--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2553

78 ปี..18 ฉบับ..นับลงคลอง!

และวันที่สยามประเทศก็ได้มีรัฐธรรมนูญเป็นของตัวเองได้เวียนบรรจบครบรอบมา แล้ว 78 ปีแห่งการเป็นประชาธิปไตย ภายหลัง การเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์มาเป็นการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข78 ปีเรามีรัฐธรรมนูญมาแล้ว 18 ฉบับ ในขณะที่ประเทศอื่นๆ อย่างสหรัฐอเมริกาใช้ เพียง 1 ฉบับ สำหรับการก่อร่างสร้างประเทศ ในเวลา 223 ปี คือใช้มาแต่ต้นถึงปัจจุบัน

จะว่าไปแล้วการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ น่าจะนำไปสู่การพัฒนาที่ดีขึ้นมิใช่หรือ???... แต่เหตุใดประชาธิปไตยบ้านนี้เมืองนี้ถึงย่ำอยู่ กับที่...หรือที่ถูกน่าจะเรียกว่าถอยหลังลงคลอง เสียมากกว่ารัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวบางฉบับใช้บังคับเป็นเวลานาน เช่น ธรรมนูญการปกครอง ราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502 ซึ่งเกิดขึ้น โดยการทำรัฐประหารของจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ใช้บังคับเป็นเวลา 9 ปีเศษ แต่รัฐธรรมนูญฉบับถาวรหลายฉบับใช้บังคับในระยะเวลา สั้นๆ...อันที่จริงแล้วก็น่าคิดยิ่งนักว่าสาเหตุ ที่ต้องเปลี่ยนแปลงอยู่ที่เนื้อหาซึ่งไม่สอดคล้อง กับหลักประชาธิปไตย หรือไม่ถูกใจคนใช้ หรือเพราะผู้ใช้ใช้แบบผิดๆ มุ่งหาช่องว่างกอบโกย ผลประโยชน์เข้าตัวกันแน่

การฉีกรัฐธรรมนูญ!!!...มักถูกดำเนินการ โดยคณะนายทหารระดับสูง ด้วยกระบวนการ ที่เรียกว่า “กระทำรัฐประหาร” เมื่อคณะรัฐประหาร ซึ่งมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป เช่น คณะปฏิวัติ คณะปฏิรูป หรือคณะรักษาความสงบเรียบร้อย ยึดอำนาจได้สำเร็จก็จะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว แล้วจึงร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวร และเมื่อประกาศใช้รัฐธรรมนูญที่มุ่งจะใช้บังคับเป็นการถาวรแล้วก็จะมีการเลือกตั้ง และตามด้วยการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ ตามวิถีทาง ของรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แต่เมื่อรัฐบาลดังกล่าว บริหารประเทศไปได้สักระยะหนึ่งก็จะถูกทำ การรัฐประหาร และประกาศยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับถาวร แล้วก็ประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราว พร้อมทั้งจัดให้การร่างรัฐธรรมนูญ ฉบับถาวรใหม่อีก หมุนเวียนเป็นวงจรการเมือง ของรัฐไทยมาอย่างต่อเนื่องเป็นเวลานานนับหลายสิบปี เสมือนวังวนที่หาทางออกไม่ได้ของการเมืองไทย....ซึ่งถ้าเป็นละครก็มักเรียก ว่าละครน้ำเน่า แต่เมื่อเป็นการเมืองเราจึงเรียก ว่าเป็น....การเมืองน้ำเน่า!!!

เฉลี่ยแล้ว รัฐธรรมนูญไทยเปลี่ยนแปลง ทุกๆ 4 ปี ต่างจากกรณีของประเทศสหรัฐอเมริกาที่มีรัฐธรรมนูญเพียงฉบับเดียว ซึ่งนับ ตั้งแต่ประกาศใช้ จำนวน 7 มาตรา 55 อนุมาตรา ใน พ.ศ.2332 จนถึงปัจจุบันสองร้อยกว่าปีนั้น ก็มีแต่การแก้ไขให้ทันสมัยเท่านั้น ยังหาได้มีการยกเลิกทั้งฉบับเฉกเช่นกรณีของประเทศไทยแต่อย่างใด อย่างที่กล่าวมาแล้วข้างต้น

จะว่าไปแล้วเรื่องของการแก้ไขรัฐธรรมนูญ ก็เป็นสิ่งที่ทำได้เพราะโลกหมุนเวียนเปลี่ยน ไปทุกวัน การแก้ไขเพื่อให้กฎหมายมีความทันสมัยขึ้นจึงถือเป็นสิ่งจำเป็นอยู่มิใช่น้อย อย่างกรณีของสหรัฐอเมริกา ที่กล่าวมาแล้วนั้น แม้ปัจจุบันยังไม่เคยเปลี่ยนรัฐธรรมนูญลายลักษณ์ อักษร ยังคงใช้ฉบับเดิมมาแต่แรก มีเพียงการ แก้ไขปรับปรุงส่วนที่จำเป็นเท่านั้น ดังนั้น การจะทำให้กลไกหรือมาตรการต่างๆ แต่กฎหมาย ไทยกลับแตกต่างกัน เรามีการฉีกแล้วเขียนรัฐธรรมนูญใหม่มา 18 ฉบับแล้วแต่กฎหมายเก่า ที่ล้าหลังหลายต่อหลายข้อกลับไม่ได้รับการชำระหากลองมาไล่เรียงรัฐธรรมนูญฉบับต่างๆ ได้ดังนี้...

1.พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครอง แผ่นดินสยามชั่วคราว พุทธศักราช 2475

2.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรสยาม พุทธศักราช 2475

3.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2489

4.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2490

5.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2492

6.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2475 แก้ไขเพิ่มเติม พุทธศักราช 2495

7.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2502

8.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511

9.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515

10.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2517

11.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2519

12.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2520

13.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2521

14.ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2534

15.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2534

16.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540

17.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พุทธศักราช 2549

18.รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550

นับมา 78 ปี ประชาชนชาวไทยก็ยังคงรอ ความหวังว่าจะได้รัฐธรรมนูญฉบับของประชาชน โดยประชาชน และเพื่อประชาชน ฉบับสมบูรญ์ ด้วยจิตใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวัง


ที่มา.สยามธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น