โดย.ศ.ดร.ลิขิต ธีรเวคิน, ราชบัณฑิต ผู้อำนวยการโครงการปริญญาเอก วิทยาลัยสื่อสารการเมือง มหาวิทยาลัยเกริก
การรวมกลุ่มทางการเมือง (political grouping) และขบวนการทางการเมือง (political movement) เป็นสิ่งที่สัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น จุดประสงค์ของการรวมกลุ่มทางการเมืองก็เพื่อจะมีอำนาจต่อรอง โดยกระบวนการต่อรองนั้นกระทำเป็นขบวนการทางการเมือง มิฉะนั้นจะเป็นการจับกลุ่มเพียงชั่วครั้งชั่วคราว (ad hoc) แต่การจัดกลุ่มที่เป็นขบวนการทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพื่อจะได้ผลทางการเมืองโดยการมีอำนาจต่อรองและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการอันเกี่ยวพันกับการใช้ทรัพยากรเพื่อจะมีนโยบายใดนโยบายหนึ่ง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่มีการต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
ขบวนการทางการเมืองด้วยการรวมกลุ่มนั้น เช่นเดียวกับขบวนการทางการเมืองอื่นๆ จะสัมฤทธิ์ผลจะต้องมีตัวแปรต่างๆ 10 ตัว ซึ่งอาจจะไม่ครบทุกตัวดังต่อไปนี้
1. อุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology) เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ผู้จัดกลุ่มต้องร่วมอุดมการณ์เดียวกันจึงจะเป็นพลังที่จะนำไปสู่การเป็นกลุ่มอย่างแน่นแฟ้น (cohesiveness)
2. เป้าหมาย (goal) กระบวนการทางการเมืองต้องมีเป้าหมายที่ชัดแจ้ง และที่สำคัญที่มีเงื่อนเวลา ในการต่อสู้ในขบวนการทางการเมืองด้วยการรวมกลุ่ม
3. ผู้นำหรือแกนนำ (leadership) ขบวนการทางการเมืองใดก็ตามแม้จะมีคนรวมกลุ่มจำนวนมาก แต่ถ้าหากขาดผู้นำหรือแกนนำที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อจะเป็นผู้นำขบวนการนั้น ก็จะกลายเป็นการจัดกลุ่มแบบหลวมๆ ชั่วคราว
4. การจัดตั้ง (organization) ขบวนการทางการเมืองต้องมีการจัดตั้งโดยมีการจัดโครงสร้างฝ่ายต่างๆ เพื่อให้มีความรับผิดชอบแต่ละส่วนของขบวนการ แบ่งอำนาจและหน้าที่ในการทำงาน มิฉะนั้นจะดำเนินไปอย่างสะเปะสะปะ ไร้ความสัมฤทธิ์ผล ไร้ทิศทาง แม้จะมีทิศทางตามข้อ 2. แต่ก็ไม่สามารถจะดำเนินไปได้ถ้าไม่มีการจัดตั้ง จะอาศัยบุคคลเพียงไม่กี่คนย่อมกระทำการใหญ่ได้ยาก
5. ผู้ปฏิบัติการ (cadres) ขบวนการทางการเมืองที่มีผู้นำเป็นความจำเป็นเบื้องต้น แต่จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการนำขบวนการดังกล่าวในทางปฏิบัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ขับเคลื่อนให้ขบวนการนั้นดำเนินไปได้ตามกฎเกณฑ์ของการจัดตั้งและเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์ บุคคลเหล่านี้ต้องเข้าใจการทำงานและฟังคำสั่งของผู้นำหรือแกนนำอย่างเคร่งครัด
