--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 25 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

การสร้างประชาคม ความมั่นคงของอาเซียน !!??

ภาคแนวคิดและทฤษฎีเรื่องประชาคมความมั่นคง ที่ลองนำมาเสนอให้เห็นว่าเจ้าทฤษฎีของสำนักต่างๆ คิดกันอย่างไร และกับการสร้างประชาคมความมั่นคงของอาเซียน นี้ จะพบกับความซับซ้อนในประเด็นใดบ้าง เหล่านี้เป็นประเด็นน่าศึกษาประชาคมความมั่นคงของอาเซียนอยู่มาก ว่ามีเหตุปัจจัยอื่นใดบ้าง ที่นำไปสู่การสร้างเสาหลักของประชาคมอาเซียนหนึ่งเดียว

หากย้อนไปทบทวนดูภูมิทัศน์ทางการเมืองของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่เป็นปริมณฑลของอาเซียนนั้น มีประเด็นสำคัญๆ น่าศึกษาเกี่ยวกับความเป็นประชาคมความมั่นคงมากทีเดียว เพราะถ้าดูว่าอาเซียนซึ่งก่อตั้งเป็นรูปร่างมา แต่ปี ค.ศ.1967 แล้วนั้น ได้ผ่านการเปลี่ยนแปลงสำคัญๆ ที่ เป็นสภาพแวดล้อมทางยุทธศาสตร์ของภูมิภาคในเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้มาแล้วอย่างโชกโชน

ช่วงทศวรรษที่ 1960 (2503) นั้น ความมั่นคงของภูมิ-ภาค และเสถียรภาพในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ตกอยู่ในภาวะ อันมืดมนมาก ภาพของภูมิภาคโดยรอบถูกมองเห็นเป็นดังเสมือน 1.ภูมิภาคที่เต็มไปด้วยการปฏิวัติ เป็น "บัลข่านแห่งตะวันออก" หรือ "เป็นภูมิภาคที่รอล้มพับ" เหมือนไพ่โดมิโน 2. การผนึกแน่นทางสังคมและการเมืองนั้นอ่อนแอมาก ในหมู่ บรรดารัฐเกิดใหม่ในภูมิภาค 3.มีปัญหาเรื่องความชอบธรรมของรัฐบาลที่ตั้งขึ้นหลังจากหลุดออกจากการเป็นอาณานิคมของมหาอำนาจตะวันตก และได้รับอิสรภาพ 4.ได้เกิดปัญหาแย่งชิงผลประโยชน์จนเป็นข้อขัดแย้งเรื่องดินแดนต่อกัน 5. มีการแข่งขันด้านอุดมการณ์ของสองขั้วมหาอำนาจระหว่างภูมิภาคและการที่มหาอำนาจนอกภูมิภาคเข้ามาแทรกแซง

ทั้งหมดนี้คือ ภูมิทัศน์ทางการเมืองของเอเชียตะวันออก เฉียงใต้ ช่วงที่สงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลง และช่วงก่อนหน้าที่อาเซียนจะก่อตัวต่อมา

ความขัดแย้งต่างๆ ที่เกิดขึ้นเหล่านี้ ข่มขู่อย่างน่ากลัวต่อการดำรงอยู่ของรัฐที่เพิ่งเกิดใหม่ ทั้งยังเห็นไปถึงการคุกคาม ต่อกฎระเบียบของภูมิภาคโดยรวมอีกด้วย สงครามเย็นในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้นั้น ถูกแบ่งออกเป็นสองขั้ว อันเป็นผลเนื่องมาจากรัฐบาลปฏิวัติของคอมมิวนิสต์ที่เกิดขึ้นในอินโดจีน จากการที่รัฐบาลที่เป็นคอมมิวนิสต์ทำการส่งออกทหารไปยังรัฐเพื่อนบ้านต่างๆ ของตน

การที่เวียดนามส่งกำลังเข้าไปยึดกัมพูชาในปี ค.ศ.1978 (2521) ก่อให้เกิดความตึงเครียดปะทุขึ้นมาอีก และสร้างขั้นตอนที่ดึงเอาชาติมหาอำนาจเข้ามากระทำการแทรกแซง และสร้างความเป็นปฏิปักษ์ต่อกันขึ้นในภูมิภาค ดังจะเห็นได้จาก ความขัดแย้งที่เกิดการแย่งสิทธิครอบครองเกาะซาบาห์ ระหว่างฟิลิปปินส์กับมาเลเซีย และความขัดแย้งระหว่างอินโดนีเซียกับมาเลเซีย และมาเลเซียกับสิงคโปร์

