การเมืองเป็นเรื่องการจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์ในสังคม การเมืองระดับชาติก็จัดสรรผลประโยชน์ระดับประเทศ การเมืองระดับ อบต.ก็จัดสรรผลประโยชน์ในตำบล ฯลฯ ถ้าการเมืองดี การจัดสรรนั้นก็เป็นไปอย่างเป็นธรรม สร้างความสันติสุขให้ชุมชน แต่ถ้าเป็นการเมืองไม่ดี การจัดสรรแบ่งปันผลประโยชน์ ก็จะกลายเป็นการแย่งชิงผลประโยชน์ถึงขั้นต่อสู้ทำลายล้างกัน
นักการเมืองเป็นปุถุชน ทำผิดบ้างถูกบ้าง เป็นธรรมดา เราทำใจยอมรับได้ แต่ก็ควรที่จะยอมรับด้วยว่า อะไรถูก อะไรผิด แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียบ้าง
แต่ภาวการณ์เมืองไทยขณะนี้ ทุกฝ่ายต่างนอนยันยืนยันว่าตนเองถูกต้อง ไม่มีที่ผิดพลาด
ตนและพวกพ้องเป็นคนดี เป็นนักการเมืองน้ำดีกันทั้งนั้น
เมื่อเต็มไปด้วยทิฐิกันอย่างนี้แล้ว "การเมืองดี" จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
รากฐานที่จะทำให้การเมืองดี คือ "คนไทยคิดทำอะไรต้องเมตตากัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอด ประสานประโยชน์กัน สามัคคีอยู่ในความสุจริต เท่าเทียมกันทางกฎหมาย"
เมื่อมองสังคมไทยในอดีต ราษฎรไทยมีความเมตตาเกื้อกูลกันมากกว่าสมัยนี้ เราคงยอมรับว่ามาตรฐานคุณธรรมมีความเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคมปัจจุบันนี้มาตรฐานวัดความ ผิด-ถูก , ชั่ว-ดี , สุจริต - ทุจริต เปลี่ยนไปในทางตกต่ำลง
ใครจะทำให้ดีขึ้นได้ ? คนทั่วไปมักจะเรียกร้องหาวีรบุรุษมาช่วยทำให้มันดีขึ้น โดยลืมไปว่า ไม่มีใครเป็นพระเอกขี่ม้าขาวได้ ตัวเราเอง-คือคนไทยทุกคนจะต้องลงมือทำจึงจะสำเร็จ
แล้วจะลงมือทำอย่างไร ? ก่อนอื่นก็ต้องปรับปรุงตัวเอง รักษาคุณธรรมของตนให้ดี จากนั้นจึงจะสามารถส่งผลสะเทือนถึงคนอื่น จึงจะสามารถเคลื่อนไหวสร้างการเมืองดีได้
ขณะนี้ผู้คนที่ห่วงบ้านเมือง หวังพึ่งพิงการปฏิรูปการเมืองบ้าง หวังพึ่งกองทัพมาเป็นวีรบุรุษขี่ม้าขาวบ้าง โดยลืมไปว่า ถ้าระดับคุณธรรมของสังคมไทยยังคงอยู่ในระดับอย่างนี้ การเมืองจะดีขึ้นไม่ได้
