ชี้มวลชนหนุนรัฐบาล ระบุรัฐบาลนี้มีความได้เปรียบ คือมาด้วยความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง
การเมืองไทยก้าวเข้าสู่โหมด "เปิดหน้าชน" กันอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลประกาศเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ท่ามกลางเสียงคัดค้านของ "ฝ่ายต่อต้าน" ซึ่งรวมตัวกันมาในชื่อใหม่ และนัดชุมนุมกันวันที่ 4 ส.ค.นี้
มองกันว่ารัฐบาลประเมินกำลังของกลุ่มต่อต้านแล้วว่า "ไม่เท่าไหร่" ทำให้กล้าลุยกับประเด็นอ่อนไหวในจังหวะที่รัฐบาลก้าวขึ้นสู่ปีที่ 3 บทสนทนาในคลิปชายชราดื่มถั่งเช่าก็ค่อนข้างชัดเจนในประเด็นนี้
หนำซ้ำหากไปไม่ไหวจริงๆ ก็ยังมี "ไพ่ใบสุดท้าย" คือ "ยุบสภา" โดยไม่จำเป็นต้องท้าชน เพราะเลือกตั้งอีกกี่หน พรรคเพื่อไทยก็ยังกุมชัยชนะ...
บทสรุปดังว่านี้แจ่มชัดอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อฟังจาก พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
"สิ่งที่เป็นน่าห่วงมีแค่ประเด็นทุจริตเพียงประเด็นเดียวที่จะจุดกระแสจากในสภาออกมาข้างนอกได้ และยกระดับการต่อต้านรัฐบาลได้ แต่ถ้าไม่ใช่ประเด็นทุจริตก็ไม่น่ามีอะไร" พล.ท.ภราดร กล่าว และว่า
"เรื่องข้าวเป็นประเด็นที่มีน้ำหนักมากที่สุดในขณะนี้ ส่วนเรื่องน้ำ (พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5แสนล้านบาท) ที่ศาลปกครองสั่งให้ไปสอบถามประชาชนนั้น เป็นเรื่องของการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ คือประมูลไปก่อน ส่วนการสอบถามประชาชนเป็นอีกเฟสหนึ่ง เป็นเรื่องของการมองคนละมุม"
สำหรับศักยภาพของกลุ่มต่อต้านที่รวมตัวกันในนาม "กองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ" พล.ท.ภราดร มองว่า เป็นเพียงชื่อใหม่ แต่หน้าเก่า เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอยู่แล้ว จึงถือว่าไม่มีตัวเล่นใหม่ และเป็นกลุ่มที่เชื่อมโยงกับช่วงก่อนปี 2549
การเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลในความเห็นของเลขาธิการ สมช.นั้น ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.ประเด็นที่ใช้ขับเคลื่อน กับ 2.ความพร้อมของสปอนเซอร์ที่คอยควักทุน
"เมื่อก่อนขับเคลื่อนกันชัดเจนมาก แต่ปัจจุบันรู้ทางกันหมดแล้ว ทำให้สถานการณ์เปลี่ยน สถานะของกลุ่มทุนตอนนี้มี 2 แบบ คือ 1.คิดได้เอง จึงอยู่เฉยๆ ดีกว่า ไม่เสียสตางค์ด้วย กับ 2.พวกที่ถูกรู้ทัน ทำให้ไม่กล้าทุ่มเต็มที่ แต่โดยธรรมชาติของกลุ่มทุนก็สร้างสมดุลในตัวเองอยู่แล้ว ก็จ่ายทั้ง 2 ฝ่ายตลอดมา ซึ่งบทบาทของฝ่ายการเมืองในปัจจุบันก็ส่งสัญญาณว่ารู้ทันนะ"
