จับตาอาหาร "จานด่วน" พาเหรดขึ้นราคาทั้งประเทศ หลังราคาวัตถุดิบปรุงอาหารขยับขึ้นกันถ้วนหน้า เผยเนื้อหมูจ่อขึ้นราคาแตะกิโลกรัมละ 70 บาท ขณะที่ "ร้านข้าวแกง" ย่านสีลมได้ขยับขึ้นราคาก่อนก๊าซหุงต้มปรับโครงสร้างราคาวันที่ 1 กันยายน นี้
ทีมข่าว "สยามธุรกิจ" ได้สำรวจร้านอาหารจานด่วนและร้านข้าวแกงในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดพบว่า ย่านสีลมได้มีการปรับราคาข้าวแกงกันแล้ว แต่ได้ปรับเทคนิคการขึ้นราคาสำหรับกับข้าวไปถุงและใส่ถ้วยกลับบ้าน โดยได้ปรับจากถุงละ 35 บาท ปรับขึ้นเป็น 40 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นก่อนที่จะมีการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในวันที่ 1 กันยายน นี้
ดังนั้น จึงน่าจับตาราคาอาหารจานด่วนในตลาดที่อาจจะฉวยปรับขึ้นราคา ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาแนะนำอาหาร 10 เมนูยอดนิยม ไม่เกินจานละ 30-35 บาท เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ พิษน้ำท่วมในหลายพื้นที่จังหวัด ส่งผลให้พืชผักบางชนิดและอาหารสดในตลาดสดมีราคาแพงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาผักหลายชนิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้ปรับราคาสูงขึ้น อาทิ ผักคะน้า จากเดิมราคากิโลกรัมละ 45 บาท ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 50 บาท ต้นหอม เดิมกิโลกรัมละ 30 บาท ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 35 บาท ผักชี เดิมกิโลกรัมละ 85 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 90 บาท
ส่วนราคาเนื้อสุกรชำแหละ อยู่ในราคากิโลกรัมละ 135 บาท ยกเว้นหมูตัดแต่ง ราคากิโลกรัมละ 140 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าที่สูงเกินกว่านี้ได้ เพราะว่าผู้บริโภคจะหันไปบริโภคเนื้อสัตว์อย่างอื่น เช่น ไก่ และปลา
ด้าน นายสุทธิศักดิ์ พรหมบุตร การค้าภายในจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจราคาพืชผัก และอาหารสดในตลาดสดอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันพ่อค้าแม่ค้าฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภค หากตรวจพบพ่อค้าแม่ค้ารายใดฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าแพงเกินความเป็นจริง ก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากไม่ปิดป้ายแสดงราคาจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
"หากประชาชนรายใดถูกเอารัดเอาเปรียบสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานการค้าภายในจังหวัดฯ พาณิชย์จังหวัดฯ และสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ร้องเรียนผ่านสายด่วนแม่บ้าน 1569 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดกับพ่อค้าแม่ค้าดังกล่าว"
ขณะที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่กรุงเทพฯ ก็ได้สำรวจราคาสินค้าเกษตรในตลาดสดย่านกรุงเทพฯ พบว่า ราคาขายปลีกหมูเนื้อแดงปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 135-140 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงสัปดาห์ก่อนที่หมูเนื้อแดงเฉลี่ยอยู่กิโลกรัมละ 130-135 บาท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังจากที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขยับราคาขึ้นมาอีกกก.ละ 2-3 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ราคาหมูหน้าฟาร์มได้ปรับราคาขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 67-69 บาท เพิ่มขึ้น 2-3 บาท จากเดิมที่ราคาหมูหน้าฟาร์มอยู่ที่กิโลกรัมละ 65 บาท ซึ่งเป็นผลจากปริมาณหมูในตลาดลดน้อยลง จากการที่เกษตรกรลดการเลี้ยงหมูตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จากภาวะการขาดทุน ประกอบการเกิดภาวะโรคในหมู ซึ่งหากปริมาณหมูลดลงมาก ก็อาจต้องปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม ขึ้นมาอีก จะทำให้หมูเป็นหน้าฟาร์มทะลุเกินกิโลกรัมละ 70 บาทขึ้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกหมูหน้าเขียงต้องปรับราคาตามไปด้วย
