โค้งสุดท้ายโยกย้ายนายทหาร ระบุกฎหมายเขียนล็อคเอาไว้ให้กระทำกันเป็นการภายใน เฉพาะในหมู่นายทหารระดับสูง ฝ่ายการเมืองเข้ายุ่งไม่ได้
ประเทศไทยนั้นมีหลายอย่างที่เป็นที่สุด เช่น มีนายทหารระดับนายพลติดอันดับมากที่สุดในโลก บัญชีแต่งตั้งโยกย้ายวาระประจำปี มีชื่อนายพลจากทุกเหล่าทัพถึง 400-500 คน เยอะขนาดนี้ยังมีนายทหารดีๆ ต้องเกษียณแค่ยศ "พันเอก" หรือ "พันเอกพิเศษ" อีกเพียบ เพราะติดปัญหา"คอขวด"
ถือเป็น "ที่สุด" ที่ไม่ค่อยน่าภูมิใจสักเท่าไร เพราะน่าจะสะท้อนปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการมากกว่า
รัฐมนตรีกลาโหมคนก่อนหน้า คือ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต พยายามวางแนวทางแก้ไขปัญหานี้ แต่ก็อยู่บนเก้าอี้ได้ไม่นานพอ...
นอกจากนายทหารระดับนายพลมีเยอะติดอันดับโลกแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายยังมีกฎหมายเขียนล็อคเอาไว้ให้กระทำกันเป็นการภายใน เฉพาะในหมู่นายทหารระดับสูง ฝ่ายการเมืองเข้าไปยุ่งไม่ได้อีกต่างหาก
กฎหมายที่้ว่านั้นคือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มี คณะกรรมการพิจารณาปรับย้ายนายทหารระดับนายพล หรือ "บอร์ดกลาโหม" ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ขณะที่รัฐมนตรีว่าการ กับรัฐมนตรีช่วยว่าการ แม้จะร่วมเป็นกรรมการ แต่ก็เป็นเสียงข้างน้อย
หลักการคือมองว่าฝ่ายการเมืองไม่น่าไว้วางใจ ไม่รู้เรื่องทหาร ก็เลยสร้างกำแพงเอาไว้พิจารณาแต่งตั้งกันเอง ซึ่งก็ไม่ผิด ทว่าตำแหน่งระดับหัว คือผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ น่าจะให้สิทธิฝ่ายการเมืองแต่งตั้งเองหรือไม่ เพื่อจะได้ทำงานสอดประสานเข้าขากัน มิฉะนั้นฝ่ายการเมืองก็ไม่มีอำนาจอะไรในกองทัพเลย ทั้งๆ ที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาและประชาชน
ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมฯ หลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ล่าสุดเพิ่งมีร่างใหม่ส่งให้คณะกรรมาธิการการทหาร (กมธ.ทหาร) สภาผู้แทนราษฎร พิจารณา แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปได้สักกี่น้ำ...
