ขณะนี้ คนไทยกำลังถูกหลอนด้วย “ข้าวสารปนเปื้อนสารพิษ” – “ข้าวสารอันตราย” – “ข้าวเน่า” ฯลฯ
1. นายยรรยง พวงราช รมช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พยายามยืนยันว่า กระบวนการผลิตข้าวถุงของไทยมีคุณภาพ ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอน เป็นไปได้ยากที่จะมีสัตว์ แมลง และสิ่งแปลกปลอมปน
“อยากให้คนไทยมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของข้าวถุงไทย และอยากให้ชาวนา รวมถึงโรงสี และผู้ผลิตรายต่างๆ พลิกวิกฤตินี้ให้เป็นโอกาส ในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ข้าวไทย และเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลไม่ให้ข้าวไทยมีสารปนเปื้อน ซึ่งการลดการใช้สารเคมีลงตั้งแต่การปลูกจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย”
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย อ้างว่า การโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับปัญหาคุณภาพข้าวไทยนั้น เป็นความต้องการดิสเครดิตรัฐบาล
อย่าเผาป่าล่าหนูอีกเลย เพราะความเสียหายในเรื่องนี้ประเมินมูลค่าไม่ได้ และขอให้ยุติการทำลายอุตสาหกรรมข้าวไทยทั้งระบบ”
แถมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังออกหน้า ข่มขู่ประชาชน ไล่ดำเนินคดี หวังปิดปากประชาชนไม่ให้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นลบต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของข้าวสารที่จำหน่ายในท้องตลาด
ถ้าแน่จริง... คนของรัฐบาล ตั้งแต่นายกฯ จนถึงโฆษกพรรค น่าจะตั้งโต๊ะ รับประทานข้าวโชว์ โดยเอาข้าวถุงที่นำไปแจกชาวบ้านน้ำท่วม และข้าวถุงที่มีสภาพปนเปื้อน แต่อ้างว่าปลอดภัยนั่นแหละ โดยให้เครือข่ายผู้บริโภคเป็นคนเลือกถุงให้ นำมาหุงให้เห็นๆ แล้วกินโชว์ทุกมื้อ ตลอดเวลาหนึ่งเดือน
2. ลำพังการโพสต์ข้อความบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบุว่า ข้าวสารบางยี่ห้อมีสารปนเปื้อน ไม่ละลายน้ำ ทำให้หนูตายใน 5 นาที ฯลฯ คนไทยก็คงไม่ให้น้ำหนัก หรือเก็บมาวิตกเป็นสาระ
แต่เพราะโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั่นเอง ที่ตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัว
โครงการดังกล่าวได้ทำให้มีการกักเก็บข้าวสารไว้ในสต็อกของรัฐจำนวนกว่า 18 ล้านตัน ซึ่งไม่เคยมีภาระเช่นนี้มาก่อน เมื่อซื้อข้าวมาแพงมาก ส่งออกไม่ได้ ระบายไม่ออก ต้องเก็บข้าวสารเอาไว้นานๆ ก็ต้องหาวิธีเก็บรักษาสภาพเอาไว้ เช่น รมยา รมสารเคมี เป็นต้น
ยังไม่นับปัญหาข้าวเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ถูกมอดกิน แมลงกินบ้าง เพราะเก็บในรูปข้าวสารไว้นาน
3. ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตร ระบุว่า สารเคมีที่นิยมใช้รมข้าวเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย อยู่มี 3 ชนิด คือ "อลูมิเนียมฟอสไฟด์" (Aluminium Phosphide), "เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) และ "คลอโรพิคริน" (Chloropicrin)
สารอลูมิเนียมฟอสไฟด์ หรือ "ฟอสฟีน" เป็นสารเคมีที่ใช้ผสมกับอาหารเพื่อฆ่าหนู นำมาใช้รมควันพืชผลทางการเกษตรเพื่อฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อรา และใช้อบรมควันในเรือพาณิชย์ที่ใช้ขนส่งอาหารต่างๆ มีพิษสูงมาก ทำลายระบบหลอดเลือดและหัวใจและอวัยวะภายใน ทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เคยให้สัตว์ทดลองสูดดมแล้วตายทันทีถึงร้อยละ 50
ส่วน "เมทิลโบรไมด์" มีพิษทำลายอวัยวะภายใน ปอด หากได้รับปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หรือส่งผลให้ระบบประสาทเสียหายแบบถาวร เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
