จับตาภาคอีสานเนื้อหอม หลังรัฐบาลเดินหน้าลุยสร้างโครงสร้างพื้นฐานรองรับประชาคมเศรษฐกิจ อาเซียน ระบุเศรษฐกิจภาคตะวันออกเฉียงเหนือโตต่อเนื่องตั้งแต่ปี 50 ดันจีดีพีพุ่ง 40% แตะแสนล้านบาท เผย นักธุรกิจแห่ลงทุนทั้งบ้าน-คอนโดฯ ยันโรงไฟฟ้า ชี้เงินกู้ 2 ล้านล้านบาท ผ่านฉลุยดันอีสานกระหึ่มแน่ เผยนโยบาย "เขตเศรษฐกิจพิเศษมุกดาหาร" ดันที่ดินพุ่ง 10 เท่าตัว
สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่สารคดีที่ชี้ให้เห็นว่า เวลานี้ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมกำลังเริ่มชะลอตัวลง แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับมีอัตราการเติบโตขยายตัว อย่างสูงลิ่ว จนเป็นที่สนใจจับตาของพวกนักลงทุนและบริษัทธุรกิจทั้งหลาย ทั้งนี้เหตุ ผลสำคัญประการหนึ่งมาจากปัจจัยทางการเมือง ที่ได้รับประโยชน์มากมายจากนโยบายต่างๆ ในยุค "ยิ่งลักษณ์" นอกจากนั้นแล้ว การเดินหน้า ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ก็ยังทำให้ภาคอีสาน ยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นไปอีก
อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือนั้นกระโจนขึ้นไปถึง 40% นับ ตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2011 นับเป็นการพุ่งพรวด มากที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับภูมิภาคไหนของประเทศไทย และจากการสัมภาษณ์สอบถาม พวกนักธุรกิจตลอดจนจากข้อมูลการลงทุนก็บ่งบอกว่าแนวโน้มเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป
จำนวนโครงการการลงทุนของภาคเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้น 49% ในปี 2012 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดย มียอดการลงทุนสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว จนอยู่ในระดับ 2,300 ล้านดอลลาร์ (ราว 71,300 ล้านบาท) ทั้งนี้ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนเหล่านี้จำนวนมากกระจุกอยู่ในด้านอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่อาคาร คอนโดมิเนียมไปจนถึงทาวน์เฮาส์และช็อปปิ้งพลาซ่า
อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของภาค ตะวันออกเฉียงเหนืออาจไม่ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ ถ้าหากโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 2.2 ล้านล้านบาท ไม่สามารถ เดินหน้าได้
นายราหุล บาจอเรีย (Rahul Bajoria) นักเศรษฐศาสตร์ แห่ง บาร์เคลย์ส แคปิตอล (Barclays Capital) ให้ความเห็นว่า หากโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนี้เดินหน้า ต่อไปได้ตามที่คาดหมาย ก็จะสามารถเปลี่ยน แปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้านนายสมศักดิ์ สีบุญเรือง เลขาธิการ หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า นโยบายของรัฐบาลที่จะยกระดับมุกดาหารเป็น "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ควบคู่กับสะหวันนะเขต ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่งขึ้นถึง 10 เท่าตัว ส่งอานิสงส์ถึงจังหวัดใกล้เคียงอย่างสกลนครและนครพนมด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลยังอนุมัติทางรถไฟ ซึ่งสำรวจมานานกว่า 30 ปีแล้ว ตัดแยกจากอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สิ้นสุดนครพนม ทำเป็นรถไฟรางคู่ เชื่อมต่อกับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ทำให้อนาคตเศรษฐกิจละแวกนี้เต็มไปด้วยความสดใส