6. ทรัพยากร (resources) กิจกรรมอันใดก็ตามที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสาร และตามที่นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้กล่าวว่า กองทัพเดินด้วยท้องŽ จึงจำเป็นต้องมีทรัพยากรที่จะทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นตั้งแต่ผู้นำ ผู้ปฏิบัติการ จนถึงผู้ร่วมขบวนการ สามารถทำงานต่อไปได้โดยมีเครื่องไม้เครื่องมือและความจำเป็นของชีวิต เช่น อาหาร น้ำดื่ม เครื่องมือที่กันความร้อน ฝน และที่ขาดไม่ได้คือ ที่ถ่ายทุกข์ ในกรณีของกลุ่มเรดการ์ดมีการจัดถังเคลื่อนที่ไปตามผู้มีส่วนร่วมเพื่อไปแก้ปัญหาความจำเป็นทางธรรมชาติ
7. การสนับสนุนจากมวลชน (mass support) ขบวนการทางการเมืองใดก็ตามจะต้องได้ใจมวลชนจำนวนหนึ่งที่เห็นคล้อยตามกับขบวนการทางการเมืองดังกล่าว ดังนั้น เป้าหมายที่ตั้งไว้และเหตุผลของการเสนอเป้าหมายจะต้องมีความเป็นไปได้ และมีเหตุมีผล เพื่อมวลชนเห็นคล้อยตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะได้รับอานิสงส์จากเป้าหมายดังกล่าว
8. พื้นที่สื่อ (mass media) กิจกรรมทางการเมืองจะต้องมีการจัดตั้ง การจัดตั้งจะกระทำมิได้ถ้าไม่มีการสื่อสาร การเรียกร้องให้มีการสนับสนุนจากมวลชนจะต้องมีการสื่อสารเช่นเดียวกัน ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์ วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ เว็บไซต์ หรือการสื่อสารโดยสัญลักษณ์ ฯลฯ การขาดพื้นที่การสื่อสารย่อมทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นบรรลุผลได้ยาก
9. เครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ (network of connectivity) ขบวนการทางการเมืองจะทำโดดเดี่ยวไม่ได้ จะต้องมีความร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อการสนับสนุนทั้งในแง่ขวัญกำลังใจและการสร้างอำนาจต่อรองด้วยการเป็นพันธมิตรหรือแนวร่วม ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้อาจมีทั้งภายในประเทศหรือนอกประเทศซึ่งมีอุดมการณ์และขบวนการทางการเมืองใกล้เคียงกัน อันจะทำให้อำนาจต่อรองแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
10. ข้อเสนอที่สอดคล้องกับความเป็นจริง (realistic proposal) ขบวนการทางการเมืองที่มีการต่อสู้ด้วยตัวแปรดังกล่าวนั้นเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แต่ขบวนการต่อสู้นั้นจะต้องมีข้อเสนอที่มีเหตุมีผล อยู่ในกรอบของความเป็นไปได้ และมีโอกาสที่จะบรรลุผล ที่สำคัญที่สุดหลังจากบรรลุผลแล้วจะต้องมีข้อเสนอที่ดีกว่า ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะที่ต่อสู้นั้น เป็นต้นว่า ถ้าต้องการจะแก้ปัญหาๆ หนึ่งหลังจากขจัดปัญหาดังกล่าวแล้วจะต้องมีข้อเสนอที่มาทดแทน โดยเป็นข้อเสนอที่มีเหตุมีผลและดีกว่าเดิม มิฉะนั้นจะกลายเป็นขบวนการทางการเมืองต่อสู้เพื่อล้มล้างบางสิ่งบางอย่าง แต่ไม่สามารถเสนอสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ เป็นต้นว่า การเปลี่ยนแปลงในประเทศบางประเทศในตะวันออกกลางจนรัฐบาลเดิมลงจากอำนาจ แต่กลับไม่มีข้อเสนอที่ดีกว่าของรัฐบาลใหม่ ทำให้การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ยังคงดำเนินไปเช่นเดิม