ส่วนการพยายามใช้โซเชียลมีเดียรูปแบบต่างๆ ในการเคลื่อนไหว พล.ท.ภราดร บอกว่า โดยธรรมชาติคนที่ใช้โซเชียลมีเดียจะเป็นคนที่อยู่ข้างหลัง จึงใช้ "หน้ากาก" มาเป็นเครื่องมือ แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นหลักการเดียวกัน คือจะสำเร็จได้ด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ สปอนเซอร์ กับประเด็น
"เอกภาพของกลุ่มนี้ยังไม่ชัดเจน สะท้อนผ่านการนำที่ยังมีปัญหา แต่ก็ต้องเลี้ยงกระแสไว้เพื่ออุ่นเครื่อง ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้ประมาท พยายามชี้แจงทำความเข้าใจทุกเรื่อง" เลขาธิการ สมช.กล่าว และว่า กลุ่มต่อต้านในนามองค์การพิทักษ์สยาม หรือ อพส.นั้น ช่วงที่เปิดตัวองค์กรแรกๆ แข็งแกร่งกว่านี้ยังไปต่อไม่ได้ ตอนนี้อ่อนแอลงก็คงไม่มีอะไร
ต่อข้อถามถึงประเด็นคลิปเสียงที่ระบุว่าเป็นการสนทนาของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะปลุกกระแสได้บ้างหรือไม่ พล.ท.ภราดร ชี้ว่า เป็นเรื่องของตัวบุคคล ไม่ส่งผลกับมวลชน เพราะมวลชนได้เรียนรู้และเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นอะไร
"รัฐบาลนี้มีความได้เปรียบ คือมาด้วยความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องกติกา (รัฐธรรมนูญปี 2550 และกฎหมายลูก) แต่ก็ต่อสู้มาได้ ฉะนั้นประชาชนจึงบอกว่าถ้าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ให้เปลี่ยนโดยความชอบธรรมเหมือนกัน ถ้าเปลี่ยนแบบไม่ชอบธรรมก็ไปต่อไม่ได้ สถานการณ์ก็จะถึงทางตัน"
อีกเรื่องหนึ่งที่ พล.ท.ภราดร ยกเป็นตัวอย่างว่าประชาชนเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น และทำอย่างเดิมไม่ได้อีกแล้ว คือ การเสนอร่างกฎหมายปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่เจ้าตัวเรียกว่า "ปรองดองแบบสุดซอย" โดยเลขาฯ สมช. เปรียบเทียบว่าเป็นการเซ็ตซีโร่ (set zero) หรือการเริ่มต้นกันใหม่
"วิธีการแบบนี้เมื่อก่อนทำได้ แต่ปัจจุบันประชาชนรู้มากขึ้น เซ็ตซีโร่ไม่ได้อีกแล้ว ถ้าทำไปก็ไม่ยั่งยืน มันจะแก้ปัญหาได้ก็แค่ช่วงเดียว อาจจะดูยาวแต่ไม่ยั่งยืนแน่ เพราะประชาชนบอกว่าต้องหาคนถูกคนผิดเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นจะให้อภัย จะนิรโทษก็ทำได้ ไม่อย่างนั้นไม่เป็นบทเรียน แต่ถ้าเมื่อก่อนก็จบแบบเจ๊าๆ กันไป กลายเป็นการทำรัฐประหาร คนที่ทำมีแต่ได้ ไม่มีเสีย เพราะไม่ต้องรับผิด แต่วันนี้ประชาชนเริ่มเข้าใจ และมองว่าเป็นเรื่องตลกที่ทำรัฐประหารแล้วไม่มีอะไรต้องรับผิด"
เมื่อซักว่า มีความเป็นไปได้ที่กองทัพจะรัฐประหารอีกหรือไม่ พล.ท.ภราดร บอกว่า กองทัพมีบทเรียนแล้ว และปัญหาคือทำสำเร็จแล้วจะอยู่ต่อได้สักกี่วัน (หัวเราะ)
