สป.ถกเอกชน-กูรู หาทางออกเศรษฐกิจไทย หลังทุกสำนักพยากรณ์ปรับจีดีพีลงยกแผง "สศช." ร่ายยาวหลากปัจจัยทุบศก.ชาติ "สศค." ระบุกลุ่ม CLMV พระเอกขี่ม้าขาวกู้ส่งออกไทย "ธนิต" เตรียมชงแนวทางฟื้นศก.เสนอ จี้รัฐเร่งรัดยาโด๊ปเป็นรูปธรรมเดือนก.ค.นี้ ย้ำต้องไม่สร้างภาระหนี้เพิ่ม "บันลือศักดิ์" ปูดผู้ประกอบการส่งออกอ่วมคู่ค้ายื้อจ่าย/โยนผู้ผลิตอุ้มสต๊อกแทน
ธนิต โสรัตน์ธนิต โสรัตน์ นายธนิต โสรัตน์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เปิดเผยในงานสัมมนาโฟกัส กรุ๊ป เรื่องทิศทางเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2556 ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในระดับติดลบในครึ่งปีหลัง หากเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากขาดกลไกในการขับเคลื่อนส่วนเพิ่มที่มาจากโครงการภาครัฐ ซึ่งเคยมีในปีที่ผ่านมา อีกทั้งการส่งออกและนำเข้ายังขยายตัวได้ต่ำจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งสิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งทำคือหามาตรการและโครงการต่างๆ ที่ชัดเจน เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวในระดับต่ำเกินไปโดยมาตรการไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก
การส่งออกของไทยช่วง 5 เดือนแรกขยายตัว 1.8% จากที่ประเมินว่าจะขยายตัว 7% โดยเฉพาะสินค้าเกษตรส่งออกติดลบสูงถึง 16.4% ขณะเดียวกันการบริโภคภาคประชาชนยังชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ผลจากหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 16% นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงด้านการเมืองภายใน เสถียรภาพรัฐบาล และความไม่นิ่งของนโยบายต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงและกระทบเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ผู้นำกระทรวงเศรษฐกิจต้องเป็นมืออาชีพ รู้ปัญหาจริง บริหารงานโปร่งใส มีธรรมาภิบาลและใช้หลักนิติรัฐอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 4-4.5% จากปีก่อนที่ขยายตัว 6.5%"
สอดคล้องกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคการเงิน การคลัง สป. กล่าวว่า สป.เตรียมเสนอแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจแก่รัฐบาล โดยเฉพาะแนวทางการกระตุ้นในระดับรากหญ้า เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชนหวังพยุงการบริโภคภายในประเทศไม่ให้ชะลอตัว รวมถึงแนวทางในการดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้มีราคาที่เหมาะสมไม่เป็นภาระกับประชาชน นอกจากนี้ ยังเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและงบลงทุน เร่งรัดการส่งออกและเพิ่มอัตราเงินชดเชยมุมน้ำเงินให้ผู้ส่งออกชั่วคราว ช่วยเหลือสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกที่ประสบปัญหา เช่น ตั้งกองทุนช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ส่งออก ให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลและออกมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
ด้านนายวิชญายุทธ บุญชิต ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และวางแผนเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีหลายปัจจัย คือ
1.เศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวช้า
2. เศรษฐกิจโลกยังไม่เอื้อต่อการส่งออกและราคาสินค้าในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะอ่อนตัว
3.อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
4. การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4/55 มีอัตราการเติบโตในลักษณะฐานสูง จากการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายภาครัฐ เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ 300บาทต่อวัน รถคันแรก บ้านหลังแรก การบริโภคและการใช้จ่ายหลังน้ำท่วม ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องดูแลกำลังการใช้จ่ายของภาคประชาชน ที่อาจลดลงซึ่งอาจซ้ำเติมเศรษฐกิจหลังการส่งออกหดตัวต่อเนื่อง และ
