วันศุกร์ที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
'ใบตองแห้ง' ออนไลน์: 2553 ปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น
ใบตองแห้ง
ปีที่แล้วจัดอันดับข่าวฮา แต่ปีนี้ที่เกิดเหตุการณ์นองเลือด เข่นฆ่า จับกุมคุมขัง ละเมิดสิทธิเสรีภาพมวลชนอย่างร้ายแรง จึงไม่มีอารมณ์จัดอันดับข่าวฮา ขอสรุปภาพเหตุการณ์ตามใจฉัน (ผม) ก็แล้วกัน
ก่อนอื่นขอชมนักข่าวทำเนียบ นักข่าวสภา ที่ตั้งฉายารัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างตรงไปตรงมา แสดงออกซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระ ของนักข่าวพื้นที่ ไม่แสดงอคติเลือกข้างเหมือนข่าวที่ผ่านการเรียบเรียงและพาดหัวโดยหัวหน้าข่าว บรรณาธิการข่าว
ฉายาที่สะใจนอกจาก ‘ซีมาร์คโลชั่น’ ก็คือ ‘กริ๊ง...สิงสื่อ’ ซึ่งแฉหมดเปลือกว่า สาทิตย์โทรศัพท์สายตรงไปถึงกองบรรณาธิการสื่อของรัฐ ชี้นำกำหนดประเด็นการเสนอข่าว
นี่หรือรัฐบาล ปชป.ที่เคยตีฆ้องร้องป่าวว่า ทักษิณแทรกแซงสื่อ ซื้อสื่อ แต่เปิดหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้เราจะเห็นแต่โฆษณาหน่วยงานของรัฐเต็มไปหมดทุกฉบับ พร้อมกับใบหน้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ (โฆษณาฟรีจากเงินภาษีประชาชน)
ส่วนนักข่าวสภาก็สะใจที่ให้ 40 สว.เป็น ‘ดาวดับ’ ไม่ไว้หน้า สมชาย แสวงการ กับคำนูณ สิทธิสมาน และที่ขำกลิ้งโดยอาจไม่ได้ตั้งใจคือ คนดีศรีสภาได้แก่ ทิวา เงินยวง (ตายแล้ว)
1.ปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น
ทำไมจะไม่ใช่ล่ะ ก็ในเมื่อ CNN ยังยกให้เหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงเป็นอันดับ 1 ใน 20 ข่าวเปลี่ยนแปลงโลกของภูมิภาคเอเชีย
สังคมไทยมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างมุม ตามทัศนะชนชั้น ไม่เฉพาะการชุมนุมและการใช้กำลัง ‘กระชับพื้นที่’ น้ำท่วมใหญ่ปลายปี ก็เจือปน ‘ทัศนะชนชั้น’ เพราะที่ผ่านมาน้ำท่วมเรือกสวนไร่นาทุกปี คนกรุงไม่เคยสนใจ คนอยุธยา คนปทุม ‘ชนชั้นแก้มลิง’ อ่วมอรทัยทุกปี คนกรุงไม่เคยสนใจ แต่ปีนี้ คนกรุงเห็นภาพสดๆ ทางทีวี น้ำหลากเข้าท่วมเมือง โรงพยาบาล บ้านจัดสรรที่โคราช ท่วมตลาดหาดใหญ่ แหม! มันเข้าถึงหัวอกคนชั้นกลางด้วยกัน
นอกจากนี้ยังรวมกระแส ‘กอดต้นไม้’ คัดค้านถนนขึ้นเขาใหญ่ ปลุกคนชั้นกลางให้กอดภูเขา กอดทะเล กอดแม่น้ำ (อนุรักษ์ไว้เพื่อห้กรูไปเที่ยวนอนรีสอร์ท) แต่ไม่ยักอยากกอดเพื่อนมนุษย์
สิ่งที่สะท้อนว่านี่เป็นปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น คือเราสามารถจัดอันดับเรื่องต่างๆ ได้เป็น 2 มุมที่ต่างกันสุดขั้ว เช่น
บุคคลแห่งปี ‘ไพร่’ หรือ ‘คนชั้นกลางเฟซบุค’
อาจพูดได้อีกอย่างว่า พระ(นาง)เอกแห่งปี หรือพระ(นาง)ร้ายแห่งปี
‘ไพร่แดง’ กรีธาทัพเข้าเมืองหลวง ยกขบวนไปทั่วกรุงท่ามกลางการโบกธงต้อนรับของแท็กซี่ สามล้อ มอเตอร์ไซค์ แม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ทำให้คนชั้นกลางวิตกอกสั่น เพราะเพิ่งรู้ว่าคนสวน คนขับรถ แม่บ้านที่ชงกาแฟให้กินทุกวัน ล้วนเป็นเสื้อแดง
‘ไพร่แดง’ ยึดราชดำเนิน ยึดราชประสงค์ ยึดสถานีไทยคม ใช้กำลังคนที่มีแต่สองมือเปล่าปิดล้อมปลดอาวุธทหาร เหตุการณ์ 10 เมษายน แม้ถูกยิงล้มตายราวใบไม้ร่วง แต่มวลชนที่โกรธแค้นก็ลุกฮือไล่ ‘ทหารเสือ’ หนีกระเจิง ทิ้งอาวุธ ทิ้งรถหุ้มเกราะ กระทั่งถอดเครื่องแบบเอาตัวรอด
แม้ต่อมา มวลชนเสื้อแดงถูกปราบด้วยปฏิบัติการกระชับพื้นที่ พร้อม ‘สไนเปอร์’ ใน ‘เขตใช้กระสุนจริง’ พวกเขาก็ยืนหยัดต้านทานอยู่ในวงล้อมจนวาระสุดท้ายอย่างองอาจกล้าหาญไม่กลัวความตาย
แน่นอน ในนั้นมีความมุทะลุ มีความคิดรุนแรง เลยธง บ้าระห่ำ การนำที่สะเปะสะปะ ขาดยุทธศาสตร์ยุทธวิธี แต่สำหรับมวลชน ‘คนชั้นต่ำของแผ่นดิน’ นี่คือวีรกรรมและความเคียดแค้นเจ็บช้ำที่จะจดจำไปตลอดกาล
ขณะเดียวกัน เมื่อ ‘แดงถ่อย’ ยึดราชประสงค์ แหล่งชอปกระหน่ำซัมเมอร์เซล ศูนย์กลางกรุงเทพฯ ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต ทั้งยังอาละวาดบุกที่นั่นที่นี่ ทำลาย ‘ความสงบสุข’ ของคนกรุง ก็เกิดกระแส ‘มวลชนเฟซบุค’ ล่า 1 ล้านชื่อสนับสนุนระบอบอภิสิทธิ์ ให้ใช้กำลังทหารปราบม็อบ หรืออีกนัยหนึ่ง ‘ออกใบอนุญาตฆ่า’ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าจะต้องเกิดบาดเจ็บล้มตายเกลื่อนกลาด แต่ต้องทำ เพื่อ ‘เอาความสุขของกรูคืนมา’
หลังเหตุการณ์ คนชั้นกลางชาวกรุงยังสร้างอารมณ์ร่วมทางชนชั้น หลั่งน้ำตาอาลัยตึกเวิลด์เทรด หวนหาความผูกพันอันโรแมนติกที่มีต่อโรงหนังสยามและโรงเรียนกวดวิชา (ตลอดจนไปเข้าคิวซื้อโดนัทที่สยามพารากอน) พวกเขาและเธอช่วยกันปกป้องอภิสิทธิ์และกองทัพ กระทั่งเขียนไปตอบโต้แดน ริเวอร์ แห่ง CNN อย่าง ‘องอาจกล้าหาญ’ กรี๊ดสนั่น ‘ไก่อู’ เป็นหนุ่มเนื้อหอมแห่งปี
นี่คือ ‘วีรกรรม’ ในทัศนะของคนกรุงเช่นกัน
วีรบุรุษแห่งปี เสธ.แดง หรือร่มเกล้า
วีรบุรุษในภาพรวมทุกชนชั้นเห็นพ้องว่าได้แก่ ‘จ่าเพียร’ ตำรวจดีไม่มีเส้น ผู้ตรากตรำทำหน้าที่จนวาระสุดท้าย
แต่วีรบุรุษทางการเมือง มีช้อยส์ให้เลือก 2 ข้อเช่นกัน คือ เสธ.แดง หรือ พ.อ.ร่มเกล้า
ผมเคยเปรียบเทียบไว้แล้วว่า เสธ.แดงจะเป็น ‘ตำนาน’ ส่วน พ.อ.ร่มเกล้าจะเป็น ‘อนุสาวรีย์’ แม้บ้าระห่ำไร้ทิศทาง มุทะลุไร้ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างไร เสธ.แดงก็ ‘ได้ใจ’ เข้าถึงหัวจิตหัวใจมวลชน งานศพเสธ.แดงมีคนมาไว้อาลัยล้นหลาม เรื่องราวของนายพลขวัญใจคนชั้นล่างคงเล่าขานกันไปอีกนาน ...แต่ไม่ทราบว่ากองทัพสร้างรูปปั้นให้ พ.อ.ร่มเกล้า หรือยัง
ตัวตลกแห่งปี หมอเหวง หรือหมอประเวศ
หมอเหวงออกทีวีกับอภิสิทธิ์ แต่กลับออกทะเลจนคำว่า ‘เหวง’ กลายเป็นศัพท์แสลงใหม่ฮิตในหมู่คนกรุง ขณะที่คนเสื้อแดงเองก็บ่นเซ็งอุบอิบ
หมอประเวศกับอานันท์ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ใช้งบประมาณ 600 ล้าน กระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากทฤษฎีชุมชนนิยมที่พูดไว้ซ้ำซาก จนถูกคนรุ่นหลังถอนหงอกสนุกสนาน ไม่ใช่แค่ ‘คำ ผกา’ แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์หรือผู้สนับสนุนระบอบอภิสิทธิ์ก็ออกอาการเซ็งและอดแซวไม่ได้เช่นกัน
ป.ล.ถ้าเลือกหมอประเวศ ก็รวมอานันท์และกรรมการปฏิรูปทั้งสองชุด
Idol แห่งปี อภิชาติพงศ์ หรือแทนคุณ
แทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้มีภาพลักษณ์ ‘ลูกกตัญญู’ เป็นจุดขาย ทำหน้าที่พิธีกร NBT ตอบโต้ ‘ไพร่แดง’ อย่างแข็งขัน เป็นขวัญใจคนชั้นกลางเฟซบุค ปกป้องระบอบอภิสิทธิ์ และกองทัพ
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ก้าวขึ้นรับรางวัลปาล์มทองที่เมืองคานส์ โดยไม่กล่าวขอบคุณใครให้ยืดยาวแบบไทยๆ แต่กลับขอบคุณ ‘ภูติผีปีศาจ’ พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า การต่อสู้ของเสื้อแดงคือการต่อสู้ทางชนชั้น นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคัดค้านกระทรวงวัฒนธรรมที่ให้งบ 100 ล้านกับหนัง ‘นเรศวร’ เรื่องเดียว
2.สิ่งต่างๆ แห่งปี
ข่าวฮาแห่งปี : น้ำท่วมให้รีบตัก ทันทีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ก็มีคนบอกว่านี่คือ ‘นาทีทอง’ ของรัฐบาล ที่จะเก็บเกี่ยวเยียวยากลบปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ไหนได้ กลับกลายเป็นนาทีทองของสรยุทธ์ กับครอบครัวข่าว 3 แม้จะมีคำถามถึงการทำเกินหน้าที่สื่อ (คือตีปี๊บเฉพาะพื้นที่ที่ตนลงไปช่วย) แต่ก็ทำให้รัฐบาลหน้าแหกเสียรังวัด พิสูจน์ความไร้กึ๋นไร้ประสิทธิภาพ
หัวข่าวฮาแห่งปี : เนวินทอดกฐินโจร ที่จริงต้องยกเป็นข่าวยอดเยี่ยม ด้านให้การศึกษาเด็กและเยาวชนรู้จักประเพณีสำคัญทางศาสนา เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักว่า ‘กฐินโจร’ คือการทอดกฐินตกค้างให้กับวัดที่ไม่มีเจ้าภาพ เมื่อเห็นหัวข่าว ‘เนวินทอดกฐินโจร’ จึงฮือฮา พลิกอ่านแล้วค่อยร้องอ๋อ ที่แท้ทอดกฐินตกค้างให้ 239 วัดในบุรีรัมย์ ถ้าเป็นคนอื่นทอดกฐินโจร ก็คงไม่เรียกความสนใจได้เช่นนี้
หัวข่าวเฮ(โล)แห่งปี : ทักษิณ 1 ใน 5 ผู้นำยอดแย่ แพร่มาจากข้อเขียนของโจชัว คีทติ้ง ในเว็บไซต์นิตยสาร Foreign Policy ในเครือวอชิงตันโพสต์ กลายเป็นพาดหัวข่าวใหญ่แทบทุกฉบับ ขณะที่ข่าวนายกฯ อังกฤษไม่มาเที่ยวเมืองไทยเพราะเกรงจะส่งสัญญาณหนุนอภิสิทธิ์ ตกหายจากหัวข่าวหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ มีมติชนพาดหัวใหญ่ฉบับเดียว
ที่จริงทั้งสองข่าวต้องเสนอแก่ผู้อ่านแต่ไม่จำเป็นต้องเน้นมากนัก เพราะข่าวแรกแค่ทัศนะฝรั่งคนเดียว ข่าวหลังก็อ้างแหล่งข่าวไม่เป็นทางการ เรื่องตลกคือ ถ้าเข้าไปดูในเว็บไซต์ Foreign Policy จะพบว่าข้อเขียนเรื่องอื่นๆ ของคีทติ้งมีคนโหวตพอใจ 20-30 หรืออย่างเก่งก็ 100-200 ราย แต่ข้อเขียนเรื่องนี้มีคนโหวตถล่มทลาย 4 พันกว่าราย คาดว่าเป็นข้อเขียนที่มีคนอ่านมากที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งนิตยสารฉบับนี้มาเลยทีเดียว (คนชาติไหนคงเดาได้)
ไร้สาระแห่งปี : กฎเหล็กของมาร์ค กฎเหล็ก รธน. ขวัญใจจริตนิยมให้เทพเทือกลาออกก่อนลงเลือกตั้ง ชนะแล้วกลับมาเป็นรองนายกฯ ใหม่ จากนั้นก็ใช้กฎเดียวกันบีบให้บุญจง-เกื้อกูล ทำตาม ชนะแล้วกลับมาเป็นรัฐมนตรีใหม่ ถามว่ามีประโยชน์อะไร เพราะข้าราชการหัวคะแนนกำนันผู้ใหญ่บ้านรับรู้ทั่วกัน มี-ตรงที่ทำให้มาร์คได้คะแนนนิยม
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับการแต่งตั้งปลัดมหาดไทย ที่ถูกตีกลับ แต่ก็เพียงเปลี่ยนจากศิษย์ ‘โรงเรียนเนฯ’ เบอร์ 1 มาเป็นเบอร์
2 กลบเกลื่อน
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ 6 ส.ส.พ้นสภาพ เนื่องจากถือหุ้นบริษัทสัมปทานรัฐ ทั้งที่เป็นการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และมีจำนวนน้อยนิด ไม่ส่งผลให้มีสิทธิเสียงในการบริหาร นี่คือกฎเกณฑ์หยุมหยิมจับยายฉิมเก็บเห็ดในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณแผ่นดินจัดการเลือกตั้งใหม่ 5 เขต โดยยังคล้ายคดีสมัครชิมไปบ่นไป พ้นนายกฯ เพราะพจนานุกรม วันรุ่งขึ้นก็ยังมีสิทธิเป็นนายกฯ อีก ในกรณีนี้ 5 ส.ส.เขตยังกลับมาลงเลือกตั้งได้อีก ถามว่าถ้าขาดคุณสมบัติ ผิดจริยธรรมร้ายแรง จนถูกถอดถอนแล้ว ยังให้กลับมาได้อย่างไร คำตอบคือ พวกเขาไม่ได้ขาดคุณสมบัติ และไม่ควรถูกถอดถอนตั้งแต่แรก ถ้าจะวินิจฉัยว่าผิด อย่างเก่งก็คือมี ‘ลักษณะต้องห้าม’ ให้จำหน่ายจ่ายหุ้นเสียแล้วเป็น ส.ส.ต่อไป
บุคคลตัวอย่าง : ธาริต เพ็งดิษฐ์ ถ้าธาริตเป็นผู้ใกล้ชิด ปชป.ก็คงไม่นับเป็นบุคคลตัวอย่าง แต่ธาริตเป็นผู้ใกล้ชิด ทรท.มาก่อน เริ่มจากเป็นอัยการ หน้าห้องคณิต ณ นคร หมอมิ้งดึงไปช่วยราชการสำนักนายกฯ เป็นที่ปรึกษาพันศักดิ์ วิญญรัตน์ แล้วก็ย้ายจากอัยการมาเป็นรองอธิบดี DSI ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งคงจะหวังให้เป็นมือเป็นไม้ แต่กลับได้ขึ้นเป็นอธิบดีในยุคพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค สร้างชื่อเป็นมือปราบ ‘ผู้ก่อการร้ายเสื้อแดง’ ด้วยการสืบสวนสอบสวนแบบ ‘กันไว้เป็นพยาน’ และตีปี๊บข่าวฝึกอาวุธในเขมร กระทั่งได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
นี่คือ ‘บุคคลตัวอย่าง’ ที่เยาวชนคนรุ่นหลังต้องจดจำและเลียนแบบ ถ้าอยากจะได้ดิบได้ดีในสังคมนี้
สถาบันตัวอย่าง : ม.รังสิต รักพี่เสียดายน้อง เลือกยากจริงๆ ธรรมศาสตร์เลือกอธิการบดีได้สมคิด เลิศไพฑูรย์ สืบทอดเก้าอี้สุรพล นิติไกรพจน์ จุฬาฯ ยึดป้ายนักศึกษาประท้วงอภิสิทธิ์ ขณะที่นิด้าของสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ต้องยกให้เป็น ‘ดาวค้างฟ้า’ บทบาทไม่ตกฟาก
อย่างไรก็ดี สุดท้ายขอเลือก ม.รังสิต เพราะออกแถลงการณ์ 3 ฉบับในนามมหาวิทยาลัย คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา เปล่า ไม่ติดใจเนื้อหาหรอก แต่แถลงการณ์ลงชื่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กับ ดร.สมปอง สุจริตกุล แค่ 2 คน! รู้สึกประทับใจที่ 2 คนลงชื่อแทนทั้งมหาวิทยาลัยได้ (ถ้าใช้คำว่าบริษัทมหาวิทยาลัยรังสิต จำกัด จะไม่แปลกใจเลย)
คดีส่งผลสะเทือนแห่งปี : 3G คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุดที่ทำแท้งการประมูลใบอนุญาต 3G เป็นคดีที่ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวาง รุนแรง ลึกซึ้ง ยาวนาน ผลการตีความของศาลทำให้การแข่งขันเสรีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีก้าวสำคัญต้องชะงักงันไปเป็นปีๆ ขณะที่ ทศท.กสท. (ภายใต้กำกับของจุติ ไกรฤกษ์) สามารถนำคลื่น 3G ที่มีอยู่แล้วมาเปิดสัมปทานได้ กลายเป็น tiger eat sleep สบายใจเฉิบต่อไป (ก่อนหน้านี้ก็ได้ค่าสัมปทานคืนมาเพราะยกเลิก พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต) หนำซ้ำ กสท.ยังแบะท่าจะยกคลื่นให้ True ของเจ้าสัวซีพี ชิงความได้เปรียบอีก 2 บริษัทอย่างมหาศาล ทั้งที่ถ้าเข้าประมูลใบอนุญาตกับ กทช.True คือผู้ที่มีความพร้อมน้อยที่สุด
คดีนี้วินิจฉัยโดยองค์คณะที่ท่านหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ‘ศิษย์เอกโกเอ็นก้า’ เป็นตุลาการหัวหน้าคณะ ก่อนขึ้นเป็นประธานศาลปกครองสูงสุดแทน อ.อักขราทร จุฬารัตน์ ในอีก 7 วันต่อมา
คดีกังขาแห่งปี : 29 ล้านกับ 258 ล้าน คดี 29 ล้าน ปชป.ชนะฟาวล์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่า ปชป.ไม่ผิด 4-2 คดี 258 ล้าน ปชป.ชนะฟาวล์ โดยศาลยังไม่ทันไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าเอาตรรกมาเรียบเรียงใหม่ สมมติศาลเห็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยุบพรรค คดีแรก ยังไงๆ ปชป.ก็ไม่ผิด แต่คดีหลังล่ะ ฉะนั้น การชนะฟาวล์จริงๆ แล้วไม่มีประโยชน์ต่อคดีแรก แต่อาจสำคัญมากๆๆ กับคดีหลัง
คดีแรกชนะฟาวล์ด้วยมติ 3-1-2 แต่กลับรวบรัดเป็น 4-2 และเอาความเห็นของ 1 เสียงมาใช้ในคำวินิจฉัยชั่วคราว แต่แก้ไขใหม่ในคำวินิจฉัยค้างคืน คดีหลังถ้ามีตุลาการ 6 คนเท่าเดิม มติก็จะออกมาเป็น 3-3 แต่ ปชป.โชคดีตามเคยที่องค์คณะกลับมาเป็น 7 คน
การอภิปรายไม่ไว้วางใจแห่งปี: ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอภิปรายทักษิณ ฐานทางกฎหมายของคดีนี้คือมาตรา 4 กฎหมาย ปปช.ซึ่งระบุว่า ‘ร่ำรวยผิดปกติ’ หมายถึง ‘ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง’ คำวินิจฉัยพยายามเชื่อมโยงองค์ประกอบ 3 ส่วนเข้าด้วยกันคือ หนึ่ง หุ้นเป็นของทักษิณ สอง มีการแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาที่เกิดประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมกับชินคอร์ป และสาม เกิดในขณะที่ทักษิณเป็นนายกฯ แต่องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไป คือการพิสูจน์ว่าทักษิณใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปสั่งการให้เอื้อประโยชน์ ซึ่งจะเข้าข่ายทุจริตประพฤติมิชอบตามมาตรา 157
คำวินิจฉัยมุ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ไปยังประเด็นที่สอง ว่ามีการแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาให้ได้ประโยชน์โดย ‘ไม่สมควร’ ซึ่งคำว่า ‘ไม่สมควร’ ฟ้องในตัวว่าเป็นเพียงทัศนะหรือความเห็น ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ทางกฎหมาย ไม่ชัดเจนเหมือนคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ ถามว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือไหม-มี เพราะสังคม (แม้แต่ผม) ก็เชื่ออยู่แล้วว่าทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เมื่อเป็นทัศนะหรือความเห็น ก็เป็นสิ่งที่โต้แย้งเห็นต่างได้ ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยว่า ‘ไม่สมควร’ ทั้ง 5 ประเด็น บางคนอาจเห็นด้วยบางประเด็น ไม่เห็นด้วยบางประเด็น หรือไม่เห็นด้วยเลย การแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาในทุกรัฐบาล ก็มีบ่อยครั้งที่เอื้อให้เอกชนได้ประโยชน์ โดยรัฐอาจมองถึงประโยชน์ส่วนรวม เช่น เพื่อให้โครงการลุล่วง รวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการอย่างทั่วถึง หรือเพื่อให้รัฐได้ส่วนแบ่งค่าสัมปทานมากขึ้น กรณีนี้ ประเด็นที่โต้เถียงกันเยอะมากคือ พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต ซึ่งทำให้คลังได้ภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องเข้าปาก tiger eat sleep แต่ศาลเห็นตาม คตส.ว่าเป็นการกีดกันคู่แข่ง
เมื่อไม่ได้พิสูจน์ว่าทักษิณใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงสั่งการ เพียงอนุมานว่า ‘ทักษิณเป็นเจ้าของ ทักษิณเป็นนายกฯ ทักษิณได้ประโยชน์ ซ.ต.พ.’ คำวินิจฉัยจึงไม่ต่างจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ต่างจากที่ อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ พูดไว้ หรือที่พรรคประชาธิปัตย์เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งทำให้สังคมเชื่อ ทำให้สังคมเคลือบแคลงกังขาว่าทักษิณไม่โปร่งใส แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่าจริงหรือไม่
ศาลตีความมาตรา 4 ว่าต้องการข้อสรุปเพียง ‘ไม่สมควร’ ไม่ต้องพิสูจน์ว่า ‘ทุจริต’ การวินิจฉัยคดีนี้จึงกลายเป็นเรื่องของความเห็น ไม่ใช่เรื่องของการพิสูจน์ข้อเท็จจริง คำวินิจฉัยทั้งหมดเป็นความเห็นที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ ที่เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่เราๆ ท่านๆ เคยเคลือบแคลงสงสัยกันมาก่อน เพียงนำมาจัดเรียงใหม่ให้หนักแน่นและเข้าองค์ประกอบของกฎหมายตามที่ศาลตีความ
ให้สังเกตด้วยว่าเมื่อคำวินิจฉัยขาดคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ ก็ทำให้รัฐไม่สามารถยกเลิกสัญญาที่ทำให้ชินคอร์ปได้ประโยชน์โดย ‘ไม่สมควร’ แต่ถ้ามีคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ พิสูจน์ได้ว่าทักษิณแทรกแซงสั่งการ สัญญาเหล่านั้นจะเป็นโมฆะทันที
ช้อยส์แห่งปี : สนธิ ลิ้ม กับวีระ สมความคิด จะเลือกบริจาคกล่องไหน
ช้อยส์แห่งปี (สำหรับตุลาการภิวัตน์) : ชัช ชลวร หรืออภิชาติ สุขัคคานนท์ ใครจะไปก่อน
วาทะแห่งปี : ‘ล้มเจ้า’ ข้อกล่าวหาที่ครอบกะลาหัวมวลชนเสื้อแดง กระทั่งมีแผนผัง ศอฉ.โยงใครต่อใครมั่วไปหมด สาเหตุที่เลือกวาทะนี้ เป็นเหตุผลส่วนตัวล้วนๆ เพราะคนที่เอามาจุดชนวน เป็นคนเดือนตุลาที่เคยถูกข้อกล่าวหาแบบเดียวกันเมื่อครั้ง 6 ตุลา 2519 จนต้องหนีหัวซุกหัวซุนเข้าป่า
ผู้แพ้แห่งปี : ‘หญิงเป็ด จากนางเอ๊กนางเอกที่มีแค่คนแซ่ซ้องสดุดี ว่านี่แหละมือปราบทุจริต ไม่ทราบว่าเกิดความพลิกผันอย่างไร คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้พยายามจะกลับมาทวงเก้าอี้ผู้ว่า สตง.จึงถูกรุมแซนด์วิชโดยศิษย์ก้นกุฎีอย่าง พิสิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส กับเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นอกจากนี้ยังโดนกระหนาบโดยมีชัย ฤชุพันธ์ และกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจำใจยุติบทบาทตามคำสั่งศาลปกครอง ที่น่าประหลาดใจคือไม่ยักมีใครช่วย’หญิงเป็ด แม้แต่สื่อต่างๆ ที่เคยแซ่ซ้องก็ยังกลับมาตำหนิติติง
ดาวดับแห่งปี : ................ อิอิ อ้าปากก็คงเดาได้ อุตส่าห์เก็บไว้ตอนท้าย ไม่ใช่แค่ 40 สว. แต่ใครเอ่ย แพ้เลือกตั้ง สก.สข.จู๋น-จู๋น ยกพลไปประท้วง MOU ปี 43 ม็อบหน้าสภาค้านแก้รัฐธรรมนูญ ก็นับหัวแล้วใจหาย ศิษย์เก่ามัฆวาฬ ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ไปไหนหมด ไม่กลับมารำลึกความหลังกันมั่งเลย
ขนาดสื่อพวกกันเองยังเผลอซ้ำเติม บอกว่าคนกรุงไม่เลือกม็อบ ไม่เลือกความรุนแรง จึงไม่เลือกทั้งเพื่อไทยและการเมืองใหม่ พูดอีกก็ถูกอีก แน่นอนคนกรุงคนชั้นกลางปฏิเสธทั้งเสื้อแดงเสื้อเหลือง แต่เสื้อแดงไม่ตายเพราะมีฐานมวลชนอันกว้างใหญ่ไพศาลในชนบท ขณะที่ พธม.หากินกับการปลุกกระแสสุดขั้วสุดโต่งของคนชั้นกลาง ทั้งกระแสเกลียดทักษิณ ทั้งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม แต่ตอนนี้ อภิสิทธิ์ขโมยซีนไปหมด ทั้งยังขายโปรโมชั่น ‘ไทยนี้รักสงบ’ ถูกอกถูกใจคนชั้นกลางผู้เบื่อหน่าย ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ
พันธมิตรจึงเสียมวลชนให้อภิสิทธิ์ อีกด้านหนึ่ง มวลชน ปชป.ที่แฝงตัวเข้าพันธมิตรก็ถอยกลับ แกนนำพันธมิตรเริ่มเอ่ยปากทำนองว่า ‘เหลืองแดงรวมกันได้’ แต่ไม่มีทาง ภารกิจที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องในปีหน้าคือการเย้ยหยันพันธมิตร แม้โดยส่วนตัวจะเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง แต่ต้อง ‘ทำลายล้าง’ ในเชิงหลักการ เพราะพันธมิตรบิดเบือนหลักการจนเลอะไปหมด ต้อง ‘กระชับพื้นที่’ ยึดพื้นที่ทางหลักการคืนมา
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ปีที่แล้วจัดอันดับข่าวฮา แต่ปีนี้ที่เกิดเหตุการณ์นองเลือด เข่นฆ่า จับกุมคุมขัง ละเมิดสิทธิเสรีภาพมวลชนอย่างร้ายแรง จึงไม่มีอารมณ์จัดอันดับข่าวฮา ขอสรุปภาพเหตุการณ์ตามใจฉัน (ผม) ก็แล้วกัน
ก่อนอื่นขอชมนักข่าวทำเนียบ นักข่าวสภา ที่ตั้งฉายารัฐบาลและฝ่ายนิติบัญญัติ อย่างตรงไปตรงมา แสดงออกซึ่งความเป็นกลางและเป็นอิสระ ของนักข่าวพื้นที่ ไม่แสดงอคติเลือกข้างเหมือนข่าวที่ผ่านการเรียบเรียงและพาดหัวโดยหัวหน้าข่าว บรรณาธิการข่าว
ฉายาที่สะใจนอกจาก ‘ซีมาร์คโลชั่น’ ก็คือ ‘กริ๊ง...สิงสื่อ’ ซึ่งแฉหมดเปลือกว่า สาทิตย์โทรศัพท์สายตรงไปถึงกองบรรณาธิการสื่อของรัฐ ชี้นำกำหนดประเด็นการเสนอข่าว
นี่หรือรัฐบาล ปชป.ที่เคยตีฆ้องร้องป่าวว่า ทักษิณแทรกแซงสื่อ ซื้อสื่อ แต่เปิดหนังสือพิมพ์ทุกวันนี้เราจะเห็นแต่โฆษณาหน่วยงานของรัฐเต็มไปหมดทุกฉบับ พร้อมกับใบหน้านายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงต่างๆ (โฆษณาฟรีจากเงินภาษีประชาชน)
ส่วนนักข่าวสภาก็สะใจที่ให้ 40 สว.เป็น ‘ดาวดับ’ ไม่ไว้หน้า สมชาย แสวงการ กับคำนูณ สิทธิสมาน และที่ขำกลิ้งโดยอาจไม่ได้ตั้งใจคือ คนดีศรีสภาได้แก่ ทิวา เงินยวง (ตายแล้ว)
1.ปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น
ทำไมจะไม่ใช่ล่ะ ก็ในเมื่อ CNN ยังยกให้เหตุการณ์ชุมนุมคนเสื้อแดงเป็นอันดับ 1 ใน 20 ข่าวเปลี่ยนแปลงโลกของภูมิภาคเอเชีย
สังคมไทยมองเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นต่างมุม ตามทัศนะชนชั้น ไม่เฉพาะการชุมนุมและการใช้กำลัง ‘กระชับพื้นที่’ น้ำท่วมใหญ่ปลายปี ก็เจือปน ‘ทัศนะชนชั้น’ เพราะที่ผ่านมาน้ำท่วมเรือกสวนไร่นาทุกปี คนกรุงไม่เคยสนใจ คนอยุธยา คนปทุม ‘ชนชั้นแก้มลิง’ อ่วมอรทัยทุกปี คนกรุงไม่เคยสนใจ แต่ปีนี้ คนกรุงเห็นภาพสดๆ ทางทีวี น้ำหลากเข้าท่วมเมือง โรงพยาบาล บ้านจัดสรรที่โคราช ท่วมตลาดหาดใหญ่ แหม! มันเข้าถึงหัวอกคนชั้นกลางด้วยกัน
นอกจากนี้ยังรวมกระแส ‘กอดต้นไม้’ คัดค้านถนนขึ้นเขาใหญ่ ปลุกคนชั้นกลางให้กอดภูเขา กอดทะเล กอดแม่น้ำ (อนุรักษ์ไว้เพื่อห้กรูไปเที่ยวนอนรีสอร์ท) แต่ไม่ยักอยากกอดเพื่อนมนุษย์
สิ่งที่สะท้อนว่านี่เป็นปีแห่งการต่อสู้ทางชนชั้น คือเราสามารถจัดอันดับเรื่องต่างๆ ได้เป็น 2 มุมที่ต่างกันสุดขั้ว เช่น
บุคคลแห่งปี ‘ไพร่’ หรือ ‘คนชั้นกลางเฟซบุค’
อาจพูดได้อีกอย่างว่า พระ(นาง)เอกแห่งปี หรือพระ(นาง)ร้ายแห่งปี
‘ไพร่แดง’ กรีธาทัพเข้าเมืองหลวง ยกขบวนไปทั่วกรุงท่ามกลางการโบกธงต้อนรับของแท็กซี่ สามล้อ มอเตอร์ไซค์ แม่บ้าน คนงานก่อสร้าง ทำให้คนชั้นกลางวิตกอกสั่น เพราะเพิ่งรู้ว่าคนสวน คนขับรถ แม่บ้านที่ชงกาแฟให้กินทุกวัน ล้วนเป็นเสื้อแดง
‘ไพร่แดง’ ยึดราชดำเนิน ยึดราชประสงค์ ยึดสถานีไทยคม ใช้กำลังคนที่มีแต่สองมือเปล่าปิดล้อมปลดอาวุธทหาร เหตุการณ์ 10 เมษายน แม้ถูกยิงล้มตายราวใบไม้ร่วง แต่มวลชนที่โกรธแค้นก็ลุกฮือไล่ ‘ทหารเสือ’ หนีกระเจิง ทิ้งอาวุธ ทิ้งรถหุ้มเกราะ กระทั่งถอดเครื่องแบบเอาตัวรอด
แม้ต่อมา มวลชนเสื้อแดงถูกปราบด้วยปฏิบัติการกระชับพื้นที่ พร้อม ‘สไนเปอร์’ ใน ‘เขตใช้กระสุนจริง’ พวกเขาก็ยืนหยัดต้านทานอยู่ในวงล้อมจนวาระสุดท้ายอย่างองอาจกล้าหาญไม่กลัวความตาย
แน่นอน ในนั้นมีความมุทะลุ มีความคิดรุนแรง เลยธง บ้าระห่ำ การนำที่สะเปะสะปะ ขาดยุทธศาสตร์ยุทธวิธี แต่สำหรับมวลชน ‘คนชั้นต่ำของแผ่นดิน’ นี่คือวีรกรรมและความเคียดแค้นเจ็บช้ำที่จะจดจำไปตลอดกาล
ขณะเดียวกัน เมื่อ ‘แดงถ่อย’ ยึดราชประสงค์ แหล่งชอปกระหน่ำซัมเมอร์เซล ศูนย์กลางกรุงเทพฯ ทำให้การจราจรเป็นอัมพาต ทั้งยังอาละวาดบุกที่นั่นที่นี่ ทำลาย ‘ความสงบสุข’ ของคนกรุง ก็เกิดกระแส ‘มวลชนเฟซบุค’ ล่า 1 ล้านชื่อสนับสนุนระบอบอภิสิทธิ์ ให้ใช้กำลังทหารปราบม็อบ หรืออีกนัยหนึ่ง ‘ออกใบอนุญาตฆ่า’ เพราะรู้อยู่แก่ใจว่าจะต้องเกิดบาดเจ็บล้มตายเกลื่อนกลาด แต่ต้องทำ เพื่อ ‘เอาความสุขของกรูคืนมา’
หลังเหตุการณ์ คนชั้นกลางชาวกรุงยังสร้างอารมณ์ร่วมทางชนชั้น หลั่งน้ำตาอาลัยตึกเวิลด์เทรด หวนหาความผูกพันอันโรแมนติกที่มีต่อโรงหนังสยามและโรงเรียนกวดวิชา (ตลอดจนไปเข้าคิวซื้อโดนัทที่สยามพารากอน) พวกเขาและเธอช่วยกันปกป้องอภิสิทธิ์และกองทัพ กระทั่งเขียนไปตอบโต้แดน ริเวอร์ แห่ง CNN อย่าง ‘องอาจกล้าหาญ’ กรี๊ดสนั่น ‘ไก่อู’ เป็นหนุ่มเนื้อหอมแห่งปี
นี่คือ ‘วีรกรรม’ ในทัศนะของคนกรุงเช่นกัน
วีรบุรุษแห่งปี เสธ.แดง หรือร่มเกล้า
วีรบุรุษในภาพรวมทุกชนชั้นเห็นพ้องว่าได้แก่ ‘จ่าเพียร’ ตำรวจดีไม่มีเส้น ผู้ตรากตรำทำหน้าที่จนวาระสุดท้าย
แต่วีรบุรุษทางการเมือง มีช้อยส์ให้เลือก 2 ข้อเช่นกัน คือ เสธ.แดง หรือ พ.อ.ร่มเกล้า
ผมเคยเปรียบเทียบไว้แล้วว่า เสธ.แดงจะเป็น ‘ตำนาน’ ส่วน พ.อ.ร่มเกล้าจะเป็น ‘อนุสาวรีย์’ แม้บ้าระห่ำไร้ทิศทาง มุทะลุไร้ยุทธศาสตร์ยุทธวิธีอย่างไร เสธ.แดงก็ ‘ได้ใจ’ เข้าถึงหัวจิตหัวใจมวลชน งานศพเสธ.แดงมีคนมาไว้อาลัยล้นหลาม เรื่องราวของนายพลขวัญใจคนชั้นล่างคงเล่าขานกันไปอีกนาน ...แต่ไม่ทราบว่ากองทัพสร้างรูปปั้นให้ พ.อ.ร่มเกล้า หรือยัง
ตัวตลกแห่งปี หมอเหวง หรือหมอประเวศ
หมอเหวงออกทีวีกับอภิสิทธิ์ แต่กลับออกทะเลจนคำว่า ‘เหวง’ กลายเป็นศัพท์แสลงใหม่ฮิตในหมู่คนกรุง ขณะที่คนเสื้อแดงเองก็บ่นเซ็งอุบอิบ
หมอประเวศกับอานันท์ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปประเทศไทย ใช้งบประมาณ 600 ล้าน กระทั่งบัดนี้ก็ยังไม่มีอะไรในกอไผ่ นอกจากทฤษฎีชุมชนนิยมที่พูดไว้ซ้ำซาก จนถูกคนรุ่นหลังถอนหงอกสนุกสนาน ไม่ใช่แค่ ‘คำ ผกา’ แต่คนในพรรคประชาธิปัตย์หรือผู้สนับสนุนระบอบอภิสิทธิ์ก็ออกอาการเซ็งและอดแซวไม่ได้เช่นกัน
ป.ล.ถ้าเลือกหมอประเวศ ก็รวมอานันท์และกรรมการปฏิรูปทั้งสองชุด
Idol แห่งปี อภิชาติพงศ์ หรือแทนคุณ
แทนคุณ จิตต์อิสระ ผู้มีภาพลักษณ์ ‘ลูกกตัญญู’ เป็นจุดขาย ทำหน้าที่พิธีกร NBT ตอบโต้ ‘ไพร่แดง’ อย่างแข็งขัน เป็นขวัญใจคนชั้นกลางเฟซบุค ปกป้องระบอบอภิสิทธิ์ และกองทัพ
อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ก้าวขึ้นรับรางวัลปาล์มทองที่เมืองคานส์ โดยไม่กล่าวขอบคุณใครให้ยืดยาวแบบไทยๆ แต่กลับขอบคุณ ‘ภูติผีปีศาจ’ พร้อมให้สัมภาษณ์ว่า การต่อสู้ของเสื้อแดงคือการต่อสู้ทางชนชั้น นอกจากนี้ เขายังเป็นหัวเรี่ยวหัวแรงคัดค้านกระทรวงวัฒนธรรมที่ให้งบ 100 ล้านกับหนัง ‘นเรศวร’ เรื่องเดียว
2.สิ่งต่างๆ แห่งปี
ข่าวฮาแห่งปี : น้ำท่วมให้รีบตัก ทันทีที่เกิดน้ำท่วมใหญ่ ก็มีคนบอกว่านี่คือ ‘นาทีทอง’ ของรัฐบาล ที่จะเก็บเกี่ยวเยียวยากลบปัญหาความขัดแย้ง แต่ที่ไหนได้ กลับกลายเป็นนาทีทองของสรยุทธ์ กับครอบครัวข่าว 3 แม้จะมีคำถามถึงการทำเกินหน้าที่สื่อ (คือตีปี๊บเฉพาะพื้นที่ที่ตนลงไปช่วย) แต่ก็ทำให้รัฐบาลหน้าแหกเสียรังวัด พิสูจน์ความไร้กึ๋นไร้ประสิทธิภาพ
หัวข่าวฮาแห่งปี : เนวินทอดกฐินโจร ที่จริงต้องยกเป็นข่าวยอดเยี่ยม ด้านให้การศึกษาเด็กและเยาวชนรู้จักประเพณีสำคัญทางศาสนา เพราะคนรุ่นใหม่ไม่ค่อยรู้จักว่า ‘กฐินโจร’ คือการทอดกฐินตกค้างให้กับวัดที่ไม่มีเจ้าภาพ เมื่อเห็นหัวข่าว ‘เนวินทอดกฐินโจร’ จึงฮือฮา พลิกอ่านแล้วค่อยร้องอ๋อ ที่แท้ทอดกฐินตกค้างให้ 239 วัดในบุรีรัมย์ ถ้าเป็นคนอื่นทอดกฐินโจร ก็คงไม่เรียกความสนใจได้เช่นนี้
หัวข่าวเฮ(โล)แห่งปี : ทักษิณ 1 ใน 5 ผู้นำยอดแย่ แพร่มาจากข้อเขียนของโจชัว คีทติ้ง ในเว็บไซต์นิตยสาร Foreign Policy ในเครือวอชิงตันโพสต์ กลายเป็นพาดหัวข่าวใหญ่แทบทุกฉบับ ขณะที่ข่าวนายกฯ อังกฤษไม่มาเที่ยวเมืองไทยเพราะเกรงจะส่งสัญญาณหนุนอภิสิทธิ์ ตกหายจากหัวข่าวหนังสือพิมพ์แทบทุกฉบับ มีมติชนพาดหัวใหญ่ฉบับเดียว
ที่จริงทั้งสองข่าวต้องเสนอแก่ผู้อ่านแต่ไม่จำเป็นต้องเน้นมากนัก เพราะข่าวแรกแค่ทัศนะฝรั่งคนเดียว ข่าวหลังก็อ้างแหล่งข่าวไม่เป็นทางการ เรื่องตลกคือ ถ้าเข้าไปดูในเว็บไซต์ Foreign Policy จะพบว่าข้อเขียนเรื่องอื่นๆ ของคีทติ้งมีคนโหวตพอใจ 20-30 หรืออย่างเก่งก็ 100-200 ราย แต่ข้อเขียนเรื่องนี้มีคนโหวตถล่มทลาย 4 พันกว่าราย คาดว่าเป็นข้อเขียนที่มีคนอ่านมากที่สุดตั้งแต่ก่อตั้งนิตยสารฉบับนี้มาเลยทีเดียว (คนชาติไหนคงเดาได้)
ไร้สาระแห่งปี : กฎเหล็กของมาร์ค กฎเหล็ก รธน. ขวัญใจจริตนิยมให้เทพเทือกลาออกก่อนลงเลือกตั้ง ชนะแล้วกลับมาเป็นรองนายกฯ ใหม่ จากนั้นก็ใช้กฎเดียวกันบีบให้บุญจง-เกื้อกูล ทำตาม ชนะแล้วกลับมาเป็นรัฐมนตรีใหม่ ถามว่ามีประโยชน์อะไร เพราะข้าราชการหัวคะแนนกำนันผู้ใหญ่บ้านรับรู้ทั่วกัน มี-ตรงที่ทำให้มาร์คได้คะแนนนิยม
กรณีนี้ก็เช่นเดียวกับการแต่งตั้งปลัดมหาดไทย ที่ถูกตีกลับ แต่ก็เพียงเปลี่ยนจากศิษย์ ‘โรงเรียนเนฯ’ เบอร์ 1 มาเป็นเบอร์
2 กลบเกลื่อน
ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ 6 ส.ส.พ้นสภาพ เนื่องจากถือหุ้นบริษัทสัมปทานรัฐ ทั้งที่เป็นการซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์และมีจำนวนน้อยนิด ไม่ส่งผลให้มีสิทธิเสียงในการบริหาร นี่คือกฎเกณฑ์หยุมหยิมจับยายฉิมเก็บเห็ดในรัฐธรรมนูญ 2550 ซึ่งทำให้ต้องเสียงบประมาณแผ่นดินจัดการเลือกตั้งใหม่ 5 เขต โดยยังคล้ายคดีสมัครชิมไปบ่นไป พ้นนายกฯ เพราะพจนานุกรม วันรุ่งขึ้นก็ยังมีสิทธิเป็นนายกฯ อีก ในกรณีนี้ 5 ส.ส.เขตยังกลับมาลงเลือกตั้งได้อีก ถามว่าถ้าขาดคุณสมบัติ ผิดจริยธรรมร้ายแรง จนถูกถอดถอนแล้ว ยังให้กลับมาได้อย่างไร คำตอบคือ พวกเขาไม่ได้ขาดคุณสมบัติ และไม่ควรถูกถอดถอนตั้งแต่แรก ถ้าจะวินิจฉัยว่าผิด อย่างเก่งก็คือมี ‘ลักษณะต้องห้าม’ ให้จำหน่ายจ่ายหุ้นเสียแล้วเป็น ส.ส.ต่อไป
บุคคลตัวอย่าง : ธาริต เพ็งดิษฐ์ ถ้าธาริตเป็นผู้ใกล้ชิด ปชป.ก็คงไม่นับเป็นบุคคลตัวอย่าง แต่ธาริตเป็นผู้ใกล้ชิด ทรท.มาก่อน เริ่มจากเป็นอัยการ หน้าห้องคณิต ณ นคร หมอมิ้งดึงไปช่วยราชการสำนักนายกฯ เป็นที่ปรึกษาพันศักดิ์ วิญญรัตน์ แล้วก็ย้ายจากอัยการมาเป็นรองอธิบดี DSI ในรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ซึ่งคงจะหวังให้เป็นมือเป็นไม้ แต่กลับได้ขึ้นเป็นอธิบดีในยุคพีระพันธ์ สาลีรัฐวิภาค สร้างชื่อเป็นมือปราบ ‘ผู้ก่อการร้ายเสื้อแดง’ ด้วยการสืบสวนสอบสวนแบบ ‘กันไว้เป็นพยาน’ และตีปี๊บข่าวฝึกอาวุธในเขมร กระทั่งได้ปริญญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์จาก ม.ธุรกิจบัณฑิตย์
นี่คือ ‘บุคคลตัวอย่าง’ ที่เยาวชนคนรุ่นหลังต้องจดจำและเลียนแบบ ถ้าอยากจะได้ดิบได้ดีในสังคมนี้
สถาบันตัวอย่าง : ม.รังสิต รักพี่เสียดายน้อง เลือกยากจริงๆ ธรรมศาสตร์เลือกอธิการบดีได้สมคิด เลิศไพฑูรย์ สืบทอดเก้าอี้สุรพล นิติไกรพจน์ จุฬาฯ ยึดป้ายนักศึกษาประท้วงอภิสิทธิ์ ขณะที่นิด้าของสมบัติ ธำรงธัญวงศ์ ต้องยกให้เป็น ‘ดาวค้างฟ้า’ บทบาทไม่ตกฟาก
อย่างไรก็ดี สุดท้ายขอเลือก ม.รังสิต เพราะออกแถลงการณ์ 3 ฉบับในนามมหาวิทยาลัย คัดค้านการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกโดยกัมพูชา เปล่า ไม่ติดใจเนื้อหาหรอก แต่แถลงการณ์ลงชื่อ ดร.อาทิตย์ อุไรรัตน์ กับ ดร.สมปอง สุจริตกุล แค่ 2 คน! รู้สึกประทับใจที่ 2 คนลงชื่อแทนทั้งมหาวิทยาลัยได้ (ถ้าใช้คำว่าบริษัทมหาวิทยาลัยรังสิต จำกัด จะไม่แปลกใจเลย)
คดีส่งผลสะเทือนแห่งปี : 3G คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวของศาลปกครองสูงสุดที่ทำแท้งการประมูลใบอนุญาต 3G เป็นคดีที่ส่งผลสะเทือนอย่างกว้างขวาง รุนแรง ลึกซึ้ง ยาวนาน ผลการตีความของศาลทำให้การแข่งขันเสรีเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีก้าวสำคัญต้องชะงักงันไปเป็นปีๆ ขณะที่ ทศท.กสท. (ภายใต้กำกับของจุติ ไกรฤกษ์) สามารถนำคลื่น 3G ที่มีอยู่แล้วมาเปิดสัมปทานได้ กลายเป็น tiger eat sleep สบายใจเฉิบต่อไป (ก่อนหน้านี้ก็ได้ค่าสัมปทานคืนมาเพราะยกเลิก พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต) หนำซ้ำ กสท.ยังแบะท่าจะยกคลื่นให้ True ของเจ้าสัวซีพี ชิงความได้เปรียบอีก 2 บริษัทอย่างมหาศาล ทั้งที่ถ้าเข้าประมูลใบอนุญาตกับ กทช.True คือผู้ที่มีความพร้อมน้อยที่สุด
คดีนี้วินิจฉัยโดยองค์คณะที่ท่านหัสวุฒิ วิฑิตวิริยกุล ‘ศิษย์เอกโกเอ็นก้า’ เป็นตุลาการหัวหน้าคณะ ก่อนขึ้นเป็นประธานศาลปกครองสูงสุดแทน อ.อักขราทร จุฬารัตน์ ในอีก 7 วันต่อมา
คดีกังขาแห่งปี : 29 ล้านกับ 258 ล้าน คดี 29 ล้าน ปชป.ชนะฟาวล์ แต่ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยในข้อเท็จจริงว่า ปชป.ไม่ผิด 4-2 คดี 258 ล้าน ปชป.ชนะฟาวล์ โดยศาลยังไม่ทันไต่สวนข้อเท็จจริง ถ้าเอาตรรกมาเรียบเรียงใหม่ สมมติศาลเห็นว่านายทะเบียนพรรคการเมืองให้ยุบพรรค คดีแรก ยังไงๆ ปชป.ก็ไม่ผิด แต่คดีหลังล่ะ ฉะนั้น การชนะฟาวล์จริงๆ แล้วไม่มีประโยชน์ต่อคดีแรก แต่อาจสำคัญมากๆๆ กับคดีหลัง
คดีแรกชนะฟาวล์ด้วยมติ 3-1-2 แต่กลับรวบรัดเป็น 4-2 และเอาความเห็นของ 1 เสียงมาใช้ในคำวินิจฉัยชั่วคราว แต่แก้ไขใหม่ในคำวินิจฉัยค้างคืน คดีหลังถ้ามีตุลาการ 6 คนเท่าเดิม มติก็จะออกมาเป็น 3-3 แต่ ปชป.โชคดีตามเคยที่องค์คณะกลับมาเป็น 7 คน
การอภิปรายไม่ไว้วางใจแห่งปี: ศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองอภิปรายทักษิณ ฐานทางกฎหมายของคดีนี้คือมาตรา 4 กฎหมาย ปปช.ซึ่งระบุว่า ‘ร่ำรวยผิดปกติ’ หมายถึง ‘ได้ทรัพย์สินมาโดยไม่สมควรสืบเนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่หรือใช้อำนาจในตำแหน่งหน้าที่ทางการเมือง’ คำวินิจฉัยพยายามเชื่อมโยงองค์ประกอบ 3 ส่วนเข้าด้วยกันคือ หนึ่ง หุ้นเป็นของทักษิณ สอง มีการแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาที่เกิดประโยชน์ทางตรงหรือทางอ้อมกับชินคอร์ป และสาม เกิดในขณะที่ทักษิณเป็นนายกฯ แต่องค์ประกอบสำคัญที่ขาดไป คือการพิสูจน์ว่าทักษิณใช้อำนาจหน้าที่เข้าไปสั่งการให้เอื้อประโยชน์ ซึ่งจะเข้าข่ายทุจริตประพฤติมิชอบตามมาตรา 157
คำวินิจฉัยมุ่งเนื้อหาส่วนใหญ่ไปยังประเด็นที่สอง ว่ามีการแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาให้ได้ประโยชน์โดย ‘ไม่สมควร’ ซึ่งคำว่า ‘ไม่สมควร’ ฟ้องในตัวว่าเป็นเพียงทัศนะหรือความเห็น ไม่ใช่ข้อพิสูจน์ทางกฎหมาย ไม่ชัดเจนเหมือนคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ ถามว่ามีน้ำหนักน่าเชื่อถือไหม-มี เพราะสังคม (แม้แต่ผม) ก็เชื่ออยู่แล้วว่าทักษิณมีผลประโยชน์ทับซ้อน แต่เมื่อเป็นทัศนะหรือความเห็น ก็เป็นสิ่งที่โต้แย้งเห็นต่างได้ ไม่ใช่ทุกคนจะเห็นด้วยว่า ‘ไม่สมควร’ ทั้ง 5 ประเด็น บางคนอาจเห็นด้วยบางประเด็น ไม่เห็นด้วยบางประเด็น หรือไม่เห็นด้วยเลย การแก้ไขกฎหมายหรือแก้ไขสัญญาในทุกรัฐบาล ก็มีบ่อยครั้งที่เอื้อให้เอกชนได้ประโยชน์ โดยรัฐอาจมองถึงประโยชน์ส่วนรวม เช่น เพื่อให้โครงการลุล่วง รวดเร็ว เพื่อให้ประชาชนได้ใช้บริการอย่างทั่วถึง หรือเพื่อให้รัฐได้ส่วนแบ่งค่าสัมปทานมากขึ้น กรณีนี้ ประเด็นที่โต้เถียงกันเยอะมากคือ พ.ร.ก.ภาษีสรรพสามิต ซึ่งทำให้คลังได้ภาษีเต็มเม็ดเต็มหน่วย ไม่ต้องเข้าปาก tiger eat sleep แต่ศาลเห็นตาม คตส.ว่าเป็นการกีดกันคู่แข่ง
เมื่อไม่ได้พิสูจน์ว่าทักษิณใช้อำนาจหน้าที่แทรกแซงสั่งการ เพียงอนุมานว่า ‘ทักษิณเป็นเจ้าของ ทักษิณเป็นนายกฯ ทักษิณได้ประโยชน์ ซ.ต.พ.’ คำวินิจฉัยจึงไม่ต่างจากการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ไม่ต่างจากที่ อ.สมเกียรติ ตั้งกิจวานิชย์ พูดไว้ หรือที่พรรคประชาธิปัตย์เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ซึ่งทำให้สังคมเชื่อ ทำให้สังคมเคลือบแคลงกังขาว่าทักษิณไม่โปร่งใส แต่ไม่ได้พิสูจน์ว่าจริงหรือไม่
ศาลตีความมาตรา 4 ว่าต้องการข้อสรุปเพียง ‘ไม่สมควร’ ไม่ต้องพิสูจน์ว่า ‘ทุจริต’ การวินิจฉัยคดีนี้จึงกลายเป็นเรื่องของความเห็น ไม่ใช่เรื่องของการพิสูจน์ข้อเท็จจริง คำวินิจฉัยทั้งหมดเป็นความเห็นที่เคยวิพากษ์วิจารณ์ ที่เคยอภิปรายไม่ไว้วางใจ ที่เราๆ ท่านๆ เคยเคลือบแคลงสงสัยกันมาก่อน เพียงนำมาจัดเรียงใหม่ให้หนักแน่นและเข้าองค์ประกอบของกฎหมายตามที่ศาลตีความ
ให้สังเกตด้วยว่าเมื่อคำวินิจฉัยขาดคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ ก็ทำให้รัฐไม่สามารถยกเลิกสัญญาที่ทำให้ชินคอร์ปได้ประโยชน์โดย ‘ไม่สมควร’ แต่ถ้ามีคำว่า ‘ทุจริตประพฤติมิชอบ’ พิสูจน์ได้ว่าทักษิณแทรกแซงสั่งการ สัญญาเหล่านั้นจะเป็นโมฆะทันที
ช้อยส์แห่งปี : สนธิ ลิ้ม กับวีระ สมความคิด จะเลือกบริจาคกล่องไหน
ช้อยส์แห่งปี (สำหรับตุลาการภิวัตน์) : ชัช ชลวร หรืออภิชาติ สุขัคคานนท์ ใครจะไปก่อน
วาทะแห่งปี : ‘ล้มเจ้า’ ข้อกล่าวหาที่ครอบกะลาหัวมวลชนเสื้อแดง กระทั่งมีแผนผัง ศอฉ.โยงใครต่อใครมั่วไปหมด สาเหตุที่เลือกวาทะนี้ เป็นเหตุผลส่วนตัวล้วนๆ เพราะคนที่เอามาจุดชนวน เป็นคนเดือนตุลาที่เคยถูกข้อกล่าวหาแบบเดียวกันเมื่อครั้ง 6 ตุลา 2519 จนต้องหนีหัวซุกหัวซุนเข้าป่า
ผู้แพ้แห่งปี : ‘หญิงเป็ด จากนางเอ๊กนางเอกที่มีแค่คนแซ่ซ้องสดุดี ว่านี่แหละมือปราบทุจริต ไม่ทราบว่าเกิดความพลิกผันอย่างไร คุณหญิงจารุวรรณ เมณฑกา ผู้พยายามจะกลับมาทวงเก้าอี้ผู้ว่า สตง.จึงถูกรุมแซนด์วิชโดยศิษย์ก้นกุฎีอย่าง พิสิษฐ์ ลีลาวชิโรภาส กับเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ นอกจากนี้ยังโดนกระหนาบโดยมีชัย ฤชุพันธ์ และกรรมการกฤษฎีกา ก่อนจำใจยุติบทบาทตามคำสั่งศาลปกครอง ที่น่าประหลาดใจคือไม่ยักมีใครช่วย’หญิงเป็ด แม้แต่สื่อต่างๆ ที่เคยแซ่ซ้องก็ยังกลับมาตำหนิติติง
ดาวดับแห่งปี : ................ อิอิ อ้าปากก็คงเดาได้ อุตส่าห์เก็บไว้ตอนท้าย ไม่ใช่แค่ 40 สว. แต่ใครเอ่ย แพ้เลือกตั้ง สก.สข.จู๋น-จู๋น ยกพลไปประท้วง MOU ปี 43 ม็อบหน้าสภาค้านแก้รัฐธรรมนูญ ก็นับหัวแล้วใจหาย ศิษย์เก่ามัฆวาฬ ยึดทำเนียบ ยึดสนามบิน ไปไหนหมด ไม่กลับมารำลึกความหลังกันมั่งเลย
ขนาดสื่อพวกกันเองยังเผลอซ้ำเติม บอกว่าคนกรุงไม่เลือกม็อบ ไม่เลือกความรุนแรง จึงไม่เลือกทั้งเพื่อไทยและการเมืองใหม่ พูดอีกก็ถูกอีก แน่นอนคนกรุงคนชั้นกลางปฏิเสธทั้งเสื้อแดงเสื้อเหลือง แต่เสื้อแดงไม่ตายเพราะมีฐานมวลชนอันกว้างใหญ่ไพศาลในชนบท ขณะที่ พธม.หากินกับการปลุกกระแสสุดขั้วสุดโต่งของคนชั้นกลาง ทั้งกระแสเกลียดทักษิณ ทั้งอุดมการณ์ราชาชาตินิยม แต่ตอนนี้ อภิสิทธิ์ขโมยซีนไปหมด ทั้งยังขายโปรโมชั่น ‘ไทยนี้รักสงบ’ ถูกอกถูกใจคนชั้นกลางผู้เบื่อหน่าย ที่นี่วุ่นวายหนอ ที่นี่ขัดข้องหนอ
พันธมิตรจึงเสียมวลชนให้อภิสิทธิ์ อีกด้านหนึ่ง มวลชน ปชป.ที่แฝงตัวเข้าพันธมิตรก็ถอยกลับ แกนนำพันธมิตรเริ่มเอ่ยปากทำนองว่า ‘เหลืองแดงรวมกันได้’ แต่ไม่มีทาง ภารกิจที่จะต้องทำอย่างต่อเนื่องในปีหน้าคือการเย้ยหยันพันธมิตร แม้โดยส่วนตัวจะเป็นเพื่อน เป็นพี่ เป็นน้อง แต่ต้อง ‘ทำลายล้าง’ ในเชิงหลักการ เพราะพันธมิตรบิดเบือนหลักการจนเลอะไปหมด ต้อง ‘กระชับพื้นที่’ ยึดพื้นที่ทางหลักการคืนมา
ที่มา.ประชาไท
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
มทภ.2 อัด "คนบางกลุ่ม" มีความคิดเป็นใหญ่ สร้างปัญหาไม่รู้จบ ทำชายแดนลุกเป็นไฟ วอนยุติเห็นแก่ ปชช.