"รัฐบาลนี้เป็นที่ยอมรับทั้งของประชาชนและต่างประเทศ เหมือนเป็น 2 ขาที่แข็งแกร่งซึ่งค้ำยันรัฐบาลอยู่ ฝ่ายที่จะล้มรัฐบาลต้องทำให้ขาข้างใดขาหนึ่งอ่อนแอ แต่ยาก และจะทำได้หรือไม่ ส่วนมวลชนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลบางส่วนอาจจะไม่พอใจรัฐบาลบางเรื่องนั้น ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าดูแลพวกเขาได้" พล.ท.ภราดร กล่าว และว่า มวลชนมีหลายปีกก็จริง แต่ถ้าถูกอีกฝ่ายรุกก็จะผนึกกัน ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่เป็นเอกภาพ จริงๆ แล้วรัฐบาลไม่ได้แข็งแรงมาก แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่แข็งแรงมากกว่า
"การที่มีฝ่ายค้านเป็นพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอดีตนายกฯอภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รัฐบาลเสมือนเหนื่อย แต่ไม่เหนื่อย ผู้ที่อยู่เบื้องหลังก็เหมือนกัน พอจะออกมาก็มีคนเอาตำนานเก่าๆ มาปล่อย ก็จะพบจุดอ่อนจุดผิดพลาดมากมายของคนเหล่านั้น"
ต่อข้อถามถึงบทบาทขององค์กรอิสระบางองค์กรที่บางฝ่ายเชื่อว่าจะเป็น "จุดตาย" ของรัฐบาล พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ถ้ามวลชนแข็งแรง องค์กรอิสระจะใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายต้องคิดหนัก แต่ถ้ามวลชนอ่อนแอก็อาจเป็นไปได้ 2 อย่าง คือใช้อำนาจไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งก็จะไม่มีปัญหาอะไร หรืออาจเลือกใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมาย
"แต่เมื่อขณะนี้มวลชนเข้มแข็ง องค์กรอิสระก็ต้องทำไปตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น จะทำแบบเบลอไม่ได้"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
การเมืองไทยก้าวเข้าสู่โหมด "เปิดหน้าชน" กันอีกครั้ง เมื่อรัฐบาลประกาศเดินหน้าผลักดันร่างกฎหมายนิรโทษกรรม ท่ามกลางเสียงคัดค้านของ "ฝ่ายต่อต้าน" ซึ่งรวมตัวกันมาในชื่อใหม่ และนัดชุมนุมกันวันที่ 4 ส.ค.นี้
มองกันว่ารัฐบาลประเมินกำลังของกลุ่มต่อต้านแล้วว่า "ไม่เท่าไหร่" ทำให้กล้าลุยกับประเด็นอ่อนไหวในจังหวะที่รัฐบาลก้าวขึ้นสู่ปีที่ 3 บทสนทนาในคลิปชายชราดื่มถั่งเช่าก็ค่อนข้างชัดเจนในประเด็นนี้
หนำซ้ำหากไปไม่ไหวจริงๆ ก็ยังมี "ไพ่ใบสุดท้าย" คือ "ยุบสภา" โดยไม่จำเป็นต้องท้าชน เพราะเลือกตั้งอีกกี่หน พรรคเพื่อไทยก็ยังกุมชัยชนะ...
บทสรุปดังว่านี้แจ่มชัดอย่างมาก โดยเฉพาะเมื่อฟังจาก พล.ท.ภราดร พัฒนถาบุตร เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.)
"สิ่งที่เป็นน่าห่วงมีแค่ประเด็นทุจริตเพียงประเด็นเดียวที่จะจุดกระแสจากในสภาออกมาข้างนอกได้ และยกระดับการต่อต้านรัฐบาลได้ แต่ถ้าไม่ใช่ประเด็นทุจริตก็ไม่น่ามีอะไร" พล.ท.ภราดร กล่าว และว่า
