--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันศุกร์ที่ 16 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โฟกัสธุรกรรม "3บริษัทผี" ออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำของ นิติกรรมอำพราง "จุดสลบ"ในคำร้องยุบ ปชป.

" ... คณะกรรมการการเลือกตั้งพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัท เมซไซอะฯ ดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างเพียงบางรายการเป็นส่วนน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นนิติกรรมอำพราง มีการประกอบการจริงประมาณ 42 ล้านบาท ... "

" ... คณะกรรมการการเลือกตั้งพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัท เมซไซอะฯ ดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างเพียงบางรายการเป็นส่วนน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นนิติกรรมอำพราง มีการประกอบการจริงประมาณ 42 ล้านบาท ... "

---------------------------------
ที่มา : สรุปจากคำร้องของอัยการสูงสุดที่ยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 14 กรกฎาคมที่ผ่านมา ในประเด็นที่ 3 บริษัท เมซไซอะ บิซิเนส แอนด์ ครีเอชั่น จำกัด ดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างทั้ง 8 โครงการจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงนิติกรรมอำพรางตามข้อกล่าวหา ในส่วนนี้ ระบุพฤติการณ์ที่บริษัทเมซไซอะฯให้ "บริษัทผี" 3 รายออกใบเสร็จรับเงินค่าจ้างทำของ ให้เพื่อนำไปประกอบการเสียภาษี

---------------------------------

นายประจวบ สังขาว ให้ถ้อยคำในประเด็นเกี่ยวข้องกับบริษัท พีทีไอ โพลีน จำกัด (มหาชน) เนื่องจากเมื่อประมาณต้นปี 2547 ในช่วงนั้นได้รับงานทำป้ายหาเสียงเลือกตั้งนายก อบจ.สงขลาให้กับนายนวพล บุญญามณี น้องชายนายนิพนธ์ บุญญามณี ส.ส.สัดส่วน พรรคประชาธิปัตย์ และได้ติดตามเรียกเก็บเงินจากนายนิพนธ์ โดยนายนิพนธ์นัดที่โรงแรมเพรสซิเด้นท์ แยกราชประสงค์ เมื่อไปถึงได้พบนายนิพนธ์ นายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ เลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ประธานกรรมการบริษัท ทีพีไอฯ ซึ่งไปร่วมประชุมเกี่ยวกับการหาเสียงเลือกตั้ง มีการแนะนำให้นายประจวบรู้จักนายประชัย หลังจากนั้นได้ติดต่อเข้า-ออกพรรคประชาธิปัตย์ จนได้รู้จักนายธงชัย คลศรีชัย (ลูกพี่ลูกน้องของนายประดิษฐ์) โดยเข้าใจว่านายธงชัยทำงานให้พรรคประชาธิปัตย์ในลักษณะแม่บ้านของพรรค หลังจากนั้นติดต่อกันเรื่อยมา

ต่อมานายธงชัยได้แจ้งให้ทราบว่าจะมีงานพิมพ์สื่อโฆษณาจากบริษัท ทีพีไอฯให้ทำ จนกระทั่งประมาณเดือนกรกฎาคม 2547 เลขานุการนายประชัยได้ติดต่อว่าจ้างบริษัท เมซไซอะฯทำป้ายโฆษณาสินค้า ในวงเงิน 10 ล้านบาท มีการทำสัญญาผลิตสื่อสิ่งพิมพ์ต่างๆหลายฉบับ จนกระทั่งประมาณปลายปี 2547 นายประจวบได้รับติดต่อจากนายธงชัยว่าบริษัท ทีพีไอฯจะทำสัญญาจ้างบริษัทเมซไซอะฯทำสื่อโฆษณาในวงเงินหลายสิบล้านบาท แต่วิธีการแตกต่างไปจากสัญญาจ้างที่ทำกับบริษัททีพีไอฯก่อนหน้านี้ โดยในสัญญานี้เป็นเพียงใช้ชื่อบริษัท เมซไซอะฯ เข้าทำสัญญาเพื่อรับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯเท่านั้น ส่วนรายละเอียดของเนื้องานนั้น นายธงชัยจะรับไปดำเนินการและประสานกับบริษัท ทีพีไอฯเอง ให้นายประจวบมีหน้าที่เพียงนำเงินทั้งหมดส่งมอบให้กับนายธงชัย นายธงชัยได้แนะนำว่าให้สั่งจ่ายเงินตามเช็คแต่ละรายการไม่เกินรายละ 2 ล้านบาท เพื่อหลีกเลี่ยงการรายงานและตรวจสอบของธนาคารแห่งประเทศไทย และสำนักงานป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน

