โดย ชัยพงษ์ สำเนียง
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่
ชื่อบทความเดิม “การค้ากับการเปลี่ยนเมืองชายแดน: กรณีอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย”
1.ประเทศไทยได้มีการเปิดด่านและประกาศเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรในเมืองชายแดนตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ทำให้การค้าขายชายแดนเกิดการขยายตัวมากขึ้น
ในส่วนของอำเภอเชียงของได้มีการขยายพื้นที่ค้าขายมาทางทิศเหนือ ทำให้มีการก่อสร้างบ้านเรือนเพื่อทำการค้าขายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทำถนนลาดยางเพื่อความสะดวกต่อการขนส่ง ปริมาณการค้าซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นการค้ากับประเทศลาว ขณะที่ประเทศลาวมีการกระจายสินค้าไปยังแขวงและเมืองต่าง ๆ เช่น หลวงน้ำทา ปากแบง หลวงพระบาง ห้วยทราย โดยใช้เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำโขงเป็นหลักในการขนส่งสินค้า
นอกจากการขนส่งทางเรือแล้ว ในปี พ.ศ. 2543 ได้เริ่มมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่จากประเทศจีนพร้อมกับดำเนินการขุดลอกและระเบิดเกาะแก่งต่าง ๆ ในแม่น้ำโขงเพื่อให้เรือขนส่งขนาด 150 ตัน สามารถเดินทางมาถึงท่าเรือเชียงของได้ตลอดทั้งปี แต่ได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มชาวบ้านในอำเภอเชียงของรวมถึงประชาชนและนักวิชาการต่าง ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องชะลอโครงการระเบิดเกาะแก่งดังกล่าวออกไป ขณะที่ท่าเรือน้ำลึกยังคงดำเนินการก่อสร้างอยู่
การค้าชายแดนของอำเภอเชียงของมีพัฒนาการเริ่มต้นจากการค้าขายระหว่างคนไทยและคนลาวตามแนวชายแดนมาตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งเป็นชุมชน มีลักษณะของรูปแบบการค้าแบ่งได้ 3 ช่วง ได้แก่
ช่วงแรก ก่อนเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวร (ก่อน พ.ศ. 2532) ในช่วงนี้จะเป็นการค้าในลักษณะแบบดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ใช้สิ่งของมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันเนื่องจากระบบเงินตรายังไม่เป็นที่แพร่หลาย
ช่วงที่สอง หลังเปิดเป็นด่านถาวร ถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเชียงของ (พ.ศ. 2532-2545) มีการใช้เงินตราและมีการติดต่อค้าขายสินค้าต่าง ๆ มากขึ้นแต่ยังไม่กระจายสู่ประเทศอื่นมากนัก
สถาบันศึกษานโยบายสาธารณะ ม.เชียงใหม่
ชื่อบทความเดิม “การค้ากับการเปลี่ยนเมืองชายแดน: กรณีอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย”
1.ประเทศไทยได้มีการเปิดด่านและประกาศเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวรในเมืองชายแดนตั้งแต่วันที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2532 เป็นต้นมา ทำให้การค้าขายชายแดนเกิดการขยายตัวมากขึ้น
ในส่วนของอำเภอเชียงของได้มีการขยายพื้นที่ค้าขายมาทางทิศเหนือ ทำให้มีการก่อสร้างบ้านเรือนเพื่อทำการค้าขายเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ยังมีการทำถนนลาดยางเพื่อความสะดวกต่อการขนส่ง ปริมาณการค้าซึ่งส่วนใหญ่ยังคงเป็นการค้ากับประเทศลาว ขณะที่ประเทศลาวมีการกระจายสินค้าไปยังแขวงและเมืองต่าง ๆ เช่น หลวงน้ำทา ปากแบง หลวงพระบาง ห้วยทราย โดยใช้เส้นทางการขนส่งทางแม่น้ำโขงเป็นหลักในการขนส่งสินค้า
