หากทำเพราะเกิดน้ำท่วมใหญ่ ชุมนุมทางการเมือง สึนามิแบบญี่ปุ่น การกระตุ้นช่วงสั้น ๆ ก็ไม่เป็นไร แต่ถ้าเป็นการกระตุ้นด้วยการลงทุนจะยั่งยืนกว่า โดยเฉพาะที่ประเทศไทยเวลานี้มีการลงทุนน้อยกว่าในอดีต เดิมมีงบฯลงทุนกว่า 20% ของจีดีพี เวลานี้ก็เหลือเพียง 15-16% ทำให้งบฯลงทุนแต่ละปีก็น้อย
ตอนนี้รัฐบาลก็มีการพูดถึงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่เราก็ยังมีเรื่องที่ไม่อยากให้ทำต่อเนื่องไปเยอะ เช่น โครงการรับจำนำข้าว รถยนต์คันแรก
- ลงทุน 2 ล้านล้านถือว่าตอบโจทย์ความยั่งยืนหรือไม่
เรื่องนี้เป็นโจทย์ 2 อันซ้อน ถ้าถามถึงความจำเป็นลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แน่นอนเราสนับสนุนให้มีนโยบายที่ทำต่อเนื่อง เพราะเวลานี้ค่าใช้จ่ายโลจิสติกส์ของไทย 15% ของจีดีพี แต่ของอเมริกาแค่ 8% ของจีดีพี พูดง่าย ๆ เราสร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจ 100 บาท เสียไปกับค่าขนส่ง 15 บาท แต่อเมริกาเสียแค่ 8% เท่านี้เราก็เสียเปรียบแล้ว
แต่คำถามที่สองต่อมา คือ โครงการใด และวิธีการใด ตรงนี้มีรายละเอียดที่มีการตั้งคำถาม อย่างเช่น ไฮสปีดเทรน เหมาะสมหรือไม่ หรือการลงทุนจะใช้เงินงบประมาณรายปีได้หรือไม่ เพราะการใช้เงินกู้นอกงบประมาณ จะไม่มีกระบวนการตรวจสอบถ่วงดุลต่าง ๆ อันนี้ก็มีความเห็นที่หลากหลาย มีรายละเอียดที่มีความซับซ้อน ถ้าไม่เอาข้อมูลมากางก็คงไม่สามารถตัดสินได้
- เรื่อง 2 ล้านล้านรัฐบาลควรเอาข้อมูลมากางก่อนตัดสินใจ
บนเวทีสัมมนาวิชาการของ ธปท.จะมีการเสนอ 6 หัวข้อ จะมีเรื่องกฎหมายธรรมาภิบาลอยู่ด้วย ซึ่งก็จะสามารถแก้โจทย์ข้อสองได้ จะมีการนำเสนอการศึกษาเรื่องเกี่ยวกับกติกาภาครัฐ และประสิทธิภาพของตลาด ก็จะเกี่ยวกับสเตรตคอนโทรลหรือไม่สเตรตคอนโทรล เช่น เรื่องจำนำข้าว และเรื่องวัฒนธรรม สถาบันและการเติบโตระยะยาว ที่พูดถึงเรื่องธรรมาภิบาล คอร์รัปชั่น เพราะในขณะที่เราอยากเห็นการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน แต่ในโลกแห่งความเป็นจริงก็จะมีเรื่องคอร์รัปชั่น ความไม่โปร่งใสเข้ามา ดังนั้น ซัพพลายไซด์ไม่ใช่เรื่องของแรงงานหรือเรื่องการเพิ่มประสิทธิภาพเท่านั้น ก็ต้องมีเรื่องกฎกติกาต่าง ๆ ที่เข้ามาเป็นเครื่องมือสร้างหลักธรรมาภิบาลด้วย
- ในแง่เอกชนต้องให้การสนับสนุนอะไรเป็นพิเศษหรือไม่
ภาคเอกชนมีความตระหนักรู้อยู่แล้ว ไม่ใช่โจทย์ใหม่ แต่ว่าสิ่งที่เราต้องเพิ่มคือระดับนโยบาย ตั้งแต่การแถลงทิศทางของประเทศ และนโยบายที่เกี่ยวข้องต้องออกมาเป็นขบวนและสอดคล้องกัน ประกาศแนวทางที่ชัดเจนของประเทศ ให้เขารู้ว่าประเทศกำลังเดินไปในทิศไหน พร้อมกับการสร้างแรงจูงใจที่เหมาะสม คืออย่าไปสร้างอุปสรรคให้กับภาคธุรกิจ
- ความเสี่ยงในครึ่งปีหลังมีอะไรบ้าง
ไม่มีอะไรที่เป็นตัวหนัก ๆ ที่จะมาน็อกเอาต์ ให้ปัจจัยสนับสนุนการทำงานของเศรษฐกิจไม่ทำงาน อาจมีเร่งไปบ้าง พักฐานบ้างในบางช่วง ส่วนความเสี่ยงที่จับตามอง เรื่องความผันผวนในตลาดการเงินโลกยังมีอยู่ ขณะที่การฟื้นตัวของเศรษฐกิจหลักยังไม่แข็งแรงเต็มที่ ดังนั้น ธปท.ยังติดตามความเสี่ยงอยู่
ปัจจัยเสี่ยงในประเทศ คือ ระดับหนี้ของภาคครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น จะกระทบสภาพคล่องของผู้บริโภค มีผลต่อกำลังซื้อ แม้รายได้ประชากรไม่ตก แต่การมีหนี้เพิ่มขึ้นย่อมฉุดกำลังซื้อออกไป ดังนั้นเราจึงต้องติดตามว่า การผิดนัดชำระหนี้จะมีผลต่อกำลังซื้ออย่างไร ความเสี่ยงอีกเรื่องคือ แรงกระเพื่อมทางการเมือง ไม่แน่ใจว่าจะกระทบต่อนโยบายการลงทุนหรือไม่ หากโครงการลงทุน 2 ล้านล้าน มีข้อโต้แย้งทางกฎหมายอยู่ อาจมีผลทำให้เลื่อนลงทุนออกไป แต่หากภาครัฐมีแผนสำรอง โดยใช้กรอบงบประมาณปกติซึ่งสามารถนำมาใช้ได้ทันเวลาก็สามารถช่วยได้ คงไม่เสียหายมากนัก
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น