พล.ท.ธวัชชัย สมุทรสาคร แม่ทัพภาคที่ 2 ให้สัมภาษณ์ผู้สื่อข่าวเมื่อวันที่ 30 ธันวาคม ที่กองบัญชาการกองทัพภาคที่ 2 จ.นครราชสีมา ว่ากรณีทหารกัมพพูชาจับกุมตัว 7 คนไทย จะไม่ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ระหว่างทหารของทั้ง 2 ประเทศที่ประจำอยู่ตามแนวชายแดนในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากเกิดขึ้นที่ จ.สระแก้ว เป็นพื้นที่ทางทหารคนละส่วนกันทั้งไทยและกัมพูชา โดยพื้นที่ดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของทางกองทัพภาคที่ 1 ในฝั่งไทย และกองกำลังทหารภูมิภาคที่ 5 ของกัมพูชา ในส่วนของพื้นที่กองทัพภาคที่ 2 อยู่ในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาก็จะมีกองกำลังทหารภูมิภาคที่ 4 กำกับดูแลอยู่ ถือว่าเป็นคนละส่วนกัน
แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวอีกว่า อยากทำความเข้าใจกับกลุ่มคนทุกกลุ่มว่า ขณะนี้สถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกอย่างกำลังอยู่ในความสงบเรียบร้อย แต่กลับมีกลุ่มคนส่วนหนึ่งที่ไม่มีความเข้าใจกับสถานการณ์ข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้และมีความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ออกสร้างปัญหาความขัดแย้ง ส่งผลให้สถานการณ์กลับมาตึงเครียดขึ้น อย่างเช่นปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ความจริงหากต้องการเข้าไปสำรวจพื้นที่ก็สามารถประสานผ่านไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ในพื้นที่ เพื่อที่ประสานไปยังฝ่ายกัมพูชาถือเป็นการให้เกียรติกัน แต่เมื่อเข้าไปเองโดยไม่ประสานงาน เท่ากับทำให้ทั้ง 2 ประเทศต้องมาทะเลาะกัน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังจะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทำงานได้ยากลำบากขึ้น หากเกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรงขึ้นมา ผลเสียโดยตรงจะตกอยู่ที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะที่อยู่ติดกับแนวชายแดน
"อยากวอนให้ผู้ที่รักชาติทุกคนอย่าทำให้ประเทศชาติเดือดร้อน หากใครมีความคับข้องใจหรือไม่เข้าใจตรงจุดไหน หากอยู่ในพื้นที่ของผม ก็สามารถสอบถามมาได้โดยตรง ยินดีที่จะให้คำตอบในทุกเรื่อง"พล.ท.ธวัชชัย กล่าว และว่า เชื่อว่าในส่วนของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ น่านำตัวกลับมาได้ในเร็ววันนี้ ส่วนคนอื่นอาจจะต้องปล่อยให้เข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายของกัมพูชา เพราะบางครั้งคนที่กระทำความผิดก็ต้องยอมรับความจริงบ้าง อีกทั้งในส่วนนี้ยังมีบางคนที่กระทำผิดซ้ำ ทั้งที่ทางทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือกลับมาแล้ว ดังนั้น บางครั้งก็ต้องปล่อยให้กัมพูชาดำเนินการบ้าง เพราะไม่เช่นนั้นทางกัมพูชาอาจจะถือว่าประเทศไทยไม่ให้เกียรติและอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งบานปลายขึ้นได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
-------------------------------
แม่ทัพภาคที่ 2 กล่าวอีกว่า อยากทำความเข้าใจกับกลุ่มคนทุกกลุ่มว่า ขณะนี้สถานการณ์ชายแดนไทยกัมพูชามีแนวโน้มที่ดีขึ้นเรื่อยๆ ทุกอย่างกำลังอยู่ในความสงบเรียบร้อย แต่กลับมีกลุ่มคนส่วนหนึ่งที่ไม่มีความเข้าใจกับสถานการณ์ข้อเท็จจริงอย่างถ่องแท้และมีความคิดของตัวเองเป็นใหญ่ ออกสร้างปัญหาความขัดแย้ง ส่งผลให้สถานการณ์กลับมาตึงเครียดขึ้น อย่างเช่นปัญหาที่เกิดขึ้นนี้ ความจริงหากต้องการเข้าไปสำรวจพื้นที่ก็สามารถประสานผ่านไปยังเจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร ในพื้นที่ เพื่อที่ประสานไปยังฝ่ายกัมพูชาถือเป็นการให้เกียรติกัน แต่เมื่อเข้าไปเองโดยไม่ประสานงาน เท่ากับทำให้ทั้ง 2 ประเทศต้องมาทะเลาะกัน ถือเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง อีกทั้งยังจะทำให้หน่วยงานต่างๆ ทำงานได้ยากลำบากขึ้น หากเกิดปัญหาความขัดแย้งรุนแรงขึ้นมา ผลเสียโดยตรงจะตกอยู่ที่ประชาชนทั้ง 2 ประเทศ โดยเฉพาะที่อยู่ติดกับแนวชายแดน
"อยากวอนให้ผู้ที่รักชาติทุกคนอย่าทำให้ประเทศชาติเดือดร้อน หากใครมีความคับข้องใจหรือไม่เข้าใจตรงจุดไหน หากอยู่ในพื้นที่ของผม ก็สามารถสอบถามมาได้โดยตรง ยินดีที่จะให้คำตอบในทุกเรื่อง"พล.ท.ธวัชชัย กล่าว และว่า เชื่อว่าในส่วนของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ น่านำตัวกลับมาได้ในเร็ววันนี้ ส่วนคนอื่นอาจจะต้องปล่อยให้เข้าสู่กระบวนการตามกฎหมายของกัมพูชา เพราะบางครั้งคนที่กระทำความผิดก็ต้องยอมรับความจริงบ้าง อีกทั้งในส่วนนี้ยังมีบางคนที่กระทำผิดซ้ำ ทั้งที่ทางทหารและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ช่วยเหลือกลับมาแล้ว ดังนั้น บางครั้งก็ต้องปล่อยให้กัมพูชาดำเนินการบ้าง เพราะไม่เช่นนั้นทางกัมพูชาอาจจะถือว่าประเทศไทยไม่ให้เกียรติและอาจจะทำให้เกิดความขัดแย้งบานปลายขึ้นได้
ที่มา.มติชนออนไลน์
-------------------------------
วันพฤหัสบดีที่ 30 ธันวาคม พ.ศ. 2553
"บัวแก้ว" วืดช่วย 7 คนไทย เหตุกัมพูชานำตัวส่งศาลแล้ว ทำได้แค่เข้าเยี่ยม-จัดทนาย
นายธานี ทองภักดี อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ เผยผลการหารือระหว่างนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศไทย กับนายฮอ นัม ฮง รัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา ว่าฝ่ายกัมพูชาได้ลำดับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นให้ฟัง และได้ชี้แจงข้อมูลที่มีให้ทราบ ขณะที่ฝ่ายไทยก็ได้แจ้งข้อมูลที่มีอยู่ของการเดินทางเข้าไปของคณะคนไทยกลุ่มนี้ โดยในส่วนของนายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) เป็นการดำเนินการตามหน้าที่ ส.ส.ในฐานะคณะกรรมาธิการ ซึ่งไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหาร
"จากข้อมูลของทั้งสองฝ่าย คณะทั้ง 7 คน ถูกจับกุมในพื้นที่ของกัมพูชา และโดยที่เรื่องได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลกัมพูชาแล้ว ฝ่ายไทยเคารพในกระบวนการดังกล่าว และหวังว่าจะสามารถเร่งรัดกระบวนการให้สิ้นสุดโดยเร็ว" นายธานีกล่าว และว่า ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ จะให้ความช่วยเหลือบุคคลทั้ง 7 อย่างเต็มที่ โดยได้จัดหาทนายให้แล้ว ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกษิตและคณะได้เดินทางไปยังเรือนจำเปรยซอร์เพื่อเข้าเยี่ยมคนทั้งหมด
วันเดียวกัน สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานจากกรุงพนมเปญ ระบุว่า ศาลแขวงกัมพูชาได้ไต่สวนเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จากนั้นศาลได้ตั้งข้อกล่าวหาคนไทยทั้ง 7 คน 2 ข้อกล่าวหา คือเข้าเมืองผิดกฎหมายและบุกรุกพื้นที่ทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งหากมีความผิดจริงข้อกล่าวหาแรกจะมีบทลงโทษจำคุก 3-6 เดือน และข้อกล่าวหาที่ 2 มีบทลงโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 1 ปี
ที่มา.มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
"จากข้อมูลของทั้งสองฝ่าย คณะทั้ง 7 คน ถูกจับกุมในพื้นที่ของกัมพูชา และโดยที่เรื่องได้เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมในศาลกัมพูชาแล้ว ฝ่ายไทยเคารพในกระบวนการดังกล่าว และหวังว่าจะสามารถเร่งรัดกระบวนการให้สิ้นสุดโดยเร็ว" นายธานีกล่าว และว่า ในส่วนของกระทรวงการต่างประเทศและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ จะให้ความช่วยเหลือบุคคลทั้ง 7 อย่างเต็มที่ โดยได้จัดหาทนายให้แล้ว ทั้งนี้ หลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกษิตและคณะได้เดินทางไปยังเรือนจำเปรยซอร์เพื่อเข้าเยี่ยมคนทั้งหมด
วันเดียวกัน สำนักข่าวรอยเตอร์และเอเอฟพีรายงานจากกรุงพนมเปญ ระบุว่า ศาลแขวงกัมพูชาได้ไต่สวนเป็นเวลานานหลายชั่วโมง จากนั้นศาลได้ตั้งข้อกล่าวหาคนไทยทั้ง 7 คน 2 ข้อกล่าวหา คือเข้าเมืองผิดกฎหมายและบุกรุกพื้นที่ทหารโดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งหากมีความผิดจริงข้อกล่าวหาแรกจะมีบทลงโทษจำคุก 3-6 เดือน และข้อกล่าวหาที่ 2 มีบทลงโทษจำคุก 6 เดือน ถึง 1 ปี
ที่มา.มติชนออนไลน์
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
นปช.ผุดสาขาภูมิภาคปรับต่อสู้รูปแบบองค์กรเลิกยึดติดตัวบุคคล
นปช. ปรับโครงสร้างองค์กรใหม่ ตั้งองค์กรระดับภูมิภาคให้มีตัวแทนเคลื่อนไหวที่ชัดเจน ระบุแนวทางต่อสู้จะปรับเป็นรูปแบบองค์กรมากขึ้น เลิกยึดติดตัวบุคคล วันที่ 9 ม.ค. ชุมนุมปรกติแม้ “จตุพร” ถูกศาลสั่งห้ามเข้าร่วม ด้านการประกันตัว 7 แกนนำต้องรอยื่นศาลหลังปีใหม่ “ณัฐวุฒิ-เหวง” นำเขียนอวยพรปีใหม่จากเรือนจำลงใน ส.ค.ส. ที่จะแจกจ่ายให้กับทุกคนที่เดินทางไปเยี่ยม นักวิชาการชี้หลังถูกใช้กำลังปราบปรามคนเสื้อแดงตกอยู่ในสถานะตั้งรับมากขึ้น แนวทางทำกิจกรรมมีขีดจำกัด หากไม่ปรับแนวทางจะอ่อนแรงไปในที่สุด ส่งผลให้ประชาธิปไตยเป็นเพียงเรื่องของชนชั้นนำเท่านั้น ชูมีเพียงคนเสื้อแดงกลุ่มเดียวที่คานอำนาจชนชั้นนำอยู่ในตอนนี้
นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นถึงแนวทางการต่อสู้ของกระบวนการประชาธิปไตย โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน หรือคนเสื้อแดง ในปี 2554 ว่าคนเสื้อแดงต้องไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการต่อสู้ดำเนินต่อไปโดยไม่สะดุดหรือจบลงหลังถูกปราบปรามเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค. 2553 ขณะนี้จะเห็นว่าขบวนการเสื้อแดงอยู่ในสถานะตั้งรับมากขึ้นเรื่อยๆ การนำไม่มีความชัดเจน การทำกิจกรรมก็มีข้อจำกัดมากขึ้น
เสื้อแดงต้องมียุทธศาสตร์ใหญ่ขึ้น
“หากปี 2554 คนเสื้อแดงไม่สามารถบริหารจัดการการเคลื่อนไหวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและดีขึ้นได้ก็มองไม่ออกว่ากระบวนการประชาธิปไตยเพื่อคนส่วนใหญ่จะเดินไปในทิศทางใด ประเทศคงจะเป็นประชาธิปไตยของชนชั้นนำมากขึ้น เพราะตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อปี 2549 ที่ชนชั้นนำต้องการรวบอำนาจให้เป็นปึกแผ่นมากขึ้นก็มีเพียงพลังของคนเสื้อแดงเท่านั้นที่มาคานอำนาจเอาไว้ หากคนเสื้อแดงอ่อนแรงลงประชาธิปไตยก็จะเป็นไปเพื่อชนชั้นนำมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะต้องเร่งปรับโครงสร้างองค์กรและยุทธศาสตร์ใหม่ นปช. อาจจะปรับสภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดง หากต้องการประสบความสำเร็จในการต่อสู้จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่ใหญ่กว่า นปช.” นายศิโรตม์กล่าว
หาผู้นำใหม่ลำบากเพราะมีความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม นายศิโรตม์ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้นำกลุ่มไหนมาแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงทางการเมืองสูง รวมถึงไม่มีหลักประกันว่าในอนาคตจะไม่ถูกใช้กำลังเข้าปราบปรามอีก และจะมีความเสี่ยงทางกฎหมายมากขึ้น เพราะการสู้ก้าวต่อไปนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงเรื่องที่สังคมไทยห้ามพูด คนที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำจึงต้องแบกรับภาระความเสี่ยงนี้
นปช. ตั้งองค์กรระดับภูมิภาค
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า หลังปีใหม่ นปช. จะปรับโครงสร้างการทำงานใหม่อีกครั้ง โดยจะให้มีองค์กร นปช. และผู้นำระดับภูมิภาค เพราะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ เลิกยึดติดหรือเน้นตัวบุคคลมาเน้นที่องค์กรอย่างเป็นระบบ
นางธิดากล่าวอีกว่า แม้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. จะถูกศาลสั่งห้ามร่วมชุมนุมและปราศรัย แต่การชุมนุมวันที่ 9 ม.ค. 2554 จะมีตามปรกติ ซึ่งเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกหลังรัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถใช้เครื่องขยายเสียงสื่อสารกับผู้เข้าร่วมได้
“เชื่อว่าจะมีคนเสื้อแดงมาร่วมไม่ต่ำกว่า 60,000 คน โดยจะทำกิจกรรมตามที่กำหนดเอาไว้” นางธิดากล่าว
ประกันแกนนำต้องรอหลังปีใหม่
สำหรับการยื่นประกันตัวแกนนำ นปช. 7 คน มีรายงานว่าจะดำเนินการหลังปีใหม่ โดยจะยื่นต่อศาลในวันที่ 4 ม.ค. 2554 ขณะเดียวกันมีรายงานว่าแกนนำ 7 คน และแนวร่วมระดับแกนนำอีก 1 คน ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายนิสิต สินธุไพร นายขวัญชัย (ไพรพนา) สาระคำ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายยศวริต ชูกล่อม (เจ๋ง ดอกจิก) และนายสมชาย ไพบูลย์ ได้ให้คนใกล้ชิดจัดทำ ส.ค.ส. ปีใหม่เพื่อแจกให้กับแนวร่วมที่เข้าไปเยี่ยม
“เหวง-ณัฐวุฒิ” นำอวยพรปีใหม่
ส.ค.ส. เป็นแผ่นพับ 4 หน้า ด้านหน้าตราสัญลักษณ์องค์กร นปช. แผ่นที่ 2 และ 3 เป็นรูปภาพของแกนนำและข้อความที่อวยพรให้กับคนเสื้อแดง ด้านหลังเขียนข้อความว่า “ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรม ความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
สำหรับคำอวยพรของแกนนำที่ปรากฏใน ส.ค.ส. เช่น นายณัฐวุฒิเขียนว่า “ผ่านอีกปีบนวิถีการต่อสู้ จิตวิญญาณมั่นคงอยู่แม้ถูกหยาม ดาวร่วงหล่นคนร่วงหายใจจดจำ ท้าอธรรมปีแห่งชัยให้ประชาชน” นพ.เหวงเขียนว่า “ปีใหม่ เวียนมาฟ้าใส มุ่งสู่ชัยหมายปองแดงขวัญ ประชาธิปไตยทั่วไปดุจตะวัน คนเท่ากันปลอดพ้นทุกข์โศกเอย”
ที่มา.จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
*********************************************************************
นายศิโรตม์ คล้ามไพบูลย์ นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ความเห็นถึงแนวทางการต่อสู้ของกระบวนการประชาธิปไตย โดยเฉพาะกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) แดงทั้งแผ่นดิน หรือคนเสื้อแดง ในปี 2554 ว่าคนเสื้อแดงต้องไปคิดว่าจะทำอย่างไรให้กระบวนการต่อสู้ดำเนินต่อไปโดยไม่สะดุดหรือจบลงหลังถูกปราบปรามเมื่อเดือน เม.ย. และ พ.ค. 2553 ขณะนี้จะเห็นว่าขบวนการเสื้อแดงอยู่ในสถานะตั้งรับมากขึ้นเรื่อยๆ การนำไม่มีความชัดเจน การทำกิจกรรมก็มีข้อจำกัดมากขึ้น
เสื้อแดงต้องมียุทธศาสตร์ใหญ่ขึ้น
“หากปี 2554 คนเสื้อแดงไม่สามารถบริหารจัดการการเคลื่อนไหวให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันและดีขึ้นได้ก็มองไม่ออกว่ากระบวนการประชาธิปไตยเพื่อคนส่วนใหญ่จะเดินไปในทิศทางใด ประเทศคงจะเป็นประชาธิปไตยของชนชั้นนำมากขึ้น เพราะตั้งแต่การปฏิวัติเมื่อปี 2549 ที่ชนชั้นนำต้องการรวบอำนาจให้เป็นปึกแผ่นมากขึ้นก็มีเพียงพลังของคนเสื้อแดงเท่านั้นที่มาคานอำนาจเอาไว้ หากคนเสื้อแดงอ่อนแรงลงประชาธิปไตยก็จะเป็นไปเพื่อชนชั้นนำมากขึ้น จึงมีความจำเป็นที่กลุ่มคนเสื้อแดงจะต้องเร่งปรับโครงสร้างองค์กรและยุทธศาสตร์ใหม่ นปช. อาจจะปรับสภาพเป็นเพียงส่วนหนึ่งของคนเสื้อแดง หากต้องการประสบความสำเร็จในการต่อสู้จำเป็นต้องมียุทธศาสตร์ที่ใหญ่กว่า นปช.” นายศิโรตม์กล่าว
หาผู้นำใหม่ลำบากเพราะมีความเสี่ยง
อย่างไรก็ตาม นายศิโรตม์ยอมรับว่าเป็นเรื่องยากที่จะหาผู้นำกลุ่มไหนมาแบกรับภาระอันยิ่งใหญ่นี้ เนื่องจากมีความเสี่ยงทางการเมืองสูง รวมถึงไม่มีหลักประกันว่าในอนาคตจะไม่ถูกใช้กำลังเข้าปราบปรามอีก และจะมีความเสี่ยงทางกฎหมายมากขึ้น เพราะการสู้ก้าวต่อไปนั้นเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องพูดถึงเรื่องที่สังคมไทยห้ามพูด คนที่จะขึ้นมาเป็นผู้นำจึงต้องแบกรับภาระความเสี่ยงนี้
นปช. ตั้งองค์กรระดับภูมิภาค
นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธาน นปช. กล่าวว่า หลังปีใหม่ นปช. จะปรับโครงสร้างการทำงานใหม่อีกครั้ง โดยจะให้มีองค์กร นปช. และผู้นำระดับภูมิภาค เพราะต้องปรับเปลี่ยนแนวทางการต่อสู้ เลิกยึดติดหรือเน้นตัวบุคคลมาเน้นที่องค์กรอย่างเป็นระบบ
นางธิดากล่าวอีกว่า แม้นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. จะถูกศาลสั่งห้ามร่วมชุมนุมและปราศรัย แต่การชุมนุมวันที่ 9 ม.ค. 2554 จะมีตามปรกติ ซึ่งเป็นการชุมนุมใหญ่ครั้งแรกหลังรัฐบาลยกเลิกประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน สามารถใช้เครื่องขยายเสียงสื่อสารกับผู้เข้าร่วมได้
“เชื่อว่าจะมีคนเสื้อแดงมาร่วมไม่ต่ำกว่า 60,000 คน โดยจะทำกิจกรรมตามที่กำหนดเอาไว้” นางธิดากล่าว
ประกันแกนนำต้องรอหลังปีใหม่
สำหรับการยื่นประกันตัวแกนนำ นปช. 7 คน มีรายงานว่าจะดำเนินการหลังปีใหม่ โดยจะยื่นต่อศาลในวันที่ 4 ม.ค. 2554 ขณะเดียวกันมีรายงานว่าแกนนำ 7 คน และแนวร่วมระดับแกนนำอีก 1 คน ประกอบด้วย นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นพ.เหวง โตจิราการ นายก่อแก้ว พิกุลทอง นายนิสิต สินธุไพร นายขวัญชัย (ไพรพนา) สาระคำ นายวิภูแถลง พัฒนภูมิไทย นายยศวริต ชูกล่อม (เจ๋ง ดอกจิก) และนายสมชาย ไพบูลย์ ได้ให้คนใกล้ชิดจัดทำ ส.ค.ส. ปีใหม่เพื่อแจกให้กับแนวร่วมที่เข้าไปเยี่ยม
“เหวง-ณัฐวุฒิ” นำอวยพรปีใหม่
ส.ค.ส. เป็นแผ่นพับ 4 หน้า ด้านหน้าตราสัญลักษณ์องค์กร นปช. แผ่นที่ 2 และ 3 เป็นรูปภาพของแกนนำและข้อความที่อวยพรให้กับคนเสื้อแดง ด้านหลังเขียนข้อความว่า “ประชาธิปไตย สิทธิมนุษยชน ความเป็นธรรม ความเท่าเทียม ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์”
สำหรับคำอวยพรของแกนนำที่ปรากฏใน ส.ค.ส. เช่น นายณัฐวุฒิเขียนว่า “ผ่านอีกปีบนวิถีการต่อสู้ จิตวิญญาณมั่นคงอยู่แม้ถูกหยาม ดาวร่วงหล่นคนร่วงหายใจจดจำ ท้าอธรรมปีแห่งชัยให้ประชาชน” นพ.เหวงเขียนว่า “ปีใหม่ เวียนมาฟ้าใส มุ่งสู่ชัยหมายปองแดงขวัญ ประชาธิปไตยทั่วไปดุจตะวัน คนเท่ากันปลอดพ้นทุกข์โศกเอย”
ที่มา.จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
*********************************************************************
หลังยาวผลาญภาษี
หลังสื่อมวลชนประจำทำเนียบรัฐบาลประกาศตั้งฉายารัฐบาล ซึ่งถือเป็นฝ่ายบริหาร ล่าสุดสื่อมวลชนประจำรัฐสภาได้ประกาศตั้งฉายาของ ส.ส. และ ส.ว. ที่ทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติประจำปี 2553 ดังนี้
“เสื้อแดงบุกสภา” เหตุการณ์แห่งปี
วันที่ 7 เม.ย. 2553 นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำเสื้อแดง นำผู้ชุมนุมบุกเข้ามาในสภาเพื่อตามหาตัวคนที่โยนแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม ทำให้บรรดา ส.ส. ต่างพากันหนีเอาชีวิตรอดด้วยการปีนกำแพงออกทางด้านข้าง นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ถืออาวุธสงครามอารักขาความปลอดภัยให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้สถานการณ์พัฒนาไปจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
วาทะแห่งปี “พูดเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนตัวเองเชื่อคำโกหกตัวเอง”
เป็นคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ตอบโต้นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ระหว่างการตอบกระทู้ถามสดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2553 ที่ถูกกล่าวหาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โดยต้องการให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งหมด
“หลังยาวผลาญภาษี” ฉายาสภาผู้แทนราษฎร
จากการทำงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานของ ส.ส. และความไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำให้สภาล่มซ้ำซากเพราะองค์ประชุมไม่ครบ โดย ส.ส. รัฐบาลอ้างติดงานนอกสภา ขณะที่ฝ่ายค้านก็เล่นเกมนับองค์ประชุมโดยไม่ยึดประโยชน์การทำงานเพื่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังมีการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การทะเลาะวิวาท การใช้คำหยาบในห้องประชุม และปัญหาการตั้งที่ปรึกษา ส.ส. ที่อื้อฉาว แต่กลับได้ปรับการปรับเพิ่มเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน ขัดกับความรู้สึกสังคมที่เห็นว่า ส.ส. ทำงานไม่คุ้มค่า ผลงานแย่ ภาพลักษณ์ตกต่ำ ควรที่จะลดเงินเดือนตัวเองด้วยซ้ำ
“อัมพฤกษ์รับจ๊อบ” ฉายาวุฒิสภา
การที่ ส.ว. มีที่มาจาก 2 ส่วนคือ เลือกตั้ง และสรรหา ทำให้การทำงานของ ส.ว. ทั้ง 2 กลุ่มไม่สอดประสานกันเท่าที่ควรและมีความขัดแย้งค่อนข้างมาก ขณะที่การทำงานในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติกลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ การลงมติเรื่องสำคัญก็แสดงตนรับใช้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอย่างชัดเจน ไม่มีอิสระในการลงมติ การทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงเสือกระดาษ ไม่มีประสิทธิภาพ
“เฒ่าเก๋า-เจ๊ง” ฉายาประธานสภาผู้แทนราษฎร
การทำหน้าที่ควบคุมการประชุมสภาท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร สามารถใช้ความเก๋าและลูกล่อลูกชน บวกกับความเป็นลูกทุ่งพูดจาโผงผางเอาตัวรอดมาได้ จนทำให้ ส.ส. รุ่นน้องยอมรับในความเก๋าเกม ในทางกลับกันการทำหน้าที่ของนายชัยบางครั้งก็ซ้ำเติมความขัดแย้งในห้องประชุมให้หนักขึ้นจนมีการประท้วงกันวุ่นวายหลายครั้ง
“ประสพสึก” ฉายาประธานวุฒิสภา
การทำงานของนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหวังถึงความเห็นกลางและความหนักแน่น เพราะมักทำหน้าที่โดยโอนอ่อนผ่อนตามไปตามแรงกดดันของฝ่ายต่างๆ ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษายาวนานไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงทำให้ชื่อเสียงที่อุตส่าห์สะสมมานานต้องสึกหรอไปเพราะความไม่มั่นคงในจุดยืน
“ดาวเด่น” นายชวลิต วิชยสุทธิ์
ตลอดปีที่ผ่านมานายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส.ฝ่ายค้านได้อย่างโดดเด่น อภิปรายด้วยเหตุและผลไม่ใช้ถ้อยคำเสียดสี ไม่ก้าวร้าว ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของ ส.ส. จึงถูกโหวตให้เป็นดาวเด่นประจำปี
“ดาวดับ” กลุ่ม 40 ส.ว.
กลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งประกอบด้วย ส.ว.เลือกตั้งและ ส.ว.สรรหา ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในการทำหน้าที่ตรวจสอบมาก่อน เช่น นางรสนา โตสิตระกูล นายสมชาย แสวงการ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ทำให้ประชาชนคาดหวังว่าจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารอย่างเข้มแข็งโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง แต่การทำงานที่ผ่านมากลับไม่มีผลงานตรวจสอบเรื่องอะไรที่โดดเด่นและเป็นรูปธรรม แถมยังเพิกเฉยต่อการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ต่างจากกรณีการสลายการชุมนุมคนเสื้อเหลืองที่หน้ารัฐสภาที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน
“คู่กัดแห่งปี” พ.อ.อภิวันท์ VS บุญยอด
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 และนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ จะมีปัญหากันทุกครั้งที่ พ.อ.อภิวันท์ขึ้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยนายบุญยอดมักอภิปรายโจมตีการทำงานว่าไม่เป็นกลางเพราะเป็นคนเสื้อแดง พร้อม กับแถลงข่าวเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งนับครั้งไม่ถ้วน และเคยขัดแย้งกันรุนแรงถึงขั้น พ.อ.อภิวันท์ใช้อำนาจประธานที่ประชุมสั่งให้นายบุญยอดออกจากห้องประชุมสภามาแล้ว
“คนดีศรีสภา” นายทิวา เงินยวง
นายทิวา เงินยวง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงแต่หากไม่จำเป็นจริงๆจะมาร่วมประชุมสภาทุกครั้งไม่เคยขาด ต่างจาก ส.ส. คนอื่นที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ การอภิปรายในสภาก็ใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ และทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติจนกระทั่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ที่มา.จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
“เสื้อแดงบุกสภา” เหตุการณ์แห่งปี
วันที่ 7 เม.ย. 2553 นายอริสมันต์ พงศ์เรืองรอง แกนนำเสื้อแดง นำผู้ชุมนุมบุกเข้ามาในสภาเพื่อตามหาตัวคนที่โยนแก๊สน้ำตาใส่ผู้ชุมนุม ทำให้บรรดา ส.ส. ต่างพากันหนีเอาชีวิตรอดด้วยการปีนกำแพงออกทางด้านข้าง นายชุมพล จุลใส ส.ส.ชุมพร พรรคประชาธิปัตย์ ถืออาวุธสงครามอารักขาความปลอดภัยให้นายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ซึ่งเหตุการณ์ครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้รัฐบาลประกาศใช้ พ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน ทำให้สถานการณ์พัฒนาไปจนมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บจำนวนมาก
วาทะแห่งปี “พูดเท็จซ้ำแล้วซ้ำเล่า จนตัวเองเชื่อคำโกหกตัวเอง”
เป็นคำพูดของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ที่ตอบโต้นายจตุพร พรหมพันธุ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ระหว่างการตอบกระทู้ถามสดในการประชุมสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 28 ม.ค. 2553 ที่ถูกกล่าวหาแทรกแซงกระบวนการยุติธรรม โดยต้องการให้ยึดทรัพย์ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ทั้งหมด
“หลังยาวผลาญภาษี” ฉายาสภาผู้แทนราษฎร
จากการทำงานที่ต่ำกว่ามาตรฐานของ ส.ส. และความไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ ทำให้สภาล่มซ้ำซากเพราะองค์ประชุมไม่ครบ โดย ส.ส. รัฐบาลอ้างติดงานนอกสภา ขณะที่ฝ่ายค้านก็เล่นเกมนับองค์ประชุมโดยไม่ยึดประโยชน์การทำงานเพื่อส่วนรวม นอกจากนี้ยังมีการแสดงพฤติกรรมไม่เหมาะสม เช่น การทะเลาะวิวาท การใช้คำหยาบในห้องประชุม และปัญหาการตั้งที่ปรึกษา ส.ส. ที่อื้อฉาว แต่กลับได้ปรับการปรับเพิ่มเงินเดือนที่มาจากภาษีประชาชน ขัดกับความรู้สึกสังคมที่เห็นว่า ส.ส. ทำงานไม่คุ้มค่า ผลงานแย่ ภาพลักษณ์ตกต่ำ ควรที่จะลดเงินเดือนตัวเองด้วยซ้ำ
“อัมพฤกษ์รับจ๊อบ” ฉายาวุฒิสภา
การที่ ส.ว. มีที่มาจาก 2 ส่วนคือ เลือกตั้ง และสรรหา ทำให้การทำงานของ ส.ว. ทั้ง 2 กลุ่มไม่สอดประสานกันเท่าที่ควรและมีความขัดแย้งค่อนข้างมาก ขณะที่การทำงานในฐานะฝ่ายนิติบัญญัติกลั่นกรองกฎหมายและตรวจสอบรัฐบาลก็ไม่ได้ให้ความสำคัญ การลงมติเรื่องสำคัญก็แสดงตนรับใช้ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้านอย่างชัดเจน ไม่มีอิสระในการลงมติ การทำงานตลอด 1 ปีที่ผ่านมาจึงเป็นเพียงเสือกระดาษ ไม่มีประสิทธิภาพ
“เฒ่าเก๋า-เจ๊ง” ฉายาประธานสภาผู้แทนราษฎร
การทำหน้าที่ควบคุมการประชุมสภาท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมือง นายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฎร สามารถใช้ความเก๋าและลูกล่อลูกชน บวกกับความเป็นลูกทุ่งพูดจาโผงผางเอาตัวรอดมาได้ จนทำให้ ส.ส. รุ่นน้องยอมรับในความเก๋าเกม ในทางกลับกันการทำหน้าที่ของนายชัยบางครั้งก็ซ้ำเติมความขัดแย้งในห้องประชุมให้หนักขึ้นจนมีการประท้วงกันวุ่นวายหลายครั้ง
“ประสพสึก” ฉายาประธานวุฒิสภา
การทำงานของนายประสพสุข บุญเดช ประธานวุฒิสภา ที่ผ่านมาไม่ได้เป็นไปตามที่หลายฝ่ายคาดหวังถึงความเห็นกลางและความหนักแน่น เพราะมักทำหน้าที่โดยโอนอ่อนผ่อนตามไปตามแรงกดดันของฝ่ายต่างๆ ประสบการณ์การทำงานในตำแหน่งผู้พิพากษายาวนานไม่ได้นำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ จึงทำให้ชื่อเสียงที่อุตส่าห์สะสมมานานต้องสึกหรอไปเพราะความไม่มั่นคงในจุดยืน
“ดาวเด่น” นายชวลิต วิชยสุทธิ์
ตลอดปีที่ผ่านมานายชวลิต วิชยสุทธิ์ ส.ส.สัดส่วน พรรคเพื่อไทย ทำหน้าที่ในฐานะ ส.ส.ฝ่ายค้านได้อย่างโดดเด่น อภิปรายด้วยเหตุและผลไม่ใช้ถ้อยคำเสียดสี ไม่ก้าวร้าว ถือเป็นแบบอย่างที่ดีของ ส.ส. จึงถูกโหวตให้เป็นดาวเด่นประจำปี
“ดาวดับ” กลุ่ม 40 ส.ว.