นอกจากการขนส่งทางเรือแล้ว ในปี พ.ศ. 2543 ได้เริ่มมีการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเพื่อรองรับเรือสินค้าขนาดใหญ่จากประเทศจีนพร้อมกับดำเนินการขุดลอกและระเบิดเกาะแก่งต่าง ๆ ในแม่น้ำโขงเพื่อให้เรือขนส่งขนาด 150 ตัน สามารถเดินทางมาถึงท่าเรือเชียงของได้ตลอดทั้งปี แต่ได้ถูกคัดค้านจากกลุ่มชาวบ้านในอำเภอเชียงของรวมถึงประชาชนและนักวิชาการต่าง ๆ เพราะอาจส่งผลกระทบต่อระบบนิเวศน์และสิ่งแวดล้อม ทำให้ต้องชะลอโครงการระเบิดเกาะแก่งดังกล่าวออกไป ขณะที่ท่าเรือน้ำลึกยังคงดำเนินการก่อสร้างอยู่
การค้าชายแดนของอำเภอเชียงของมีพัฒนาการเริ่มต้นจากการค้าขายระหว่างคนไทยและคนลาวตามแนวชายแดนมาตั้งแต่เริ่มมีการก่อตั้งเป็นชุมชน มีลักษณะของรูปแบบการค้าแบ่งได้ 3 ช่วง ได้แก่
ช่วงแรก ก่อนเปิดเป็นจุดผ่านแดนถาวร (ก่อน พ.ศ. 2532) ในช่วงนี้จะเป็นการค้าในลักษณะแบบดั้งเดิมที่ส่วนใหญ่ใช้สิ่งของมาแลกเปลี่ยนซื้อขายกันเนื่องจากระบบเงินตรายังไม่เป็นที่แพร่หลาย
ช่วงที่สอง หลังเปิดเป็นด่านถาวร ถึงการก่อสร้างท่าเรือน้ำลึกเชียงของ (พ.ศ. 2532-2545) มีการใช้เงินตราและมีการติดต่อค้าขายสินค้าต่าง ๆ มากขึ้นแต่ยังไม่กระจายสู่ประเทศอื่นมากนัก
ช่วงที่สาม หลังเปิดท่าเรือน้ำลึกเชียงของ ถึงปัจจุบัน (พ.ศ. 2546-2555) (เปรมประชา 2550) แต่ละช่วงของการค้ามีลักษณะหรือผลที่เกิดขึ้นแตกต่างกันไป ในช่วงนี้มีการเตรียมความพร้อมและการแก้ไขปัญหาด้านการค้าที่ชัดเจนมากขึ้น มีการก่อสร้างท่าเรือทำให้เรือสินค้าเข้ามามากขึ้น มูลค่าการซื้อขายเพิ่มขึ้น สินค้ามีความหลากหลายจากประเทศต่าง ๆ การส่งออกและนำเข้าสินค้าประเภทต่าง ๆ บางส่วนมีความผันแปรตามปัจจัยของสังคมโลก

ตลาดน้ำ ปากแม่น้ำโขง ภาพจาก wikipedia
การค้าเริ่มมีลักษณะที่เป็นทางการ มีการเปิดเครดิตให้กับคู่ค้าแต่ยังคงชำระเงินโดยเงินสดเป็นหลัก ประเภทของสินค้าที่ยังคงมีการซื้อขาย คือ สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ
สาเหตุที่การค้าชายแดนส่วนใหญ่เป็นการค้ากับประเทศลาว เนื่องจากสินค้าจากประเทศจีนจะซื้อขายกันบริเวณท่าเรือเชียงแสนมากกว่า เพราะมีบริเวณใกล้กัน ขณะที่ด่านเชียงของอยู่ไกลกว่าและมีเกาะแก่งในช่วงของการเดินทางมามากมาย เรือใหญ่ไม่สามารถเดินทางมาได้สะดวก รวมถึงยังไม่มีท่าเรือน้ำลึกเพื่อรองรับ
2.ในส่วนการสร้างท่าเรือน้ำลึกเชียงของเป็นท่าเทียบเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 180 เมตร ด้านหน้าติดแม่น้ำโขง ด้านหลังติดถนนซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 (ปีงบประมาณ 2547) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการนำเข้า – ส่งออกสินค้าและส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่าง 4 ประเทศ ตามข้อตกลง 4 ฝ่าย ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาชนลาว และประเทศไทย
