--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คอนเฟิร์ม : โครงการทวาย ไม่เป็นหมัน !!?

โครงการนี้เป็นโครงการระดับประเทศ เป็นการคุยกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงง่ายๆ...

จากกรณีที่หลายฝ่ายแสดงความกังวลถึงผลกระทบความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเมียนมาร์ หลังจากมีการเผยแพร่ คลิปลับที่มีเนื้อหาพาดพิงถึงข้าราชการระดับสูงและฝ่ายบริหารบางคนของเมียน มาร์ กับโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษ ทวาย จนถึงขั้นคาดการณ์ว่า รัฐบาลเมียน มาร์อาจถอดไทยออกจากสัมปทานโครงการดังกล่าว แล้วมอบให้รัฐบาลญี่ปุ่นเข้ามาดำเนินการแทน

โดยก่อนหน้านี้นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ได้ออกมายืนยันว่า "โครงการทวาย ทั้งฝ่ายไทยและเมียนมาร์ต่างก็ได้รับผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย ดังนั้น การพัฒนาร่วมกันยังคงต้องดำเนินการต่อไป เช่นเดียว กับความสัมพันธ์ระหว่างสองประเทศก็เป็นไปด้วยดี ไม่มีเรื่องอะไรต้องกังวล"

"สยามธุรกิจ" สอบถามไปยังนายนิยม ไวยรัชพานิช ประธานคณะกรรมการ การค้าชายแดนกับประเทศเพื่อนบ้าน หอ การค้าไทย ซึ่งติดตามโครงการนี้อย่างใกล้ชิดก็ยืนยันว่า..ไร้ปัญหา ไม่มีทางที่โครงการท่าเรือน้ำลึกทวายจะถูกพับเก็บอย่างแน่นอน

"โครงการนี้เป็นโครงการระดับประเทศ เป็นการคุยกันระหว่างรัฐบาลกับรัฐบาล ไม่มีทางเปลี่ยนแปลงง่ายๆ เพราะเมียนมาร์ก็หวังจะให้ทวายสร้างเสร็จเฟสแรกทันปี 2558 เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในประเทศ" นายนิยม กล่าว

นายนิยมกล่าวต่อไปว่า ล่าสุด ตนได้ ให้คำปรึกษากับกลุ่มผู้ดำเนินการก่อสร้าง ไปว่า ให้เร่งดำเนินการทำถนนลาดยางจาก ตำบลพุน้ำร้อน จังหวัดกาญจนบุรีไปยังท่าเรือทวาย เพื่อสร้างความเชื่อมั่นให้นักลงทุนเข้าไปตั้งโรงงาน โดยเฉพาะกลุ่มอุตสาหกรรมเบา เช่น กลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้าที่พร้อมจะเข้าไปวันนี้พรุ่งนี้ ถ้าระบบสาธารณูปโภคพร้อมสรรพ แต่เมื่อถนนยังไม่แล้วเสร็จเขาก็ไม่กล้าเข้าไป

"ตอนนี้สิ่งที่นักลงทุนต้องการอย่างมากคือแรงงานราคาถูก โดยเฉพาะอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานเข้มข้นอย่างอุตสาหกรรมสิ่งทอและรองเท้า ซึ่งไม่ต้องการแรงงานมีฝีมือ แต่ต้อง การ แรงงานราคาถูก งานแบบนี้คนเมียน มาร์สามารถทำได้เลย ค่าแรงวันละ 70-100 บาท"

นายนิยมยังกล่าวอีกว่า ส่วนที่เป็นห่วงว่ารัฐบาลญี่ปุ่นจะไม่กล้าร่วมลงทุนใน โครงการทวายกับรัฐบาลไทยก็ลืมไปได้เลย เพราะญี่ปุ่นมีธุรกิจในเมืองไทยมากมาย ซึ่งท่าเรือน้ำลึกทวายเป็นเส้นทางขนส่งสินค้าที่สำคัญ เป็นไปไม่ได้ที่ญี่ปุ่นจะปฏิเสธ ในการร่วมลงทุน ซึ่งถ้าญี่ปุ่นไม่เอา จีนก็พร้อมจะเข้ามาเสียบทันที

นายนิยม ยังกล่าวถึงโครงการท่าเรือ น้ำลึกทิลาวาที่ญี่ปุ่นได้รับสิทธิบริหารในเมียนมาร์ว่า เมื่อเทียบกับท่าเรือน้ำลึกทวายยังห่างกันมาก ท่าเรือทิลาวามีลักษณะคล้ายกับท่าเรือคลองเตย ไม่สามารถรับเรือบรรทุกขนาดใหญ่มากๆได้ เพราะฉะนั้นการขนส่งสินค้าขนาดใหญ่ ยังไงก็ต้องใช้ทวาย ญี่ปุ่นจึงสนใจเมื่อไทย เสนอแผนการลงทุนร่วมกัน

เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา นายเซอิจิ ทานากะ กรรมการบริษัทและรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี จำกัด ประเทศญี่ปุ่น พร้อมด้วยนายชิเกะคะสุ ซะโต เอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำ ประเทศไทย และนายวีรศักดิ์ โฆสิตไพศาล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ก็ได้เข้าพบ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม โดยทางรองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท มิตซุยแอนด์คัมปนี ได้กล่าวถึงความมั่นใจของบริษัทในการดำเนินธุรกิจและการลงทุนในประเทศไทย และต้องการรายงานความคืบหน้าในโครงการร่วมลงทุนกับบริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) ในการนำผลิตภัณฑ์ที่มีอยู่เดิมมาใช้เป็นวัตถุดิบเพื่อผลิตสารตั้งต้นสำหรับผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด ส่งออกไปยังบริษัทชั้นนำของญี่ปุ่นและทั่วโลก ซึ่งคาดว่าการร่วมลงทุนดังกล่าวจะสำเร็จภายในปี 2015

ซึ่งนายกรัฐมนตรีของไทย ได้ย้ำความชัดเจนแก่ภาคเอกชนญี่ปุ่น ในการพัฒนาโครงการท่าเรือน้ำลึกทวาย ซึ่งบริษัทญี่ปุ่นจะได้ประโยชน์จากความเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือทวายและแหลมฉบัง นั่นหมายความว่าโครงการทวายยังเดินหน้าต่อไปโดยไม่สะดุด

ที่มา.สยามธุรกิจ
////////////////////////////////////////////////////////

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น