เปิด 5 ปมชนวนปลด "เฉลิม" สัญญาณเตือนจาก "คนแดนไกล" สะท้อนธาตุแท้การเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร
แม้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะไม่ได้ถูกปรับพ้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเลยเหมือนกับอดีตรัฐมนตรีอีกสิบกว่าคน เพราะยังมีตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงแรงงาน รองรับอยู่ แต่ผลสะเทือนจากการเปลี่ยนตำแหน่ง "รองนายกฯคุมตำรวจ" ของเขา ไปเป็น "รัฐมนตรีจับกัง" ดูจะเขย่ารัฐนาวายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสมือนหนึ่งกลายเป็นศัตรูกันไปแล้วจริงๆ
ถ้อยคำผรุสวาทที่ส่งถึงรัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ข้าราชการสายตรง คนแดนไกล คือเครื่องยืนยันที่ดี ทั้งยังสะท้อนภาพการบริหารราชการและบริหารงานบุคคลของผู้มีอิทธิพลเหนือรัฐบาลได้แจ่มแจ๋วชัดเจนอีกด้วย
อย่างไรก็ดี ชนวนเหตุที่ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ถูกปลดพ้นเก้าอี้ "รองนายกฯคุมตำรวจ" ซึ่งเป็นตำแหน่งในฝันของอดีตสารวัตรกองปราบ เพราะมีอำนาจบารมียิ่งกว่า ผบ.ตร.เสียอีกนั้น ย่อมไม่ใช่แค่เรื่องถูก พ.ต.อ.ทวี โทรศัพท์ฟ้อง "คนแดนไกล" เรื่องพฤติกรรมส่วนตัวตามที่อ้างเป็นแน่
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ร.ต.อ.เฉลิม ถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ วางตัวไว้ให้เป็นกันชนของรัฐบาลในสภา โดยเฉพาะการปกป้องน้องสาวสุดที่รัก คือ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็เป็นการตอบแทนทางการเมืองที่ ร.ต.อ.เฉลิม ร่วมลุยหาเสียงอย่างหนักกับพรรคเพื่อไทยไปในตัวด้วย ซึ่งเจ้าตัวเป็นนักปราศรัยที่เรียกเสียงเฮจากแฟนคลับได้มาก โดยเฉพาะภาคอีสาน
แม้เจ้าตัวจะพลาดหวังที่ไม่ได้หวนกลับไปนั่งเก้าอี้ มท.1 หรือ รมว.มหาดไทย อันเป็นยอดปรารถนาอีกคำรบ แต่การได้เป็น "รองนายกฯคุมตำรวจ" ก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งในฝัน เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นอดีตตำรวจกองปราบ การที่ "ร้อยตำรวจเอก" กลายเป็นผู้บังคับบัญชาของ "พลตำรวจเอก" ย่อมต้องมีอาการครึ้มอกครึ้มใจอยู่ไม่มากก็น้อย
ช่วงแรกๆ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และนายกฯยิ่งลักษณ์พอใจผลงาน "องครักษ์พิทักษ์นายกฯ" ในสภา โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับคู่ต่อสู้ระดับเขี้ยวลากดินอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ต้องถือว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่พอฟัดพอเหวี่ยงกัน
ทว่าในอีกด้านหนึ่งคือการประเมินผลงานการบริหารในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ซึ่งเจ้าตัวจำใจเข้าไปรับผิดชอบภายหลัง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ถูกปลดพ้นเก้าอี้รองนายกฯไปในการปรับ ครม.เมื่อปลายปีที่แล้ว ปรากฏว่าผลประเมินที่ทางพรรคทำส่งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับสอบตกหลายเรื่อง
เมื่อพิจารณาจากผลประเมินพบว่า ประเด็นที่กลายเป็นชนวนเหตุให้ต้องปรับ ร.ต.อ.เฉลิม ออกจากเก้าอี้รองนายกฯมีหลายประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ
1.ล้มเหลวในงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะกรณีการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แกนนำในพรรคเพื่อไทยมองว่า ร.ต.อ.เฉลิม มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบชัดเจนแต่กลับไม่ทำ พยายามชักเข้าชักออก โดยเฉพาะการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังลงไปน้อยกว่านายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ กระทั่งไม่ได้รับการยอมรับจากทีมงาน และไม่มีใครฟังคำสั่ง ร.ต.อ.เฉลิม
2.เมื่อคีย์แมนหลักในภารกิจดับไฟใต้ไม่ฟังคำสั่ง โดยเฉพาะเรื่องเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องสร้าง "อาณาจักรส่วนตัว" ขึ้นมา ด้วยการดึงคนใกล้ชิดหลายๆ คนเข้าไปมีตำแหน่งแห่งหนใน "ศปก.กปต." หรือศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการ (ผอ.)
