ด้วยว่าประชาชนชาวกัมพูชา "เป็นผู้มีจิตใจเมตตา อัธยาศัยดีต่อมิตรประเทศอื่นๆ" จนมีคำกล่าวแบบหยิกแกมหยอกว่า "ชาวกัมพูชาเป็นคนใจดี มีแผ่นดินก็ยกให้ชาติอื่นไปครอง" พร้อมกับแบมือแล้วกำมือ (การแบมือกำมือ เป็นความหมายว่า แผ่นดินที่เคย กว้างใหญ่ของกัมพูชานั้น เคยกว้างใหญ่ แบบแบมือ ปัจจุบันเหลือแผ่นดินแค่กำมือและเมืองหลักๆ ก็ยังเป็นแผ่นดิน ที่ต่างชาติถือครองได้ถึง 99 ปี)
ประชาชนบางรุ่นพูดว่า "เราจำได้ดีว่าช่วงที่เขมรแดงปกครอง เป็นเวลา แห่งความทุกข์ถึง 3 ปี 8 เดือน 20 วันเป็นยังไง" เมื่อผ่านคืนวันแห่งความโหดร้ายของสงครามมาได้ ในบางเรื่องแม้จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ต้องปล่อยเลย ตามเลย ไม่คัดค้าน เพื่อนำพาประเทศกัมพูชาไปสู่อนาคต ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาก็เจริญขึ้นตามลำดับ
และเป้าหมายสำคัญที่สุดตอนนี้คือ การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีอย่างเข้มแข็ง
"สยามธุรกิจ" จึงพาไปฟังมุมมองของ 3 นักลงทุนในกัมพูชาที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานปี เขาคิดและมอง "กัมพูชา" อย่างไร
เริ่มต้นที่ กง เม่ง เจ้าของบริษัททรานสปอร์ต เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นคนกัมพูชา ทำธุรกิจรถแท็กซี่เส้นทางปอยเปต-เสียมเรียบ ผลประกอบการถือว่าไปได้ดี กระทั่งสามารถเก็บหอมรอมริบขยายไปทำธุรกิจร้านอาหารบาร์บีคิวในเมืองเสียมเรียบ ชื่อร้าน เม่ง บาร์บีคิว
เขาบอกว่าสาเหตุที่เปิดร้านบาร์บีคิวเพราะมองเห็นโอกาส เนื่องจากปัจจุบันร้านอาหารปิ้งย่างในเมืองเสียมเรียบมีไม่เกิน 5 ร้าน จุดขายของเม่ง บาร์บีคิว นอกจากเนื้อหมูและเนื้อไก่แล้ว ยังมีเนื้อจระเข้ปิ้งย่างด้วย ที่น่าแปลกใจก็คือเนื้อจระเข้ที่ร้านนี้ราคาถูกกว่าเนื้อหมู เพราะเนื้อจระเข้มีมากมายในทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ของกัมพูชา ซี่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 6 จังหวัด ชาวบ้านรอบๆ โตนเลสาบ และนักลงทุนหลายชาติต่างมาลงทุนเลี้ยงจระเข้เป็นล่ำเป็นสัน ทั้งบริโภคภายในประเทศและส่งออก ปัจจุบันการส่งออกจระเข้จากกัมพูชา มียอดสูงสุดในเอเชียใต้
กลยุทธ์หรือจุดขายของ กง เม่ง คือ ดี ถูก ประหยัด คุ้ม โดยพยายามทำต้นทุน การผลิตให้ต่ำ วัตถุดิบดี อย่างเนื้อไก่เขานำเข้าจากฝั่งไทย โดยสั่งซื้อกับ "สหฟาร์ม" ส่วนวัตถุดิบหลายอย่างที่ผลิตได้ภายในประเทศ ก็สั่งในประเทศ สำหรับค่าเช่าพื้นที่เปิดร้านอาหารในเมืองเสียมเรียบ ประมาณ 20,000-25,000 บาทต่อเดือน
