700 วันบนเก้าอี้นายกรัฐมนตรี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นำรัฐนาวาฝ่าด่านอุปสรรคผ่านบันไดขั้นแรกของกระบวนพิจารณากฎหมายสำคัญทั้งเศรษฐกิจ-การเมืองในรัฐสภามาได้อย่างทะลุปรุโปร่ง
ทั้งกฎหมายการเมือง-เศรษฐกิจ ต่างเฝ้ารอดีเดย์เปิดสภาในเดือนสิงหาคม เพื่อเดินหน้าผ่านวาระ 2-3 ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นพิจารณาของ ส.ว.เป็นลำดับต่อไป
ด้านเศรษฐกิจ ปรากฏความสำเร็จจาก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่เดินมาถึงปลายทาง ก่อนเซ็นสัญญาจ้างเอกชนลงมือก่อสร้าง
เหลือเพียงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ร่าง พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ที่ต่างก็ผ่านการพิจารณาวาระแรกไปอย่างสะดวก
ด้านการเมือง ก็สามารถนำ ส.ส.พรรค-พวกเสียงข้างมาก ฝ่าแรงต้านจากฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กระทั่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็ผ่านขั้นรับหลักการเป็นที่เรียบร้อย
เหลือเพียงร่างกฎหมายเรื่องนิรโทษกรรม-ปรองดอง ที่จ่อคิวพิจารณาทันทีที่สภาเข้าสู่วาระเปิดเทอม
แม้เส้นทางที่ดูเหมือนจะราบรื่นตลอด 2 ปี แต่ครึ่งปี 2556 หลังจากนี้ เกมสุ่มเสี่ยงที่สร้างแรงสะเทือนถึงเสถียรภาพของรัฐบาลเพิ่งจะเริ่มต้น
วาระปกติ เผชิญหน้าฝ่ายค้านที่ไล่จี้จุดตั้งแต่การยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเวทีพิจารณาร่างกฎหมายอีกหลายยก
วาระจร เผชิญหน้ากับมวลชนที่เริ่มกระหึ่มเสียงต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" และรวมถึงอุปสรรคจากกระบวนการยุติธรรมที่ยกแรกปรากฏให้เห็นจากคำสั่งศาลปกครอง สั่งชะลอโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
ไม่นับรวมนโยบายประชานิยมที่เริ่มส่งกลิ่นไม่ชอบมาพากล ปรากฏภาพสุ่มเสี่ยงล้มเหลว อย่างโครงการรับจำนำข้าว แผนบริหารจัดการน้ำ แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และอีกสารพัดนโยบายที่ผลงานยังไม่เป็นไปตามเป้า อาทิ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสารพัดกองทุนต่าง ๆ
เป็นที่มาของการวางกองกำลังรอบตัว "ยิ่งลักษณ์" เพื่อประสาน-สั่งการแผนการบริหารงานได้แบบปัจจุบันทันด่วน
เป็นการจัดกองกำลังรอบตัวที่มากกว่ายุคของพี่ชาย ในรัฐบาล "ทักษิณ 2" ที่วางสูตรลงตัว 6 รองนายกฯ+1 รมต.ประจำสำนักนายกฯ
เป็นสูตรลงตัวที่ 12 กุนซือ (7+2+2+1) รวมศูนย์บัญชาการรอบตัวนายกรัฐมนตรี ที่รับคำสั่งขึ้นตรงกับ "ยิ่งลักษณ์" ครบเครื่องทั้งแนวรุก เกมรับ ครบรสทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
ชื่อที่หนึ่ง "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" รองนายกฯควบ รมว.ต่างประเทศ ได้รับปูนบำเหน็จเป็น "เบอร์ 1" ในกลุ่มเก้าอี้เสนาบดีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ลำดับแรก กุมแผนงานด้านต่างประเทศ และสถาบันการวิจัย