เมื่อเป็นเช่นนี้ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ ขบวนการทางการเมืองที่รวมกลุ่มต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นจะต้องมีข้อเสนอระบบสังคม การเมือง รวมทั้งเศรษฐกิจที่ดีกว่าเดิม แต่ถ้าหากมุ่งเน้นแต่การเปลี่ยนแปลงหรือล้มล้างสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ไม่สามารถเสนอหาทางออกที่ฟังมีเหตุมีผลได้ก็ยากที่จะทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นเป็นที่ยอมรับ ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่สุด ดังนั้น การประกาศว่าจะมีการทำการปฏิวัติโดยมวลชน (people's revolution) คำถามที่ตามมาก็คือ เมื่อปฏิวัติสำเร็จแล้วอะไรคือข้อเสนอที่จะทดแทนของเดิมที่ถูกทำลายไป ถ้าตอบอย่างกว้างๆ เป็นนามธรรมโดยไม่สามารถจะให้รายละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนเฉพาะเจาะจง ย่อมยากที่จะทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นอ้างเหตุผล (justify) การกระทำได้
ขบวนการทางการเมืองหลายขบวนการที่ออกมาในรูปของสัญลักษณ์ สีต่างๆ บางส่วนจึงสูญสลายไปเนื่องจากไม่สอดคล้องกับการดำเนินขบวนการทางการเมือง ความไม่สอดคล้องของกลุ่มการเมืองที่จัดเป็นขบวนการทางการเมืองนั้นมีตัวแปรต่างๆ อันเป็นเหตุผลสำคัญของการเสื่อมของขบวนการทางการเมืองดังต่อไปนี้
ก) การอิ่มตัวของความอดทนอดกลั้น (Saturation of Tolerance)
ขบวนการทางการเมืองที่มีการต่อสู้ด้วยการประท้วง เดินขบวน ยึดพื้นที่ อดอาหาร ฯลฯ เมื่อทำซ้ำซากจนก่อให้เกิดปัญหาการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำมาหากินและการดำรงชีวิตของคนในสังคม จะทำให้เกิดความอิ่มตัว (saturation) ของการอดทนอดกลั้น ซึ่งย่อมจะทำให้เกิดความแปลกแยก (alienation) แม้จากบุคคลที่เคยให้การสนับสนุน
ข) การไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ (Irrelevancy)
ขบวนการทางการเมืองกลายเป็นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ (irrelevant) เช่น ขบวนการทางการเมืองที่พยายามกล่าวหาคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ว่ามีการกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์ แต่เนื่องจากสังคมโลกได้เปลี่ยนไปทำให้ความเป็นคอมมิวนิสต์กลายเป็นสิ่งที่ไม่คุกคามสังคมอีกต่อไป แต่ถ้ายังใช้วิธีการดังกล่าวย่อมจะกลายเป็นขบวนการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีเหนือ
ค) ขาดผลที่เป็นรูปธรรม (No concrete result)
ขบวนการทางการเมืองที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่อง ประกาศจุดยืนอย่างมั่นคง แต่ถ้าไม่มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม (concrete result) ก็จะกลายเป็นขบวนการที่มีแต่คำพูด การโฆษณาชวนเชื่อ แต่ไม่ออกมาเป็นรูปธรรม เป็นตัวเป็นตน ย่อมขาดน้ำหนัก ผลสุดท้ายขบวนการทางการเมืองนั้นก็จะคลายความนิยมเพราะหมดความน่าเชื่อถือ
ง) การเกิดระเบียบวาระใหม่ (New Agenda)
