เมื่อวันที่ 25 ก.ค.2556 ที่ผ่านมา ศาลปกครองกลางมีคำพิพากษาสั่งให้กรมชลประทาน ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่เกษตรกร รวม 24 ราย เป็นเงินทั้งสิ้น 8,261,211 บาท เนื่องจากจงใจหรือประมาทเลินเล่อในการบริหารจัดการน้ำ กรณีเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองมหาสวัสดิ์ และคลองอื่นๆ ที่อยู่ทางทิศเหนือของ ต.บางระกำ อ.บางเลน จ.นครปฐม พร้อมๆ กัน เมื่อคราวน้ำท่วมปลายปี 2549 จนทำให้น้ำไหลเข้าท่วมพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านเสียหาย
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายชนะพล การดำริห์ และพวกรวม 24 คน ซึ่งเป็นเกษตรกรปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ต.บางระกำ ยื่นฟ้องกรมชลประทานต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ยอมเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองมหาสวัสดิ์ ตามที่ถูกชาวบ้านที่อยู่ด้านเหนือ อ.บางเลน ประกอบด้วยพื้นที่ จ.นนทบุรี ปทุมธานี กดดัน เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขัง
โดยศาลปกครองเห็นว่า กรมชลประทานมีหน้าที่บริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2549 เกิดน้ำท่วมใหญ่ กรมชลประทานอ้างมีแนวทางปฏิบัติในการระบายน้ำทั้งหมด 8 ขั้นตอน แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลับไม่ได้ใช้แนวทางปฏิบัติดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อมีน้ำปริมาณมหาศาลค้างอยู่ด้านเหนือ ต.บางระกำ นานถึง 2-3 เดือน กรมชลประทานควรเร่งระบายน้ำ ด้วยการเปิดประตูระบายน้ำตามแผนการระบายน้ำอย่างเหมาะสม พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ขุดลอกคูคลองในเขตรับผิดชอบ บริหารจัดการน้ำไปยังด้านที่มีอุปกรณ์ที่มีเครื่องมือทันสมัยในการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ด้านตะวันออก คือแม่น้ำบางปะกง
แต่กลับระบายน้ำลงมาด้านตะวันออก ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ทันสมัยด้วยปริมาณน้ำที่ใกล้เคียงกันหรือมากกว่าทิศตะวันตก อีกทั้งยังพบว่า ไม่มีการแจ้งเตือนประชาชนผู้อยู่อาศัยในเส้นทางน้ำไหลผ่าน เช่น ใน ต.บางเลน ให้เฝ้าระวังและเตรียมแผนรองรับน้ำไหลบ่าอย่างเหมาะสม และเมื่อไม่สามารถบริหารจัดการน้ำค้างทุ่งได้ เพราะถูกกดดันจากผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม จึงเปิดประตูระบายน้ำทั้งหมดในคราวเดียวกัน เป็นเหตุให้น้ำไหลบ่าเข้าที่ดินทำกินของผู้ถูกฟ้องทั้ง 24 คน ภายใน 2 วัน ท่วมขังอยู่นาน 60 วัน ซึ่งพื้นที่สวนที่อาศัยของผู้ฟ้องคดีทั้งหมด ไม่เคยประสบภาวะน้ำท่วม แม้แต่ปี 2538 ที่มีเหตุน้ำท่วมใหญ่
ประกอบกับพบว่า กรมชลประทานไม่เคยมีหนังสือแจ้งเตือนภัยไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้ระวังภัยน้ำท่วมอันเนื่องมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ จึงฟังได้ว่ากรมชลประทานกระทำการโดยประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ทั้งที่เป็นหน่วยงานทางปกครองที่มีความรู้ในการบริหารจัดการน้ำโดยตรงของประเทศ กลับไม่ใช้ความเป็นมืออาชีพบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้แรงน้ำมหาศาล พังทลายคันดินของผู้ถูกฟ้องทั้งหมด เข้าท่วมพื้นที่ทำกินได้รับความเสียหายจริง ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ถูกฟ้องทั้งหมดตามนัยมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นเหตุให้ต้องรับผิดชอบผลแห่งการกระทำละเมิด โดยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีตามความเสียหายจริง พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ของเงินต้นของแต่ละคน นับแต่วันที่ 10 พ.