ชื่อที่สอง "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รองนายกฯควบ รมว.พาณิชย์ ถูกวางบทให้เข้ามาเคลียร์ "ปัญหาคาใจ" ในโครงการรับจำนำข้าวเป็นภารกิจหลัก รวมไปถึงข้ามสายอำนาจกำกับดูแลกรมการข้าวและกรมส่งเสริมการเกษตร ที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคร่วมรัฐบาล
นอกจากนั้นยังเป็นมือบริหารทิศทางข่าว กุมอำนาจในกรมประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แบ่งรับ-แบ่งสู้ ควบคู่กับชื่อที่สาม "วราเทพ รัตนากร" ที่นั่งเก้าอี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯควบ รมช.เกษตรฯ ที่กำกับดูแลทั้งงานด้านข้าวและสื่อ ไม่ต่างจาก "นิวัฒน์ธำรง"
ชื่อที่สี่ "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก" รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงแทนที่ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" ครอบคลุมงานสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงปฏิบัติการแก้ปัญหาภาคใต้
ชื่อที่ห้า "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกฯ ที่ถูกหั่นเก้าอี้ "รมว.ศึกษาธิการ" เพื่อให้เบนเข็มมาคุมเกมกฎหมายที่รัฐบาลต้องเผชิญทุกคดี โดยเซตอัพทีมกับ 2 รัฐมนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นมือชำนาญด้านกฎหมาย ทั้ง "พีรพันธุ์ พาลุสุข" รมว.วิทยาศาสตร์ฯ และ "ชัยเกษม นิติสิริ" รมว.ยุติธรรม
ชื่อที่หก และเจ็ด ยังปฏิบัติหน้าที่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้ง "ปลอดประสพ สุรัสวดี" รองนายกฯ มีงานสำคัญด้านบริหารงานเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกฯและ รมว.คลัง ที่ต้องเป็นหัวขบวนในการนำทัพทีมเศรษฐกิจ
เช่นเดียวกันกับชื่อที่แปด "ยุคล ลิ้มแหลมทอง" รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ ที่อยู่ในสังกัดโควตาของพรรคร่วม
และอีกหนึ่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นชื่อที่เก้า "สันติ พร้อมพัฒน์" รับผิดชอบส่วนงานภาคสังคม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทุกแผนงานจาก 9 เก้าอี้เสนาบดี ก่อนถูกส่งตรงถึง "ยิ่งลักษณ์" ต้องผ่านการสแกนข้อมูลจากเลขาธิการนายกฯ "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่ง "รัฐมนตรีเงา" ในอาณาบริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ถูกนับเป็นชื่อที่สิบ
ผสมผสานผ่านไอเดียจากที่ปรึกษานายกฯ ระดับหัวกะทิของ 2 กุนซือใหญ่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ร่วมคณะบริหารแบบรวมศูนย์การบริหารประเทศ และวางยุทธศาสตร์บริหาร ถูกนับเป็นชื่อที่สิบเอ็ด และสิบสอง
12 กุนซือข้างตัว "ยิ่งลักษณ์" จึงครบเครื่องเรื่องต่างประเทศ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจมหภาค-ในประเทศ และสังคม