ดร.จรัสกวินทร์ รักษ์วิเชียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ENSOL จำกัด ผู้ให้คำปรึกษาการวางแผนและการจัดการพลังงานทดแทนทุกประเภท เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า การลงทุนทางด้านพลังงานทดแทน มีความคึกคักมาก โดยเฉพาะพลังงานทดแทน เพื่อการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ได้ออกใบอนุญาตทั่วประเทศไปแล้วจำนวน 800 เมกะวัตต์ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและลพบุรี แต่หลังจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ผ่านมาทำให้นักลงทุนได้ย้ายฐานการตั้งโซลาร์ฟาร์มไปอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานไม่ว่าจะเป็น อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ และหนองคาย รวมไปถึงนครราชสีมา และปราจีนบุรี
ด้านนายวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของบริษัทจะใช้งบลงทุนในช่วงปี 2556-2557 อยู่ที่ 8,900 ล้านบาท แบ่งเป็น ลงทุนโซลาร์ ฟาร์ม เฟส 3 กำลังผลิต 48 เมกะวัตต์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 5,700 ล้านบาท
นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคม ไทยรับสร้างบ้าน (THCA) เปิดเผยว่า เศรษฐ-กิจภาคอีสานมีอัตราการเติบโตที่ดีมาตลอด เนื่องจากมีขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรมากกว่าภูมิภาคอื่น ขณะเดียวกันมีความ พร้อมด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เส้นทางคมนาคม ถนน โรงพยาบาล สถานศึกษาต่างๆ และเมื่อนิสิตนักศึกษาเรียนจบ ก็มีงานในพื้นที่รองรับ ปัจจุบันบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน เปิดศูนย์สาขารับสร้างบ้านในนามพีดีเฮ้าส์ในพื้นที่ภาค อีสาน อยู่จำนวน 6 สาขา ได้แก่ โคราช อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ และสกลนคร และเมื่อเปรียบเทียบยอดขายกับภูมิภาคอื่นแล้ว สาขาภาคอีสานมียอดขายรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด
น.ส.รัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวย การศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 จังหวัด ขอนแก่น (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาวะส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในรอบปี 2555 ตั้งแต่ม.ค.-ธ.ค. ขยาย ตัวเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน 58 โครงการ เงินลงทุนรวม 15,500 ล้านบาท ส่วนโครงการ ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมในรอบปีมีจำนวน 66 โครงการ เงินลงทุน 23,256 ล้านบาท มีการจ้างงานคน 4,178 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ถือว่าเพิ่มขึ้น 65% เงินลงทุนเพิ่มสูงถึง 163.4%
สำหรับกิจการที่ได้รับความสนใจลงทุนมากเป็นพิเศษ เป็นด้านการผลิตไฟฟ้าจากกิจการกลุ่มเกษตรกรรมและผลิตผลทาง การเกษตร รวมถึงกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