ขณะที่ฝ่ายทหารก็พยายามขัดขวางการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยเน้นขวางในแง่ข้อมูลวิชาการ มีการตั้งทีมเสาะหาข่าวสารจากทั่วโลกว่าประเทศไหนมีกฎหมายห้ามฝ่ายการเมืองจุ้นโผโยกย้ายแบบประเทศไทยบ้าง ปรากฏว่าต้องหน้าแตก เพราะแทบทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว มีแต่ฝ่ายการเมืองเท่านั้นที่มีอำนาจเต็มตั้งผู้นำเหล่าทัพ
เมื่อกฎหมายยังไม่ถูกแก้ แม้จะมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกลาโหมใหม่เป็น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ตาม ก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดิมไปก่อน ซึ่งความคืบหน้าการแต่งตั้งโยกย้ายขณะนี้อยู่ในห้วง "เหล่าใครเหล่ามัน" คือแต่ละเหล่าทัพพิจารณากันเอง
เหลียวไปดูตำแหน่งสำคัญ คือ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กับ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ประเมินจากสถานการณ์ล่าสุด โดยเฉพาะเสียงคนแดนไกลใน "คลิปถั่งเช่า" ก็น่าจะพอสรุปได้ว่าทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ยังนั่งนิ่งอยู่ที่เก่า ฉะนั้นเป้าจึงฉายจับไปที่ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กับปลัดกระทรวงกลาโหม (ปลัด กห.) ที่จะเกษียณอายุราชการทั้งคู่
ในส่วนของ ผบ.ทร.นั้น พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ได้วางทายาทเป็นเพื่อนนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 13 (ตท.13) พรึ่บใน 5 เสือ ทร. แต่ปัญหาคือคนในคลิปเสียงถั่งเช่าอาจไม่เอา ตท.13 ใน 5 เสือ หนำซ้ำยังเป็นคนที่ "บิ๊กหรุ่น" ไม่ค่อยชอบใจ ก็ต้องรอวัดใจว่าคนจากแดนไกลจะล้วงมือเข้าไปเคาะเองเลยหรือไม่
อีกเก้าอี้คือปลัดกระทรวงกลาโหม แม้สังคมภายนอกจะไม่ค่อยสน แต่ในทางการทหารและงานความมั่นคงแล้ว ต้องบอกว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ (เสธ.) ของรัฐมนตรีกลาโหม หรือที่ฝรั่งเรียก Chief of staff เลยทีเดียว โดยปลัด กห.ต้องทำงานใกล้ชิดกับรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติรัฐมนตรีจึงน่าจะมีสิทธิเลือกเอง แต่ที่ผ่านมากลับกลายเป็นตำแหน่งรองรับคนที่เหล่าทัพส่งมา (อย่างไม่ค่อยเต็มใจ) โดยเฉพาะพวกที่เหลืออายุราชการอีกแค่ 1 ปี เข้าตำรารุ่นของตัวจะผงาดขึ้นเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่ติดขัดมีรุ่นพี่มานั่งขวาง ก็เลยเตะโด่งมาวางไว้ที่ปลัด กห.เสียหมดเรื่องหมดราว กลายเป็นตำแหน่งสำหรับแก้ปัญหากำลังพลไป
หลายปีที่ผ่านมา ปลัด กห.จึงอยู่กันแค่คนละ 1 ปี นับเฉพาะ 2 คนหลังสุด คือ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ กับ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ก็ล้วนได้นั่งเก้าอี้คนละ 1 ปีทั้งสิ้น แค่เรียนรู้งานก็ผ่านไป 3 เดือน 6 เดือนแล้ว พอถึง 6 เดือนสุดท้ายก็ต้องเดินสายอำลา สรุปว่าเจ้าตัวได้ตำแหน่ง แต่หน่วยงานไม่ได้อะไร เป็นแค่เก้าอี้รอเกษียณ มีทริปไปต่างประเทศ เล่นกอล์ฟ ดูงานไปตามเรื่อง
กลายเป็นเหล่าทัพส่งคนมาคุมกลาโหม ไม่ใช่กลาโหมทำหน้าที่คุมเหล่าทัพ!
