แม้ยังไม่ถึงขั้นวิกฤตจนเป็นปัญหาต่อระบบเศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ แต่ภาระหนี้ภาคครัวเรือนที่พุ่งสูงขึ้นต่อเนื่อง ทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องออกมาส่งสัญญาณเตือนและเฝ้าจับตามองอย่างใกล้ชิด
นอกจากหนี้ภาคครัวเรือนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ปัจจุบันขยับขึ้นมาอยู่ที่ 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) เทียบกับสิ้นปี 2555 อยู่ที่ 78% ของ GDP แล้ว ที่น่าห่วงยิ่งกว่าคือภาระหนี้ของครอบครัวข้าราชการที่กำลังคุกคาม บ่อนเซาะบุคลากรภาครัฐ
ข้อมูลจากการสำรวจเบื้องต้นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ชี้ว่า ปัจจุบันข้าราชการที่มีภาระหนี้สินอยู่ระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ และที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั่วประเทศรวมแล้วกว่า 8 แสนคดี มูลหนี้รวมกว่า 1 ล้านล้านบาทในจำนวนนี้บางส่วนคดีถึงที่สุด เข้าสู่ขั้นตอนการบังคับชำระหนี้ ยึดทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาล้มละลาย ถือเป็นภัยเงียบที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับคนของรัฐและสถาบันข้าราชการอย่างรุนแรง
ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเคยเปิดเผยข้อมูลการสำรวจหนี้สินของข้าราชการปี 2553 พบว่า ครอบครัวข้าราชการมีมูลหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 492,253 บาท ในปี 2547 เป็น 872,388 บาท ในปี 2553 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยที่เอื้อและจูงใจให้เป็นหนี้เพิ่มขึ้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ และการบูมของตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ตลอดจนค่านิยมที่เน้นความสะดวกสบาย และความหรูหราฟุ้งเฟ้อข้าราชการจำนวนไม่น้อยใช้จ่ายเงินเกินตัว ทำให้หนี้สินพอกพูนสะสม ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้มีแนวโน้มลดลง
ล่าสุดสิ้นปี 2555 หนี้เฉลี่ยของข้าราชการพุ่งสูงถึงเป็น 1,111,425 บาทต่อครัวเรือน ส่งผลกระทบทั้งต่อชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน ทั้งยังอาจจูงใจให้ข้าราชการกระทำการในลักษณะทุจริตคอร์รัปชั่นได้ง่าย
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ความแตกแยกขัดแย้งยังมีสูง ยากจะประสานให้เกิดความปรองดองให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ คนส่วนใหญ่ต่างหวังพึ่งสถาบันข้าราชการในฐานะหนึ่งในเสาหลักคอยค้ำจุนและนำพาประเทศไปข้างหน้า มากกว่าจะฝากความหวังไว้กับนักการเมือง
อย่างไรก็ตาม เมื่อข้าราชการเองกำลังถูกบ่อนทำลายจากภาระหนี้สินที่สร้างขึ้นล้นพ้นตัว ก็คงไม่สามารถจะเป็นเสาหลักให้กับบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่
ถึงวันนี้แม้การสางปัญหาหนี้สินก้อนใหญ่ที่ข้าราชการจำนวนมากมีภาระต้องแบกรับจะเป็นเรื่องยาก แต่ยังไม่สายเกินไปถ้าหากรัฐบาลตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายชัดเจนที่จะแก้ไข ด้วยการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้ทั้งในและนอกระบบ
พร้อมรณรงค์ปลูกจิตสำนึก สร้างค่านิยมใหม่ให้ข้าราชการรู้จักประหยัด อดออม ลดการฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย และพยายามเป็นหนี้เท่าที่จำเป็น