เป็นการวางกองกำลังรับมือ "จุดเสี่ยง" ที่จะต้องเผชิญในช่วงครึ่งปี-ครึ่งทางสุดท้ายของรัฐบาล
ด้านที่ทำการพรรคเพื่อไทย ปรากฏทีมยุทธศาสตร์ทั้งฝ่ายวิเคราะห์ และฝ่ายแผนประชาสัมพันธ์ รับบทเป็นฝ่ายสนับสนุน มีชื่อ "นพดล ปัทมะ" คนใกล้ชิด-ทนายส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏอยู่ในทุกวงประชุม
เขาเปิดเผยข้อมูลว่า สถานการณ์ที่รัฐบาลต้องเผชิญในครึ่งปีหลังจะเข้มข้น ร้อนแรง แต่ไม่มีทางสะเทือน
"เชื่อว่าการเมืองครึ่งปีหลังไม่มีอะไรร้อนแรง ถ้าร้อนแรงเกินไป เราก็มีผ้าเย็นไปประคบให้สถานการณ์เบาลง เพราะพรรคเพื่อไทยก็มี safety วาล์วดักจับความร้อนไว้แล้ว โดยเราจะรับฟังเสียงประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ควบคู่กับเร่งสร้างผลงานเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น"
"นพดล" ยกตัวอย่างการทำงานระบบ "safety วาล์ว" ว่า การที่ ครม.กลับมาให้เงินจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาทดังเดิม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยที่เปรียบเป็น "หู" รับฟังเสียงของเกษตรกร ก่อนสะท้อนข้อเท็จจริงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล
"สำหรับเรื่องการส่อทุจริตเรื่องจำนำข้าวมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนระดับหนึ่ง แต่ไม่ส่งผลถึงทำให้รัฐบาลล้ม ฉะนั้นครึ่งปีหลังจะเป็นช่วงฟื้นความศรัทธา สร้างความศรัทธาต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น"
วิกฤต "ขาลง" ช่วงครึ่งปีแรก แม้รัฐบาลจะผ่านอุปสรรคมาได้ แต่ก็ยังไม่รอดพ้น "กับดัก" ที่ฝ่ายตรงข้ามขุดล่อไว้ โดยฝากไว้ให้กับกระบวนการยุติธรรม ที่พรรคเพื่อไทยปักใจเชื่อมาตลอดว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
เป็นเหตุผลให้รายชื่อ ครม.ยิ่งลักษณ์ 5 มีการเซตทีมผู้ชำนาญการพิเศษด้านกฎหมาย เพื่อ สู้คดีความของรัฐบาลที่จะต้องขึ้นศาลได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง
เป็นการใช้ความช่ำชองของการเป็นอดีตผู้พิพากษา มาทำหน้าที่ "แก้ต่าง" ให้รัฐบาลแบบครบทีม
รวมถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ ทั้งโครงการ 2 ล้านล้าน ที่ฝ่ายค้าน "ยืมดาบ" คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาฟาดฟัน
เช่นเดียวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.สรรหาบางคน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"นพดล" ประเมินปลายทางต่อสู้ด้านกฎหมายว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไปตามกฎหมายบ้านเมืองจะเรียบร้อย แต่หากตัดสินตรงข้ามอาจมีปัญหาตามมา
"ถ้าตัดสินใจไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง บ้านเมืองก็จะไม่เรียบร้อย เพราะสังคม นักกฎหมายที่มีความรู้ก็ดูออก เช่น กรณีรับจ้างทำกับข้าว ของสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็หัวเราะกันไปทั่วทั้งโลก"
