โดย.ณรงค์ ใจหาญ
การที่ประชาชนแสดงความคิดเห็นติชม ต่อเหตุการณ์หรือพฤติการณ์ของคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นบุคคลสาธารณะหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อมเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในทุกสังคม ทั้งนี้เพราะเป็นสิทธิพื้นฐานที่บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ เว้นแต่การแสดงความคิดเห็นนั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความวุ่นวายในนสังคม หรือการก้าวล่วงต่อสิทธิส่วนตัวของผู้อื่นจนเกินสมควร ประเทศที่ถือหลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตยจึงให้อิสระแก่ประชาชนที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา
กฎหมายไทยมีหลักการในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน หากพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นความผิดที่คุ้มครองชื่อเสียงของคนที่จะไม่ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจากการใส่ความ (นินทาว่าร้าย) จากคนอื่น ไม่ว่าจะโดยการพูดหรือการโฆษณา แต่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อติชม หรือเพราะตนเองมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น ก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงนั้น ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง หลักวิชาและความเป็นกลางในการแสดงความคิดเห็น (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329)
ในทำนองเดียวกัน ความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ หรือการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ซึ่งมีความประสงค์ที่จะรักษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ หรือเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมือง หากมีการยุยงให้ทหารหรือตำรวจก่อการกำเริบ หรือยุยงให้ประชาชนก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมืองหรือละเมิดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่เกินขอบเขตและเป็นความผิดอาญา เพราะการที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นนั้นจะต้องอยู่ภายในกรอบที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จึงถือเป็นเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้ของประชาชนทุกคนที่จะใช้สิทธิภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ โดยเจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นได้แม้ว่าการแสดงความคิดเห็นนั้น จะทำให้ผู้มีอำนาจรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเสียประโยชน์ที่หวังไว้ก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า หากเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สุจริต ได้แก่การบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ประชาชนหลงผิด หรือนำหลักการทางวิชาการมาบิดเบือนเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อ โดยตั้งใจและขาดความรับผิดชอบในทางวิชาการ หรือตั้งใจกระทำการใดๆ เพื่อทำให้ประชาชนตื่นตระหนกเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง จะมีความผิดอย่างไร กรณีนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มีฐานความผิดที่ลงโทษไว้หลายฐาน ดังนี้
1. ในกรณีที่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต และเป็นการนินทาว่าร้ายคนอื่น กรณีนี้ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326
2. ในกรณีที่เป็นการแสดงความคิดเห็นและยุยงให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อกฎหมายหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นการแสดงไฮปาร์ก ยุยงโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกลียดผู้บริหารประเทศ โดยปราศจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง กรณีนี้ถือว่า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งถือว่าเป็นความผิดที่มุ่งคุ้มครองสถาบันนิติบัญญัติ และความมั่นคงของรัฐมิให้ได้รับอันตรายจากการใช้สิทธิไม่สุจริต
