แม้ว่าพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทจะยังไม่ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา แต่กระทรวงคมนาคมได้เตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการระบบรางต่างๆแล้ว ไม่ว่าจะเป็นการศึกษาความเหมาะสม การออกแบบโครงการ การศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อม
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มี 4 โครงการ ได้แก่ 1.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 5.9 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีผลงาน 62.69% ล่าช้ากว่าแผน 3.36% โดยล่าช้าในส่วนของสัญญา 4 หรืองานบริหารจัดการเดินรถ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) อยู่ระหว่างเจรจาต่อรองรอบที่ 3 เพื่อให้ได้ราคาต่ำที่สุด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ค.นี้ โดยล่าสุดผู้รับเหมายอมลดราคา 321 ล้านบาท คงเหลือ 82,989 ล้านบาท ส่วนงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินงาน
2.สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร วงเงิน 7.9 หมื่นล้านบาท มีผลงาน 36.54% ล่าช้ากว่าแผน 3.24% 3.สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท มีผลงาน 10.50% เร็วกว่าแผน 0.93% และ4.สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้างงานโยธา ปัจจุบันมีความล่าช้าในส่วนของสัญญา 3 หรืองานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาปัญหาการมีผลประโยชน์ร่วมกันของเอกชนที่ยื่นข้อเสนอประกวดราคา
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่เตรียมประกวดราคาในปีนี้ มี 2 โครงการ ซึ่งกระทรวงฯเสนอรายละเอียดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างรอการอนุมัติ คือ 1.สายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และ2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และโครงการที่จะประกวดราคาในระยะต่อไป เช่น สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ส่วนช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน จะยังไม่ดำเนินการเพราะมีปัญหาเรื่องมวลชนบริเวณประตูน้ำ และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
"ความล่าช้ามีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังไปได้ โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้จะใช้เงินตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่การดำเนินงานทุกโครงการจะเป็นอิสระ ไม่ต้องรอทำพร้อมกัน"
ทั้งนี้ โครงการแรกที่จะใช้เงินกู้ตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สาเหตุที่นำเงินกู้มาใช้ในโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างด้วย เพราะรัฐบาลต้องการให้โครงการขนาดใหญ่ใช้เงินจากแหล่งเดียวกัน เพื่อจะรู้สภาพหนี้และยอดตัวเลขต่างๆเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ตามกระบวนการพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทกำหนดว่าจะเริ่มกู้เงินภายในปีนี้ประมาณ 200 ล้านบาท และในปี 2557 กู้อีกประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ส่วนปี 2558 จะกู้ 2.9 แสนล้านบาท และกู้เงินสูงมากในปี 2559-2560 หรือปีละประมาณ 4.5 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2561 กู้เงิน 3.7 แสนล้านบาท ปี 2562 กู้เงิน 1.7 แสนล้านบาท และปี 2563 กู้เงิน 9.4 หมื่นล้านบาท
ส่วนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อน เพราะเริ่มจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดก่อนเส้นทางอื่น โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ผ่านจ.อยุธยา ภาชี ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน สิ้นสุดที่จ.เชียงใหม่
ส่วนแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงิน 170,450 ล้านบาท จะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ อยุธยา สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา บัวใหญ่ ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่จ.หนองคาย เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327 แสนล้านบาท ช่วงแรกจะก่อสร้างจากกรุงเทพฯ-หัวหินก่อน แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีรถไฟกลางบางซื่อ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน และเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 100,631 แสนล้านบาท แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง
"เส้นทางเชียงใหม่ หนองคายและหัวหิน จะปัจจุบันขั้นตอนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงอยู่ระหว่างเสนอเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา โดยเส้นทางเชียงใหม่ หนองคาย และหัวหินจะเสนอภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนเส้นทางระยอง คงต้องใช้เวลาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกระยะหนึ่ง"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ให้สัมภาษณ์ "กรุงเทพธุรกิจ" ว่า โครงการรถไฟฟ้าที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง มี 4 โครงการ ได้แก่ 1.สายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 5.9 หมื่นล้านบาท ปัจจุบันมีผลงาน 62.69% ล่าช้ากว่าแผน 3.36% โดยล่าช้าในส่วนของสัญญา 4 หรืองานบริหารจัดการเดินรถ ซึ่งการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย(รฟม.) อยู่ระหว่างเจรจาต่อรองรอบที่ 3 เพื่อให้ได้ราคาต่ำที่สุด คาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือนก.ค.นี้ โดยล่าสุดผู้รับเหมายอมลดราคา 321 ล้านบาท คงเหลือ 82,989 ล้านบาท ส่วนงานก่อสร้างศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ระหว่างเร่งรัดการดำเนินงาน
2.สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค ระยะทาง 27 กิโลเมตร วงเงิน 7.9 หมื่นล้านบาท มีผลงาน 36.54% ล่าช้ากว่าแผน 3.24% 3.สายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ ระยะทาง 12.8 กิโลเมตร วงเงิน 2.5 หมื่นล้านบาท มีผลงาน 10.50% เร็วกว่าแผน 0.93% และ4.สายสีแดงเข้ม ช่วงบางซื่อ-รังสิต ระยะทาง 26 กิโลเมตร วงเงินประมาณ 1.5 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างก่อสร้างงานโยธา ปัจจุบันมีความล่าช้าในส่วนของสัญญา 3 หรืองานระบบราง อาณัติสัญญาณ และขบวนรถไฟฟ้า ซึ่งอยู่ระหว่างพิจารณาปัญหาการมีผลประโยชน์ร่วมกันของเอกชนที่ยื่นข้อเสนอประกวดราคา
ส่วนโครงการรถไฟฟ้าที่เตรียมประกวดราคาในปีนี้ มี 2 โครงการ ซึ่งกระทรวงฯเสนอรายละเอียดให้คณะรัฐมนตรีพิจารณาแล้ว และอยู่ระหว่างรอการอนุมัติ คือ 1.สายสีเขียวอ่อน ช่วงหมอชิต-สะพานใหม่-คูคต และ2.สายสีชมพู ช่วงแคราย-ปากเกร็ด-มีนบุรี และโครงการที่จะประกวดราคาในระยะต่อไป เช่น สายสีส้ม ช่วงศูนย์วัฒนธรรม-มีนบุรี ส่วนช่วงศูนย์วัฒนธรรม-ตลิ่งชัน จะยังไม่ดำเนินการเพราะมีปัญหาเรื่องมวลชนบริเวณประตูน้ำ และสายสีเหลือง ช่วงลาดพร้าว-สำโรง
"ความล่าช้ามีบ้าง แต่ส่วนใหญ่ยังไปได้ โครงการขนาดใหญ่เหล่านี้จะใช้เงินตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท แต่การดำเนินงานทุกโครงการจะเป็นอิสระ ไม่ต้องรอทำพร้อมกัน"
ทั้งนี้ โครงการแรกที่จะใช้เงินกู้ตามพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาท จะเป็นโครงการรถไฟฟ้า 3 โครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้าง คือ สายสีม่วง ช่วงบางซื่อ-บางใหญ่ สายสีน้ำเงินส่วนต่อขยาย ช่วงบางซื่อ-ท่าพระ และหัวลำโพง-บางแค และสายสีเขียวเข้ม ช่วงแบริ่ง-สมุทรปราการ สาเหตุที่นำเงินกู้มาใช้ในโครงการที่อยู่ระหว่างก่อสร้างด้วย เพราะรัฐบาลต้องการให้โครงการขนาดใหญ่ใช้เงินจากแหล่งเดียวกัน เพื่อจะรู้สภาพหนี้และยอดตัวเลขต่างๆเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน
อย่างไรก็ตาม ตามกระบวนการพ.ร.บ.กู้เงิน 2 ล้านล้านบาทกำหนดว่าจะเริ่มกู้เงินภายในปีนี้ประมาณ 200 ล้านบาท และในปี 2557 กู้อีกประมาณ 1.5 แสนล้านบาท ส่วนปี 2558 จะกู้ 2.9 แสนล้านบาท และกู้เงินสูงมากในปี 2559-2560 หรือปีละประมาณ 4.5 แสนล้านบาท ขณะที่ปี 2561 กู้เงิน 3.7 แสนล้านบาท ปี 2562 กู้เงิน 1.7 แสนล้านบาท และปี 2563 กู้เงิน 9.4 หมื่นล้านบาท
ส่วนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูง เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ วงเงิน 387,821 ล้านบาท คาดว่าจะแล้วเสร็จก่อน เพราะเริ่มจ้างที่ปรึกษาศึกษารายละเอียดก่อนเส้นทางอื่น โดยแนวเส้นทางจะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ ผ่านจ.อยุธยา ภาชี ลพบุรี นครสวรรค์ พิจิตร พิษณุโลก อุตรดิตถ์ เด่นชัย ลำปาง ลำพูน สิ้นสุดที่จ.เชียงใหม่
ส่วนแนวเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงิน 170,450 ล้านบาท จะเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ อยุธยา สระบุรี ปากช่อง นครราชสีมา บัวใหญ่ ขอนแก่น อุดรธานี สิ้นสุดที่จ.หนองคาย เส้นทางกรุงเทพฯ-ปาดังเบซาร์ วงเงิน 124,327 แสนล้านบาท ช่วงแรกจะก่อสร้างจากกรุงเทพฯ-หัวหินก่อน แนวเส้นทางเริ่มต้นจากสถานีรถไฟกลางบางซื่อ นครปฐม ราชบุรี เพชรบุรี หัวหิน และเส้นทางกรุงเทพฯ-ระยอง วงเงิน 100,631 แสนล้านบาท แนวเส้นทางเริ่มจากสถานีกลางบางซื่อ-ฉะเชิงเทรา-ชลบุรี-พัทยา-ระยอง
"เส้นทางเชียงใหม่ หนองคายและหัวหิน จะปัจจุบันขั้นตอนการดำเนินโครงการรถไฟความเร็วสูงอยู่ระหว่างเสนอเรื่องผลกระทบสิ่งแวดล้อมให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติพิจารณา โดยเส้นทางเชียงใหม่ หนองคาย และหัวหินจะเสนอภายในเดือนส.ค.นี้ ส่วนเส้นทางระยอง คงต้องใช้เวลาศึกษาผลกระทบสิ่งแวดล้อมอีกระยะหนึ่ง"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น