โดย : ไสว บุญมา
จากมุมมองของเทคโนโลยี คงไม่มีข้อโต้แย้งมากนัก หากจะสรุปว่าโลกกำลังตกอยู่ในช่วงเปลี่ยนยุค ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวง วิธีผลิต การบริโภค ความหลากหลายและการกระจายสินค้าและบริการ พร้อมทั้งการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้ภายในพริบตา ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนของโลก
ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีใหม่ ได้เอื้อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือเข้าถึงเทคโนโลยี กอบโกยส่วนแบ่งของรายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปเป็นของตน ส่วนประชาชนทั่วไปได้รับส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย และบางส่วนไม่ได้อะไรเลย
กระบวนการนี้ทำให้ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เป็นธรรมในด้านการกระจายรายได้เลวร้ายขึ้น ความเลวร้ายนี้มีพลังสนับสนุนให้เพิ่มขึ้นอีกจากระบบการเมือง ที่ผู้มีทรัพย์มากเข้าถึงกระบวนการทางการเมืองมากกว่าคนทั่วไป

เมื่อคนส่วนน้อยนั้นควบคุมระบบการเมืองได้ พวกเขาก็ชี้นำ หรือดำเนินนโยบายที่เน้นการได้ประโยชน์ของพวกเขาเป็นที่ตั้ง ด้วยเหตุนี้ การกระจายรายได้จึงเลวร้ายยิ่งขึ้นทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ หรือในแนวอื่น
นอกจากด้านเทคโนโลยี ยังมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่นซึ่งอาจมองว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนยุค อาทิ ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเคยมีความขัดแย้งระหว่างระบบตลาดเสรีกับระบบคอมมิวนิสต์เป็นตัวกำหนดทิศทาง ได้เปลี่ยนมาเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐกับกลุ่มชนที่มีความเห็นต่าง รวมทั้งทางด้านศาสนาด้วย
สงครามขนาดใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการก่อการร้ายของกลุ่มชนที่ต่อต้านการครอบงำของแนวคิดกระแสหลัก
นอกจากนั้น ยังมีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเกือบทั่วโลกตกอยู่ในภาวะซบเซา หลังจากเกิดความถดถอยครั้งใหญ่เมื่อฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศแตกเมื่อปี 2551
ความถดถอยครั้งนี้ มีความร้ายแรงสูงรองลงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดหลังความล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาเมื่อปี 2472 เท่านั้น
เมื่อเกิดวิกฤตหลังปี 2472 โลกใช้แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ แก้ปัญหา ปรากฏว่าได้ผล แนวคิดนั้นจึงถูกใช้แก้ปัญหามาจนถึงปัจจุบัน แต่หลังเกิดความถดถอยครั้งล่าสุด แนวคิดนั้นใช้ไม่ได้ผลเต็มที่ ประเทศต่าง ๆ จึงยังประสบปัญหาที่แสดงออกมาทางความล้มละลายในหลายประเทศ และจำนวนมากยังตกอยู่ในภาวะซบเซายืดเยื้อ
ในขณะนี้มีการว่างงานในอัตราที่สูงมากเกือบทั่วโลก ในบางประเทศสูงกว่า 25% การว่างงานในระดับนี้รังแต่จะมีผลร้ายต่อไปทั้งในด้านการเมืองและสังคม