3.ในกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นและยั่วยุให้มีการปิดถนน หรือปิดบริการสาธารณะหรือทำลายทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งเกินกว่าสิทธิในการเรียกร้องความเป็นธรรมหรือขอความช่วยเหลือจากรัฐตามหลักในกฎหมายรัฐธรรมนูญเรื่องการชุมนุมหรือการเรียกร้องความเป็นธรรม กรณีดังกล่าวถือเป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้ายตามมาตรา 135/1
4.ในกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยไม่มีเหตุที่ควรกระทำ กรณีนี้ถือว่าเป็นการชุมชุมโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมายและเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดการยั่วยุดังกล่าวจึงเป็นการแสดงออกด้วยวาจาที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215
จากหลักกฎหมายและข้อยกเว้นความรับผิดข้างต้น การที่ประชาชน สื่อมวลชนแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน หรือด้วยการโฆษณาทางอื่น และก่อให้เกิดผลในการที่จะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงหรือก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในสังคมนั้น หากเป็นการใช้สิทธิสุจริต เป็นการกระทำโดยความหวังดี ไม่ได้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ประชาชนหลงผิด ซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดและไม่มีเหตุใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะห้ามการกระทำนั้นได้ แต่ถ้าเกินขอบเขตของเสรีภาพหรือเป็นการบิดเบือนความจริง บิดเบือนหลักวิชาการ แอบอ้างหลักการของประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของตนหรือพวกพ้องแล้ว จะถือว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเสรีภาพให้ทำได้ กฎหมายจะกำหนดความรับผิดทางอาญาไว้ตามฐานที่กล่าวไว้ข้างต้น
ที่มา.สยามรัฐ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การที่ประชาชนแสดงความคิดเห็นติชม ต่อเหตุการณ์หรือพฤติการณ์ของคนในสังคมไม่ว่าจะเป็นบุคคลสาธารณะหรือเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับบุคคลใดบุคคลหนึ่ง ย่อมเป็นการกระทำที่เกิดขึ้นอยู่เสมอในทุกสังคม ทั้งนี้เพราะเป็นสิทธิพื้นฐานที่บุคคลมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นโดยอิสระ เว้นแต่การแสดงความคิดเห็นนั้นจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศ หรือก่อให้เกิดความวุ่นวายในนสังคม หรือการก้าวล่วงต่อสิทธิส่วนตัวของผู้อื่นจนเกินสมควร ประเทศที่ถือหลักสิทธิมนุษยชนและหลักประชาธิปไตยจึงให้อิสระแก่ประชาชนที่จะแสดงออกซึ่งความคิดเห็น โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดทางอาญา
กฎหมายไทยมีหลักการในเรื่องนี้เช่นเดียวกัน หากพิจารณาประมวลกฎหมายอาญา ในความผิดฐานหมิ่นประมาท ซึ่งเป็นความผิดที่คุ้มครองชื่อเสียงของคนที่จะไม่ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังจากการใส่ความ (นินทาว่าร้าย) จากคนอื่น ไม่ว่าจะโดยการพูดหรือการโฆษณา แต่การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต เพื่อติชม หรือเพราะตนเองมีส่วนได้เสียในเรื่องนั้น ก็สามารถแสดงความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงได้โดยไม่ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท แต่การแสดงความคิดเห็นหรือข้อเท็จจริงนั้น ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของข้อเท็จจริง หลักวิชาและความเป็นกลางในการแสดงความคิดเห็น (ประมวลกฎหมายอาญามาตรา 329)
