โดย.นพคุณ ศิลาเณร
ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ผ่านการพิจารณาวาระแรกของสภา เมื่อ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 300 ต่อ 124 เสียง
ตามกติกาการออกกฎหมายแล้ว เส้นทางเดินร่างกฎหมายฉบับนี้ ยังฟันฝ่าด่านอุปสรรคอีกยาวไกล
จากนี้ไปต้องเข้าสู่ขั้นแปรญัตติของคณะกรรมาธิการ แล้วกลับมาสภาลงมติวาระสองและวาระสาม เมื่อผ่านจึงเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาพิจารณาอีก 3 วาระ
ทุกด่านฝ่าฟัน ย่อมเจอมรสุมปาก จากพรรคประชาธิปัตย์คอยป่วนทั้งสิ้น ซ้ำร้ายอาจเจอม็อบนอกสภากดดันเข้าอีก พิจารณาอารมณ์เดือดทางการเมืองแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเดิน ด้วยความราบเรียบ
ดังนั้น การต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ยังอีกหลายยก และทุกยก ทุกมาตรการต่อต้านนับจากนี้ไปมีแนวโน้มเพิ่มความ รุนแรงหนักมือขึ้นทุกขณะ
แม้ในยกแรก พรรคประชาธิปัตย์ "แพ้" หมดรูปมวยพรรคการเมืองเก่าแก่กว่า 60 ปี แต่ในยกต่อๆ ไปยากที่จะประเมิน "ทีเด็ด" ได้
หากถอดรหัสการต่อต้านในยกแรกแล้ว คงพอเห็นความ "น่ากลัว" ในอนาคตได้ค่อนข้างเป็นภาพความรุนแรงใกล้ก่อตัวขึ้นอย่างน่าสะพรึง และฉุดลากให้เศรษฐกิจ เอกชนเกิดการชะงักอยู่มิใช่น้อย
ภาพการทุ่มสุดตัวของพรรคประชาธิปัตย์สะท้อนอารมณ์การเมืองผ่านมุมมองและการเคลื่อนไหวของแกนนำที่น่าสนใจอย่างน้อย 3 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวหมู่ทะลวงที่มากด้วยอารมณ์เถื่อนดิบในการต่อสู้
สิ่งไม่ธรรมดาและควรใส่ใจอย่างยิ่งอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ "อดีตนายกรัฐมนตรี" ถึง 2 คน คือ "ชวน-อภิสิทธิ์" ออกมาก่อม็อบเคลื่อนไหวนอกสภาอย่างเอาการเอางาน
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเล่นการเมืองข้างถนน ไม่เคยปรากฏในการเมืองไทย แต่พรรคประชาธิปัตย์จัดสร้างให้กลายเป็น บันทึกไปแล้ว... ตรงนี้มีมิติความสำคัญอยู่ลึกๆ
โดยเฉพาะ "นายชวน" ผู้เป็นนักการเมืองที่ได้ชื่อว่า เป็น "น้ำดี" ของพรรคที่เต็มไปด้วยจุดยืน "มนุษย์หลักการ" ในการต่อสู้ทางการเมืองด้วยวาทะลือลั่นว่า "ผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา"
แปลความง่ายๆ คือ ใช้เวทีรัฐสภาต่อสู้ ทางการเมือง ไม่นิยมเล่นบทบาท "ผู้นำม็อบ" พาประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนอกสภา แต่พรรคประชาธิปัตย์ยุคนี้เปลี่ยนไปแล้ว การเมืองนอกสภาเคลื่อนมวลชน ข้างถนนจึงเป็นเกมส่วนหนึ่งในการเอาชนะ