5. งบดุลและหนี้ภาคครัวเรือนที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวทำให้ สศช. ปรับลดประมาณการจีดีพีลงจาก 4.5-5.5% เป็น 4.2-5.2%
ขณะที่นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ไทยไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักได้ ขณะนี้จึงมีเพียงตลาดเดียวที่การส่งออกของไทยยังพึ่งพาได้ คือ ตลาดอาเซียน 4 (ตลาดของกลุ่มประเทศติดลุ่มแม่น้ำโขง หรือกลุ่ม CLMV ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยการส่งออกในกลุ่มประเทศดังกล่าวในช่วง 2 ดือนแรกของไตรมาสที่ 2/56 ยังขยายตัวในระดับที่เป็นบวก 2.7% ขณะที่อาเซียน 5 (สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน) ยังคงติดลบ 2.8% เชื่อว่าครึ่งปีหลัง ตลาด CLMV จะเป็นเพียงตลาดเดียวที่ยังมีอัตราการเติบโตแบบไม่ติดลบ
ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้นั้น ไทยยังมีงบประมาณค้างท่อรอการอนุมัติในโครงการต่างๆ อีกมาก ซึ่งเร็วๆ นี้ทาง รมว.คลังจะหารือพร้อมหาแนวทางการกระจายงบประมาณไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันยังมีงบประมาณติดค้างในหลายส่วน คาดจะมีความชัดเจนในเร็วๆ นี้
ส่วนนายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การส่งออกครึ่งปีหลังเจอผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น แนวโน้มวัตถุดิบภาคการเกษตรเริ่มขาดแคลน มีการแบ่งพื้นที่เพาะปลูกในพืชหลายกลุ่ม การซื้อเพื่อเก็บสต๊อกเริ่มลดลงโดยเริ่มเห็นผู้ซื้อเริ่มโยนภาระให้กับผู้ผลิตเป็นฝ่ายเก็บสต๊อกแทน บางรายให้เก็บนานไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือน และเมื่อใดต้องการสินค้าจึงค่อยสั่งเพิ่ม ขณะเดียวกันยังเริ่มมีหลายธุรกิจที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร หลังจากมีการส่งมอบแล้วถูกประวิงเวลาการจ่ายค่าสินค้าให้นานขึ้น
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ธนิต โสรัตน์ธนิต โสรัตน์ นายธนิต โสรัตน์ รองประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาค การเงิน การคลัง สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สป.) เปิดเผยในงานสัมมนาโฟกัส กรุ๊ป เรื่องทิศทางเศรษฐกิจไทยครึ่งปีหลัง 2556 ว่า เศรษฐกิจไทยน่าจะขยายตัวในระดับติดลบในครึ่งปีหลัง หากเทียบกับช่วงเดียวกันกับปีก่อน เนื่องจากขาดกลไกในการขับเคลื่อนส่วนเพิ่มที่มาจากโครงการภาครัฐ ซึ่งเคยมีในปีที่ผ่านมา อีกทั้งการส่งออกและนำเข้ายังขยายตัวได้ต่ำจากภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ซึ่งสิ่งที่ภาครัฐต้องเร่งทำคือหามาตรการและโครงการต่างๆ ที่ชัดเจน เข้ามากระตุ้นเศรษฐกิจอย่างเป็นรูปธรรมภายในสิ้นเดือนกรกฎาคมนี้ เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจทั้งปีขยายตัวในระดับต่ำเกินไปโดยมาตรการไม่จำเป็นต้องใช้เงินจำนวนมาก
การส่งออกของไทยช่วง 5 เดือนแรกขยายตัว 1.8% จากที่ประเมินว่าจะขยายตัว 7% โดยเฉพาะสินค้าเกษตรส่งออกติดลบสูงถึง 16.4% ขณะเดียวกันการบริโภคภาคประชาชนยังชะลอตัวลงค่อนข้างมาก ผลจากหนี้สินครัวเรือนที่เพิ่มขึ้น 16% นอกจากนี้ ยังมีความเสี่ยงด้านการเมืองภายใน เสถียรภาพรัฐบาล และความไม่นิ่งของนโยบายต่างๆ ที่อาจเปลี่ยนแปลงและกระทบเศรษฐกิจได้ ดังนั้น ผู้นำกระทรวงเศรษฐกิจต้องเป็นมืออาชีพ รู้ปัญหาจริง บริหารงานโปร่งใส มีธรรมาภิบาลและใช้หลักนิติรัฐอย่างจริงจัง อย่างไรก็ดี เชื่อว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้จะขยายตัวได้เพียง 4-4.5% จากปีก่อนที่ขยายตัว 6.5%"