ในทำนองเดียวกัน ความผิดที่เกี่ยวกับความมั่นคงของรัฐ หรือการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง ซึ่งมีความประสงค์ที่จะรักษาอำนาจอธิปไตยของรัฐ หรือเป็นการรักษาความสงบเรียบร้อยแก่บ้านเมือง หากมีการยุยงให้ทหารหรือตำรวจก่อการกำเริบ หรือยุยงให้ประชาชนก่อความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือฝ่าฝืนต่อกฎหมายบ้านเมืองหรือละเมิดต่อกฎหมาย ถือว่าเป็นการใช้สิทธิที่เกินขอบเขตและเป็นความผิดอาญา เพราะการที่ประชาชนจะแสดงความคิดเห็นนั้นจะต้องอยู่ภายในกรอบที่ไม่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐหรือไม่ก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง การแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต จึงถือเป็นเหตุที่ผู้กระทำมีอำนาจกระทำได้ของประชาชนทุกคนที่จะใช้สิทธิภายใต้กรอบของรัฐธรรมนูญ โดยเจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจดำเนินคดีอาญาแก่ผู้นั้นได้แม้ว่าการแสดงความคิดเห็นนั้น จะทำให้ผู้มีอำนาจรัฐหรือบุคคลใดบุคคลหนึ่งเสียประโยชน์ที่หวังไว้ก็ตาม เพราะการกระทำดังกล่าวถือเป็นเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นและเป็นการแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต
ปัญหาจึงเกิดขึ้นว่า หากเป็นการแสดงความคิดเห็นที่ไม่สุจริต ได้แก่การบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ประชาชนหลงผิด หรือนำหลักการทางวิชาการมาบิดเบือนเพื่อให้ผู้อื่นหลงเชื่อ โดยตั้งใจและขาดความรับผิดชอบในทางวิชาการ หรือตั้งใจกระทำการใดๆ เพื่อทำให้ประชาชนตื่นตระหนกเพื่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมือง จะมีความผิดอย่างไร กรณีนี้ ประมวลกฎหมายอาญา มีฐานความผิดที่ลงโทษไว้หลายฐาน ดังนี้
1. ในกรณีที่เป็นการแสดงความคิดเห็นโดยไม่สุจริต และเป็นการนินทาว่าร้ายคนอื่น กรณีนี้ถือว่าเป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 326
2. ในกรณีที่เป็นการแสดงความคิดเห็นและยุยงให้ประชาชนกระด้างกระเดื่องต่อกฎหมายหรือคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย เช่นการแสดงไฮปาร์ก ยุยงโดยบิดเบือนข้อเท็จจริงต่างๆ เพื่อให้ประชาชนเกลียดผู้บริหารประเทศ โดยปราศจากข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจริง กรณีนี้ถือว่า เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 116 ซึ่งถือว่าเป็นความผิดที่มุ่งคุ้มครองสถาบันนิติบัญญัติ และความมั่นคงของรัฐมิให้ได้รับอันตรายจากการใช้สิทธิไม่สุจริต
3.ในกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นและยั่วยุให้มีการปิดถนน หรือปิดบริการสาธารณะหรือทำลายทรัพย์สินของทางราชการ ซึ่งเกินกว่าสิทธิในการเรียกร้องความเป็นธรรมหรือขอความช่วยเหลือจากรัฐตามหลักในกฎหมายรัฐธรรมนูญเรื่องการชุมนุมหรือการเรียกร้องความเป็นธรรม กรณีดังกล่าวถือเป็นการกระทำความผิดฐานก่อการร้ายตามมาตรา 135/1
4.ในกรณีที่มีการแสดงความคิดเห็นในการชุมนุมเพื่อเรียกร้องให้มีการก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยไม่มีเหตุที่ควรกระทำ กรณีนี้ถือว่าเป็นการชุมชุมโดยปราศจากอำนาจตามกฎหมายและเกินกว่าที่รัฐธรรมนูญกำหนดการยั่วยุดังกล่าวจึงเป็นการแสดงออกด้วยวาจาที่ก่อให้เกิดความวุ่นวาย มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 215
จากหลักกฎหมายและข้อยกเว้นความรับผิดข้างต้น การที่ประชาชน สื่อมวลชนแสดงความคิดเห็นไม่ว่าจะโดยวาจาหรือการประชาสัมพันธ์ทางสื่อมวลชน หรือด้วยการโฆษณาทางอื่น และก่อให้เกิดผลในการที่จะทำให้ผู้อื่นเสียชื่อเสียงหรือก่อให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองหรือก่อให้เกิดความกระด้างกระเดื่องในสังคมนั้น หากเป็นการใช้สิทธิสุจริต เป็นการกระทำโดยความหวังดี ไม่ได้มีการบิดเบือนข้อเท็จจริงให้ประชาชนหลงผิด ซึ่งเป็นการใช้เสรีภาพตามกรอบของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยที่คุ้มครองเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นแล้ว ย่อมไม่เป็นความผิดและไม่มีเหตุใดๆ ที่เจ้าหน้าที่ของรัฐ จะห้ามการกระทำนั้นได้ แต่ถ้าเกินขอบเขตของเสรีภาพหรือเป็นการบิดเบือนความจริง บิดเบือนหลักวิชาการ แอบอ้างหลักการของประชาธิปไตยเพื่อประโยชน์ของตนหรือพวกพ้องแล้ว จะถือว่าเป็นการกระทำเกินกว่าเสรีภาพให้ทำได้ กฎหมายจะกำหนดความรับผิดทางอาญาไว้ตามฐานที่กล่าวไว้ข้างต้น
ที่มา.สยามรัฐ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น