3 เจ้าสัวฟันธงวิกฤติต้มยำกุ้งจะไม่หวนกลับมาแล้ว แต่วิกฤติรอบใหม่ถ้าจะเกิดต้นตอจะมาจากปัญหาหนี้ในภาครัฐ "ประชัย" จี้รัฐส่งเสริมเรียลเซ็กเตอร์ เพิ่มเม็ดเงินใส่ระบบเศรษฐกิจ และส่งเสริมคนไทยเป็นเจ้าของแบงก์ อ้างทุกวันนี้แบงก์ต่างชาติปล่อยกู้แต่ทุนชาติเดียวกัน ด้าน"บุญชัย" เตือนขยับตัวตามความ ส่วน"สวัสดิ์" มองว่าตลาดเสรีไม่มีอยู่จริง
การเสวนาหัวข้อ"ถอดบทเรียนฝ่าวิกฤติต้มยำกุ้ง"จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เนื่องในวาระครบรอบ 16 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง โดยมี นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (บมจ.) , นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมและบริการในช่วงก่อนปี 2540 ร่วมวงเสวนา
หนึ่งในประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 คนเห็นพ้องกันคือ วิกฤติต้มยำกุ้ง จะไม่เกิดขึ้นอีก หรือเกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะแวดล้อมต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง หนึ่งในประเด็นที่พวกเขามองคือ หลังวิกฤติปี 2540 โอกาสที่ทุนไทยเข้าถึงเงินกู้มีน้อยลง การลงทุนขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นของทุนต่างชาติเป็นหลัก และทั้ง 3 คนมีความเชื่อว่า หากวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จะเกิดขึ้น ต้นตอจะมาจากการก่อหนี้ของภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้า เป็นต้น
นายสวัสดิ์ได้กล่าวว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและเก็บค่าโดยสารอัตราต่ำโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนก่อสร้างและบริหารจัดการ ในท้ายที่สุดประชาชนจะเป็นผู้รับภาระ เขาบอกว่าการที่ภาครัฐเร่งลงทุน อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาคเอกชนเร่งลงทุนและขยายธุรกิจจนเกินกำลัง และนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกได้
ทั้งนี้รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท พ.ศ. 2556 และ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมของประเทศ พ.ศ. ..........2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ และปัญหาคอร์รัปชัน ขณะเดียวกัน รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าจะรักษาวินัยการคลังตามกรอบวินัยการคลัง ที่กำหนดว่าจะก่อหนี้สาธารณะไม่เกิน 60 % ของ จีดีพี หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน นายประชัย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดภาคการผลิตจริง(Real sector) ให้มากกว่านี้ เพราะหลังวิกฤติปี 2540 คนไทยยังชูหัวไม่ขึ้นเนื่องจากแบงก์ไม่ปล่อยกู้เขาเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยเป็นเจ้าของแบงก์มากขึ้น เพราะปัจจุบันแบงก์ในระบบเป็นของต่างชาติเกือบหมดและจะปล่อยกู้เฉพาะธุรกิจในพวกเดียวกัน เขากล่าวด้วยว่าปัจจุบัน สปิริตของผู้ประกอบการแทบไม่มีเหลือแล้วและคงสูญสิ้นไปหากไม่มีการดูแลจากรัฐ และการอุดหนุนให้ภาคเรียลเซ็กเตอร์ (อุตสาหกรรม)เป็นหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มเม็ดเงินให้ระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกับที่หลายประเทศทำอยู่
เออีซีไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่
ด้านนายบุญชัยมีมุมมองเชิงบวกต่อการที่ต่างชาติเข้ามาร่วมทุนในกิจการคนไทยหลังวิกฤติปี 2540 คือทำให้อุตสาหกรรม และภาคบริการแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งถือเป็นบทเรียนทรงคุณค่า กับการเทียบเคียงวิกฤติเมื่ออดีตกับสถานการณ์ปัจจุบัน นายบุญชัยบอกว่า ก่อนหน้าฟองสบู่แตก 2 ปี (วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540) ตนเองมีรถสปอร์ตเยอะมาก การกู้เงินง่ายมาก ไปไหนมีแต่คนชม ทำให้ลืมตัว เหมือนกับตอนนี้ที่มีรถหรูให้เห็นมากมาย และมีคนบ่นถึงปัญหาภาระหนี้เยอะ จากประสบการณ์ของตน ปรากฏการณ์ขณะนี้เป็นสัญญาณที่น่าห่วง ฉะนั้นหากจะกู้ขอให้ดูผลตอบแทนด้วยว่าคุ้มค่าหรือไม่ และบริหารด้วยความระมัดระวัง
นายบุญชัย ซึ่งปัจจุบันกลับมาถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ดีแทค และอยู่ระหว่างพัฒนาธุรกิจด้านเนื้อหาขึ้นมา ได้กล่าวเตือนสติคนไทยว่า เออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่ เราแค่อยากได้เงินทุนเข้ามาลงทุน โดยโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมีกิจการขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก การค่อยๆสร้างขึ้นไปธุรกิจขนาดใหญ่มีความเหมาะสมกว่า และนายบุญชัยยังกล่าวด้วยว่าการขับเคลื่อนประเทศรัฐบาลกับเอกชนควรมีการหารือกันโดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบในวงกว้าง
สวัสดิ์โมเดล
ด้ายนายสวัสดิ์ซึ่งปัจจุบันนอกจากเป็นประธานกรรมการ บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน แล้วยังเป็นประธานกรรมการ บริษัท ซีเอ โพสท์(ไทยแลนด์)ฯธุรกิจของครอบครัว กล่าวว่าตนผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งพร้อมกับสะสางหนี้กว่าแสนล้านบาทมาได้เพราะคิดเสมอว่า "เราคืออันดับหนึ่ง"และแสดงความแข็งแกร่งให้ทีมงานเห็น นายสวัสดิ์บอกว่าตนเรียนน้อยการสร้างธุรกิจตั้งแต่โรงกลึงเล็กๆจนถึงโรงเหล็กขนาดใหญ่ และมาจบด้วยการสะสางหนี้ก้อนโตล้วนคิดนอกกรอบทั้งสิ้น เขาบอกว่าที่ตัวเองฝ่าวิกฤติมาได้เพราะมีเพื่อนเยอะในช่วงปรับโครงสร้างหนี้ได้เดินสายไป ลิเบีย อาร์เจนตินา บราซิล อิหร่าน หาโอกาสทำธุรกิจจาก ถ่านหิน ก๊าซ และแร่เหล็ก "เมื่อรู้ตัวว่าธุรกิจที่สร้างมากำลังจะหลุดมือไป (บจก. เอ็น.ที.เอส. สตีล กรุ๊ปส์ และ บจก.นครไทยสคริปมิล) ผมบอกตัวเองว่าก่อนหน้านี้เรามาจากอะไร " เขาตั้งข้อสังเกตว่าตอนที่ตนเป็นหนี้ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ย 15 % แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย 7 % ธุรกิจเจ๊งได้อย่างไร ทั้งนี้เขามีมุมมองเช่นเดียวกับนายประชัยที่ว่าปัจจุบันแบงก์ปล่อยกู้ยากขึ้น เพราะหันไปทำรายได้จากค่าบริการ ซึ่งตนเองเป็นห่วงว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่จะสร้างธุรกิจด้วยการกู้เป็นเรื่องยาก และเขาได้กล่าวทิ้งท้าย ว่าอย่าเชื่อเรื่องตลาดเสรีเพราะไม่มีอยู่จริงและเชื่อในหลักการทำธุรกิจต้องก้าวไปทีละขั้นๆ