นอกจากนี้ ราคาสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต อาหารปรุงสำเร็จเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารจานเดียวปรับตัวเพิ่มขึ้น
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////
ทีมข่าว "สยามธุรกิจ" ได้สำรวจร้านอาหารจานด่วนและร้านข้าวแกงในเขตกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดพบว่า ย่านสีลมได้มีการปรับราคาข้าวแกงกันแล้ว แต่ได้ปรับเทคนิคการขึ้นราคาสำหรับกับข้าวไปถุงและใส่ถ้วยกลับบ้าน โดยได้ปรับจากถุงละ 35 บาท ปรับขึ้นเป็น 40 บาท เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 สิงหาคม 2556 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นการปรับขึ้นก่อนที่จะมีการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม (แอลพีจี) ในวันที่ 1 กันยายน นี้
ดังนั้น จึงน่าจับตาราคาอาหารจานด่วนในตลาดที่อาจจะฉวยปรับขึ้นราคา ซึ่งปัจจุบันกระทรวงพาณิชย์กำหนดราคาแนะนำอาหาร 10 เมนูยอดนิยม ไม่เกินจานละ 30-35 บาท เนื่องจากวัตถุดิบที่ใช้ปรุงอาหารได้ปรับสูงขึ้น นอกจากนี้ พิษน้ำท่วมในหลายพื้นที่จังหวัด ส่งผลให้พืชผักบางชนิดและอาหารสดในตลาดสดมีราคาแพงขึ้น
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราคาผักหลายชนิดที่จังหวัดบุรีรัมย์ได้ปรับราคาสูงขึ้น อาทิ ผักคะน้า จากเดิมราคากิโลกรัมละ 45 บาท ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 50 บาท ต้นหอม เดิมกิโลกรัมละ 30 บาท ปรับขึ้นเป็นกิโลกรัมละ 35 บาท ผักชี เดิมกิโลกรัมละ 85 บาท เพิ่มเป็นกิโลกรัมละ 90 บาท
ส่วนราคาเนื้อสุกรชำแหละ อยู่ในราคากิโลกรัมละ 135 บาท ยกเว้นหมูตัดแต่ง ราคากิโลกรัมละ 140 บาท ทั้งนี้ เนื่องจากผู้ประกอบการไม่สามารถปรับขึ้นราคาสินค้าที่สูงเกินกว่านี้ได้ เพราะว่าผู้บริโภคจะหันไปบริโภคเนื้อสัตว์อย่างอื่น เช่น ไก่ และปลา
ด้าน นายสุทธิศักดิ์ พรหมบุตร การค้าภายในจังหวัดบุรีรัมย์ กล่าวว่า ได้ส่งเจ้าหน้าที่ออกสุ่มตรวจราคาพืชผัก และอาหารสดในตลาดสดอย่างต่อเนื่อง เพื่อป้องกันพ่อค้าแม่ค้าฉวยโอกาสเอาเปรียบผู้บริโภค หากตรวจพบพ่อค้าแม่ค้ารายใดฉวยโอกาสปรับขึ้นราคาสินค้าแพงเกินความเป็นจริง ก็จะมีความผิดตามพระราชบัญญัติว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ พ.ศ.2542 มีโทษจำคุกไม่เกิน 7 ปี ปรับไม่เกิน 140,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากไม่ปิดป้ายแสดงราคาจะมีโทษปรับไม่เกิน 10,000 บาท
"หากประชาชนรายใดถูกเอารัดเอาเปรียบสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานการค้าภายในจังหวัดฯ พาณิชย์จังหวัดฯ และสำนักงานคุ้มครองผู้บริโภค หรือ ร้องเรียนผ่านสายด่วนแม่บ้าน 1569 เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เข้าไปตรวจสอบและดำเนินการเอาผิดกับพ่อค้าแม่ค้าดังกล่าว"
ขณะที่กรมการค้าภายใน กระทรวงพาณิชย์ ที่กรุงเทพฯ ก็ได้สำรวจราคาสินค้าเกษตรในตลาดสดย่านกรุงเทพฯ พบว่า ราคาขายปลีกหมูเนื้อแดงปรับเพิ่มขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 135-140 บาท เพิ่มขึ้นจากช่วงสัปดาห์ก่อนที่หมูเนื้อแดงเฉลี่ยอยู่กิโลกรัมละ 130-135 บาท ซึ่งเป็นการปรับเพิ่มขึ้นหลังจากที่ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์มขยับราคาขึ้นมาอีกกก.ละ 2-3 บาท
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ขณะนี้ราคาหมูหน้าฟาร์มได้ปรับราคาขึ้นมาอยู่ที่กิโลกรัมละ 67-69 บาท เพิ่มขึ้น 2-3 บาท จากเดิมที่ราคาหมูหน้าฟาร์มอยู่ที่กิโลกรัมละ 65 บาท ซึ่งเป็นผลจากปริมาณหมูในตลาดลดน้อยลง จากการที่เกษตรกรลดการเลี้ยงหมูตั้งแต่กลางปีที่แล้ว จากภาวะการขาดทุน ประกอบการเกิดภาวะโรคในหมู ซึ่งหากปริมาณหมูลดลงมาก ก็อาจต้องปรับราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม ขึ้นมาอีก จะทำให้หมูเป็นหน้าฟาร์มทะลุเกินกิโลกรัมละ 70 บาทขึ้นไป ส่งผลให้ราคาขายปลีกหมูหน้าเขียงต้องปรับราคาตามไปด้วย
นอกจากนี้ ราคาสินค้าในกลุ่มวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต อาหารปรุงสำเร็จเริ่มปรับตัวสูงขึ้น เช่น เนื้อหมู เนื้อไก่ อาจส่งผลให้ต้นทุนการผลิตอาหารจานเดียวปรับตัวเพิ่มขึ้น
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น