ไม่ว่าจะมองหรือไม่ว่าเวลานี้เป็นช่วงต่อของการเปลี่ยนยุค ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าจะออกมาอย่างไร แต่สภาพการณ์น่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกนานกว่าจะมีความกระจ่าง
นั่นหมายความว่า การดำเนินนโยบายในระดับประเทศและการดำเนินชีวิตของบุคคล น่าจะยึดการลดความเสี่ยงเป็นหลัก
แต่ในช่วงนี้นโยบายของรัฐบาลไทยมีแนวโน้มว่ากำลังเดินไปในทางตรงข้าม นโยบายในแนวประชานิยมเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นโยบายล่าสุดที่กำลังมีผลเสียหายมหาศาลทางการเงิน ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าว ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลรับจำนำข้าวจากชาวนาด้วยราคาเกือบ 2 เท่าของราคาในตลาดโลก ส่งผลให้ชาวนาไม่กลับมารับข้าวคืน รัฐบาลต้องจำหน่ายข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาที่รับจำนำไว้ ทำให้ขาดทุนนับแสนล้านบาท
หากรัฐบาลยังไม่ยกเลิกโครงการนี้ หรือลดราคารับจำนำลง หรือราคาข้าวในตลาดโลกไม่เพิ่มขึ้นไปใกล้ ๆ สองเท่า การขาดทุนจำนวนมากจะยังเกิดขึ้น รัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาใช้ในโครงการนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์
แต่ที่แน่นอนคือรัฐบาลได้เริ่มกู้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาใช้ในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทที่ยังไม่รู้ว่าจะนำไปใช้เพื่ออะไรอีกด้วย
อนึ่ง หากดำเนินต่อไปในแนวเดิม โครงการรับจำนำข้าวนี้จะมีผลทำให้รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าว พร้อมกับการทำลายกลไกของตลาดเสรีซึ่งทำงานเป็นอย่างดีมานาน ประวัติศาสตร์บ่งว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาลด้อยกว่าของภาคเอกชน การผูกขาดตลาดข้าวจะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านกลไกแน่นอน
ข้าวเป็นเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจและสังคมไทย เมื่อประสิทธิภาพของภาคนี้ถูกทำลาย เศรษฐกิจและสังคมไทยย่อมมีปัญหาใหญ่หลวง เกี่ยวกับประเด็นนี้มีอุทาหรณ์จากฟิลิปปินส์ รัฐบาลฟิลิปปินส์ในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส เข้าไปผูกขาดตลาดมะพร้าวแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
มะพร้าวเป็นหัวใจของเศรษฐกิจและสังคม ฟิลิปปินส์ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นผู้ส่งมะพร้าวออกหมายเลข 1 ของโลก การผูกขาดของรัฐบาลส่งผลให้การผลิตมะพร้าวซบเซาลงจนส่งผลให้ฟิลิปปินส์ได้สมญาว่าเป็น "คนง่อยของเอเชีย"
นอกจากนั้น รัฐบาลยังกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายไปในแนวที่รัฐบาลต้องการอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ รัฐบาลต้องการจะนำเงินสำรองของชาติออกมาใช้และบริหารจัดการเอง หากรัฐบาลทำสิ่งเหล่านั้นสำเร็จ ผลที่ออกมาจะได้แก่การเสียวินัยทั้งในด้านการคลังและการเงินพร้อม ๆ กัน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ในสภาพที่โลกภายนอกมีความไม่แน่นอนสูง และนโยบายภายในทำให้ความเสี่ยงต่อความเสียหายร้ายแรงเพิ่มขึ้นนี้ ประชาชนคงไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากจะกระทำในสิ่งที่ลดความเสี่ยงลงให้มากที่สุด
โดยเฉพาะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจริง ๆ ลง ลดการกู้หนี้ยืมสินลง และหากมีเงินออมที่สามารถนำไปลงทุนได้ ก็ลงทุนในด้านที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด
จากมุมมองของเทคโนโลยี คงไม่มีข้อโต้แย้งมากนัก หากจะสรุปว่าโลกกำลังตกอยู่ในช่วงเปลี่ยนยุค ทั้งนี้ เพราะเทคโนโลยีดิจิทัลได้ก่อให้เกิดความเปลี่ยนแปลงใหญ่หลวง วิธีผลิต การบริโภค ความหลากหลายและการกระจายสินค้าและบริการ พร้อมทั้งการดำเนินชีวิตได้เปลี่ยนไปอย่างมีนัยสำคัญ ท่ามกลางการติดต่อสื่อสารที่สามารถทำได้ภายในพริบตา ไม่ว่าจะอยู่ในส่วนไหนของโลก
ในขณะเดียวกัน เทคโนโลยีใหม่ ได้เอื้อให้ผู้ที่เป็นเจ้าของ หรือเข้าถึงเทคโนโลยี กอบโกยส่วนแบ่งของรายได้ส่วนใหญ่ที่เกิดจากการขยายตัวทางเศรษฐกิจไปเป็นของตน ส่วนประชาชนทั่วไปได้รับส่วนแบ่งเพียงเล็กน้อย และบางส่วนไม่ได้อะไรเลย
กระบวนการนี้ทำให้ความเหลื่อมล้ำ หรือความไม่เป็นธรรมในด้านการกระจายรายได้เลวร้ายขึ้น ความเลวร้ายนี้มีพลังสนับสนุนให้เพิ่มขึ้นอีกจากระบบการเมือง ที่ผู้มีทรัพย์มากเข้าถึงกระบวนการทางการเมืองมากกว่าคนทั่วไป
เมื่อคนส่วนน้อยนั้นควบคุมระบบการเมืองได้ พวกเขาก็ชี้นำ หรือดำเนินนโยบายที่เน้นการได้ประโยชน์ของพวกเขาเป็นที่ตั้ง ด้วยเหตุนี้ การกระจายรายได้จึงเลวร้ายยิ่งขึ้นทั่วทั้งโลก ไม่ว่าจะเป็นในประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ หรือในแนวอื่น
นอกจากด้านเทคโนโลยี ยังมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านอื่นซึ่งอาจมองว่าเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดการเปลี่ยนยุค อาทิ ในด้านการเมืองระหว่างประเทศ ซึ่งเคยมีความขัดแย้งระหว่างระบบตลาดเสรีกับระบบคอมมิวนิสต์เป็นตัวกำหนดทิศทาง ได้เปลี่ยนมาเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐกับกลุ่มชนที่มีความเห็นต่าง รวมทั้งทางด้านศาสนาด้วย
สงครามขนาดใหญ่ถูกแทนที่ด้วยการก่อการร้ายของกลุ่มชนที่ต่อต้านการครอบงำของแนวคิดกระแสหลัก
นอกจากนั้น ยังมีด้านเศรษฐกิจ ซึ่งเกือบทั่วโลกตกอยู่ในภาวะซบเซา หลังจากเกิดความถดถอยครั้งใหญ่เมื่อฟองสบู่ภาคอสังหาริมทรัพย์ในหลายประเทศแตกเมื่อปี 2551
ความถดถอยครั้งนี้ มีความร้ายแรงสูงรองลงมาจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งร้ายแรงที่สุดในประวัติศาสตร์ซึ่งเกิดหลังความล่มสลายของตลาดหลักทรัพย์ในอเมริกาเมื่อปี 2472 เท่านั้น
เมื่อเกิดวิกฤตหลังปี 2472 โลกใช้แนวคิดของ จอห์น เมนาร์ด เคนส์ แก้ปัญหา ปรากฏว่าได้ผล แนวคิดนั้นจึงถูกใช้แก้ปัญหามาจนถึงปัจจุบัน แต่หลังเกิดความถดถอยครั้งล่าสุด แนวคิดนั้นใช้ไม่ได้ผลเต็มที่ ประเทศต่าง ๆ จึงยังประสบปัญหาที่แสดงออกมาทางความล้มละลายในหลายประเทศ และจำนวนมากยังตกอยู่ในภาวะซบเซายืดเยื้อ
ในขณะนี้มีการว่างงานในอัตราที่สูงมากเกือบทั่วโลก ในบางประเทศสูงกว่า 25% การว่างงานในระดับนี้รังแต่จะมีผลร้ายต่อไปทั้งในด้านการเมืองและสังคม