กลุ่ม 40 ส.ว. ซึ่งประกอบด้วย ส.ว.เลือกตั้งและ ส.ว.สรรหา ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในการทำหน้าที่ตรวจสอบมาก่อน เช่น นางรสนา โตสิตระกูล นายสมชาย แสวงการ นายไพบูลย์ นิติตะวัน นายประสาร มฤคพิทักษ์ ทำให้ประชาชนคาดหวังว่าจะทำหน้าที่ตรวจสอบการทำงานของฝ่ายบริหารอย่างเข้มแข็งโดยไม่เลือกที่รักมักที่ชัง แต่การทำงานที่ผ่านมากลับไม่มีผลงานตรวจสอบเรื่องอะไรที่โดดเด่นและเป็นรูปธรรม แถมยังเพิกเฉยต่อการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงที่มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ บาดเจ็บกว่า 2,000 คน ต่างจากกรณีการสลายการชุมนุมคนเสื้อเหลืองที่หน้ารัฐสภาที่ทำหน้าที่อย่างแข็งขัน
“คู่กัดแห่งปี” พ.อ.อภิวันท์ VS บุญยอด
พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย ส.ส.นนทบุรี ในฐานะรองประธานสภาผู้แทนราษฎรคนที่ 2 และนายบุญยอด สุขถิ่นไทย ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ จะมีปัญหากันทุกครั้งที่ พ.อ.อภิวันท์ขึ้นทำหน้าที่ประธานที่ประชุม โดยนายบุญยอดมักอภิปรายโจมตีการทำงานว่าไม่เป็นกลางเพราะเป็นคนเสื้อแดง พร้อม กับแถลงข่าวเรียกร้องให้ลาออกจากตำแหน่งนับครั้งไม่ถ้วน และเคยขัดแย้งกันรุนแรงถึงขั้น พ.อ.อภิวันท์ใช้อำนาจประธานที่ประชุมสั่งให้นายบุญยอดออกจากห้องประชุมสภามาแล้ว
“คนดีศรีสภา” นายทิวา เงินยวง
นายทิวา เงินยวง ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ แม้จะมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงแต่หากไม่จำเป็นจริงๆจะมาร่วมประชุมสภาทุกครั้งไม่เคยขาด ต่างจาก ส.ส. คนอื่นที่มีร่างกายแข็งแรงสมบูรณ์ การอภิปรายในสภาก็ใช้เหตุผล ไม่ใช้อารมณ์ และทำงานในฝ่ายนิติบัญญัติจนกระทั่งเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง
ที่มา.จากหนังสือพิมพ์ โลกวันนี้
**********************************************************************
แผนปฏิบัติการด่วน "กอร์ปศักดิ์" เตรียมปักธงชิงชัยให้ ปชป.-ตั้งหลักสู้ "ทักษิณ" "ต้องเลือกพวกผมต่อ...เลือกพรรคเดียว ถ้าผิดจะโทษได้หมด"
สัมภาษณ์พิเศษ
ถ้า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชื่อ "กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ" คงไม่ขึ้นแท่นเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้ง
ถ้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี คงไม่มีชื่อ "กอร์ปศักดิ์" เป็นรองนายกรัฐมนตรี-เลขาธิการนายกฯ ตามลำดับนับตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551-1 มกราคม 2554
"ต่อไปนี้เจ้านายผมชื่อสุเทพ เทือกสุบรรณ" คือคำมั่นจากอดีตเลขาฯ-คนรู้ใจ "อภิสิทธิ์"
ก่อนลงจากบังเหียนที่ตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนเอ่ยลาคณะรัฐมนตรี "กอร์ปศักดิ์" เปิดใจ ก่อนเปิดเว็บไซต์ยูทูบตอบคนทั้งโลก
- แผนปฏิบัติการเพื่อคนไทย 6 เดือนก่อนเลือกตั้ง ออกแบบไว้กลับมาทำสมัยหน้า
ใช่ครับ...ผมจะลาออกจากเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในต้นปีหน้า มาตรการที่ออกแบบไว้เราต้องได้กลับมาเป็นรัฐบาลจึงจะทำได้เต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องไปเตรียมการทำแคมเปญเลือกตั้งให้ชนะเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลต่อ ต้องตั้งหลักสู้กับพรรคทางโน้น (พรรคเพื่อไทย) เขาก็ลงพื้นที่ปูพรมเตรียมข้อมูลทำแคมเปญเต็มที่เหมือนกัน
เรื่องที่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6 เดือน ก็ต้องมีคำถามแน่นอนแหละว่า ทำไมต้อง 6 เดือน คำตอบก็ชัดครับว่า มันเป็นปีเลือกตั้ง ก็หมายความว่าอยากจะทำเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จ แล้วถ้าทำได้ดีชาวบ้านชอบ เวลาลงสนามแข่งขันการเลือกตั้ง มันก็จะได้ไม่พูดถึงเฉพาะนโยบายในอนาคต แต่พูดถึงสิ่งที่เราทำ และทำได้สำเร็จ อันนี้คือแนวความคิดที่ว่า เราตั้ง เป้าจะเริ่มตอนมกราคม 2554
- เรื่องการแบ่งงานกับกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง
นายกฯบอกว่าหลังประกาศมาตรการให้เริ่มทันที ประเด็นสำคัญคือ ช่วงปีหน้าประมาณ 6 เดือนต้องทำให้แล้วเสร็จ เรื่องนี้นายกฯอยากให้เห็นผลประมาณเดือน กันยายน-ตุลาคม 2554 เพราะฉะนั้น เราดูแล้วเรามีเวลามากสุดอีกประมาณ 2 เดือนที่จะหามาทำต่อ
ท่านนายกฯมอบหมายให้ผมดูแลเรื่อง ค่าครองชีพ เพราะผมคิดว่าในอนาคตอีกปีสองปีข้างหน้าเงินเฟ้อค่อนข้างจะรุนแรง เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะทำได้ นอกจากเร่งหารายได้ให้กับรัฐแล้ว เราจะต้องมีการควบคุมในเรื่องราคาสินค้า
ในเรื่องแรงงานนอกระบบ ท่านนายกฯให้คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดูแลเรื่องแรงงานนอกระบบ แต่นี้มันมีอุบัติเหตุการเมือง คุณอภิรักษ์ต้องไปลงสมัครผู้แทนฯ น่าจะให้คุณกรณ์ จาติกวณิช เข้ามาดูตรงนี้แทน
- การลดค่าครองชีพและเรื่องราคาพลังงานจะทำอย่างไร
รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายการจัดเก็บค่าภาคหลวง เพื่อนำรายได้จากค่าภาคหลวงประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาท มาบริหารการอุดหนุนราคาพลังงาน และจะมีการแก้ไขกฎหมายการแข่งขันทางการค้าให้ครอบคลุมกิจการของรัฐวิสาหกิจ จะมีการพิจารณาเจรจากับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของสัมปทานก๊าซธรรมชาติ ปรับค่า ภาคหลวงให้สอดคล้องกับราคาของตลาดโลกมากขึ้น โดยอาจจะมีการต่อสัญญาสัมปทานเป็นเงื่อนไขในการเจรจา
- ระยะยาวคือแก้ พ.ร.บ.แข่งขันทาง การค้า ให้มีผลกับ ปตท.ด้วย
ตัวอย่างน้ำมัน มันจะชัดมากเพราะไม่มีการแข่งขัน ที่เราเห็นแข่ง ๆ กัน คือ แข่งกันแจกน้ำว่าจะได้กี่ขวด แต่ไม่มีการแข่งเรื่องราคา เมื่อมันไม่แข่ง มันจะทำอะไรก็ได้แหละครับ เพราะฉะนั้นว่าขึ้นมันขึ้นเร็ว เวลาลงมันลงช้า มันทำได้หมดครับ จากตอนแรกที่เราหวังจะให้ ปตท.เป็นคนแทรกแซง แต่ตอนนี้ ปตท.ไม่ใช่ของเราแล้ว เขาก็ไม่แทรกแซง เขาก็หากำไรเหมือนกัน ให้หุ้นเขาขึ้น พอหุ้นขึ้นเขาก็ขยายงานได้ นี่คือสิ่งที่เขาสนใจ
- ระยะสั้นรัฐบาลจะเข้าไปทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับโครงสร้างราคา
รัฐก็คงต้องเขาไปดู มีเรื่องของไข่ไก่ คือว่ามีเจ้าใหญ่อยู่ 2 ราย เราก็ต้องเอาเขาเข้าระบบ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เขาไม่เคยประชุมเลยทั้ง ๆ ที่บทลงโทษตามกฎหมายก็มี นี่เป็นเครื่องมือที่จะไปสู้กับยักษ์ใหญ่พวกนั้น
- ระบบสหกรณ์ที่จะสู้กับยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดสินค้าเกษตรทำอย่างไร
เราต้องอบรมสหกรณ์ให้เข้มแข็ง โดยจะให้สหกรณ์ที่ซื้ออาหารสัตว์มาจับมือกับสหกรณ์ที่ผลิตข้าวโพด มันสำปะหลัง เอาชุมชนพอเพียงเข้ามาร่วมกลุ่ม แต่การจะทำให้ตัวเล็กไปสู้กับตัวใหญ่ได้รัฐก็ต้องช่วยเยอะเหมือนกัน และเราต้องใช้ทุกวิธีการ รวมทั้งการกดดันทางสังคมด้วยเพื่อบอกให้คนค้ารายใหญ่รับผิดชอบสังคมบ้าง
- คิดว่าพวกรายใหญ่จะยอมไหม
ไม่ยอมหรอกครับ แต่เราก็ต้องใช่มาตรการทางสังคมช่วยครับ เหมือนดาราครับ เขาอยู่ได้เพราะสังคมชื่นชมเขา ถ้าเจอสังคมปฏิเสธเขาก็แค่ตัวอะไรตัวหนึ่ง
- มาตรการที่ออกแบบไว้ ถ้าเปลี่ยนรัฐบาลพรรคอื่นเขาก็ไม่ทำต่อ
ก็ใช่ครับ... ก็ต้องเลือกพวกผมต่อ (หัวเราะ)
- หลังเลือกตั้งการแบ่งคุมกระทรวงเศรษฐกิจ ก็อาจไม่ได้อยู่ในมือประชาธิปัตย์
ก็มีวิธีเดียวครับ คือเลือกเฉพาะพรรคเดียวแล้วโทษกันได้หมดเลย ถ้ามันผิด
- มาตรการจะไม่มีทางสำเร็จ ถ้าไม่มีอำนาจทางการเมือง
มันก็ได้บ้าง แต่คุณต้องขยันทำครับ อันนี้เป็นภาระที่หนักที่สุดของรัฐบาลครับ ถ้ารัฐบาลกล้าที่จะบอกว่า จะทำพวกนี้ให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน แล้วถ้าไม่เสร็จมันจะเป็นเรื่องใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งโชคดีว่าผมไม่ใช่หนึ่งใน ครม. (หัวเราะ) อันนี้เป็นความท้าทาย และถ้าทำได้เราจะมีโอกาสชนะเลือกตั้งสูง ซึ่งความท้าทายตรงนี้ นายกรัฐมนตรีเขากล้าที่จะทำ และมีเวลาแค่ 6 เดือนเอง
- ที่ประกาศขนาดนี้หมายความว่าจะเป็นสัญญาณยุบสภาหลัง 6 เดือนข้างหน้า หรือเปล่า
เป็นไปได้ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญนี่ไม่ยากนะ เพราะเมื่อสภาเปิดก็เริ่มกระบวนการแก้ได้ แล้วที่มีคนมาพูดเรื่องแก้กฎหมายลูกนี่ไม่มีหรอกครับ ก็เหลืออย่างเดียวคืออภิปรายไม่ไว้วางใจ ผมว่ามันไปเรื่องการเมืองไกลแล้วนะ ทุกเรื่องที่รัฐบาลนี้ทำก็ไม่เคยมีใครบอกว่ามีความ เชื่อมั่น ตอนประกันรายได้ก็ไม่มีใครบอกว่าสำเร็จ เราก็ต้องดัน ๆ จนกว่าจะสำเร็จ
- กรอบมาตรการปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทย เป็นเรื่องที่จะสามารถล้างนโยบายประชานิยมแบบทักษิณ
ผมไม่ค่อยคิดว่าเรื่องที่ผมทำมันเป็นประชานิยมอะไรเลยนะ ผมแค่ทำเรื่องเศรษฐกิจให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง คิดดูเรามีโรงกลั่นก๊าซธรรมชาติ 5 โรง ท่านนายกฯบอกให้กลับไปดูว่าก๊าซ ที่นำเข้ามาก็ให้ขายไป ขายเท่าราคาตลาด กำไรต้องเข้าหลวง เพราะโรงกลั่น ทั้ง 5 โรงหลวงเป็นคนสร้าง แต่เขาจะบอกว่าเงินให้หลวงไปแล้ว ผมก็จะอัดว่าตอนนั้นมันหุ้นละ 35 บาทตอนที่คุณให้เงินผม ซึ่งมันผิดพลาดอย่างมหาศาล คือเราไม่อยากมองอะไรในแง่ร้าย แต่โครงสร้างในส่วนนี้มันไม่ดี
รัฐบาลจะตรึงราคาไปอีก 2-5 ปี หรือจะเป็น 3-5 ปี จากนั้นจะทำเป็น 2 ราคาสำหรับครัวเรือน อุตสาหกรรม แต่รัฐบาลยังอยากที่จะช่วยครัวเรือนอยู่ เนื่องจากเป็นประชานิยมเล็ก ๆ (หัวเราะ) คือถ้าใครมาเถียงนะว่าไม่ใช่ประชานิยม มันต้องยอมรับครับ เราอยากให้ชาวบ้าน รัก เราคิดว่าเงินนี้ไม่ไปตกหล่นในกระเป๋าใคร แล้วไปถึงชาวบ้าน ไม่มีปัญหาครับ
- มีคนถามว่ารัฐบาลเข้ามาตั้งนานแต่ทำไมเพิ่งคิดได้ก่อนการเลือกตั้ง
ผมเข้ามาวันแรกก็แย่แล้ว คนว่างงานเป็นล้านคน เศรษฐกิจมันเจ๊งตั้งแต่วันแรก ผมกำลังจะบอกว่าพวกเราไม่มีปัญญา คิดเรื่องแบบนี้เลย มาแก้เศรษฐกิจให้คนไม่ว่างงานก็จะแย่อยู่แล้ว ตอนนั้นมันหนักจริง ๆ แต่เราก็ผ่านมาได้ แต่คิดว่าจะดีขึ้นกลับเจอเสื้อแดงรบกันตั้งนานแล้วมาเจอน้ำท่วม พอเริ่มรู้สึกว่าเรื่องเศรษฐกิจดีแล้วมันเริ่มลงตัวก็เหลือเสื้อแดงอย่างเดียว แล้วก็เรื่องการเมืองที่ต้องดู
มาตรการครั้งนี้เป็นการจัดระเบียบให้โครงสร้างเศรษฐกิจมีความเป็นธรรมเป็นระบบมากขึ้น เพราะเวลานี้มันเหลื่อมล้ำ โครงสร้างมันใครใคร่ค้าคนรวยก็รวย คนจนก็จน ทำงานลำบาก โครงสร้างซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับคือสิ่งที่เราจะทำ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ถ้า อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ชื่อ "กอร์ปศักดิ์ สภาวสุ" คงไม่ขึ้นแท่นเป็นผู้อำนวยการเลือกตั้ง
ถ้าอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่ใช่นายกรัฐมนตรี คงไม่มีชื่อ "กอร์ปศักดิ์" เป็นรองนายกรัฐมนตรี-เลขาธิการนายกฯ ตามลำดับนับตั้งแต่ 20 ธันวาคม พ.ศ. 2551-1 มกราคม 2554
"ต่อไปนี้เจ้านายผมชื่อสุเทพ เทือกสุบรรณ" คือคำมั่นจากอดีตเลขาฯ-คนรู้ใจ "อภิสิทธิ์"
ก่อนลงจากบังเหียนที่ตึกไทยคู่ฟ้า ก่อนเอ่ยลาคณะรัฐมนตรี "กอร์ปศักดิ์" เปิดใจ ก่อนเปิดเว็บไซต์ยูทูบตอบคนทั้งโลก
- แผนปฏิบัติการเพื่อคนไทย 6 เดือนก่อนเลือกตั้ง ออกแบบไว้กลับมาทำสมัยหน้า
ใช่ครับ...ผมจะลาออกจากเลขาธิการนายกรัฐมนตรีในต้นปีหน้า มาตรการที่ออกแบบไว้เราต้องได้กลับมาเป็นรัฐบาลจึงจะทำได้เต็มรูปแบบ ดังนั้นจึงต้องไปเตรียมการทำแคมเปญเลือกตั้งให้ชนะเลือกตั้งเกินกึ่งหนึ่ง เพื่อที่จะได้กลับมาเป็นรัฐบาลต่อ ต้องตั้งหลักสู้กับพรรคทางโน้น (พรรคเพื่อไทย) เขาก็ลงพื้นที่ปูพรมเตรียมข้อมูลทำแคมเปญเต็มที่เหมือนกัน
เรื่องที่สามารถทำให้แล้วเสร็จได้ภายใน 6 เดือน ก็ต้องมีคำถามแน่นอนแหละว่า ทำไมต้อง 6 เดือน คำตอบก็ชัดครับว่า มันเป็นปีเลือกตั้ง ก็หมายความว่าอยากจะทำเรื่องนี้ให้แล้วเสร็จ แล้วถ้าทำได้ดีชาวบ้านชอบ เวลาลงสนามแข่งขันการเลือกตั้ง มันก็จะได้ไม่พูดถึงเฉพาะนโยบายในอนาคต แต่พูดถึงสิ่งที่เราทำ และทำได้สำเร็จ อันนี้คือแนวความคิดที่ว่า เราตั้ง เป้าจะเริ่มตอนมกราคม 2554
- เรื่องการแบ่งงานกับกรณ์ จาติกวณิช รมว.คลัง
นายกฯบอกว่าหลังประกาศมาตรการให้เริ่มทันที ประเด็นสำคัญคือ ช่วงปีหน้าประมาณ 6 เดือนต้องทำให้แล้วเสร็จ เรื่องนี้นายกฯอยากให้เห็นผลประมาณเดือน กันยายน-ตุลาคม 2554 เพราะฉะนั้น เราดูแล้วเรามีเวลามากสุดอีกประมาณ 2 เดือนที่จะหามาทำต่อ
ท่านนายกฯมอบหมายให้ผมดูแลเรื่อง ค่าครองชีพ เพราะผมคิดว่าในอนาคตอีกปีสองปีข้างหน้าเงินเฟ้อค่อนข้างจะรุนแรง เพราะฉะนั้นสิ่งแรกที่เราจะทำได้ นอกจากเร่งหารายได้ให้กับรัฐแล้ว เราจะต้องมีการควบคุมในเรื่องราคาสินค้า
ในเรื่องแรงงานนอกระบบ ท่านนายกฯให้คุณอภิรักษ์ โกษะโยธิน ดูแลเรื่องแรงงานนอกระบบ แต่นี้มันมีอุบัติเหตุการเมือง คุณอภิรักษ์ต้องไปลงสมัครผู้แทนฯ น่าจะให้คุณกรณ์ จาติกวณิช เข้ามาดูตรงนี้แทน
- การลดค่าครองชีพและเรื่องราคาพลังงานจะทำอย่างไร
รัฐบาลเตรียมแก้กฎหมายการจัดเก็บค่าภาคหลวง เพื่อนำรายได้จากค่าภาคหลวงประมาณปีละ 1 หมื่นล้านบาท มาบริหารการอุดหนุนราคาพลังงาน และจะมีการแก้ไขกฎหมายการแข่งขันทางการค้าให้ครอบคลุมกิจการของรัฐวิสาหกิจ จะมีการพิจารณาเจรจากับบริษัทเอกชนที่เป็นเจ้าของสัมปทานก๊าซธรรมชาติ ปรับค่า ภาคหลวงให้สอดคล้องกับราคาของตลาดโลกมากขึ้น โดยอาจจะมีการต่อสัญญาสัมปทานเป็นเงื่อนไขในการเจรจา
- ระยะยาวคือแก้ พ.ร.บ.แข่งขันทาง การค้า ให้มีผลกับ ปตท.ด้วย
ตัวอย่างน้ำมัน มันจะชัดมากเพราะไม่มีการแข่งขัน ที่เราเห็นแข่ง ๆ กัน คือ แข่งกันแจกน้ำว่าจะได้กี่ขวด แต่ไม่มีการแข่งเรื่องราคา เมื่อมันไม่แข่ง มันจะทำอะไรก็ได้แหละครับ เพราะฉะนั้นว่าขึ้นมันขึ้นเร็ว เวลาลงมันลงช้า มันทำได้หมดครับ จากตอนแรกที่เราหวังจะให้ ปตท.เป็นคนแทรกแซง แต่ตอนนี้ ปตท.ไม่ใช่ของเราแล้ว เขาก็ไม่แทรกแซง เขาก็หากำไรเหมือนกัน ให้หุ้นเขาขึ้น พอหุ้นขึ้นเขาก็ขยายงานได้ นี่คือสิ่งที่เขาสนใจ
- ระยะสั้นรัฐบาลจะเข้าไปทำอะไรได้บ้างเกี่ยวกับโครงสร้างราคา
รัฐก็คงต้องเขาไปดู มีเรื่องของไข่ไก่ คือว่ามีเจ้าใหญ่อยู่ 2 ราย เราก็ต้องเอาเขาเข้าระบบ พ.ร.บ.การแข่งขันทางการค้า ซึ่งกระทรวงพาณิชย์เขาไม่เคยประชุมเลยทั้ง ๆ ที่บทลงโทษตามกฎหมายก็มี นี่เป็นเครื่องมือที่จะไปสู้กับยักษ์ใหญ่พวกนั้น
- ระบบสหกรณ์ที่จะสู้กับยักษ์ใหญ่เจ้าตลาดสินค้าเกษตรทำอย่างไร
เราต้องอบรมสหกรณ์ให้เข้มแข็ง โดยจะให้สหกรณ์ที่ซื้ออาหารสัตว์มาจับมือกับสหกรณ์ที่ผลิตข้าวโพด มันสำปะหลัง เอาชุมชนพอเพียงเข้ามาร่วมกลุ่ม แต่การจะทำให้ตัวเล็กไปสู้กับตัวใหญ่ได้รัฐก็ต้องช่วยเยอะเหมือนกัน และเราต้องใช้ทุกวิธีการ รวมทั้งการกดดันทางสังคมด้วยเพื่อบอกให้คนค้ารายใหญ่รับผิดชอบสังคมบ้าง
- คิดว่าพวกรายใหญ่จะยอมไหม
ไม่ยอมหรอกครับ แต่เราก็ต้องใช่มาตรการทางสังคมช่วยครับ เหมือนดาราครับ เขาอยู่ได้เพราะสังคมชื่นชมเขา ถ้าเจอสังคมปฏิเสธเขาก็แค่ตัวอะไรตัวหนึ่ง
- มาตรการที่ออกแบบไว้ ถ้าเปลี่ยนรัฐบาลพรรคอื่นเขาก็ไม่ทำต่อ
ก็ใช่ครับ... ก็ต้องเลือกพวกผมต่อ (หัวเราะ)
- หลังเลือกตั้งการแบ่งคุมกระทรวงเศรษฐกิจ ก็อาจไม่ได้อยู่ในมือประชาธิปัตย์
ก็มีวิธีเดียวครับ คือเลือกเฉพาะพรรคเดียวแล้วโทษกันได้หมดเลย ถ้ามันผิด
- มาตรการจะไม่มีทางสำเร็จ ถ้าไม่มีอำนาจทางการเมือง
มันก็ได้บ้าง แต่คุณต้องขยันทำครับ อันนี้เป็นภาระที่หนักที่สุดของรัฐบาลครับ ถ้ารัฐบาลกล้าที่จะบอกว่า จะทำพวกนี้ให้แล้วเสร็จใน 6 เดือน แล้วถ้าไม่เสร็จมันจะเป็นเรื่องใหญ่ของรัฐบาล ซึ่งโชคดีว่าผมไม่ใช่หนึ่งใน ครม. (หัวเราะ) อันนี้เป็นความท้าทาย และถ้าทำได้เราจะมีโอกาสชนะเลือกตั้งสูง ซึ่งความท้าทายตรงนี้ นายกรัฐมนตรีเขากล้าที่จะทำ และมีเวลาแค่ 6 เดือนเอง
- ที่ประกาศขนาดนี้หมายความว่าจะเป็นสัญญาณยุบสภาหลัง 6 เดือนข้างหน้า หรือเปล่า
เป็นไปได้ เรื่องแก้รัฐธรรมนูญนี่ไม่ยากนะ เพราะเมื่อสภาเปิดก็เริ่มกระบวนการแก้ได้ แล้วที่มีคนมาพูดเรื่องแก้กฎหมายลูกนี่ไม่มีหรอกครับ ก็เหลืออย่างเดียวคืออภิปรายไม่ไว้วางใจ ผมว่ามันไปเรื่องการเมืองไกลแล้วนะ ทุกเรื่องที่รัฐบาลนี้ทำก็ไม่เคยมีใครบอกว่ามีความ เชื่อมั่น ตอนประกันรายได้ก็ไม่มีใครบอกว่าสำเร็จ เราก็ต้องดัน ๆ จนกว่าจะสำเร็จ
- กรอบมาตรการปฏิบัติการด่วนเพื่อคนไทย เป็นเรื่องที่จะสามารถล้างนโยบายประชานิยมแบบทักษิณ
ผมไม่ค่อยคิดว่าเรื่องที่ผมทำมันเป็นประชานิยมอะไรเลยนะ ผมแค่ทำเรื่องเศรษฐกิจให้มีการแข่งขันอย่างแท้จริง คิดดูเรามีโรงกลั่นก๊าซธรรมชาติ 5 โรง ท่านนายกฯบอกให้กลับไปดูว่าก๊าซ ที่นำเข้ามาก็ให้ขายไป ขายเท่าราคาตลาด กำไรต้องเข้าหลวง เพราะโรงกลั่น ทั้ง 5 โรงหลวงเป็นคนสร้าง แต่เขาจะบอกว่าเงินให้หลวงไปแล้ว ผมก็จะอัดว่าตอนนั้นมันหุ้นละ 35 บาทตอนที่คุณให้เงินผม ซึ่งมันผิดพลาดอย่างมหาศาล คือเราไม่อยากมองอะไรในแง่ร้าย แต่โครงสร้างในส่วนนี้มันไม่ดี
รัฐบาลจะตรึงราคาไปอีก 2-5 ปี หรือจะเป็น 3-5 ปี จากนั้นจะทำเป็น 2 ราคาสำหรับครัวเรือน อุตสาหกรรม แต่รัฐบาลยังอยากที่จะช่วยครัวเรือนอยู่ เนื่องจากเป็นประชานิยมเล็ก ๆ (หัวเราะ) คือถ้าใครมาเถียงนะว่าไม่ใช่ประชานิยม มันต้องยอมรับครับ เราอยากให้ชาวบ้าน รัก เราคิดว่าเงินนี้ไม่ไปตกหล่นในกระเป๋าใคร แล้วไปถึงชาวบ้าน ไม่มีปัญหาครับ
- มีคนถามว่ารัฐบาลเข้ามาตั้งนานแต่ทำไมเพิ่งคิดได้ก่อนการเลือกตั้ง
ผมเข้ามาวันแรกก็แย่แล้ว คนว่างงานเป็นล้านคน เศรษฐกิจมันเจ๊งตั้งแต่วันแรก ผมกำลังจะบอกว่าพวกเราไม่มีปัญญา คิดเรื่องแบบนี้เลย มาแก้เศรษฐกิจให้คนไม่ว่างงานก็จะแย่อยู่แล้ว ตอนนั้นมันหนักจริง ๆ แต่เราก็ผ่านมาได้ แต่คิดว่าจะดีขึ้นกลับเจอเสื้อแดงรบกันตั้งนานแล้วมาเจอน้ำท่วม พอเริ่มรู้สึกว่าเรื่องเศรษฐกิจดีแล้วมันเริ่มลงตัวก็เหลือเสื้อแดงอย่างเดียว แล้วก็เรื่องการเมืองที่ต้องดู
มาตรการครั้งนี้เป็นการจัดระเบียบให้โครงสร้างเศรษฐกิจมีความเป็นธรรมเป็นระบบมากขึ้น เพราะเวลานี้มันเหลื่อมล้ำ โครงสร้างมันใครใคร่ค้าคนรวยก็รวย คนจนก็จน ทำงานลำบาก โครงสร้างซัพพลายเชนที่เกี่ยวข้องกับคนทุกระดับคือสิ่งที่เราจะทำ
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันพุธที่ 29 ธันวาคม พ.ศ. 2553
เขมรจับ "พนิช" และคณะ ระหว่างเข้าไปเก็บข้อมูลในพื้นที่ชายแดนสระแก้ว "มาร์ค"ทราบเรื่องแล้ว
มีรายงานข่าวแจ้งว่า นายพนิช วิกิตเศรษฐ์ ส.ส.กรุงเทพมหานคร พรรคประชาธิปัตย์ พร้อม ร.ต.แซมดิน เลิศบุศย์ นายวีระ สมความคิด และคณะ ถูกเจ้าหน้าที่ทหารกัมพูชาจับตัวไป พร้อมกับอุปกรณ์ในการถ่ายทำรายการ ที่บริเวณถนนศรีเพ็ญ บ้านหนองจาน อ.โคกสูง จ.สระแก้ว
ขณะที่นายพนิชได้ให้คนขับรถโทรศัพท์บอกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ทราบเรื่องแล้ว
ทั้งนี้ นายพนิชเคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนที่จะลาออกมาลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 แทนตำแหน่งที่ว่างลง หลังจากนายทิวา เงินยวง เสียชีวิตไป
ด้านนายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าฯสระแก้ว เปิดเผยผ่านสถานีทีวีไทย เมื่อเวลา 14.00 น. ว่า ตอนนี้ฝ่ายไทยมีผู้กำกับตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ปลัดอาวุโส และกองกำลังบูรพา อยู่ระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะเป็นไปในแนวทางที่ดีเพราะไม่มีความขัดแย้งกัน ทั้งนี้ บริเวณที่ถูกคุมตัวไปอยู่ในเขตหมู่บ้านชมรมบ้านหนองจาน ห่างจากบริเวณชายแดนประมาณ 500 เมตร
"คงเป็นการเข้าใจผิดกัน เพราะว่าพื้นที่จุดแดงเป็นพื้นที่นาธรรมดา และอยู่ระหว่างการปักปันเขตแดน แต่ในหลักการก็กำลังดำเนินการอยู่ ส่วนรายละเอียดคงต้องรอนายพนิช ออกมาก่อนถึงจะทราบถึงสาเหตุที่เข้าไป นอกจากนี้ ทางกองกำลังบูรพา ซึ่งดูแลชายแดนอยู่ ได้มอบหมายให้ ตชด. เข้าไปดูแล นโยบายคือขอให้ปล่อยตัวให้เร็วที่สุด เพราะเชื่อว่าเกิดจากความเข้าใจผิด"
ที่มา.มติชนออนไลน์
-------------------------------------------------------
ขณะที่นายพนิชได้ให้คนขับรถโทรศัพท์บอกนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ซึ่งนายชวนนท์ อินทรโกมาลย์สุต เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เปิดเผยว่า นายอภิสิทธิ์ทราบเรื่องแล้ว
ทั้งนี้ นายพนิชเคยเป็นผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ก่อนที่จะลาออกมาลงสมัครเลือกตั้งซ่อม ส.ส.กรุงเทพฯ เขต 6 แทนตำแหน่งที่ว่างลง หลังจากนายทิวา เงินยวง เสียชีวิตไป
ด้านนายศานิตย์ นาคสุขศรี ผู้ว่าฯสระแก้ว เปิดเผยผ่านสถานีทีวีไทย เมื่อเวลา 14.00 น. ว่า ตอนนี้ฝ่ายไทยมีผู้กำกับตำรวจตระเวนชายแดน (ตชด.) ปลัดอาวุโส และกองกำลังบูรพา อยู่ระหว่างการเจรจากับฝ่ายกัมพูชา อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าจะเป็นไปในแนวทางที่ดีเพราะไม่มีความขัดแย้งกัน ทั้งนี้ บริเวณที่ถูกคุมตัวไปอยู่ในเขตหมู่บ้านชมรมบ้านหนองจาน ห่างจากบริเวณชายแดนประมาณ 500 เมตร
