โดย ณกฤช เศวตนันท์
ในปี พ.ศ. 2558 แต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)
เมื่อ AEC เปิดตัวแล้ว ประชากรจากชาติสมาชิกประมาณ 600 ล้านคนจะทำให้เกิด ตลาดของผู้บริโภค ขนาดใหญ่ เหมาะแก่การเข้าไปลงทุนทำการค้าในทั้ง 10 ประเทศสมาชิก
ในคอลัมน์ฉบับนี้เราจะมาดูกันถึง พฤติกรรมการบริโภค ของประเทศสมาชิกเพื่อนบ้าน AEC เพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบว่า แต่ละประเทศมีพฤติกรรมการบริโภคอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเข้าไปติดต่อหรือลงทุนในแต่ละประเทศได้อย่างเหมาะสม

ประเทศกัมพูชา เป็นชาติที่ประชากรมีพฤติกรรมคล้ายกับคนไทย จึงทำให้คนกัมพูชาชื่นชอบสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่สำคัญประชากรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 20 ปี และพร้อมจะรับสิ่งใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน
ดังนั้น ประชากรกัมพูชาจึงกำลังนิยมนำสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเครื่องแต่งกายที่นำสมัยหากมีราคาที่ไม่แพงมาก เนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากนัก
ส่วน ประเทศสิงคโปร์ เป็นชาติที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และขนาดประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาคนี้ ด้วยความที่เป็นประเทศเล็ก การผลิตสินค้าและบริการในสิงคโปร์จึงทำได้ยาก การบริโภคของคนสิงคโปร์จึงอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก
อีกประการคือ เศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์ค่อนข้างดี ประชากรมีอำนาจในการซื้อสูง คนสิงคโปร์มักนิยมเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพค่อนข้างสูง และเนื่องจากวัฒนธรรมหรือไลฟ์สไตล์ทางตะวันตกมีอิทธิพลมากในสังคมสิงคโปร์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคยังอ่อนไหวต่อกระแสนิยมและแฟชั่นในตลาดโลกสูง จนได้ชื่อว่าเป็นตลาดแฟชั่นที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาคือประเทศอินโดนีเซีย ประชากรร้อยละ 86 ของอินโดนีเซียเป็นชาวมุสลิม แต่ไม่ค่อยเคร่งครัดมากนักเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เห็นได้จากเหล้าและเบียร์นั้นยังหาซื้อได้ง่าย แต่ตัวสินค้าที่มีตราฮาลาลก็ยังได้รับความนิยมมาก การบริโภคและสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปนั้นดูจะเป็นที่นิยมมากกว่าสินค้าประเภทอาหารสด
โดยภาพรวมคนอินโดนีเซียเป็นชาติที่ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูง ซึ่งมีรายงานพบว่า ชาวอินโดนีเซียใช้จ่ายกว่าร้อยละ 51 ของรายได้ทั้งหมดเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน
แต่ทั้งนี้ คนอินโดนีเซียส่วนใหญ่ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับราคาสินค้า ทำให้ไม่ค่อยนิยมสินค้านำเข้าที่ราคาแพง หรือสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ราคาสูง