ตอนนี้สังคมไทยมีความเสี่ยงมาก ตั้งอยู่หมิ่นเหม่ปากเหว กระทั่งบางคนคิดว่าเราตกเหวไปแล้ว เพราะขณะนี้ไม่มีฐานอะไรรองรับ เพื่อจะดิ้นรนให้รอดจากจุดเสี่ยงอันตรายสูงสุดนี้ เกิดความเรียกร้องเรื่องต่าง ๆ มากมาย นั่นเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่ลืมว่าจุดเริ่มต้นคือเรียกร้องตนเองก่อน
ทำการเมืองต้องมีธรรมะกำกับ ทุกคนเรียกร้องหาเสรีภาพ แต่เสรีภาพที่ถูกต้องนั้นต้องมีธรรมะกำกับ เสรีอย่างไม่มีธรรมะกำกับก็จะเป็นไปตามกิเลส ให้กิเลสมีเสรี มันก็ทำลายสังคม ทำลายมนุษย์
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เตือนสติผู้คนไว้เรื่อง "ธรรมที่พึงปฏิบัติในทางการเมือง"
หัวข้อแรกคือเรื่อง "สติ" ท่านบอกว่า
"สติเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นธรรมที่ควรจะรักษาที่สุดในทางการเมือง
นักการเมืองทุกคนจะต้องมีสติ
ขณะนี้เองกระผมมีความรู้สึกว่าสติของเราจะหลวม ๆ มีโกรธกัน เคียดแค้นกัน ด่ากันรุนแรง มีพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขาดสติ
เมืองเรามีทั้งพลเรือนมีทั้งทหาร ถ้าขาดสติข้างเดียวไม่เป็นไร ถ้าเกิดจาดสติมาพร้อมกันทั้งสองข้าง ประชาธิปไตยมันก็อยู่ไม่ได้ คืองอนกันไม่จบ ในที่สุดก็เกิดโมโหขึ้นมา ตึงตังขึ้นมา เราก็ไม่มีประชาธิปไตย
กระผมจึงอยากจะขอวิงวอนให้นักการเมืองทุกฝ่ายทุกวันนี้โปรดได้ใช้สติ จะทำอะไรพิจารณาให้รอบคอบ
ปัญหาการเมืองทุกอย่างมันเป็นปัญหาที่แก้ไขได้
หรือถึงจะแก้ไขไม่ได้ก็ควรใช้สติพิจารณา ไม่ใช่โวยวายไปตามอารมณ์ ไม่ใช่จะประณามกัน ด่าว่ากันจนเกินไปโดยขาดสติ มันจะทำให้เกดความเคียดแค้นเกิดพยาบาทอาฆาต ซึ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ใครเลย และในที่สุดประชาธิปไตยก็อยู่ไม่ได้......"
ที่มา.สยามรัฐ
////////////////////////////////////////////////////////
นักการเมืองเป็นปุถุชน ทำผิดบ้างถูกบ้าง เป็นธรรมดา เราทำใจยอมรับได้ แต่ก็ควรที่จะยอมรับด้วยว่า อะไรถูก อะไรผิด แล้วปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเสียบ้าง
แต่ภาวการณ์เมืองไทยขณะนี้ ทุกฝ่ายต่างนอนยันยืนยันว่าตนเองถูกต้อง ไม่มีที่ผิดพลาด
ตนและพวกพ้องเป็นคนดี เป็นนักการเมืองน้ำดีกันทั้งนั้น
เมื่อเต็มไปด้วยทิฐิกันอย่างนี้แล้ว "การเมืองดี" จะเกิดขึ้นได้อย่างไร ?