"คงเป็นการเข้าใจผิดกัน เพราะว่าพื้นที่จุดแดงเป็นพื้นที่นาธรรมดา และอยู่ระหว่างการปักปันเขตแดน แต่ในหลักการก็กำลังดำเนินการอยู่ ส่วนรายละเอียดคงต้องรอนายพนิช ออกมาก่อนถึงจะทราบถึงสาเหตุที่เข้าไป นอกจากนี้ ทางกองกำลังบูรพา ซึ่งดูแลชายแดนอยู่ ได้มอบหมายให้ ตชด. เข้าไปดูแล นโยบายคือขอให้ปล่อยตัวให้เร็วที่สุด เพราะเชื่อว่าเกิดจากความเข้าใจผิด"
ที่มา.มติชนออนไลน์
-------------------------------------------------------
กองทัพกับการเมืองไทย 1
โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์
เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการเมืองเท่านั้น
คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้งนั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย
ครั้นมาถึงตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย
ผมคิดว่า ความจริงคงอยู่ระหว่างสุดโต่งสองด้านนี้ กล่าวคือกองทัพเป็นตัวละครหนึ่ง ซึ่งมีผลประโยชน์, ความต้องการ, ความใฝ่ฝัน ฯลฯ ที่เป็นของตัวเอง แต่ตัวละครตัวเดียวนี้ไม่สามารถปฏิบัติการทางการเมืองแต่ลำพังได้ ต้องเชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในระบบ, นอกระบบ, และปริ่มๆ ระบบ อีกทั้งที่เข้าไปเชื่อมโยงก็ไม่ใช่เพราะกองทัพตัดสินใจได้เองเพียงอย่างเดียว หากเชื่อมโยงเพราะสถานการณ์ชักจูงไปก็ไม่น้อย เหมือนตัวละครในการเมืองไทยอื่นๆ แหละครับ
แต่ก่อนจะพูดถึงพันธมิตรหรือเครือข่ายของกองทัพ ผมคิดว่ามาเริ่มต้นกับผลประโยชน์ของกองทัพในการเข้าไปมีบทบาทและอำนาจกำกับ (ระดับหนึ่ง) ในการเมืองไทยกันเสียก่อน
ผลประโยชน์ในที่นี้ ผมจะไม่รวมผลประโยชน์ทางอุดมการณ์ เช่น ทหารถูกทำให้เชื่อว่าตนมีหน้าที่ปกป้องราชบัลลังก์ และผดุงความเป็นชาติไทยเอาไว้ และผมไม่นับการที่นายพลได้กินสินบนในการสั่งซื้ออาวุธและอื่นๆ ว่าเป็นผลประโยชน์ของกองทัพ
เท่าที่ผมนึกออก ผมคิดว่ากองทัพได้รับผลประโยชน์จากการเข้าไปมีอำนาจและบทบาททางการเมืองไทยดังนี้
อันแรกคืองบประมาณ เป็นหลักประกันว่ากองทัพจะได้งบประมาณจำนวนมาก ในช่วงสี่ปีหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน งบประมาณกองทัพพุ่งขึ้นตลอดมา จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบงบประมาณทหารต่อจีดีพีแล้ว งบประมาณทหารไทยดูเหมือนจะอยู่สูงสุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน (และแน่นอนว่าสูงกว่าประเทศอียูทั้งมวล)
แน่นอน ส่วนหนึ่งของงบฯนี้ ถูกแบ่งไปซื้อเรือเหาะที่เหาะไม่ได้ เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้อคติเป็นพลังงาน รถถังที่ไม่มีเครื่อง ฯลฯ แต่ที่ผมอยากพูดถึงมากกว่าก็คือ ทหารก็เหมือนข้าราชการอื่นๆ กล่าวคืออยากจะพิสูจน์ความชอบธรรมของหน่วยตนเอง ด้วยการแสดงสมรรถนะให้สังคมยอมรับ กองทัพเลือกการมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยเป็นเครื่องหมายแห่งสมรรถนะ (จะถูกหรือผิดคงเถียงกันได้)
ยิ่งกว่าหน่วยราชการทั่วไปด้วย กองทัพจะพิสูจน์ความชอบธรรมของการมีอยู่ของตนได้น้อยลง เพราะโลกข้างหน้าเท่าที่จะพอมองเห็นได้ คงไม่มีสงครามใหญ่กระทบมาถึงไทย นับวันภารกิจของกองทัพต้องหันมาสู่กิจการภายในมากขึ้น นับตั้งแต่ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล, ช่วยน้ำท่วม และสวนสนาม ฉะนั้นการป้องกันงบประมาณกลาโหมจะยิ่งยากขึ้น อย่าพูดถึงของบฯเพิ่มเลย แม้แต่จะรักษางบฯเก่าให้คงเดิมก็ยากแล้ว
การแผ่รังสีอำมหิตเข้าครอบงำการเมืองจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะประกันว่างบประมาณทหารจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตลอดไป
ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการประกอบภารกิจภายในบางอย่าง ต้องการอำนาจทั้งในกฎหมายและเหนือกฎหมาย เพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงได้ง่ายด้วย เช่น ผลักดันชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านกลับ, ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล และแหะๆ ยึดอำนาจ
ผลประโยชน์อย่างที่สองคือทรัพยากร อย่านึกว่ากองทัพไทยมีแต่ปืนและเครื่องแบบ ที่จริงแล้วกองทัพครอบครองทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญสองอย่างคือที่ดินและคลื่นความถี่ ทรัพยากรเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทางการเมืองที่กองทัพมีอยู่ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ หากทหารไม่มีอำนาจทางการเมืองอยู่เลย ระเบียบอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ที่รัฐเพิ่งเสนอ ก็คงริบเอาคลื่นความถี่ด้าน "ความมั่นคง" ทั้งหมด กลับมาให้คณะกรรมการพิจารณา ไม่ใช่สงวนไว้นอกอำนาจของ กสทช.หน้าตาเฉยอย่างนี้
ที่ดินซึ่งหวงห้ามไว้ในราชอาณาจักรอีกจำนวนมหึมา สมัยที่หวงห้ามยังเป็นป่าเขาที่ห่างไกล แต่บัดนี้กลายเป็นพื้นที่ใกล้หรือในเมือง เพราะการขยายตัวของพื้นที่เมืองในประเทศไทย ย่อมเป็นแหล่งรายได้ทางธุรกิจมหาศาล ไม่พูดถึงการหาประโยชน์เข้ากระเป๋าของนายทหาร หากกองทัพนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ กองทัพก็จะมีเงินรายได้นอกงบประมาณไว้ใช้สอยอีกจำนวนมหึมา (มากกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียอีก)
แม้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของนายพลคนใด แต่เป็นสมบัติของกองทัพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ฉะนั้นถึงอย่างไรก็ต้องรักษาเอาไว้ จะรักษาไว้ได้ก็ต้องควบคุมการเมืองในระดับหนึ่ง เช่น อย่าให้มีใครกล้าออกกฎหมายที่ดินซึ่งจะทำให้กองทัพสูญเสียทรัพยากรที่ดินในครอบครองไป
ผลประโยชน์อย่างที่สามคือโอกาสทางธุรกิจของนายทหาร เพราะอำนาจของกองทัพในการเมืองนี่เอง ธุรกิจจึงนิยมใช้ประโยชน์จากเส้นสายของนายทหารนอกราชการ ทหารเกษียณหลายคนได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ยังไม่พูดถึงรัฐวิสาหกิจ อย่ามองเรื่องนี้เพียงผลประโยชน์ของนายทหารบางคนเท่านั้น นั่นก็ใช่แน่
แต่หากมองว่าระบบบำนาญของกองทัพนั้น มีหลักประกันด้านสวัสดิการที่เหนือกว่าข้าราชการทั่วไป เป็นระบบสวัสดิการของกองทัพซึ่งจะรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องมีอำนาจในการเมือง
อีกเรื่องที่ผมอยากพูดถึงไว้ด้วยก็คือเรื่องของ redistribution หรือการกระจายทรัพย์สมบัติกลับสู่บุคลากรในกองทัพ
ทหารไทยมีประเพณีของ redistribution สูง นับตั้งแต่เลี้ยงเหล้าไอ้เณร ไปจนถึงแบ่งทรัพยากรของกองทัพให้ลูกน้องที่อยู่ในสังกัดของตนได้ดูแล (และบริโภค) เพราะเราจัดความสัมพันธ์ภายในกองทัพในลักษณะนาย-ไพร่ของกองทัพโบราณ เมื่อยึดทรัพย์จับเชลยมาได้ ก็แบ่งปันกันในหมู่ไพร่ในสังกัด ฉะนั้นต้องเข้าใจด้วยว่าผลประโยชน์ที่กองทัพมี หรือที่นายทหารเม้มใส่กระเป๋าของตนนั้น อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งถูกจำหน่ายจ่ายแจกไปในกองทัพ-ในรูปต่างๆ-อยู่พอสมควร
ภารกิจที่จะต้องมีอำนาจเหนือการเมือง จึงเป็นภารกิจที่บุคลากรในกองทัพยอมรับได้ว่าเป็นภารกิจร่วมกันของกองทัพ
จะมีอำนาจเหนือการเมืองได้ ก็ต้องเป็นตัวละครอิสระทางการเมือง กล่าวคือมีความต้องการและทิศทางของตนเอง จะเป็นอย่างนั้นก็ต้องรักษาอิสรภาพของตนไว้ให้ได้ นี่คือเหตุผลที่กองทัพไม่ไว้ใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเผลอเมื่อไรก็มักจะแทรกเข้ามาลดอิสรภาพของกองทัพเสมอ ผบ.กองทัพนั้น กองทัพอยากเป็นคนเลือกเอง เพราะ ผบ.ที่เป็นอิสระเท่านั้น ที่จะไม่นำกองทัพไปเป็นเครื่องมือของใคร (อย่างไม่มีข้อแลกเปลี่ยนเลย)
แต่อำนาจของกองทัพเหนือการเมืองนั้น ไม่ได้มาจากรถถัง, ทหารป่าหวาย, หรือปืนยิงเร็ว ฯลฯ นั่นก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญ กองทัพจะยึดอำนาจหรือรักษาอำนาจของตนในการเมืองไว้ได้ ก็เพราะกองทัพได้รับความเห็นชอบจากส่วนอื่นๆ ที่มีพลังในสังคม
เมื่อตอนที่กองทัพทำรัฐประหารสำเร็จ นายแบงก์และนายทุนธุรกิจพากันหิ้วกระเช้าไปแสดงความยินดีกับหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่จริงแล้วเขาพากันไปแสดงความยินดีกับตนเองไปพร้อมกันด้วย
เพราะการยึดอำนาจครั้งนั้นเขาเห็นชอบ และบางครั้งถึงกับเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินอยู่เบื้องหลังบางส่วนด้วยซ้ำ
ฉะนั้น เราจึงจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของกองทัพได้ ก็โดยการดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองทัพกับ "พันธมิตร" เหล่านี้ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้อยู่คงที่ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เพราะ "พันธมิตร" ก็ต้องการเป็นตัวละครอิสระในทางการเมืองเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนข้างเปลี่ยนสี เปลี่ยนจุดเน้นแห่งพันธะ และเปลี่ยนการดำเนินการทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลกระทบไปถึงการเมืองภายในของกองทัพเองด้วย และแน่นอนย่อมมีผลให้เกิดพลวัตที่แฝงอยู่ในการเมืองไทย
กลุ่มที่เข้ามามีบทบาทบนพื้นที่ทางการเมืองไทย นับจาก 14 ตุลาเป็นต้นมา มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รวมทั้งเพิ่มเข้ามาใหม่อย่างไม่หยุดหย่อนด้วย) ทำให้อำนาจดิบของกองทัพยิ่งไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น การล่มสลายของคณะ รสช.ในเดือนพฤษภาคม 2535 พิสูจน์ว่าอำนาจดิบอย่างเดียวใช้คุมการเมืองไม่ได้ กองทัพเหลียวมองข้างหลังแล้วพบว่า "พันธมิตร" ของตนส่วนใหญ่เผ่นป่าราบไปแล้ว บางส่วนถึงไม่ได้เผ่น ก็เริ่มแทงกั๊ก คือผลักภาระให้กองทัพรับผิดชอบไปแต่ผู้เดียว
ยิ่งย้อนกลับไปถึง 14 ตุลา ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า บางส่วนของ "พันธมิตร" ลอบแทงข้างหลังกองทัพมาแต่ต้น เป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในกองทัพอย่างหนัก แต่พัฒนาการทางการเมืองหลังจากนั้น กลับดึงให้ "พันธมิตร" บางกลุ่มต้องหันกลับมาร่วมมือกับบางส่วนของกองทัพ เพื่อผดุงอำนาจต่อรองของตนในการเมืองเอาไว้
ฉะนั้น ที่ผมเรียกว่า "พันธมิตร" ของกองทัพนั้น ไม่สู้จะถูกต้องนัก เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจับมือกับกองทัพในบางสถานการณ์ และหันหลังให้กองทัพในอีกสถานการณ์หนึ่งได้ ที่ถูกต้องกว่าก็คือกลุ่มคนเหล่านี้เป็น "หุ้นส่วน" ในการเมืองไทย ร่วมหุ้นกันบ้าง ถอนหุ้นกันบ้าง แล้วแต่จังหวะไหนจะทำกำไรได้มากกว่า
ที่มา.มติชนออนไลน์
*********************************************
เวลานี้มีการอภิปรายถกเถียงในเว็บไซต์ต่างประเทศแห่งหนึ่ง ซึ่งสนใจศึกษาประเทศไทยโดยเฉพาะว่า กองทัพไทยเป็นปัจจัยสำคัญสุดทางการเมืองใช่หรือไม่ หรือกองทัพเป็นเพียงเครื่องมือของอำนาจนอกระบบในการแทรกแซงจัดการทางการเมืองเท่านั้น
คิดอีกทีข้อถกเถียงนี้ก็ประหลาดนะครับ กองทัพในประเทศอุษาคเนย์ทุกประเทศล้วนมีบทบาทสำคัญทางการเมืองอย่างยิ่งทั้งนั้น จนกลายเป็นหัวข้อศึกษาที่นักวิชาการเฝ้าศึกษาวิเคราะห์มานาน และมักจะวิเคราะห์กันเหมือนว่ากองทัพเป็นตัวละครอิสระ โดยไม่ได้เชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ที่มีอยู่ในสังคมเลย
ครั้นมาถึงตอนนี้ การเมืองไทยมักถูกวิเคราะห์ในแนวว่ามีอำนาจนอกระบบ, มือที่มองไม่เห็น, หรือเครือข่ายทางเศรษฐกิจที่ชักใยอยู่เบื้องหลัง เป็นปัจจัยชี้ขาด จนกระทั่งบางทีก็ลืมกองทัพไปเลย
ผมคิดว่า ความจริงคงอยู่ระหว่างสุดโต่งสองด้านนี้ กล่าวคือกองทัพเป็นตัวละครหนึ่ง ซึ่งมีผลประโยชน์, ความต้องการ, ความใฝ่ฝัน ฯลฯ ที่เป็นของตัวเอง แต่ตัวละครตัวเดียวนี้ไม่สามารถปฏิบัติการทางการเมืองแต่ลำพังได้ ต้องเชื่อมโยงกับอำนาจอื่นๆ ทั้งที่อยู่ในระบบ, นอกระบบ, และปริ่มๆ ระบบ อีกทั้งที่เข้าไปเชื่อมโยงก็ไม่ใช่เพราะกองทัพตัดสินใจได้เองเพียงอย่างเดียว หากเชื่อมโยงเพราะสถานการณ์ชักจูงไปก็ไม่น้อย เหมือนตัวละครในการเมืองไทยอื่นๆ แหละครับ
แต่ก่อนจะพูดถึงพันธมิตรหรือเครือข่ายของกองทัพ ผมคิดว่ามาเริ่มต้นกับผลประโยชน์ของกองทัพในการเข้าไปมีบทบาทและอำนาจกำกับ (ระดับหนึ่ง) ในการเมืองไทยกันเสียก่อน
ผลประโยชน์ในที่นี้ ผมจะไม่รวมผลประโยชน์ทางอุดมการณ์ เช่น ทหารถูกทำให้เชื่อว่าตนมีหน้าที่ปกป้องราชบัลลังก์ และผดุงความเป็นชาติไทยเอาไว้ และผมไม่นับการที่นายพลได้กินสินบนในการสั่งซื้ออาวุธและอื่นๆ ว่าเป็นผลประโยชน์ของกองทัพ
เท่าที่ผมนึกออก ผมคิดว่ากองทัพได้รับผลประโยชน์จากการเข้าไปมีอำนาจและบทบาททางการเมืองไทยดังนี้
อันแรกคืองบประมาณ เป็นหลักประกันว่ากองทัพจะได้งบประมาณจำนวนมาก ในช่วงสี่ปีหลังการรัฐประหาร 19 กันยายน งบประมาณกองทัพพุ่งขึ้นตลอดมา จนกระทั่งในปัจจุบันเมื่อเปรียบเทียบงบประมาณทหารต่อจีดีพีแล้ว งบประมาณทหารไทยดูเหมือนจะอยู่สูงสุดในประเทศอาเซียนด้วยกัน (และแน่นอนว่าสูงกว่าประเทศอียูทั้งมวล)
แน่นอน ส่วนหนึ่งของงบฯนี้ ถูกแบ่งไปซื้อเรือเหาะที่เหาะไม่ได้ เครื่องตรวจจับวัตถุระเบิดที่ใช้อคติเป็นพลังงาน รถถังที่ไม่มีเครื่อง ฯลฯ แต่ที่ผมอยากพูดถึงมากกว่าก็คือ ทหารก็เหมือนข้าราชการอื่นๆ กล่าวคืออยากจะพิสูจน์ความชอบธรรมของหน่วยตนเอง ด้วยการแสดงสมรรถนะให้สังคมยอมรับ กองทัพเลือกการมีอาวุธยุทธภัณฑ์ที่ทันสมัยเป็นเครื่องหมายแห่งสมรรถนะ (จะถูกหรือผิดคงเถียงกันได้)
ยิ่งกว่าหน่วยราชการทั่วไปด้วย กองทัพจะพิสูจน์ความชอบธรรมของการมีอยู่ของตนได้น้อยลง เพราะโลกข้างหน้าเท่าที่จะพอมองเห็นได้ คงไม่มีสงครามใหญ่กระทบมาถึงไทย นับวันภารกิจของกองทัพต้องหันมาสู่กิจการภายในมากขึ้น นับตั้งแต่ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล, ช่วยน้ำท่วม และสวนสนาม ฉะนั้นการป้องกันงบประมาณกลาโหมจะยิ่งยากขึ้น อย่าพูดถึงของบฯเพิ่มเลย แม้แต่จะรักษางบฯเก่าให้คงเดิมก็ยากแล้ว
การแผ่รังสีอำมหิตเข้าครอบงำการเมืองจึงเป็นหนทางหนึ่งที่จะประกันว่างบประมาณทหารจะเพิ่มขึ้นตามลำดับตลอดไป
ทั้งนี้ ยังไม่พูดถึงการประกอบภารกิจภายในบางอย่าง ต้องการอำนาจทั้งในกฎหมายและเหนือกฎหมาย เพื่อปฏิบัติภารกิจให้ลุล่วงได้ง่ายด้วย เช่น ผลักดันชนกลุ่มน้อยจากประเทศเพื่อนบ้านกลับ, ปราบยาเสพติด, ปราบจลาจล และแหะๆ ยึดอำนาจ
ผลประโยชน์อย่างที่สองคือทรัพยากร อย่านึกว่ากองทัพไทยมีแต่ปืนและเครื่องแบบ ที่จริงแล้วกองทัพครอบครองทรัพยากรจำนวนมาก ซึ่งมีมูลค่าทางธุรกิจสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว ที่สำคัญสองอย่างคือที่ดินและคลื่นความถี่ ทรัพยากรเหล่านี้ดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจทางการเมืองที่กองทัพมีอยู่ ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายๆ หากทหารไม่มีอำนาจทางการเมืองอยู่เลย ระเบียบอำนาจหน้าที่ของ กสทช.ที่รัฐเพิ่งเสนอ ก็คงริบเอาคลื่นความถี่ด้าน "ความมั่นคง" ทั้งหมด กลับมาให้คณะกรรมการพิจารณา ไม่ใช่สงวนไว้นอกอำนาจของ กสทช.หน้าตาเฉยอย่างนี้
ที่ดินซึ่งหวงห้ามไว้ในราชอาณาจักรอีกจำนวนมหึมา สมัยที่หวงห้ามยังเป็นป่าเขาที่ห่างไกล แต่บัดนี้กลายเป็นพื้นที่ใกล้หรือในเมือง เพราะการขยายตัวของพื้นที่เมืองในประเทศไทย ย่อมเป็นแหล่งรายได้ทางธุรกิจมหาศาล ไม่พูดถึงการหาประโยชน์เข้ากระเป๋าของนายทหาร หากกองทัพนำมาใช้ประโยชน์ในทางธุรกิจ กองทัพก็จะมีเงินรายได้นอกงบประมาณไว้ใช้สอยอีกจำนวนมหึมา (มากกว่าจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเสียอีก)
แม้ทรัพยากรเหล่านี้ไม่ใช่สมบัติส่วนตัวของนายพลคนใด แต่เป็นสมบัติของกองทัพที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ ฉะนั้นถึงอย่างไรก็ต้องรักษาเอาไว้ จะรักษาไว้ได้ก็ต้องควบคุมการเมืองในระดับหนึ่ง เช่น อย่าให้มีใครกล้าออกกฎหมายที่ดินซึ่งจะทำให้กองทัพสูญเสียทรัพยากรที่ดินในครอบครองไป
ผลประโยชน์อย่างที่สามคือโอกาสทางธุรกิจของนายทหาร เพราะอำนาจของกองทัพในการเมืองนี่เอง ธุรกิจจึงนิยมใช้ประโยชน์จากเส้นสายของนายทหารนอกราชการ ทหารเกษียณหลายคนได้ดำรงตำแหน่งกรรมการ หรือที่ปรึกษาบริษัทเอกชน ยังไม่พูดถึงรัฐวิสาหกิจ อย่ามองเรื่องนี้เพียงผลประโยชน์ของนายทหารบางคนเท่านั้น นั่นก็ใช่แน่
แต่หากมองว่าระบบบำนาญของกองทัพนั้น มีหลักประกันด้านสวัสดิการที่เหนือกว่าข้าราชการทั่วไป เป็นระบบสวัสดิการของกองทัพซึ่งจะรักษาไว้ให้ดำรงอยู่ต่อไปได้ ก็ต้องมีอำนาจในการเมือง
อีกเรื่องที่ผมอยากพูดถึงไว้ด้วยก็คือเรื่องของ redistribution หรือการกระจายทรัพย์สมบัติกลับสู่บุคลากรในกองทัพ
ทหารไทยมีประเพณีของ redistribution สูง นับตั้งแต่เลี้ยงเหล้าไอ้เณร ไปจนถึงแบ่งทรัพยากรของกองทัพให้ลูกน้องที่อยู่ในสังกัดของตนได้ดูแล (และบริโภค) เพราะเราจัดความสัมพันธ์ภายในกองทัพในลักษณะนาย-ไพร่ของกองทัพโบราณ เมื่อยึดทรัพย์จับเชลยมาได้ ก็แบ่งปันกันในหมู่ไพร่ในสังกัด ฉะนั้นต้องเข้าใจด้วยว่าผลประโยชน์ที่กองทัพมี หรือที่นายทหารเม้มใส่กระเป๋าของตนนั้น อย่างน้อยก็ส่วนหนึ่งถูกจำหน่ายจ่ายแจกไปในกองทัพ-ในรูปต่างๆ-อยู่พอสมควร
ภารกิจที่จะต้องมีอำนาจเหนือการเมือง จึงเป็นภารกิจที่บุคลากรในกองทัพยอมรับได้ว่าเป็นภารกิจร่วมกันของกองทัพ
จะมีอำนาจเหนือการเมืองได้ ก็ต้องเป็นตัวละครอิสระทางการเมือง กล่าวคือมีความต้องการและทิศทางของตนเอง จะเป็นอย่างนั้นก็ต้องรักษาอิสรภาพของตนไว้ให้ได้ นี่คือเหตุผลที่กองทัพไม่ไว้ใจนักการเมืองที่มาจากการเลือกตั้ง เพราะเผลอเมื่อไรก็มักจะแทรกเข้ามาลดอิสรภาพของกองทัพเสมอ ผบ.กองทัพนั้น กองทัพอยากเป็นคนเลือกเอง เพราะ ผบ.ที่เป็นอิสระเท่านั้น ที่จะไม่นำกองทัพไปเป็นเครื่องมือของใคร (อย่างไม่มีข้อแลกเปลี่ยนเลย)
แต่อำนาจของกองทัพเหนือการเมืองนั้น ไม่ได้มาจากรถถัง, ทหารป่าหวาย, หรือปืนยิงเร็ว ฯลฯ นั่นก็ใช่ส่วนหนึ่ง แต่ไม่ใช่ส่วนสำคัญ กองทัพจะยึดอำนาจหรือรักษาอำนาจของตนในการเมืองไว้ได้ ก็เพราะกองทัพได้รับความเห็นชอบจากส่วนอื่นๆ ที่มีพลังในสังคม
เมื่อตอนที่กองทัพทำรัฐประหารสำเร็จ นายแบงก์และนายทุนธุรกิจพากันหิ้วกระเช้าไปแสดงความยินดีกับหัวหน้าคณะรัฐประหาร ที่จริงแล้วเขาพากันไปแสดงความยินดีกับตนเองไปพร้อมกันด้วย
เพราะการยึดอำนาจครั้งนั้นเขาเห็นชอบ และบางครั้งถึงกับเป็นผู้สนับสนุนทางการเงินอยู่เบื้องหลังบางส่วนด้วยซ้ำ
ฉะนั้น เราจึงจะเข้าใจบทบาททางการเมืองของกองทัพได้ ก็โดยการดูความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างกองทัพกับ "พันธมิตร" เหล่านี้ และที่น่าสนใจเป็นพิเศษก็คือ ความสัมพันธ์นี้ไม่ได้อยู่คงที่ แต่จำเป็นต้องปรับเปลี่ยนไปอยู่ตลอดเวลา เพราะ "พันธมิตร" ก็ต้องการเป็นตัวละครอิสระในทางการเมืองเหมือนกัน ต่างฝ่ายต่างเปลี่ยนข้างเปลี่ยนสี เปลี่ยนจุดเน้นแห่งพันธะ และเปลี่ยนการดำเนินการทางการเมืองอยู่ตลอดเวลา อันเป็นผลกระทบไปถึงการเมืองภายในของกองทัพเองด้วย และแน่นอนย่อมมีผลให้เกิดพลวัตที่แฝงอยู่ในการเมืองไทย
กลุ่มที่เข้ามามีบทบาทบนพื้นที่ทางการเมืองไทย นับจาก 14 ตุลาเป็นต้นมา มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว (รวมทั้งเพิ่มเข้ามาใหม่อย่างไม่หยุดหย่อนด้วย) ทำให้อำนาจดิบของกองทัพยิ่งไร้ประสิทธิภาพมากขึ้น การล่มสลายของคณะ รสช.ในเดือนพฤษภาคม 2535 พิสูจน์ว่าอำนาจดิบอย่างเดียวใช้คุมการเมืองไม่ได้ กองทัพเหลียวมองข้างหลังแล้วพบว่า "พันธมิตร" ของตนส่วนใหญ่เผ่นป่าราบไปแล้ว บางส่วนถึงไม่ได้เผ่น ก็เริ่มแทงกั๊ก คือผลักภาระให้กองทัพรับผิดชอบไปแต่ผู้เดียว
ยิ่งย้อนกลับไปถึง 14 ตุลา ก็ยิ่งเห็นได้ชัดว่า บางส่วนของ "พันธมิตร" ลอบแทงข้างหลังกองทัพมาแต่ต้น เป็นผลให้เกิดความแตกแยกภายในกองทัพอย่างหนัก แต่พัฒนาการทางการเมืองหลังจากนั้น กลับดึงให้ "พันธมิตร" บางกลุ่มต้องหันกลับมาร่วมมือกับบางส่วนของกองทัพ เพื่อผดุงอำนาจต่อรองของตนในการเมืองเอาไว้
ฉะนั้น ที่ผมเรียกว่า "พันธมิตร" ของกองทัพนั้น ไม่สู้จะถูกต้องนัก เพราะกลุ่มเหล่านี้อาจจับมือกับกองทัพในบางสถานการณ์ และหันหลังให้กองทัพในอีกสถานการณ์หนึ่งได้ ที่ถูกต้องกว่าก็คือกลุ่มคนเหล่านี้เป็น "หุ้นส่วน" ในการเมืองไทย ร่วมหุ้นกันบ้าง ถอนหุ้นกันบ้าง แล้วแต่จังหวะไหนจะทำกำไรได้มากกว่า
ที่มา.มติชนออนไลน์
*********************************************
"อภิชาต"ตั้งทีม ก.ม.ศึกษาหาช่องยื่นยุบปชป.ใหม่
“อภิชาต”ตั้งทีมก.ม.ศึกษาคำวินิจฉัยศาลรธน.กรณียกคำร้องคดียุบปชป.หาช่องดำเนินการใหม่ ขีดเส้น 30 วันเสร็จ