ขบวนการบางขบวนการต่อสู้เพื่อความถูกต้องของสังคม แต่ขณะเดียวกันเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปเรียบร้อยและได้เป้าประสงค์แล้ว ขบวนการทางการเมืองดังกล่าวจำเป็นต้องขยับให้เกิดระเบียบวาระใหม่ในการต่อสู้ มิฉะนั้นขบวนการทางการเมืองดังกล่าวจะหมดความจำเป็นและไม่มีเหตุผลที่จะดำรงอยู่ต่อไป เช่น กอ.รมน. เคยเป็นขบวนการทางการเมืองหรือเป็นองค์กรทางการเมืองที่ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ แต่ปัจจุบันนี้จะต้องเปลี่ยนระเบียบวาระใหม่ นั่นคือ ต่อสู้กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนหรือการก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าขบวนการทางการเมืองใดไม่สามารถจะจัดระเบียบวาระใหม่ได้ก็จะขาดเหตุผลของการดำรงอยู่ (raison dž etre) จะเห็นได้ว่า องค์กรทหารจะมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย การป้องกันและปราบปรามการขนส่งยาเสพติด และมีกิจกรรมในการพัฒนาประเทศซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้กรมกิจการพลเรือนมีบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารช่างและทหารพัฒนา
จ) ขบวนการทางการเมืองที่เป็นฝ่ายต่อต้าน (Counter-veiling Force)
เมื่อมีขบวนการทางการเมืองเกิดขึ้นมิใช่หมายความว่าจะสามารถดำเนินไปอย่างอิสระแต่ขบวนการเดียว อาจจะมีขบวนการอื่นขึ้นมาซึ่งเป็นขบวนการที่มีการกระทำต่อต้านหรือมีระเบียบวาระในทางตรงกันข้าม ดังนั้น ทำให้การดำเนินการเกิดขึ้นได้ไม่คล่องตัวเหมือนเดิม ตัวอย่างเช่น ในสมัยหลัง 14 ตุลาคม 2516 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีส่วนล้มล้างรัฐบาลเผด็จการทหารในสมัยนั้น ต่อมาก็มีกลุ่มของนักเรียนอาชีวะที่ถูกจัดตั้งขึ้นที่เรียกว่า กลุ่มกระทิงแดง ขึ้นมาคานกลุ่มศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันกลุ่มศูนย์ฯก็เกิดความแตกแยกกลายเป็นกลุ่มสหพันธ์นักศึกษาเสรี ทำให้ขบวนการทางการเมืองมิได้เป็นหนึ่งเดียวเหมือนเดิม มาในปัจจุบันขบวนการเสื้อสีต่างๆ ขบวนการหน้ากากคนละสี และแม้ในสีเดียวกันก็แตกเป็นกลุ่มย่อย ทำให้ความแข็งแกร่งและความเป็นหนึ่งเดียวของขบวนการทางการเมืองเกิดความอ่อนแอลงได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความพยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงการรวมกลุ่มเป็นขบวนการทางการเมือง หรือการมีขบวนการทางการเมืองด้วยการจับกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจต่อรองและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของขบวนการทางการเมืองที่ไม่อาจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ยกเว้นแต่จะมีการแปรเปลี่ยนและจัดตั้งให้เป็นสถาบันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนการทางการเมืองที่ได้ชัยชนะ ตัวอย่างเช่น ขบวนการทางการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนที่มีการต่อสู้กับพรรคก๊กมินตั๋ง และต่อมาเป็นแนวร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น และหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามแล้วก็ต่อสู้กับพรรคก๊กมินตั๋งต่อไปจนได้ชัยชนะ จึงได้แปรเปลี่ยนขบวนการจากการ "ปลดแอก" ดังกล่าว มากลายเป็นพรรคหลักของการสถาปนาระบบคอมมิวนิสต์ในรูปของรัฐบาลที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์บนผืนแผ่นดินใหญ่จีน จนดำรงอยู่มาตราบทุกวันนี้