"เรื่องข้าวเป็นประเด็นที่มีน้ำหนักมากที่สุดในขณะนี้ ส่วนเรื่องน้ำ (พระราชกำหนดให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินเพื่อวางระบบการบริหารจัดการน้ำและสร้างอนาคตประเทศ พ.ศ. 2555 วงเงิน 3.5แสนล้านบาท) ที่ศาลปกครองสั่งให้ไปสอบถามประชาชนนั้น เป็นเรื่องของการบริหารจัดการรูปแบบใหม่ คือประมูลไปก่อน ส่วนการสอบถามประชาชนเป็นอีกเฟสหนึ่ง เป็นเรื่องของการมองคนละมุม"
สำหรับศักยภาพของกลุ่มต่อต้านที่รวมตัวกันในนาม "กองทัพประชาชนโค่นล้มระบอบทักษิณ" พล.ท.ภราดร มองว่า เป็นเพียงชื่อใหม่ แต่หน้าเก่า เป็นฝ่ายตรงข้ามรัฐบาลอยู่แล้ว จึงถือว่าไม่มีตัวเล่นใหม่ และเป็นกลุ่มที่เชื่อมโยงกับช่วงก่อนปี 2549
การเคลื่อนไหวล้มรัฐบาลในความเห็นของเลขาธิการ สมช.นั้น ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จมีอยู่ 2 ประเด็น คือ 1.ประเด็นที่ใช้ขับเคลื่อน กับ 2.ความพร้อมของสปอนเซอร์ที่คอยควักทุน
"เมื่อก่อนขับเคลื่อนกันชัดเจนมาก แต่ปัจจุบันรู้ทางกันหมดแล้ว ทำให้สถานการณ์เปลี่ยน สถานะของกลุ่มทุนตอนนี้มี 2 แบบ คือ 1.คิดได้เอง จึงอยู่เฉยๆ ดีกว่า ไม่เสียสตางค์ด้วย กับ 2.พวกที่ถูกรู้ทัน ทำให้ไม่กล้าทุ่มเต็มที่ แต่โดยธรรมชาติของกลุ่มทุนก็สร้างสมดุลในตัวเองอยู่แล้ว ก็จ่ายทั้ง 2 ฝ่ายตลอดมา ซึ่งบทบาทของฝ่ายการเมืองในปัจจุบันก็ส่งสัญญาณว่ารู้ทันนะ"
ส่วนการพยายามใช้โซเชียลมีเดียรูปแบบต่างๆ ในการเคลื่อนไหว พล.ท.ภราดร บอกว่า โดยธรรมชาติคนที่ใช้โซเชียลมีเดียจะเป็นคนที่อยู่ข้างหลัง จึงใช้ "หน้ากาก" มาเป็นเครื่องมือ แต่สุดท้ายก็หนีไม่พ้นหลักการเดียวกัน คือจะสำเร็จได้ด้วย 2 ปัจจัย ได้แก่ สปอนเซอร์ กับประเด็น
"เอกภาพของกลุ่มนี้ยังไม่ชัดเจน สะท้อนผ่านการนำที่ยังมีปัญหา แต่ก็ต้องเลี้ยงกระแสไว้เพื่ออุ่นเครื่อง ซึ่งรัฐบาลก็ไม่ได้ประมาท พยายามชี้แจงทำความเข้าใจทุกเรื่อง" เลขาธิการ สมช.กล่าว และว่า กลุ่มต่อต้านในนามองค์การพิทักษ์สยาม หรือ อพส.นั้น ช่วงที่เปิดตัวองค์กรแรกๆ แข็งแกร่งกว่านี้ยังไปต่อไม่ได้ ตอนนี้อ่อนแอลงก็คงไม่มีอะไร
ต่อข้อถามถึงประเด็นคลิปเสียงที่ระบุว่าเป็นการสนทนาของ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงกลาโหม กับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี จะปลุกกระแสได้บ้างหรือไม่ พล.ท.ภราดร ชี้ว่า เป็นเรื่องของตัวบุคคล ไม่ส่งผลกับมวลชน เพราะมวลชนได้เรียนรู้และเข้าใจแล้วว่าอะไรเป็นอะไร
"รัฐบาลนี้มีความได้เปรียบ คือมาด้วยความชอบธรรมจากการเลือกตั้ง แม้จะมีข้อจำกัดเรื่องกติกา (รัฐธรรมนูญปี 2550 และกฎหมายลูก) แต่ก็ต่อสู้มาได้ ฉะนั้นประชาชนจึงบอกว่าถ้าจะเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองก็ให้เปลี่ยนโดยความชอบธรรมเหมือนกัน ถ้าเปลี่ยนแบบไม่ชอบธรรมก็ไปต่อไม่ได้ สถานการณ์ก็จะถึงทางตัน"