การต่อสู้ครั้งนี้ "นายชวน" สลัดภาพ "เจ้าแห่งหลักการระบบรัฐสภา" ทิ้ง แล้วปลุกระดมมวลชน นำการเคลื่อนไหวม็อบเดินขบวนไปสู่สภาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา
นายชวนให้เหตุผลอธิบายการต่อสู้ในระบบรัฐสภาว่า ระบบรัฐสภามี 2 แบบคือ แบบนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดี แต่การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อต้านระบบประธานาธิบดี
บทบาทของนายชวนจึงน่าสนใจและประเมินอารมณ์ต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องเล่น แรง จัดหนัก เอาพรรคทั้งพรรคมาเดิมพัน หากแพ้นั่นย่อมหมายความว่า ตาย (ทาง การเมือง) กันยกพรรค
ยกแรก พรรคประชาธิปัตย์แพ้ ทั้งการนำม็อบข้างถนนนอกสภาและตีรวน ปั่นป่วนในสภา
ยกแรกประชาธิปัตย์เล่นแรง เร่งโหม โฆษณา "สิงหาเดือด" ม็อบชนม็อบ นายสุเทพเป่านกหวีดคนมาเป็นล้าน รัฐบาลล้มแน่ สื่อมวลชนเลือกข้างช่วยปลุก แต่งานออกมากร่อย และสุเทพอาจต้องอยู่ในรู หากจริงจังกับคำพูดบนเวทีผ่าความจริง
บทบาทม็อบข้างถนนของพรรคประชาธิปัตย์ สมควรบันทึกไว้อย่างยิ่ง เพราะเป็นครั้งแรกที่พรรคนี้เข้ามาจัดสร้าง และนำม็อบบุกสภา...
ก่อนเดือนสิงหาคม ประชาชนหวั่นใจ ระทึก เศรษฐกิจชะงัก ล้วนตระหนักว่า การเมืองร้อนแน่นอน ม็อบเตรียมการกันมา อย่างดี ทั้งม็อบหน้ากากขาว ม็อบสนามหลวงของไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ม็อบกองทัพปลดแอกแห่งประเทศไทย พร้อมๆ กับการโฆษณาราวกับกรุงเทพฯ จะราบเป็นหน้ากลองด้วยม็อบข้างถนนที่จะระดมกันมาเป็นเรือนล้าน
แต่ของจริงกลับจบเอาดื้อๆ จบแบบหักมุม โดย "อภิสิทธิ์" บอกให้มวลชนกลับบ้าน ไม่ต้องไปส่งเข้าประชุมสภาแล้ว เสียราคาคุย โอ้อวดจนซ้ำรอยการถูกกล่าวหาว่า "ดีแต่พูด"
หากไล่เรียงการโฆษณาทางการเมือง ด้วยรหัสข่มขวัญว่า "สิงหาเดือด" แล้ว ย่อมเห็นพัฒนาการการนำม็อบและการปลุก มวลชนของ "ชวน" เพื่อประเมินการต่อสู้ในยกต่อๆ ไป
วันที่ 4 สิงหาคม ม็อบคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณภายใต้การสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มปักหลักที่สวนลุมพินี ม็อบ โฆษณาใหญ่มีคนมาเป็นหมื่นเป็นแสน เอาเข้าจริงมาเพียงหลักพันไม่เกิน 3,000 คน
เย็นวันที่ 6 ที่ใต้ทางด่วนแยกอุรุพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์ชุมนุมในรหัส "เวทีผ่าความจริง" ปลุกระดมประชาชนครั้งสุดท้ายก่อนยกขบวนผ่าด่านสกัดของตำรวจเข้าประชุมสภาในวันที่ 7 สิงหาคม แต่คนมาน้อยราว 2,000 คน ล้มเหลวไม่เป็นท่า งาน นี้ต้องสละมวลชนที่เดินตามเป็นขบวน โดย เรียกร้องปล่อยให้กลับ