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)และนายทะเบียนพรรคการเมือง เปิดเผยว่า กกต.ได้ให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กกต. นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณียกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจากกรณีเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านและเงินบริจาค 258 ล้าน ไปศึกษาก่อนพิจารณาว่าสามารถที่จะยื่นเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้งได้หรือไม่ ซึ่งกกต.ได้ส่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนเงินกองทุน 29 ล้านให้กับคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายไปดูแล้ว แต่ในส่วนของคำวินิจฉัย 258 ล้านบาทนั้น กกต.ยังไม่ได้รับจากศาลรัฐธรรมนูญ หากได้รับเมื่อใดก็จะส่งให้กับคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ไปพิจารณาพร้อมๆ กัน
ขณะเดียวกันส่วนตัวก็ได้ให้คณะที่ปรึกษาของตนนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปดูด้วยเช่นกัน เพราะการทำงานของตนเองมี 2 หน้าที่อยู่ในคนคนเดียว ดังนั้นก็ต้องดูให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
นายอภิชาต ยังกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวคิดว่า ประธานกกต.เป็นประมุของค์กร แต่เมื่อต้องกลายเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย ทำให้ต้องอยู่ตรงกลางระหว่าง กกต.ทั้ง 4 คน ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองควรเป็นบุคคลที่มีอำนาจเต็มของตัวเองด้วย ดังนั้นการให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมาอยู่ภายใต้กกต. และเป็นบุคคลเดียวกับประธานกกต. มันสมควรหรือ โดยตนก็เห็นว่าควรจะปรับปรุงกฎหมายใหม่ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองควรเป็นคนอื่น เพื่อจะได้ให้กกต.ทั้ง 5 คนคุมได้โดยอิสระไม่งั้นนายทะเบียนพรรคการเมืองยังโดนกกต. 4 คนคุมอีก "
แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายที่กกต.มีมติเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ที่ผ่านมาให้ทำการศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ประกอบไปด้วย นายสุพล ยุติธาดา ประธานกรรมการ นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายขวัญชัย สันตสว่าง นายเธียรชัย ณ นคร นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เป็นกรรมการ นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี เป็นเลขานุการ และผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย 1 เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยเบื้องต้นมติกกต.ให้เวลาในการศึกษา 30 วัน ซึ่งรวมไปถึงการมีข้อเสนอแนะให้กับกกต.ด้วยว่า จากคำวินิจฉัยดังกล่าว กกต.จะสามารถดำเนินการอย่างไรต่อไปได้ รวมถึงจะสามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใหม่อีกครั้งได้หรือไม่
สำหรับกรณีที่ประธานกกต.ไม่อยากจะเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยตำแหน่งนั้น แหล่งข่าวเปิดเผยว่าในการประชุมกกต.หลายครั้งที่ผ่านมา นายอภิชาต มักจะเอ่ยปากเป็นประจำว่าไม่อยากจะรับงานในหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมือง และจะมีวิธีการอย่างไรควรจะมีการแก้ไขกฎหมายอย่างไร เพื่อที่จะหาคนมาดูแลงานในหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยจะเป็นการจ้างมาทำงานคล้าย ๆ กับตำแหน่งเลขาธิการกกต.ได้หรือไม่ แต่ปรากฎว่า กกต.คนอื่น ๆ มองว่าไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ประธานกกต.ต้องเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
ดังนั้นจะไปแก้พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองก็ไม่สามารถทำได้ และเห็นว่าหากนายอภิชาต ไม่อยากทำหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ให้ลาออกจากการเป็นประธานกกต.ซึ่งก็จะทำให้พ้นจากตำแหน่งนายทะเบียนพรคการเมืองทันที แต่ก็เชื่อว่านายอภิชาต ไม่คิดที่ออกจากตำแหน่งประธานกกต.ซึ่งไม่ใช่ จริงเพราะติดปัญหาข้อกฎหมายที่กกต.ชุดนี้ได้รับแต่งตั้งจากคมช. และคำสั่งคมช.นั้นแต่งตั้งให้นายอภิชาต เป็นประธานกกต.เท่านั้น แต่คิดว่านายอภิชาต อยากจะอยู่ต่อเพื่อทำหน้าที่ในการสรรหาส.ว.ปีหน้ามากว่า เพราะเป็น 1 ใน 7 อรหันต์
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประชุมกกต.ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.โดยมีนักวิชาการและอัยการเข้าร่วมอยู่ในคณะทำงานเพื่อศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติให้ยกคำร้องในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากข้อกล่าวหาใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก่อนพร้อมกับรอคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการในคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากศาลรัฐธรรมนูญด้วยที่คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.จะศึกษาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองยังแต่งตั้งคณะที่ปรึกษานายทะเบียนพรรคการเมืองจำนวน 3 คนเพื่อศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นคู่ขนานพร้อมกับคณะกรรมการทีปรึกษากฎหมายของกกต.ด้วย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
****************************************************
นายอภิชาต สุขัคคานนท์ ประธานคณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.)และนายทะเบียนพรรคการเมือง เปิดเผยว่า กกต.ได้ให้คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของ กกต. นำคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญกรณียกคำร้องยุบพรรคประชาธิปัตย์เนื่องจากกรณีเงินกองทุนพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านและเงินบริจาค 258 ล้าน ไปศึกษาก่อนพิจารณาว่าสามารถที่จะยื่นเรื่องให้กับศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้งได้หรือไม่ ซึ่งกกต.ได้ส่งคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในส่วนเงินกองทุน 29 ล้านให้กับคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายไปดูแล้ว แต่ในส่วนของคำวินิจฉัย 258 ล้านบาทนั้น กกต.ยังไม่ได้รับจากศาลรัฐธรรมนูญ หากได้รับเมื่อใดก็จะส่งให้กับคณะกรรมการที่ปรึกษาฯ ไปพิจารณาพร้อมๆ กัน
ขณะเดียวกันส่วนตัวก็ได้ให้คณะที่ปรึกษาของตนนำคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญไปดูด้วยเช่นกัน เพราะการทำงานของตนเองมี 2 หน้าที่อยู่ในคนคนเดียว ดังนั้นก็ต้องดูให้ชัดเจนก่อนที่จะดำเนินการอย่างใดอย่างหนึ่ง
นายอภิชาต ยังกล่าวด้วยว่า ส่วนตัวคิดว่า ประธานกกต.เป็นประมุของค์กร แต่เมื่อต้องกลายเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองด้วย ทำให้ต้องอยู่ตรงกลางระหว่าง กกต.ทั้ง 4 คน ซึ่งนายทะเบียนพรรคการเมืองควรเป็นบุคคลที่มีอำนาจเต็มของตัวเองด้วย ดังนั้นการให้นายทะเบียนพรรคการเมืองมาอยู่ภายใต้กกต. และเป็นบุคคลเดียวกับประธานกกต. มันสมควรหรือ โดยตนก็เห็นว่าควรจะปรับปรุงกฎหมายใหม่ให้นายทะเบียนพรรคการเมืองควรเป็นคนอื่น เพื่อจะได้ให้กกต.ทั้ง 5 คนคุมได้โดยอิสระไม่งั้นนายทะเบียนพรรคการเมืองยังโดนกกต. 4 คนคุมอีก "
แหล่งข่าวกล่าวว่า คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายที่กกต.มีมติเมื่อวันที่ 25 ธ.ค. ที่ผ่านมาให้ทำการศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญนั้น ประกอบไปด้วย นายสุพล ยุติธาดา ประธานกรรมการ นายนันทวัฒน์ บรมานันท์ นายสมคิด เลิศไพฑูรย์ นายทวีเกียรติ มีนะกนิษฐ นายขวัญชัย สันตสว่าง นายเธียรชัย ณ นคร นายชูเกียรติ รัตนชัยชาญ เป็นกรรมการ นอกจากนี้ยังได้แต่งตั้งให้ผู้อำนวยการสำนักกฎหมายและคดี เป็นเลขานุการ และผู้อำนวยการฝ่ายกฎหมาย 1 เป็นผู้ช่วยเลขานุการ โดยเบื้องต้นมติกกต.ให้เวลาในการศึกษา 30 วัน ซึ่งรวมไปถึงการมีข้อเสนอแนะให้กับกกต.ด้วยว่า จากคำวินิจฉัยดังกล่าว กกต.จะสามารถดำเนินการอย่างไรต่อไปได้ รวมถึงจะสามารถยื่นเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยใหม่อีกครั้งได้หรือไม่
สำหรับกรณีที่ประธานกกต.ไม่อยากจะเป็นนายทะเบียนพรรคการเมืองโดยตำแหน่งนั้น แหล่งข่าวเปิดเผยว่าในการประชุมกกต.หลายครั้งที่ผ่านมา นายอภิชาต มักจะเอ่ยปากเป็นประจำว่าไม่อยากจะรับงานในหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมือง และจะมีวิธีการอย่างไรควรจะมีการแก้ไขกฎหมายอย่างไร เพื่อที่จะหาคนมาดูแลงานในหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมือง โดยจะเป็นการจ้างมาทำงานคล้าย ๆ กับตำแหน่งเลขาธิการกกต.ได้หรือไม่ แต่ปรากฎว่า กกต.คนอื่น ๆ มองว่าไม่สามารถทำได้ เพราะรัฐธรรมนูญกำหนดว่า ประธานกกต.ต้องเป็นนายทะเบียนพรรคการเมือง
ดังนั้นจะไปแก้พ.ร.ป.ว่าด้วยพรรคการเมืองก็ไม่สามารถทำได้ และเห็นว่าหากนายอภิชาต ไม่อยากทำหน้าที่นายทะเบียนพรรคการเมืองก็ให้ลาออกจากการเป็นประธานกกต.ซึ่งก็จะทำให้พ้นจากตำแหน่งนายทะเบียนพรคการเมืองทันที แต่ก็เชื่อว่านายอภิชาต ไม่คิดที่ออกจากตำแหน่งประธานกกต.ซึ่งไม่ใช่ จริงเพราะติดปัญหาข้อกฎหมายที่กกต.ชุดนี้ได้รับแต่งตั้งจากคมช. และคำสั่งคมช.นั้นแต่งตั้งให้นายอภิชาต เป็นประธานกกต.เท่านั้น แต่คิดว่านายอภิชาต อยากจะอยู่ต่อเพื่อทำหน้าที่ในการสรรหาส.ว.ปีหน้ามากว่า เพราะเป็น 1 ใน 7 อรหันต์
ด้านนายสุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ กกต. กล่าวว่า เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาที่ประชุมกกต.ได้มีมติแต่งตั้งคณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.โดยมีนักวิชาการและอัยการเข้าร่วมอยู่ในคณะทำงานเพื่อศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่มีมติให้ยกคำร้องในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์จากข้อกล่าวหาใช้เงินกองทุนเพื่อการพัฒนาพรรคการเมือง 29 ล้านบาทไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ก่อนพร้อมกับรอคำวินิจฉัยอย่างเป็นทางการในคดีเงินบริจาค 258 ล้านบาทจากศาลรัฐธรรมนูญด้วยที่คณะกรรมการที่ปรึกษากฎหมายของกกต.จะศึกษาด้วยเช่นกัน นอกจากนี้นายทะเบียนพรรคการเมืองยังแต่งตั้งคณะที่ปรึกษานายทะเบียนพรรคการเมืองจำนวน 3 คนเพื่อศึกษาคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญในคดียุบพรรคประชาธิปัตย์เป็นคู่ขนานพร้อมกับคณะกรรมการทีปรึกษากฎหมายของกกต.ด้วย
ที่มา.กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
****************************************************
วันอังคารที่ 28 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ประยุทธ์เตือนม็อบ อย่าต้องให้จนท.ต้องใช้กำลัง
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก ให้สัมภาษณ์ตอนหนึ่งว่าเกี่ยวกับความเป็นห่วงบ้านเมืองในปีหน้าอย่างไรว่า ก็ไม่รู้จะห่วงไปได้อย่างไร ห่วงก็นอนไม่หลับ เพียงแต่เตรียมกำลังให้พลทำหน้าที่ดูแลประชาชนให้ปลอดภัย และรู้สึกมั่นใจว่าบ้านเมืองมีเสถียรภาพ และจะมีกลไกอะไร จะเลือกตั้งใหม่ก็ว่ากันไป ใครชนะก็ว่าไปตามกติกา เราเป็นกลไกหลักของฝ่ายบริหาร
เมื่อถามว่า อยากบอกอะไรไปถึงกลุ่มที่เคลื่อนไหว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะต้องรักษากฎหมาย สิ่งสำคัญหากไม่ช่วยรักษากฎหมาย และเอากฎหมายมาเล่น หาช่องทางที่จะเลี่ยงไม่ถูกดำเนินคดี และคนส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะต้องออกมาทำความเข้าใจ และออกมาขอร้องให้ช่วยรักษากฎหมาย จะรักษาประชาธิปไตยอย่างไรก็อย่าทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน อย่าให้เจ้าหน้าที่ลำบาก อย่าให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้กำลัง อย่าให้ต้องมาตอบโต้กันด้วยอะไรต่าง ๆ ทหารมีงานเยอะแยะตามนโยบายของรัฐบาล รมว.กลาโหม และ ผบ.ทหารสูงสุด ตนจะทำอะไรก็จะต้องผ่านขั้นตอน
ที่มา.เนชั่น
*****************************************
เมื่อถามว่า อยากบอกอะไรไปถึงกลุ่มที่เคลื่อนไหว พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า จะต้องรักษากฎหมาย สิ่งสำคัญหากไม่ช่วยรักษากฎหมาย และเอากฎหมายมาเล่น หาช่องทางที่จะเลี่ยงไม่ถูกดำเนินคดี และคนส่วนใหญ่จะอยู่ไม่ได้ ดังนั้นคนส่วนใหญ่จะต้องออกมาทำความเข้าใจ และออกมาขอร้องให้ช่วยรักษากฎหมาย จะรักษาประชาธิปไตยอย่างไรก็อย่าทำให้คนอื่นเขาเดือดร้อน อย่าให้เจ้าหน้าที่ลำบาก อย่าให้เจ้าหน้าที่ต้องใช้กำลัง อย่าให้ต้องมาตอบโต้กันด้วยอะไรต่าง ๆ ทหารมีงานเยอะแยะตามนโยบายของรัฐบาล รมว.กลาโหม และ ผบ.ทหารสูงสุด ตนจะทำอะไรก็จะต้องผ่านขั้นตอน
ที่มา.เนชั่น
*****************************************
ปลอดประสพ สุรัสวดี ตัวจริง-เสียงก้อง "รังเกียจมิตรเก่าที่มีบุญคุณเพื่อได้มิตรใหม่ หมาตัวไหนจะคบ"
ที่บ้านพระยาเทพหัสดิน จ.นนทบุรี บนเนื้อที่ประมาณ 40 ไร่ ที่ถูกซื้อไว้ไร่ละ 1 บาท ในช่วงสมบูรณาญาสิทธิราชย์
จากบ้านอดีตอำมาตย์ใหญ่ บัดนี้กลายเป็นบ้านนักการเมืองที่เลี้ยงลูกน้อง-บริวารไว้ไม่น้อยกว่า 40 คน
เป็นบ้านที่ถูกครอบครองโดย "ปลอดประสพ สุรัสวดี" รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ช่วงที่พรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้เลือกตั้ง หลังชนฝา และอาจต้องครองตำแหน่งฝ่ายค้านอีกยาวนาน
"ปลอดประสพ" เปิดใจ ทบทวนท่าทีทางการเมืองของ "ทักษิณ" และพรรคเพื่อไทย
คิดอย่างไรกับข้อวิจารณ์พรรค เช่น คุณจาตุรนต์ ฉายแสง เสนอให้เปิดตัวว่าที่นายกรัฐมนตรีของฝ่ายนี้
ผมก็ไม่เห็นด้วยและไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะมันไม่เป็นความจริง เช่น คำว่า "ก้าวข้ามคุณทักษิณ" เราต้องมองข้อเท็จจริง ผมพูดตรง ๆ ว่าทุกพรรคมันก็มีเจ้าของ ถ้าผมเอ่ยชื่อก็ได้เยอะแยะ คุณบรรหาร ศิลปอาชา ก็เป็นเจ้าของพรรค คุณสุวัจน์, คุณเนวิน ชิดชอบ ก็เป็นเจ้าของพรรค ส่วนประชาธิปัตย์ ก็มีเจ้าของพรรค แต่มีมานานแล้ว
เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย มาจากพรรคพลังประชาชน มาจากพรรคไทยรักไทย ใครเป็นผู้ก่อตั้ง ก็คือคุณทักษิณ การเป็น founder แปลว่าผู้สร้าง ออกเงิน ออกทอง ออกสติปัญญา ความคิด จนเกิดมาเป็นทุกวันนี้ ชื่อเสียงและความนิยมในตัวคุณทักษิณ ก็เห็นได้ชัดเจนในอีสานและในภาคเหนือ
ฉะนั้น การที่บอกว่า ก้าวข้ามเนี่ย ผมไม่รู้แปลว่าอะไร ถามว่า ตึกที่อยู่ทำงานทุกวันนี้ คุณทักษิณให้เช่าราคาถูกใช่ไหม ข้าวที่กินกันฟรีทุกวันนี้ ถามว่า ใครซื้อข้าว ? เวลาขอความเห็น ท่านก็ให้ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็เรื่องของเรา เวลาไปเลือกตั้ง ก็ใช้กระแสของท่าน มากบ้าง น้อยบ้าง
แล้วอยู่ ๆ จะบอกว่า เฮ้ย...ลื้อไปเหอะ อั๊วะก้าวข้ามลื้อไปแล้ว ไม่ต้องมีลื้อแล้ว ผมว่ามันเป็นคำพูดที่มันไม่จริง แล้วก็เป็นคำพูดที่ไม่ค่อยจะกตัญญูเท่าไหร่นะ มันไม่ควรนะ...ใจผม ควรจะคิดว่า สิ่งใดดี ก็เก็บไว้ สิ่งใดควรให้ประชาชน ก็ต้องให้ แต่ไม่ใช่มาแสดงความรังเกียจมิตรเก่าที่มีบุญคุณเพื่อได้มิตรใหม่ (เน้นเสียง) ผมขอพูดหยาบ ๆ หมาตัวไหนมันจะไปคบ เพราะไม่เคยกตัญญูต่อใครเลย รู้ได้ไง ว่าวันไหนจะไม่ไปหักหลังเขาอีก
ส่วนที่คุณจาตุรนต์พูด ก็เป็นตรรกะ เป็นเหตุผล ผมก็เห็นด้วย ว่าสักวัน เราควรมีหัวหน้าที่ชัดเจน ผมใช้คำว่าหัวหน้าก่อนนะ เพราะผมยังไม่เคยได้ยินใครอาสาเป็นหัวหน้า แต่ผมได้ยินคนอาสาเป็นนายกรัฐมนตรี 3 คน ตั้งแต่คุณเฉลิม ก็อาสาเป็นสั้น ๆ คุณชวลิต ก็อาสาเป็น และล่าสุด คุณมิ่งขวัญ แต่ทั้ง 3 คน ไม่มีใครอาสาเป็นหัวหน้าพรรคเลย ก็ต้องถามเหตุผล ว่ามันเรื่องอะไร ที่อาสาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่อาสาเป็นหัวหน้าพรรค ผมสงสัย
เพราะการเป็นหัวหน้าพรรค เป็นภาระ(นะ) เป็นผู้ให้(นะ) ให้ความคิด สติปัญญา การสนับสนุน ให้เงิน ให้ทอง ให้ทรัพย์สมบัติ และเสี่ยงกับการต่อสู้ แพ้หรือชนะ ก็ไม่รู้...แล้วที่ไม่เสนอตัวเป็นหัวหน้าพรรค เพราะอะไร เพราะกลัวความรับผิดชอบแบบนี้ ใช่ไหม กลัวเสียตังค์ ใช่หรือไม่ กลัวต้องต่อสู้ ใช่หรือไม่
ผู้เสนอตัวบางคนก็บอกชัดเจนว่าไม่อยากเสียเงิน
ใช่...แต่ถามว่า ที่อาสาเป็นนายกฯ เพราะอะไร เพราะแปลว่าคุณต้องชนะแล้ว แต่คุณขอเป็นนายกฯ ทั้งที่ไม่ยอมรับการต่อสู้ตั้งแต่ต้น ถามว่า มันใช้ได้ไหม ฉะนั้น ผมตั้งข้อสงสัยนะ ถ้าเป็น ก็ต้องเป็นกันทั้งคู่สิครับ ฉะนั้น ที่คุณจาตุรนต์พูด ผมเห็นด้วย แต่ขอขยายความ ว่าต้องเป็นทั้งหัวหน้าพรรค และเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี โดยต้องรับผิดชอบในทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทักษิณต้องรับผิดชอบ เพียงแต่คุณมารับผิดชอบร่วม หรือรับแทนเลยก็ได้ แต่ผมไม่เชื่อว่าจะมีใครมีปัญญามารับแทน
แล้วความเป็นสถาบันพรรคการเมืองของเพื่อไทย จะเป็นไปได้อย่างไร หากยังต้องอาศัยคุณทักษิณ
พรรคประชาธิปัตย์ยังอาศัยชื่อเสียงคุณควง (อภัยวงศ์) อยู่ไหม ยังอาศัยกลุ่มทุนเดิม ๆ อยู่ไหม ก็ยังอาศัยพรรคชาติไทยพัฒนาของท่านบรรหาร ยังอาศัยท่านบรรหารอยู่ไหม ตั้งแต่ที่ตั้งพรรคยันเงินและชื่อเสียงของท่าน เพราะฉะนั้น พรรคเพื่อไทยมีคุณทักษิณให้พึ่ง ก็ดีแล้ว
ถ้างั้น ปัญหาไม่ใช่คุณทักษิณ แต่ปัญหาอยู่ที่ ส.ส.หรือนักการเมืองที่สังกัดฝ่ายนี้
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณทักษิณ ปัญหาอยู่ที่เราเอง ประมาณ 500 ชีวิต มี ส.ส.ประมาณ 180 ชีวิต ได้พยายามจะยืนบนขาตัวเองได้แค่ไหน พยายามสร้างงานสร้างกระแส สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนแค่ไหน ผมเห็นแต่หลายคนนะ ก็เกาะกระแสคุณทักษิณ หลายคนก็เกาะกระแสเสื้อแดง
ผู้สนับสนุนพรรค บางคนคิดว่า ใครจะมาเป็นหัวหน้าพรรค จะต้องเป็นคนที่ "ข้างบน" ยอมรับ...ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่
ผมไม่คิดว่าใครมีสิทธิ์ที่จะพูดคำนี้ หรือมีข้อมูลมากมายที่จะพูดคำนี้ เราต้องตั้งสมมติฐานก่อนว่า สถาบัน ท่านอยู่เหนือการเมือง ท่านจะไม่ยุ่ง แต่ถามว่า ท่านจะไม่รู้เลย ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าถึงกับยุ่ง เจ้าจี้เจ้าการ สั่งโน่น สั่งนี่ สั้งนั่น ก็เป็นไปไม่ได้ ผมไม่เชื่อ เพราะผมก็เป็นคนคนหนึ่งนะ ที่ถวายการรับใช้มายาวนานมาก ผมก็ไม่เคยเห็นสักครั้งนะ ที่ท่านจะไปสั่งโน่น สั่งนี่ ชี้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แต่ถามว่า ทรงรู้ไหม...ทรงรู้...ถามว่า ทำไม...ก็ทรงดูทีวีเหมือนเรา ทรงอ่านหนังสือพิมพ์เหมือนเรา มีคนไปเข้าเฝ้า ไปถวายความเห็น ท่านก็ฟัง แต่ผมเชื่อว่าท่านไม่มายุ่ง ขนาดที่บางคนเอามาพูดหรอก คนที่พูด เพื่อชี้นำอะไรบางอย่างมั้ง ตั้งสเป็กขึ้นมา แล้วพยายามทำให้คนเชื่อ ว่าต้องตามสเป็กนั้น แล้วพูดขึ้นมา เพื่อหมายถึงบางคนมั้ง
บางคนที่อยากเป็นนายกฯหรือเปล่า
คงงั้นมั้ง...แล้วก็ขอเตือน ใครอย่าได้พูดคำนี้อีก ผมจะด่า เพราะเขาไม่มีสิทธิ์จะพูด
บทบาทระหว่างพรรคกับกลุ่มคนเสื้อแดง
เรื่องเสื้อแดง คือเท่าที่ผมรู้ เสื้อแดงมีหลายล้านคน มีกลุ่มที่ไปต่อต้านสถาบันจริง ๆ จัง ๆ ก็มี แต่มีน้อย กลุ่มที่สอง คือพวกที่ได้ข้อมูล แล้วเข้าใจผิด มาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ความจริง คืออย่างที่ผมรู้ มันไม่ใช่ มันไม่จริง ส่วนไอ้พวกที่คิดจะทำลายทำร้ายสถาบันเนี่ย ผมบอกตรง ๆ ว่า ก็ถือว่าเป็นศัตรูของผมเช่นกัน
ผมถือว่าสถาบันเป็นส่วนประกอบหลักของชาติไทยนะ เราจะเป็นชาติไทยได้ ต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย จึงจะเป็นชาติไทย ฉะนั้น ผมต้องการจะรักษาชาติ ไม่ใช่รักษาเอกราชของชาติอย่างเดียวนะ แต่ต้องรักษาเอกลักษณ์ของชาติด้วย เพราะเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอันหนึ่ง คือสถาบันพระมหากษัตริย์ พวกที่บอกไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่จะเอาระบบอื่น ถ้าอย่างงี้ ต้องไปสร้างชาติใหม่
ในฐานะที่ท่านเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะจัดการกับคนเสื้อแดงกลุ่มไม่เอาสถาบันอย่างไร
เราสนับสนุนกลุ่มที่แสวงหาประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ผมเข้าใจและเห็นใจในความรู้สึกเจ็บในใจ ที่ถูกกดขี่ข่มเหง ถูกมองเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ถูกยิงไป 90 กว่าศพ บาดเจ็บไปสองพัน ติดคุก ไม่รู้ข้อหาอะไร ผมเห็นใจ ผมช่วย แต่ไอ้กลุ่มที่จะทำลายล้างสถาบันแบบนี้ ผมไม่เห็นด้วย แล้วผมจะต่อต้าน ผมไม่เคยคบค้าสมาคมกับคนพวกนี้ ไม่รู้จัก และไม่ประสงค์ที่จะคบค้า เพราะนั่นคือการทำลายชาติ
จะตัดกลุ่มนี้ทิ้งจากคนเสื้อแดงหรือไม่