ขณะเดียวกันก็เน้นสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ให้คนทั่วไปสามารถใช้เป็นต้นแบบในการดำรงชีวิตและการทำงาน ให้สมกับที่เป็นเสาหลัก เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
นอกจากหนี้ภาคครัวเรือนที่ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ระบุว่า ปัจจุบันขยับขึ้นมาอยู่ที่ 80% ของผลิตภัณฑ์มวลรวมประชาชาติ (GDP) เทียบกับสิ้นปี 2555 อยู่ที่ 78% ของ GDP แล้ว ที่น่าห่วงยิ่งกว่าคือภาระหนี้ของครอบครัวข้าราชการที่กำลังคุกคาม บ่อนเซาะบุคลากรภาครัฐ
ข้อมูลจากการสำรวจเบื้องต้นของสำนักงานคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน (ก.พ.) ชี้ว่า ปัจจุบันข้าราชการที่มีภาระหนี้สินอยู่ระหว่างกระบวนการไกล่เกลี่ยประนอมหนี้ และที่ถูกฟ้องร้องดำเนินคดีทั่วประเทศรวมแล้วกว่า 8 แสนคดี มูลหนี้รวมกว่า 1 ล้านล้านบาทในจำนวนนี้บางส่วนคดีถึงที่สุด เข้าสู่ขั้นตอนการบังคับชำระหนี้ ยึดทรัพย์ หรือถูกศาลพิพากษาล้มละลาย ถือเป็นภัยเงียบที่สร้างความสั่นสะเทือนให้กับคนของรัฐและสถาบันข้าราชการอย่างรุนแรง
ก่อนหน้านี้ สำนักงานสถิติแห่งชาติเคยเปิดเผยข้อมูลการสำรวจหนี้สินของข้าราชการปี 2553 พบว่า ครอบครัวข้าราชการมีมูลหนี้เพิ่มขึ้นเท่าตัวจาก 492,253 บาท ในปี 2547 เป็น 872,388 บาท ในปี 2553 ส่วนหนึ่งมาจากปัจจัยที่เอื้อและจูงใจให้เป็นหนี้เพิ่มขึ้น ทั้งอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ซึ่งที่ผ่านมาอยู่ในระดับที่ต่ำ และการบูมของตลาดสินเชื่อส่วนบุคคลและบัตรเครดิต ตลอดจนค่านิยมที่เน้นความสะดวกสบาย และความหรูหราฟุ้งเฟ้อข้าราชการจำนวนไม่น้อยใช้จ่ายเงินเกินตัว ทำให้หนี้สินพอกพูนสะสม ขณะที่ความสามารถในการชำระหนี้มีแนวโน้มลดลง
ล่าสุดสิ้นปี 2555 หนี้เฉลี่ยของข้าราชการพุ่งสูงถึงเป็น 1,111,425 บาทต่อครัวเรือน ส่งผลกระทบทั้งต่อชีวิตส่วนตัวและหน้าที่การงาน ทั้งยังอาจจูงใจให้ข้าราชการกระทำการในลักษณะทุจริตคอร์รัปชั่นได้ง่าย
ท่ามกลางสถานการณ์ทางการเมืองที่ความแตกแยกขัดแย้งยังมีสูง ยากจะประสานให้เกิดความปรองดองให้เป็นหนึ่งเดียวกันได้ คนส่วนใหญ่ต่างหวังพึ่งสถาบันข้าราชการในฐานะหนึ่งในเสาหลักคอยค้ำจุนและนำพาประเทศไปข้างหน้า มากกว่าจะฝากความหวังไว้กับนักการเมือง
อย่างไรก็ตาม เมื่อข้าราชการเองกำลังถูกบ่อนทำลายจากภาระหนี้สินที่สร้างขึ้นล้นพ้นตัว ก็คงไม่สามารถจะเป็นเสาหลักให้กับบ้านเมืองได้อย่างเต็มที่
ถึงวันนี้แม้การสางปัญหาหนี้สินก้อนใหญ่ที่ข้าราชการจำนวนมากมีภาระต้องแบกรับจะเป็นเรื่องยาก แต่ยังไม่สายเกินไปถ้าหากรัฐบาลตลอดจนหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมีนโยบายชัดเจนที่จะแก้ไข ด้วยการดำเนินนโยบายทั้งในระยะสั้นและระยะยาวบรรเทาความเดือดร้อนจากภาระหนี้ทั้งในและนอกระบบ
พร้อมรณรงค์ปลูกจิตสำนึก สร้างค่านิยมใหม่ให้ข้าราชการรู้จักประหยัด อดออม ลดการฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย และพยายามเป็นหนี้เท่าที่จำเป็น
ขณะเดียวกันก็เน้นสร้างคุณธรรม จริยธรรม ความซื่อสัตย์ ให้คนทั่วไปสามารถใช้เป็นต้นแบบในการดำรงชีวิตและการทำงาน ให้สมกับที่เป็นเสาหลัก เป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาสังคมและประเทศชาติ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
//////////////////////////////////////////////////////////////////////////////
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น