พร้อมรับมือเศรษฐกิจจีนชะลอ-เฟดลดขนาดคิวอี
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับคณะผู้บริหารบริษัทจัดอันดับ ฟิทช์ เรทติ้งส์ วานนี้ (17 ก.ค.) ว่า มีความเห็นตรงกันกับทาง ฟิทช์ เรทติ้งส์ ว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทยถือเป็นอีกส่วนที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ ซึ่งทางรัฐบาลจะเข้าไปดูแลข้าราชการในส่วนปฏิบัติงานในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นด้วยเพื่อให้แรงจูงใจในการคอร์รัปชันลดลง
เมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทย เป็น"A-" จากระดับ "BBB+" ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจไทยที่มีความยืดหยุ่น รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ขยายตัว และการปรับเครดิตเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เงินทุนไหลเข้า จนส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท
นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่าได้ชี้แจงกับ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ว่า การพัฒนาประเทศช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาของรัฐบาลและแนวทางที่ประเทศไทยจะเดินหน้าปรับสมดุลเศรษฐกิจมีอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะการวางแผนเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลไม่ได้ตั้งใจลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบระยะสั้น แต่ต้องการทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องระยะยาว เหมือนกับช่วงที่ลงทุนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด และท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเมื่อลงทุนเสร็จได้ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
"ทิศทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่มีแนวคิดไปอัดฉีด ใครก็ตามที่ออกมาเรียกร้องให้ หรืออยากให้รัฐบาลอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขอให้เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ทำเช่นนั้น และส่วนที่ดีมากช่วยนำรายได้เข้าประเทศคือการท่องเที่ยว ถือเป็นส่วนสำคัญมาปรับสมดุลเศรษฐกิจของประเทศ และในส่วนรัฐบาลก็จะทำงานเต็มที่รวมถึงพยายามเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อนำไปประกอบกับการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นอีกส่วนที่สำคัญ"นายกิตติรัตน์ กล่าว
ด้าน นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา ทาง มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ได้เดินทางมาพบ ธปท. เพื่อสอบถามและขอข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ในไทย ซึ่งไม่ได้หยิบยกประเด็นอะไรขึ้นมาเป็นพิเศษ และเข้าใจว่า มูดี้ส์ เตรียมจะออกรายงานเกี่ยวกับฐานะของสถาบันการเงินไทยในเร็วๆ นี้
ก่อนหน้านี้ มูดี้ส์ เข้าพบ นายกิตติรัตน์ โดยสอบถามข้อมูลด้านเศรษฐกิจของประเทศและแนวนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา มูดี้ส์ ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย (Local and foreign government bonds) อยู่ที่ระดับ Baa1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความแข็งแกร่งทางการเงินของรัฐบาลที่อยู่ในระดับสูง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและโครงสร้างที่อยู่ในระดับปานกลาง และความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อยู่ในระดับต่ำ
"ปกติเขาจะออกรายงานปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนมี.ค. จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศ ส่วนของแบงก์จะออกช่วงเดือนส.ค. หรือเดือนก.ย. ซึ่งเขาก็มาพบเราเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ส่วนคำถามที่ถาม ก็แล้วแต่ขึ้นกับสถานการณ์ในช่วงนั้น อย่างตอนที่เราเจอน้ำท่วม เขาก็ถามว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวหรือไม่ เอ็นพีแอลเป็นอย่างไร ส่วนช่วงนี้เขาไม่น่าจะห่วงอะไรเป็นพิเศษ เพราะคำถามก็เป็นคำถามทั่วๆ ไป" นางฤชุกรกล่าว
ส่วนกรณีที่ มูดี้ส์ ออกมาแสดงความเป็นห่วงเรื่องสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในกลุ่มประเทศเอเชีย รวมถึงการปรับลดแนวโน้ม 3 ธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์นั้น นางฤชุกร กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์มีโครงสร้างแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์ไทย เพราะว่า ธนาคารพาณิชย์ไทย มีรายได้หลักจากภายในประเทศ แต่ธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์ ค่อนข้างเปิดกว้าง