สรุป คือ ม็อบพรรคประชาธิปัตย์ที่เล่นเกมการเมืองนอกสภา "ถือว่าจบไปแล้วในทางยุทธศาสตร์" นั่นเป็นภาพรวมของม็อบข้างถนนภายใต้การจัดสร้างของพรรค ประชาธิปัตย์
แต่อย่าประเมินพรรคประชาธิปัตย์ต่ำ แม้แพ้ในยกแรก แต่ยังไม่ได้แพ้ราบคาบ การต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมยังมีการต่อสู้อีกหลายยก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าประเมินม็อบของพรรคประชาธิปัตย์ผ่านบทบาทการลงมาเล่นเกมข้างถนนของนายชวนแล้ว สะท้อนได้ว่า งานนี้มีเกมยาวแน่นอน
เกมยาวที่ต้องลากเชื่อมไปสู่ยุทธศาสตร์ที่ "อภิสิทธิ์" เคยวิเคราะห์การเมืองว่า จะเกิดการยุบสภาปลายปี 2556 ดังนั้น เป้าหมายทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จึงอยู่บนเส้นทาง "ยุบสภา" โดยใช้เงื่อนไข "ป่วนกฎหมายนิรโทษกรรม" มาก่อหวอด
นี่คือ สงครามของพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นสงครามที่นายชวนลงมาเคลื่อนไหว ด้วยตัวเอง แน่นอนงานนี้ต้องไม่ธรรมดา และไม่จบกันง่ายๆ แค่การแพ้ในยกแรกเท่านั้น โปรดรอความระทึกในภาคแก้มือของ พรรคประชาธิปัตย์ในอนาคตอันใกล้
รับรองสะใจ กรุงเทพฯ คงราบเป็น หน้ากลองด้วยพลังมวลชนเป็นแสน ก่อพลังล้มรัฐบาลก็คราวนี้ โปรดรอและอย่าประมาทนายหัวชวนเด็ดขาด
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////
ร่างกฎหมายนิรโทษกรรมของนายวรชัย เหมะ ส.ส.สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ผ่านการพิจารณาวาระแรกของสภา เมื่อ 8 สิงหาคม ที่ผ่านมา ด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น 300 ต่อ 124 เสียง
ตามกติกาการออกกฎหมายแล้ว เส้นทางเดินร่างกฎหมายฉบับนี้ ยังฟันฝ่าด่านอุปสรรคอีกยาวไกล
จากนี้ไปต้องเข้าสู่ขั้นแปรญัตติของคณะกรรมาธิการ แล้วกลับมาสภาลงมติวาระสองและวาระสาม เมื่อผ่านจึงเป็นหน้าที่ของวุฒิสภาพิจารณาอีก 3 วาระ
ทุกด่านฝ่าฟัน ย่อมเจอมรสุมปาก จากพรรคประชาธิปัตย์คอยป่วนทั้งสิ้น ซ้ำร้ายอาจเจอม็อบนอกสภากดดันเข้าอีก พิจารณาอารมณ์เดือดทางการเมืองแล้ว จึงไม่ใช่เรื่องง่ายที่ร่างกฎหมายฉบับนี้จะเดิน ด้วยความราบเรียบ
ดังนั้น การต่อสู้ของพรรคประชาธิปัตย์ยังอีกหลายยก และทุกยก ทุกมาตรการต่อต้านนับจากนี้ไปมีแนวโน้มเพิ่มความ รุนแรงหนักมือขึ้นทุกขณะ
แม้ในยกแรก พรรคประชาธิปัตย์ "แพ้" หมดรูปมวยพรรคการเมืองเก่าแก่กว่า 60 ปี แต่ในยกต่อๆ ไปยากที่จะประเมิน "ทีเด็ด" ได้