รากฐานที่จะทำให้การเมืองดี คือ "คนไทยคิดทำอะไรต้องเมตตากัน ช่วยเหลือเกื้อกูลกันตลอด ประสานประโยชน์กัน สามัคคีอยู่ในความสุจริต เท่าเทียมกันทางกฎหมาย"
เมื่อมองสังคมไทยในอดีต ราษฎรไทยมีความเมตตาเกื้อกูลกันมากกว่าสมัยนี้ เราคงยอมรับว่ามาตรฐานคุณธรรมมีความเปลี่ยนแปลงไปตามการเปลี่ยนแปลงของระบบเศรษฐกิจ สังคมปัจจุบันนี้มาตรฐานวัดความ ผิด-ถูก , ชั่ว-ดี , สุจริต - ทุจริต เปลี่ยนไปในทางตกต่ำลง
ใครจะทำให้ดีขึ้นได้ ? คนทั่วไปมักจะเรียกร้องหาวีรบุรุษมาช่วยทำให้มันดีขึ้น โดยลืมไปว่า ไม่มีใครเป็นพระเอกขี่ม้าขาวได้ ตัวเราเอง-คือคนไทยทุกคนจะต้องลงมือทำจึงจะสำเร็จ
แล้วจะลงมือทำอย่างไร ? ก่อนอื่นก็ต้องปรับปรุงตัวเอง รักษาคุณธรรมของตนให้ดี จากนั้นจึงจะสามารถส่งผลสะเทือนถึงคนอื่น จึงจะสามารถเคลื่อนไหวสร้างการเมืองดีได้
ขณะนี้ผู้คนที่ห่วงบ้านเมือง หวังพึ่งพิงการปฏิรูปการเมืองบ้าง หวังพึ่งกองทัพมาเป็นวีรบุรุษขี่ม้าขาวบ้าง โดยลืมไปว่า ถ้าระดับคุณธรรมของสังคมไทยยังคงอยู่ในระดับอย่างนี้ การเมืองจะดีขึ้นไม่ได้
ตอนนี้สังคมไทยมีความเสี่ยงมาก ตั้งอยู่หมิ่นเหม่ปากเหว กระทั่งบางคนคิดว่าเราตกเหวไปแล้ว เพราะขณะนี้ไม่มีฐานอะไรรองรับ เพื่อจะดิ้นรนให้รอดจากจุดเสี่ยงอันตรายสูงสุดนี้ เกิดความเรียกร้องเรื่องต่าง ๆ มากมาย นั่นเป็นเรื่องดี แต่ต้องไม่ลืมว่าจุดเริ่มต้นคือเรียกร้องตนเองก่อน
ทำการเมืองต้องมีธรรมะกำกับ ทุกคนเรียกร้องหาเสรีภาพ แต่เสรีภาพที่ถูกต้องนั้นต้องมีธรรมะกำกับ เสรีอย่างไม่มีธรรมะกำกับก็จะเป็นไปตามกิเลส ให้กิเลสมีเสรี มันก็ทำลายสังคม ทำลายมนุษย์
ม.ร.ว คึกฤทธิ์ ปราโมช เตือนสติผู้คนไว้เรื่อง "ธรรมที่พึงปฏิบัติในทางการเมือง"
หัวข้อแรกคือเรื่อง "สติ" ท่านบอกว่า
"สติเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เป็นธรรมที่ควรจะรักษาที่สุดในทางการเมือง
นักการเมืองทุกคนจะต้องมีสติ
ขณะนี้เองกระผมมีความรู้สึกว่าสติของเราจะหลวม ๆ มีโกรธกัน เคียดแค้นกัน ด่ากันรุนแรง มีพฤติกรรมต่าง ๆ ซึ่งแสดงให้เห็นว่าขาดสติ
เมืองเรามีทั้งพลเรือนมีทั้งทหาร ถ้าขาดสติข้างเดียวไม่เป็นไร ถ้าเกิดจาดสติมาพร้อมกันทั้งสองข้าง ประชาธิปไตยมันก็อยู่ไม่ได้ คืองอนกันไม่จบ ในที่สุดก็เกิดโมโหขึ้นมา ตึงตังขึ้นมา เราก็ไม่มีประชาธิปไตย
กระผมจึงอยากจะขอวิงวอนให้นักการเมืองทุกฝ่ายทุกวันนี้โปรดได้ใช้สติ จะทำอะไรพิจารณาให้รอบคอบ
ปัญหาการเมืองทุกอย่างมันเป็นปัญหาที่แก้ไขได้
หรือถึงจะแก้ไขไม่ได้ก็ควรใช้สติพิจารณา ไม่ใช่โวยวายไปตามอารมณ์ ไม่ใช่จะประณามกัน ด่าว่ากันจนเกินไปโดยขาดสติ มันจะทำให้เกดความเคียดแค้นเกิดพยาบาทอาฆาต ซึ่งจะไม่เป็นผลดีแก่ใครเลย และในที่สุดประชาธิปไตยก็อยู่ไม่ได้......"
ที่มา.สยามรัฐ
////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น