เริ่มจากอดีตรองผบ.ตร.ที่สนิทแนบแน่นกันมานานอย่าง พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามด้วย "แรมโบ้อีสาน" นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีตแกนนำคนเสื้อแดง ที่ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย ที่มาในโควตากระทรวงมหาดไทย หนึ่งในหน่วยงานหลักของ ศปก.กปต.
แต่ที่เจ้าตัวพลาดแบบเต็มๆ คือการไปตั้ง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผบ.ทบ. เข้าไปเป็นผู้ช่วย ผอ.ศปก.กปต. ทั้งๆ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ ไม่ต่างอะไรกับ "ของแสลง" ของคนเสื้อแดง งานนี้ทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ ร.ต.อ.เฉลิม
3.การบริหารงานในส่วนที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปรากฏว่ามีการรายงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ร.ต.อ.เฉลิม เข้าไปแทรกแซงการทำงานของตำรวจมากเกินไป โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์บางประการ ซึ่งประเด็นนี้ผู้มีอำนาจเหนือพรรคไม่ต้องการให้ ร.ต.อ.เฉลิม เข้าไปยุ่งมาก เนื่องจากตำรวจคือขุมกำลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง และ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นอดีตตำรวจเช่นกัน ฉะนั้นสิ่งที่ ร.ต.อ.เฉลิม พูด กระทำ หรือแสดงท่าที ทุกเรื่องถึงหู พ.ต.ท.ทักษิณ หมด
4.ระยะหลังมานี้ ร.ต.อ.เฉลิม เล่นเกินบท มีการแสดงความเห็นหลายๆ ครั้งที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะการสร้างปัญหาทางการเมือง เช่น การให้สัมภาษณ์เรื่องกลุ่มที่จ้องโค่นล้มรัฐบาล จนกลายเป็นการ "เรียกแขก" หนักขึ้น หรือการให้สัมภาษณ์ชี้นำคดีอุ้มฆ่า นายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง จนทำให้ไม่มีใครเชื่อตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แถมคดียังถูกโยงไปถึงฝ่ายการเมืองอีกด้วย
5.ข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ ร.ต.อ.เฉลิม พูดเอง โดยพาดพิงถึง พ.ต.อ.ทวี ทำนองว่ามีการไปฟ้องเรื่อง "บ่อนการพนัน" ความจริงเจ้าตัวจะมีส่วนเกี่ยวข้องจริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่เมื่อเป็นกระแสขึ้นมาย่อมไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลโดยรวม
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลสำคัญของการ "ลดชั้น" ร.ต.อ.เฉลิม ด้วยการโยกออกจากเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรี (อันดับ 1) ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนแบบเบาะๆ จากผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลตัวจริง
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม ก็ได้พูดทิ้งท้ายกับคนใกล้ชิด คล้ายเป็นการตอบโต้หลังรู้ว่าถูกปรับออกจากตำแหน่งรองนายกฯแน่ๆ ว่า "ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก..."
