--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2556

รบ.เร่งดัน พรบ.คุ้มครองข้อมูลบุคคล !!??

วราเทพ.เร่งผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. ...หวังแก้ปัญหาละเมิดนำข้อมูลส่วนบุคคลไปใช้ทางธุรกิจ

นายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่าภายหลังจากได้รับมอบหมายจากคณะรัฐมนตรีให้เป็นประธานกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ ตนจะเร่งเดินหน้าผลักดันการออกกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ตาม พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. .... ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ได้ผ่านความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี (ครม.) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยในขณะนี้อยู่ระหว่างรอการพิจารณาของรัฐสภาตามขั้นตอน อย่างไรก็ตามตนจะพยายามผลักดันให้รัฐสภามีการหยิบยก ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ขึ้นมาพิจารณาเป็นการเร่งด่วนเพื่อให้กฎหมายฉบับนี้สามารถคุ้มครองสิทธิข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนทุกคน

นายวราเทพก ล่าวว่า ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2554 ได้กำหนดไว้ชัดเจนว่าข้อมูลส่วนบุคคลของประชาชนที่รัฐบาลมีอยู่ เช่น ประวัติส่วนตัว ประวัติการศึกษา ประวัติสุขภาพ ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ ฯลฯห หน่วยงานราชการจะสามารถเปิดเผยได้ก็ต่อเมื่อมีการยินยอมจากผู้นั้นเป็นลายลักษณ์อักษรซึ่งช่วยปกป้องสิทธิของประชาชนในการปกปิดข้อมูลส่วนตัวที่ไม่ต้องการเปิดเผยได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามขณะนี้ประเทศไทยยังไม่มีการบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกปิดข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนที่เอกชนมีอยู่เป็นการเฉพาะ ดังนั้นจึงเกิดปัญหาการละเมิด เช่น เอาข้อมูลเช่นที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ ไปใช้ในทางธุรกิจและสร้างความรำคาญและสร้างความเสียหายให้กับประชาชนได้

"เชื่อว่าทุกคนก็ต้องเคยเจอว่าอยู่ๆมีโทรศัพท์ เข้ามามาเสนอขายประกัน บัตรเครดิต หรือเสนอขายสินค้าอื่นๆ โดยที่เราไม่เคยให้เบอร์โทรศัพท์กับผู้นั้น หรือบริษัทนั้นๆ ซึ่งหากมีกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในส่วนที่บังคับใช้กับเอกชนหากมีคนที่โทรเข้ามาหรือติดต่อเข้ามาด้วยวิธีการต่างๆ เราสามารถใช้กระบวนการทางกฎหมายในการสอบถามว่าเขาเอาข้อมูลมาจากไหน สอบถามถึงต้นตอแล้วให้เอกชนที่เอาข้อมูลของเราไปเผยแผร่รับผิดชอบในความเสียหายหรือลบข้อมูลในส่วนนี้ออกจากฐานระบบได้ ซึ่งเชื่อว่าเอกชนจะให้ความร่วมมือในเรื่องนี้เพราะเรื่องนี้เป็นการปกป้องสิทธิและข้อมูลส่วนบุคคลของลูกค้า ซึ่งหากเอกชนทำได้ก็จะส่งผลดีต่อธุรกิจในแง่ของความเชื่อถือที่ลูกค้าจะมีต้อบริษัทนั้นๆ" นายวราเทพกล่าว

นายวราเทพ กล่าวว่า ที่ผ่านมา ตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2554 ที่มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2540 พ.ร.บ.ฉบับนี้ได้ช่วยสร้างบรรยากาศการติดต่อระหว่างประชาชนและหน่วยงานข้าราชการได้ดีขึ้นเป็นลำดับและทำให้ข้อมูลราชการที่สำคัญอย่างเช่นการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐเป็นข้อมูลที่หน่วยราชการมีหน้าที่ต้องเผยแพร่ให้ประชาชนรับรู้ด้วยความโปร่งใส ซึ่งช่วยลดปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลงไปได้ส่วนหนึ่ง อย่างไรก็ตามตนได้ให้นโยบายกับคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารว่าให้รอบครอบระมัดระวังในการเปิดเผยข้อมูลของรัฐ เนื่องจากอาจถูกผู้ไม่หวังดีกับภาครัฐเอาข้อมูลไปใช้ในทางที่ผิดจนสร้างความเสียหายกับประเทศได้

"รัฐบาลมีความตั้งใจแน่วแน่ในการปราบปรามและป้องกันการทุจริตของรัฐบาลซึ่งการเปิดเผยข้อมูลจัดซื้อจัดจ้างตาม พ.ร.บ.ข้อมูลข่าวสารจะเป็นกลไกอย่างหนึ่งในการแก้ไขปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นตามที่รัฐบาลประกาศเจตนารมณ์ในการต่อต้านการทุจริตไว้ 3 ประการ โดยอยู่ระหว่างดำเนินการให้เป็นรูปธรรม ได้แก่ 1.การเปิดเผยข้อมูลการจัดซื้อจัดจ้าง และสร้างความเท่าเทียมในทางปฏิบัติให้กับเอกชนผู้เข้าประมูลงานของรัฐทุกราย 2.การเปิดให้เอกชนเข้ามาร่วมสังเกตการณ์การจัดซื้อจัดจ้าง โดยอยู่ระหว่างจัดตั้งคณะกรรมการร่วมที่มีตัวแทนจากทุกฝ่ายเข้ามาร่วมสังเกตการณ์การจัดซื้อจัดจ้าง โดยรูปแบบคล้ายกับคณะกรรมการร่วมที่รัฐวิสาหกิจได้ดำเนินการมาก่อนหน้านี้แล้ว และ3.การตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนความโปร่งใสในการจัดซื้อจัดจ้างภาครัฐ"

ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น