หากถอดรหัสการต่อต้านในยกแรกแล้ว คงพอเห็นความ "น่ากลัว" ในอนาคตได้ค่อนข้างเป็นภาพความรุนแรงใกล้ก่อตัวขึ้นอย่างน่าสะพรึง และฉุดลากให้เศรษฐกิจ เอกชนเกิดการชะงักอยู่มิใช่น้อย
ภาพการทุ่มสุดตัวของพรรคประชาธิปัตย์สะท้อนอารมณ์การเมืองผ่านมุมมองและการเคลื่อนไหวของแกนนำที่น่าสนใจอย่างน้อย 3 คน คือ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตนายกรัฐมนตรี นายชวน หลีกภัย อดีตนายกรัฐมนตรี และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ หัวหมู่ทะลวงที่มากด้วยอารมณ์เถื่อนดิบในการต่อสู้
สิ่งไม่ธรรมดาและควรใส่ใจอย่างยิ่งอยู่ที่พรรคประชาธิปัตย์ใช้ "อดีตนายกรัฐมนตรี" ถึง 2 คน คือ "ชวน-อภิสิทธิ์" ออกมาก่อม็อบเคลื่อนไหวนอกสภาอย่างเอาการเอางาน
อดีตนายกรัฐมนตรีมาเล่นการเมืองข้างถนน ไม่เคยปรากฏในการเมืองไทย แต่พรรคประชาธิปัตย์จัดสร้างให้กลายเป็น บันทึกไปแล้ว... ตรงนี้มีมิติความสำคัญอยู่ลึกๆ
โดยเฉพาะ "นายชวน" ผู้เป็นนักการเมืองที่ได้ชื่อว่า เป็น "น้ำดี" ของพรรคที่เต็มไปด้วยจุดยืน "มนุษย์หลักการ" ในการต่อสู้ทางการเมืองด้วยวาทะลือลั่นว่า "ผมเชื่อมั่นในระบบรัฐสภา"
แปลความง่ายๆ คือ ใช้เวทีรัฐสภาต่อสู้ ทางการเมือง ไม่นิยมเล่นบทบาท "ผู้นำม็อบ" พาประชาชนออกมาเคลื่อนไหวนอกสภา แต่พรรคประชาธิปัตย์ยุคนี้เปลี่ยนไปแล้ว การเมืองนอกสภาเคลื่อนมวลชน ข้างถนนจึงเป็นเกมส่วนหนึ่งในการเอาชนะ
การต่อสู้ครั้งนี้ "นายชวน" สลัดภาพ "เจ้าแห่งหลักการระบบรัฐสภา" ทิ้ง แล้วปลุกระดมมวลชน นำการเคลื่อนไหวม็อบเดินขบวนไปสู่สภาเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม ที่ผ่านมา
นายชวนให้เหตุผลอธิบายการต่อสู้ในระบบรัฐสภาว่า ระบบรัฐสภามี 2 แบบคือ แบบนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดี แต่การต่อสู้ครั้งนี้เป็นการต่อต้านระบบประธานาธิบดี
บทบาทของนายชวนจึงน่าสนใจและประเมินอารมณ์ต่อต้านร่างกฎหมายนิรโทษกรรมว่า พรรคประชาธิปัตย์ต้องเล่น แรง จัดหนัก เอาพรรคทั้งพรรคมาเดิมพัน หากแพ้นั่นย่อมหมายความว่า ตาย (ทาง การเมือง) กันยกพรรค
ยกแรก พรรคประชาธิปัตย์แพ้ ทั้งการนำม็อบข้างถนนนอกสภาและตีรวน ปั่นป่วนในสภา
ยกแรกประชาธิปัตย์เล่นแรง เร่งโหม โฆษณา "สิงหาเดือด" ม็อบชนม็อบ นายสุเทพเป่านกหวีดคนมาเป็นล้าน รัฐบาลล้มแน่ สื่อมวลชนเลือกข้างช่วยปลุก แต่งานออกมากร่อย และสุเทพอาจต้องอยู่ในรู หากจริงจังกับคำพูดบนเวทีผ่าความจริง
บทบาทม็อบข้างถนนของพรรคประชาธิปัตย์ สมควรบันทึกไว้อย่างยิ่ง เพราะเป็นครั้งแรกที่พรรคนี้เข้ามาจัดสร้าง และนำม็อบบุกสภา...
