สภาผู้แทนราษฎรกำลังพิจารณาร่างงบประมาณราชการแผ่นดิน ปี 2557 ซึ่งในที่สุด ร่างงบประมาณฯ นี้ก็ต้องผ่านความเห็นชอบของรัฐสภา
การจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ปี 2557 ยังคงเป็นการเป็นไปตามระบบงบประมาณแบบเดิม ๆ ที่ทำกันมานานกึ่งศตวรรษ
กระบวนการพิจารณางบประมาณและการตรวจสอบ ก็ยังคงเป็นไปตามแนวที่ทำกันมากึ่งศตวรรษเช่นกัน
ปัญหาสำคัญที่สุดคือรัฐบาลจัดสรรงบประมาณตามข้อเสนอความต้องการของกระทรวง ทบวง กรม
มิได้จัดสรรตามความจำเป็น ความเร่งด่วน ของปัญหาประชาชนในพื้นที่
ปัญหารองลงมาคือ รัฐบาลมิได้จัดสรรงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือพื้นที่ซึ่งคุณภพชีวิตประชาชนต่ำ ก็จะได้งบประมาณน้อย
คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ได้สรุปและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขไว้แล้วใน "แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง"
"ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการจัดสรรงบประมาณของรัฐ ซึ่งมิได้จัดทำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท หากจัดทำตามคำขอของหน่วยราชการที่กำหนดขึ้นโดยภารกิจของรัฐ เป็นการจัดสรรงบประมาณที่ใช้กรมเป็นฐาน มิได้ใช้พื้นที่หรือจังหวัดเป็นฐาน กรมที่ได้รับงบประมาณไปก็คำนึงถึงภารกิจของตน มิได้คำนึงถึงความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณและมิได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณของหน่วยงานรัฐ
ข้อมูลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างงบลงทุนรายจังหวัดต่อหัวและระดับความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ตามดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievment Index) ในแต่ละจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับต่ำหรือต่ำมาก กลับได้รับการจัดสรรงบลงทุนต่อหัวในระดับที่น้อยกวาจังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนในระดับสูง ทั้งในแง่ของงบลงทุนภาพรวม และงบลงทุนในรายสาขา เช่น การศึกษา การขนส่งและการสื่อสาร หากการจัดสรรงบประมาณยังคงเป็นไปลักษณะดังกล่าว ก็เป็นการยากที่จะทำให้ช่องว่างของคุณภาพชีวิตของผู้คนในจังหวัดต่าง ๆแคบลง เพราะจังหัดที่ยากจนก็มิได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อลดความยากจนและเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
ดังนั้นการปรับงบประมาณลงไปสู่พื้นที่โดยตรงมากขึ้น จึงถือเป็นการเพิ่มอำนาจของประชาชนที่สำคัญประการหนึ่ง พร้อม ๆ กันกับการปรับกระบวนการจัดสรงบประมาณที่จะต้องแปรผกผันกับระดับการพัฒนา เพื่อทำให้ช่องว่างของระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศแคบลง และจะต้องปรับกระบวนการงบประมาณให้เป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายเข้ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่เริ่มต้นกำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน ไปจนถึงการติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณ
ข้อเสนอการปรับระบบงบประมาณนี้จึงเป็นบันไดขั้นแรกในการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณ โดยการเพิ่มอำนาจของประชาชนในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน อันจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม" (จาก "ข้อเสนอการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม" คณะกรรมการปฏิรูป วันที่ 10 มกราคม 2554)