จากข้อมูลของกรมสรรพกร ภาษีซื้อที่บริษัท เมซไซอะฯยื่นชำระกับกรมสรรพากรในแต่ละเดือนตามแบบแสดงรายการภาษี ภ.พ.30 ที่บริษัท เมซไซอะฯแสดงข้อมูลไว้เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจ กรมสรรพากรยืนยันภาษีซื้อของบริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด บริษัท พีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด และ หจก.สินวัฒนา เอเชีย เอนเตอร์ไพรส์ เป็นใบกำกับภาษีที่มิชอบและไม่มีการซื้อสินค้าหรือบริการระหว่างกันจริง

จากข้อมูลตารางทางการเงิน บริษัท ทีพีไอฯจ่ายเงินให้กับบริษัท เมซไซอะฯประมาณ 252 ล้านบาท จากหลักฐานทางระบบบัญชี บริษัท เมซไซอะฯได้รับเงินจากบริษัท ทีพีไอฯ และนำไปจ่ายให้กับบริษัท ชัยชวโรจน์ ,พีจีซี อินเตอร์เนชั่นแนล และ หจก.สินวัฒนา ประมาณ 90 ล้านบาท ซึ่งข้อมูลนี้ได้ปรากฏในแบบ ภ.ง.ด.53 ด้วยนั้น จากการตรวจสอบเส้นทางการเงินของบริษัท เมซไซอะฯ ไม่ปรากฏทั้งในรายงานฐานะทางการเงินและในระบบบัญชีของบริษัท เมซไซอะฯว่ามีการจ่ายเงินให้กับบริษัททั้ง 3 แต่อย่างใด จึงสอดคล้องกับคำให้การของเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร ผู้ตรวจสอบข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการประกอบการของทั้ง 3 บริษัท แล้วรายงานต่อกรมสรรพากรว่าบริษัททั้ง 3 ไม่มีการประกอบการจริง และกรมสรรพากรได้สั่งเพิกถอนการออกใบกำกับภาษี ทั้งนี้ หจก.สินวัฒนาถูกเพิกถอนการออกใบกำกับภาษี ตั้งแต่ ปี 2548

ส่วนข้อมูลด้านรายจ่ายของกิจการในปี พ.ศ. 2547 บริษัท เมซไซอะฯ ได้แสดงต้นทุนขายไว้ 146,820,335.09 บาท ตามรายการดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการขายและให้บริการ 781,208.89 บาท โดยแสดงว่าเป็นการจ่ายค่าจ้างทำของให้กับ หจก.สินวัฒนาฯ ,บริษัท ชัยชวโรจน์ และบริษัทพีจีซีฯ จำนวนเงิน 82,278,419.95 บาท

ในปี 2548 เดือนมกราคม บริษัท เมซไซอะฯได้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย (ภ.ง.ด.53) กรณีจ่ายค่าจ้างทำของให้บริษัทต่างๆ มูลค่ารวม 93,963,130 บาท รวม 9 บริษัท แต่จากข้อมูลผลการตรวจสอบการประกอบกิจการของผู้ประกอบการทั้ง 3 ราย ได้แก่ หจก.สินวัฒนาฯ (31,440,500 บาท) ,บริษัท ชัยชวโรจน์ (28,015,500 บาท) และบริษัทพีจีซีฯ (30,487,380บาท) ปรากฏข้อมูล ดังนี้

(1) หจก.สินวัฒนาฯถูกเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่มเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2544 จากการตรวจสอบไม่พบการประกอบการ และเป็นผู้มีรายชื่อออกใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นความผิดชัดเจน

(2) บริษัทพีจีซีฯถูกเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม 2550 จากการตรวจสอบการประกอบการในปี 2547-2548 ไม่พบว่าได้ประกอบกิจการและปรากฏเป็นผู้มีรายชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นความผิดชัดเจน

(3) บริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด ถูกเพิกถอนทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อวันที่ 10 กันยายน 2551 จากการตรวจสอบการประกอบการในปี 2547-2548 ไม่พบการประกอบกิจการและปรากฏเป็นผู้มีรายชื่อผู้ออกใบกำกับภาษีไม่ชอบด้วยกฎหมาย ประเด็นความผิดชัดเจน