ผมว่าคนที่คิดล้มเจ้าน่ะ มันกลุ่มเล็ก ๆ ไอ้พวกนี้แหละโหนกระแสเสื้อแดง แต่เสื้อแดงไม่กล้าปฏิเสธ รุนแรง เกรงจะเสียแนวร่วม ดังนั้น ก็มัวแต่อ้ำอึ้ง ๆ ผมเคยเตือนเพื่อน ๆ ผมบางคนที่อยู่ในวังว่า รู้ไหมว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์เยอะแยะ แล้วรู้ไหมว่า คำวิจารณ์นั้นไม่จริง ดังนั้น แทนที่จะไปคิดห้ำหั่นเสื้อแดง ควรคิดวิธีการที่จะเอาข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ได้ไหม และวิธีการที่ดีที่สุด คือการใช้ความเมตตา กรุณา การให้อภัยอย่างเดียวเลย จึงจะชนะ อย่าไปใช้วิธีแบบทหารบางคน วันนี้ ผมไม่เห็นด้วย
มองว่าปรากฏการณ์คนเสื้อแดงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันสำคัญ เป็นเพราะความเข้าใจผิด
ถูกต้อง มีการสร้างข้อมูลเข้าไป แล้วไม่มีคำอธิบาย วิธีที่จะไปเอาเสื้อแดงกลับคืนมา คือต้องอธิบาย และมีความเมตตา แต่คนมีอำนาจกลับใช้วิธีปราบปราม คิดว่าเป็นการปราบเสี้ยนหนาม อย่างนี้ ก็เจ๊งสิ
นี่เป็นวิธีการของทหารหรือเปล่า
ทำตลอดเวลา ไม่เคยหยุด ผมรู้จักทหารกลุ่มนี้มาพอสมควร ไม่ใช่ว่าโตมาด้วยกัน เพราะผมโตมาก่อน เห็นกันมานาน ผมไม่เห็นด้วย และผมพูดไปแล้ว ว่าผมไม่เห็นด้วย...คุณประยุทธ (พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.) ก็เหมือนกัน เรารู้จักกันมานานมากนะ เรียกพี่เรียกน้องกันมาตลอด คุณประยุทธต้องใจเย็นกว่านี้ ต้องพูดเพราะกว่านี้ ยิ่งใหญ่ ยิ่งมีอำนาจ ยิ่งต้องแสดงความอ่อนโยน ตำแหน่ง ผบ.ทบ.ใหญ่อยู่แล้ว แค่กวาดสายตาไป คนเขาก็กลัว...ประเทศชาติยังต้องพึ่งคุณประยุทธอีกเยอะ
ถ้าทหารใช้บทบาทท่าทีแข็งกร้าว ผลจะเป็นอย่างไร
ไม่ได้อะไรครับ มีแต่ยิ่งห่างไกล เขายิ่งเกลียด ยิ่งชัง...คนเสื้อแดงก็คือคนไทย รักชาติเหมือนกับเรา และเขาเป็นคนที่ได้รับความลำบาก คนที่เขา suffer มีปมด้อย เขารู้สึกได้เร็ว และเขารู้สึกได้มาก เขาต้องการความเห็นใจ ใช่ไหม
ทหารไทยก็คิดแบบนี้เป็นประเพณี คิดว่าตัวเองเป็นเสาหลักของประเทศ แล้วคนก็ชอบไปพูดเหลือเกิน ว่าทหารเป็นเสาหลักของประเทศ พูดจนทหารเชื่อ ข้อสอง คือทหารถูกฝึกมาให้หันซ้ายหันขวา แต่บังเอิญ ในมือดันถืออาวุธและมีกฎเข้ม ก็เลยออกมารูปแบบแบบนี้ แต่ว่าความจริงแล้ว ไม่ได้นะ โลกเขาเปลี่ยไปแล้วครับ
ผมคิดว่าบทบาทของทหารกับการเมืองต้องลดลง เพราะทหารไม่มีหน้าที่มาจัดรัฐบาล หรือมารังเกียจพรรคโน้นพรรคนี้ ทหารก็เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง...ประชาธิปไตย ธรรมชาติทหาร ต้องไม่มาเกี่ยวข้อง ประเทศไทยล้าหลังมาก เรื่องความสัมพันธ์ของกองทัพกับการพัฒนาการเมือง ทหารมีหน้าที่ปกป้องขอบขัณฑสีมา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องมาปกป้องสถาบันการเมือง ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน
คาดว่าปีหน้าจะมีจัดการเลือกตั้งหรือไม่
ก็มี อย่างไร เดือนธันวาคมปีหน้า ก็เลือกตั้งอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์ต้องยุบสภาก่อน ไม่งั้นจะแก้รัฐธรรมนูญทำไม โดยเฉพาะในบริบทเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งนั้น
ไม่คิดว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระ
ไม่หรอก ๆ สไตล์พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยทำอย่างนั้น และคุณอภิสิทธิ์พูดออกมาแล้ว อาจจะยุบสภาก่อนสักเดือนสองเดือน ก็เป็นได้
คาดว่าปีหน้าจะมีการชุมนุม นำมาสู่สถานการณ์รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมาหรือไม่
ผมว่า ถ้าไม่อยากให้รุนแรง นายกฯควรรีบให้มีการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้ง คือการยอมรับเสียง mass ของประชาชน แล้วก็อย่าไปไล่ล่าทำลายเขา...เวลานี้ยังมีอยู่นะครับ บรรดาผู้บังคับบัญชาทั้งหลายแหล่ ควรไปดูลูกน้องท่าน บางคนยังเมามัน เวลานี้ยังเมามันไล่ล่าเสื้อแดง ทางเหนือก็หนักนะ อย่ามาปฏิเสธ
พรรคเพื่อไทยจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลหรือไม่
พรรคเรากับพรรคประชาธิปัตย์ คะแนนคงจะออกมาสูสี แล้วเราคงจะชนะสัก 20-30 หรือ 40 เสียง แต่ถามว่า ใครจะเป็นรัฐบาล ก็มีบรรดาพรรคเล็กพรรคน้อย 5-6 พรรคนี้จะเป็นตัวชี้ที่สำคัญ ส่วนพรรคเล็กพรรคน้อยจะเอาใคร เขาก็คงดูประโยชน์เขาเป็นสำคัญ ประวัติศาสตร์มันบอกอย่างนั้นมาตลอด ผมไม่ค่อยอยากให้มีพรรคเล็ก ๆ เลย เป็นตัวยุ่ง ควรให้มีสัก 3-4 พรรคที่เป็นพรรคใหญ่
พรรคภูมิใจไทย หรือพรรคของคุณบรรหาร จะไปอยู่กับฝ่ายไหน
พรรคท่านบรรหาร ก็อยากเป็นรัฐบาล ฝ่ายไหนชนะ ท่านก็คงเลือก ยังเหลือเวลาอีกหลายเดือน สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ ผมว่างั้นนะ เขาไม่กล้าบอก ว่าเอาหรือไม่เอา ชอบหรือไม่ชอบ เพราะถ้าคุณไปถามพรรคภูมิใจไทย เขาจะไม่กล้าพูดสักคำ ว่าเขาจะไม่มาร่วมกับเรา ไปถามสิ เขาจะไม่กล้าพูดสักคำเลย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
จากบ้านอดีตอำมาตย์ใหญ่ บัดนี้กลายเป็นบ้านนักการเมืองที่เลี้ยงลูกน้อง-บริวารไว้ไม่น้อยกว่า 40 คน
เป็นบ้านที่ถูกครอบครองโดย "ปลอดประสพ สุรัสวดี" รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย
ช่วงที่พรรคเพื่อไทยพ่ายแพ้เลือกตั้ง หลังชนฝา และอาจต้องครองตำแหน่งฝ่ายค้านอีกยาวนาน
"ปลอดประสพ" เปิดใจ ทบทวนท่าทีทางการเมืองของ "ทักษิณ" และพรรคเพื่อไทย
คิดอย่างไรกับข้อวิจารณ์พรรค เช่น คุณจาตุรนต์ ฉายแสง เสนอให้เปิดตัวว่าที่นายกรัฐมนตรีของฝ่ายนี้
ผมก็ไม่เห็นด้วยและไม่ค่อยชอบเท่าไหร่ เพราะมันไม่เป็นความจริง เช่น คำว่า "ก้าวข้ามคุณทักษิณ" เราต้องมองข้อเท็จจริง ผมพูดตรง ๆ ว่าทุกพรรคมันก็มีเจ้าของ ถ้าผมเอ่ยชื่อก็ได้เยอะแยะ คุณบรรหาร ศิลปอาชา ก็เป็นเจ้าของพรรค คุณสุวัจน์, คุณเนวิน ชิดชอบ ก็เป็นเจ้าของพรรค ส่วนประชาธิปัตย์ ก็มีเจ้าของพรรค แต่มีมานานแล้ว
เช่นเดียวกับพรรคเพื่อไทย มาจากพรรคพลังประชาชน มาจากพรรคไทยรักไทย ใครเป็นผู้ก่อตั้ง ก็คือคุณทักษิณ การเป็น founder แปลว่าผู้สร้าง ออกเงิน ออกทอง ออกสติปัญญา ความคิด จนเกิดมาเป็นทุกวันนี้ ชื่อเสียงและความนิยมในตัวคุณทักษิณ ก็เห็นได้ชัดเจนในอีสานและในภาคเหนือ
ฉะนั้น การที่บอกว่า ก้าวข้ามเนี่ย ผมไม่รู้แปลว่าอะไร ถามว่า ตึกที่อยู่ทำงานทุกวันนี้ คุณทักษิณให้เช่าราคาถูกใช่ไหม ข้าวที่กินกันฟรีทุกวันนี้ ถามว่า ใครซื้อข้าว ? เวลาขอความเห็น ท่านก็ให้ จะเชื่อหรือไม่เชื่อ ก็เรื่องของเรา เวลาไปเลือกตั้ง ก็ใช้กระแสของท่าน มากบ้าง น้อยบ้าง
แล้วอยู่ ๆ จะบอกว่า เฮ้ย...ลื้อไปเหอะ อั๊วะก้าวข้ามลื้อไปแล้ว ไม่ต้องมีลื้อแล้ว ผมว่ามันเป็นคำพูดที่มันไม่จริง แล้วก็เป็นคำพูดที่ไม่ค่อยจะกตัญญูเท่าไหร่นะ มันไม่ควรนะ...ใจผม ควรจะคิดว่า สิ่งใดดี ก็เก็บไว้ สิ่งใดควรให้ประชาชน ก็ต้องให้ แต่ไม่ใช่มาแสดงความรังเกียจมิตรเก่าที่มีบุญคุณเพื่อได้มิตรใหม่ (เน้นเสียง) ผมขอพูดหยาบ ๆ หมาตัวไหนมันจะไปคบ เพราะไม่เคยกตัญญูต่อใครเลย รู้ได้ไง ว่าวันไหนจะไม่ไปหักหลังเขาอีก
ส่วนที่คุณจาตุรนต์พูด ก็เป็นตรรกะ เป็นเหตุผล ผมก็เห็นด้วย ว่าสักวัน เราควรมีหัวหน้าที่ชัดเจน ผมใช้คำว่าหัวหน้าก่อนนะ เพราะผมยังไม่เคยได้ยินใครอาสาเป็นหัวหน้า แต่ผมได้ยินคนอาสาเป็นนายกรัฐมนตรี 3 คน ตั้งแต่คุณเฉลิม ก็อาสาเป็นสั้น ๆ คุณชวลิต ก็อาสาเป็น และล่าสุด คุณมิ่งขวัญ แต่ทั้ง 3 คน ไม่มีใครอาสาเป็นหัวหน้าพรรคเลย ก็ต้องถามเหตุผล ว่ามันเรื่องอะไร ที่อาสาเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ไม่อาสาเป็นหัวหน้าพรรค ผมสงสัย
เพราะการเป็นหัวหน้าพรรค เป็นภาระ(นะ) เป็นผู้ให้(นะ) ให้ความคิด สติปัญญา การสนับสนุน ให้เงิน ให้ทอง ให้ทรัพย์สมบัติ และเสี่ยงกับการต่อสู้ แพ้หรือชนะ ก็ไม่รู้...แล้วที่ไม่เสนอตัวเป็นหัวหน้าพรรค เพราะอะไร เพราะกลัวความรับผิดชอบแบบนี้ ใช่ไหม กลัวเสียตังค์ ใช่หรือไม่ กลัวต้องต่อสู้ ใช่หรือไม่
ผู้เสนอตัวบางคนก็บอกชัดเจนว่าไม่อยากเสียเงิน
ใช่...แต่ถามว่า ที่อาสาเป็นนายกฯ เพราะอะไร เพราะแปลว่าคุณต้องชนะแล้ว แต่คุณขอเป็นนายกฯ ทั้งที่ไม่ยอมรับการต่อสู้ตั้งแต่ต้น ถามว่า มันใช้ได้ไหม ฉะนั้น ผมตั้งข้อสงสัยนะ ถ้าเป็น ก็ต้องเป็นกันทั้งคู่สิครับ ฉะนั้น ที่คุณจาตุรนต์พูด ผมเห็นด้วย แต่ขอขยายความ ว่าต้องเป็นทั้งหัวหน้าพรรค และเป็นทั้งนายกรัฐมนตรี โดยต้องรับผิดชอบในทุกสิ่งทุกอย่างที่คุณทักษิณต้องรับผิดชอบ เพียงแต่คุณมารับผิดชอบร่วม หรือรับแทนเลยก็ได้ แต่ผมไม่เชื่อว่าจะมีใครมีปัญญามารับแทน
แล้วความเป็นสถาบันพรรคการเมืองของเพื่อไทย จะเป็นไปได้อย่างไร หากยังต้องอาศัยคุณทักษิณ
พรรคประชาธิปัตย์ยังอาศัยชื่อเสียงคุณควง (อภัยวงศ์) อยู่ไหม ยังอาศัยกลุ่มทุนเดิม ๆ อยู่ไหม ก็ยังอาศัยพรรคชาติไทยพัฒนาของท่านบรรหาร ยังอาศัยท่านบรรหารอยู่ไหม ตั้งแต่ที่ตั้งพรรคยันเงินและชื่อเสียงของท่าน เพราะฉะนั้น พรรคเพื่อไทยมีคุณทักษิณให้พึ่ง ก็ดีแล้ว
ถ้างั้น ปัญหาไม่ใช่คุณทักษิณ แต่ปัญหาอยู่ที่ ส.ส.หรือนักการเมืองที่สังกัดฝ่ายนี้
ปัญหาไม่ได้อยู่ที่คุณทักษิณ ปัญหาอยู่ที่เราเอง ประมาณ 500 ชีวิต มี ส.ส.ประมาณ 180 ชีวิต ได้พยายามจะยืนบนขาตัวเองได้แค่ไหน พยายามสร้างงานสร้างกระแส สร้างความเชื่อมั่นให้ประชาชนแค่ไหน ผมเห็นแต่หลายคนนะ ก็เกาะกระแสคุณทักษิณ หลายคนก็เกาะกระแสเสื้อแดง
ผู้สนับสนุนพรรค บางคนคิดว่า ใครจะมาเป็นหัวหน้าพรรค จะต้องเป็นคนที่ "ข้างบน" ยอมรับ...ความจริงเป็นเช่นนั้นหรือไม่
ผมไม่คิดว่าใครมีสิทธิ์ที่จะพูดคำนี้ หรือมีข้อมูลมากมายที่จะพูดคำนี้ เราต้องตั้งสมมติฐานก่อนว่า สถาบัน ท่านอยู่เหนือการเมือง ท่านจะไม่ยุ่ง แต่ถามว่า ท่านจะไม่รู้เลย ก็เป็นไปไม่ได้ แต่ถ้าถึงกับยุ่ง เจ้าจี้เจ้าการ สั่งโน่น สั่งนี่ สั้งนั่น ก็เป็นไปไม่ได้ ผมไม่เชื่อ เพราะผมก็เป็นคนคนหนึ่งนะ ที่ถวายการรับใช้มายาวนานมาก ผมก็ไม่เคยเห็นสักครั้งนะ ที่ท่านจะไปสั่งโน่น สั่งนี่ ชี้เลี้ยวซ้าย เลี้ยวขวา แต่ถามว่า ทรงรู้ไหม...ทรงรู้...ถามว่า ทำไม...ก็ทรงดูทีวีเหมือนเรา ทรงอ่านหนังสือพิมพ์เหมือนเรา มีคนไปเข้าเฝ้า ไปถวายความเห็น ท่านก็ฟัง แต่ผมเชื่อว่าท่านไม่มายุ่ง ขนาดที่บางคนเอามาพูดหรอก คนที่พูด เพื่อชี้นำอะไรบางอย่างมั้ง ตั้งสเป็กขึ้นมา แล้วพยายามทำให้คนเชื่อ ว่าต้องตามสเป็กนั้น แล้วพูดขึ้นมา เพื่อหมายถึงบางคนมั้ง
บางคนที่อยากเป็นนายกฯหรือเปล่า
คงงั้นมั้ง...แล้วก็ขอเตือน ใครอย่าได้พูดคำนี้อีก ผมจะด่า เพราะเขาไม่มีสิทธิ์จะพูด
บทบาทระหว่างพรรคกับกลุ่มคนเสื้อแดง
เรื่องเสื้อแดง คือเท่าที่ผมรู้ เสื้อแดงมีหลายล้านคน มีกลุ่มที่ไปต่อต้านสถาบันจริง ๆ จัง ๆ ก็มี แต่มีน้อย กลุ่มที่สอง คือพวกที่ได้ข้อมูล แล้วเข้าใจผิด มาวิพากษ์วิจารณ์ แต่ความจริง คืออย่างที่ผมรู้ มันไม่ใช่ มันไม่จริง ส่วนไอ้พวกที่คิดจะทำลายทำร้ายสถาบันเนี่ย ผมบอกตรง ๆ ว่า ก็ถือว่าเป็นศัตรูของผมเช่นกัน
ผมถือว่าสถาบันเป็นส่วนประกอบหลักของชาติไทยนะ เราจะเป็นชาติไทยได้ ต้องมีสถาบันพระมหากษัตริย์ด้วย จึงจะเป็นชาติไทย ฉะนั้น ผมต้องการจะรักษาชาติ ไม่ใช่รักษาเอกราชของชาติอย่างเดียวนะ แต่ต้องรักษาเอกลักษณ์ของชาติด้วย เพราะเอกลักษณ์ที่สำคัญอีกอันหนึ่ง คือสถาบันพระมหากษัตริย์ พวกที่บอกไม่เอาสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่จะเอาระบบอื่น ถ้าอย่างงี้ ต้องไปสร้างชาติใหม่
ในฐานะที่ท่านเป็นรองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะจัดการกับคนเสื้อแดงกลุ่มไม่เอาสถาบันอย่างไร
เราสนับสนุนกลุ่มที่แสวงหาประชาธิปไตย ความยุติธรรม ความเท่าเทียม ผมเข้าใจและเห็นใจในความรู้สึกเจ็บในใจ ที่ถูกกดขี่ข่มเหง ถูกมองเหมือนไม่ใช่มนุษย์ ถูกยิงไป 90 กว่าศพ บาดเจ็บไปสองพัน ติดคุก ไม่รู้ข้อหาอะไร ผมเห็นใจ ผมช่วย แต่ไอ้กลุ่มที่จะทำลายล้างสถาบันแบบนี้ ผมไม่เห็นด้วย แล้วผมจะต่อต้าน ผมไม่เคยคบค้าสมาคมกับคนพวกนี้ ไม่รู้จัก และไม่ประสงค์ที่จะคบค้า เพราะนั่นคือการทำลายชาติ
จะตัดกลุ่มนี้ทิ้งจากคนเสื้อแดงหรือไม่
ผมว่าคนที่คิดล้มเจ้าน่ะ มันกลุ่มเล็ก ๆ ไอ้พวกนี้แหละโหนกระแสเสื้อแดง แต่เสื้อแดงไม่กล้าปฏิเสธ รุนแรง เกรงจะเสียแนวร่วม ดังนั้น ก็มัวแต่อ้ำอึ้ง ๆ ผมเคยเตือนเพื่อน ๆ ผมบางคนที่อยู่ในวังว่า รู้ไหมว่า มีการวิพากษ์วิจารณ์เยอะแยะ แล้วรู้ไหมว่า คำวิจารณ์นั้นไม่จริง ดังนั้น แทนที่จะไปคิดห้ำหั่นเสื้อแดง ควรคิดวิธีการที่จะเอาข้อมูลที่ถูกต้องไปใช้ได้ไหม และวิธีการที่ดีที่สุด คือการใช้ความเมตตา กรุณา การให้อภัยอย่างเดียวเลย จึงจะชนะ อย่าไปใช้วิธีแบบทหารบางคน วันนี้ ผมไม่เห็นด้วย
มองว่าปรากฏการณ์คนเสื้อแดงวิพากษ์วิจารณ์สถาบันสำคัญ เป็นเพราะความเข้าใจผิด
ถูกต้อง มีการสร้างข้อมูลเข้าไป แล้วไม่มีคำอธิบาย วิธีที่จะไปเอาเสื้อแดงกลับคืนมา คือต้องอธิบาย และมีความเมตตา แต่คนมีอำนาจกลับใช้วิธีปราบปราม คิดว่าเป็นการปราบเสี้ยนหนาม อย่างนี้ ก็เจ๊งสิ
นี่เป็นวิธีการของทหารหรือเปล่า
ทำตลอดเวลา ไม่เคยหยุด ผมรู้จักทหารกลุ่มนี้มาพอสมควร ไม่ใช่ว่าโตมาด้วยกัน เพราะผมโตมาก่อน เห็นกันมานาน ผมไม่เห็นด้วย และผมพูดไปแล้ว ว่าผมไม่เห็นด้วย...คุณประยุทธ (พล.อ.ประยุทธ จันทร์โอชา ผบ.ทบ.) ก็เหมือนกัน เรารู้จักกันมานานมากนะ เรียกพี่เรียกน้องกันมาตลอด คุณประยุทธต้องใจเย็นกว่านี้ ต้องพูดเพราะกว่านี้ ยิ่งใหญ่ ยิ่งมีอำนาจ ยิ่งต้องแสดงความอ่อนโยน ตำแหน่ง ผบ.ทบ.ใหญ่อยู่แล้ว แค่กวาดสายตาไป คนเขาก็กลัว...ประเทศชาติยังต้องพึ่งคุณประยุทธอีกเยอะ
ถ้าทหารใช้บทบาทท่าทีแข็งกร้าว ผลจะเป็นอย่างไร
ไม่ได้อะไรครับ มีแต่ยิ่งห่างไกล เขายิ่งเกลียด ยิ่งชัง...คนเสื้อแดงก็คือคนไทย รักชาติเหมือนกับเรา และเขาเป็นคนที่ได้รับความลำบาก คนที่เขา suffer มีปมด้อย เขารู้สึกได้เร็ว และเขารู้สึกได้มาก เขาต้องการความเห็นใจ ใช่ไหม
ทหารไทยก็คิดแบบนี้เป็นประเพณี คิดว่าตัวเองเป็นเสาหลักของประเทศ แล้วคนก็ชอบไปพูดเหลือเกิน ว่าทหารเป็นเสาหลักของประเทศ พูดจนทหารเชื่อ ข้อสอง คือทหารถูกฝึกมาให้หันซ้ายหันขวา แต่บังเอิญ ในมือดันถืออาวุธและมีกฎเข้ม ก็เลยออกมารูปแบบแบบนี้ แต่ว่าความจริงแล้ว ไม่ได้นะ โลกเขาเปลี่ยไปแล้วครับ
ผมคิดว่าบทบาทของทหารกับการเมืองต้องลดลง เพราะทหารไม่มีหน้าที่มาจัดรัฐบาล หรือมารังเกียจพรรคโน้นพรรคนี้ ทหารก็เป็นข้าราชการประเภทหนึ่ง...ประชาธิปไตย ธรรมชาติทหาร ต้องไม่มาเกี่ยวข้อง ประเทศไทยล้าหลังมาก เรื่องความสัมพันธ์ของกองทัพกับการพัฒนาการเมือง ทหารมีหน้าที่ปกป้องขอบขัณฑสีมา ปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ ไม่ต้องมาปกป้องสถาบันการเมือง ไม่ใช่หน้าที่ของท่าน
คาดว่าปีหน้าจะมีจัดการเลือกตั้งหรือไม่
ก็มี อย่างไร เดือนธันวาคมปีหน้า ก็เลือกตั้งอยู่แล้ว และผมเชื่อว่าคุณอภิสิทธิ์ต้องยุบสภาก่อน ไม่งั้นจะแก้รัฐธรรมนูญทำไม โดยเฉพาะในบริบทเกี่ยวกับการเลือกตั้งทั้งนั้น
ไม่คิดว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระ
ไม่หรอก ๆ สไตล์พรรคประชาธิปัตย์ ไม่เคยทำอย่างนั้น และคุณอภิสิทธิ์พูดออกมาแล้ว อาจจะยุบสภาก่อนสักเดือนสองเดือน ก็เป็นได้
คาดว่าปีหน้าจะมีการชุมนุม นำมาสู่สถานการณ์รุนแรงเหมือนปีที่ผ่านมาหรือไม่
ผมว่า ถ้าไม่อยากให้รุนแรง นายกฯควรรีบให้มีการเลือกตั้ง เพราะการเลือกตั้ง คือการยอมรับเสียง mass ของประชาชน แล้วก็อย่าไปไล่ล่าทำลายเขา...เวลานี้ยังมีอยู่นะครับ บรรดาผู้บังคับบัญชาทั้งหลายแหล่ ควรไปดูลูกน้องท่าน บางคนยังเมามัน เวลานี้ยังเมามันไล่ล่าเสื้อแดง ทางเหนือก็หนักนะ อย่ามาปฏิเสธ
พรรคเพื่อไทยจะได้กลับมาเป็นรัฐบาลหรือไม่
พรรคเรากับพรรคประชาธิปัตย์ คะแนนคงจะออกมาสูสี แล้วเราคงจะชนะสัก 20-30 หรือ 40 เสียง แต่ถามว่า ใครจะเป็นรัฐบาล ก็มีบรรดาพรรคเล็กพรรคน้อย 5-6 พรรคนี้จะเป็นตัวชี้ที่สำคัญ ส่วนพรรคเล็กพรรคน้อยจะเอาใคร เขาก็คงดูประโยชน์เขาเป็นสำคัญ ประวัติศาสตร์มันบอกอย่างนั้นมาตลอด ผมไม่ค่อยอยากให้มีพรรคเล็ก ๆ เลย เป็นตัวยุ่ง ควรให้มีสัก 3-4 พรรคที่เป็นพรรคใหญ่
พรรคภูมิใจไทย หรือพรรคของคุณบรรหาร จะไปอยู่กับฝ่ายไหน
พรรคท่านบรรหาร ก็อยากเป็นรัฐบาล ฝ่ายไหนชนะ ท่านก็คงเลือก ยังเหลือเวลาอีกหลายเดือน สถานการณ์อาจจะเปลี่ยนแปลงก็ได้ ผมว่างั้นนะ เขาไม่กล้าบอก ว่าเอาหรือไม่เอา ชอบหรือไม่ชอบ เพราะถ้าคุณไปถามพรรคภูมิใจไทย เขาจะไม่กล้าพูดสักคำ ว่าเขาจะไม่มาร่วมกับเรา ไปถามสิ เขาจะไม่กล้าพูดสักคำเลย
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
สะพัด!! "แม้ว"ตัดสินใจชู"มิ่งขวัญ"แคนดิเดตนายกฯ เตรียมยุทธศาสตร์เลือกตั้งครั้งหน้าพร้อมแล้ว
แหล่งข่าวจาก ส.ส.พรรคเพื่อไทยรายหนึ่งที่เดินทางไปพบ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 24 ธันวาคม ที่เมืองดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เปิดเผยเมื่อวันที่ 27 ธันวาคม ว่า บรรยากาศการพบปะระหว่าง ส.ส. และ พ.ต.ท.ทักษิณเป็นไปอย่างดี จากการพูดคุยนั้นสรุปได้ว่า นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ หัวหน้าทีมเศรษฐกิจพรรคเพื่อไทย จะถูกชูเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค โดยที่หัวหน้าพรรคยังคงเป็นนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ อยู่ นอกจากนี้ ยังมีการหารือกันถึงอำนาจการตัดสินใจในพรรค ยุทธศาสตร์การเลือกตั้งของพรรคเพื่อไทยในอนาคต รวมถึงนโยบายของพรรคเพื่อไทยที่จะใช้ในเลือกตั้งครั้งหน้าได้ถูกเตรียมการเอาไว้หมดแล้ว โดยนอกจากต่อยอดนโยบายเดิมของพรรคเพื่อไทยแล้วยังมุ่งเน้นไปที่ความสมานฉันท์ภายในชาติด้วย
"ค่อนข้างชัดเจนว่า นายมิ่งขวัญจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค โดยจะมีการแถลงอย่างเป็นทางการจากกลุ่ม ส.ส. 9 คน นำโดยนายสุพล ฟองงาม เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ซึ่งเดินทางไปขอความชัดเจนจาก พ.ต.ท.ทักษิณที่เมืองดูไบ โดยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าของวันที่ 28 ธันวาคมนี้" แหล่งข่าวกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
----------------------------------------------------
"ค่อนข้างชัดเจนว่า นายมิ่งขวัญจะเป็นแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรค โดยจะมีการแถลงอย่างเป็นทางการจากกลุ่ม ส.ส. 9 คน นำโดยนายสุพล ฟองงาม เลขาธิการพรรคเพื่อไทย ซึ่งเดินทางไปขอความชัดเจนจาก พ.ต.ท.ทักษิณที่เมืองดูไบ โดยจะเดินทางกลับถึงประเทศไทยในช่วงเช้าของวันที่ 28 ธันวาคมนี้" แหล่งข่าวกล่าว
ที่มา.มติชนออนไลน์
----------------------------------------------------
วันจันทร์ที่ 27 ธันวาคม พ.ศ. 2553
การเมืองสยาม หลัง ‘อภิสิทธิ์1’
“หน้ากระดานเรียงหนึ่งกดปุ่มอภิวัฒน์ประเทศ” ฉบับนี้ ขอนำเสนอมุมมองของ 2 ผู้คร่ำหวอดทางการเมือง “พนัส ทัศนียานนท์” อดีต ส.ว. ตาก และ “อนุสรณ์ ธรรมใจ” กรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์ ที่ถ่ายทอดผ่านวงเสวนาทาง การเมือง ในหัวข้อ “การเมืองสยามประเทศไทย : หลัง อภิสิทธิ์ 1” ซึ่งมีนัยอันแหลมคม และน่าสนใจยิ่ง
>> “พนัส ทัศนียานนท์” อดีต ส.ว.ตาก
“การเมืองสยามประเทศ หลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถ้าจะมีอะไรเกิดขึ้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยก็คือการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ อันที่จริง ก็ควรจะโพสต์ ไปตั้ง 6-7 เดือนแล้ว ส่วนตัวมองว่า ตอนที่เกิดเหตุการณ์เดือนเมษายนขึ้นก็น่าจะลาออก ได้แล้ว ตอนนั้นเขามาเรียกร้องให้ยุบสภาก็ไม่ยุบ จนกระทั่ง คนบาดเจ็บล้มตาย ก็เลยทำให้เป็นข้อที่คง จะต้องมีการวิเคราะห์”
“แต่สำหรับผมเองคือผมเดาแล้วมีแนวโน้มที่ จะเป็นไปได้สูงมากที่คุณอภิสิทธิ์จะยุบสภาและให้มี การเลือกตั้งใหม่ เหตุผลประการแรก คือ ที่ติดบ่วง อยู่นั้นก็รอดมาได้อย่างไม่คาดฝัน ไม่ประทับใจคนดู ถ้าเป็นมวยก็ถือว่าชนะฟาวล์อย่างไม่คาดฝัน ซึ่งจะ มีปัญหาต่อกับอนาคตของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ ตอนที่ทำรัฐประหาร 2549 มีการอ้าง ว่ามีการแทรกแซงองค์กรอิสระ ตอนนี้มีเหตุผลมาก กว่าตอนนั้นเสียอีก ตอนนี้มันไม่ใช่แค่แทรกแซงแต่ ถูกยึดด้วยซ้ำไป”
“ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ผมเชื่อว่านักกฎหมายด้วยกันเองคงจะปวดเศียรเวียนเกล้าพอสมควร เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ในการมาไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผมถือว่าเป็นเหตุผลที่พิสดารที่สุด คือถ้าทำหน้าที่เป็นประธาน กกต. ไม่ถือว่าเป็นนาย ทะเบียนพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้รับรู้รับเห็น จึงบอกว่าเป็นการดำเนินการข้ามขั้นตอน โดยที่นายทะเบียนเองไม่ได้ทำความเห็น แล้วจู่ๆ ก็เอาเรื่องยื่น ต่อศาล เป็นเหตุผลทางเทคนิค จึงไม่ต้องพิจารณา ว่าโดยเนื้อแท้ โดยเรื่องราวแล้วผิดหรือไม่ ซึ่งเรา ไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากศาลเลยว่าพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างไร พอมาเรื่องที่ 2 ก็อาศัยเหตุผลเดียวกันนั่นแหละ ยกฟ้องเสียเลย คดีแรกทำให้ กกต. หน้าแตก คดีที่สองก็ทำให้อัยการหน้าแตกไปด้วย”
>> ภูมิใจไทยก้างขวางคอ ปชป.