ภายหลังการเปิดใช้พบว่ามีปริมาณเรือสินค้าและการเข้าออกของรถขนส่งสินค้าที่มาใช้บริการมีมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บอากรขาเข้าและค่าธรรมเนียมของท่าเรือเชียงของเพิ่มขึ้นตาม รวมถึงมูลค่าสินค้านำเข้าและส่งออกจากท่าเรือเชียงของโดยภาพรวมมีปริมาณเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเดินเรือจากประเทศต่าง ๆ เพื่อมาติดต่อค้าขายที่ท่าเรือเชียงของยังคงติดปัญหาเรื่องของการเดินเรือขนาดใหญ่โดยเฉพาะเรือจากประเทศจีน เนื่องจากโครงการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง บริเวณแก่งคอนผีหลวง ตำบลริมโขง ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านรวมถึงประชาชนและนักวิชาการต่าง ๆ ทำให้เรือขนาดใหญ่ไม่สามารถเดินทางมาท่าเรือเชียงของได้ จะเดินทางได้ในเฉพาะฤดูน้ำหลากเท่านั้น ส่วนเรือขนาด 60 ตันยังคงสามารถเดินทางได้แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการขับเรือ
หากเป็นหน้าแล้งจะมีเรือขนาด 30 ตันเท่านั้น ท่าเรือน้ำลึกที่เชียงของจึงค้าขายไม่คึกคักเหมือนที่ท่าเรือเชียงแสนส่งผลทำให้ท่าเรือไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่และปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว สะดวกและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โดยเรือขนาด 60 ตัน จะเดินทางขนส่งสินค้าตามเส้นทาง หลวงน้ำทา-เชียงแสน-ห้วยทราบ-เชียงของ-ปากแบง-หลวงพระบาง ส่วนการขนถ่ายสินค้าขนาดเล็กและปริมาณน้อย ยังคงใช้บริการเรือหางยาวเล็กข้ามฝาก หากเป็นสินค้าปริมาณมาก ๆ ที่จะส่งไปเมืองห้วยทรายยังคงใช้เรือเฟอร์รี่ในการบรรทุกรถยนต์ไปส่ง (เปรมประชา 2550 : 51-54)
การค้าชายแดนเริ่มมีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีการสร้างถนนทางขนานเลียบแม่น้ำโขงเพื่อลดความแออัดของถนนสายกลาง การเจริญเติบโตทางการค้าของเชียงของในช่วงนี้พัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองเชียงของเพื่อเป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
การก่อสร้างสะพานเชื่อมเส้นทาง R3E การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการเกษตร และศูนย์กระจายสินค้า เพื่อทำให้อำเภอเชียงของกลายเป็นจุดศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีการเข้ามาลงทุนของคนต่างพื้นที่มากขึ้น
ในอนาคตหลังจากมีการก่อสร้างสะพานทางตอนล่างของตำบลเวียง มีแนวโน้มจะขยายตัวไปทางทิศใต้ บริเวณหมู่บ้านสถานซึ่งคาดว่าจะเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม ทำให้เริ่มมีการเก็งกำไรที่ดินจากนายทุนบางราย เศรษฐกิจในภาพรวมของอำเภอเชียงของจะได้รับประโยชน์มากขึ้นแม้ว่าสะพานจะไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับบริเวณชุมชนในปัจจุบัน แต่พื้นที่ทางตอนล่างของชุมชนยังสามารถบุกเบิกและพัฒนาได้อีกมาก
ธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบหลังจากการสร้างสะพานคือ เรือเฟอร์รี่ เพราะการขนส่งสินค้าจะใช้เส้นทางบกมากกว่าเนื่องจากมีความปลอดภัย ขณะที่การขนส่งทางเรือยังไม่มีการประกันความเสียหายสินค้าหากเรือประสบอุบัติเหตุ ส่วนเรือหางยาวข้ามฝากนั้นคงจะไม่มีผลกระทบมากในช่วงแรกเนื่องจากบริเวณที่คาดว่าจะสร้างสะพานยังไม่มีชุมชน และอยู่ไกลจากแหล่งชุมชนพื้นที่ทางเศรษฐกิจ (เปรมประชา 2550 : 56)
การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) บริเวณบ้านปากอิงเหนือ ต.เวียง อ.เชียงของ ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร ทางตอนใต้ มีวงเงินก่อสร้างรวม 1,487 ล้านบาท โดยไทยและจีนรับผิดชอบค่าก่อสร้างฝ่ายละครึ่ง โดยโครงการได้เริ่มก่อสร้างแล้วเมื่อ มิถุนายน 2553 และมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2555 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนงานดินและตอกเสาเข็มแล้ว
โดยมีความก้าวหน้าของงานร้อยละ 12 เร็วกว่าแผนก่อสร้างเล็กน้อยโดยเฉพาะในส่วนงานก่อสร้างฝั่งไทย และอยู่ระหว่างการปรับปรุงขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรระยะทาง 30 กิโลเมตรแรกจากอำเภอเชียงของมายังจังหวัดเชียงราย
ในส่วนของ สปป.ลาว ก็สร้างแล้วเสร็จเพียงร้อยละ 5 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากยังไม่ได้รับงบประมาณในส่วนของจีน ทำให้กำหนดการแล้วเสร็จของสะพานอาจล่าช้าไปถึงประมาณปี 2557-2558 จะทำให้การค้าระหว่างไทยและลาวสะดวกขึ้น และเพิ่มปริมาณการค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลโดยใช้แสนทาง R3A
ส่วนการค้าทางเรือผ่านด่านเชียงแสนก็จะลดความสำคัญลงอย่างมาก เพราะการค้าทางบกมีความสะดวก มีต้นทุนที่น้อยกว่า และสามารถขนส่งได้ทั้งปี ไม่ต้องวิตกต่อปริมาณน้ำ และไม่สามารถขนส่งในช่วงฤดูแล้งได้

สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ.เชียงของ จ.เชียงราย เชื่อมสู่ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ภาพจากสปริงนิวส์
การสร้างสะพานจะทำให้การค้าและการลงทุนบริเวณพื้นที่เชียงของ – บ่อแก้วเพิ่มมากขึ้น เพราะมีนโยบายและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากขึ้น มีการก่อสร้างถนนตามเส้นทาง R3E และสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของและแขวงบ่อแก้ว มีการพัฒนาเมืองเชียงของตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตอนบนระยะ 10 ปี (2542-2551) และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายและสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนของรัฐบาลลาว (เปรมประชา 2550 : 88)
3.เมืองเชียงของกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจชายแดนได้ทำให้ที่ดินในเขตอำเภอเชียงของสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น การสะท้อนของลุงเสรี บริบูรณ์ (สัมภาษณ์วันที่ 12 ริมน้ำโขง อ.เชียงของ) ที่เล่าว่า “…เชียงของเปลี่ยนไปจากอดีตเยอะ เพราะมีคนนอกพื้นที่เข้ามาซื้อที่ดินในเชียงของตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534-2535 ยุค พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนายทุนนอกพื้นที่ (กรุงเทพฯ ภาคกลาง) เข้ามาซื้อที่ดินเก็บไว้เพื่อเก็งกำไร ทำให้ที่ดินในเชียงของราคาสูงมาก เช่น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2534-2535) ราคาที่ดินไร่ละ 200,000 บาทถือว่าแพงมากแล้ว
ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2555) ราคาไร่ละ 10,000,000 บาท จากราคาที่ดินที่สูงขึ้นทำให้ชาวบ้านจำนวนมากขายที่ดินของตน และได้กลายเป็นแรงงานรับจ้างจำนวนมาก”
การเปิดด่านถาวร ได้ก่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ในพื้นที่ และไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการพัฒนาก็นำมาซึ่งปัญหาในหลายด้านที่ต้องมีการแก้ไข และปรับปรุงเพื่อหาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนากับการรักษาคุณค่าของชุมชน
ในส่วนของปัญหาของการค้าชายแดนส่วนใหญ่ในอำเภอเชียงของ คือ
ปัญหาด้านกายภาพที่ประเทศลาวขาดความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ไม่สามารถส่งของสดที่มีระยะเวลาจำกัดได้ รวมถึงไม่สามารถขนส่งในปริมาณมากๆ ได้
การขนส่งทางเรือมีความเสี่ยงสูง ท่าเรือและจำนวนเรือยังขาดความเหมาะสม
การชำระเงินที่อาจก่อให้เกิดหนี้สูญ
เศรษฐกิจไทยที่โตกว่าลาวเป็นแรงดึงดูดให้คนลาวเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และยากแก่การควบคุม
ความเติบโตของการค้าชายแดนทำให้เชียงของเปลี่ยนไปจากอดีต ส่งผลต่อราคาที่ดิน วิถีชีวิตผู้คน ฯลฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ถ้าเรายังไม่มีแผนในการจัดการพื้นที่ และปฏิบัติอย่างจริงจัง เชียงของก็อาจสูญเสียอัตลักษณ์ของตนอย่างไม่อาจหวนคืน
กลุ่มผู้ค้าสำคัญในการค้าชายแดนของอำเภอเชียงของมีทั้งผู้ค้ารายย่อยและผู้ค้ารายใหญ่ที่เป็นคนท้องถิ่นและต่างจังหวัด การติดต่อค้าขายมีทั้งในระบบและนอกระบบโดยอาศัยการขนส่งทางเรือที่มีทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กเป็นหลักในการข้ามพรมแดน และใช้การขนส่งทางบกในการกระจายสินค้าไปยังเมืองต่าง ๆ
การค้าในช่วงระยะนี้ได้เริ่มส่งผลกระทบเชิงลบกับชุมชนและเมืองในด้านต่าง ๆ เช่น ปัญหาการจราจร เนื่องจากปริมาณรถที่เพิ่มขึ้นส่วนใหญ่ใช้ในการขนส่งสินค้าขณะที่ขนาดและสภาพการรับน้ำหนักของถนนไม่สามารถขยายและก่อสร้างได้ เพราะการปลูกสร้างบ้านเรือนของประชาชนที่ชิดติดแนวถนน
ปัญหามลภาวะทางอากาศ ที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจารจรและการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ปัญหาการใช้น้ำในแม่น้ำโขงเพื่อการอุปโภคบริโภค เพราะท่าเรือถูกสร้างขึ้นบริเวณต้นน้ำเหนือเมือง และปัญหาโรคติดต่อจากภายนอก เพราะมีการติดต่อค้าขายกับประชาชนในหลายพื้นที่
ภายหลังมีการปรับปรุงถนนเชียงราย – เชียงของ โดยรัฐบาลลาวได้ประกาศให้เมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้วเป็นด่านสากลเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2537 ทำให้เมืองเชียงของและเมืองห้วยทรายได้ทวีความสำคัญต่อการค้าชายแดน มีการนำเรือเฟอร์รี่เข้ามาให้บริการขนส่งเคลื่อนย้ายบริเวณท่าเรือบั๊ค เพื่อรองรับการค้าที่ขยายตัว
ปัญหามลภาวะทางอากาศ ที่มีปริมาณฝุ่นละอองขนาดเล็กเพิ่มขึ้นอันเนื่องมาจากการจารจรและการก่อสร้างสิ่งปลูกสร้างต่าง ๆ ปัญหาการใช้น้ำในแม่น้ำโขงเพื่อการอุปโภคบริโภค เพราะท่าเรือถูกสร้างขึ้นบริเวณต้นน้ำเหนือเมือง และปัญหาโรคติดต่อจากภายนอก เพราะมีการติดต่อค้าขายกับประชาชนในหลายพื้นที่