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////
การเสวนาหัวข้อ"ถอดบทเรียนฝ่าวิกฤติต้มยำกุ้ง"จัดโดยหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจเมื่อวันที่ 4 กรกฎาคม ที่ผ่านมา เนื่องในวาระครบรอบ 16 ปีวิกฤติเศรษฐกิจ 2540 หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง โดยมี นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัททีพีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) (บมจ.) , นายบุญชัย เบญจรงคกุล ประธานกรรมการ บมจ.โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น และนายสวัสดิ์ หอรุ่งเรือง ประธานกรรมการบริหาร บมจ.เหมราชพัฒนาที่ดิน ซึ่งเป็นกลุ่มผู้บุกเบิกอุตสาหกรรมและบริการในช่วงก่อนปี 2540 ร่วมวงเสวนา
หนึ่งในประเด็นที่ผู้ร่วมเสวนาทั้ง 3 คนเห็นพ้องกันคือ วิกฤติต้มยำกุ้ง จะไม่เกิดขึ้นอีก หรือเกิดขึ้นจะไม่รุนแรงเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากสภาวะแวดล้อมต่างกันไปอย่างสิ้นเชิง หนึ่งในประเด็นที่พวกเขามองคือ หลังวิกฤติปี 2540 โอกาสที่ทุนไทยเข้าถึงเงินกู้มีน้อยลง การลงทุนขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้นเป็นของทุนต่างชาติเป็นหลัก และทั้ง 3 คนมีความเชื่อว่า หากวิกฤติเศรษฐกิจรอบใหม่จะเกิดขึ้น ต้นตอจะมาจากการก่อหนี้ของภาครัฐที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจากการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน อาทิ รถไฟฟ้า เป็นต้น
นายสวัสดิ์ได้กล่าวว่า การกู้เงิน 2 ล้านล้านบาทเพื่อสร้างรถไฟความเร็วสูงและเก็บค่าโดยสารอัตราต่ำโดยไม่คำนึงถึงต้นทุนก่อสร้างและบริหารจัดการ ในท้ายที่สุดประชาชนจะเป็นผู้รับภาระ เขาบอกว่าการที่ภาครัฐเร่งลงทุน อาจจะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ภาคเอกชนเร่งลงทุนและขยายธุรกิจจนเกินกำลัง และนำไปสู่ภาวะเศรษฐกิจฟองสบู่แตกได้
ทั้งนี้รัฐบาลได้ออกพระราชกำหนด(พ.ร.ก.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงิน 3.5 แสนล้านบาท พ.ศ. 2556 และ ร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.)ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบคมนาคมของประเทศ พ.ศ. ..........2.2 ล้านล้านบาท ซึ่งหลายฝ่ายออกมาแสดงความกังวลเพิ่มขึ้นของหนี้สาธารณะ และปัญหาคอร์รัปชัน ขณะเดียวกัน รัฐบาลโดยกระทรวงการคลัง ยืนยันว่าจะรักษาวินัยการคลังตามกรอบวินัยการคลัง ที่กำหนดว่าจะก่อหนี้สาธารณะไม่เกิน 60 % ของ จีดีพี หรือ ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ
ในประเด็นที่เกี่ยวเนื่องกัน นายประชัย ได้เรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้เกิดภาคการผลิตจริง(Real sector) ให้มากกว่านี้ เพราะหลังวิกฤติปี 2540 คนไทยยังชูหัวไม่ขึ้นเนื่องจากแบงก์ไม่ปล่อยกู้เขาเรียกร้องให้รัฐบาลสนับสนุนให้คนไทยเป็นเจ้าของแบงก์มากขึ้น เพราะปัจจุบันแบงก์ในระบบเป็นของต่างชาติเกือบหมดและจะปล่อยกู้เฉพาะธุรกิจในพวกเดียวกัน เขากล่าวด้วยว่าปัจจุบัน สปิริตของผู้ประกอบการแทบไม่มีเหลือแล้วและคงสูญสิ้นไปหากไม่มีการดูแลจากรัฐ และการอุดหนุนให้ภาคเรียลเซ็กเตอร์ (อุตสาหกรรม)เป็นหนทางหนึ่งที่จะเพิ่มเม็ดเงินให้ระบบเศรษฐกิจเช่นเดียวกับที่หลายประเทศทำอยู่
เออีซีไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่
ด้านนายบุญชัยมีมุมมองเชิงบวกต่อการที่ต่างชาติเข้ามาร่วมทุนในกิจการคนไทยหลังวิกฤติปี 2540 คือทำให้อุตสาหกรรม และภาคบริการแข็งแกร่งขึ้น ซึ่งถือเป็นบทเรียนทรงคุณค่า กับการเทียบเคียงวิกฤติเมื่ออดีตกับสถานการณ์ปัจจุบัน นายบุญชัยบอกว่า ก่อนหน้าฟองสบู่แตก 2 ปี (วิกฤติเศรษฐกิจปี 2540) ตนเองมีรถสปอร์ตเยอะมาก การกู้เงินง่ายมาก ไปไหนมีแต่คนชม ทำให้ลืมตัว เหมือนกับตอนนี้ที่มีรถหรูให้เห็นมากมาย และมีคนบ่นถึงปัญหาภาระหนี้เยอะ จากประสบการณ์ของตน ปรากฏการณ์ขณะนี้เป็นสัญญาณที่น่าห่วง ฉะนั้นหากจะกู้ขอให้ดูผลตอบแทนด้วยว่าคุ้มค่าหรือไม่ และบริหารด้วยความระมัดระวัง
นายบุญชัย ซึ่งปัจจุบันกลับมาถือหุ้นใหญ่ใน บมจ.ดีแทค และอยู่ระหว่างพัฒนาธุรกิจด้านเนื้อหาขึ้นมา ได้กล่าวเตือนสติคนไทยว่า เออีซี (ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน)ไม่ใช่เรื่องยิ่งใหญ่ เราแค่อยากได้เงินทุนเข้ามาลงทุน โดยโครงสร้างของเศรษฐกิจไทยมีกิจการขนาดกลางและเล็กจำนวนมาก การค่อยๆสร้างขึ้นไปธุรกิจขนาดใหญ่มีความเหมาะสมกว่า และนายบุญชัยยังกล่าวด้วยว่าการขับเคลื่อนประเทศรัฐบาลกับเอกชนควรมีการหารือกันโดยเฉพาะประเด็นที่มีผลกระทบในวงกว้าง
สวัสดิ์โมเดล
ด้ายนายสวัสดิ์ซึ่งปัจจุบันนอกจากเป็นประธานกรรมการ บมจ. เหมราชพัฒนาที่ดิน แล้วยังเป็นประธานกรรมการ บริษัท ซีเอ โพสท์(ไทยแลนด์)ฯธุรกิจของครอบครัว กล่าวว่าตนผ่านวิกฤติต้มยำกุ้งพร้อมกับสะสางหนี้กว่าแสนล้านบาทมาได้เพราะคิดเสมอว่า "เราคืออันดับหนึ่ง"และแสดงความแข็งแกร่งให้ทีมงานเห็น นายสวัสดิ์บอกว่าตนเรียนน้อยการสร้างธุรกิจตั้งแต่โรงกลึงเล็กๆจนถึงโรงเหล็กขนาดใหญ่ และมาจบด้วยการสะสางหนี้ก้อนโตล้วนคิดนอกกรอบทั้งสิ้น เขาบอกว่าที่ตัวเองฝ่าวิกฤติมาได้เพราะมีเพื่อนเยอะในช่วงปรับโครงสร้างหนี้ได้เดินสายไป ลิเบีย อาร์เจนตินา บราซิล อิหร่าน หาโอกาสทำธุรกิจจาก ถ่านหิน ก๊าซ และแร่เหล็ก "เมื่อรู้ตัวว่าธุรกิจที่สร้างมากำลังจะหลุดมือไป (บจก. เอ็น.ที.เอส. สตีล กรุ๊ปส์ และ บจก.นครไทยสคริปมิล) ผมบอกตัวเองว่าก่อนหน้านี้เรามาจากอะไร " เขาตั้งข้อสังเกตว่าตอนที่ตนเป็นหนี้ 2,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ อัตราดอกเบี้ย 15 % แต่ปัจจุบันอัตราดอกเบี้ย 7 % ธุรกิจเจ๊งได้อย่างไร ทั้งนี้เขามีมุมมองเช่นเดียวกับนายประชัยที่ว่าปัจจุบันแบงก์ปล่อยกู้ยากขึ้น เพราะหันไปทำรายได้จากค่าบริการ ซึ่งตนเองเป็นห่วงว่าผู้ประกอบการรุ่นใหม่จะสร้างธุรกิจด้วยการกู้เป็นเรื่องยาก และเขาได้กล่าวทิ้งท้าย ว่าอย่าเชื่อเรื่องตลาดเสรีเพราะไม่มีอยู่จริงและเชื่อในหลักการทำธุรกิจต้องก้าวไปทีละขั้นๆ
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น