สุดท้าย คือ "คลอโรพิคริน" เป็นสารที่มีฤทธิ์ร้ายแรง นิยมใช้ร่วมกับเมทิลโบรไมด์ ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางการหายใจ กิน และดูดซึมเข้าทางผิวหนัง อาจทำให้กระจกตาลอก ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ฯลฯ หากสูดดมเข้าไปแค่เพียง 119 ส่วนในล้านส่วนในเวลา 30 นาที อาจทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะปอดบวมน้ำ ถ้าไม่เสียชีวิตจะมีอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อนานต่อเนื่องหลายสิบวัน
จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลย เมื่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังผลให้มีการเก็บสต็อกข้าวสารจำนวนมหาศาล จะต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อรักษาสภาพข้าวสารไว้เป็นเวลานาน เพราะระบายข้าวไม่ออก ประชาชนผู้บริโภคข้าวย่อมหวาดระแวง วิตกกังวล และไม่สบายใจที่จะบริโภคข้าว หากข้าวนั้นระบายออกมาโกดังข้าวสารโครงการรับจำนำ
4. ท่าทีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่พยายามจะปิดปากประชาชน จึงไม่ใช่หนทางที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยของข้าวสาร
แทนที่จะข่มขู่หรือไล่ฟ้องชาวบ้าน ซึ่งมีแต่จะนำปัญหาเข้าไปสู่ที่มืด จะแปรสภาพข่าวสารเป็น “ข่าวลือ”
รัฐบาลควรจะสนับสนุนให้มีการสอดส่อง ให้รางวัลกับการตรวจจับข้าวเน่า ข้าวปนเปื้อนสารพิษ เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตข้าวต้องระมัดระวังและรับผิดชอบต่อคุณภาพข้าวให้มากขึ้น
ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลควรจะเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการระบายข้าวสารในโครงการรับจำนำ ว่าได้มีการระบายล็อตไหน จำนวนเท่าใด ราคาเท่าใด ระบายให้ใคร และถูกนำไปจัดทำข้าวสารบรรจุถุงที่โรงงานยี่ห้อใด
นี่คือข้อมูลสำคัญที่ผู้บริโภคมีสิทธิจะรู้
จากนั้น เอกชนผู้ผลิตข้าวถุงก็จะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค เปิดเผยกระบวนการผลิต ที่มาของข้าว การดูแลควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งเอกชนแต่ละรายต้องการโฆษณาข้าวของตนเองอยู่แล้ว
รัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องความปลอดภัยของผู้บริโภค มิใช่ปกปิดเพื่อผลกำไรของนายทุน
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
1. นายยรรยง พวงราช รมช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ พยายามยืนยันว่า กระบวนการผลิตข้าวถุงของไทยมีคุณภาพ ต้องผ่านกระบวนการตรวจสอบหลายขั้นตอน เป็นไปได้ยากที่จะมีสัตว์ แมลง และสิ่งแปลกปลอมปน
“อยากให้คนไทยมั่นใจในคุณภาพและความปลอดภัยของข้าวถุงไทย และอยากให้ชาวนา รวมถึงโรงสี และผู้ผลิตรายต่างๆ พลิกวิกฤตินี้ให้เป็นโอกาส ในการสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ข้าวไทย และเพิ่มความเข้มงวดในการดูแลไม่ให้ข้าวไทยมีสารปนเปื้อน ซึ่งการลดการใช้สารเคมีลงตั้งแต่การปลูกจะช่วยลดต้นทุนการผลิตได้ด้วย”
นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย อ้างว่า การโพสต์ข้อความในโซเชียลมีเดีย เกี่ยวกับปัญหาคุณภาพข้าวไทยนั้น เป็นความต้องการดิสเครดิตรัฐบาล
อย่าเผาป่าล่าหนูอีกเลย เพราะความเสียหายในเรื่องนี้ประเมินมูลค่าไม่ได้ และขอให้ยุติการทำลายอุตสาหกรรมข้าวไทยทั้งระบบ”
แถมรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังออกหน้า ข่มขู่ประชาชน ไล่ดำเนินคดี หวังปิดปากประชาชนไม่ให้นำเสนอข้อมูลข่าวสารที่อาจเป็นลบต่อความเชื่อมั่นในความปลอดภัยของข้าวสารที่จำหน่ายในท้องตลาด
ถ้าแน่จริง... คนของรัฐบาล ตั้งแต่นายกฯ จนถึงโฆษกพรรค น่าจะตั้งโต๊ะ รับประทานข้าวโชว์ โดยเอาข้าวถุงที่นำไปแจกชาวบ้านน้ำท่วม และข้าวถุงที่มีสภาพปนเปื้อน แต่อ้างว่าปลอดภัยนั่นแหละ โดยให้เครือข่ายผู้บริโภคเป็นคนเลือกถุงให้ นำมาหุงให้เห็นๆ แล้วกินโชว์ทุกมื้อ ตลอดเวลาหนึ่งเดือน
