นักวิชาการด้านอสังหาฯ ชี้ ตลาดครึ่งปีหลัง 2556 ชะลอตัว เหตุครึ่งปีแรกมีการพัฒนาคอนโดมิเนียมมากจนเกินโอเวอร์ซัพพลาย เชื่อผู้ประกอบการแข่งขันรุนแรง คาดสิ้นปีนี้มีซัพพลายเกิดใหม่ทั้งแนวราบ-แนวสูงรวมกันกว่า 200,000 ยูนิต
นายมานพ พงศทัต ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงแนวโน้มและทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ว่า มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีการลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลายในตลาด ทั้งในพื้นที่กลางเมือง และจังหวัดหัวเมืองท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต โดยตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว คือ ปัญหาการเมือง การเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน การหดตัวของจีดีพีในประเทศ และผลกระทบจากการพิจารณายกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ (QE 3)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน ขณะเดียวกันในส่วนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เองก็จะชะลอแผนการขยายการลงทุนออกไป และหันมาเร่งระบายสต็อกในมือออกไป เพื่อป้องกันปัญหาต้นทุนดอกเบี้ยที่จะตามมาภายหลัง ในปีนี้คาดว่าจะมีซัพพลายใหม่ทั้งแนวราบและแนวสูงเข้าสู่ตลาดทั่วประเทศประมาณ 200,000 ยูนิต โดยกระจายอยู่ใน กทม.และปริมณฑล ประมาณ 120,000 ยูนิต ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในหัวเมืองต่างจังหวัด ทั้งนี้คาดว่าซัพพลายสะสมที่ตกค้างในตลาดและซัพพลายเกิดใหม่ในปีนี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการระบายออกนานกว่า 1-2 ปี” นายมานพ กล่าว
ส่วนของกลุ่มผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ยังมีการขยายตัวขยายตัวที่ระดับ7-8% หรือมีการซื้อเพื่ออยู่ประมาณ 70,000-80,000 ยูนิต, 2.กลุ่มผู้ซื้อเพื่อการลงทุน มีการขยายตัวสูงมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของดีมานด์ห้องเช่าในอนาคต ซึ่งมีลูกค้าหลักเป็นคนทำงานรุ่นใหม่ และกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และ 3.กลุ่มผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไร ซึ่งจะลดลงอย่างมากเนื่องจากซัพพลายในตลาดยังค้างสต็อกอยู่จำนวนมาก.
ที่มา.ไทยโพสต์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
นายมานพ พงศทัต ผู้ทรงคุณวุฒิ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยถึงแนวโน้มและทิศทางตลาดอสังหาริมทรัพย์ในช่วงครึ่งหลังของปี 2556 ว่า มีแนวโน้มชะลอตัว เนื่องจากในช่วงครึ่งแรกของปีนี้มีการลงทุนพัฒนาโครงการคอนโดมิเนียมเป็นจำนวนมากส่งผลให้เกิดภาวะโอเวอร์ซัพพลายในตลาด ทั้งในพื้นที่กลางเมือง และจังหวัดหัวเมืองท่องเที่ยว เช่น ภูเก็ต โดยตัวแปรสำคัญที่จะส่งผลตลาดอสังหาริมทรัพย์ชะลอตัว คือ ปัญหาการเมือง การเข้มงวดการปล่อยสินเชื่อของสถาบันการเงิน การหดตัวของจีดีพีในประเทศ และผลกระทบจากการพิจารณายกเลิกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจสหรัฐ (QE 3)
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคทำให้เกิดการชะลอการตัดสินใจซื้อออกไปก่อน ขณะเดียวกันในส่วนของผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์เองก็จะชะลอแผนการขยายการลงทุนออกไป และหันมาเร่งระบายสต็อกในมือออกไป เพื่อป้องกันปัญหาต้นทุนดอกเบี้ยที่จะตามมาภายหลัง ในปีนี้คาดว่าจะมีซัพพลายใหม่ทั้งแนวราบและแนวสูงเข้าสู่ตลาดทั่วประเทศประมาณ 200,000 ยูนิต โดยกระจายอยู่ใน กทม.และปริมณฑล ประมาณ 120,000 ยูนิต ส่วนที่เหลือกระจายอยู่ในหัวเมืองต่างจังหวัด ทั้งนี้คาดว่าซัพพลายสะสมที่ตกค้างในตลาดและซัพพลายเกิดใหม่ในปีนี้จะต้องใช้ระยะเวลาในการระบายออกนานกว่า 1-2 ปี” นายมานพ กล่าว
ส่วนของกลุ่มผู้บริโภค แบ่งออกเป็น 3 กลุ่มหลัก คือ 1.กลุ่มผู้ซื้อเพื่ออยู่อาศัยจริง ยังมีการขยายตัวขยายตัวที่ระดับ7-8% หรือมีการซื้อเพื่ออยู่ประมาณ 70,000-80,000 ยูนิต, 2.กลุ่มผู้ซื้อเพื่อการลงทุน มีการขยายตัวสูงมากขึ้น เพื่อรองรับการขยายตัวของดีมานด์ห้องเช่าในอนาคต ซึ่งมีลูกค้าหลักเป็นคนทำงานรุ่นใหม่ และกลุ่มลูกค้าต่างชาติ และ 3.กลุ่มผู้ซื้อเพื่อเก็งกำไร ซึ่งจะลดลงอย่างมากเนื่องจากซัพพลายในตลาดยังค้างสต็อกอยู่จำนวนมาก.
ที่มา.ไทยโพสต์
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น