--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

พวกปัญญาชนผู้รอบรู้ เคยหัวเราะเยาะทักษิณแต่นโยบายเศรษฐกิจแบบ ประชานิยมของเขากำลังได้รับความนิยมแพร่หลายในเอเชีย

ในศัพท์ทางการเมือง คุณทักษิณ ชินวัตรไม่ได้เป็นอะไรไปมากกว่า “ผู้สูญเสียอำนาจ” เมื่อสองอาทิตย์ที่แล้ว
อดีตนายกรัฐมนตรีแอบดอดเดินทางไปต่างประเทศมุ่งสู่คฤหาสน์หลังงามในอังกฤษของเขาอย่างเงียบๆ

 เป็นการจบความคาดหวังที่เคยคาดการณ์ไว้ว่าการกลับคืนสู่มาตุภูมิด้วยความภาคภูมิใจในชัยชนะของเขาเมื่อเดือนมกราคมอาจเป็นลางบ่งบอกถึงการหวลกลับคืนสู่เวทีการเมืองระดับชาติอีกครั้งจากที่ต้องลี้ภัยอยู่หลายเดือน
หลังถูกโค่นล้มอำนาจจากการทำรัฐประหารอย่างไม่เสียเลือดเนื้อเมื่อปี 2549

คุณทักษิณได้ออกแถลงการณ์ถึงสาเหตุที่ต้องบินไปยังอังกฤษครั้งนี้ว่า ข้อกล่าวหาเรื่องเส้นสายแห่งการคอร์
รัปชันและข้อกล่าวหาอื่นๆกำลังถูกนำเข้าสู่การพิจาราณาคดีในชั้นศาลไทย “ที่มีธงตั้งไว้แล้วล่วงหน้าเพื่อจัด
การกับผมและครอบครัว” การลี้ภัยแบบคาดไม่ถึงของมหาเศรษฐีพันล้าน(เหรียญสหรัฐ)ผู้สร้างฐานะด้วยตน
เองครั้งนี้ก่อให้เกิดการถกเถียงถึง ความถูกต้องของข้อกล่าวหาที่เขากำลังเผชิญอยู่ ทั้งเรื่องที่ทางกรุงเทพฯ
ควรดำเนินการเรื่องการส่งผู้ร้ายข้ามแดนหรือไม่และตัวจักรทางการเมืองของคุณทักษิณในอนาคต

แต่แทบไม่มีการกล่าวถึงผลงานที่อยู่ยืนยงสถาพรของคุณทักษิณเลย นั่นคือ: “การพัฒนาเศรษฐกิจจากฐานราก
” ที่ได้รับความสนใจอย่างกว้างขวางในหมู่ประเทศกำลังพัฒนา ในการโปรโมทตัวเองนิดหน่อยอย่างไม่ต้องอาย
คุณทักษิณประทับตรายุทธศาสตร์การพัฒนานี้ว่า “ทักษิโณมิกส์” ยุทธศาสตร์นี้ถูกนำไปใช้ในการรณรงค์หาเสียง
ว่าเป็นนโยบายเพื่อยกระดับฐานะของผู้มีสิทธิเลือกตั้งในเขตที่เขาลงสมัคร (ชาวไทยชนบท) ให้พ้นจากความ
ยากจน นโยบายทักษิโณมิกส์ถูกนำไปใช้ปฏิบัติจริงหลังจากที่เขาชนะเลือกตั้งกลับเข้ามาเป็นรัฐบาลเมื่อปี
2544 ความคิดริเริ่มของคุณทักษิณได้พลิกฟื้นความเสียหายที่เกิดจากวิกฤติการเงินเอเชียช่วงปี 2540-41
และทำให้ การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศไทยเป็นไปอย่างรวดเร็วจนเป็นที่อิจฉาในภูมิเอเชียตะ
วันออกเฉียงใต้

