--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2556

AEC ทางรอดอุตสาหกรรมปลายน้ำ !!??

อุตสาหกรรมของไทยหลายรายการมีศักยภาพในการส่งออก แต่ต้องมาติดกับดักวัตถุดิบขาดแคลน ทำ ให้ผลิตไม่ได้ตามออเดอร์ที่ได้รับคำสั่งซื้อจากต่างประเทศ

ยกตัวอย่างอุตสาหกรรมไม้และเครื่องเรือน ที่ผ่านมาเราใช้วัตถุดิบในประเทศ ผลิตเพื่อส่งออกเป็นหลัก ทั้งการรับจ้างผลิตตามแบบที่ลูกค้ากำหนด การผลิตโดยโรงงานเป็นผู้ออกแบบเอง แต่ อาจมีการปรับปรุงตามแบบที่ลูกค้าเสนอ และการผลิตภายใต้แบรนด์หรือตราสินค้าของตนเอง

แต่เมื่อมีการผลิตมากขึ้น วัตถุดิบก็ร่อยหรอลง โดยเฉพาะไม้เนื้อแข็ง ทำให้ผู้ประกอบการส่วนหนึ่งต้องปรับเปลี่ยนไปใช้ไม้เนื้ออ่อน เช่น ไม้ยางพาราทดแทน แต่ในปัจจุบันการเก็บภาษีไม้ยางพารามีราคาค่อนข้างสูง เมื่อเปรียบเทียบการ นำเข้าไม้คุณภาพดีกว่าจากต่างประเทศ ส่ง ผลให้ผู้ประกอบการหันไปใช้ไม้จากต่างประเทศที่มีราคาใกล้เคียงกัน แต่มีคุณภาพ และราคาที่ดีกว่าไม้ยางพาราในประเทศไทย ทั้งจีน มาเลเซีย และเวียดนาม

หรืออุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ที่สร้างรายได้ให้กับประเทศไทยในระดับสูง อยู่ในลำดับ 4 รองจากอุตสาหกรรมไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม และอุตสาหกรรมยานยนต์ เมื่อความต้องการของตลาดโลกมีสูง วัตถุดิบที่นำมาใช้ก็สูงตาม อุตสาหกรรมเหล่านี้ ล้วนเป็นอุตสาหกรรม ปลายน้ำ ซึ่งต้องอาศัยวัตถุดิบต้นน้ำ เช่น เส้นใยในการผลิต บางส่วนต้องนำเข้าจาก ประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มอาเซียน ซึ่งเมื่อ เป็นเออีซี อุตสาหกรรมในกลุ่มเดียวกัน ก็สามารถเป็นพันธมิตรกัน หรือทำคลัสเตอร์ร่วมกันได้ง่าย

ดร.สมชาย หาญหิรัญ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เมื่อมีการเปิดประตูการค้าในเวที AEC แล้ว การขนถ่ายปัจจัยในการผลิต ทั้งแรงงาน วัตถุดิบ ก็ง่ายขึ้น ซึ่งเป็นโอกาสในการลดต้นทุนของการผลิตในภาคอุตสาหกรรม ประกอบกับการพัฒนาเส้นทางการค้าต่างๆ ในภูมิภาค อันจะนำมาซึ่งผลประกอบการที่สูงขึ้น

"เรากำลังนำแนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์อุตสาหกรรมนำร่องในกลุ่มอุตสาหกรรมไม้และสิ่งทอมาเป็นต้นแบบในการศึกษาการรวมกลุ่มและการจัดการทรัพยากร เพื่อเป็นแบบอย่างการ พัฒนาให้กับคลัสเตอร์อุตสาหกรรมอื่นๆ ของไทยเพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน" ผอ.สศอ. กล่าว