สภาพที่เห็นและเป็นอยู่ทำให้ลูกหม้อในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขวัญเสีย เพราะทำงานแทบตายก็ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงาน แต่กลายเป็นการนำเก้าอี้ไปใช้แก้ปัญหาการเมืองภายในกองทัพเสียมากกว่า
ทั้งๆ ที่กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานระดับยุทธศาสตร์ เพราะเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศในภาพรวมและโยงไปถึงทั้ง 3 เหล่าทัพ โดยเฉพาะในห้วงก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งทหารไทยต้องเตรียมความพร้อมอีกมาก จึงจำเป็นต้องใช้นายทหารที่เป็นนักบริหาร มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเอาคนที่พลาดหวังจากเหล่าทัพหรือรอเกษียณมาดำรงตำแหน่ง
ทั้งนี้ เมื่อไล่ดูตัวบุคคล ในระนาบรองปลัด กห.ที่มีลุ้นขึ้นเป็นปลัด ได้แก่ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก (ตท.14) เกษียณอายุราชการปี 2559 อดีตเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร และปัจจุบันยังเป็นแกนนำหลักในคณะพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเพื่อดับไฟใต้ด้วย
รองปลัด กห.อีกคนคือ พล.อ.มล.ประสบชัย เกษมสันต์ (ตท.13) ซึ่งรับผิดชอบหน้างานสำคัญหลายด้าน และยังมีแรงผลักดันจากภายนอกแวดวงทหารไปที่ "คนแดนไกล" ด้วย
ส่วน "คนนอก" ที่อาจถูกส่งมาตามสูตร ก็คือ พล.อ.จิระเดช โมกขะสมิต (ตท.13) ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ทั้งนี้ สองคนหลังจะเกษียณอายุราชการปี 2557 โดยเฉพาะ พล.อ.จิระเดช หากอยู่กองทัพบกต่อ ก็เท่ากับหมดหวังไปสู่ดวงดาว
งานนี้ต้องจับตารัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่หมาดๆ อย่าง นายกฯยิ่งลักษณ์ ว่าจะแสดงภาวะผู้นำคัดเลือกปลัด กห.ให้เหมาะสมกับงาน หรือจะปล่อยให้ย่ำรอยเดิมไปตามยถากรรม!
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////
ประเทศไทยนั้นมีหลายอย่างที่เป็นที่สุด เช่น มีนายทหารระดับนายพลติดอันดับมากที่สุดในโลก บัญชีแต่งตั้งโยกย้ายวาระประจำปี มีชื่อนายพลจากทุกเหล่าทัพถึง 400-500 คน เยอะขนาดนี้ยังมีนายทหารดีๆ ต้องเกษียณแค่ยศ "พันเอก" หรือ "พันเอกพิเศษ" อีกเพียบ เพราะติดปัญหา"คอขวด"
ถือเป็น "ที่สุด" ที่ไม่ค่อยน่าภูมิใจสักเท่าไร เพราะน่าจะสะท้อนปัญหาเรื่องโครงสร้างและการบริหารจัดการมากกว่า
รัฐมนตรีกลาโหมคนก่อนหน้า คือ พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต พยายามวางแนวทางแก้ไขปัญหานี้ แต่ก็อยู่บนเก้าอี้ได้ไม่นานพอ...
นอกจากนายทหารระดับนายพลมีเยอะติดอันดับโลกแล้ว การแต่งตั้งโยกย้ายยังมีกฎหมายเขียนล็อคเอาไว้ให้กระทำกันเป็นการภายใน เฉพาะในหมู่นายทหารระดับสูง ฝ่ายการเมืองเข้าไปยุ่งไม่ได้อีกต่างหาก
กฎหมายที่้ว่านั้นคือ พระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหม พ.ศ.2551 ที่กำหนดให้มี คณะกรรมการพิจารณาปรับย้ายนายทหารระดับนายพล หรือ "บอร์ดกลาโหม" ซึ่งประกอบด้วยผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ผู้บัญชาการเหล่าทัพ และปลัดกระทรวงกลาโหม เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง ขณะที่รัฐมนตรีว่าการ กับรัฐมนตรีช่วยว่าการ แม้จะร่วมเป็นกรรมการ แต่ก็เป็นเสียงข้างน้อย
หลักการคือมองว่าฝ่ายการเมืองไม่น่าไว้วางใจ ไม่รู้เรื่องทหาร ก็เลยสร้างกำแพงเอาไว้พิจารณาแต่งตั้งกันเอง ซึ่งก็ไม่ผิด ทว่าตำแหน่งระดับหัว คือผู้บัญชาการเหล่าทัพต่างๆ น่าจะให้สิทธิฝ่ายการเมืองแต่งตั้งเองหรือไม่ เพื่อจะได้ทำงานสอดประสานเข้าขากัน มิฉะนั้นฝ่ายการเมืองก็ไม่มีอำนาจอะไรในกองทัพเลย ทั้งๆ ที่เป็นผู้กำหนดนโยบาย ต้องรับผิดชอบต่อรัฐสภาและประชาชน
ที่ผ่านมามีความพยายามแก้ไข พ.ร.บ.จัดระเบียบราชการกระทรวงกลาโหมฯ หลายครั้ง แต่ไม่สำเร็จ ล่าสุดเพิ่งมีร่างใหม่ส่งให้คณะกรรมาธิการการทหาร (กมธ.ทหาร) สภาผู้แทนราษฎร พิจารณา แต่ยังไม่รู้ว่าจะไปได้สักกี่น้ำ...
