--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เฟดถอน QE ดอกเบี้ยกระตุกแน่ ลูกหนี้เตรียมพร้อมหรือยัง !!??

โดย วิไล อักขระสมชพ

เสียงสะท้อนก้องมาจากหลายทิศทางของคนในแวดวงการเงิน โดยเฉพาะนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศ ต่างหวั่นไหวกับอารมณ์ตลาดที่แปรปรวน

เพียงเพราะ นายเบน เบอร์นันเก้ ประธานธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) ออกมาคอมเมนต์หลังประชุมว่า เฟดอาจจะทำการลดปริมาณเงินในการทำ QE ลงในเดือนกันยายนนี้ เมื่อเห็นตัวเลขสัญญาณเศรษฐกิจสหรัฐดีขึ้น เท่านี้ก็ทำให้ตลาดแตกตื่น

ยิ่งประเทศไทยด้วยแล้ว ค่าเงินบาทที่เคยแข็งโป๊กอยู่ 28 บาทกว่า ๆ /ดอลลาร์ ก็อ่อนยวบลงมาอยู่ 30-31 บาท/ดอลลาร์ ส่วน "ตลาดหุ้นที่เคยโป่งพองด้วยดัชนีที่เฉียด 1,600 จุด ก็ยุบลงมาต่ำกว่า 1,400 จุดให้เห็น เงินต่างชาติไหลออกทั้งหุ้นและพันธบัตรที่ถืออยู่รวมนับแสนล้านบาท ราคาทองคำในไทยดำดิ่งลงต่ำเหลือบาทละ17,000-18,000 บาท หลังราคาทองในโลกหลุดลงต่ำ 1,200 เหรียญสหรัฐ/ออนซ์

ว่ากันว่า คอมเมนต์ของนายเบอร์นันเก้ เป็นการทดสอบอารมณ์ของตลาด หรือทำ Stress Test เพราะหลังจากนั้นไม่นาน นายเบอร์นันเก้ก็ออกมาบอกว่า ตัวเลขการ

ฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐยังไม่ชัดเจนเพียงพอจะให้ลดการทำ QE เท่านั้นเอง

นักลงทุนก็เฮกลับมาลงทุนต่อ ด้วยอารมณ์นักลงทุนแบบกล้า ๆ กลัว ๆ

แต่ประเทศไทยนั้นไม่ได้มีแค่ปัจจัยต่างประเทศที่เราควบคุมสถานการณ์ไม่ได้ เพราะยังมีอีกปัจจัยในประเทศที่สำคัญคือ การเมือง ที่จะมีการเปิดสภาในต้นเดือนสิงหาคมนี้ แม้จะเพิ่งปรับ ครม. หลังสะดุดจำนำข้าว โครงการบริหารจัดการ

น้ำ 3 แสนกว่าล้านก็สะดุด ตามด้วย พ.ร.บ.กู้เพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านก็หงายเงิบ ลงทุนก็เกิดไม่ได้ ถ้าจะทำประชานิยม เงินก็เริ่มร่อยหรอ

จากนี้ไปคงเหลือแต่ภาคเอกชนและประชาชนที่ต้องช่วยเหลือตัวเอง ใครมีหนี้เยอะก็อาการหนัก !!!

เพราะถ้าเฟดลดทำ QE จริงในปีนี้แล้วเงินไหลออก จะเกิดอะไรขึ้นกับประเทศไทย แบงก์ชาติต้องมีคำตอบในใจอยู่แล้ว เพราะนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการแบงก์ชาติ ลั่นว่า ในระยะสั้น ๆ เห็นเงินลงทุน

ไหลออกกลับไปหาสกุลดอลลาร์แน่ และดอกเบี้ยกระตุก แต่สภาพคล่องในประเทศก็ล้นมากอยู่ ซึ่งก็ต้องทำหน้าที่รักษาสมดุลในระบบให้ได้ ส่วนฐานะการเงินของสถาบันการเงินโดยเฉพาะแบงก์พาณิชย์ยังดีอยู่ มีการตรวจสอบไม่ให้ทำ Open Position FX มากเกินไป โดยเฉพาะลูกค้าของแบงก์ ตอนนี้ใครมีหนี้ต่างประเทศโดยเฉพาะสกุลดอลลาร์ มีเสี่ยงต้องจ่ายหนี้ราคาสูงขึ้น