ส่วนร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่รอการพิจารณาวาระ 1 ในสภา หลายคนมองว่าอาจเป็นของร้อน แต่ทนายส่วนตัวของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" เห็นมุมมองที่ต่างออกไป โดยเฉพาะการที่ผู้นำฝ่ายค้าน-หัวหน้าพรรค ปชป. อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ก็ยังแสดงท่าทีว่าเอาด้วย
"ไม่เป็นปัญหา เพราะคุณอภิสิทธิ์ก็ออกมาเห็นด้วย กับการปล่อยพวกคนตัวเล็ก ๆ เพราะเขาไม่ใช่อาชญากร
ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยต้องทำให้ชัดเจนว่า ไม่ได้นิรโทษกรรมให้กับแกนนำ แต่นิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทุกสีเสื้อ"
ถึงกลุ่มคนเสื้อเหลืองจะไม่มีพลัง "งัดข้อ" กับรัฐบาลนอมินี "พ.ต.ท.ทักษิณ" เหมือนยุครัฐบาลสมัคร-สมชาย แต่กลับมีกลุ่ม "หน้ากากขาว" เกิดขึ้นแทน ซึ่ง "นพดล" ประเมินว่า เป็นเรื่องปกติของการแสดงออกทางประชาธิปไตย แต่รัฐบาลต้องไม่ประมาท ไม่ตกใจ อย่าไปสร้างเงื่อนไขให้เขานำไปกล่าวอ้างเพื่อเรียกกระแสได้ รัฐบาลต้องไม่ทุจริต
ฉะนั้น ครม.ยิ่งลักษณ์ 5 เพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรีประเภทสายล่อฟ้าที่ถูกแปะหน้าผากว่า "ทุจริต" และ "สุ่มเสี่ยง" จึงพอช่วยลดแรงเสียดทานจากฝ่ายตรงข้ามไปได้ไม่มากก็น้อย
เป็นเหตุที่ทำให้ "นพดล" ยืนยันว่า รัฐนาวาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีวันล่ม และยังเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย
"เหมือนเครื่องบินกำลังบินอยู่ที่ระดับ 3 หมื่นฟิต อาจมีตกหลุมอากาศบ้าง แต่ไม่ตกแรงจนกระทั่งทำให้กาแฟในมือแอร์โฮสเตสหก แอร์ฯยังเสิร์ฟกาแฟให้ผู้โดยสารต่อได้ เชื่อว่ากัปตันยิ่งลักษณ์จะนำรัฐนาวาลำนี้ร่อนลงจอดสู่เป้าหมายอย่างปลอดภัย"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////
ทั้งกฎหมายการเมือง-เศรษฐกิจ ต่างเฝ้ารอดีเดย์เปิดสภาในเดือนสิงหาคม เพื่อเดินหน้าผ่านวาระ 2-3 ก่อนที่จะเข้าสู่ชั้นพิจารณาของ ส.ว.เป็นลำดับต่อไป
ด้านเศรษฐกิจ ปรากฏความสำเร็จจาก พ.ร.ก.กู้เงินเพื่อบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท ที่เดินมาถึงปลายทาง ก่อนเซ็นสัญญาจ้างเอกชนลงมือก่อสร้าง
เหลือเพียงร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปี 2557 ร่าง พ.ร.บ.ลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน 2 ล้านล้านบาท ที่ต่างก็ผ่านการพิจารณาวาระแรกไปอย่างสะดวก
ด้านการเมือง ก็สามารถนำ ส.ส.พรรค-พวกเสียงข้างมาก ฝ่าแรงต้านจากฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) กระทั่งกระบวนการแก้ไขรัฐธรรมนูญรายมาตรา ก็ผ่านขั้นรับหลักการเป็นที่เรียบร้อย
เหลือเพียงร่างกฎหมายเรื่องนิรโทษกรรม-ปรองดอง ที่จ่อคิวพิจารณาทันทีที่สภาเข้าสู่วาระเปิดเทอม
แม้เส้นทางที่ดูเหมือนจะราบรื่นตลอด 2 ปี แต่ครึ่งปี 2556 หลังจากนี้ เกมสุ่มเสี่ยงที่สร้างแรงสะเทือนถึงเสถียรภาพของรัฐบาลเพิ่งจะเริ่มต้น