ข้อมูลการยื่นชำระภาษี
ปี 2543-2546 บริษัท เมซไซอะฯ ได้ยื่นบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลตามกำหนด
ปี 2547 บริษัท เมซไซอะฯ ได้นำส่งภาษีหัก ณ ที่จ่าย โดยนำชื่อบริษัทที่ไม่ได้ประกอบการมาเป็นชื่อผู้รับจ้างของบริษัท และได้ยื่นบัญชีภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีเงินได้นิติบุคคลแล้ว
ปี 2548 ในเดือนมกราคม บริษัท เมซไซอะฯ ได้ยื่นแบบ ภ.ง.ด. 53 เพื่อยื่นแบบนำส่งภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย จำนวน 2,810,793.90 บาท โดยใช้เช็คของบริษัทในการชำระภาษี แต่เช็คที่จ่ายชำระไม่สามารถขึ้นเงินได้ จึงยังเป็นภาษีอากรค้างชำระของบริษัท กรมสรรพากรได้เร่งรัดจัดเก็บตรวจพบว่าบริษัทได้ถูกธนาคารกสิกรไทยฟ้องล้มละลายต่อศาลล้มละลายกลาง ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 21 มิถุนายน พ.ศ. 2551 หลังจากนั้นบริษัทไม่ได้ยื่นภาษีมูลค่าเพิ่มแต่อย่างใด
จากข้อเท็จจริงในประเด็นที่ 3 บริษัท เมซไซอะฯดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างทั้ง 8 โครงการจริงหรือไม่ หรือเป็นเพียงการทำนิติกรรมอำพรางเพื่อโอนถ่ายหรือบริจาคเงินให้พรรคประชาธิปัตย์ตามข้อกล่าวหานั้น

เมื่อพิเคราะห์จากเส้นทางการเงินของบริษัท เมซไซอะฯ พบว่าตามที่บริษัท เมซไซอะฯ โอนเงินให้กับบุคคลในกลุ่มต่างๆ ซึ่งประกอบไปได้วย
(1) กลุ่มนายประจวบ สังขาว และเครือญาติ หรือกลุ่มบุคคลใกล้ชิดกับนายประจวบ สังขาว รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 155,617,800 บาท
(2) กลุ่มใกล้ชิดนายธงชัย คลศรีชัย หรือนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 33,728,000 บาท
(3) กลุ่มบุคคลใกล้ชิดนายนิพนธ์ บุญญามณี รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 46,404,620 บาท
(4) กลุ่มบริษัทห้างร้านที่น่าเชื่อว่าทำธุรกรรมทางการค้าระหว่างกันจริง จำนวน 42,415,705 บาท
ซึ่งบุคคลต่างๆ ตามข้อ (1)-(3) ส่วนใหญ่ให้การสอดคล้องกันว่าเป็นการโอนเงินผ่านบัญชีไม่มีมูลหนี้ใดต่อกัน เมื่อเงินเข้าบัญชีแล้วจะถอนออกในวันรุ่งขึ้นหรือวันเดียวกัน แล้วนำเงินกลับมาให้นายธงชัย คลศรีชัย หรือนายประจวบ สังขาว แล้วแต่กรณี บางรายให้การว่าได้ค่าตอบแทนครั้งละ 500-600 บาท บางรายไม่ได้ค่าตอบแทน จากพยานหลักฐานเส้นทางการเงินดังกล่าวฟังได้ว่า บริษัท เมซไซอะฯประกอบการด้านการผลิตสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์จริงเพียงบางส่วน ประมาณ 42 ล้านบาท และจากเส้นทางการเงินประกอบจากคำให้การของผู้รับการโอนเงินหรือยินยอมให้ใช้บัญชีผ่านเงินจากนายประจวบ สังขาว ทั้งในส่วนของผู้ใกล้ชิดนายธงชัย คลศรีชัย

เมื่อรับเงินมาจากบริษัท ทีพีไอฯแล้ว นายประจวบไม่หักภาษีไว้ก่อนจ่ายเงินให้กับนายธงชัย คลศรีชัย เนื่องจากนายประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ พูดกับนายธงชัย คลศรีชัย ต่อหน้านายประจวบ ว่ารับเงินมาแต่ละครั้งจำนวนเท่าใดให้นำเงินทั้งหมดมาก่อน แล้วจะหักเงินภาษีมาให้ในภายหลัง นายประจวบเชื่อใจเนื่องจากเป็นระดับเลขาธิการพรรคจึงตกลงปฏิบัติตามนั้น ที่นายประจวบรับงานกับบริษัท ทีพีไอฯจริงๆ ประมาณ 10 กว่าล้านบาท เป็นป้ายบิลบอร์ดในพื้นที่ภาคใต้ที่ จ.สุราษฎร์ธานี และหาดใหญ่ประมาณ