ที่มา.สยามรัฐ
/////////////////////////////////////////////////////////////
การรวมกลุ่มทางการเมือง (political grouping) และขบวนการทางการเมือง (political movement) เป็นสิ่งที่สัมพันธ์ต่อกันอย่างแน่นแฟ้น จุดประสงค์ของการรวมกลุ่มทางการเมืองก็เพื่อจะมีอำนาจต่อรอง โดยกระบวนการต่อรองนั้นกระทำเป็นขบวนการทางการเมือง มิฉะนั้นจะเป็นการจับกลุ่มเพียงชั่วครั้งชั่วคราว (ad hoc) แต่การจัดกลุ่มที่เป็นขบวนการทางการเมืองนั้นเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลานาน เพื่อจะได้ผลทางการเมืองโดยการมีอำนาจต่อรองและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการอันเกี่ยวพันกับการใช้ทรัพยากรเพื่อจะมีนโยบายใดนโยบายหนึ่ง อันนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงในสถานการณ์ที่มีการต่อสู้เพื่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตามที่ได้ตั้งเป้าหมายไว้
ขบวนการทางการเมืองด้วยการรวมกลุ่มนั้น เช่นเดียวกับขบวนการทางการเมืองอื่นๆ จะสัมฤทธิ์ผลจะต้องมีตัวแปรต่างๆ 10 ตัว ซึ่งอาจจะไม่ครบทุกตัวดังต่อไปนี้
1. อุดมการณ์ทางการเมือง (political ideology) เป็นตัวแปรที่สำคัญที่ผู้จัดกลุ่มต้องร่วมอุดมการณ์เดียวกันจึงจะเป็นพลังที่จะนำไปสู่การเป็นกลุ่มอย่างแน่นแฟ้น (cohesiveness)
2. เป้าหมาย (goal) กระบวนการทางการเมืองต้องมีเป้าหมายที่ชัดแจ้ง และที่สำคัญที่มีเงื่อนเวลา ในการต่อสู้ในขบวนการทางการเมืองด้วยการรวมกลุ่ม
3. ผู้นำหรือแกนนำ (leadership) ขบวนการทางการเมืองใดก็ตามแม้จะมีคนรวมกลุ่มจำนวนมาก แต่ถ้าหากขาดผู้นำหรือแกนนำที่เป็นที่ยอมรับของกลุ่มเพื่อจะเป็นผู้นำขบวนการนั้น ก็จะกลายเป็นการจัดกลุ่มแบบหลวมๆ ชั่วคราว
4. การจัดตั้ง (organization) ขบวนการทางการเมืองต้องมีการจัดตั้งโดยมีการจัดโครงสร้างฝ่ายต่างๆ เพื่อให้มีความรับผิดชอบแต่ละส่วนของขบวนการ แบ่งอำนาจและหน้าที่ในการทำงาน มิฉะนั้นจะดำเนินไปอย่างสะเปะสะปะ ไร้ความสัมฤทธิ์ผล ไร้ทิศทาง แม้จะมีทิศทางตามข้อ 2. แต่ก็ไม่สามารถจะดำเนินไปได้ถ้าไม่มีการจัดตั้ง จะอาศัยบุคคลเพียงไม่กี่คนย่อมกระทำการใหญ่ได้ยาก
5. ผู้ปฏิบัติการ (cadres) ขบวนการทางการเมืองที่มีผู้นำเป็นความจำเป็นเบื้องต้น แต่จำเป็นต้องมีกลุ่มบุคคลที่มีความเชี่ยวชาญในการนำขบวนการดังกล่าวในทางปฏิบัติ หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ ผู้ขับเคลื่อนให้ขบวนการนั้นดำเนินไปได้ตามกฎเกณฑ์ของการจัดตั้งและเป้าหมาย ซึ่งสอดคล้องกับอุดมการณ์ บุคคลเหล่านี้ต้องเข้าใจการทำงานและฟังคำสั่งของผู้นำหรือแกนนำอย่างเคร่งครัด