ขณะเดียวกัน พงษ์ศักดิ์ อัสสกุล อดีตประธานกรรมการสภาหอการ ค้าแห่งประเทศไทยและกรรมการผู้จัดการ โรงงานทอผ้ากรุงเทพ ที่กล่าวว่า ปัจจุบันนอกจากประเทศไทยแล้ว กลุ่ม ประเทศอาเซียนก็มีข้อตกลงทางการค้ากับประเทศพัฒนาแล้ว ผู้ประกอบการไทย จึงควรใช้โอกาสนี้ให้เป็นประโยชน์ คือออกแบบสินค้าในประเทศไทย แล้วส่งเข้าไปผลิตในประเทศที่มีแรงงานราคาถูกในเวียดนาม สปป.ลาว หรือกัมพูชา แล้วส่งไปขายยังประเทศพัฒนาแล้วโดยไม่ต้องเสียภาษี แบบนี้จะทำให้อุตสาหกรรม สิ่งทอไทยมีความได้เปรียบกว่าอินโดนีเซีย ซึ่งอยู่ในทำเลด้อยกว่าเรา หากสร้างคลัสเตอร์ร่วมกันได้ไทยจะเป็นผู้นำในกลุ่มสิ่งทออาเซียน

"เมื่อเป็นเออีซี เราไม่ต้องกังวลว่าโรงงานจะขาดแคลนวัตถุดิบ ถ้าในสปป.ลาวมีวัตถุดิบประเภทเส้นใยมาก ก็ใช้โรงงานในลาวขึ้นรูปสินค้าได้เลย แล้วส่งเข้ามาประกอบเป็นตัวเสื้อในเมืองไทย โดยไม่ต้องเสียภาษีนำเข้า นี่คือความง่ายของเออีซีที่จะทำให้ธุรกิจใน กลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกันดำเนินร่วมกันได้โดยง่าย" พงษ์ศักดิ์ กล่าว

เช่นเดียวกับ จิรบูรณ์ วิทยสิงห์ ประธานกิตติมศักดิ์สมาคมของขวัญของชำร่วยไทยและของตกแต่งบ้านและเลขาธิการสมาพันธ์ผลิตภัณฑ์ไลฟ์สไตล์ไทยที่ปรับตัวรับเออีซีมาก่อนหน้านี้ ด้วยการร่วมกับสมาคมผู้ประกอบการของ ขวัญมาเลเซีย และสมาคมของขวัญสิงคโปร์ จัดตั้งสมาพันธ์อุตสาหกรรมของ ขวัญอาเซียน (ASEAN Gifts Federation) หรือ สมาพันธ์กิฟต์อาเซียน

โดยขณะนี้มีอีก 6 ประเทศที่พร้อมร่วมเป็นสมาชิกของสมาพันธ์คือ อินโดนีเซีย ลาว เมียนมาร์ เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ โดยแต่ละประเทศจะมีการแลก เปลี่ยนความรู้กัน มีการร่วมกันทำงานในลักษณะของพันธมิตร เช่น คนไทยมีความสามารถด้านการออกแบบ ขณะที่ค่าแรงอาจจะสูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน ก็ส่งงานต่อให้กับผู้ผลิตที่อยู่ในเวียดนามดำเนินการแทน ส่วนมาเลเซีย สิงคโปร์ ก็จะกลายเป็นผู้ค้าให้กับประเทศอื่นๆ เป็นต้น

"ปัจจุบันไทยมีส่วนแบ่งตลาดของขวัญสูงสุดในอาเซียนประมาณ 2 หมื่นล้านบาท หลังก่อตั้งสมาพันธ์และมีการรวมตัวกันครบทุกประเทศเชื่อว่าจะช่วยส่งเสริมยอดขายเติบโตขึ้นปีละ 15% และมีมูลค่าตลาดรวม 1 แสนล้านบาท หรืออาจสูงถึง 150,000 ล้านบาท ก็ได้ ภายใน 5-8 ปี" จิรบูลย์ กล่าว

และนี่คือเรื่องดีๆ ที่จะเกิดจากการเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี

ที่มา.สยามธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น