ก่อนเดือนสิงหาคม ประชาชนหวั่นใจ ระทึก เศรษฐกิจชะงัก ล้วนตระหนักว่า การเมืองร้อนแน่นอน ม็อบเตรียมการกันมา อย่างดี ทั้งม็อบหน้ากากขาว ม็อบสนามหลวงของไชยวัฒน์ สินสุวงศ์ ม็อบกองทัพปลดแอกแห่งประเทศไทย พร้อมๆ กับการโฆษณาราวกับกรุงเทพฯ จะราบเป็นหน้ากลองด้วยม็อบข้างถนนที่จะระดมกันมาเป็นเรือนล้าน
แต่ของจริงกลับจบเอาดื้อๆ จบแบบหักมุม โดย "อภิสิทธิ์" บอกให้มวลชนกลับบ้าน ไม่ต้องไปส่งเข้าประชุมสภาแล้ว เสียราคาคุย โอ้อวดจนซ้ำรอยการถูกกล่าวหาว่า "ดีแต่พูด"
หากไล่เรียงการโฆษณาทางการเมือง ด้วยรหัสข่มขวัญว่า "สิงหาเดือด" แล้ว ย่อมเห็นพัฒนาการการนำม็อบและการปลุก มวลชนของ "ชวน" เพื่อประเมินการต่อสู้ในยกต่อๆ ไป
วันที่ 4 สิงหาคม ม็อบคณะเสนาธิการร่วมกองทัพประชาชนโค่นระบอบทักษิณภายใต้การสนับสนุนของพรรคประชาธิปัตย์ เริ่มปักหลักที่สวนลุมพินี ม็อบ โฆษณาใหญ่มีคนมาเป็นหมื่นเป็นแสน เอาเข้าจริงมาเพียงหลักพันไม่เกิน 3,000 คน
เย็นวันที่ 6 ที่ใต้ทางด่วนแยกอุรุพงษ์ พรรคประชาธิปัตย์ชุมนุมในรหัส "เวทีผ่าความจริง" ปลุกระดมประชาชนครั้งสุดท้ายก่อนยกขบวนผ่าด่านสกัดของตำรวจเข้าประชุมสภาในวันที่ 7 สิงหาคม แต่คนมาน้อยราว 2,000 คน ล้มเหลวไม่เป็นท่า งาน นี้ต้องสละมวลชนที่เดินตามเป็นขบวน โดย เรียกร้องปล่อยให้กลับ
สรุป คือ ม็อบพรรคประชาธิปัตย์ที่เล่นเกมการเมืองนอกสภา "ถือว่าจบไปแล้วในทางยุทธศาสตร์" นั่นเป็นภาพรวมของม็อบข้างถนนภายใต้การจัดสร้างของพรรค ประชาธิปัตย์
แต่อย่าประเมินพรรคประชาธิปัตย์ต่ำ แม้แพ้ในยกแรก แต่ยังไม่ได้แพ้ราบคาบ การต่อต้านกฎหมายนิรโทษกรรมยังมีการต่อสู้อีกหลายยก
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าประเมินม็อบของพรรคประชาธิปัตย์ผ่านบทบาทการลงมาเล่นเกมข้างถนนของนายชวนแล้ว สะท้อนได้ว่า งานนี้มีเกมยาวแน่นอน
เกมยาวที่ต้องลากเชื่อมไปสู่ยุทธศาสตร์ที่ "อภิสิทธิ์" เคยวิเคราะห์การเมืองว่า จะเกิดการยุบสภาปลายปี 2556 ดังนั้น เป้าหมายทางการเมืองของพรรคประชาธิปัตย์จึงอยู่บนเส้นทาง "ยุบสภา" โดยใช้เงื่อนไข "ป่วนกฎหมายนิรโทษกรรม" มาก่อหวอด
นี่คือ สงครามของพรรคประชาธิปัตย์ และเป็นสงครามที่นายชวนลงมาเคลื่อนไหว ด้วยตัวเอง แน่นอนงานนี้ต้องไม่ธรรมดา และไม่จบกันง่ายๆ แค่การแพ้ในยกแรกเท่านั้น โปรดรอความระทึกในภาคแก้มือของ พรรคประชาธิปัตย์ในอนาคตอันใกล้
รับรองสะใจ กรุงเทพฯ คงราบเป็น หน้ากลองด้วยพลังมวลชนเป็นแสน ก่อพลังล้มรัฐบาลก็คราวนี้ โปรดรอและอย่าประมาทนายหัวชวนเด็ดขาด
ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น