--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2556

จีนตะวันตก .

โดย : รศ.ดร.อักษรศรี พานิชสาส์น คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

รัฐบาลกลางของจีนมีนโยบาย "มุ่งสู่จีนตะวันตก" (Go-West Policy) อย่างจริงจังมาตั้งแต่ต้นปี 2000 ที่เริ่มประกาศใช้ "นโยบายพัฒนาภาคตะวันตก" (Xibu Da Kaifa) ส่งผลให้เศรษฐกิจจีนก้าวกระโดดต่อไปได้ทั้งๆ ที่เกิดปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจในภูมิภาค เช่น วิกฤติต้มยำกุ้ง จนทำให้ประเทศต่างๆ ถูกกระทบจนเดี้ยง ไปถ้วนหน้า

การเบนเข็มมาเน้นจีนตะวันตกที่ประกอบด้วย 6 มณฑล 5 เขตปกครองตนเอง และ 1 มหานคร ช่วยให้เศรษฐ-กิจจีนเดินหน้าต่อไปได้ ดังจะเห็นได้จากใน ช่วงปี 2000-2008 อัตรา GDP ของจีนตะวันตกเติบโตเฉลี่ยร้อยละ 11.7 ต่อปี ในแต่ละปี รัฐบาลกลางของจีนจัดสรรงบประมาณด้านการลงทุนมากกว่าร้อยละ 43 ของการลงทุนทั้งหมดไปยังจีนตะวันตก เพื่อกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ

ในฐานะนักวิชาการไทย ดิฉันให้ความสนใจกับจีนตะวันตกเป็นพิเศษ และนับตั้งแต่สามารถเติมฝัน (ตัวเอง) ในการเขียนวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกเกี่ยวกับเศรษฐกิจมณฑลจีนแบบเจาะลึกชิ้นแรกของประเทศไทยได้สำเร็จโดยได้เลือกที่จะเน้น "มณฑลจีนตะวันตก" ดิฉันก็ไม่เคยหยุดที่จะติดตามพัฒนาการของจีนตะวันตก ภูมิภาคที่สำคัญยิ่งของจีน ซึ่งตั้งอยู่ไม่ห่างจากไทย

ตั้งแต่ปี 2002 เป็นต้นมา ดิฉันได้เริ่ม เดินทางไปตะลุยตระเวนจนครบ 12 มณฑล จีนตะวันตกที่ครอบคลุมภายใต้นโยบาย Go-West Policy รวมทั้งการไปสำรวจเส้นทางสายไหม (Silk Road) ตั้งแต่นครซีอานในมณฑลส่านซี ไปจนถึงนครอุรุมชีในซินเกียง ตลอดจนเส้นทางจากมองโก เลียในไปจนสุดทางที่ทิเบต ซึ่งล้วนมีลักษณะเฉพาะที่โดดเด่นแตกต่างกันไป

ในแต่ละครั้งที่ได้ไปสัมผัสมณฑลจีน ตะวันตกเหล่านั้น ก็ต้องทึ่งกับการเปลี่ยน แปลงที่รวดเร็ว และยากที่จะหยุดยั้ง โดย เฉพาะถนนหนทางและโครงข่ายคมนาคม ต่างๆ ที่นำความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจไปยังมณฑลตอนในของจีน แต่ก็ต้องยอมรับว่า ยังคงมีความยากจนและความ ล้าหลังหลงเหลืออยู่ในชนบทของจีนตะวัน ตกเช่นกัน เพราะไม่ใช่เรื่องง่ายที่จะขจัดความยากจนเหล่านั้นให้หมดสิ้นไปจากแผ่นดินจีนที่แสนจะกว้างใหญ่ไพศาล