เราถามเขาว่าลงทุนในกัมพูชายากไหม กง เม่ง ตอบว่า ไม่ยากถ้าเข้า ใจธุรกิจที่ทำ แต่สาเหตุที่มาลงทุนแล้วล้มเหลวนั้น เกิดจากความไม่รู้จักเพื่อนบ้าน ไม่ศึกษาตลาดก่อนการลงทุน คนที่ลงทุนแล้วเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ รู้จักปรับตัวเขากับสังคม วัฒนธรรมพื้นที่ ยิ่งเป็นนักลงทุนชาวต่างชาติ รัฐบาลกัมพูชาจะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ
คราวนี้มาฟังมุมมองของนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาอย่าง พูนศักดิ์ อุดมเลิศลักษณ์ ประธานกรรมการ บริษัท อินโด ไชน่า เอ็กซ์พลอเรอร์ เขาเล่าว่าเป็นกลุ่มคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปลง ทุนทำธุรกิจท่องเที่ยวในกัมพูชา เนื่องจาก กัมพูชามีสิ่งที่ประเทศอื่นไม่มีนั่นคือ นครวัด-นครธม ซึ่งถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แค่ทำทัวร์ชมปราสาทดังกล่าวก็มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าประเทศอย่างมากมาย
"สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดคือไกด์กัมพูชาเก่งมาก พูดได้อย่างน้อย 3 ภาษา บาง คนไม่ได้จบปริญญาโท ปริญญาเอก แต่ฝึกภาษาจากวัด" พูนศักดิ์ กล่าว
พูนศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด เช่น การเที่ยวชมโบราณสถาน จะมีกฎเกณฑ์ว่าหากเข้าชมตัวปราสาทในแต่ละแห่ง ต้องไปถ่ายรูปติดบัตรเข้าชมปราสาท ในราคา 1 วัน 20 ดอลลาร์สหรัฐ หากชมหลายวันราคาก็เพิ่มตามจำนวนวันหรือจะซื้อแบบเหมาจ่ายสัปดาห์ละ 60 ดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุที่ต้องถ่ายรูปติดบัตรก็เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้นักท่องเที่ยวนำบัตรมาเวียนกันใช้ และหากจะถ่ายรูปตัวปราสาทก็ต้องไปจ่ายค่ากล้องในกรณีถ่ายวิดีโอ ถ่ายแม็กกาซีน เป็นต้น
แม้จะมีกฎเกณฑ์เข้มงวด แต่การท่องเที่ยวของกัมพูชาก็คึกคัก หากเป็น ช่วงไฮซีซั่น โรงแรมระดับ 3 ดาว 5 ดาว เก็ตเฮาส์ จะเต็มหมด ซึ่งนักท่องเที่ยว ที่เข้ามามากอันดับหนึ่งคือจีน รองลงมาคือเวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย
นักลงทุนไทยอีกรายที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาคือ อัด แสงชัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน บริษัท ไลฟ์ แอด เสียมเรียบ กรุ๊ป จำกัด โดยธุรกิจที่เขาลงทุนน่าสนใจมากคือธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ด้านวัฒนธรรม คล้ายกับทิฟฟานี่โชว์ในเมืองไทย
เขาบอกว่าเพิ่งลงทุนเมื่อต้นปีนี้เอง ควักกระเป๋าไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท เป้าหมายคือ เป็นฮอลล์ที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเมืองเสียมเรียบ แม้เขาคาดหวังว่าจะคืนทุนภายใน 2 ปี แต่ก็ต้องดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจนี้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงโลว์ซีซั่นต้องอัดฉีดเงินโปรโมชั่นเพิ่มอีกอย่างน้อยเดือนละ 3 ล้านบาท เก็บค่าเข้าชม 40-45 ดอลลาร์สหรัฐ
