นับกาลล่วงเลยผ่านยาวนานถึง 78 ปีแห่งการปฏิวัติสยามประเทศ ก้าวข้ามการเปลี่ยนระบบสังคมเก่า เข้าสู้อุดมคติแห่งการปกครองของเสรีชนผู้ใฝ่ฝัน “ประชาธิปไตย” โดยนักปกครองหัวสมัยใหม่ขณะนั้น ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนาม “คณะราษฎร” เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475
เป็นที่ทราบกันดีเหตุการณ์ในวัน นั้นเต็มไปด้วยความสุ่มเสี่ยงล่อแหลม มากมายเพราะอาจซ้ำรอย “กบฏ ร.ศ. 130” ซึ่งจะว่าไปก็ถือเป็นเหตุการณ์ที่สืบเนื่องกันมานั่นเอง
แต่แล้วเหตุการณ์ต่างๆ กลับผ่านพ้นไปด้วยดี ไพร่ฟ้าได้มาซึ่งอำนาจในการปกครองตามสิทธิเสรีภาพในแบบประชา ธิปไตย
ซึ่งภายหลังคณะราษฎรได้ประกาศหลัก 6 ประการของคณะราษฎรขึ้น โดยปรากฏอยู่ในประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1 และถือเป็นนโนบายของคณะกรรมการ ราษฎรชุดแรกในระบอบประชาธิปไตยของ ประเทศสยาม
และหลัก 6 ประการนี้ มีสรุปคำ ใจความหลักคือ “เอกราช ปลอดภัย เศรษฐกิจ เสมอภาค เสรีภาพ การศึกษา”
หลัก 6 ประการสามารถประมวลได้ดังนี้
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้ง หลาย เช่น เอกราชในบ้านเมือง ในทางศาล ในทางเศรษฐกิจของประเทศไว้ให้มั่นคง
2.จะรักษาความปลอดภัยในประเทศ ให้การประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
3.จะต้องบำรุงความสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจไทย รัฐบาลใหม่ จะ พยายามหางานให้ราษฎรทำโดยเต็มความสามารถ จะร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4.จะต้องให้ราษฎรได้มีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่ให้พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่า ราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5.จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 4 ประการ ดังกล่าวแล้วข้างต้น
6.จะต้องให้มีการศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร
หลัก 6 ประการที่กล่าวมานี้คือแบบแผนของประชาธิปไตย ที่เชื่อว่าจะนำมาซึ่งความสงบสุขของประชาชนตามแนวคิด ของผู้ที่เรียกร้องประชาธิปไตยในสมัยนั้น ก่อนที่จะถูกปล้นโดยรัฐบาลทหารใน ยุคต่อมา
ซึ่งนับเวลาที่ล่วงเลยมา 78 ปีที่ผ่านมานี้หลัก 6 ประการแห่งประชา ธิปไตยกลับเลือนหายไปอย่างสิ้นเชิง เพราะประชาธิปไตยที่เรารู้จักกันอยู่ เช่นตอนนี้กลับเหลือแค่เสรีภาพ... อิสระในการสนองความต้องการส่วนตัว โดยอ้างว่า... “เพื่อประชาธิปไตย” จนทำให้งงกันไปหมดแล้วว่าไอ้ประชาธิป ไตยที่ว่าอยู่บนพานใบเดียวกันหรือเปล่า
ทุกวันนี้เราจะเห็นหลัก 6 ประการก็แต่เพียงที่เป็นสัญลักษณ์ทางประติมากรรมเท่านั้นอย่างเช่นการออกแบบป้อมกลางของอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยให้มีประตู 6 ช่องและพระขรรค์ 6 เล่ม หรือศาลากลางจังหวัดพระนคร ศรีอยุธยา สถาปัตยกรรมแบบคณะราษฎร มีเสาใหญ่หกเสาด้านหน้า ซึ่งอ้างอิงถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร
แต่เสาหลักของประชาธิปไตยได้ ถูกหักโค่นไปนานแล้วโดยที่เราเองกลับ ไม่รู้ตัว เพราะสำคัญผิดแต่ความต้องการ สนองอารมณ์ตัวเอง
ที่มา.สยามธุรกิจ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น