ย. 2549 อันเป็นวันทำละเมิดเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้นอกจากศาลจะให้คู่กรณียื่นคำชี้แจงและรายละเอียดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ศาลยังแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาสินค้าและผลผลิตของพืช และสัตว์ในแต่ละชนิด จากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาคิดคำนวณความเสียหายที่ผู้ถูกฟ้องคดีควรได้รับการชดใช้ อีกทั้งคำสั่งในการให้กรมชลประทานชดใช้ค่าเสียหายก็มีการระบุรายละเอียดความเสียหายในแต่ละรายการอย่างชัดเจน
เช่น ผู้ถูกฟ้องที่ 13 น.ส.พรวิสา เปาวะสันต์ ปลูกตะไคร้บนเนื้อที่ 1 ไร่ ค่าเสียหาย 1 หมื่นบาท พิเคราะห์ถ้อยคำน.ส.พรวิสาในชั้นไต่สวนเปรียบเทียบกับเอกสารท้ายฟ้องและข้อมูลจากเว็บไซต์พบว่า ตะไคร้ให้ผลผลิต 2 ตันต่อไร่ มีรายได้ทั้งหมด 15,000-20,000 บาทต่อไร่ จึงกำหนดให้ตามคำขอเป็นเงิน 10,000 บาท แต่เนื่องจากได้รับเงินช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีไปแล้วบางส่วน จึงให้หักเงินช่วยเหลือออกจากค่าเสียหาย คงเหลือ 7,521 บาท ส่วนคำขอค่าป้องกันน้ำท่วมจำนวน 4,500 บาท ศาลไม่รับเนื่องจากยื่นขอเมื่อพ้นระยะเวลาฟ้อง อย่างไรก็ตาม วงเงินความเสียหายที่ศาลมีคำสั่งให้กรมชลประทานชดใช้ให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 24 คนนั้น ยอดต่ำสุดอยู่ที่ 7,521 บาท สูงสุดอยู่ที่ 1,949,580 บาท รวมเป็นเงินที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 24 คนจะได้รับ 8,261,211 บาท
เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากคดีนี้
1.) รัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่มีสิทธิ“โกหก”ประชาชน ไม่มีสิทธิอ้างหรือกระทำการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยไม่แจ้งเตือนตามขั้นตอนการปฏิบัติ การฟ้องร้องของประชาชนกลุ่มนี้ นับเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ช่วยปกป้องวิถีชีวิตและการทำมาหากินของตัวเองจากความสะเพร่าของหน่วยงานรัฐ
2.) กรณีเทียบเคียงกัน ที่ไม่ทราบว่ามีการฟ้องร้องหรือไม่ คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ที่ตอนเช้า โฆษก ศปภ.ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศว่าน้ำไม่ท่วม โรงงานจึงเปิดทำการปกติ คนงานก็ไปทำงานปกติ ปรากฏว่าตกบ่าย มีประกาศให้ “อพยพ” และหลังจากนั้นไม่นาน น้ำก็ถาโถมเข้าท่วม ชนิดโรงงานขนย้ายอะไรแทบไม่ได้เลย คนงานเอาชีวิตรอดออกมาได้ ไม่เหยียบกันตายก็บุญโขแล้ว บางคนแทบไม่มีโอกาสวกกลับไปบ้าน เพื่อเก็บข้าวของให้พ้นจากการถูกน้ำท่วม
3.) ใช่...รัฐบาลไม่ได้ทำให้น้ำท่วมใหญ่ในปีนั้น แต่รัฐบาลไม่มีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ซ้ำร้าย ให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ความเสียหายที่ไม่ควรเกิดก็เกิด เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร หากรัฐให้ข้อมูลที่แม่นยำว่า การจัดการป้องกันน้ำของตนไม่อาจรับประกันได้ว่า น้ำจะเข้าท่วมหรือไม่ โรงงานทั้งหลายคงปิดทำการ ขนย้ายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำคัญให้พ้นน้ำ คนงานคงมีเวลาปกป้องบ้านและทรัพย์สินมากกว่านี้ แต่เพราะคำเตือนของรัฐที่นำมาซึ่งความเชื่อมั่น แต่พลัน “ความฉิบหาย”ก็มาเยือน สุดท้าย รัฐก็ลอยนวล ด้วยการเอาเงินภาษีไปอุดปาก โดยเรียกมันว่า “ค่าเยียวยาและฟื้นฟู” แต่ไม่มีใครเอาผิดในทางกฎหมายเลย