วาระปกติ เผชิญหน้าฝ่ายค้านที่ไล่จี้จุดตั้งแต่การยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรี (ครม.) ศึกอภิปรายไม่ไว้วางใจ และเวทีพิจารณาร่างกฎหมายอีกหลายยก
วาระจร เผชิญหน้ากับมวลชนที่เริ่มกระหึ่มเสียงต่อต้าน "ระบอบทักษิณ" และรวมถึงอุปสรรคจากกระบวนการยุติธรรมที่ยกแรกปรากฏให้เห็นจากคำสั่งศาลปกครอง สั่งชะลอโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท
ไม่นับรวมนโยบายประชานิยมที่เริ่มส่งกลิ่นไม่ชอบมาพากล ปรากฏภาพสุ่มเสี่ยงล้มเหลว อย่างโครงการรับจำนำข้าว แผนบริหารจัดการน้ำ แผนลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน และอีกสารพัดนโยบายที่ผลงานยังไม่เป็นไปตามเป้า อาทิ ปัญหา 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และสารพัดกองทุนต่าง ๆ
เป็นที่มาของการวางกองกำลังรอบตัว "ยิ่งลักษณ์" เพื่อประสาน-สั่งการแผนการบริหารงานได้แบบปัจจุบันทันด่วน
เป็นการจัดกองกำลังรอบตัวที่มากกว่ายุคของพี่ชาย ในรัฐบาล "ทักษิณ 2" ที่วางสูตรลงตัว 6 รองนายกฯ+1 รมต.ประจำสำนักนายกฯ
เป็นสูตรลงตัวที่ 12 กุนซือ (7+2+2+1) รวมศูนย์บัญชาการรอบตัวนายกรัฐมนตรี ที่รับคำสั่งขึ้นตรงกับ "ยิ่งลักษณ์" ครบเครื่องทั้งแนวรุก เกมรับ ครบรสทั้งภาคสังคม เศรษฐกิจ การเมือง
ชื่อที่หนึ่ง "สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล" รองนายกฯควบ รมว.ต่างประเทศ ได้รับปูนบำเหน็จเป็น "เบอร์ 1" ในกลุ่มเก้าอี้เสนาบดีปฏิบัติหน้าที่แทนนายกฯ ลำดับแรก กุมแผนงานด้านต่างประเทศ และสถาบันการวิจัย
ชื่อที่สอง "นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล" รองนายกฯควบ รมว.พาณิชย์ ถูกวางบทให้เข้ามาเคลียร์ "ปัญหาคาใจ" ในโครงการรับจำนำข้าวเป็นภารกิจหลัก รวมไปถึงข้ามสายอำนาจกำกับดูแลกรมการข้าวและกรมส่งเสริมการเกษตร ที่อยู่ภายใต้อำนาจของพรรคร่วมรัฐบาล
นอกจากนั้นยังเป็นมือบริหารทิศทางข่าว กุมอำนาจในกรมประชาสัมพันธ์ ปฏิบัติหน้าที่แบ่งรับ-แบ่งสู้ ควบคู่กับชื่อที่สาม "วราเทพ รัตนากร" ที่นั่งเก้าอี้ รมต.ประจำสำนักนายกฯควบ รมช.เกษตรฯ ที่กำกับดูแลทั้งงานด้านข้าวและสื่อ ไม่ต่างจาก "นิวัฒน์ธำรง"
ชื่อที่สี่ "พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก" รองนายกฯฝ่ายความมั่นคงแทนที่ "ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง" ครอบคลุมงานสำนักข่าวกรองแห่งชาติ สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ รวมถึงปฏิบัติการแก้ปัญหาภาคใต้
ชื่อที่ห้า "พงศ์เทพ เทพกาญจนา" รองนายกฯ ที่ถูกหั่นเก้าอี้ "รมว.ศึกษาธิการ" เพื่อให้เบนเข็มมาคุมเกมกฎหมายที่รัฐบาลต้องเผชิญทุกคดี โดยเซตอัพทีมกับ 2 รัฐมนตรีหน้าใหม่ ที่เป็นมือชำนาญด้านกฎหมาย ทั้ง "พีรพันธุ์ พาลุสุข" รมว.วิทยาศาสตร์ฯ และ "ชัยเกษม นิติสิริ" รมว.ยุติธรรม