เขายังมองไกลไปถึงปี 58 เมื่อเป็น เออีซีว่าหากระบบลอจิสติกส์เชื่อมโยงเติมเต็มซึ่งกันและกันในแต่ละประเทศเขาสนใจ เข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ธุรกิจประเภทนี้จะเติบโตได้
นั่นคือ 3 มุมมองของนักธุรกิจระดับแนวหน้าในกัมพูชา ใครที่สนใจจะเข้าไปลงทุนโอกาสยังเปิดกว้าง เพียง แต่ต้องศึกษาทิศทางให้ชัดเจน!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////
ประชาชนบางรุ่นพูดว่า "เราจำได้ดีว่าช่วงที่เขมรแดงปกครอง เป็นเวลา แห่งความทุกข์ถึง 3 ปี 8 เดือน 20 วันเป็นยังไง" เมื่อผ่านคืนวันแห่งความโหดร้ายของสงครามมาได้ ในบางเรื่องแม้จะไม่เห็นด้วยกับรัฐบาลก็ต้องปล่อยเลย ตามเลย ไม่คัดค้าน เพื่อนำพาประเทศกัมพูชาไปสู่อนาคต ซึ่งปัจจุบันกัมพูชาก็เจริญขึ้นตามลำดับ
และเป้าหมายสำคัญที่สุดตอนนี้คือ การก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีอย่างเข้มแข็ง
"สยามธุรกิจ" จึงพาไปฟังมุมมองของ 3 นักลงทุนในกัมพูชาที่ผ่านร้อนผ่านหนาวมานานปี เขาคิดและมอง "กัมพูชา" อย่างไร
เริ่มต้นที่ กง เม่ง เจ้าของบริษัททรานสปอร์ต เซอร์วิส จำกัด ซึ่งเป็นคนกัมพูชา ทำธุรกิจรถแท็กซี่เส้นทางปอยเปต-เสียมเรียบ ผลประกอบการถือว่าไปได้ดี กระทั่งสามารถเก็บหอมรอมริบขยายไปทำธุรกิจร้านอาหารบาร์บีคิวในเมืองเสียมเรียบ ชื่อร้าน เม่ง บาร์บีคิว
เขาบอกว่าสาเหตุที่เปิดร้านบาร์บีคิวเพราะมองเห็นโอกาส เนื่องจากปัจจุบันร้านอาหารปิ้งย่างในเมืองเสียมเรียบมีไม่เกิน 5 ร้าน จุดขายของเม่ง บาร์บีคิว นอกจากเนื้อหมูและเนื้อไก่แล้ว ยังมีเนื้อจระเข้ปิ้งย่างด้วย ที่น่าแปลกใจก็คือเนื้อจระเข้ที่ร้านนี้ราคาถูกกว่าเนื้อหมู เพราะเนื้อจระเข้มีมากมายในทะเลสาบน้ำจืดขนาดใหญ่ของกัมพูชา ซี่งครอบคลุมพื้นที่ถึง 6 จังหวัด ชาวบ้านรอบๆ โตนเลสาบ และนักลงทุนหลายชาติต่างมาลงทุนเลี้ยงจระเข้เป็นล่ำเป็นสัน ทั้งบริโภคภายในประเทศและส่งออก ปัจจุบันการส่งออกจระเข้จากกัมพูชา มียอดสูงสุดในเอเชียใต้
กลยุทธ์หรือจุดขายของ กง เม่ง คือ ดี ถูก ประหยัด คุ้ม โดยพยายามทำต้นทุน การผลิตให้ต่ำ วัตถุดิบดี อย่างเนื้อไก่เขานำเข้าจากฝั่งไทย โดยสั่งซื้อกับ "สหฟาร์ม" ส่วนวัตถุดิบหลายอย่างที่ผลิตได้ภายในประเทศ ก็สั่งในประเทศ สำหรับค่าเช่าพื้นที่เปิดร้านอาหารในเมืองเสียมเรียบ ประมาณ 20,000-25,000 บาทต่อเดือน
เราถามเขาว่าลงทุนในกัมพูชายากไหม กง เม่ง ตอบว่า ไม่ยากถ้าเข้า ใจธุรกิจที่ทำ แต่สาเหตุที่มาลงทุนแล้วล้มเหลวนั้น เกิดจากความไม่รู้จักเพื่อนบ้าน ไม่ศึกษาตลาดก่อนการลงทุน คนที่ลงทุนแล้วเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะ รู้จักปรับตัวเขากับสังคม วัฒนธรรมพื้นที่ ยิ่งเป็นนักลงทุนชาวต่างชาติ รัฐบาลกัมพูชาจะให้การสนับสนุนเป็นพิเศษ