4.)ข้อมูลปรากฏชัดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์อั้นน้ำในเขื่อนไว้ เพื่อให้ชาวนาใต้เขื่อนได้เก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเข้า “จำนำ”กับรัฐ อยากให้โครงการรับจำนำข้าวเป็น“นางเอก”ของท้องเรื่องในปีแรกที่มาเป็นรัฐบาล สุดท้าย ความฉิบหายจากน้ำที่อั้นไว้ โครงการรับจำนำข้าวที่เธอเลือกก่อนเร่งระบายน้ำ ช่วยอะไรได้ไหม? นอกจากช่วยไม่ได้แล้ว ยังนำความฉิบหายสู่ตลาดค้าข้าวของไทย และเงินงบประมาณแผ่นดินก้อนมหาศาล โดยที่“ชาวนา”ซึ่งถูกอ้าง ได้แค่“เศษเงิน”ที่ถมลงไปในโครงการ
5.) แทนการยอมรับ กลับจัดตั้ง “ขบวนการตอแหล” ปล่อยข่าวและให้คนเสื้อแดงแก้กรรมว่า“รัฐบาลเก่ากักน้ำไว้กลั่นแกล้ง” ซึ่งน่าประหลาดที่คนไทยจำนวนไม่น้อย ก็ยอมรับข้อมูลตอแหลๆ นี้โดยไม่ต้องคิด
6.) เช่นเดียวกับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผู้ร้องต่อศาลปกครอง กรณีโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท โดยระบุว่า ที่ผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง พร้อมกับที่ทางรัฐบาลยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองไป โดยขอให้ศาลวินิจฉัยคำขอท้ายฟ้องให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนแผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาททั้งหมดว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดจันทบุรีและนครราชสีมานั้น นับเป็นบทเรียนราคาแพงอีกชิ้นหนึ่งของประเทศ ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก วันนี้หากโครงการนี้ยิ่งเดินช้ามากเท่าไหร่ ประชาชนและประเทศชาติก็จะยิ่งเดือดร้อนมากเท่านั้น ไม่มีเหตุผลที่ดีเลยหากโครงการนี้จะต้องล้มลง
“น้ำท่วมปี 2554 ยังไม่เข็ด ยังจะนอนขวางลำ ไม่ให้รัฐบาลมาแก้ไข ประเทศไม่เดินหน้า ประชาชนลอยคออยู่กลางน้ำ แต่คนพวกนี้ กลับแหกปากตะโกน ไล่ไม่ให้รัฐบาลเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งที่รัฐบาลพยายามเสนอมาตรการในการบริหารจัดการ ตนรู้สึกเสียใจที่ประเทศนี้มีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนที่ควรจะเป็นผู้ใกล้ชิด เข้าใจธรรมชาติ รวมถึงรับรู้ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ทำไมยังมองไม่ออกถึงวิธีการแก้ไข โครงการนี้รัฐบาลจัดมาเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป้องกันประเทศ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำทุกรูปแบบ แต่พวกนี้ออกมาเป็นตัวตั้งตัวตีที่จะล้มโครงการผ่านศาลปกครอง ซึ่งเหมือนเป็นผู้ที่ทำให้เขื่อนแตกเสียเอง” นายอนุสรณ์ กล่าว