ภายหลังมีการปรับปรุงถนนเชียงราย – เชียงของ โดยรัฐบาลลาวได้ประกาศให้เมืองห้วยทรายแขวงบ่อแก้วเป็นด่านสากลเมื่อวันที่ 21 มกราคม 2537 ทำให้เมืองเชียงของและเมืองห้วยทรายได้ทวีความสำคัญต่อการค้าชายแดน มีการนำเรือเฟอร์รี่เข้ามาให้บริการขนส่งเคลื่อนย้ายบริเวณท่าเรือบั๊ค เพื่อรองรับการค้าที่ขยายตัว
ตลาดน้ำ ปากแม่น้ำโขง ภาพจาก wikipedia
การค้าเริ่มมีลักษณะที่เป็นทางการ มีการเปิดเครดิตให้กับคู่ค้าแต่ยังคงชำระเงินโดยเงินสดเป็นหลัก ประเภทของสินค้าที่ยังคงมีการซื้อขาย คือ สินค้าที่จำเป็นต่อการดำรงชีพและเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น น้ำมัน สินค้าอุปโภคบริโภค เครื่องจักรวัสดุก่อสร้าง ฯลฯ
สาเหตุที่การค้าชายแดนส่วนใหญ่เป็นการค้ากับประเทศลาว เนื่องจากสินค้าจากประเทศจีนจะซื้อขายกันบริเวณท่าเรือเชียงแสนมากกว่า เพราะมีบริเวณใกล้กัน ขณะที่ด่านเชียงของอยู่ไกลกว่าและมีเกาะแก่งในช่วงของการเดินทางมามากมาย เรือใหญ่ไม่สามารถเดินทางมาได้สะดวก รวมถึงยังไม่มีท่าเรือน้ำลึกเพื่อรองรับ
2.ในส่วนการสร้างท่าเรือน้ำลึกเชียงของเป็นท่าเทียบเรือขนาดกว้าง 24 เมตร ยาว 180 เมตร ด้านหน้าติดแม่น้ำโขง ด้านหลังติดถนนซึ่งเชื่อมระหว่างอำเภอเชียงแสน และอำเภอเชียงของ เปิดอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม 2546 (ปีงบประมาณ 2547) ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2546 โดยมุ่งเน้นประสิทธิภาพการให้บริการนำเข้า – ส่งออกสินค้าและส่งเสริมการค้าชายแดนระหว่าง 4 ประเทศ ตามข้อตกลง 4 ฝ่าย ประกอบด้วย สาธารณรัฐประชาชนจีน สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาชนลาว และประเทศไทย
ภายหลังการเปิดใช้พบว่ามีปริมาณเรือสินค้าและการเข้าออกของรถขนส่งสินค้าที่มาใช้บริการมีมากขึ้นทุกปี ส่งผลให้ปริมาณการจัดเก็บอากรขาเข้าและค่าธรรมเนียมของท่าเรือเชียงของเพิ่มขึ้นตาม รวมถึงมูลค่าสินค้านำเข้าและส่งออกจากท่าเรือเชียงของโดยภาพรวมมีปริมาณเพิ่มขึ้น
อย่างไรก็ตาม การเดินเรือจากประเทศต่าง ๆ เพื่อมาติดต่อค้าขายที่ท่าเรือเชียงของยังคงติดปัญหาเรื่องของการเดินเรือขนาดใหญ่โดยเฉพาะเรือจากประเทศจีน เนื่องจากโครงการระเบิดเกาะแก่งในแม่น้ำโขง บริเวณแก่งคอนผีหลวง ตำบลริมโขง ได้รับการคัดค้านจากชาวบ้านรวมถึงประชาชนและนักวิชาการต่าง ๆ ทำให้เรือขนาดใหญ่ไม่สามารถเดินทางมาท่าเรือเชียงของได้ จะเดินทางได้ในเฉพาะฤดูน้ำหลากเท่านั้น ส่วนเรือขนาด 60 ตันยังคงสามารถเดินทางได้แต่ต้องอาศัยความชำนาญในการขับเรือ
หากเป็นหน้าแล้งจะมีเรือขนาด 30 ตันเท่านั้น ท่าเรือน้ำลึกที่เชียงของจึงค้าขายไม่คึกคักเหมือนที่ท่าเรือเชียงแสนส่งผลทำให้ท่าเรือไม่สามารถใช้ประโยชน์ได้อย่างเต็มที่ แต่ถือเป็นการพัฒนาศักยภาพของการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่และปริมาณมากได้อย่างรวดเร็ว สะดวกและมีความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น