ปัจจุบันนี้ นโยบายเศรษฐกิจที่หยิบยืมมาจาก“ทักษิโณมิกส์” กำลังถูกนำไปใช้เพิ่มมากขึ้นทั่วทั้งกลุ่มประเทศ
กำลังพัฒนาในภูมิภาคเอเชียเพื่อจัดการกับปัญหาเดียวกันที่เคยระบาดในประเทศไทยช่วงปลายทศวรรษ 1990
และในตอนนี้ได้คุกคามทั่วทั้งภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง: การพึ่งพาตลาดส่งออกจากอีกประเทศหนึ่งมากเกิน
ไป การพัฒนาแบบไม่เท่าเทียมในประเทศและ ช่องว่างของรายได้ระหว่างคนรวยและคนจนที่เพิ่มถ่างมากขึ้น

นักวิพากษ์วิจารณ์ได้ประณามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของคุณทักษิณว่าเป็น “นโยบายประชานิยมที่ผลาญ
เงินงบประมาณอย่างมหาศาล” แต่ผู้ที่ไม่ยอมรับนโยบายของทักษิณเหล่านี้ต้องรีบเปลี่ยนความคิดอย่างรวดเร็ว
เมื่อนโยบายประชานิยมอย่าง การพักหนี้เกษตรกรและกองทุนหมู่บ้านได้กระตุ้นภาคอุตสาหกรรมการผลิตและบริการให้เกิดขึ้นในระดับรากหญ้าและการปรับปรุงสวัสดิการพื้นฐานที่อ่อนแอของประเทศไทยให้ดีขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดให้มีโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาทรักษาทุกโรค(เกือบฟรี) ได้ช่วยปลดปล่อยครัวเรือน
ในชนบทให้เกิดการออมน้อยลงและออกไปจับจ่ายใช้สอยเพิ่มมากขึ้น(ยกระดับการบริโภคภายในประเทศ) คุณทักษิณเรียกยุทธศาสตร์นี้ว่า “การพัฒนาแบบคู่ขนาน” หรือ “การพัฒนาเศรษฐกิจทวิวิถี” ซึ่งกระตุ้นให้เกิดอุปสงค์จากตลาดภายในประเทศมากขึ้นควบคู่ไปกับภาคการส่งออกและมันทำงานได้ผลจริงๆ

แน่นอนว่า หนี้สาธารณะได้เพิ่มสูงขึ้นแต่ก็ชดเชยด้วยอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจและรายได้จากภาษีอากรที่เพิ่มขึ้น เศรษฐกิจของประเทศไทยขยายตัวเกือบ ร้อยละ 6 ต่อปีจากปี 2544-2549 โดยพึ่งพาการลงทุนจากต่างประเทศและการส่งออกที่ลดลงและจริงๆแล้วช่องว่างระหว่างรายได้ของประเทศไทยก็หดแคบลงในขณะที่ระยะ
ห่างระหว่างคนมั่งมีและคนยากจนกลับกว้างมากขึ้นทุกหนแห่งในภูมิภาคเอเชียอย่างเห็นได้ชัด

ระบบคิดในการดำเนินกลยุทธ์ทางเศรษฐกิจของทักษิณในตอนนี้ได้รับการยอมรับนับถือว่าเป็น “ความคิดที่ฉลาดหลักแหลม” นโยบายประชานิยมที่เน้นการเข้าถึงแหล่งทุน โอกาสในการจ้างงานและการบริการสังคมขั้นพื้นฐานสามารถเปลี่ยนโฉมจากภูมิภาคที่เสียเปรียบกลายเป็นเครื่องจักรขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลกได้