7.) ถามนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาดหน่อยว่า เนื้อหาในแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลส่วนไหน ที่เป็นโครงการป้องกันน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรีกับนครราชสีมาเอาไว้เป็นการเฉพาะบ้าง แจกแจงให้ดูหน่อยสิ ไม่ใช่คอยแต่จะตวัดลิ้นเลียตะปิ้งปูโดยไม่ดู “ความจริง” ว่าสิ่งที่คุณศรีสุวรรณไปร้องต่อศาลนั้น เพียงเพื่อให้รัฐบาลทำงานตาม”ขั้นตอนและกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ” แค่ชนะเลือกตั้งมา ก็ถือว่า“ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ” กันแล้วหรือ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ให้แถลงผลงานทุกๆ ปี นางยิ่งลักษณ์ไม่ปฏิบัติ ไม่เห็นอนุสรณ์ทวงแทนประชาชนสักที นี่ก็เหมือนกัน รัฐธรรมนูญกำหนดว่า โครงการของรัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และหลักแหล่งชุมชนของประชาชน ให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน จึงจะทำได้
ถามว่า การที่คุณศรีสุวรรณขอให้ศาลช่วยชี้ เพื่อปกป้องขั้นตอนตามบทบัญญัตินี้ อันเป็นการปกป้องประชาชน ผิดตรงไหน และยากตรงไหนที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะปฏิบัติตาม อย่าตอแหลอ้างว่าจะล่าช้าเลย เพราะตั้งแต่ได้รับอนุมัติจากศาลให้ดำเนินการกู้เงิน 350,000 บาทได้ ก็ไม่เห็นจะกู้กัน ไม่เห็นจะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ตลอดปี 2555 ที่ผ่านมา ดังนั้น ถ้าจะโทษ ก็โทษตัวเองดีกว่า ลดความหนาของหน้าลงมา พูดกันเฉพาะความจริงในหลักการที่ถูกต้องเถอะ
8.)เช่นเดียวกับคราบน้ำมันดิบที่ถาโถมเข้าปกคลุมอ้าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น รอง กก.ผจก.ใหญ่ บมจ. PTT โกลบอลเคมีคอล ให้สัมภาษณ์ว่า "ผมขอเรียนข่าวดีครับ เรากำจัดน้ำมันเสร็จสิ้นแล้ว ตอนนี้ท้องทะเลกลับมาใสเหมือนเดิมแล้วครับ" เป็นภาพที่ฟ้องถึง “การโกหก” อย่างน่ารังเกียจ
9.) ขณะที่ นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็มีความเห็นว่า "เรื่องท่อน้ำมันรั่ว เหมือนสื่อจะห่วงมากเกินไป เป็นเรื่องนิดเดียว ผลกระทบกับการท่องเที่ยวก็ไม่น่าจะมาก"
10.) กรณีน้ำท่วม หากรัฐบาลให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ประชาชนเขาจะได้หาหนทางรักษาชีวิตและทรัพย์สินของเขาได้ทันท่วงที ไม่ต้องมีความเสียหายถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวกันไปหลายราย เช่นเดียวกับเรื่องน้ำมันดิบนี้ หากให้ข้อมูลกันอย่างจริงจัง เปิดเผย ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ลุกขึ้นป้องกันความเสียหายและช่วยกันรุมแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ความเสียหายคงไม่มากเท่านี้
11.) รัฐบาลที่สนุกกับการพูดคำสวยๆ อย่าง“นิติรัฐ-นิติธรรม” เอกชนที่ชอบอ้าง “ธรรมาภิบาล” แต่กลับมีสันดานโกหกตอแหล อย่างรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และ บมจ. PTT โกลบอลเคมีคอล สังคมควรลุกขึ้นแสดงความรังเกียจ เอาโทษ และเรียกร้องความรับผิดชอบให้จงหนัก
12.) เรื่องสำคัญที่ต้องขยายผลจากคำพิพากษาคดีข้างต้น คือ การไม่ระบายน้ำไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระบบการระบายน้ำที่ดีกว่าเลย เป็นเพราะอะไร? ไปติดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม หรือโครงการของนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ไปสุมหัวกัน ว.5 ที่ชั้น 7 โฟร์ซีซั่นใช่หรือไม่ และแผนบริหารจัดการน้ำที่จะใช้เงินถึง 350,000 ล้านบาท ก็ยังปกป้องฝั่งตะวันออกนั้นอยู่ใช่หรือไม่ ทั้งๆ ฝั่งตะวันออกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเคยทรงให้ใช้เป็นแนวระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพมาก่อนมิใช่หรือ
เราจะอยู่กันยังไง ในประเทศที่ “คำโกหก” เป็นใหญ่และถูกผลิตขึ้นมาปกปิดความระยำตำบอนกันอย่างต่อเนื่อง