ชื่อที่หก และเจ็ด ยังปฏิบัติหน้าที่คงเดิมไม่เปลี่ยนแปลง ทั้ง "ปลอดประสพ สุรัสวดี" รองนายกฯ มีงานสำคัญด้านบริหารงานเงินกู้ 3.5 แสนล้านบาท และ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกฯและ รมว.คลัง ที่ต้องเป็นหัวขบวนในการนำทัพทีมเศรษฐกิจ
เช่นเดียวกันกับชื่อที่แปด "ยุคล ลิ้มแหลมทอง" รองนายกฯและ รมว.เกษตรฯ ที่อยู่ในสังกัดโควตาของพรรคร่วม
และอีกหนึ่ง รมต.ประจำสำนักนายกฯ เป็นชื่อที่เก้า "สันติ พร้อมพัฒน์" รับผิดชอบส่วนงานภาคสังคม อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค สำนักงานสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ทุกแผนงานจาก 9 เก้าอี้เสนาบดี ก่อนถูกส่งตรงถึง "ยิ่งลักษณ์" ต้องผ่านการสแกนข้อมูลจากเลขาธิการนายกฯ "สุรนันทน์ เวชชาชีวะ" ที่นับว่าเป็นอีกหนึ่ง "รัฐมนตรีเงา" ในอาณาบริเวณตึกไทยคู่ฟ้า ถูกนับเป็นชื่อที่สิบ
ผสมผสานผ่านไอเดียจากที่ปรึกษานายกฯ ระดับหัวกะทิของ 2 กุนซือใหญ่ ดร.วีรพงษ์ รามางกูร และนายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ร่วมคณะบริหารแบบรวมศูนย์การบริหารประเทศ และวางยุทธศาสตร์บริหาร ถูกนับเป็นชื่อที่สิบเอ็ด และสิบสอง
12 กุนซือข้างตัว "ยิ่งลักษณ์" จึงครบเครื่องเรื่องต่างประเทศ การเมือง กฎหมาย เศรษฐกิจมหภาค-ในประเทศ และสังคม
เป็นการวางกองกำลังรับมือ "จุดเสี่ยง" ที่จะต้องเผชิญในช่วงครึ่งปี-ครึ่งทางสุดท้ายของรัฐบาล
ด้านที่ทำการพรรคเพื่อไทย ปรากฏทีมยุทธศาสตร์ทั้งฝ่ายวิเคราะห์ และฝ่ายแผนประชาสัมพันธ์ รับบทเป็นฝ่ายสนับสนุน มีชื่อ "นพดล ปัทมะ" คนใกล้ชิด-ทนายส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ปรากฏอยู่ในทุกวงประชุม
เขาเปิดเผยข้อมูลว่า สถานการณ์ที่รัฐบาลต้องเผชิญในครึ่งปีหลังจะเข้มข้น ร้อนแรง แต่ไม่มีทางสะเทือน
"เชื่อว่าการเมืองครึ่งปีหลังไม่มีอะไรร้อนแรง ถ้าร้อนแรงเกินไป เราก็มีผ้าเย็นไปประคบให้สถานการณ์เบาลง เพราะพรรคเพื่อไทยก็มี safety วาล์วดักจับความร้อนไว้แล้ว โดยเราจะรับฟังเสียงประชาชน กลุ่มผลประโยชน์ต่าง ๆ ควบคู่กับเร่งสร้างผลงานเพื่อฟื้นความเชื่อมั่น"
"นพดล" ยกตัวอย่างการทำงานระบบ "safety วาล์ว" ว่า การที่ ครม.กลับมาให้เงินจำนำข้าวตันละ 1.5 หมื่นบาทดังเดิม ก็เป็นตัวอย่างหนึ่ง แสดงให้เห็นว่าพรรคเพื่อไทยที่เปรียบเป็น "หู" รับฟังเสียงของเกษตรกร ก่อนสะท้อนข้อเท็จจริงนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงของรัฐบาล
"สำหรับเรื่องการส่อทุจริตเรื่องจำนำข้าวมีผลกระทบต่อความรู้สึกของประชาชนระดับหนึ่ง แต่ไม่ส่งผลถึงทำให้รัฐบาลล้ม ฉะนั้นครึ่งปีหลังจะเป็นช่วงฟื้นความศรัทธา สร้างความศรัทธาต่อรัฐบาลเพิ่มมากขึ้น"
วิกฤต "ขาลง" ช่วงครึ่งปีแรก แม้รัฐบาลจะผ่านอุปสรรคมาได้ แต่ก็ยังไม่รอดพ้น "กับดัก" ที่ฝ่ายตรงข้ามขุดล่อไว้ โดยฝากไว้ให้กับกระบวนการยุติธรรม ที่พรรคเพื่อไทยปักใจเชื่อมาตลอดว่าอยู่ฝ่ายตรงข้ามกับรัฐบาล