ขณะที่ฝ่ายทหารก็พยายามขัดขวางการแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ โดยเน้นขวางในแง่ข้อมูลวิชาการ มีการตั้งทีมเสาะหาข่าวสารจากทั่วโลกว่าประเทศไหนมีกฎหมายห้ามฝ่ายการเมืองจุ้นโผโยกย้ายแบบประเทศไทยบ้าง ปรากฏว่าต้องหน้าแตก เพราะแทบทั้งโลกโดยเฉพาะประเทศพัฒนาแล้ว มีแต่ฝ่ายการเมืองเท่านั้นที่มีอำนาจเต็มตั้งผู้นำเหล่าทัพ
เมื่อกฎหมายยังไม่ถูกแก้ แม้จะมีการเปลี่ยนตัวรัฐมนตรีกลาโหมใหม่เป็น นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ก็ตาม ก็ยังต้องปฏิบัติตามกฎหมายเดิมไปก่อน ซึ่งความคืบหน้าการแต่งตั้งโยกย้ายขณะนี้อยู่ในห้วง "เหล่าใครเหล่ามัน" คือแต่ละเหล่าทัพพิจารณากันเอง
เหลียวไปดูตำแหน่งสำคัญ คือ ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กับ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.ทสส.) ประเมินจากสถานการณ์ล่าสุด โดยเฉพาะเสียงคนแดนไกลใน "คลิปถั่งเช่า" ก็น่าจะพอสรุปได้ว่าทั้ง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา และ พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฏิมาประกร ยังนั่งนิ่งอยู่ที่เก่า ฉะนั้นเป้าจึงฉายจับไปที่ผู้บัญชาการทหารเรือ (ผบ.ทร.) กับปลัดกระทรวงกลาโหม (ปลัด กห.) ที่จะเกษียณอายุราชการทั้งคู่
ในส่วนของ ผบ.ทร.นั้น พล.ร.อ.สุรศักดิ์ หรุ่นเริงรมย์ ได้วางทายาทเป็นเพื่อนนักเรียนเตรียมทหารรุ่น 13 (ตท.13) พรึ่บใน 5 เสือ ทร. แต่ปัญหาคือคนในคลิปเสียงถั่งเช่าอาจไม่เอา ตท.13 ใน 5 เสือ หนำซ้ำยังเป็นคนที่ "บิ๊กหรุ่น" ไม่ค่อยชอบใจ ก็ต้องรอวัดใจว่าคนจากแดนไกลจะล้วงมือเข้าไปเคาะเองเลยหรือไม่
อีกเก้าอี้คือปลัดกระทรวงกลาโหม แม้สังคมภายนอกจะไม่ค่อยสน แต่ในทางการทหารและงานความมั่นคงแล้ว ต้องบอกว่าเป็นหัวหน้าฝ่ายเสนาธิการ (เสธ.) ของรัฐมนตรีกลาโหม หรือที่ฝรั่งเรียก Chief of staff เลยทีเดียว โดยปลัด กห.ต้องทำงานใกล้ชิดกับรัฐมนตรี ในทางปฏิบัติรัฐมนตรีจึงน่าจะมีสิทธิเลือกเอง แต่ที่ผ่านมากลับกลายเป็นตำแหน่งรองรับคนที่เหล่าทัพส่งมา (อย่างไม่ค่อยเต็มใจ) โดยเฉพาะพวกที่เหลืออายุราชการอีกแค่ 1 ปี เข้าตำรารุ่นของตัวจะผงาดขึ้นเป็นผู้บัญชาการเหล่าทัพ แต่ติดขัดมีรุ่นพี่มานั่งขวาง ก็เลยเตะโด่งมาวางไว้ที่ปลัด กห.เสียหมดเรื่องหมดราว กลายเป็นตำแหน่งสำหรับแก้ปัญหากำลังพลไป