ข้าวเน่าเอาไปแจกประชาชนที่พังงากับกระบี่ ก็เงียบหายไป ไม่เห็นผลการไต่สวนหรือเอาผิดใครเลย ข้าวปนเปื้อนสารพิษหรือไม่ ก็จบลงอย่างง่ายดายที่นายกฯ กินข้าวโชว์ 2-3 คำ น้ำมันดิบทะลักทำลายสิ่งแวดล้อมระยอง ทะเลไทยและสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ปตท.ซึ่งร่ำรวยมหาศาล กลับมิได้แสดงเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ หรือศักยภาพในการจัดการกับปัญหา ต้องใช้ทหารเรือ กระดาษซับมัน และถังตักน้ำมันเข้าแก้ แล้วเงินที่กอบโกยไป เอาไปไหนหมด
พอเสียทีเถิดครับ ที่ผู้มีเงินและอำนาจมีสันดานโกหก พอเสียทีเถิดครับกับความอดทนของคนไทย ลุกขึ้นฉีกอก พวกสันดานโกหกกันได้แล้ว!
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////////////////
ทั้งนี้ คดีดังกล่าวสืบเนื่องจากนายชนะพล การดำริห์ และพวกรวม 24 คน ซึ่งเป็นเกษตรกรปลูกพืชสวนและเลี้ยงสัตว์ในพื้นที่ ต.บางระกำ ยื่นฟ้องกรมชลประทานต่อศาลปกครองกลาง กรณีที่ยอมเปิดประตูระบายน้ำคลองพระยาบรรลือ คลองพระพิมล คลองมหาสวัสดิ์ ตามที่ถูกชาวบ้านที่อยู่ด้านเหนือ อ.บางเลน ประกอบด้วยพื้นที่ จ.นนทบุรี ปทุมธานี กดดัน เพื่อระบายน้ำที่ท่วมขัง
โดยศาลปกครองเห็นว่า กรมชลประทานมีหน้าที่บริหารจัดการน้ำของประเทศ ซึ่งในเดือนพฤศจิกายน 2549 เกิดน้ำท่วมใหญ่ กรมชลประทานอ้างมีแนวทางปฏิบัติในการระบายน้ำทั้งหมด 8 ขั้นตอน แต่ปรากฏข้อเท็จจริงว่ากลับไม่ได้ใช้แนวทางปฏิบัติดังกล่าวอย่างมีประสิทธิภาพ โดยเมื่อมีน้ำปริมาณมหาศาลค้างอยู่ด้านเหนือ ต.บางระกำ นานถึง 2-3 เดือน กรมชลประทานควรเร่งระบายน้ำ ด้วยการเปิดประตูระบายน้ำตามแผนการระบายน้ำอย่างเหมาะสม พร้อมใช้เครื่องสูบน้ำขนาดใหญ่ ขุดลอกคูคลองในเขตรับผิดชอบ บริหารจัดการน้ำไปยังด้านที่มีอุปกรณ์ที่มีเครื่องมือทันสมัยในการระบายน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ เช่น ด้านตะวันออก คือแม่น้ำบางปะกง
แต่กลับระบายน้ำลงมาด้านตะวันออก ซึ่งไม่มีอุปกรณ์ทันสมัยด้วยปริมาณน้ำที่ใกล้เคียงกันหรือมากกว่าทิศตะวันตก อีกทั้งยังพบว่า ไม่มีการแจ้งเตือนประชาชนผู้อยู่อาศัยในเส้นทางน้ำไหลผ่าน เช่น ใน ต.บางเลน ให้เฝ้าระวังและเตรียมแผนรองรับน้ำไหลบ่าอย่างเหมาะสม และเมื่อไม่สามารถบริหารจัดการน้ำค้างทุ่งได้ เพราะถูกกดดันจากผู้ได้รับความเดือดร้อนจากภาวะน้ำท่วม จึงเปิดประตูระบายน้ำทั้งหมดในคราวเดียวกัน เป็นเหตุให้น้ำไหลบ่าเข้าที่ดินทำกินของผู้ถูกฟ้องทั้ง 24 คน ภายใน 2 วัน ท่วมขังอยู่นาน 60 วัน ซึ่งพื้นที่สวนที่อาศัยของผู้ฟ้องคดีทั้งหมด ไม่เคยประสบภาวะน้ำท่วม แม้แต่ปี 2538 ที่มีเหตุน้ำท่วมใหญ่
ประกอบกับพบว่า กรมชลประทานไม่เคยมีหนังสือแจ้งเตือนภัยไปยังผู้ว่าราชการจังหวัดนครปฐม ให้ระวังภัยน้ำท่วมอันเนื่องมาจากการปล่อยน้ำจากเขื่อนต่างๆ จึงฟังได้ว่ากรมชลประทานกระทำการโดยประมาท ปราศจากความระมัดระวัง ทั้งที่เป็นหน่วยงานทางปกครองที่มีความรู้ในการบริหารจัดการน้ำโดยตรงของประเทศ กลับไม่ใช้ความเป็นมืออาชีพบริหารจัดการน้ำอย่างมีประสิทธิภาพ ทำให้แรงน้ำมหาศาล พังทลายคันดินของผู้ถูกฟ้องทั้งหมด เข้าท่วมพื้นที่ทำกินได้รับความเสียหายจริง ถือเป็นการกระทำละเมิดต่อผู้ถูกฟ้องทั้งหมดตามนัยมาตรา 420 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นเหตุให้ต้องรับผิดชอบผลแห่งการกระทำละเมิด โดยต้องชดใช้ค่าเสียหายให้แก่ผู้ถูกฟ้องคดีตามความเสียหายจริง พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 7.5 ของเงินต้นของแต่ละคน นับแต่วันที่ 10 พ.ย. 2549 อันเป็นวันทำละเมิดเป็นต้นไป จนกว่าจะชำระเสร็จ โดยให้ชำระให้แล้วเสร็จภายใน 30 วันนับแต่วันที่มีคำพิพากษาถึงที่สุด