คราวนี้มาฟังมุมมองของนักลงทุนไทยที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาอย่าง พูนศักดิ์ อุดมเลิศลักษณ์ ประธานกรรมการ บริษัท อินโด ไชน่า เอ็กซ์พลอเรอร์ เขาเล่าว่าเป็นกลุ่มคนไทยกลุ่มแรกๆ ที่เข้าไปลง ทุนทำธุรกิจท่องเที่ยวในกัมพูชา เนื่องจาก กัมพูชามีสิ่งที่ประเทศอื่นไม่มีนั่นคือ นครวัด-นครธม ซึ่งถือเป็นสิ่งมหัศจรรย์ของโลก แค่ทำทัวร์ชมปราสาทดังกล่าวก็มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าประเทศอย่างมากมาย
"สิ่งที่น่าทึ่งที่สุดคือไกด์กัมพูชาเก่งมาก พูดได้อย่างน้อย 3 ภาษา บาง คนไม่ได้จบปริญญาโท ปริญญาเอก แต่ฝึกภาษาจากวัด" พูนศักดิ์ กล่าว
พูนศักดิ์ กล่าวว่า รัฐบาลกัมพูชาบริหารจัดการสถานที่ท่องเที่ยวอย่างเข้มงวด เช่น การเที่ยวชมโบราณสถาน จะมีกฎเกณฑ์ว่าหากเข้าชมตัวปราสาทในแต่ละแห่ง ต้องไปถ่ายรูปติดบัตรเข้าชมปราสาท ในราคา 1 วัน 20 ดอลลาร์สหรัฐ หากชมหลายวันราคาก็เพิ่มตามจำนวนวันหรือจะซื้อแบบเหมาจ่ายสัปดาห์ละ 60 ดอลลาร์สหรัฐ สาเหตุที่ต้องถ่ายรูปติดบัตรก็เพื่อแก้ปัญหาไม่ให้นักท่องเที่ยวนำบัตรมาเวียนกันใช้ และหากจะถ่ายรูปตัวปราสาทก็ต้องไปจ่ายค่ากล้องในกรณีถ่ายวิดีโอ ถ่ายแม็กกาซีน เป็นต้น
แม้จะมีกฎเกณฑ์เข้มงวด แต่การท่องเที่ยวของกัมพูชาก็คึกคัก หากเป็น ช่วงไฮซีซั่น โรงแรมระดับ 3 ดาว 5 ดาว เก็ตเฮาส์ จะเต็มหมด ซึ่งนักท่องเที่ยว ที่เข้ามามากอันดับหนึ่งคือจีน รองลงมาคือเวียดนาม เกาหลี ญี่ปุ่น ไทย
นักลงทุนไทยอีกรายที่เข้าไปลงทุนในกัมพูชาคือ อัด แสงชัย ที่ปรึกษาด้านการลงทุน บริษัท ไลฟ์ แอด เสียมเรียบ กรุ๊ป จำกัด โดยธุรกิจที่เขาลงทุนน่าสนใจมากคือธุรกิจเอ็นเตอร์เทนเมนต์ด้านวัฒนธรรม คล้ายกับทิฟฟานี่โชว์ในเมืองไทย
เขาบอกว่าเพิ่งลงทุนเมื่อต้นปีนี้เอง ควักกระเป๋าไปแล้วกว่า 100 ล้านบาท เป้าหมายคือ เป็นฮอลล์ที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในเมืองเสียมเรียบ แม้เขาคาดหวังว่าจะคืนทุนภายใน 2 ปี แต่ก็ต้องดูว่าเป็นไปได้หรือไม่ เพราะค่าใช้จ่ายสำหรับธุรกิจนี้ค่อนข้างสูง โดยเฉพาะในช่วงโลว์ซีซั่นต้องอัดฉีดเงินโปรโมชั่นเพิ่มอีกอย่างน้อยเดือนละ 3 ล้านบาท เก็บค่าเข้าชม 40-45 ดอลลาร์สหรัฐ
เขายังมองไกลไปถึงปี 58 เมื่อเป็น เออีซีว่าหากระบบลอจิสติกส์เชื่อมโยงเติมเต็มซึ่งกันและกันในแต่ละประเทศเขาสนใจ เข้าไปลงทุนในประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นอีกหนึ่งตลาดที่ธุรกิจประเภทนี้จะเติบโตได้
นั่นคือ 3 มุมมองของนักธุรกิจระดับแนวหน้าในกัมพูชา ใครที่สนใจจะเข้าไปลงทุนโอกาสยังเปิดกว้าง เพียง แต่ต้องศึกษาทิศทางให้ชัดเจน!!
ที่มา.สยามธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น