สำนักงานส่งเสริมการค้าระหว่าง ประเทศ ณ นครคุนหมิง รายงานว่า เมื่อเร็วๆ นี้ ทางเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาชนชาติไต ได้มีการแถลงข่าวเกี่ยวกับการเร่งผลักดัน "เขตการค้า ชายแดนจีน-ลาว-พม่า-ไทย" เพื่อรองรับ เขตการค้าเสรีอาเซียน-จีน และเพื่อให้มณฑลยูนนานเปิดกว้างสู่ภายนอก
เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน มีดินแดนติดกับประเทศอาเซียน คือ ลาว พม่าและเวียดนาม ยังตั้งอยู่ใกล้กับไทยมากที่สุด มีความใกล้ชิดและติดต่อกับไทยมานานตั้งแต่มีความร่วมมือกันภายใต้กรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ แม้ว่าจะไม่มีพรมแดนติดต่อกันโดยตรง แต่สามารถใช้เส้นทางถนนเส้นทางรถยนต์ R3E โดยผ่านประเทศลาว (เชียงของ-บ่อหาน ระยะทาง 245 กิโลเมตร) (คุนหมิง- ลาว - กรุงเทพฯ ระยะทาง 1,800 กิโลเมตร) และสามารถใช้เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำโขงหรือชางเจียง (สิบสองปันนา- เชียงของ) รวมทั้งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) จะแล้วเสร็จในปลายปี 2556 ทำให้จีน ไทย ลาวและพม่า สามารถติดต่อค้าขายกันโดย ตรงทางการค้าชายแดน
ภายใต้แผนความร่วมมือการค้าข้าม แดนบ่อหาน-บ่อเต็น (จีน-ลาว) ได้มีการผลักดันก่อตั้ง "เขตการค้าชายแดน" ครอบคลุมเขตบ่อหานในสิบสองปันนา หลวงน้ำทา-บ่อแก้วในลาว เชียงของ จังหวัดเชียงรายของไทย และเชียงตุงของ พม่า รวม 4 ประเทศ และยกระดับการเปิดกว้างการค้าของมณฑลยูนนาน เพื่อให้ เขตสิบสองปันนาเป็นเมืองหน้าด่านหรือประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายหลัว หง เจียง ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา เปิดเผยว่า ได้กำหนดให้เขตความร่วมมือการค้าข้ามแดนบ่อหาน-บ่อเต็น เป็นจุดเปิดสำหรับความร่วมมือและการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีเส้นทางขนส่งทางถนนคุน มั่นกงลู่ ที่สร้างเสร็จแล้ว หรือทางรถไฟฟ่านย่าที่กำลังจะก่อสร้างซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ สำหรับพื้นที่แห่งนี้ นอกจากนี้ จะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยาแผนโบราณของชน ชาติไต ชาผูเอ่อร์ และอาหารชีวภาพที่ปลอดภัยต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้สิบสองปันนาเป็น "เขตการค้าชายแดน" อย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างและยกระดับความสามารถของท่าเรือจิ่งหง และท่าเรือกวานเหล่ย รวมทั้งเร่งโครงการ "ผักสดแลกน้ำมัน" "ดอกไม้แลกผลไม้" ผลไม้เมืองหนาวแลกผลไม้เมืองร้อน ตลอดจนก่อสร้างตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าในแนวชายแดน (จีน-ลาว-ไทย) และผลักดันเชียงตุงของพม่าเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมเร่งแก้ปัญหา "ผ่านแต่ไม่คล่อง" ของการขนส่งสินค้าทางรถยนต์
นางชไมพร เจือเจริญ กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง กล่าวว่า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาปี 2555 อยู่ที่ 1,360 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 40.5 มีบริษัทลงทุนจากต่างประเทศ 57 บริษัท ซึ่งได้เข้ามาลงทุนแล้วกว่า 63,840,000 เหรียญสหรัฐ คาดว่าภายในสองปีข้างหน้ามูลค่าการค้าระหว่างกันจะมีมากกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
"โอกาสการค้าในสิบสองปันนาและ มณฑลยูนนานมีมาก สำหรับผู้ประกอบการ ไทยที่สนใจจะนำสินค้าไทยไปขาย เนื่อง จากคนจีนมีกำลังซื้อและชอบสินค้าไทย แม้ว่าราคาจะสูงกว่าสินค้าจีน แต่เขาก็ชอบ ที่จะบริโภค เคยคุยกับผู้ประกอบการจีนที่ เอาสินค้าไทยไปขายอยู่แล้ว เขาบอกว่าอยากได้นมผงอัดเม็ดมาก ถ้าได้ราคาขาย ส่งเขาพร้อมซื้อทันที ในเมืองไทยขาย 10 บาท แต่ที่โน่นขาย 10 หยวน หยวนละ 5 บาท เท่ากับ 50 บาท ซึ่งสูงมากกว่า 5 เท่า เขาก็บอกให้ช่วยหาผู้ขายในเมืองไทยหน่อย เพราะเขาอยากได้จริงๆ สินค้าบริโภคอย่าง อื่น เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป น้ำพริก น้ำปลา ก็เป็นที่ต้องการของตลาด หรืออย่างน้ำผลไม้ แทนที่จะบริโภคของเขา ไม่เอาจะบริโภคน้ำผลไม้ไทย ซึ่งในเมืองไทยขายกล่องละ 55-60 บาท ที่นั่น 150-160 บาท"