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับคดีนี้นอกจากศาลจะให้คู่กรณียื่นคำชี้แจงและรายละเอียดความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตรแล้ว ศาลยังแสวงหาข้อเท็จจริงเกี่ยวกับราคาสินค้าและผลผลิตของพืช และสัตว์ในแต่ละชนิด จากแหล่งต่างๆ เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จะนำมาคิดคำนวณความเสียหายที่ผู้ถูกฟ้องคดีควรได้รับการชดใช้ อีกทั้งคำสั่งในการให้กรมชลประทานชดใช้ค่าเสียหายก็มีการระบุรายละเอียดความเสียหายในแต่ละรายการอย่างชัดเจน
เช่น ผู้ถูกฟ้องที่ 13 น.ส.พรวิสา เปาวะสันต์ ปลูกตะไคร้บนเนื้อที่ 1 ไร่ ค่าเสียหาย 1 หมื่นบาท พิเคราะห์ถ้อยคำน.ส.พรวิสาในชั้นไต่สวนเปรียบเทียบกับเอกสารท้ายฟ้องและข้อมูลจากเว็บไซต์พบว่า ตะไคร้ให้ผลผลิต 2 ตันต่อไร่ มีรายได้ทั้งหมด 15,000-20,000 บาทต่อไร่ จึงกำหนดให้ตามคำขอเป็นเงิน 10,000 บาท แต่เนื่องจากได้รับเงินช่วยเหลือตามมติคณะรัฐมนตรีไปแล้วบางส่วน จึงให้หักเงินช่วยเหลือออกจากค่าเสียหาย คงเหลือ 7,521 บาท ส่วนคำขอค่าป้องกันน้ำท่วมจำนวน 4,500 บาท ศาลไม่รับเนื่องจากยื่นขอเมื่อพ้นระยะเวลาฟ้อง อย่างไรก็ตาม วงเงินความเสียหายที่ศาลมีคำสั่งให้กรมชลประทานชดใช้ให้ผู้ถูกฟ้องทั้ง 24 คนนั้น ยอดต่ำสุดอยู่ที่ 7,521 บาท สูงสุดอยู่ที่ 1,949,580 บาท รวมเป็นเงินที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้ง 24 คนจะได้รับ 8,261,211 บาท
เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากคดีนี้
1.) รัฐหรือหน่วยงานของรัฐไม่มีสิทธิ“โกหก”ประชาชน ไม่มีสิทธิอ้างหรือกระทำการที่ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยไม่แจ้งเตือนตามขั้นตอนการปฏิบัติ การฟ้องร้องของประชาชนกลุ่มนี้ นับเป็นแบบอย่างที่ดี ที่ช่วยปกป้องวิถีชีวิตและการทำมาหากินของตัวเองจากความสะเพร่าของหน่วยงานรัฐ
2.) กรณีเทียบเคียงกัน ที่ไม่ทราบว่ามีการฟ้องร้องหรือไม่ คือ นิคมอุตสาหกรรมนวนคร ที่ตอนเช้า โฆษก ศปภ.ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ประกาศว่าน้ำไม่ท่วม โรงงานจึงเปิดทำการปกติ คนงานก็ไปทำงานปกติ ปรากฏว่าตกบ่าย มีประกาศให้ “อพยพ” และหลังจากนั้นไม่นาน น้ำก็ถาโถมเข้าท่วม ชนิดโรงงานขนย้ายอะไรแทบไม่ได้เลย คนงานเอาชีวิตรอดออกมาได้ ไม่เหยียบกันตายก็บุญโขแล้ว บางคนแทบไม่มีโอกาสวกกลับไปบ้าน เพื่อเก็บข้าวของให้พ้นจากการถูกน้ำท่วม
3.) ใช่...รัฐบาลไม่ได้ทำให้น้ำท่วมใหญ่ในปีนั้น แต่รัฐบาลไม่มีการป้องกันที่มีประสิทธิภาพ ซ้ำร้าย ให้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อน ความเสียหายที่ไม่ควรเกิดก็เกิด เช่น นิคมอุตสาหกรรมนวนคร หากรัฐให้ข้อมูลที่แม่นยำว่า การจัดการป้องกันน้ำของตนไม่อาจรับประกันได้ว่า น้ำจะเข้าท่วมหรือไม่ โรงงานทั้งหลายคงปิดทำการ ขนย้ายเครื่องจักรหรืออุปกรณ์สำคัญให้พ้นน้ำ คนงานคงมีเวลาปกป้องบ้านและทรัพย์สินมากกว่านี้ แต่เพราะคำเตือนของรัฐที่นำมาซึ่งความเชื่อมั่น แต่พลัน “ความฉิบหาย”ก็มาเยือน สุดท้าย รัฐก็ลอยนวล ด้วยการเอาเงินภาษีไปอุดปาก โดยเรียกมันว่า “ค่าเยียวยาและฟื้นฟู” แต่ไม่มีใครเอาผิดในทางกฎหมายเลย