ที่มา.สยามรัฐ
///////////////////////////////////////////////////////
การจัดสรรงบประมาณแผ่นดิน ปี 2557 ยังคงเป็นการเป็นไปตามระบบงบประมาณแบบเดิม ๆ ที่ทำกันมานานกึ่งศตวรรษ
กระบวนการพิจารณางบประมาณและการตรวจสอบ ก็ยังคงเป็นไปตามแนวที่ทำกันมากึ่งศตวรรษเช่นกัน
ปัญหาสำคัญที่สุดคือรัฐบาลจัดสรรงบประมาณตามข้อเสนอความต้องการของกระทรวง ทบวง กรม
มิได้จัดสรรตามความจำเป็น ความเร่งด่วน ของปัญหาประชาชนในพื้นที่
ปัญหารองลงมาคือ รัฐบาลมิได้จัดสรรงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ กล่าวคือพื้นที่ซึ่งคุณภพชีวิตประชาชนต่ำ ก็จะได้งบประมาณน้อย
คณะกรรมการปฏิรูป (คปร.) ได้สรุปและเสนอแนวทางปรับปรุงแก้ไขไว้แล้วใน "แนวทางการปฏิรูปประเทศไทย ข้อเสนอต่อพรรคการเมืองและผู้มีสิทธิเลือกตั้ง"
"ความเหลื่อมล้ำที่เกิดขึ้นในสังคมส่วนหนึ่งมาจากการจัดสรรงบประมาณของรัฐ ซึ่งมิได้จัดทำเพื่อลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเมืองกับชนบท หากจัดทำตามคำขอของหน่วยราชการที่กำหนดขึ้นโดยภารกิจของรัฐ เป็นการจัดสรรงบประมาณที่ใช้กรมเป็นฐาน มิได้ใช้พื้นที่หรือจังหวัดเป็นฐาน กรมที่ได้รับงบประมาณไปก็คำนึงถึงภารกิจของตน มิได้คำนึงถึงความต้องการของประชาชน ซึ่งไม่มีส่วนร่วมในการพิจารณางบประมาณและมิได้มีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณของหน่วยงานรัฐ
ข้อมูลจากการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างงบลงทุนรายจังหวัดต่อหัวและระดับความก้าวหน้าในการพัฒนามนุษย์ตามดัชนีความก้าวหน้าของคน (Human Achievment Index) ในแต่ละจังหวัด พบว่า จังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนอยู่ในระดับต่ำหรือต่ำมาก กลับได้รับการจัดสรรงบลงทุนต่อหัวในระดับที่น้อยกวาจังหวัดที่มีดัชนีความก้าวหน้าของคนในระดับสูง ทั้งในแง่ของงบลงทุนภาพรวม และงบลงทุนในรายสาขา เช่น การศึกษา การขนส่งและการสื่อสาร หากการจัดสรรงบประมาณยังคงเป็นไปลักษณะดังกล่าว ก็เป็นการยากที่จะทำให้ช่องว่างของคุณภาพชีวิตของผู้คนในจังหวัดต่าง ๆแคบลง เพราะจังหัดที่ยากจนก็มิได้รับการจัดสรรงบประมาณเพื่อลดความยากจนและเพิ่มคุณภาพชีวิตด้านต่าง ๆ อย่างเพียงพอ
ดังนั้นการปรับงบประมาณลงไปสู่พื้นที่โดยตรงมากขึ้น จึงถือเป็นการเพิ่มอำนาจของประชาชนที่สำคัญประการหนึ่ง พร้อม ๆ กันกับการปรับกระบวนการจัดสรงบประมาณที่จะต้องแปรผกผันกับระดับการพัฒนา เพื่อทำให้ช่องว่างของระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่ต่าง ๆ ในประเทศแคบลง และจะต้องปรับกระบวนการงบประมาณให้เป็นกระบวนการที่ทุกฝ่ายเข้ามีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ตั้งแต่เริ่มต้นกำหนดเป้าหมายการพัฒนาร่วมกัน ไปจนถึงการติดตามตรวจสอบการใช้งบประมาณ
ข้อเสนอการปรับระบบงบประมาณนี้จึงเป็นบันไดขั้นแรกในการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณ โดยการเพิ่มอำนาจของประชาชนในกระบวนการงบประมาณแผ่นดิน อันจะเป็นรากฐานสำคัญสำหรับการลดความเหลื่อมล้ำในสังคม" (จาก "ข้อเสนอการสร้างความเป็นธรรมในระบบงบประมาณเพื่อลดความเหลื่อมล้ำในสังคม" คณะกรรมการปฏิรูป วันที่ 10 มกราคม 2554)
ที่มา.สยามรัฐ
///////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น