หลายครั้งที่ดิฉันเลือกเดินทางไปลงพื้นที่จีนตะวันตกโดยไม่ใช้เครื่องบิน แต่ จะใช้วิธีล่องแม่น้ำโขง หรือไม่ก็ใช้เส้นทาง บกจากภาคเหนือของไทยผ่านพม่าไปจีน ตามแนวเส้นทาง R3W รวมทั้งการใช้เส้น ทางบกสุดฮิตที่ผ่านลาว คือ เส้นทาง R3E หรือ R3A (เส้นเดียวกันแต่มีสองชื่อเรียก) ไล่ลัดเลาะไปตามแนว "เส้นทางหลวงคุนหมิง-กรุงเทพฯ" ไปจนถึงนครคุนหมิงในมณฑลยูนนาน แล้วต่อไปยังมณฑลอื่นๆ ของจีนตะวันตก ทำให้มีโอกาสได้พบเห็นสภาพความเป็นจริงของการคมนาคมขนส่งเชื่อมโยงตลาดจีนตะวันตก

แม้ว่าจีนตะวันตกจะมีจุดอ่อนทางธรรมชาติ ในการเป็น landlocked ไม่มีทางออกทะเล หากแต่เป็นภูมิภาคที่มีความ อุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร อาทิ ถ่าน หินและน้ำมันดิบ และได้รับความสำคัญในเชิงนโยบายจากรัฐบาลกลางเสมอมา โดยเฉพาะการทุ่มเทงบประมาณในการสร้างเขื่อนยักษ์ "สามโตรก" (Three Gorges Dam) และการพัฒนาเส้นทางขนส่งทางแม่น้ำแยงซีเกียง จนในขณะนี้ สินค้าต่างๆ ที่ผลิตในมณฑลจีนตอนใน อาทิ รถยนต์ที่ผลิตในฉงชิ่ง สามารถขนส่งลำเลียงไปตามแม่น้ำแยงซีเกียงเพื่อไปออกทะเลที่ปากแม่น้ำในมหานครเซี่ยงไฮ้ ด้วย ระยะทาง 2,660 กิโลเมตร และขนส่งตรง ต่อไปทางทะเลจนถึงประเทศปลายทาง เช่น อิหร่าน

ดิฉันได้มีโอกาสไปล่องและพักค้างกลาง "มหานทีแยงซีเกียง" หรือ "ฉางเจียง" ในภาษาจีนกลางมาแล้วถึง 3 รอบ (ปี 2004  ปี 2006 และล่าสุดปี 2009) เพื่อสำรวจเส้นทางขนส่งทางแม่น้ำและติดตามพัฒนาการในการก่อสร้าง เขื่อนสามโตรก สัญลักษณ์แห่งความยิ่งใหญ่ในการพัฒนาจีนตะวันตก ด้วยระยะเวลาก่อสร้างนานถึง 17 ปี  

นอกจากนี้ ผู้บริโภคในจีนตะวันตก ซึ่งมีประมาณ 370 ล้านคน ได้เริ่มอยู่ดีกินดี มีรายได้เพิ่มขึ้นและมีการจับจ่ายใช้สอยมากขึ้น จากรายงานปี 2009 อัตรา การขยายตัวของการค้าปลีก (retail sale) ใน 12 มณฑลจีนตะวันตกรวมกันเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 19 และมีอัตราสูงกว่าอัตราการ เติบโตของการค้าปลีกของทั้งประเทศ รวม ไปถึงอัตราการขยายตัวของการลงทุนในสินทรัพย์คงที่ในจีนตะวันตกสูงถึงร้อยละ 38.9 มูลค่าราว 3.16 ล้านล้านหยวน ตลอด จนการติดต่อค้าขายกับตลาดโลกมากขึ้น และการหลั่งไหลเข้ามาของเงินลงทุนจาก ต่างประเทศ มีบริษัทชั้นนำระดับโลกที่ตบเท้า เข้าไปลงทุนในจีนตะวันตกจำนวนมาก อาทิ เช่น การลงทุนของ Intel ในเสฉวน ส่งผลให้จีนตะวันตกในวันนี้ จึงมิใช่ "ดินแดนหลังเขา" ดังเช่นในอดีต

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น