--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพุธที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

งูเห่าตัวแรกในพงหญ้าประชาธิปไตย

ตอนที่แล้วทุกท่านคงทราบถึงสงครามสื่อ และการใส่ไคร้ข้อหาคอมมิวนิสต์ ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ชาติไทยกันไปแล้ว ซึ่งหลังจาก “พระยามโนปกรณ์นิติธาดา” ได้ถือโอกาสสั่งปิดหนังสือของคณะราษฎรแล้ว ก็ได้สร้างวิกฤตการณ์ทาง การเมือง โดยรวบรวมกลุ่มอำนาจเก่าและผู้สนับสนุน หมายกำจัดคณะราษฎรให้สิ้นซาก

โดยพุ่งเป้าไปที่มันสมองอย่าง “ปรีดี พนมยงค์” โดยนายกฯ คนแรกก็ได้เริ่มเดินเกมให้ “ปรีดี” เป็นผู้ร่างโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ซึ่งเมื่อร่างเสร็จแล้ว แม้จะผ่านความเห็นของมติเสียงส่วนใหญ่ แต่ในท้ายที่สุด โครงการเศรษฐกิจ ดังกล่าว กลับถูกโจมตีอย่างหนัก โดยเฉพาะทางสื่อหนังสือพิมพ์ว่าเป็นคอมมิวนิสต์

และนี่คือการใส่ร้ายข้อหาคอมมิวนิสต์อีกครั้งของประวัติศาสตร์ชาติไทยเมื่อ กว่า 60 ปีก่อน!!!

ต่อมาก็มีการตีพิมพ์พระราชวิจารณ์เค้าโครงเศรษฐกิจออกเผยแพร่ ทำให้รัฐบาลของ “พระยามโนปกรณ์” ออกกฎหมายต่อต้านการกระทำอันเป็นคอม มิวนิสต์ กฎหมายนี้ครอบคลุมถึงโครงการทั้งหลายที่มีจุดมุ่งหมายจะเปลี่ยนแปลงสังคม โดยเฉพาะโครงการที่ปฏิเสธหรือเลิกล้มกรรมสิทธิ์ทรัพย์สินส่วนบุคคล จากนั้นก็มี การตั้ง “คณะชาติ” ซึ่งเป็นฝ่ายขุนนางเก่าขึ้นมาทาบรัศมี “คณะราษฎร”

“พระยามโนปกรณ์” เริ่มเดินเกมเข้มข้นขึ้นอีกในพฤษภาคม 2476 เมื่อตั้งนายพล ซึ่งเป็นพระราชวงศ์ให้กลับมาดำรงตำแหน่งสำคัญในกระทรวงกลาโหม และออกคำสั่งให้ย้ายหน่วยทหารที่เกี่ยวข้องกับคณะราษฎรออกไปจากกรุงเทพฯ ต่อมาก็ใช้อำนาจทหารค้นอาวุธทุกคนที่เดินทางมาประชุมสภา ทำให้เกิดความไม่พอใจจากสมาชิกจนทำให้เกิดการอภิปรายอย่างรุนแรง จนเป็นที่มาของการปฏิวัติ ตัวเองของนายกฯ คนแรก เมื่อวันที่ 1 เมษายน 2476 โดยอ้างว่า ครม.เสียงแตก ซึ่งนับเป็นการปฏิวัติครั้งแรกหลังเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เมื่อทำการปฏิวัติเป็นที่สำเร็จแล้ว ก็ตั้งรัฐบาลใหม่ โดยตัว “พระยามโนปกรณ์” รับตำแหน่งนายกฯ อีกครั้ง พร้อมกับแต่งตั้งขุนนางเก่าใน ครม.ทั้งสิ้น ในขณะที่ฝ่ายคณะราษฎรถูกก่อกวนอย่างหนัก ถูกบีบให้ลาออกจากราชการบ้าง ผู้เกี่ยวข้อง ถูกโยกย้ายตลอด รวมไปถึงปิดหนังสือพิมพ์หลายฉบับที่สนับสนุนคณะราษฎร จน ในที่สุด “ปรีดี” ก็ถูกเนรเทศไปฝรั่งเศส......

จนวันที่ 20 มิถุนายน 2476 ภายใต้การนำของ “พระยาพหลพลพยุหเสนา” และ “พลโทแปลก ขีตตะสังคะ” หรือ “หลวงพิบูลสงคราม” (จอมพล ป. พิบูลสงคราม) ซึ่งกำลังเป็นขวัญใจของบรรดาทหารในขณะนั้น ก็ได้กระทำการรัฐประหารเป็นครั้งที่สอง เพื่อป้องกันการต่อต้านการปฏิวัติและเพื่อให้คณะปฏิวัติ ยังคงอำนาจไว้ และขับ “พระยามโนปกรณ์” และพรรคพวกออกไป หลังจากนั้น คณะรัฐประหารพยายามสร้างความนิยมในบรรดาข้าราชการ โดยนำข้าราชการชั้นผู้ใหญ่เข้าดำรงตำแหน่งบริหารและให้ดูแลกระทรวงสำคัญ

และเมื่อมีการโปรดเกล้าฯ ให้เปิดสภา ในวันที่ 21 เมษายน 2476 “พระยาพหล” ก็ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกฯ คนที่สองในระบอบประชาธิปไตย จากนั้นก็เชิญ “ปรีดี” กลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน พร้อมกับตั้งกรรมการสอบสวนกรณีถูกกล่าวหาว่าเป็นคอมมิวนิสต์ ซึ่งต่อมาท่านก็พ้นข้อกล่าวหา พร้อมไปกับการจัดเลี้ยงแสดงความยินดีกับ “ปรีดี” โดยครั้งนั้นสมาชิกสภาทุกคนเฉลี่ยกันออกค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น ไม่มีการใช้เงินหลวง ไม่รู้ว่าเดี๋ยวนี้เขายังมีอยู่หรือเปล่า กับการที่แชร์กันจัดงานเลี้ยง ใหญ่ๆ แบบนี้ หรือดีแต่ใช้เงินหลวง

...ลองนึกภาพเอาว่า ถ้าให้นายกฯ คนแรกของเราใส่เสื้อน้ำเงิน แล้วจะเหมือน ใคร? ก็แบบเนี้ย “งูเห่าดีๆ นี่เอง” แถมยังเป็นงูเห่าตัวแรกในพงหญ้าประชาธิปไตย ด้วย!!!

ที่มา.สยามธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น