เป็นเหตุผลให้รายชื่อ ครม.ยิ่งลักษณ์ 5 มีการเซตทีมผู้ชำนาญการพิเศษด้านกฎหมาย เพื่อ สู้คดีความของรัฐบาลที่จะต้องขึ้นศาลได้เต็มที่ ไม่ว่าจะเป็นศาลรัฐธรรมนูญ หรือศาลปกครอง
เป็นการใช้ความช่ำชองของการเป็นอดีตผู้พิพากษา มาทำหน้าที่ "แก้ต่าง" ให้รัฐบาลแบบครบทีม
รวมถึงโครงการบริหารจัดการน้ำ ทั้งโครงการ 2 ล้านล้าน ที่ฝ่ายค้าน "ยืมดาบ" คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ มาฟาดฟัน
เช่นเดียวกับประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ มาตรา 68 ที่ฝ่ายกฎหมายพรรคประชาธิปัตย์ และ ส.ว.สรรหาบางคน ยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตราดังกล่าวเข้าข่ายล้มล้างการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
"นพดล" ประเมินปลายทางต่อสู้ด้านกฎหมายว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญตัดสินไปตามกฎหมายบ้านเมืองจะเรียบร้อย แต่หากตัดสินตรงข้ามอาจมีปัญหาตามมา
"ถ้าตัดสินใจไม่เป็นไปตามข้อเท็จจริง บ้านเมืองก็จะไม่เรียบร้อย เพราะสังคม นักกฎหมายที่มีความรู้ก็ดูออก เช่น กรณีรับจ้างทำกับข้าว ของสมัคร สุนทรเวช ต้องพ้นจากตำแหน่ง ก็หัวเราะกันไปทั่วทั้งโลก"
ส่วนร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ที่รอการพิจารณาวาระ 1 ในสภา หลายคนมองว่าอาจเป็นของร้อน แต่ทนายส่วนตัวของ "พ.ต.ท.ทักษิณ" เห็นมุมมองที่ต่างออกไป โดยเฉพาะการที่ผู้นำฝ่ายค้าน-หัวหน้าพรรค ปชป. อย่าง "อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ" ก็ยังแสดงท่าทีว่าเอาด้วย
"ไม่เป็นปัญหา เพราะคุณอภิสิทธิ์ก็ออกมาเห็นด้วย กับการปล่อยพวกคนตัวเล็ก ๆ เพราะเขาไม่ใช่อาชญากร
ขณะเดียวกันพรรคเพื่อไทยต้องทำให้ชัดเจนว่า ไม่ได้นิรโทษกรรมให้กับแกนนำ แต่นิรโทษกรรมให้กับผู้ชุมนุมทุกสีเสื้อ"
ถึงกลุ่มคนเสื้อเหลืองจะไม่มีพลัง "งัดข้อ" กับรัฐบาลนอมินี "พ.ต.ท.ทักษิณ" เหมือนยุครัฐบาลสมัคร-สมชาย แต่กลับมีกลุ่ม "หน้ากากขาว" เกิดขึ้นแทน ซึ่ง "นพดล" ประเมินว่า เป็นเรื่องปกติของการแสดงออกทางประชาธิปไตย แต่รัฐบาลต้องไม่ประมาท ไม่ตกใจ อย่าไปสร้างเงื่อนไขให้เขานำไปกล่าวอ้างเพื่อเรียกกระแสได้ รัฐบาลต้องไม่ทุจริต
ฉะนั้น ครม.ยิ่งลักษณ์ 5 เพื่อเปลี่ยนรัฐมนตรีประเภทสายล่อฟ้าที่ถูกแปะหน้าผากว่า "ทุจริต" และ "สุ่มเสี่ยง" จึงพอช่วยลดแรงเสียดทานจากฝ่ายตรงข้ามไปได้ไม่มากก็น้อย
เป็นเหตุที่ทำให้ "นพดล" ยืนยันว่า รัฐนาวาของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ จะไม่มีวันล่ม และยังเดินทางไปสู่เป้าหมายได้อย่างปลอดภัย
"เหมือนเครื่องบินกำลังบินอยู่ที่ระดับ 3 หมื่นฟิต อาจมีตกหลุมอากาศบ้าง แต่ไม่ตกแรงจนกระทั่งทำให้กาแฟในมือแอร์โฮสเตสหก แอร์ฯยังเสิร์ฟกาแฟให้ผู้โดยสารต่อได้ เชื่อว่ากัปตันยิ่งลักษณ์จะนำรัฐนาวาลำนี้ร่อนลงจอดสู่เป้าหมายอย่างปลอดภัย"
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น