4.)ข้อมูลปรากฏชัดว่ารัฐบาลยิ่งลักษณ์อั้นน้ำในเขื่อนไว้ เพื่อให้ชาวนาใต้เขื่อนได้เก็บเกี่ยวข้าว เพื่อเข้า “จำนำ”กับรัฐ อยากให้โครงการรับจำนำข้าวเป็น“นางเอก”ของท้องเรื่องในปีแรกที่มาเป็นรัฐบาล สุดท้าย ความฉิบหายจากน้ำที่อั้นไว้ โครงการรับจำนำข้าวที่เธอเลือกก่อนเร่งระบายน้ำ ช่วยอะไรได้ไหม? นอกจากช่วยไม่ได้แล้ว ยังนำความฉิบหายสู่ตลาดค้าข้าวของไทย และเงินงบประมาณแผ่นดินก้อนมหาศาล โดยที่“ชาวนา”ซึ่งถูกอ้าง ได้แค่“เศษเงิน”ที่ถมลงไปในโครงการ
5.) แทนการยอมรับ กลับจัดตั้ง “ขบวนการตอแหล” ปล่อยข่าวและให้คนเสื้อแดงแก้กรรมว่า“รัฐบาลเก่ากักน้ำไว้กลั่นแกล้ง” ซึ่งน่าประหลาดที่คนไทยจำนวนไม่น้อย ก็ยอมรับข้อมูลตอแหลๆ นี้โดยไม่ต้องคิด
6.) เช่นเดียวกับเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา ที่นายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาด รองโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีนายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ผู้ร้องต่อศาลปกครอง กรณีโครงการบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาท โดยระบุว่า ที่ผ่านมาได้ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครอง พร้อมกับที่ทางรัฐบาลยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลปกครองไป โดยขอให้ศาลวินิจฉัยคำขอท้ายฟ้องให้ครบถ้วน โดยเฉพาะการขอให้ยกเลิกหรือเพิกถอนแผนบริหารจัดการน้ำ 3.5 แสนล้านบาททั้งหมดว่า สถานการณ์น้ำท่วมในจังหวัดจันทบุรีและนครราชสีมานั้น นับเป็นบทเรียนราคาแพงอีกชิ้นหนึ่งของประเทศ ซึ่งเหตุการณ์น้ำท่วมดังกล่าวส่งผลให้มีผู้เสียชีวิต และประชาชนได้รับความเดือดร้อนจำนวนมาก วันนี้หากโครงการนี้ยิ่งเดินช้ามากเท่าไหร่ ประชาชนและประเทศชาติก็จะยิ่งเดือดร้อนมากเท่านั้น ไม่มีเหตุผลที่ดีเลยหากโครงการนี้จะต้องล้มลง
“น้ำท่วมปี 2554 ยังไม่เข็ด ยังจะนอนขวางลำ ไม่ให้รัฐบาลมาแก้ไข ประเทศไม่เดินหน้า ประชาชนลอยคออยู่กลางน้ำ แต่คนพวกนี้ กลับแหกปากตะโกน ไล่ไม่ให้รัฐบาลเข้ามาบริหารจัดการ ทั้งที่รัฐบาลพยายามเสนอมาตรการในการบริหารจัดการ ตนรู้สึกเสียใจที่ประเทศนี้มีสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อนที่ควรจะเป็นผู้ใกล้ชิด เข้าใจธรรมชาติ รวมถึงรับรู้ปัญหาภัยพิบัติต่างๆ ทำไมยังมองไม่ออกถึงวิธีการแก้ไข โครงการนี้รัฐบาลจัดมาเพื่อป้องกันภัยพิบัติทางธรรมชาติ ป้องกันประเทศ มุ่งเน้นแก้ไขปัญหาเรื่องน้ำทุกรูปแบบ แต่พวกนี้ออกมาเป็นตัวตั้งตัวตีที่จะล้มโครงการผ่านศาลปกครอง ซึ่งเหมือนเป็นผู้ที่ทำให้เขื่อนแตกเสียเอง” นายอนุสรณ์ กล่าว
7.) ถามนายอนุสรณ์ เอี่ยมสะอาดหน่อยว่า เนื้อหาในแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐบาลส่วนไหน ที่เป็นโครงการป้องกันน้ำท่วมจังหวัดจันทบุรีกับนครราชสีมาเอาไว้เป็นการเฉพาะบ้าง แจกแจงให้ดูหน่อยสิ ไม่ใช่คอยแต่จะตวัดลิ้นเลียตะปิ้งปูโดยไม่ดู “ความจริง” ว่าสิ่งที่คุณศรีสุวรรณไปร้องต่อศาลนั้น เพียงเพื่อให้รัฐบาลทำงานตาม”ขั้นตอนและกฎเกณฑ์ของรัฐธรรมนูญ” แค่ชนะเลือกตั้งมา ก็ถือว่า“ใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ” กันแล้วหรือ รัฐธรรมนูญกำหนดว่า ให้แถลงผลงานทุกๆ ปี นางยิ่งลักษณ์ไม่ปฏิบัติ ไม่เห็นอนุสรณ์ทวงแทนประชาชนสักที นี่ก็เหมือนกัน รัฐธรรมนูญกำหนดว่า โครงการของรัฐที่อาจส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม สุขภาพ และหลักแหล่งชุมชนของประชาชน ให้ดำเนินการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนก่อน จึงจะทำได้