6. ทรัพยากร (resources) กิจกรรมอันใดก็ตามที่ต้องใช้คนจำนวนมาก ต้องใช้เครื่องไม้เครื่องมือในการขับเคลื่อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสื่อสาร และตามที่นโปเลียน โบนาปาร์ต ได้กล่าวว่า กองทัพเดินด้วยท้องŽ จึงจำเป็นต้องมีทรัพยากรที่จะทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นตั้งแต่ผู้นำ ผู้ปฏิบัติการ จนถึงผู้ร่วมขบวนการ สามารถทำงานต่อไปได้โดยมีเครื่องไม้เครื่องมือและความจำเป็นของชีวิต เช่น อาหาร น้ำดื่ม เครื่องมือที่กันความร้อน ฝน และที่ขาดไม่ได้คือ ที่ถ่ายทุกข์ ในกรณีของกลุ่มเรดการ์ดมีการจัดถังเคลื่อนที่ไปตามผู้มีส่วนร่วมเพื่อไปแก้ปัญหาความจำเป็นทางธรรมชาติ
7. การสนับสนุนจากมวลชน (mass support) ขบวนการทางการเมืองใดก็ตามจะต้องได้ใจมวลชนจำนวนหนึ่งที่เห็นคล้อยตามกับขบวนการทางการเมืองดังกล่าว ดังนั้น เป้าหมายที่ตั้งไว้และเหตุผลของการเสนอเป้าหมายจะต้องมีความเป็นไปได้ และมีเหตุมีผล เพื่อมวลชนเห็นคล้อยตาม โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่จะได้รับอานิสงส์จากเป้าหมายดังกล่าว
8. พื้นที่สื่อ (mass media) กิจกรรมทางการเมืองจะต้องมีการจัดตั้ง การจัดตั้งจะกระทำมิได้ถ้าไม่มีการสื่อสาร การเรียกร้องให้มีการสนับสนุนจากมวลชนจะต้องมีการสื่อสารเช่นเดียวกัน ดังนั้น การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญไม่ว่าจะเป็นสิ่งตีพิมพ์ วิทยุ วิทยุโทรทัศน์ เว็บไซต์ หรือการสื่อสารโดยสัญลักษณ์ ฯลฯ การขาดพื้นที่การสื่อสารย่อมทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นบรรลุผลได้ยาก
9. เครือข่ายแห่งความสัมพันธ์ (network of connectivity) ขบวนการทางการเมืองจะทำโดดเดี่ยวไม่ได้ จะต้องมีความร่วมมือกับองค์กรอื่นเพื่อการสนับสนุนทั้งในแง่ขวัญกำลังใจและการสร้างอำนาจต่อรองด้วยการเป็นพันธมิตรหรือแนวร่วม ความสัมพันธ์ดังกล่าวนี้อาจมีทั้งภายในประเทศหรือนอกประเทศซึ่งมีอุดมการณ์และขบวนการทางการเมืองใกล้เคียงกัน อันจะทำให้อำนาจต่อรองแข็งแกร่งยิ่งขึ้น
10. ข้อเสนอที่สอดคล้องกับความเป็นจริง (realistic proposal) ขบวนการทางการเมืองที่มีการต่อสู้ด้วยตัวแปรดังกล่าวนั้นเพื่อเพิ่มอำนาจต่อรอง และเพื่อบรรลุเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้ แต่ขบวนการต่อสู้นั้นจะต้องมีข้อเสนอที่มีเหตุมีผล อยู่ในกรอบของความเป็นไปได้ และมีโอกาสที่จะบรรลุผล ที่สำคัญที่สุดหลังจากบรรลุผลแล้วจะต้องมีข้อเสนอที่ดีกว่า ปรากฏการณ์ที่เป็นอยู่ในขณะที่ต่อสู้นั้น เป็นต้นว่า ถ้าต้องการจะแก้ปัญหาๆ หนึ่งหลังจากขจัดปัญหาดังกล่าวแล้วจะต้องมีข้อเสนอที่มาทดแทน โดยเป็นข้อเสนอที่มีเหตุมีผลและดีกว่าเดิม มิฉะนั้นจะกลายเป็นขบวนการทางการเมืองต่อสู้เพื่อล้มล้างบางสิ่งบางอย่าง แต่ไม่สามารถเสนอสิ่งที่สร้างสรรค์ได้ เป็นต้นว่า การเปลี่ยนแปลงในประเทศบางประเทศในตะวันออกกลางจนรัฐบาลเดิมลงจากอำนาจ แต่กลับไม่มีข้อเสนอที่ดีกว่าของรัฐบาลใหม่ ทำให้การต่อสู้ระหว่างกลุ่มต่างๆ ยังคงดำเนินไปเช่นเดิม