ไม่ว่าจะมองหรือไม่ว่าเวลานี้เป็นช่วงต่อของการเปลี่ยนยุค ซึ่งคาดเดาไม่ได้ว่าจะออกมาอย่างไร แต่สภาพการณ์น่าจะยืดเยื้อต่อไปอีกนานกว่าจะมีความกระจ่าง
นั่นหมายความว่า การดำเนินนโยบายในระดับประเทศและการดำเนินชีวิตของบุคคล น่าจะยึดการลดความเสี่ยงเป็นหลัก
แต่ในช่วงนี้นโยบายของรัฐบาลไทยมีแนวโน้มว่ากำลังเดินไปในทางตรงข้าม นโยบายในแนวประชานิยมเพิ่มความเข้มข้นขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งจะใช้เงินเพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัว นโยบายล่าสุดที่กำลังมีผลเสียหายมหาศาลทางการเงิน ได้แก่ โครงการรับจำนำข้าว ในช่วงเวลา 2 ปีที่ผ่านมา รัฐบาลรับจำนำข้าวจากชาวนาด้วยราคาเกือบ 2 เท่าของราคาในตลาดโลก ส่งผลให้ชาวนาไม่กลับมารับข้าวคืน รัฐบาลต้องจำหน่ายข้าวด้วยราคาที่ต่ำกว่าราคาที่รับจำนำไว้ ทำให้ขาดทุนนับแสนล้านบาท
หากรัฐบาลยังไม่ยกเลิกโครงการนี้ หรือลดราคารับจำนำลง หรือราคาข้าวในตลาดโลกไม่เพิ่มขึ้นไปใกล้ ๆ สองเท่า การขาดทุนจำนวนมากจะยังเกิดขึ้น รัฐบาลจะนำเงินที่ไหนมาใช้ในโครงการนี้ยังไม่เป็นที่ประจักษ์
แต่ที่แน่นอนคือรัฐบาลได้เริ่มกู้เงินจำนวนมหาศาลเพื่อนำมาใช้ในโครงการต่าง ๆ รวมทั้งจำนวน 2.2 ล้านล้านบาทที่ยังไม่รู้ว่าจะนำไปใช้เพื่ออะไรอีกด้วย
อนึ่ง หากดำเนินต่อไปในแนวเดิม โครงการรับจำนำข้าวนี้จะมีผลทำให้รัฐบาลเป็นผู้ผูกขาดตลาดข้าว พร้อมกับการทำลายกลไกของตลาดเสรีซึ่งทำงานเป็นอย่างดีมานาน ประวัติศาสตร์บ่งว่า ประสิทธิภาพในการทำงานของรัฐบาลด้อยกว่าของภาคเอกชน การผูกขาดตลาดข้าวจะส่งผลให้เกิดความเสียหายทางด้านกลไกแน่นอน
ข้าวเป็นเสมือนหัวใจของเศรษฐกิจและสังคมไทย เมื่อประสิทธิภาพของภาคนี้ถูกทำลาย เศรษฐกิจและสังคมไทยย่อมมีปัญหาใหญ่หลวง เกี่ยวกับประเด็นนี้มีอุทาหรณ์จากฟิลิปปินส์ รัฐบาลฟิลิปปินส์ในสมัยประธานาธิบดีเฟอร์ดินันด์ มาร์กอส เข้าไปผูกขาดตลาดมะพร้าวแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด
มะพร้าวเป็นหัวใจของเศรษฐกิจและสังคม ฟิลิปปินส์ซึ่งครั้งหนึ่งเป็นผู้ส่งมะพร้าวออกหมายเลข 1 ของโลก การผูกขาดของรัฐบาลส่งผลให้การผลิตมะพร้าวซบเซาลงจนส่งผลให้ฟิลิปปินส์ได้สมญาว่าเป็น "คนง่อยของเอเชีย"
นอกจากนั้น รัฐบาลยังกดดันให้ธนาคารแห่งประเทศไทยดำเนินนโยบายไปในแนวที่รัฐบาลต้องการอีกด้วย เท่านั้นยังไม่พอ รัฐบาลต้องการจะนำเงินสำรองของชาติออกมาใช้และบริหารจัดการเอง หากรัฐบาลทำสิ่งเหล่านั้นสำเร็จ ผลที่ออกมาจะได้แก่การเสียวินัยทั้งในด้านการคลังและการเงินพร้อม ๆ กัน เหตุการณ์เช่นนี้ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน
ในสภาพที่โลกภายนอกมีความไม่แน่นอนสูง และนโยบายภายในทำให้ความเสี่ยงต่อความเสียหายร้ายแรงเพิ่มขึ้นนี้ ประชาชนคงไม่มีทางเลือกมากนัก นอกจากจะกระทำในสิ่งที่ลดความเสี่ยงลงให้มากที่สุด
โดยเฉพาะลดการใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นจริง ๆ ลง ลดการกู้หนี้ยืมสินลง และหากมีเงินออมที่สามารถนำไปลงทุนได้ ก็ลงทุนในด้านที่มีความเสี่ยงต่ำที่สุด
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น