2. ลำพังการโพสต์ข้อความบนโซเชียลเน็ตเวิร์ก ระบุว่า ข้าวสารบางยี่ห้อมีสารปนเปื้อน ไม่ละลายน้ำ ทำให้หนูตายใน 5 นาที ฯลฯ คนไทยก็คงไม่ให้น้ำหนัก หรือเก็บมาวิตกเป็นสาระ
แต่เพราะโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์นั่นเอง ที่ตอกย้ำความน่าสะพรึงกลัว
โครงการดังกล่าวได้ทำให้มีการกักเก็บข้าวสารไว้ในสต็อกของรัฐจำนวนกว่า 18 ล้านตัน ซึ่งไม่เคยมีภาระเช่นนี้มาก่อน เมื่อซื้อข้าวมาแพงมาก ส่งออกไม่ได้ ระบายไม่ออก ต้องเก็บข้าวสารเอาไว้นานๆ ก็ต้องหาวิธีเก็บรักษาสภาพเอาไว้ เช่น รมยา รมสารเคมี เป็นต้น
ยังไม่นับปัญหาข้าวเสื่อมสภาพตามธรรมชาติ ถูกมอดกิน แมลงกินบ้าง เพราะเก็บในรูปข้าวสารไว้นาน
3. ดร.นพ.ปัตพงษ์ เกษสมบูรณ์ ภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น ผู้ประสานงานเครือข่ายเตือนภัยสารเคมีเกษตร ระบุว่า สารเคมีที่นิยมใช้รมข้าวเพื่อป้องกันแมลงศัตรูพืชในประเทศไทย อยู่มี 3 ชนิด คือ "อลูมิเนียมฟอสไฟด์" (Aluminium Phosphide), "เมทิลโบรไมด์" (Methyl bromide) และ "คลอโรพิคริน" (Chloropicrin)
สารอลูมิเนียมฟอสไฟด์ หรือ "ฟอสฟีน" เป็นสารเคมีที่ใช้ผสมกับอาหารเพื่อฆ่าหนู นำมาใช้รมควันพืชผลทางการเกษตรเพื่อฆ่าแมลง ฆ่าเชื้อรา และใช้อบรมควันในเรือพาณิชย์ที่ใช้ขนส่งอาหารต่างๆ มีพิษสูงมาก ทำลายระบบหลอดเลือดและหัวใจและอวัยวะภายใน ทำให้หมดสติหรือเสียชีวิตอย่างรวดเร็ว เคยให้สัตว์ทดลองสูดดมแล้วตายทันทีถึงร้อยละ 50
ส่วน "เมทิลโบรไมด์" มีพิษทำลายอวัยวะภายใน ปอด หากได้รับปริมาณมาก อาจทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว หรือส่งผลให้ระบบประสาทเสียหายแบบถาวร เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง
สุดท้าย คือ "คลอโรพิคริน" เป็นสารที่มีฤทธิ์ร้ายแรง นิยมใช้ร่วมกับเมทิลโบรไมด์ ถูกดูดซึมเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ทางการหายใจ กิน และดูดซึมเข้าทางผิวหนัง อาจทำให้กระจกตาลอก ปวดท้อง อาเจียน ท้องร่วง ฯลฯ หากสูดดมเข้าไปแค่เพียง 119 ส่วนในล้านส่วนในเวลา 30 นาที อาจทำให้เสียชีวิตได้จากภาวะปอดบวมน้ำ ถ้าไม่เสียชีวิตจะมีอาการทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อนานต่อเนื่องหลายสิบวัน
จากข้อมูลของผู้เชี่ยวชาญข้างต้น จึงไม่น่าแปลกใจเลย เมื่อโครงการรับจำนำข้าวของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ยังผลให้มีการเก็บสต็อกข้าวสารจำนวนมหาศาล จะต้องมีการใช้สารเคมีเพื่อรักษาสภาพข้าวสารไว้เป็นเวลานาน เพราะระบายข้าวไม่ออก ประชาชนผู้บริโภคข้าวย่อมหวาดระแวง วิตกกังวล และไม่สบายใจที่จะบริโภคข้าว หากข้าวนั้นระบายออกมาโกดังข้าวสารโครงการรับจำนำ
4. ท่าทีของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่พยายามจะปิดปากประชาชน จึงไม่ใช่หนทางที่จะช่วยสร้างความเชื่อมั่นต่อความปลอดภัยของข้าวสาร
แทนที่จะข่มขู่หรือไล่ฟ้องชาวบ้าน ซึ่งมีแต่จะนำปัญหาเข้าไปสู่ที่มืด จะแปรสภาพข่าวสารเป็น “ข่าวลือ”
รัฐบาลควรจะสนับสนุนให้มีการสอดส่อง ให้รางวัลกับการตรวจจับข้าวเน่า ข้าวปนเปื้อนสารพิษ เพื่อให้บริษัทผู้ผลิตข้าวต้องระมัดระวังและรับผิดชอบต่อคุณภาพข้าวให้มากขึ้น
ยิ่งกว่านั้น รัฐบาลควรจะเปิดเผยข้อมูลข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการระบายข้าวสารในโครงการรับจำนำ ว่าได้มีการระบายล็อตไหน จำนวนเท่าใด ราคาเท่าใด ระบายให้ใคร และถูกนำไปจัดทำข้าวสารบรรจุถุงที่โรงงานยี่ห้อใด
นี่คือข้อมูลสำคัญที่ผู้บริโภคมีสิทธิจะรู้
จากนั้น เอกชนผู้ผลิตข้าวถุงก็จะต้องสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภค เปิดเผยกระบวนการผลิต ที่มาของข้าว การดูแลควบคุมมาตรฐานความปลอดภัย ฯลฯ ซึ่งเอกชนแต่ละรายต้องการโฆษณาข้าวของตนเองอยู่แล้ว
รัฐบาลมีหน้าที่ปกป้องความปลอดภัยของผู้บริโภค มิใช่ปกปิดเพื่อผลกำไรของนายทุน
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น