สำหรับอีกประเทศสมาชิก AEC ชนชาติลาว มีอุปนิสัยเหมือนคนไทย และพูดภาษาไทยได้ พรมแดนก็ติดกันกับประเทศไทย เพราะฉะนั้นสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยจึงได้รับความนิยมมากในประเทศลาว นอกจากนั้น จากการที่ลาวเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้สินค้าประเภทอาหารฝรั่งเศสได้รับความนิยมจากคนลาวเช่นกัน เพียงแต่กำลังซื้อสินค้าบริการที่มีราคาสูงยังไม่ได้รับความนิยมจากคนลาวนัก เนื่องจากรายได้โดยรวมของคนลาวยังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ชาติในอาเซียน
ส่วนประเทศเวียดนาม คนรุ่นใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีกลายเป็นกำลังซื้อสำคัญ เพราะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อและอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว จึงนิยมใช้สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง สินค้าเทคโนโลยี และอาหารสำเร็จรูป การตัดสินใจซื้อขึ้นอยู่กับการออกแบบ สไตล์ วัสดุ ประโยชน์ใช้สอย และบุคลิกภาพของสินค้า รวมทั้งการให้บริการขณะซื้อสินค้า บริการหลังการขาย และบริการของพนักงานขาย
สินค้าประเภทอาหารมีความนิยมในการจับจ่ายสินค้าประเภทอาหารสด โดยเฉพาะพืชผักมากกว่าอาหารกระป๋องสำเร็จรูป
จึงเห็นได้ว่ารสนิยมการบริโภคนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านรากฐานทางวัฒนธรรม ศาสนา อิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือระดับการศึกษาของผู้บริโภค
นักลงทุนที่ต้องการจะลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้งก่อนเข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศ สำหรับในคราวหน้าจะเสนอข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคที่ยังเหลืออยู่ของอีก 4 ประเทศให้ได้รับรู้กันต่อ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
ในปี พ.ศ. 2558 แต่ละประเทศในภูมิภาคอาเซียนต้องเตรียมความพร้อมเพื่อรับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน (AEC)
เมื่อ AEC เปิดตัวแล้ว ประชากรจากชาติสมาชิกประมาณ 600 ล้านคนจะทำให้เกิด ตลาดของผู้บริโภค ขนาดใหญ่ เหมาะแก่การเข้าไปลงทุนทำการค้าในทั้ง 10 ประเทศสมาชิก
ในคอลัมน์ฉบับนี้เราจะมาดูกันถึง พฤติกรรมการบริโภค ของประเทศสมาชิกเพื่อนบ้าน AEC เพื่อเป็นข้อมูลให้ทราบว่า แต่ละประเทศมีพฤติกรรมการบริโภคอย่างไร เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการเข้าไปติดต่อหรือลงทุนในแต่ละประเทศได้อย่างเหมาะสม
ประเทศกัมพูชา เป็นชาติที่ประชากรมีพฤติกรรมคล้ายกับคนไทย จึงทำให้คนกัมพูชาชื่นชอบสินค้าไทยเป็นทุนเดิมอยู่แล้ว ที่สำคัญประชากรส่วนใหญ่มีอายุเฉลี่ย 20 ปี และพร้อมจะรับสิ่งใหม่ ๆ เทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ต่อชีวิตประจำวัน
ดังนั้น ประชากรกัมพูชาจึงกำลังนิยมนำสินค้าอุปโภคบริโภคประเภทเทคโนโลยีสมัยใหม่ และเครื่องแต่งกายที่นำสมัยหากมีราคาที่ไม่แพงมาก เนื่องจากฐานะทางเศรษฐกิจของประชากรยังไม่อยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากนัก
ส่วน ประเทศสิงคโปร์ เป็นชาติที่มีจำนวนประชากรน้อยที่สุด และขนาดประเทศเล็กที่สุดในภูมิภาคนี้ ด้วยความที่เป็นประเทศเล็ก การผลิตสินค้าและบริการในสิงคโปร์จึงทำได้ยาก การบริโภคของคนสิงคโปร์จึงอาศัยการนำเข้าจากต่างประเทศเป็นหลัก
อีกประการคือ เศรษฐกิจของประเทศสิงคโปร์ค่อนข้างดี ประชากรมีอำนาจในการซื้อสูง คนสิงคโปร์มักนิยมเลือกซื้อสินค้าแบรนด์เนม เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีชื่อเสียงและมีคุณภาพค่อนข้างสูง และเนื่องจากวัฒนธรรมหรือไลฟ์สไตล์ทางตะวันตกมีอิทธิพลมากในสังคมสิงคโปร์ โดยเฉพาะในกลุ่มวัยรุ่น
นอกจากนี้ พฤติกรรมผู้บริโภคยังอ่อนไหวต่อกระแสนิยมและแฟชั่นในตลาดโลกสูง จนได้ชื่อว่าเป็นตลาดแฟชั่นที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
ต่อมาคือประเทศอินโดนีเซีย ประชากรร้อยละ 86 ของอินโดนีเซียเป็นชาวมุสลิม แต่ไม่ค่อยเคร่งครัดมากนักเมื่อเทียบกับมาเลเซีย เห็นได้จากเหล้าและเบียร์นั้นยังหาซื้อได้ง่าย แต่ตัวสินค้าที่มีตราฮาลาลก็ยังได้รับความนิยมมาก การบริโภคและสินค้าประเภทอาหารสำเร็จรูปนั้นดูจะเป็นที่นิยมมากกว่าสินค้าประเภทอาหารสด
โดยภาพรวมคนอินโดนีเซียเป็นชาติที่ใช้จ่ายเพื่อการบริโภคสูง ซึ่งมีรายงานพบว่า ชาวอินโดนีเซียใช้จ่ายกว่าร้อยละ 51 ของรายได้ทั้งหมดเพื่อการบริโภคในชีวิตประจำวัน
แต่ทั้งนี้ คนอินโดนีเซียส่วนใหญ่ยังค่อนข้างอ่อนไหวกับราคาสินค้า ทำให้ไม่ค่อยนิยมสินค้านำเข้าที่ราคาแพง หรือสินค้าที่มีบรรจุภัณฑ์ราคาสูง
สำหรับอีกประเทศสมาชิก AEC ชนชาติลาว มีอุปนิสัยเหมือนคนไทย และพูดภาษาไทยได้ พรมแดนก็ติดกันกับประเทศไทย เพราะฉะนั้นสินค้าอุปโภคบริโภคของไทยจึงได้รับความนิยมมากในประเทศลาว นอกจากนั้น จากการที่ลาวเคยเป็นเมืองขึ้นของฝรั่งเศสมาก่อน ทำให้สินค้าประเภทอาหารฝรั่งเศสได้รับความนิยมจากคนลาวเช่นกัน เพียงแต่กำลังซื้อสินค้าบริการที่มีราคาสูงยังไม่ได้รับความนิยมจากคนลาวนัก เนื่องจากรายได้โดยรวมของคนลาวยังไม่สูงมากเมื่อเทียบกับหลาย ๆ ชาติในอาเซียน
ส่วนประเทศเวียดนาม คนรุ่นใหม่ที่มีอายุต่ำกว่า 30 ปีกลายเป็นกำลังซื้อสำคัญ เพราะได้รับรู้ข้อมูลข่าวสารจากสื่อและอินเทอร์เน็ตอย่างรวดเร็ว จึงนิยมใช้สินค้าแฟชั่น เครื่องสำอาง สินค้าเทคโนโลยี และอาหารสำเร็จรูป การตัดสินใจซื้อขึ้นอยู่กับการออกแบบ สไตล์ วัสดุ ประโยชน์ใช้สอย และบุคลิกภาพของสินค้า รวมทั้งการให้บริการขณะซื้อสินค้า บริการหลังการขาย และบริการของพนักงานขาย
สินค้าประเภทอาหารมีความนิยมในการจับจ่ายสินค้าประเภทอาหารสด โดยเฉพาะพืชผักมากกว่าอาหารกระป๋องสำเร็จรูป
จึงเห็นได้ว่ารสนิยมการบริโภคนั้นขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นด้านรากฐานทางวัฒนธรรม ศาสนา อิทธิพลจากประเทศเพื่อนบ้าน ความมั่นคงทางเศรษฐกิจของประเทศ หรือระดับการศึกษาของผู้บริโภค
นักลงทุนที่ต้องการจะลงทุนจึงควรศึกษาข้อมูลของแต่ละประเทศอย่างลึกซึ้งก่อนเข้าไปลงทุนในแต่ละประเทศ สำหรับในคราวหน้าจะเสนอข้อมูลพฤติกรรมการบริโภคที่ยังเหลืออยู่ของอีก 4 ประเทศให้ได้รับรู้กันต่อ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น