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทย ยังมีระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง รวมทั้งยังมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญในระดับที่สูงมาก ในส่วนของ ธปท. เองก็ไม่ได้มีความเป็นห่วงในเรื่องพวกนี้แต่อย่างใด รวมทั้งที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ ก็มีการทำแบบทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress test) อยู่เป็นระยะๆ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังการหารือร่วมกับคณะผู้บริหารบริษัทจัดอันดับ ฟิทช์ เรทติ้งส์ วานนี้ (17 ก.ค.) ว่า มีความเห็นตรงกันกับทาง ฟิทช์ เรทติ้งส์ ว่า การแก้ไขปัญหาคอร์รัปชันของไทยถือเป็นอีกส่วนที่ช่วยให้เศรษฐกิจเติบโตได้ ซึ่งทางรัฐบาลจะเข้าไปดูแลข้าราชการในส่วนปฏิบัติงานในเรื่องชีวิตความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นด้วยเพื่อให้แรงจูงใจในการคอร์รัปชันลดลง
เมื่อเดือนมี.ค. ที่ผ่านมา ฟิทช์ เรทติ้งส์ ได้ปรับเพิ่มอันดับความน่าเชื่อถือของไทย เป็น"A-" จากระดับ "BBB+" ซึ่งสะท้อนถึงเศรษฐกิจไทยที่มีความยืดหยุ่น รวมถึงผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ที่ขยายตัว และการปรับเครดิตเป็นปัจจัยหนึ่งทำให้เงินทุนไหลเข้า จนส่งผลกระทบต่อค่าเงินบาท
นายกิตติรัตน์ กล่าวอีกว่าได้ชี้แจงกับ ฟิทช์ เรทติ้งส์ ว่า การพัฒนาประเทศช่วงหนึ่งปีครึ่งที่ผ่านมาของรัฐบาลและแนวทางที่ประเทศไทยจะเดินหน้าปรับสมดุลเศรษฐกิจมีอีกหลายเรื่อง โดยเฉพาะการวางแผนเพื่อลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ วงเงิน 2 ล้านล้านบาท โดยรัฐบาลไม่ได้ตั้งใจลงทุนเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจให้เติบโตแบบระยะสั้น แต่ต้องการทำให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจเติบโตต่อเนื่องระยะยาว เหมือนกับช่วงที่ลงทุนพัฒนาพื้นที่ชายฝั่งทะเลภาคตะวันออก หรือ อีสเทิร์นซีบอร์ด และท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งเมื่อลงทุนเสร็จได้ช่วยยกระดับผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี)
"ทิศทางเศรษฐกิจของรัฐบาลไม่มีแนวคิดไปอัดฉีด ใครก็ตามที่ออกมาเรียกร้องให้ หรืออยากให้รัฐบาลอัดฉีดเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ ขอให้เชื่อว่ารัฐบาลจะไม่ทำเช่นนั้น และส่วนที่ดีมากช่วยนำรายได้เข้าประเทศคือการท่องเที่ยว ถือเป็นส่วนสำคัญมาปรับสมดุลเศรษฐกิจของประเทศ และในส่วนรัฐบาลก็จะทำงานเต็มที่รวมถึงพยายามเร่งรัดการใช้จ่ายภาครัฐเพื่อนำไปประกอบกับการลงทุนของภาคเอกชนซึ่งเป็นอีกส่วนที่สำคัญ"นายกิตติรัตน์ กล่าว
ด้าน นางฤชุกร สิริโยธิน ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ช่วงที่ผ่านมา ทาง มูดี้ส์ อินเวสเตอร์ เซอร์วิส บริษัทจัดอันดับความน่าเชื่อถือของสหรัฐ ได้เดินทางมาพบ ธปท. เพื่อสอบถามและขอข้อมูลของธนาคารพาณิชย์ในไทย ซึ่งไม่ได้หยิบยกประเด็นอะไรขึ้นมาเป็นพิเศษ และเข้าใจว่า มูดี้ส์ เตรียมจะออกรายงานเกี่ยวกับฐานะของสถาบันการเงินไทยในเร็วๆ นี้
ก่อนหน้านี้ มูดี้ส์ เข้าพบ นายกิตติรัตน์ โดยสอบถามข้อมูลด้านเศรษฐกิจของประเทศและแนวนโยบายของรัฐบาล
ทั้งนี้ เมื่อเดือนเม.ย. ที่ผ่านมา มูดี้ส์ ยืนยันอันดับความน่าเชื่อถือของพันธบัตรรัฐบาลสกุลเงินบาทและสกุลเงินตราต่างประเทศของประเทศไทย (Local and foreign government bonds) อยู่ที่ระดับ Baa1 โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากความแข็งแกร่งทางการเงินของรัฐบาลที่อยู่ในระดับสูง ความเข้มแข็งของเศรษฐกิจและโครงสร้างที่อยู่ในระดับปานกลาง และความอ่อนไหวต่อความเสี่ยงจากเหตุการณ์ที่ไม่คาดคิดที่อยู่ในระดับต่ำ
"ปกติเขาจะออกรายงานปีละ 2 ครั้ง คือ ช่วงเดือนมี.ค. จะเป็นเรื่องที่เกี่ยวกับประเทศ ส่วนของแบงก์จะออกช่วงเดือนส.ค. หรือเดือนก.ย. ซึ่งเขาก็มาพบเราเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน ส่วนคำถามที่ถาม ก็แล้วแต่ขึ้นกับสถานการณ์ในช่วงนั้น อย่างตอนที่เราเจอน้ำท่วม เขาก็ถามว่าเศรษฐกิจมีแนวโน้มฟื้นตัวหรือไม่ เอ็นพีแอลเป็นอย่างไร ส่วนช่วงนี้เขาไม่น่าจะห่วงอะไรเป็นพิเศษ เพราะคำถามก็เป็นคำถามทั่วๆ ไป" นางฤชุกรกล่าว
ส่วนกรณีที่ มูดี้ส์ ออกมาแสดงความเป็นห่วงเรื่องสินทรัพย์ของธนาคารพาณิชย์ในกลุ่มประเทศเอเชีย รวมถึงการปรับลดแนวโน้ม 3 ธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์นั้น นางฤชุกร กล่าวว่า ธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์มีโครงสร้างแตกต่างกับธนาคารพาณิชย์ไทย เพราะว่า ธนาคารพาณิชย์ไทย มีรายได้หลักจากภายในประเทศ แต่ธนาคารพาณิชย์ของสิงคโปร์ ค่อนข้างเปิดกว้าง
นอกจากนี้ ธนาคารพาณิชย์ไทย ยังมีระดับเงินกองทุนที่แข็งแกร่ง รวมทั้งยังมีการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญในระดับที่สูงมาก ในส่วนของ ธปท. เองก็ไม่ได้มีความเป็นห่วงในเรื่องพวกนี้แต่อย่างใด รวมทั้งที่ผ่านมา ธนาคารพาณิชย์ ก็มีการทำแบบทดสอบภาวะวิกฤติ (Stress test) อยู่เป็นระยะๆ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
///////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น