ประธานาธิบดีของอินโดนีเซีย ซูซิโล บัมมัง ยุดโดโยโนได้เดินตามรอย “ทักษิโณมิกส์” ในการช่วยเหลือครัวเรือน
ที่ยากจนที่ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรงจากปัญหาราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้นโดยออกมาตราการใช้เงินอุดหนุนพยุง
ราคาน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศเพื่อไม่ให้คนยากจนต้องใช้น้ำมันแพง หรือ นายมันโมฮัน ซิงห์ นายกรัฐมนตรี
ของอินเดียได้ริเริ่มโครงการสร้างงานในชนบทหลายล้านตำแหน่ง ความต้องการในการบรรลุเป้าหมายการเติบโตทางเศรษฐกิจของเขาสะท้อนให้เห็นถึงการเดินตามนโยบายประชานิยมของทักษิณเป็นอย่างมาก หรือ ประธานาธิบดีกลอเรีย มาคาปากัล อาร์โรโย แห่งฟิลิปปินส์ที่ครั้งหนึ่งเคยประกาศว่า “ฉันเป็นสานุศิษย์ของทักษิโณมิกส์อย่างไม่อาย” และนับตั้งแต่ปี 2549 เมื่อจีนเปิดตัวโครงการขนาดยักษ์ใหญ่เพื่อปรับเปลี่ยนทิศทาง

การลงทุนของรัฐที่ต้องการเนรมิตโครงการ “การพัฒนาชนบทตามแนวทางสังคมนิยมรูปแบบใหม่” ขึ้นในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทางปักกิ่งได้ยกเลิกภาษีการเกษตรทั่วประเทศ จัดสรรเม็ดเงินหลายร้อยล้าน(เหรียญสหรัฐ)ให้
กับอุตสาหกรรมในชนบทและนอกจากนี้ยังหาหนทางเพื่อช่วยฟื้นฟูจังหวัดที่ยากจนทางตอนกลางของประเทศ
(ย้อนไปในปี 2003 จีนได้ส่งคณะผู้แทนชุดหนึ่งไปยังประเทศไทยเพื่อศึกษา “ทักษิโณมิกส์” ตามรายงานของ
ทางการจีน)

บรรดาผู้นำของจีนได้ยืนยันถึงความสำคัญของสิ่งที่ประธานาธิบดี หู จิ่นเทาเรียกว่า “การเติบโตที่ก้าวไปพร้อม
กัน” เมื่อครั้งที่สภาประชาชนแห่งชาติจัดการประชุมขึ้นช่วงเดือนมีนาที่ผ่านมาและไม่กี่สัปดาห์ที่ผ่านมา ราย
งานการวิเคราะห์ของจีนและต่างประเทศได้บอกเป็นนัยว่าในเร็วๆนี้ทางปักกิ่งจะเปิดเผยถึงมาตรการทางด้าน
การคลังใน การกระตุ้นเศรษฐกิจขนาดยักษ์ซึ่งพุ่งเป้าไปที่ภาคเศรษฐกิจที่มีข้อเสียเปรียบ

ในฐานะผู้นำชาติอาเซียนที่เป็นผู้บุกเบิกการพัฒนาเศรษฐกิจแบบคู่ขนาน หากไม่ผิดพลาดทางการเมืองแบบมโหฬารอย่างไม่น่าให้อภัยเสียก่อน ทักษิณอาจก้าวขึ้นสู่ “ทำเนียบปูชนียบุคคลแห่งแวดวงนักคิดทางเศรษฐ
กิจผู้ยิ่งใหญ่” ไปแล้ว โดยในช่วงปลายปี 2548 เขาได้ขายกลุ่มธุรกิจโทรคมนาคมขนาดใหญ่ของครอบครัว
ให้กับบริษัทเพื่อการลงทุนของรัฐบาลสิงคโปร์ที่สนนราคา 1.9 พันล้านเหรียญสหรัฐโดยไม่ต้องจ่ายภาษี
ดีลการซื้อขายครั้งนี้พิสูจน์แล้วว่าเป็น ”การวางแผนที่ผิดพลาด” แม้แต่ในประเทศที่มีวัฒนธรรมการเมือง
แบบระบบพวกพ้องที่อะลุ้มอะหล่วยต่อกันอย่างไทย