วาทกรรมโบร่ำโบราณที่ว่าการเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร...ยังคงใช้ได้จนถึงวันนี้จริงๆ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
แม้ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง จะไม่ได้ถูกปรับพ้นคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปเลยเหมือนกับอดีตรัฐมนตรีอีกสิบกว่าคน เพราะยังมีตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการ (รมว.) กระทรวงแรงงาน รองรับอยู่ แต่ผลสะเทือนจากการเปลี่ยนตำแหน่ง "รองนายกฯคุมตำรวจ" ของเขา ไปเป็น "รัฐมนตรีจับกัง" ดูจะเขย่ารัฐนาวายิ่งลักษณ์ ชินวัตร เสมือนหนึ่งกลายเป็นศัตรูกันไปแล้วจริงๆ
ถ้อยคำผรุสวาทที่ส่งถึงรัฐบาล โดยเฉพาะ พ.ต.อ.ทวี สอดส่อง เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) ข้าราชการสายตรง คนแดนไกล คือเครื่องยืนยันที่ดี ทั้งยังสะท้อนภาพการบริหารราชการและบริหารงานบุคคลของผู้มีอิทธิพลเหนือรัฐบาลได้แจ่มแจ๋วชัดเจนอีกด้วย
อย่างไรก็ดี ชนวนเหตุที่ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ถูกปลดพ้นเก้าอี้ "รองนายกฯคุมตำรวจ" ซึ่งเป็นตำแหน่งในฝันของอดีตสารวัตรกองปราบ เพราะมีอำนาจบารมียิ่งกว่า ผบ.ตร.เสียอีกนั้น ย่อมไม่ใช่แค่เรื่องถูก พ.ต.อ.ทวี โทรศัพท์ฟ้อง "คนแดนไกล" เรื่องพฤติกรรมส่วนตัวตามที่อ้างเป็นแน่
ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า ร.ต.อ.เฉลิม ถูก พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ วางตัวไว้ให้เป็นกันชนของรัฐบาลในสภา โดยเฉพาะการปกป้องน้องสาวสุดที่รัก คือ นายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ซึ่งอีกด้านหนึ่งก็เป็นการตอบแทนทางการเมืองที่ ร.ต.อ.เฉลิม ร่วมลุยหาเสียงอย่างหนักกับพรรคเพื่อไทยไปในตัวด้วย ซึ่งเจ้าตัวเป็นนักปราศรัยที่เรียกเสียงเฮจากแฟนคลับได้มาก โดยเฉพาะภาคอีสาน
แม้เจ้าตัวจะพลาดหวังที่ไม่ได้หวนกลับไปนั่งเก้าอี้ มท.1 หรือ รมว.มหาดไทย อันเป็นยอดปรารถนาอีกคำรบ แต่การได้เป็น "รองนายกฯคุมตำรวจ" ก็เป็นอีกหนึ่งตำแหน่งในฝัน เพราะ ร.ต.อ.เฉลิม เป็นอดีตตำรวจกองปราบ การที่ "ร้อยตำรวจเอก" กลายเป็นผู้บังคับบัญชาของ "พลตำรวจเอก" ย่อมต้องมีอาการครึ้มอกครึ้มใจอยู่ไม่มากก็น้อย
ช่วงแรกๆ ทั้ง พ.ต.ท.ทักษิณ และนายกฯยิ่งลักษณ์พอใจผลงาน "องครักษ์พิทักษ์นายกฯ" ในสภา โดยเฉพาะเมื่อต้องเผชิญกับคู่ต่อสู้ระดับเขี้ยวลากดินอย่างพรรคประชาธิปัตย์ ต้องถือว่าเป็นคู่ต่อสู้ที่พอฟัดพอเหวี่ยงกัน
ทว่าในอีกด้านหนึ่งคือการประเมินผลงานการบริหารในตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ซึ่งเจ้าตัวจำใจเข้าไปรับผิดชอบภายหลัง พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา ถูกปลดพ้นเก้าอี้รองนายกฯไปในการปรับ ครม.เมื่อปลายปีที่แล้ว ปรากฏว่าผลประเมินที่ทางพรรคทำส่งให้ พ.ต.ท.ทักษิณ กลับสอบตกหลายเรื่อง
เมื่อพิจารณาจากผลประเมินพบว่า ประเด็นที่กลายเป็นชนวนเหตุให้ต้องปรับ ร.ต.อ.เฉลิม ออกจากเก้าอี้รองนายกฯมีหลายประเด็นด้วยกัน กล่าวคือ
1.ล้มเหลวในงานด้านความมั่นคง โดยเฉพาะกรณีการแก้ปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้ แกนนำในพรรคเพื่อไทยมองว่า ร.ต.อ.เฉลิม มีภารกิจที่ต้องรับผิดชอบชัดเจนแต่กลับไม่ทำ พยายามชักเข้าชักออก โดยเฉพาะการเดินทางลงพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งจนถึงขณะนี้ยังลงไปน้อยกว่านายกรัฐมนตรีด้วยซ้ำ กระทั่งไม่ได้รับการยอมรับจากทีมงาน และไม่มีใครฟังคำสั่ง ร.ต.อ.เฉลิม
2.เมื่อคีย์แมนหลักในภารกิจดับไฟใต้ไม่ฟังคำสั่ง โดยเฉพาะเรื่องเจรจากับกลุ่มบีอาร์เอ็น ทำให้ ร.ต.อ.เฉลิม ต้องสร้าง "อาณาจักรส่วนตัว" ขึ้นมา ด้วยการดึงคนใกล้ชิดหลายๆ คนเข้าไปมีตำแหน่งแห่งหนใน "ศปก.กปต." หรือศูนย์ปฏิบัติการคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายและยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่ตนเองเป็นผู้อำนวยการ (ผอ.)