ถามว่า การที่คุณศรีสุวรรณขอให้ศาลช่วยชี้ เพื่อปกป้องขั้นตอนตามบทบัญญัตินี้ อันเป็นการปกป้องประชาชน ผิดตรงไหน และยากตรงไหนที่รัฐบาลพรรคเพื่อไทยจะปฏิบัติตาม อย่าตอแหลอ้างว่าจะล่าช้าเลย เพราะตั้งแต่ได้รับอนุมัติจากศาลให้ดำเนินการกู้เงิน 350,000 บาทได้ ก็ไม่เห็นจะกู้กัน ไม่เห็นจะทำอะไรเป็นชิ้นเป็นอัน ตลอดปี 2555 ที่ผ่านมา ดังนั้น ถ้าจะโทษ ก็โทษตัวเองดีกว่า ลดความหนาของหน้าลงมา พูดกันเฉพาะความจริงในหลักการที่ถูกต้องเถอะ
8.)เช่นเดียวกับคราบน้ำมันดิบที่ถาโถมเข้าปกคลุมอ้าวพร้าว เกาะเสม็ด จังหวัดระยอง ทั้งๆ ที่ก่อนหน้านั้น รอง กก.ผจก.ใหญ่ บมจ. PTT โกลบอลเคมีคอล ให้สัมภาษณ์ว่า "ผมขอเรียนข่าวดีครับ เรากำจัดน้ำมันเสร็จสิ้นแล้ว ตอนนี้ท้องทะเลกลับมาใสเหมือนเดิมแล้วครับ" เป็นภาพที่ฟ้องถึง “การโกหก” อย่างน่ารังเกียจ
9.) ขณะที่ นายสมศักย์ ภูรีศรีศักดิ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ก็มีความเห็นว่า "เรื่องท่อน้ำมันรั่ว เหมือนสื่อจะห่วงมากเกินไป เป็นเรื่องนิดเดียว ผลกระทบกับการท่องเที่ยวก็ไม่น่าจะมาก"
10.) กรณีน้ำท่วม หากรัฐบาลให้ข้อมูลที่ตรงไปตรงมา ประชาชนเขาจะได้หาหนทางรักษาชีวิตและทรัพย์สินของเขาได้ทันท่วงที ไม่ต้องมีความเสียหายถึงขั้นหมดเนื้อหมดตัวกันไปหลายราย เช่นเดียวกับเรื่องน้ำมันดิบนี้ หากให้ข้อมูลกันอย่างจริงจัง เปิดเผย ทุกๆ ฝ่ายที่เกี่ยวข้องจะได้ลุกขึ้นป้องกันความเสียหายและช่วยกันรุมแก้ปัญหาอย่างรวดเร็ว ความเสียหายคงไม่มากเท่านี้
11.) รัฐบาลที่สนุกกับการพูดคำสวยๆ อย่าง“นิติรัฐ-นิติธรรม” เอกชนที่ชอบอ้าง “ธรรมาภิบาล” แต่กลับมีสันดานโกหกตอแหล อย่างรัฐบาลยิ่งลักษณ์ และ บมจ. PTT โกลบอลเคมีคอล สังคมควรลุกขึ้นแสดงความรังเกียจ เอาโทษ และเรียกร้องความรับผิดชอบให้จงหนัก
12.) เรื่องสำคัญที่ต้องขยายผลจากคำพิพากษาคดีข้างต้น คือ การไม่ระบายน้ำไปทางทิศตะวันออกของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีระบบการระบายน้ำที่ดีกว่าเลย เป็นเพราะอะไร? ไปติดที่ดิน บ้าน คอนโดมิเนียม หรือโครงการของนักธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ที่ไปสุมหัวกัน ว.5 ที่ชั้น 7 โฟร์ซีซั่นใช่หรือไม่ และแผนบริหารจัดการน้ำที่จะใช้เงินถึง 350,000 ล้านบาท ก็ยังปกป้องฝั่งตะวันออกนั้นอยู่ใช่หรือไม่ ทั้งๆ ฝั่งตะวันออกนั้น พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ท่านเคยทรงให้ใช้เป็นแนวระบายน้ำที่มีประสิทธิภาพมาก่อนมิใช่หรือ
เราจะอยู่กันยังไง ในประเทศที่ “คำโกหก” เป็นใหญ่และถูกผลิตขึ้นมาปกปิดความระยำตำบอนกันอย่างต่อเนื่อง
ข้าวเน่าเอาไปแจกประชาชนที่พังงากับกระบี่ ก็เงียบหายไป ไม่เห็นผลการไต่สวนหรือเอาผิดใครเลย ข้าวปนเปื้อนสารพิษหรือไม่ ก็จบลงอย่างง่ายดายที่นายกฯ กินข้าวโชว์ 2-3 คำ น้ำมันดิบทะลักทำลายสิ่งแวดล้อมระยอง ทะเลไทยและสถานที่ท่องเที่ยวขึ้นชื่อ ปตท.ซึ่งร่ำรวยมหาศาล กลับมิได้แสดงเทคโนโลยี ผู้เชี่ยวชาญ หรือศักยภาพในการจัดการกับปัญหา ต้องใช้ทหารเรือ กระดาษซับมัน และถังตักน้ำมันเข้าแก้ แล้วเงินที่กอบโกยไป เอาไปไหนหมด
พอเสียทีเถิดครับ ที่ผู้มีเงินและอำนาจมีสันดานโกหก พอเสียทีเถิดครับกับความอดทนของคนไทย ลุกขึ้นฉีกอก พวกสันดานโกหกกันได้แล้ว!
ที่มา.นสพ.แนวหน้า
/////////////////////////////////////////////////////////////