ในการเปิดเกมรุกโต้ตอบทักษิณครั้งนี้ ได้มีการประสานความร่วมมือกันระหว่างชนชั้นสูงที่เป็นกลุ่มทุนเก่า
พรรคร่วมฝ่ายค้านและผู้มีอำนาจในกองทัพโดยเรียกร้องให้เขาลาออกและจัดแสดงการชุมนุมประท้วงบน
ท้องถนนที่ทำให้กรุงเทพฯเป็นอัมพาตอยู่หลายเดือน

ต่อมา ในวันที่ 19 กันยายน 2549 กองทัพไทยได้ทำรัฐประหารเป็นครั้งที่ 13 นับตั้งแต่ปี 2488 เข้ายึดอำนาจ
การปกครองขณะที่ทักษิณยังอยู่ที่กรุงนิวยอร์คเพื่อกล่าวสุนทรพจน์ที่องค์การสหประชาชาติ
ในตอนแรก รัฐบาลทหารพยายามที่จะเก็บพับ “นโยบายทักษิโณมิกส์” โดยเชิดชูยกย่อง “เศรษฐกิจพอเพียง”
ที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากวิถีชีวิตแบบพุทธขึ้นมาแทน อย่างไรก็ตามปฏิกิริยาสะท้อนกลับอย่างรุนแรงที่เป็น
ไปแบบทันควันทำให้บรรดานายทหารต้องรีบเปลี่ยนแนวนโยบายแทบไม่ทัน แม้กระทั่งโละทิ้งโครงการประกันสุขภาพถ้วนหน้า 30 รักษาทุกโรคของทักษิณเปลี่ยนมาเป็น “รักษาฟรีทุกโรค” แทน รัฐบาลชุดใหม่ของไทย
ได้เดินตามรอยนโยบายของทักษิณด้วยการออกมาตรการลดภาษีน้ำมัน ใช้ไฟฟ้า-ประปาฟรีสำหรับครัวเรือน
ขนาดเล็กและกระทั่งขึ้นรถเมล์-รถไฟฟรี!

รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง สุรพงษ์ สืบวงศ์ลีกล่าวถึงมาตราการที่ออกมาเหล่านี้ว่านโยบาย (6 มาตรการ 6 เดือน)เหล่านี้จะช่วยเพิ่มอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจประจำปีสูงถึงร้อยละ 6 และสามารถลดการใช้จ่ายของ
ครัวเรือนได้ประมาณ 350 เหรียญสหรัฐต่อปีโดยเฉลี่ย

“ผู้ที่นำเสนอนโยบายเหล่านี้มาปฏิบัติจะได้คะแนนเสียงอย่างแน่นอน ส่วนผู้ที่ยกเลิกนโยบายเหล่านี้จะสูญเสียคะแนนเสียงแทน” นิธินัย สิริมัทการ นักเศรษฐศาสตร์อิสระกล่าว
แต่นั่นเป็นเพียงบางส่วนของการอธิบายถึงความนิยมของนโยบายประชานิยมเท่านั้น เมื่อผลงานในอดีตของ
ทักษิณแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม บทสรุปอีกอันที่ตามมาก็คือ “นโยบายคู่ขนานที่เฉียบแหลม” จริงๆแล้วมัน
ทำงานได้ผลนั่นเอง

ความนิยมของนโยบายประชานิยมเท่านั้น เมื่อผลงานในอดีตของ
ทักษิณแสดงได้อย่างยอดเยี่ยม บทสรุปอีกอันที่ตามมาก็คือ “นโยบายคู่ขนานที่เฉียบแหลม” จริงๆแล้วมันทำงานได้ผลนั่น

โดย จอร์จ เวอห์ฟริซส์

นิตยสารนิวส์วีคระหว่างประเทศ
ฉบับวันที่ 23 สิงหาคม 2551
**********************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น