ดังนั้นต้องบริหารความเสี่ยงให้ดี อย่าชะล่าใจ

ถ้าคาดหวังว่า ธปท.จะทำอะไรบ้างนั้น "ประสาร" มั่นใจว่า เตรียมเครื่องมือพร้อมรับมือให้มากที่สุด หลังจากที่คลังได้ให้อำนาจในการออกมาตรการแล้ว ก็ต้องเลือกใช้ส่วนผสมของมาตรการต่าง ๆ ให้เหมาะสมกับสถานการณ์ด้วย

อย่างไรก็ตาม แม้เงินไหลกลับ แต่ประเทศไทยก็ไม่ได้แย่ เพราะเศรษฐกิจไทยยังดี ปีนี้ยังโตได้ 4.2% ไม่ได้ต่ำเมื่อเทียบกับเศรษฐกิจเพื่อนบ้านในภูมิภาคเรา ฐานะทุนสำรองยังแกร่ง ดุลการค้า ดุลบัญชีเดินสะพัดแม้ขาดดุลบ้าง แต่ก็ไม่เปราะบาง ซึ่งประมาทไม่ได้

ครึ่งปีหลังสถานการณ์โลกยังผันผวนอยู่ ไม่ได้หายไปทั้งสหรัฐ วิกฤตยุโรป ญี่ปุ่น แม้แต่จีนยังชะลอการโตทางเศรษฐกิจ ภาพที่ไม่เด่นชัดนี้ ตลาดการเงินที่จด ๆ จ้อง ๆ ฟังข่าวสารที่เข้ามากระทบอารมณ์ความรู้สึกคนได้ง่าย ความผันผวนจึงยังแรงอยู่

เศรษฐกิจไทยยังต้องเผชิญกับคลื่นลมปะทะ (Headwind) แรง ถ้ากระแทกครั้ง 2 ครั้งก็พอรับไหว แต่กระแทกบ่อย ๆ

ไม่ดีแน่ บางครั้งเจอแรงส่ง (Tailwind) ให้เกิดสถานการณ์ไม่คาดคิดเร็วขึ้น ดังนั้นจะทำอะไรก็ต้องมีกันชนเผื่อหนี (Margin of Safety) ไว้บ้าง

ส่วนนโยบายการเงิน "ประสาร" ออกตัวว่า ทำได้ข้อจำกัดภายใต้สถานการณ์นี้ เป็นเพียงกันชนลดแรงกระแทกตรงเข้าเศรษฐกิจ เพื่อให้ทุกคนมีเวลาปรับตัว แต่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริง ก็ต้องเข้มแข็งด้วย แต่ปัญหาขาดแคลนแรงงาน เนื่องจากแรงงานไหลออกจากภาคอุตสาหกรรมกลับเข้าภาคเกษตรถึง 7 แสนคน เพราะส่วนหนึ่งเป็นผลจากนโยบายค้ำจุนสินค้าเกษตร ซึ่งไม่ได้เป็นการเคลื่อนย้ายไป

สู่แรงงานที่มีประสิทธิภาพสูงในภาคการผลิตเลย กลายเป็นเกิดภาวะ Mismatch แรงงานอีก สะท้อนภาคการผลิต

(Productivity) ที่ยังไม่ได้เพิ่มประสิทธิภาพกันมากนัก เพราะอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ผูกกับห่วงโซ่การผลิตของโลก (Supply Chain) ซึ่งมูลค่าสินค้าต่ำ ด้านเจ้าของธุรกิจก็ไม่ได้ให้ความสำคัญในการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต เพื่อให้สินค้ามีมูลค่าสูงขึ้น ทั้งรัฐก็สนับสนุนการทำวิจัย หรือ R&D ระดับต่ำมาก แต่ละปีให้งบฯเพียง 3% กว่าของจีดีพี

ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้ประเทศไทยยากจะหลุดจากการเป็นประเทศที่มีรายได้ปานกลาง ทุกวันนี้มาเลเซียก้าวแซงหน้าไทย ข้างหน้าไทยก็วิ่งตามไไม่ทัน ข้างหลังเพื่อนบ้านเริ่มวิ่งไล่หลังมา

วันนี้ถึงเวลาที่ทุกภาคส่วน โดยเฉพาะรัฐบาล หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และตัวผู้ประกอบการเอกชนตระหนักถึงปัญหานี้ และนั่งคิดนับถอยหลังไปอีก 2 ปีข้างหน้า เปิดเออีซีแล้วตัวเองจะอยู่ตรงไหนรอด ถ้าปรับตัวตอนนิ้ก็ยังไม่สาย

ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น