โดยเรือขนาด 60 ตัน จะเดินทางขนส่งสินค้าตามเส้นทาง หลวงน้ำทา-เชียงแสน-ห้วยทราบ-เชียงของ-ปากแบง-หลวงพระบาง ส่วนการขนถ่ายสินค้าขนาดเล็กและปริมาณน้อย ยังคงใช้บริการเรือหางยาวเล็กข้ามฝาก หากเป็นสินค้าปริมาณมาก ๆ ที่จะส่งไปเมืองห้วยทรายยังคงใช้เรือเฟอร์รี่ในการบรรทุกรถยนต์ไปส่ง (เปรมประชา 2550 : 51-54)
การค้าชายแดนเริ่มมีการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ อย่างเป็นระบบและเป็นรูปธรรมมากขึ้น มีการสร้างถนนทางขนานเลียบแม่น้ำโขงเพื่อลดความแออัดของถนนสายกลาง การเจริญเติบโตทางการค้าของเชียงของในช่วงนี้พัฒนาอย่างรวดเร็วโดยเฉพาะเมื่อมีแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเมืองเชียงของเพื่อเป็นเมืองเศรษฐกิจพิเศษชายแดน
การก่อสร้างสะพานเชื่อมเส้นทาง R3E การจัดตั้งนิคมอุตสาหกรรมการเกษตร และศูนย์กระจายสินค้า เพื่อทำให้อำเภอเชียงของกลายเป็นจุดศูนย์กลางการค้าที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคเหนือ มีการเข้ามาลงทุนของคนต่างพื้นที่มากขึ้น
ในอนาคตหลังจากมีการก่อสร้างสะพานทางตอนล่างของตำบลเวียง มีแนวโน้มจะขยายตัวไปทางทิศใต้ บริเวณหมู่บ้านสถานซึ่งคาดว่าจะเป็นที่ตั้งของนิคมอุตสาหกรรม ทำให้เริ่มมีการเก็งกำไรที่ดินจากนายทุนบางราย เศรษฐกิจในภาพรวมของอำเภอเชียงของจะได้รับประโยชน์มากขึ้นแม้ว่าสะพานจะไม่ได้เอื้อประโยชน์ให้กับบริเวณชุมชนในปัจจุบัน แต่พื้นที่ทางตอนล่างของชุมชนยังสามารถบุกเบิกและพัฒนาได้อีกมาก
ธุรกิจที่อาจจะได้รับผลกระทบหลังจากการสร้างสะพานคือ เรือเฟอร์รี่ เพราะการขนส่งสินค้าจะใช้เส้นทางบกมากกว่าเนื่องจากมีความปลอดภัย ขณะที่การขนส่งทางเรือยังไม่มีการประกันความเสียหายสินค้าหากเรือประสบอุบัติเหตุ ส่วนเรือหางยาวข้ามฝากนั้นคงจะไม่มีผลกระทบมากในช่วงแรกเนื่องจากบริเวณที่คาดว่าจะสร้างสะพานยังไม่มีชุมชน และอยู่ไกลจากแหล่งชุมชนพื้นที่ทางเศรษฐกิจ (เปรมประชา 2550 : 56)
การสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 (เชียงของ-ห้วยทราย) บริเวณบ้านปากอิงเหนือ ต.เวียง อ.เชียงของ ห่างจากตัวเมือง 5 กิโลเมตร ทางตอนใต้ มีวงเงินก่อสร้างรวม 1,487 ล้านบาท โดยไทยและจีนรับผิดชอบค่าก่อสร้างฝ่ายละครึ่ง โดยโครงการได้เริ่มก่อสร้างแล้วเมื่อ มิถุนายน 2553 และมีกำหนดแล้วเสร็จเดือนธันวาคม 2555 ปัจจุบันอยู่ในขั้นตอนงานดินและตอกเสาเข็มแล้ว
โดยมีความก้าวหน้าของงานร้อยละ 12 เร็วกว่าแผนก่อสร้างเล็กน้อยโดยเฉพาะในส่วนงานก่อสร้างฝั่งไทย และอยู่ระหว่างการปรับปรุงขยายถนนเป็น 4 ช่องจราจรระยะทาง 30 กิโลเมตรแรกจากอำเภอเชียงของมายังจังหวัดเชียงราย
ในส่วนของ สปป.ลาว ก็สร้างแล้วเสร็จเพียงร้อยละ 5 ซึ่งล่าช้ากว่ากำหนด เนื่องจากยังไม่ได้รับงบประมาณในส่วนของจีน ทำให้กำหนดการแล้วเสร็จของสะพานอาจล่าช้าไปถึงประมาณปี 2557-2558 จะทำให้การค้าระหว่างไทยและลาวสะดวกขึ้น และเพิ่มปริมาณการค้าจะเพิ่มขึ้นอย่างมหาศาลโดยใช้แสนทาง R3A
ส่วนการค้าทางเรือผ่านด่านเชียงแสนก็จะลดความสำคัญลงอย่างมาก เพราะการค้าทางบกมีความสะดวก มีต้นทุนที่น้อยกว่า และสามารถขนส่งได้ทั้งปี ไม่ต้องวิตกต่อปริมาณน้ำ และไม่สามารถขนส่งในช่วงฤดูแล้งได้
