เอแบคโพลล์ 79.8% คิดว่าการโยกย้ายของข้าราชการในปัจจุบันนี้ไม่มีความเป็นธรรม และไม่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เหมาะสม
นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความจริงที่ไร้น้ำหนัก และการโยกย้ายของข้าราชการไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทสาคร ลพบุรี นครปฐม สมุทรปราการ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ยโสธร สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,237 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 -12 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.1 รับทราบข่าวการโยกย้ายข้าราชการที่ออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลอย่างไม่เป็นธรรม ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ที่น่ากังวลคือกลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 79.8 คิดว่าการโยกย้ายของข้าราชการในปัจจุบันนี้ไม่มีความเป็นธรรม และไม่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 20.2 คิดว่าเป็นธรรม
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.9 คิดว่าข้าราชการที่ดีที่กล้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นแล้วถูกผู้ที่มีอำนาจโยกย้ายกลั่นแกล้ง ยังมีอยู่ในสังคมไทย มีเพียงร้อยละ 2.1 ที่คิดว่าไม่มีเหลืออยู่เลย
ที่น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญหรือร้อยละ 77.2 คิดว่าเหตุการณ์ที่ข้าราชการที่ดีที่กล้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นแล้วถูกผู้ที่มีอำนาจโยกย้ายกลั่นแกล้งนั้น เป็นปลูกฝังให้คนไม่กล้าพูดความจริง ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 80.7 ยังระบุอีกว่าจะทำให้ข้าราชการที่ดีเสียขวัญกำลังใจที่เห็นหัวหน้าของตนเองถูกโยกย้ายกระทันหันเพราะการที่กล้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่น
ที่น่าสนใจคือกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 93.9 เห็นด้วยว่าควรมีกลไกในการคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่ออกมาให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีการทุจริตคอรัปชั่น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือส่วนมากหรือร้อยละ 93.5 คิดว่าควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นหรือมีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย และร้อยละ 94.0 คิดว่าควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นหรือมีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////
นางสาวปุณฑรีก์ อิศรางกูร ณ อยุธยา ผู้ช่วยผู้อำนวยการสำนักวิจัยเอแบคโพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง ความจริงที่ไร้น้ำหนัก และการโยกย้ายของข้าราชการไทย กรณีศึกษาตัวอย่างประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ใน 17 จังหวัดของประเทศ ได้แก่ กรุงเทพมหานคร สมุทสาคร ลพบุรี นครปฐม สมุทรปราการ กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ เชียงใหม่ ยโสธร สกลนคร สุรินทร์ บุรีรัมย์ อุบลราชธานี นครราชสีมา พัทลุง สุราษฎร์ธานี และนครศรีธรรมราช จำนวนทั้งสิ้น 2,237 ตัวอย่าง ดำเนินโครงการระหว่างวันที่ 8 -12 กรกฎาคม 2556 ที่ผ่านมา โดยใช้การเลือกตัวอย่างแบบแบ่งกลุ่มเชิงชั้นภูมิหลายชั้น ที่สุ่มเลือกจังหวัด อำเภอ ตำบล ชุมชน ครัวเรือน และประชาชนที่ตอบแบบสอบถามระดับครัวเรือน พบว่ากลุ่มตัวอย่างเกินกว่าครึ่งหรือร้อยละ 58.1 รับทราบข่าวการโยกย้ายข้าราชการที่ออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นของรัฐบาลอย่างไม่เป็นธรรม ในช่วง 3 เดือนที่ผ่านมา
ที่น่ากังวลคือกลุ่มตัวอย่างส่วนมากหรือร้อยละ 79.8 คิดว่าการโยกย้ายของข้าราชการในปัจจุบันนี้ไม่มีความเป็นธรรม และไม่อยู่บนพื้นฐานของความถูกต้อง เหมาะสม ในขณะที่ร้อยละ 20.2 คิดว่าเป็นธรรม
ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 97.9 คิดว่าข้าราชการที่ดีที่กล้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นแล้วถูกผู้ที่มีอำนาจโยกย้ายกลั่นแกล้ง ยังมีอยู่ในสังคมไทย มีเพียงร้อยละ 2.1 ที่คิดว่าไม่มีเหลืออยู่เลย
ที่น่าเป็นห่วงคือส่วนใหญหรือร้อยละ 77.2 คิดว่าเหตุการณ์ที่ข้าราชการที่ดีที่กล้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นแล้วถูกผู้ที่มีอำนาจโยกย้ายกลั่นแกล้งนั้น เป็นปลูกฝังให้คนไม่กล้าพูดความจริง ยิ่งไปกว่านั้นร้อยละ 80.7 ยังระบุอีกว่าจะทำให้ข้าราชการที่ดีเสียขวัญกำลังใจที่เห็นหัวหน้าของตนเองถูกโยกย้ายกระทันหันเพราะการที่กล้าออกมาเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่น
ที่น่าสนใจคือกลุ่มตัวอย่างเกือบร้อยละร้อยหรือร้อยละ 93.9 เห็นด้วยว่าควรมีกลไกในการคุ้มครองเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชนที่ออกมาให้ข้อเท็จจริงเกี่ยวกับกรณีการทุจริตคอรัปชั่น
ประเด็นที่น่าพิจารณาคือส่วนมากหรือร้อยละ 93.5 คิดว่าควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นหรือมีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อประกอบการพิจารณาแต่งตั้งโยกย้าย และร้อยละ 94.0 คิดว่าควรเปิดโอกาสให้ประชาชนได้แสดงความคิดเห็นหรือมีการประเมินการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐเพื่อประกอบการพิจารณาจัดสรรงบประมาณ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น