เริ่มจากอดีตรองผบ.ตร.ที่สนิทแนบแน่นกันมานานอย่าง พล.ต.อ.ภาณุพงศ์ สิงหรา ณ อยุธยา รองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี ตามด้วย "แรมโบ้อีสาน" นายสุภรณ์ อัตถาวงศ์ อดีตแกนนำคนเสื้อแดง ที่ได้ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการนายกรัฐมนตรี นายประชา ประสพดี รมช.มหาดไทย ที่มาในโควตากระทรวงมหาดไทย หนึ่งในหน่วยงานหลักของ ศปก.กปต.
แต่ที่เจ้าตัวพลาดแบบเต็มๆ คือการไปตั้ง พล.อ.ดาว์พงษ์ รัตนสุวรรณ รองผบ.ทบ. เข้าไปเป็นผู้ช่วย ผอ.ศปก.กปต. ทั้งๆ ที่ พล.อ.ดาว์พงษ์ ไม่ต่างอะไรกับ "ของแสลง" ของคนเสื้อแดง งานนี้ทำให้หลายฝ่ายไม่พอใจ ร.ต.อ.เฉลิม
3.การบริหารงานในส่วนที่กำกับดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ปรากฏว่ามีการรายงาน พ.ต.ท.ทักษิณ ว่า ร.ต.อ.เฉลิม เข้าไปแทรกแซงการทำงานของตำรวจมากเกินไป โดยเฉพาะเรื่องการแต่งตั้งโยกย้ายที่มีการเปลี่ยนแปลงหลักเกณฑ์บางประการ ซึ่งประเด็นนี้ผู้มีอำนาจเหนือพรรคไม่ต้องการให้ ร.ต.อ.เฉลิม เข้าไปยุ่งมาก เนื่องจากตำรวจคือขุมกำลังของรัฐบาลอย่างแท้จริง และ พ.ต.ท.ทักษิณ ก็เป็นอดีตตำรวจเช่นกัน ฉะนั้นสิ่งที่ ร.ต.อ.เฉลิม พูด กระทำ หรือแสดงท่าที ทุกเรื่องถึงหู พ.ต.ท.ทักษิณ หมด
4.ระยะหลังมานี้ ร.ต.อ.เฉลิม เล่นเกินบท มีการแสดงความเห็นหลายๆ ครั้งที่ส่งผลกระทบต่อเสถียรภาพของรัฐบาล โดยเฉพาะการสร้างปัญหาทางการเมือง เช่น การให้สัมภาษณ์เรื่องกลุ่มที่จ้องโค่นล้มรัฐบาล จนกลายเป็นการ "เรียกแขก" หนักขึ้น หรือการให้สัมภาษณ์ชี้นำคดีอุ้มฆ่า นายเอกยุทธ อัญชันบุตร นักธุรกิจและนักเคลื่อนไหวทางการเมืองชื่อดัง จนทำให้ไม่มีใครเชื่อตำรวจ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนัก แถมคดียังถูกโยงไปถึงฝ่ายการเมืองอีกด้วย
5.ข้อกล่าวหาเรื่องผลประโยชน์ ประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ ร.ต.อ.เฉลิม พูดเอง โดยพาดพิงถึง พ.ต.อ.ทวี ทำนองว่ามีการไปฟ้องเรื่อง "บ่อนการพนัน" ความจริงเจ้าตัวจะมีส่วนเกี่ยวข้องจริงหรือไม่ เป็นเรื่องที่พิสูจน์ยาก แต่เมื่อเป็นกระแสขึ้นมาย่อมไม่เป็นผลดีต่อภาพลักษณ์ของรัฐบาลโดยรวม
ทั้งหมดนี้คือเหตุผลสำคัญของการ "ลดชั้น" ร.ต.อ.เฉลิม ด้วยการโยกออกจากเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรี (อันดับ 1) ไปเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ซึ่งถือเป็นการส่งสัญญาณเตือนแบบเบาะๆ จากผู้มีอำนาจเหนือรัฐบาลตัวจริง
ขณะที่ ร.ต.อ.เฉลิม ก็ได้พูดทิ้งท้ายกับคนใกล้ชิด คล้ายเป็นการตอบโต้หลังรู้ว่าถูกปรับออกจากตำแหน่งรองนายกฯแน่ๆ ว่า "ขาดฉันแล้วเธอจะรู้สึก..."
วาทกรรมโบร่ำโบราณที่ว่าการเมืองไม่มีมิตรแท้และศัตรูถาวร...ยังคงใช้ได้จนถึงวันนี้จริงๆ
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น