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////
เขตปกครองตนเองสิบสองปันนา ตั้งอยู่ทางตอนใต้ของมณฑลยูนนาน มีดินแดนติดกับประเทศอาเซียน คือ ลาว พม่าและเวียดนาม ยังตั้งอยู่ใกล้กับไทยมากที่สุด มีความใกล้ชิดและติดต่อกับไทยมานานตั้งแต่มีความร่วมมือกันภายใต้กรอบความร่วมมือสี่เหลี่ยมเศรษฐกิจ แม้ว่าจะไม่มีพรมแดนติดต่อกันโดยตรง แต่สามารถใช้เส้นทางถนนเส้นทางรถยนต์ R3E โดยผ่านประเทศลาว (เชียงของ-บ่อหาน ระยะทาง 245 กิโลเมตร) (คุนหมิง- ลาว - กรุงเทพฯ ระยะทาง 1,800 กิโลเมตร) และสามารถใช้เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำโขงหรือชางเจียง (สิบสองปันนา- เชียงของ) รวมทั้งสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) จะแล้วเสร็จในปลายปี 2556 ทำให้จีน ไทย ลาวและพม่า สามารถติดต่อค้าขายกันโดย ตรงทางการค้าชายแดน
ภายใต้แผนความร่วมมือการค้าข้าม แดนบ่อหาน-บ่อเต็น (จีน-ลาว) ได้มีการผลักดันก่อตั้ง "เขตการค้าชายแดน" ครอบคลุมเขตบ่อหานในสิบสองปันนา หลวงน้ำทา-บ่อแก้วในลาว เชียงของ จังหวัดเชียงรายของไทย และเชียงตุงของ พม่า รวม 4 ประเทศ และยกระดับการเปิดกว้างการค้าของมณฑลยูนนาน เพื่อให้ เขตสิบสองปันนาเป็นเมืองหน้าด่านหรือประตูสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้
นายหลัว หง เจียง ผู้ว่าการเขตปกครองตนเองสิบสองปันนา เปิดเผยว่า ได้กำหนดให้เขตความร่วมมือการค้าข้ามแดนบ่อหาน-บ่อเต็น เป็นจุดเปิดสำหรับความร่วมมือและการค้ากับประเทศเพื่อนบ้าน และยังมีเส้นทางขนส่งทางถนนคุน มั่นกงลู่ ที่สร้างเสร็จแล้ว หรือทางรถไฟฟ่านย่าที่กำลังจะก่อสร้างซึ่งเป็นข้อได้เปรียบ สำหรับพื้นที่แห่งนี้ นอกจากนี้ จะเร่งพัฒนาอุตสาหกรรมยาแผนโบราณของชน ชาติไต ชาผูเอ่อร์ และอาหารชีวภาพที่ปลอดภัยต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนให้สิบสองปันนาเป็น "เขตการค้าชายแดน" อย่างสมบูรณ์แบบ
นอกจากนี้ ยังมีการก่อสร้างและยกระดับความสามารถของท่าเรือจิ่งหง และท่าเรือกวานเหล่ย รวมทั้งเร่งโครงการ "ผักสดแลกน้ำมัน" "ดอกไม้แลกผลไม้" ผลไม้เมืองหนาวแลกผลไม้เมืองร้อน ตลอดจนก่อสร้างตลาดแลกเปลี่ยนสินค้าในแนวชายแดน (จีน-ลาว-ไทย) และผลักดันเชียงตุงของพม่าเข้ามามีส่วนร่วม พร้อมเร่งแก้ปัญหา "ผ่านแต่ไม่คล่อง" ของการขนส่งสินค้าทางรถยนต์
นางชไมพร เจือเจริญ กงสุล (ฝ่ายการพาณิชย์) ณ นครคุนหมิง กล่าวว่า มูลค่าการค้าระหว่างประเทศของเขตปกครองตนเองสิบสองปันนาปี 2555 อยู่ที่ 1,360 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้นจากเดิมร้อยละ 40.5 มีบริษัทลงทุนจากต่างประเทศ 57 บริษัท ซึ่งได้เข้ามาลงทุนแล้วกว่า 63,840,000 เหรียญสหรัฐ คาดว่าภายในสองปีข้างหน้ามูลค่าการค้าระหว่างกันจะมีมากกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ
"โอกาสการค้าในสิบสองปันนาและ มณฑลยูนนานมีมาก สำหรับผู้ประกอบการ ไทยที่สนใจจะนำสินค้าไทยไปขาย เนื่อง จากคนจีนมีกำลังซื้อและชอบสินค้าไทย แม้ว่าราคาจะสูงกว่าสินค้าจีน แต่เขาก็ชอบ ที่จะบริโภค เคยคุยกับผู้ประกอบการจีนที่ เอาสินค้าไทยไปขายอยู่แล้ว เขาบอกว่าอยากได้นมผงอัดเม็ดมาก ถ้าได้ราคาขาย ส่งเขาพร้อมซื้อทันที ในเมืองไทยขาย 10 บาท แต่ที่โน่นขาย 10 หยวน หยวนละ 5 บาท เท่ากับ 50 บาท ซึ่งสูงมากกว่า 5 เท่า เขาก็บอกให้ช่วยหาผู้ขายในเมืองไทยหน่อย เพราะเขาอยากได้จริงๆ สินค้าบริโภคอย่าง อื่น เช่น เครื่องแกงสำเร็จรูป น้ำพริก น้ำปลา ก็เป็นที่ต้องการของตลาด หรืออย่างน้ำผลไม้ แทนที่จะบริโภคของเขา ไม่เอาจะบริโภคน้ำผลไม้ไทย ซึ่งในเมืองไทยขายกล่องละ 55-60 บาท ที่นั่น 150-160 บาท"
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น