เมื่อเป็นเช่นนี้ประเด็นสำคัญที่สุดก็คือ ขบวนการทางการเมืองที่รวมกลุ่มต่อสู้เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคมนั้นจะต้องมีข้อเสนอระบบสังคม การเมือง รวมทั้งเศรษฐกิจที่ดีกว่าเดิม แต่ถ้าหากมุ่งเน้นแต่การเปลี่ยนแปลงหรือล้มล้างสิ่งที่เป็นอยู่ แต่ไม่สามารถเสนอหาทางออกที่ฟังมีเหตุมีผลได้ก็ยากที่จะทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นเป็นที่ยอมรับ ประเด็นนี้เป็นประเด็นสำคัญที่สุด ดังนั้น การประกาศว่าจะมีการทำการปฏิวัติโดยมวลชน (people's revolution) คำถามที่ตามมาก็คือ เมื่อปฏิวัติสำเร็จแล้วอะไรคือข้อเสนอที่จะทดแทนของเดิมที่ถูกทำลายไป ถ้าตอบอย่างกว้างๆ เป็นนามธรรมโดยไม่สามารถจะให้รายละเอียดเป็นขั้นเป็นตอนเฉพาะเจาะจง ย่อมยากที่จะทำให้ขบวนการทางการเมืองนั้นอ้างเหตุผล (justify) การกระทำได้
ขบวนการทางการเมืองหลายขบวนการที่ออกมาในรูปของสัญลักษณ์ สีต่างๆ บางส่วนจึงสูญสลายไปเนื่องจากไม่สอดคล้องกับการดำเนินขบวนการทางการเมือง ความไม่สอดคล้องของกลุ่มการเมืองที่จัดเป็นขบวนการทางการเมืองนั้นมีตัวแปรต่างๆ อันเป็นเหตุผลสำคัญของการเสื่อมของขบวนการทางการเมืองดังต่อไปนี้
ก) การอิ่มตัวของความอดทนอดกลั้น (Saturation of Tolerance)
ขบวนการทางการเมืองที่มีการต่อสู้ด้วยการประท้วง เดินขบวน ยึดพื้นที่ อดอาหาร ฯลฯ เมื่อทำซ้ำซากจนก่อให้เกิดปัญหาการดำเนินกิจกรรมต่างๆ ตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการทำมาหากินและการดำรงชีวิตของคนในสังคม จะทำให้เกิดความอิ่มตัว (saturation) ของการอดทนอดกลั้น ซึ่งย่อมจะทำให้เกิดความแปลกแยก (alienation) แม้จากบุคคลที่เคยให้การสนับสนุน
ข) การไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ (Irrelevancy)
ขบวนการทางการเมืองกลายเป็นไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ใหม่ (irrelevant) เช่น ขบวนการทางการเมืองที่พยายามกล่าวหาคนใดคนหนึ่ง หรือกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ว่ามีการกระทำการเป็นคอมมิวนิสต์ แต่เนื่องจากสังคมโลกได้เปลี่ยนไปทำให้ความเป็นคอมมิวนิสต์กลายเป็นสิ่งที่ไม่คุกคามสังคมอีกต่อไป แต่ถ้ายังใช้วิธีการดังกล่าวย่อมจะกลายเป็นขบวนการที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ ตัวอย่างเช่น ประเทศเกาหลีเหนือ
ค) ขาดผลที่เป็นรูปธรรม (No concrete result)
ขบวนการทางการเมืองที่มีการกระทำอย่างต่อเนื่อง ประกาศจุดยืนอย่างมั่นคง แต่ถ้าไม่มีผลลัพธ์ที่เป็นรูปธรรม (concrete result) ก็จะกลายเป็นขบวนการที่มีแต่คำพูด การโฆษณาชวนเชื่อ แต่ไม่ออกมาเป็นรูปธรรม เป็นตัวเป็นตน ย่อมขาดน้ำหนัก ผลสุดท้ายขบวนการทางการเมืองนั้นก็จะคลายความนิยมเพราะหมดความน่าเชื่อถือ
ง) การเกิดระเบียบวาระใหม่ (New Agenda)