น.ส.รัตนวิมล กล่าวด้วยว่า จ.ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่นักลงทุนจากต่างพื้นที่และนักลง ทุนต่างชาติให้ความสำคัญมากที่สุดของอีสานตอนบน มีการลงทุน 28 โครงการ เม็ดเงินลงทุน 15,569 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 จำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 39.29% รองลงมาเป็น หนองคาย 8 ส่วนแนวโน้มการลงทุน ปี 2556 คาดว่าจะเท่ากับปีที่ผ่านมา
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////
สำนักข่าวรอยเตอร์เผยแพร่สารคดีที่ชี้ให้เห็นว่า เวลานี้ขณะที่เศรษฐกิจของประเทศไทยโดยรวมกำลังเริ่มชะลอตัวลง แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือกลับมีอัตราการเติบโตขยายตัว อย่างสูงลิ่ว จนเป็นที่สนใจจับตาของพวกนักลงทุนและบริษัทธุรกิจทั้งหลาย ทั้งนี้เหตุ ผลสำคัญประการหนึ่งมาจากปัจจัยทางการเมือง ที่ได้รับประโยชน์มากมายจากนโยบายต่างๆ ในยุค "ยิ่งลักษณ์" นอกจากนั้นแล้ว การเดินหน้า ของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี) ก็ยังทำให้ภาคอีสาน ยิ่งมีเสน่ห์มากขึ้นไปอีก
อัตราเติบโตทางเศรษฐกิจในภาคตะวัน ออกเฉียงเหนือนั้นกระโจนขึ้นไปถึง 40% นับ ตั้งแต่ปี 2007 ถึง 2011 นับเป็นการพุ่งพรวด มากที่สุดไม่ว่าจะเทียบกับภูมิภาคไหนของประเทศไทย และจากการสัมภาษณ์สอบถาม พวกนักธุรกิจตลอดจนจากข้อมูลการลงทุนก็บ่งบอกว่าแนวโน้มเช่นนี้ยังคงดำเนินต่อไป
จำนวนโครงการการลงทุนของภาคเอกชนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เพิ่มขึ้น 49% ในปี 2012 เมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า โดย มียอดการลงทุนสูงขึ้นมากกว่าเท่าตัว จนอยู่ในระดับ 2,300 ล้านดอลลาร์ (ราว 71,300 ล้านบาท) ทั้งนี้ตามข้อมูลของธนาคารแห่งประเทศไทย การลงทุนเหล่านี้จำนวนมากกระจุกอยู่ในด้านอสังหาริมทรัพย์ตั้งแต่อาคาร คอนโดมิเนียมไปจนถึงทาวน์เฮาส์และช็อปปิ้งพลาซ่า
อย่างไรก็ตาม ศักยภาพของภาค ตะวันออกเฉียงเหนืออาจไม่ปรากฏเป็นจริงขึ้นมาก็ได้ ถ้าหากโครงการทางด้านโครงสร้างพื้นฐานมูลค่ารวม 2.2 ล้านล้านบาท ไม่สามารถ เดินหน้าได้
นายราหุล บาจอเรีย (Rahul Bajoria) นักเศรษฐศาสตร์ แห่ง บาร์เคลย์ส แคปิตอล (Barclays Capital) ให้ความเห็นว่า หากโครงการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานนี้เดินหน้า ต่อไปได้ตามที่คาดหมาย ก็จะสามารถเปลี่ยน แปลงโครงสร้างทางเศรษฐกิจทั้งหมดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ด้านนายสมศักดิ์ สีบุญเรือง เลขาธิการ หอการค้าจังหวัดมุกดาหาร เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า นโยบายของรัฐบาลที่จะยกระดับมุกดาหารเป็น "เขตเศรษฐกิจพิเศษ" ควบคู่กับสะหวันนะเขต ส่งผลให้ราคาที่ดินพุ่งขึ้นถึง 10 เท่าตัว ส่งอานิสงส์ถึงจังหวัดใกล้เคียงอย่างสกลนครและนครพนมด้วย นอกจากนี้ รัฐบาลยังอนุมัติทางรถไฟ ซึ่งสำรวจมานานกว่า 30 ปีแล้ว ตัดแยกจากอำเภอบ้านไผ่ จังหวัดขอนแก่น ผ่านมหาสารคาม ร้อยเอ็ด มุกดาหาร สิ้นสุดนครพนม ทำเป็นรถไฟรางคู่ เชื่อมต่อกับแขวงสะหวันนะเขต สปป.ลาว ทำให้อนาคตเศรษฐกิจละแวกนี้เต็มไปด้วยความสดใส