กรณีนโยบายเผชิญหน้าระหว่างอินโดนีเซียกับสหพันธรัฐมาเลเซียที่จัดตั้งขึ้นใหม่ ภายหลังจากที่มาเลเซียได้รับเอกราช จากอังกฤษมาแล้ว เรื่องนี้นับว่ามีส่วนกำหนดลักษณะของสภาพ แวดล้อมความมั่นคงของภูมิภาคในช่วงแรกๆ หลังยุคอาณานิคม การที่เวียดนามรุกรานกัมพูชา และเกิดลักษณะสองขั้วระหว่าง อาเซียนกับอินโดจีนนั้น เป็นจุดสำคัญยิ่งของการกำเนิดสงคราม เย็นครั้งที่สองขึ้นอีกครั้งในภูมิภาคแห่งนี้

จากภูมิหลังของเหตุการณ์เหล่านี้เอง ที่นำไปสู่การจัดตั้งอาเซียนขึ้นมาในเดือนสิงหาคม ค.ศ.1967 (2510) ซึ่งก็หาใช่แรงบันดาลใจอะไรมากมายนัก กับการก้าวไปข้างหน้าของ การเกิดลัทธิภูมิภาคนิยมในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพราะในความเป็นจริงกับสถานการณ์ขณะนั้น เห็นได้ว่า บรรดาผู้นำของประเทศต่างๆ พากันให้ความสนใจกับการสร้างสัมพันธภาพกับประเทศนอกภูมิภาคมากกว่าที่จะเน้นความสัมพันธ์ระหว่างกันเอง

ประเทศต่างๆ เหล่านี้ มีแนวโน้มเข้าร่วมกับอาเซียนรวม กันทั้งหมด หรือเข้าร่วมในการประชุม หรือในองค์การระหว่าง ประเทศต่างๆ มากกว่าที่จะก่อตัวรวมกันอยู่ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จุดผันผวนหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ก็คือว่า รัฐบาล ของรัฐที่เกิดใหม่ในภูมิภาคนั้น ต่างดิ้นรนอย่างสุดฤทธิ์กับ การให้ได้มาซึ่งความเป็นรัฐชาติของตน ซึ่งแม้แต่ละรัฐต่างรับรู้ถึงกระแสภูมิภาคนิยมนานาชาติ และความเป็นผู้นำที่ดี แต่ก็กลับไม่ได้เรื่องได้ราวต่อการสร้างความมั่นคง และการพัฒนาขึ้นมาได้อย่างรวดเร็วและแข็งแรง ในขณะเดียวกันกับที่สำนึกในความเป็นประชาคมในระดับภูมิภาค และเป้าประสงค์ ในความเป็นรัฐชาติก็ยังไม่อาจนำมาดำเนินการที่จะให้บรรลุเป้า-หมายอย่างสมบูรณ์

เพราะฉะนั้น ในแง่ของความมั่นคง จึงเป็นเรื่องน่าสงสัย กันอยู่แต่แรกว่าอาเซียนจะไปรอดได้นานแค่ไหน ในเมื่อแม้เมื่อเกิดเป็นรัฐใหม่ หลุดจากการตกเป็นอาณานิคมมาเป็นประเทศเอกราช มีอิสรภาพแล้ว แต่ก็เต็มไปด้วยความขัดแย้งในระหว่างรัฐในภูมิภาคเดียวกัน ดังเช่นแรกเริ่มความขัดแย้งแย่งสิทธิเหนือหมู่เกาะซาบาห์ ระหว่างมาเลเซียกับฟิลิปปินส์ เป็นต้น

ความร่วมมือด้านการพัฒนาต่างๆ ต่อกัน ยังไม่เป็นรูปธรรมชัดเจน รวมถึงเรื่องของการเปิดเสรีทางการค้า ก็เป็นไปอย่างเชื่องช้าต่อกันมา แถลงการณ์ของอาเซียนช่วงต้นทศวรรษที่ 1970 (2513) เช่น แถลงการณ์เรื่อง "เขตแดนเสรีภาพ สันติภาพ อิสรภาพ และความเป็นกลาง (ZOFRAN = Zone of Peace, Freedom and Neutrality)" ก็ยังเต็มไปด้วยอุปสรรคขัดขวางและก็ยังโต้เถียงกันอยู่

แต่อาเซียนก็อยู่รอดมาได้ ยิ่งกว่านั้นก็คือที่จะเห็นว่า ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1990 (2533) นั้น รัฐสมาชิกของ อาเซียนยังเอ่ยอ้างโอ่ว่า การรวมตัวเป็นกลุ่มของอาเซียน นั้น ถือเป็นการทดสอบที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในด้านความร่วมมือของภูมิภาคของโลกที่เป็นประเทศที่กำลังพัฒนา หัวใจสำคัญของการกล่าวอ้างนี้ ก็คือการแสดงบทบาทของ อาเซียนในการดำเนินการจัดการกับความขัดแย้งระหว่างกัน ของรัฐในอาเซียน ที่เห็นว่าอาเซียนเข้มแข็งขึ้น คือตรงที่สามารถลดความขัดแย้งลงได้

ที่มา.สยามธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น