ขบวนการบางขบวนการต่อสู้เพื่อความถูกต้องของสังคม แต่ขณะเดียวกันเมื่อเหตุการณ์ดังกล่าวผ่านไปเรียบร้อยและได้เป้าประสงค์แล้ว ขบวนการทางการเมืองดังกล่าวจำเป็นต้องขยับให้เกิดระเบียบวาระใหม่ในการต่อสู้ มิฉะนั้นขบวนการทางการเมืองดังกล่าวจะหมดความจำเป็นและไม่มีเหตุผลที่จะดำรงอยู่ต่อไป เช่น กอ.รมน. เคยเป็นขบวนการทางการเมืองหรือเป็นองค์กรทางการเมืองที่ต่อสู้กับคอมมิวนิสต์ แต่ปัจจุบันนี้จะต้องเปลี่ยนระเบียบวาระใหม่ นั่นคือ ต่อสู้กับขบวนการแบ่งแยกดินแดนหรือการก่อการร้ายในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ถ้าขบวนการทางการเมืองใดไม่สามารถจะจัดระเบียบวาระใหม่ได้ก็จะขาดเหตุผลของการดำรงอยู่ (raison dž etre) จะเห็นได้ว่า องค์กรทหารจะมุ่งเน้นในเรื่องการป้องกันและปราบปรามผู้ก่อการร้าย การป้องกันและปราบปรามการขนส่งยาเสพติด และมีกิจกรรมในการพัฒนาประเทศซึ่งบัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ ทำให้กรมกิจการพลเรือนมีบทบาทมากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งทหารช่างและทหารพัฒนา
จ) ขบวนการทางการเมืองที่เป็นฝ่ายต่อต้าน (Counter-veiling Force)
เมื่อมีขบวนการทางการเมืองเกิดขึ้นมิใช่หมายความว่าจะสามารถดำเนินไปอย่างอิสระแต่ขบวนการเดียว อาจจะมีขบวนการอื่นขึ้นมาซึ่งเป็นขบวนการที่มีการกระทำต่อต้านหรือมีระเบียบวาระในทางตรงกันข้าม ดังนั้น ทำให้การดำเนินการเกิดขึ้นได้ไม่คล่องตัวเหมือนเดิม ตัวอย่างเช่น ในสมัยหลัง 14 ตุลาคม 2516 ศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทยเป็นขบวนการทางการเมืองที่มีส่วนล้มล้างรัฐบาลเผด็จการทหารในสมัยนั้น ต่อมาก็มีกลุ่มของนักเรียนอาชีวะที่ถูกจัดตั้งขึ้นที่เรียกว่า กลุ่มกระทิงแดง ขึ้นมาคานกลุ่มศูนย์กลางนิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย ในขณะเดียวกันกลุ่มศูนย์ฯก็เกิดความแตกแยกกลายเป็นกลุ่มสหพันธ์นักศึกษาเสรี ทำให้ขบวนการทางการเมืองมิได้เป็นหนึ่งเดียวเหมือนเดิม มาในปัจจุบันขบวนการเสื้อสีต่างๆ ขบวนการหน้ากากคนละสี และแม้ในสีเดียวกันก็แตกเป็นกลุ่มย่อย ทำให้ความแข็งแกร่งและความเป็นหนึ่งเดียวของขบวนการทางการเมืองเกิดความอ่อนแอลงได้
ที่กล่าวมาทั้งหมดคือความพยายามที่จะชี้ให้เห็นถึงการรวมกลุ่มเป็นขบวนการทางการเมือง หรือการมีขบวนการทางการเมืองด้วยการจับกลุ่มเพื่อให้มีอำนาจต่อรองและบรรลุเป้าหมายที่ต้องการ แต่ขณะเดียวกันก็ชี้ให้เห็นถึงความเสี่ยงของขบวนการทางการเมืองที่ไม่อาจสามารถดำเนินต่อไปได้อย่างต่อเนื่องและยั่งยืน ยกเว้นแต่จะมีการแปรเปลี่ยนและจัดตั้งให้เป็นสถาบันใหม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งขบวนการทางการเมืองที่ได้ชัยชนะ ตัวอย่างเช่น ขบวนการทางการเมืองพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศจีนที่มีการต่อสู้กับพรรคก๊กมินตั๋ง และต่อมาเป็นแนวร่วมกับพรรคก๊กมินตั๋งเพื่อต่อสู้กับญี่ปุ่น และหลังจากญี่ปุ่นพ่ายแพ้สงครามแล้วก็ต่อสู้กับพรรคก๊กมินตั๋งต่อไปจนได้ชัยชนะ จึงได้แปรเปลี่ยนขบวนการจากการ "ปลดแอก" ดังกล่าว มากลายเป็นพรรคหลักของการสถาปนาระบบคอมมิวนิสต์ในรูปของรัฐบาลที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์บนผืนแผ่นดินใหญ่จีน จนดำรงอยู่มาตราบทุกวันนี้
ที่มา.สยามรัฐ
/////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น