5 ล้านบาท ส่วนกรุงเทพ และปริมณฑล อีกประมาณ 5 ล้านบาท ส่วนเงินที่เหลือไม่ได้ทำงานจริง และได้นำไปให้ผู้บริหารพรรคประชาธิปัตย์ และใช้ผลิตป้ายฟิวเจอร์บอร์ดของผู้สมัครแต่ละเขต ซึ่งต้องผลิตให้ในจำนวน 250 ถึง 300 แผ่น ในราคาแผ่นละประมาณ 260 กว่าบาท เริ่มผลิตตั้งแต่ปลายเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2547 บริษัท เมซไซอะฯไม่ได้ทำสัญญากับพรรคประชาธิปัตย์ เนื่องจากเงินที่ใช้ทำป้ายใช้เงินจากยอดที่บริษัท ทีพีไอฯโอนเข้ามาในบัญชีบริษัท เมซไซอะฯ และเมื่อต้องใช้จ่ายอย่างไร จำนวนเท่าไร เพียงแค่บอกกับนายธงชัย ต่อมาเกิดปัญหาเนื่องจากยอดเงินที่ได้รับมาจากบริษัท พีทีไอฯไม่มีหลักฐานการใช้จ่ายเงิน (ใบเสร็จ) โดยเฉพาะภาษีมูลค่าเพิ่มซึ่งต้องชำระทุกเดือน จึงได้ปรึกษากับนายธงชัย ซึ่งได้รับคำแนะนำ และร่วมกันจัดหาใบกำกับภาษีของบริษัท ชัยชวโรจน์ จำกัด, บริษัท พีจีซีฯ และ หจก.สินวัฒนาฯ มาเป็นหลักฐานแสดงต่อกรมสรรพากร โดยคิดค่าใช้จ่ายในอัตรา 4.5% และหักภาษี ณ ที่จ่ายอีก 3%

จากกรณีข้างต้น ประกอบกับข้อมูลทางภาษีของบริษัททั้ง 3 ซึ่งเป็นบริษัทที่กรมสรรพากร และเจ้าหน้าที่กรมสรรพากร6 รายให้การยืนยันว่า ทั้ง 3 บริษัทไม่ประกอบการจริง สอดคล้องกับคำให้การของนายธงชัยที่ให้การว่ารับจ้างงานช่วงจากนายประจวบ ในโครงการจ้างที่ปรึกษาประชาสัมพันธ์งานของบริษัท ทีพีไอฯ โครงการที่ 8 วงเงินตามสัญญาโครงการนี้ 66,875,000 บาท โดยนายธงชัยให้การว่าในการรับจ้างงานช่วงจากนายประจวบไม่มีการทำสัญญาไว้ต่อกัน รับเงินล่วงหน้ามา 20,000,000 บาท ต่อมาทำงานบางส่วนแต่ยังไม่แล้วเสร็จ ทะเลาะกับนายประจวบ สังขาว จึงไม่ได้ส่งมอบงานต่อและไม่ได้คืนเงินให้กับนายประจวบแต่อย่างใด แสดงให้เห็นว่าในโครงการนี้ไม่มีการทำงานจริง ทำให้คำให้การของนายประจวบมีน้ำหนักเพิ่มมากขึ้น

จากคำให้การของนายประจวบ และพยานที่เกี่ยวข้อง ประกอบกับจากเส้นทางการเงินการชำระภาษี และระบบบัญชีของบริษัท เมซไซอะฯ ซึ่งคณะกรรมการการเลือกตั้งพิเคราะห์แล้วเห็นว่า บริษัท เมซไซอะฯ ดำเนินกิจกรรมตามสัญญาจ้างเพียงบางรายการเป็นส่วนน้อย โดยส่วนใหญ่เป็นนิติกรรมอำพราง มีการประกอบการจริงประมาณ 42 ล้านบาท ซึ่งในการประกอบการจริงนี้แบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

1.จัดทำสื่อโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้บริษัท ทีพีไอฯประมาณ 10 กว่าล้านบาท ดำเนินการประมาณเดือนกรกฎาคม 2547
2.ส่วนที่เหลือน่าเชื่อได้ว่าเป็นการจัดทำป้ายหาเสียงให้กับพรรคประชาธิปัตย์

ที่มา.มติชนออนไลน์
------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น