อีกเรื่องหนึ่งที่ พล.ท.ภราดร ยกเป็นตัวอย่างว่าประชาชนเข้าใจสถานการณ์มากขึ้น และทำอย่างเดิมไม่ได้อีกแล้ว คือ การเสนอร่างกฎหมายปรองดองของ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ที่เจ้าตัวเรียกว่า "ปรองดองแบบสุดซอย" โดยเลขาฯ สมช. เปรียบเทียบว่าเป็นการเซ็ตซีโร่ (set zero) หรือการเริ่มต้นกันใหม่
"วิธีการแบบนี้เมื่อก่อนทำได้ แต่ปัจจุบันประชาชนรู้มากขึ้น เซ็ตซีโร่ไม่ได้อีกแล้ว ถ้าทำไปก็ไม่ยั่งยืน มันจะแก้ปัญหาได้ก็แค่ช่วงเดียว อาจจะดูยาวแต่ไม่ยั่งยืนแน่ เพราะประชาชนบอกว่าต้องหาคนถูกคนผิดเสียก่อน แล้วหลังจากนั้นจะให้อภัย จะนิรโทษก็ทำได้ ไม่อย่างนั้นไม่เป็นบทเรียน แต่ถ้าเมื่อก่อนก็จบแบบเจ๊าๆ กันไป กลายเป็นการทำรัฐประหาร คนที่ทำมีแต่ได้ ไม่มีเสีย เพราะไม่ต้องรับผิด แต่วันนี้ประชาชนเริ่มเข้าใจ และมองว่าเป็นเรื่องตลกที่ทำรัฐประหารแล้วไม่มีอะไรต้องรับผิด"
เมื่อซักว่า มีความเป็นไปได้ที่กองทัพจะรัฐประหารอีกหรือไม่ พล.ท.ภราดร บอกว่า กองทัพมีบทเรียนแล้ว และปัญหาคือทำสำเร็จแล้วจะอยู่ต่อได้สักกี่วัน (หัวเราะ)
"รัฐบาลนี้เป็นที่ยอมรับทั้งของประชาชนและต่างประเทศ เหมือนเป็น 2 ขาที่แข็งแกร่งซึ่งค้ำยันรัฐบาลอยู่ ฝ่ายที่จะล้มรัฐบาลต้องทำให้ขาข้างใดขาหนึ่งอ่อนแอ แต่ยาก และจะทำได้หรือไม่ ส่วนมวลชนที่เคยสนับสนุนรัฐบาลบางส่วนอาจจะไม่พอใจรัฐบาลบางเรื่องนั้น ถือเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องแสดงให้เห็นว่าดูแลพวกเขาได้" พล.ท.ภราดร กล่าว และว่า มวลชนมีหลายปีกก็จริง แต่ถ้าถูกอีกฝ่ายรุกก็จะผนึกกัน ขณะที่ฝ่ายตรงข้ามไม่เป็นเอกภาพ จริงๆ แล้วรัฐบาลไม่ได้แข็งแรงมาก แต่ฝ่ายตรงข้ามไม่แข็งแรงมากกว่า
"การที่มีฝ่ายค้านเป็นพรรคประชาธิปัตย์ภายใต้การนำของอดีตนายกฯอภิสิทธิ์ (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ) รัฐบาลเสมือนเหนื่อย แต่ไม่เหนื่อย ผู้ที่อยู่เบื้องหลังก็เหมือนกัน พอจะออกมาก็มีคนเอาตำนานเก่าๆ มาปล่อย ก็จะพบจุดอ่อนจุดผิดพลาดมากมายของคนเหล่านั้น"
ต่อข้อถามถึงบทบาทขององค์กรอิสระบางองค์กรที่บางฝ่ายเชื่อว่าจะเป็น "จุดตาย" ของรัฐบาล พล.ท.ภราดร กล่าวว่า ถ้ามวลชนแข็งแรง องค์กรอิสระจะใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมายต้องคิดหนัก แต่ถ้ามวลชนอ่อนแอก็อาจเป็นไปได้ 2 อย่าง คือใช้อำนาจไม่เกินขอบเขตของกฎหมาย ซึ่งก็จะไม่มีปัญหาอะไร หรืออาจเลือกใช้อำนาจเกินขอบเขตของกฎหมาย
"แต่เมื่อขณะนี้มวลชนเข้มแข็ง องค์กรอิสระก็ต้องทำไปตามอำนาจหน้าที่เท่านั้น จะทำแบบเบลอไม่ได้"
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น