สอดคล้องกับนายอุทัย สอนหลักทรัพย์ ประธานคณะทำงานเศรษฐกิจมหภาคการเงิน การคลัง สป. กล่าวว่า สป.เตรียมเสนอแนวทางการกระตุ้นเศรษฐกิจแก่รัฐบาล โดยเฉพาะแนวทางการกระตุ้นในระดับรากหญ้า เพื่อเพิ่มอำนาจซื้อให้กับประชาชนหวังพยุงการบริโภคภายในประเทศไม่ให้ชะลอตัว รวมถึงแนวทางในการดูแลราคาสินค้าอุปโภค บริโภคให้มีราคาที่เหมาะสมไม่เป็นภาระกับประชาชน นอกจากนี้ ยังเสนอแนะให้รัฐบาลเร่งเบิกจ่ายงบประมาณและงบลงทุน เร่งรัดการส่งออกและเพิ่มอัตราเงินชดเชยมุมน้ำเงินให้ผู้ส่งออกชั่วคราว ช่วยเหลือสภาพคล่องให้ผู้ส่งออกที่ประสบปัญหา เช่น ตั้งกองทุนช่วยเหลือสภาพคล่องแก่ผู้ส่งออก ให้รัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ดูแลและออกมาตรการต่างๆ เพื่อรักษาเสถียรภาพอัตราแลกเปลี่ยนให้สอดคล้องกับประเทศต่างๆ ในภูมิภาค
ด้านนายวิชญายุทธ บุญชิต ผู้อำนวยการสำนักยุทธศาสตร์และวางแผนเศรษฐกิจมหภาค สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)หรือสภาพัฒน์ กล่าวว่า ความเสี่ยงทางเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้มีหลายปัจจัย คือ
1.เศรษฐกิจโลกยังคงฟื้นตัวช้า
2. เศรษฐกิจโลกยังไม่เอื้อต่อการส่งออกและราคาสินค้าในตลาดโลกยังอยู่ในภาวะอ่อนตัว
3.อัตราแลกเปลี่ยนผันผวน
4. การขยายตัวของเศรษฐกิจในไตรมาส 4/55 มีอัตราการเติบโตในลักษณะฐานสูง จากการกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านนโยบายภาครัฐ เช่น ค่าแรงขั้นต่ำ 300บาทต่อวัน รถคันแรก บ้านหลังแรก การบริโภคและการใช้จ่ายหลังน้ำท่วม ดังนั้นภาครัฐจำเป็นต้องดูแลกำลังการใช้จ่ายของภาคประชาชน ที่อาจลดลงซึ่งอาจซ้ำเติมเศรษฐกิจหลังการส่งออกหดตัวต่อเนื่อง และ
5. งบดุลและหนี้ภาคครัวเรือนที่ต้องจับตาอย่างใกล้ชิด โดยปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวทำให้ สศช. ปรับลดประมาณการจีดีพีลงจาก 4.5-5.5% เป็น 4.2-5.2%
ขณะที่นางวิภารัตน์ ปั้นเปี่ยมรัษฎ์ ผู้อำนวยการส่วนแบบจำลองและประมาณการเศรษฐกิจ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) กล่าวว่า ไทยไม่สามารถพึ่งพาการส่งออกในกลุ่มประเทศเศรษฐกิจหลักได้ ขณะนี้จึงมีเพียงตลาดเดียวที่การส่งออกของไทยยังพึ่งพาได้ คือ ตลาดอาเซียน 4 (ตลาดของกลุ่มประเทศติดลุ่มแม่น้ำโขง หรือกลุ่ม CLMV ประกอบด้วยกัมพูชา ลาว เมียนมาร์ และเวียดนาม) โดยการส่งออกในกลุ่มประเทศดังกล่าวในช่วง 2 ดือนแรกของไตรมาสที่ 2/56 ยังขยายตัวในระดับที่เป็นบวก 2.7% ขณะที่อาเซียน 5 (สิงคโปร์ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย บรูไน) ยังคงติดลบ 2.8% เชื่อว่าครึ่งปีหลัง ตลาด CLMV จะเป็นเพียงตลาดเดียวที่ยังมีอัตราการเติบโตแบบไม่ติดลบ
ส่วนการกระตุ้นเศรษฐกิจในช่วงที่เหลือของปีนี้นั้น ไทยยังมีงบประมาณค้างท่อรอการอนุมัติในโครงการต่างๆ อีกมาก ซึ่งเร็วๆ นี้ทาง รมว.คลังจะหารือพร้อมหาแนวทางการกระจายงบประมาณไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ซึ่งปัจจุบันยังมีงบประมาณติดค้างในหลายส่วน คาดจะมีความชัดเจนในเร็วๆ นี้
ส่วนนายบันลือศักดิ์ ปุสสะรังสี ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักวิจัย สายบริหารความเสี่ยง ธนาคาร ซีไอเอ็มบี (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การส่งออกครึ่งปีหลังเจอผลกระทบทั้งจากปัจจัยภายในและภายนอกประเทศ เช่น แนวโน้มวัตถุดิบภาคการเกษตรเริ่มขาดแคลน มีการแบ่งพื้นที่เพาะปลูกในพืชหลายกลุ่ม การซื้อเพื่อเก็บสต๊อกเริ่มลดลงโดยเริ่มเห็นผู้ซื้อเริ่มโยนภาระให้กับผู้ผลิตเป็นฝ่ายเก็บสต๊อกแทน บางรายให้เก็บนานไม่ต่ำกว่า 3-4 เดือน และเมื่อใดต้องการสินค้าจึงค่อยสั่งเพิ่ม ขณะเดียวกันยังเริ่มมีหลายธุรกิจที่เข้าสู่กระบวนการปรับโครงสร้างหนี้ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมอาหาร หลังจากมีการส่งมอบแล้วถูกประวิงเวลาการจ่ายค่าสินค้าให้นานขึ้น
ที่มา.นสพ.ฐานเศรษฐกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น