หลายปีที่ผ่านมา ปลัด กห.จึงอยู่กันแค่คนละ 1 ปี นับเฉพาะ 2 คนหลังสุด คือ พล.อ.เสถียร เพิ่มทองอินทร์ กับ พล.อ.ทนงศักดิ์ อภิรักษ์โยธิน ก็ล้วนได้นั่งเก้าอี้คนละ 1 ปีทั้งสิ้น แค่เรียนรู้งานก็ผ่านไป 3 เดือน 6 เดือนแล้ว พอถึง 6 เดือนสุดท้ายก็ต้องเดินสายอำลา สรุปว่าเจ้าตัวได้ตำแหน่ง แต่หน่วยงานไม่ได้อะไร เป็นแค่เก้าอี้รอเกษียณ มีทริปไปต่างประเทศ เล่นกอล์ฟ ดูงานไปตามเรื่อง
กลายเป็นเหล่าทัพส่งคนมาคุมกลาโหม ไม่ใช่กลาโหมทำหน้าที่คุมเหล่าทัพ!
สภาพที่เห็นและเป็นอยู่ทำให้ลูกหม้อในสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหมขวัญเสีย เพราะทำงานแทบตายก็ไม่ได้ขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของหน่วยงาน แต่กลายเป็นการนำเก้าอี้ไปใช้แก้ปัญหาการเมืองภายในกองทัพเสียมากกว่า
ทั้งๆ ที่กระทรวงกลาโหมเป็นหน่วยงานระดับยุทธศาสตร์ เพราะเป็นผู้วางยุทธศาสตร์ด้านความมั่นคงของประเทศในภาพรวมและโยงไปถึงทั้ง 3 เหล่าทัพ โดยเฉพาะในห้วงก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ซึ่งทหารไทยต้องเตรียมความพร้อมอีกมาก จึงจำเป็นต้องใช้นายทหารที่เป็นนักบริหาร มีความเป็นมืออาชีพ ไม่ใช่มุ่งเอาคนที่พลาดหวังจากเหล่าทัพหรือรอเกษียณมาดำรงตำแหน่ง
ทั้งนี้ เมื่อไล่ดูตัวบุคคล ในระนาบรองปลัด กห.ที่มีลุ้นขึ้นเป็นปลัด ได้แก่ พล.อ.นิพัทธ์ ทองเล็ก (ตท.14) เกษียณอายุราชการปี 2559 อดีตเจ้ากรมกิจการชายแดนทหาร และปัจจุบันยังเป็นแกนนำหลักในคณะพูดคุยสันติภาพระหว่างรัฐบาลไทยกับกลุ่มบีอาร์เอ็นเพื่อดับไฟใต้ด้วย
รองปลัด กห.อีกคนคือ พล.อ.มล.ประสบชัย เกษมสันต์ (ตท.13) ซึ่งรับผิดชอบหน้างานสำคัญหลายด้าน และยังมีแรงผลักดันจากภายนอกแวดวงทหารไปที่ "คนแดนไกล" ด้วย
ส่วน "คนนอก" ที่อาจถูกส่งมาตามสูตร ก็คือ พล.อ.จิระเดช โมกขะสมิต (ตท.13) ผู้ช่วย ผบ.ทบ. ทั้งนี้ สองคนหลังจะเกษียณอายุราชการปี 2557 โดยเฉพาะ พล.อ.จิระเดช หากอยู่กองทัพบกต่อ ก็เท่ากับหมดหวังไปสู่ดวงดาว
งานนี้ต้องจับตารัฐมนตรีกลาโหมคนใหม่หมาดๆ อย่าง นายกฯยิ่งลักษณ์ ว่าจะแสดงภาวะผู้นำคัดเลือกปลัด กห.ให้เหมาะสมกับงาน หรือจะปล่อยให้ย่ำรอยเดิมไปตามยถากรรม!
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
/////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น