สะพานข้ามแม่น้ำโขงแห่งที่ 4 อ.เชียงของ จ.เชียงราย เชื่อมสู่ เมืองห้วยทราย แขวงบ่อแก้ว ประเทศลาว ภาพจากสปริงนิวส์
การสร้างสะพานจะทำให้การค้าและการลงทุนบริเวณพื้นที่เชียงของ – บ่อแก้วเพิ่มมากขึ้น เพราะมีนโยบายและการพัฒนาในด้านต่าง ๆ มากขึ้น มีการก่อสร้างถนนตามเส้นทาง R3E และสะพานข้ามแม่น้ำโขงที่อำเภอเชียงของและแขวงบ่อแก้ว มีการพัฒนาเมืองเชียงของตามยุทธศาสตร์การพัฒนาพื้นที่ภาคเหนือตอนบนระยะ 10 ปี (2542-2551) และการพัฒนาพื้นที่เศรษฐกิจเชียงราย-เชียงใหม่-ลำพูน รวมถึงการปรับปรุงกฎหมายและสิทธิพิเศษต่าง ๆ เพื่อส่งเสริมการค้าการลงทุนของรัฐบาลลาว (เปรมประชา 2550 : 88)
3.เมืองเชียงของกลายเป็นเมืองเศรษฐกิจชายแดนได้ทำให้ที่ดินในเขตอำเภอเชียงของสูงขึ้นเป็นอย่างมาก เช่น การสะท้อนของลุงเสรี บริบูรณ์ (สัมภาษณ์วันที่ 12 ริมน้ำโขง อ.เชียงของ) ที่เล่าว่า “…เชียงของเปลี่ยนไปจากอดีตเยอะ เพราะมีคนนอกพื้นที่เข้ามาซื้อที่ดินในเชียงของตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534-2535 ยุค พล.อ. ชาติชาย ชุณหวัณ เป็นนายกรัฐมนตรี ได้มีนายทุนนอกพื้นที่ (กรุงเทพฯ ภาคกลาง) เข้ามาซื้อที่ดินเก็บไว้เพื่อเก็งกำไร ทำให้ที่ดินในเชียงของราคาสูงมาก เช่น เมื่อ 20 ปีที่แล้ว (พ.ศ.2534-2535) ราคาที่ดินไร่ละ 200,000 บาทถือว่าแพงมากแล้ว
ในปัจจุบัน (ปี พ.ศ.2555) ราคาไร่ละ 10,000,000 บาท จากราคาที่ดินที่สูงขึ้นทำให้ชาวบ้านจำนวนมากขายที่ดินของตน และได้กลายเป็นแรงงานรับจ้างจำนวนมาก”
การเปิดด่านถาวร ได้ก่อให้เกิดกิจกรรมใหม่ในพื้นที่ และไม่อาจปฏิเสธได้ว่าการพัฒนาก็นำมาซึ่งปัญหาในหลายด้านที่ต้องมีการแก้ไข และปรับปรุงเพื่อหาจุดสมดุลระหว่างการพัฒนากับการรักษาคุณค่าของชุมชน
ในส่วนของปัญหาของการค้าชายแดนส่วนใหญ่ในอำเภอเชียงของ คือ
ปัญหาด้านกายภาพที่ประเทศลาวขาดความพร้อมด้านโครงสร้างพื้นฐาน ทำให้ไม่สามารถส่งของสดที่มีระยะเวลาจำกัดได้ รวมถึงไม่สามารถขนส่งในปริมาณมากๆ ได้
การขนส่งทางเรือมีความเสี่ยงสูง ท่าเรือและจำนวนเรือยังขาดความเหมาะสม
การชำระเงินที่อาจก่อให้เกิดหนี้สูญ
ความสะดวกในการติดต่อผ่านธนาคาร กฎระเบียบต่าง ๆ ของประเทศลาวที่ยังขาดความชัดเจน ความเข้าใจในระเบียบทางการค้า
การค้านอกระบบ เป็นการค้าหนีภาษี เนื่องด้วยพื้นที่ติดต่อกว้างขวาง ยากแก่การควบคุม
อำนาจในการซื้อของคนลาวที่มีน้อย เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลาวยังกระจายอย่างกว้างขวาง
อำนาจในการซื้อของคนลาวที่มีน้อย เพราะการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศลาวยังกระจายอย่างกว้างขวาง
เศรษฐกิจไทยที่โตกว่าลาวเป็นแรงดึงดูดให้คนลาวเข้ามาในพื้นที่เพิ่มมากขึ้น และยากแก่การควบคุม
ความเติบโตของการค้าชายแดนทำให้เชียงของเปลี่ยนไปจากอดีต ส่งผลต่อราคาที่ดิน วิถีชีวิตผู้คน ฯลฯ ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่าเกิดจากทั้งปัจจัยภายใน และปัจจัยภายนอก ถ้าเรายังไม่มีแผนในการจัดการพื้นที่ และปฏิบัติอย่างจริงจัง เชียงของก็อาจสูญเสียอัตลักษณ์ของตนอย่างไม่อาจหวนคืน
ที่มา.Siam Intelligence Unit
////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น