ดร.จรัสกวินทร์ รักษ์วิเชียร รองกรรมการผู้จัดการ บริษัท ENSOL จำกัด ผู้ให้คำปรึกษาการวางแผนและการจัดการพลังงานทดแทนทุกประเภท เปิดเผย "สยามธุรกิจ" ว่า การลงทุนทางด้านพลังงานทดแทน มีความคึกคักมาก โดยเฉพาะพลังงานทดแทน เพื่อการผลิตไฟฟ้าจากแสงอาทิตย์ ได้ออกใบอนุญาตทั่วประเทศไปแล้วจำนวน 800 เมกะวัตต์ โดยพื้นที่ส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่จังหวัดสระบุรีและลพบุรี แต่หลังจากวิกฤติน้ำท่วมใหญ่ในปี 2554 ที่ผ่านมาทำให้นักลงทุนได้ย้ายฐานการตั้งโซลาร์ฟาร์มไปอยู่ในพื้นที่ภาคอีสานไม่ว่าจะเป็น อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น บุรีรัมย์ และหนองคาย รวมไปถึงนครราชสีมา และปราจีนบุรี
ด้านนายวิเชียร อุษณาโชติ กรรมการ ผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า แผนการดำเนินงานของบริษัทจะใช้งบลงทุนในช่วงปี 2556-2557 อยู่ที่ 8,900 ล้านบาท แบ่งเป็น ลงทุนโซลาร์ ฟาร์ม เฟส 3 กำลังผลิต 48 เมกะวัตต์ ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือจำนวน 5,700 ล้านบาท
นายสิทธิพร สุวรรณสุต นายกสมาคม ไทยรับสร้างบ้าน (THCA) เปิดเผยว่า เศรษฐ-กิจภาคอีสานมีอัตราการเติบโตที่ดีมาตลอด เนื่องจากมีขนาดพื้นที่และจำนวนประชากรมากกว่าภูมิภาคอื่น ขณะเดียวกันมีความ พร้อมด้านสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ เส้นทางคมนาคม ถนน โรงพยาบาล สถานศึกษาต่างๆ และเมื่อนิสิตนักศึกษาเรียนจบ ก็มีงานในพื้นที่รองรับ ปัจจุบันบริษัทที่เป็นสมาชิกสมาคมไทยรับสร้างบ้าน เปิดศูนย์สาขารับสร้างบ้านในนามพีดีเฮ้าส์ในพื้นที่ภาค อีสาน อยู่จำนวน 6 สาขา ได้แก่ โคราช อุบลราชธานี อุดรธานี ขอนแก่น สุรินทร์ และสกลนคร และเมื่อเปรียบเทียบยอดขายกับภูมิภาคอื่นแล้ว สาขาภาคอีสานมียอดขายรวมสูงเป็นอันดับหนึ่งมาตลอด
น.ส.รัตนวิมล นารี ศุกรีเขตร ผู้อำนวย การศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 3 จังหวัด ขอนแก่น (บีโอไอ) เปิดเผยว่า ภาวะส่งเสริมการลงทุนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบน ในรอบปี 2555 ตั้งแต่ม.ค.-ธ.ค. ขยาย ตัวเพิ่มขึ้นเกินความคาดหมาย มีโครงการยื่นขอรับการส่งเสริมการลงทุน 58 โครงการ เงินลงทุนรวม 15,500 ล้านบาท ส่วนโครงการ ที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมในรอบปีมีจำนวน 66 โครงการ เงินลงทุน 23,256 ล้านบาท มีการจ้างงานคน 4,178 คน เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 ถือว่าเพิ่มขึ้น 65% เงินลงทุนเพิ่มสูงถึง 163.4%
สำหรับกิจการที่ได้รับความสนใจลงทุนมากเป็นพิเศษ เป็นด้านการผลิตไฟฟ้าจากกิจการกลุ่มเกษตรกรรมและผลิตผลทาง การเกษตร รวมถึงกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์ เครื่องใช้ไฟฟ้า
น.ส.รัตนวิมล กล่าวด้วยว่า จ.ขอนแก่น เป็นจังหวัดที่นักลงทุนจากต่างพื้นที่และนักลง ทุนต่างชาติให้ความสำคัญมากที่สุดของอีสานตอนบน มีการลงทุน 28 โครงการ เม็ดเงินลงทุน 15,569 ล้านบาท เมื่อเปรียบเทียบกับปี 2554 จำนวนโครงการเพิ่มขึ้น 39.29% รองลงมาเป็น หนองคาย 8 ส่วนแนวโน้มการลงทุน ปี 2556 คาดว่าจะเท่ากับปีที่ผ่านมา
ที่มา.สยามธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น