“ตอนนี้ก็เลยมีประเด็นที่มีการเสนอกันว่าน่า จะเทียบเคียงได้กับการดำเนินคดีอาญา ซึ่งถ้าศาลตัดสินว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จะเอาไปฟ้องใหม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ ประธาน กกต. น่าจะนำเรื่องไปยื่นใหม่ได้ แต่ก็อาจจะไปติดตรงประเด็น 15 วันอีก ซึ่งก็เป็นเรื่องตลกว่าที่เขาเอามาอ่านสุดท้าย ไม่ได้เป็นเสียงข้างมากนะ แต่เป็นเสียงข้างน้อย คือ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ซึ่งไม่เหมือนอีก 3 ท่าน ที่เป็นเสียงข้างมากที่บอกให้ยกคำร้องที่ขอให้ยุบพรรค ประชาธิปัตย์ แล้วเสียงข้างน้อย ที่ผมแปลกใจและ คาดผิดอย่างมหาศาล ตอนแรกผมคิดว่าท่านประ ธานเองจะเป็นเสียงข้างมากอยู่ด้วย กลายเป็นว่าท่านเป็นเสียงข้างน้อย และคำวินิจฉัยของท่านชัดเจนที่สุดเลยว่า นอกจากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ แล้วให้ตัดสิทธิ์ผู้บริหารพรรคอีก 2 ราย คือคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน และคุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ แต่ที่แปลกใจคือไม่ตัดสิทธิ์คุณอภิสิทธิ์ด้วย ซึ่งคำวินิจฉัย ไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไร สำหรับคุณบุญส่ง กุลบุปผา บอกให้ยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์ใครสักคนเดียว”
“แล้วผมก็คาดเดาต่อไปว่า ถึงอย่างไรก็ไม่มีการ ยื่นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ถือว่าเรื่องจบแล้ว จากนี้ไปประชาธิปัตย์คงจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์เอง จากอาการที่ท่านแสดงออกมา ผมเชื่อว่าท่านมั่นใจว่าขณะนี้ประชาธิปัตย์ก้าวข้าม พ้นหมดแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดก็แล้วแต่ ซึ่งอาจจะเคยสนับสนุนเคยอุ้มเคยช่วยเหลือกันมา ความมั่นใจนี้อาจจะถึงขั้นที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใครช่วย ขณะนี้เดิน ได้ด้วยตัวเองแล้ว มีสิ่งที่ยึดมั่นและน่าจะคุ้มครองได้ อาจจะมีสิ่งที่เป็นขวากหนามที่เป็นหอกข้างแคร่ก็คือ พรรคภูมิใจไทย หรือเนวิน ชิดชอบ เลือกตั้งซ่อมครั้ง นี้น่ากลัวมากขนาดบุกไปชนะที่สุรินทร์ได้ การเอาบุญเก่าของทักษิณมาใช้คงไม่ได้แล้ว และเชื่อว่าการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งใหญ่คราวหน้า ประชาธิปัตย์น่าจะ ได้เก้าอี้คืนมาพอสมควร แต่ยังมีก้างขวางคอก็คือภูมิใจไทยของเนวิน”
>> ยุบสภาเมษายนปีหน้า
“การแก้เกมนี้ ท่านบอกว่าอาจจะมีการปรับ ครม. อีกครั้งเพื่อเอาเพื่อแผ่นดินเข้ามา เพื่อจะเอา 3 พี เข้ามา เขตของเขาอยู่ภาคอีสาน ไม่ให้ภูมิใจไทยรุก หนักมากเกินไป และถ้าพี่เนวินเข้าไปนั่งในหัวใจคน อีสานแทนทักษิณแล้ว คนที่น่าเป็นห่วงก็คือประชา ธิปัตย์ การหักกันก็คือเรื่องขึ้นเงินเดือน อบต. แล้วก็พ่วงขึ้นเงินเดือน ส.ส. ส.ว.ไปด้วย แต่คนที่ผมนับถือ ที่สุดคือคุณรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ที่ประกาศ ว่าไม่เอาเงินเดือนขึ้นนี้ ผมอยากจะรอดูต่อไปว่าเมื่อ เขาโอนเงินเดือนให้ท่านจริงๆ ท่านจะไม่เอาจริงหรือ เปล่า ถ้าท่านคืนให้หมด ผมจะยกย่องให้เป็นวีรสตรี ของการเมืองไทยเลย”
“ผมคิดว่ามีแนวโน้มเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีการยุบสภาในเดือนเมษายนปีหน้า เพราะมีแนวโน้มที่จะเป็นเสียงข้างมาก พูดได้เต็มปากว่าได้ จัดตั้งรัฐบาลด้วยความชอบธรรม ยิ่งหากได้ถึง 300 กว่าที่นั่งก็จะยิ่งดี แต่อย่าลืมว่าไทยรักไทยเคยได้ 377 ที่นั่งก็อยู่ไม่ได้ ข้อกล่าวหาอย่างเดียวจะตามมาคือการเป็นเผด็จการรัฐสภา ซึ่งทุกคนก็อยากเป็นทั้งนั้น เผด็จการที่มีอำนาจอย่างเด็ดขาด”
>> อย่าประมาทพันธมิตรฯ
“แต่ท่านอย่าประเมินอะไรต่ำเกินไป โดยเฉพาะ อย่าประเมินพันธมิตรฯ ต่ำ ผมฟังคุณสนธิ ลิ้ม ทองกุล สองสัปดาห์ติดต่อกัน มันมากเลย ตอนนี้กลายเป็นว่าประชาธิปัตย์ขายชาติไปเสียแล้ว ซึ่งคุณ อภิสิทธิ์อาจจะประเมินแล้วไม่มีปัญหาเพราะเหตุการณ์ที่หนักกว่านี้ก็เจอมาแล้วถึง 2 ครั้ง และการผ่านศึกนี้มาได้ก็อาจจะมองว่า
ศึกไหนก็บ่ยั่น ถ้าท่านคิดอย่างนั้นผมก็อยากจะเตือนว่าการประเมินต่ำเกินไปก็อาจจะเป็น ปัญหาได้ ผมเชื่อว่าหากมีการยุบสภาเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน”
“แต่ก็มีชนวนระเบิดอยู่ โดยเฉพาะประเด็นมรดกโลกเขาพระวิหาร ผมฟันธงตรงนี้ว่าการเลือกจังหวะเวลาที่จะยุบสภาเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งก็คงจะใช้ตรงนี้แย่งพื้นที่ข่าวเพราะหากเลือกตั้งเดือนเมษายนก็ต้องเลือกตั้งในหกสิบวัน สองสามเดือนหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องไปพูดกันเรื่องมรดกโลก ในเดือนมิถุนายน เพราะฉะนั้น หากช่วงนั้นกำลังจะมีการเลือกตั้ง ข่าวส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การเมืองภายในประเทศ ข่าวเรื่องมรดกโลกก็ต้องลดลง ซึ่งกรณีมรดกโลก ผมเดาว่าช่วง หลังมานี้เสียงของท่านอภิสิทธิ์เพี้ยนๆ ไปทำนองว่าไปขอขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ดี ซึ่งฟังๆ แล้วก็ไม่ต่างจากที่คุณนพดล ปัทมะ เคยดำเนินการ ซึ่งฝ่ายเสื้อเหลืองก็คงยอมไม่ได้”
>> “อนุสรณ์ ธรรมใจ”
กรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
“บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์ทางการเมือง มากจนกระทั่งเกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ผมสนใจว่าบ้านเมืองจะอยู่อย่างไรหลังอภิสิทธิ์ 1 ถ้าเราดูโครงสร้างของ สังคมไทย และเศรษฐกิจไทย โครงสร้างส่วน บนมีปัญหาและมีปัญหาอย่างมากหลังรัฐ ประหาร 2549 ทั้งในเรื่องระบบกฎหมาย การ เมืองรวมถึงวิธีคิดของประชาชนจำนวนไม่น้อย ขณะที่โครงสร้างส่วนล่างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีปัญหาน้อยกว่าส่วนบนเพราะโดยพื้นฐานแล้วประคองตัวได้ซึ่งได้รับประ โยชน์จากการที่เศรษฐกิจเอเชียดีมาก สหรัฐและยุโรปมีปัญหา การลงทุนจึงไหลมาทางเอเชีย แต่จะไม่เป็นบวกต่อไปถ้ากฎหมายของ ไทยแสดงความไม่มีนิติรัฐ นิติธรรม ระบบยุติธรรมถูกตั้งคำถามก็จะก่อให้เกิดปัญหา แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำจะนำมาสู่ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือความเหลื่อมล้ำและการกระจายความมั่งคั่ง ซึ่งเราเห็นว่ารัฐบาลพยายาม จะแก้ปัญหานี้แต่ไม่ได้แก้ที่โครงสร้าง ก็ยังใช้นโยบายประชานิยมเหมือนรัฐบาลที่ ผ่านๆ มา”
>> ผ่ารากเน่าประเทศ
อย่างไรก็ดี ผมได้มองถึงปัญหาในประเทศใน 6 มิติ คือ 1.ประเทศมีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่ง ตอนนี้ต้องบอกว่ายังไม่ได้ปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และลดลงภาย หลังรัฐประหาร 2549 ประเทศไทยไม่ได้มี สิทธิเสรีภาพอย่างที่หลายประเทศที่เป็นประ ชาธิปไตยมี เรามีปัญหาเรื่องภราดรภาพแน่นอน ความเสมอภาคไม่ต้องพูดถึง
2.เราต้องการสังคมและระบบการ เมืองที่ยึดมั่นในระบบนิติรัฐ นิติธรรม ดำรงอยู่ ได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสันติ คนไม่จำเป็นต้องมีความเห็นเหมือน กันหรือจุดยืนทางการเมืองเหมือนกัน แต่พูด กันได้ด้วยเหตุด้วยผล และยึดหลักเสียงข้างมาก เราจะเห็นว่าการเลือกตั้งหลายประเทศ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วมันจบ แต่ประเทศนี้ไม่จบ ยังทำให้เกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง เราก็หวังว่าการเมืองสยามประเทศจะเป็นเช่นนานาอารยประเทศ
3.ระบบยุติธรรมต้องเป็นธรรม การเลือกตั้งต้องเป็นกลางและเป็นธรรม แต่ถ้ามี ปัญหาตั้งคำถามเรื่องนี้ ความวุ่นวายและวิกฤตการณ์ทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นอีก เหมือนกรณีศาลรัฐธรรมนูญที่ยังคาใจคนจำนวนมาก และการยุบพรรคก็เป็นผลผลิตของรัฐธรรม นูญ 2550 ซึ่งเป็นผลผลิตของรัฐประหาร 2549 ซึ่งไม่มีประเทศไหนมีบทลงโทษเรื่องการ ยุบพรรคการเมือง เพราะทำให้สถาบันพรรค การเมืองอ่อนแอ ผู้สนับสนุนแนวคิดยุบพรรค ก็อาจจะบอกว่านี่เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งมันก็คือความไม่เป็นประชาธิปไตย
4.ระบบเศรษฐกิจต้องเป็นประชาธิปไตย เราเห็นอยู่ว่ากลุ่มทุนขนาดใหญ่เขาเล่นอยู่หลัง ฉากตลอด และกลุ่มทุนก็ถือหางผู้ชนะ โดยไม่ดูว่าผู้ชนะมาด้วยครรลองที่ถูกต้องหรือไม่
5.ประชาชนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งโยงกับการที่ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการ พื้นฐานได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งหลายๆ รัฐบาลทำอยู่ในแง่ประชานิยม ไม่ใช่รัฐสวัสดิการ เพราะไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่มีความกล้าหาญในการปฏิรูประบบภาษี และการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดที่จะทำให้เกิดประ ชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแต่ถามว่าประเทศไทยมีเสรีภาพทางวิชาการในการวิพากษ์วิจารณ์หรือไม่ เพราะการปฏิรูปที่ดินจะไปแตะผลประโยชน์ของกลุ่มจารีตอนุรักษนิยมอย่างมาก เดิมคณะ ราษฎรหลัง 2475 ได้จัดการระบบไว้เรียบร้อย แล้ว แต่ว่าบ้านเมืองถอยหลังกลับหลังการรัฐประหาร 2490 แล้วสิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ ถ้าใคร อ่านวิกิลีกส์ ซึ่งสะท้อนว่าระบบการเมืองไทย มีมือที่มองไม่เห็นจริง ซึ่งเป็นปัญหา เพราะใน ระบบการเมืองประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ในประเทศยุโรปเขาจะจัดวางสถาบันและโครง สร้างอำนาจที่สอดคล้องกับหลักการประชา ธิปไตย จึงจะทำให้ระบบนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ สอดคล้องกับ หลักการประชาธิปไตย ในหลายประเทศเขาก็มีความก้าวหน้าที่จะทำให้สื่อมวลชน นักวิชาการ และประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ด้วยความปรารถนาดี และทำให้ระบอบพัฒนา ไ
ด้สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 20
6.ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลดลง ซึ่งตอนนี้ไม่ได้ลดลง แต่กลับมากขึ้นและกระจาย ขึ้น เพราะรัฐบาลมีสภาพเป็นรัฐบาลผสม เสถียรภาพไม่แข็งแรง เป็นบุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต ใครใคร่กิน-กิน ใครใคร่คอร์รัปชั่น-คอร์รัปชั่น หนักกว่าสมัยรัฐบาลชาติชายเพราะความเป็น Money Politics มันมากขึ้นๆ เพราะเกิดสภาวะแพ้ไม่ได้ จริงๆ ในการแข่งขันทางการเมืองมันต้องแพ้ได้ แล้วผลัดกันบริหาร แต่มันเกิดสภาวะแพ้ไม่ได้เพราะทุกคนมีคดี ก็เกรงว่าอีกฝ่ายที่เป็นขั้วตรงข้ามจะเล่นงานไล่หลัง ก็จึงเกิดผสมปนเปปัญหาซับซ้อนมากขึ้น
>> ปักหมุดเสริมสร้างรากแก้วอันยั่งยืน
“ข้อเสนอสำหรับประเด็นแรก การ เมืองประชาธิปไตย คือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้เพื่อนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น ต้องแก้ในประเด็น ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างแก้ระบบเลือกตั้ง ประเทศไทยก็ใช้มาทุกระบบ แล้วทุกระบบก็มี ข้อดีข้อเสีย ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน ฉะนั้น เราต้องไปดูประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและสร้างปัญหาให้ระบอบประชาธิปไตยอย่าง มาก รัฐธรรมนูญบางหมวดก็ไม่มีการพูดถึงเลยเพราะกลัวติดคุก 18 ปี ซึ่งจริงๆ ต้องพูด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคตของประเทศไทยในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ผมเคยเข้าไปร่วมในคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ผมเสนอให้มีสภาปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งต้องรวมถึงการปฏิรูปสถาบันด้วย รวมไปถึงกฎหมาย วัฒนธรรม ศาสนา”
“ผมเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปมา จากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่โดยการ แต่งตั้งของรัฐบาลอย่างที่ทำอยู่ แต่องค์กร ต้องมาจากประชาชนเราไม่อาจจะให้คนที่เรา เชื่อว่าเป็นคนดี หรือมีศีลธรรม ความรู้ความ สามารถสูงกว่าคนอื่นไปตัดสินใจแทนประ ชาชน มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ถ้าเอาคนเหล่านี้มาเป็นองค์ประกอบโดยมีส่วนร่วมของ ประชาชน ก็อาจจะได้ และอาจจะอยู่สัก 5-10 ปีแล้วก็สลายตัวไป เพราะเราเห็นอยู่แล้วว่าบ้านเมืองในระยะ 5-10 ปีข้างหน้ามีความเสี่ยงอะไร”
>> ยกเครื่องกระบวนการยุติธรรม
“สำหรับระบบศาลยุติธรรมก็ต้องปฏิรูป ตั้งแต่ต้นทาง คือตำรวจ อัยการ ศาล และให้ อำนาจตุลาการยึดโยงกับอำนาจประชาชนมากขึ้น ไม่ต้องเอาถึงขั้นสหรัฐอเมริกาก็ได้ แต่ให้มีอำนาจของประชาชนเกี่ยวข้องมากขึ้น เพราะธรรมนูญปกครองประเทศ 2475 เขียนชัดเจน อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่วันนี้ผมไม่เห็นอำนาจศาลยึดโยงกับอำนาจประชาชนเลย
“ในส่วนประเด็นเรื่องการผูกขาดอำนาจ เศรษฐกิจ ก็โยงกับการผูกขาดอำนาจทาง การเมืองแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร ผมมองว่า ต้องทำไปพร้อมๆ กัน เราไม่อาจทำอย่างใด อย่างหนึ่งได้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ๆ ที่ทำให้ประเทศไหนก็ตามเป็นประ ชาธิปไตยล้วนเกิดจากผลของพัฒนาการทาง เศรษฐกิจแล้วนำมาสู่แรงกดดันทางการเมือง ทำให้ระบบเดิมต้องปรับเปลี่ยน อยู่อย่างเดิม ไม่ได้ เพราะระบบเศรษฐกิจเปลี่ยน และสิ่งนี้ จะเกิดขึ้นในประเทศจีนได้ และแน่นอนที่สุดไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงกฎ Dialectic ได้ ผม มองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่าเป็นพลังระหว่างกิริยากับปฏิกิริยา ก็จะเกิดวิวัฒนา การปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ”
“แต่เราอยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นประ ชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์มีความสูญเสียน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่แน่นอน ว่าไม่มีใครต้านทานความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีบางสังคมที่ขยับขึ้นแล้วตกลงมาได้ เพราะสังคมนั้นขาดการเตรียมพร้อมในทุกด้าน เราดูพัฒนาการของหลายประเทศ ทำไมการเปลี่ยนแปลงบางประเทศถึงรุนแรงนองเลือด ก็เพราะไม่เตรียมพร้อม และคนที่ไม่เตรียมพร้อมที่สุดก็คือคนชั้นนำ”
>> ปฏิรูปทั้งระบบวัคซีนสกัดเหตุนองเลือด
“หลังอภิสิทธิ์ 1 เราต้องปฏิรูป จึงจะหลีกเลี่ยงการนองเลือดและความสูญเสียได้ แต่ถ้าเราไม่ทำ แล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงจากล่างสู่บน ซึ่งถ้าองค์กรด้านล่างมียุทธศาสตร์ที่ดี บ้านเมืองจะไม่ระส่ำระสาย แต่มัน จะรุนแรงแน่นอน บางประเทศที่กลับไปกลับมาเพราะเกิดสภาวะอนาธิปไตย เพราะศูนย์กลางอำนาจเดิมสูญเสียการควบคุมก็ไม่มีศูนย์กลางใหม่ หรือไม่เกิดการกระจายตัว แต่ทางออกของประเทศไทย ผมเชื่อในประชาธิปไตยผมมองว่าทางออกคือการฟังเสียงประ ชาชน คือการเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นการเลือกตั้ง ที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและเป็นกลาง ไม่ว่าผลการ เลือกตั้งจะออกมาอย่างไรนั่นคือเสียงของประชาชนและต้องยอมรับ แต่ต้องไม่ให้การเลือกตั้งนี้ถูกฉ้อฉลด้วยอำนาจรัฐและอำนาจ เงิน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีคนบางกลุ่มคิดแทนประชาชน และเชื่อในความดีความสามารถของตัวเอง”
>> รัฐประหารรอบใหม่คือหายนะชาติ
“ผมมองว่าถ้ามีรัฐประหารอีกประเทศ ไทยจะถอยหลังยาว แล้วจะปิดประตูการรัฐ ประหารได้อย่างไร ข้ออ้างคือเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น เราก็ต้องสามารถลงโทษรัฐบาลที่ทุจริต คอร์รัปชั่นได้ด้วยระบบกฎหมาย ไม่ใช่กระ บวนการรถถังแล้วความเชื่อมั่นของนักลงทุน พัฒนาหลักสูตรประชาธิปไตยในโรงเรียนทหาร ให้ฝังแน่น ให้เป็นทหารประชาธิปไตย เป็นทหารของประชาชน ปฏิรูปเงินเดือนสวัสดิการให้มันดี แต่จะมีเงินพอหรือไม่นั้น ไม่ทราบเพราะว่าตอนนี้แจกเงินกันใหญ่ อีกสัก 4-5 ปีข้างหน้าจะมีปัญหาการเงินขนาดใหญ่”
“เปิดช่องให้กองทัพและอำมาตย์ทั้ง หลายเขามีบทบาททางการเมืองอย่างเหมาะสม ตามวิถีทางประชาธิปไตย ฉะนั้น ต้องกำหนด ในกฎหมายให้ชัดเจน เช่น กองทัพต้องพิทักษ์ รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน หากจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมาจาก สสร. และมีการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ 7 วัน 7 คืน เอาวันที่ 24 มิ.ย. มาเป็นวันชาติ ปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข และจะทำให้สถาบันยิ่งเข้มแข็งมากขึ้น ดูอย่าง อังกฤษจะเห็นว่าดีกว่าเยอะ การเอาเจ้า เอาสถาบันมาทำลายล้างทางการเมืองจะหยุดลง เพราะเราปรับปรุงกฎหมายไม่ให้เป็นเครื่องมือ ทำลายกันทางการเมือง ซึ่งการติดคุก 18 ปี ด้วยกฎหมายแบบนี้ มันไม่เหมาะสมกับศตวรรษ ที่ 21 เพราะมันผิดธรรมชาติ ผิดสภาวะแวดล้อมที่บ้านเมืองเปลี่ยนไปเยอะ”
“ที่สำคัญต้องกำหนดบทลงโทษผู้ก่อ การรัฐประหาร และศาลต้องกล้าตัดสินว่าผู้ทำการรัฐประหารเป็นกบฏ เราต้องไปดูกรณี ของประเทศตุรกี สเปน บางประเทศกษัตริย์ลงมาพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป แล้วบ้านเมืองถึงจะไปได้แบบก้าวกระโดด ศักยภาพของประเทศไทยควรจะพัฒนาได้แบบญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่นี่แสดงว่ามีพลังบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถปฏิรูปได้ เราไม่มีการปฏิรูป ที่ดินอย่างจริงจัง แต่จุดแข็งคือเราสามารถยกเลิกระบบไพร่ ทาส ได้อย่างสันติวิธีนี่คือกษัตริย์ทียิ่งใหญ่ วางแผนระยะยาว ค่อยๆ เปลี่ยน และหลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่ทุกวันนี้ ประชาชนจำนวนหนึ่งกลับอยากเป็นไพร่ จริงๆ ราษฎรในระบอบประชาธิปไตยต้องมีจิตสำนึก แบบพลเมือง ไม่ใช่สำนึกแบบไพร่ฟ้า เป็นวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์ รากของวัฒนธรรมไม่ได้เปลี่ยน เพราะประเทศไทยมีการอภิวัฒน์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบประเทศอื่น และในระดับระหว่างประเทศควรเสนอให้กฎบัตรอาเซียนไม่รับรองรัฐบาลที่มาจากการรัฐ ประหาร”
ชัดเจนในเนื้อหาใจความ และคงไม่ต้องอรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า การเมืองสยาม ประเทศหลัง “อภิสิทธิ์ 1” จะพลิกโฉมไปสู่ แห่งหนใด
ที่มา.สยามธุรกิจ
****************************************************
>> “พนัส ทัศนียานนท์” อดีต ส.ว.ตาก
“การเมืองสยามประเทศ หลังรัฐบาลอภิสิทธิ์ ถ้าจะมีอะไรเกิดขึ้นต้องมีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เป็นไปตามครรลองของระบอบประชาธิปไตยก็คือการยุบสภาเลือกตั้งใหม่ อันที่จริง ก็ควรจะโพสต์ ไปตั้ง 6-7 เดือนแล้ว ส่วนตัวมองว่า ตอนที่เกิดเหตุการณ์เดือนเมษายนขึ้นก็น่าจะลาออก ได้แล้ว ตอนนั้นเขามาเรียกร้องให้ยุบสภาก็ไม่ยุบ จนกระทั่ง คนบาดเจ็บล้มตาย ก็เลยทำให้เป็นข้อที่คง จะต้องมีการวิเคราะห์”
“แต่สำหรับผมเองคือผมเดาแล้วมีแนวโน้มที่ จะเป็นไปได้สูงมากที่คุณอภิสิทธิ์จะยุบสภาและให้มี การเลือกตั้งใหม่ เหตุผลประการแรก คือ ที่ติดบ่วง อยู่นั้นก็รอดมาได้อย่างไม่คาดฝัน ไม่ประทับใจคนดู ถ้าเป็นมวยก็ถือว่าชนะฟาวล์อย่างไม่คาดฝัน ซึ่งจะ มีปัญหาต่อกับอนาคตของศาลรัฐธรรมนูญหรือองค์กรอิสระ ตอนที่ทำรัฐประหาร 2549 มีการอ้าง ว่ามีการแทรกแซงองค์กรอิสระ ตอนนี้มีเหตุผลมาก กว่าตอนนั้นเสียอีก ตอนนี้มันไม่ใช่แค่แทรกแซงแต่ ถูกยึดด้วยซ้ำไป”
“ในฐานะที่เป็นนักกฎหมาย ผมเชื่อว่านักกฎหมายด้วยกันเองคงจะปวดเศียรเวียนเกล้าพอสมควร เหตุผลที่ศาลรัฐธรรมนูญให้ในการมาไม่ยุบพรรคประชาธิปัตย์นั้น ผมถือว่าเป็นเหตุผลที่พิสดารที่สุด คือถ้าทำหน้าที่เป็นประธาน กกต. ไม่ถือว่าเป็นนาย ทะเบียนพรรคการเมือง ถือว่าไม่ได้รับรู้รับเห็น จึงบอกว่าเป็นการดำเนินการข้ามขั้นตอน โดยที่นายทะเบียนเองไม่ได้ทำความเห็น แล้วจู่ๆ ก็เอาเรื่องยื่น ต่อศาล เป็นเหตุผลทางเทคนิค จึงไม่ต้องพิจารณา ว่าโดยเนื้อแท้ โดยเรื่องราวแล้วผิดหรือไม่ ซึ่งเรา ไม่ได้ฟังความคิดเห็นจากศาลเลยว่าพิจารณาเรื่องดังกล่าวอย่างไร พอมาเรื่องที่ 2 ก็อาศัยเหตุผลเดียวกันนั่นแหละ ยกฟ้องเสียเลย คดีแรกทำให้ กกต. หน้าแตก คดีที่สองก็ทำให้อัยการหน้าแตกไปด้วย”
>> ภูมิใจไทยก้างขวางคอ ปชป.
“ตอนนี้ก็เลยมีประเด็นที่มีการเสนอกันว่าน่า จะเทียบเคียงได้กับการดำเนินคดีอาญา ซึ่งถ้าศาลตัดสินว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง จะเอาไปฟ้องใหม่ได้ ไม่ถือว่าเป็นการฟ้องซ้ำ ประธาน กกต. น่าจะนำเรื่องไปยื่นใหม่ได้ แต่ก็อาจจะไปติดตรงประเด็น 15 วันอีก ซึ่งก็เป็นเรื่องตลกว่าที่เขาเอามาอ่านสุดท้าย ไม่ได้เป็นเสียงข้างมากนะ แต่เป็นเสียงข้างน้อย คือ นายอุดมศักดิ์ นิติมนตรี ซึ่งไม่เหมือนอีก 3 ท่าน ที่เป็นเสียงข้างมากที่บอกให้ยกคำร้องที่ขอให้ยุบพรรค ประชาธิปัตย์ แล้วเสียงข้างน้อย ที่ผมแปลกใจและ คาดผิดอย่างมหาศาล ตอนแรกผมคิดว่าท่านประ ธานเองจะเป็นเสียงข้างมากอยู่ด้วย กลายเป็นว่าท่านเป็นเสียงข้างน้อย และคำวินิจฉัยของท่านชัดเจนที่สุดเลยว่า นอกจากให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ แล้วให้ตัดสิทธิ์ผู้บริหารพรรคอีก 2 ราย คือคุณบัญญัติ บรรทัดฐาน และคุณประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ แต่ที่แปลกใจคือไม่ตัดสิทธิ์คุณอภิสิทธิ์ด้วย ซึ่งคำวินิจฉัย ไม่เห็นว่าเป็นความผิดอะไร สำหรับคุณบุญส่ง กุลบุปผา บอกให้ยุบพรรคแต่ไม่ตัดสิทธิ์ใครสักคนเดียว”
“แล้วผมก็คาดเดาต่อไปว่า ถึงอย่างไรก็ไม่มีการ ยื่นให้ยุบพรรคประชาธิปัตย์ถือว่าเรื่องจบแล้ว จากนี้ไปประชาธิปัตย์คงจะมีความเชื่อมั่นมากขึ้น โดยเฉพาะคุณอภิสิทธิ์เอง จากอาการที่ท่านแสดงออกมา ผมเชื่อว่าท่านมั่นใจว่าขณะนี้ประชาธิปัตย์ก้าวข้าม พ้นหมดแล้ว ไม่ว่าฝ่ายใดก็แล้วแต่ ซึ่งอาจจะเคยสนับสนุนเคยอุ้มเคยช่วยเหลือกันมา ความมั่นใจนี้อาจจะถึงขั้นที่ว่าไม่จำเป็นต้องมีใครช่วย ขณะนี้เดิน ได้ด้วยตัวเองแล้ว มีสิ่งที่ยึดมั่นและน่าจะคุ้มครองได้ อาจจะมีสิ่งที่เป็นขวากหนามที่เป็นหอกข้างแคร่ก็คือ พรรคภูมิใจไทย หรือเนวิน ชิดชอบ เลือกตั้งซ่อมครั้ง นี้น่ากลัวมากขนาดบุกไปชนะที่สุรินทร์ได้ การเอาบุญเก่าของทักษิณมาใช้คงไม่ได้แล้ว และเชื่อว่าการ เลือกตั้งทั่วไปครั้งใหญ่คราวหน้า ประชาธิปัตย์น่าจะ ได้เก้าอี้คืนมาพอสมควร แต่ยังมีก้างขวางคอก็คือภูมิใจไทยของเนวิน”
>> ยุบสภาเมษายนปีหน้า
“การแก้เกมนี้ ท่านบอกว่าอาจจะมีการปรับ ครม. อีกครั้งเพื่อเอาเพื่อแผ่นดินเข้ามา เพื่อจะเอา 3 พี เข้ามา เขตของเขาอยู่ภาคอีสาน ไม่ให้ภูมิใจไทยรุก หนักมากเกินไป และถ้าพี่เนวินเข้าไปนั่งในหัวใจคน อีสานแทนทักษิณแล้ว คนที่น่าเป็นห่วงก็คือประชา ธิปัตย์ การหักกันก็คือเรื่องขึ้นเงินเดือน อบต. แล้วก็พ่วงขึ้นเงินเดือน ส.ส. ส.ว.ไปด้วย แต่คนที่ผมนับถือ ที่สุดคือคุณรสนา โตสิตระกูล ส.ว.กทม. ที่ประกาศ ว่าไม่เอาเงินเดือนขึ้นนี้ ผมอยากจะรอดูต่อไปว่าเมื่อ เขาโอนเงินเดือนให้ท่านจริงๆ ท่านจะไม่เอาจริงหรือ เปล่า ถ้าท่านคืนให้หมด ผมจะยกย่องให้เป็นวีรสตรี ของการเมืองไทยเลย”
“ผมคิดว่ามีแนวโน้มเกินกว่า 80 เปอร์เซ็นต์ที่จะมีการยุบสภาในเดือนเมษายนปีหน้า เพราะมีแนวโน้มที่จะเป็นเสียงข้างมาก พูดได้เต็มปากว่าได้ จัดตั้งรัฐบาลด้วยความชอบธรรม ยิ่งหากได้ถึง 300 กว่าที่นั่งก็จะยิ่งดี แต่อย่าลืมว่าไทยรักไทยเคยได้ 377 ที่นั่งก็อยู่ไม่ได้ ข้อกล่าวหาอย่างเดียวจะตามมาคือการเป็นเผด็จการรัฐสภา ซึ่งทุกคนก็อยากเป็นทั้งนั้น เผด็จการที่มีอำนาจอย่างเด็ดขาด”
>> อย่าประมาทพันธมิตรฯ
“แต่ท่านอย่าประเมินอะไรต่ำเกินไป โดยเฉพาะ อย่าประเมินพันธมิตรฯ ต่ำ ผมฟังคุณสนธิ ลิ้ม ทองกุล สองสัปดาห์ติดต่อกัน มันมากเลย ตอนนี้กลายเป็นว่าประชาธิปัตย์ขายชาติไปเสียแล้ว ซึ่งคุณ อภิสิทธิ์อาจจะประเมินแล้วไม่มีปัญหาเพราะเหตุการณ์ที่หนักกว่านี้ก็เจอมาแล้วถึง 2 ครั้ง และการผ่านศึกนี้มาได้ก็อาจจะมองว่า
ศึกไหนก็บ่ยั่น ถ้าท่านคิดอย่างนั้นผมก็อยากจะเตือนว่าการประเมินต่ำเกินไปก็อาจจะเป็น ปัญหาได้ ผมเชื่อว่าหากมีการยุบสภาเลือกตั้ง ประชาธิปัตย์ก็ได้เป็นรัฐบาลแน่นอน”
“แต่ก็มีชนวนระเบิดอยู่ โดยเฉพาะประเด็นมรดกโลกเขาพระวิหาร ผมฟันธงตรงนี้ว่าการเลือกจังหวะเวลาที่จะยุบสภาเดือนเมษายน ส่วนหนึ่งก็คงจะใช้ตรงนี้แย่งพื้นที่ข่าวเพราะหากเลือกตั้งเดือนเมษายนก็ต้องเลือกตั้งในหกสิบวัน สองสามเดือนหลังจากนั้นก็เป็นเรื่องที่ต้องไปพูดกันเรื่องมรดกโลก ในเดือนมิถุนายน เพราะฉะนั้น หากช่วงนั้นกำลังจะมีการเลือกตั้ง ข่าวส่วนใหญ่เป็นเรื่อง การเมืองภายในประเทศ ข่าวเรื่องมรดกโลกก็ต้องลดลง ซึ่งกรณีมรดกโลก ผมเดาว่าช่วง หลังมานี้เสียงของท่านอภิสิทธิ์เพี้ยนๆ ไปทำนองว่าไปขอขึ้นทะเบียนร่วมกันก็ดี ซึ่งฟังๆ แล้วก็ไม่ต่างจากที่คุณนพดล ปัทมะ เคยดำเนินการ ซึ่งฝ่ายเสื้อเหลืองก็คงยอมไม่ได้”
>> “อนุสรณ์ ธรรมใจ”
กรรมการมูลนิธิปรีดี พนมยงค์
“บ้านเมืองมีวิกฤตการณ์ทางการเมือง มากจนกระทั่งเกิดผลกระทบด้านเศรษฐกิจและการลงทุน ผมสนใจว่าบ้านเมืองจะอยู่อย่างไรหลังอภิสิทธิ์ 1 ถ้าเราดูโครงสร้างของ สังคมไทย และเศรษฐกิจไทย โครงสร้างส่วน บนมีปัญหาและมีปัญหาอย่างมากหลังรัฐ ประหาร 2549 ทั้งในเรื่องระบบกฎหมาย การ เมืองรวมถึงวิธีคิดของประชาชนจำนวนไม่น้อย ขณะที่โครงสร้างส่วนล่างที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานมีปัญหาน้อยกว่าส่วนบนเพราะโดยพื้นฐานแล้วประคองตัวได้ซึ่งได้รับประ โยชน์จากการที่เศรษฐกิจเอเชียดีมาก สหรัฐและยุโรปมีปัญหา การลงทุนจึงไหลมาทางเอเชีย แต่จะไม่เป็นบวกต่อไปถ้ากฎหมายของ ไทยแสดงความไม่มีนิติรัฐ นิติธรรม ระบบยุติธรรมถูกตั้งคำถามก็จะก่อให้เกิดปัญหา แต่ปัญหาทางเศรษฐกิจที่ทำจะนำมาสู่ปัญหาวิกฤตการณ์ทางการเมือง แต่ปัญหาที่ใหญ่ที่สุดก็คือความเหลื่อมล้ำและการกระจายความมั่งคั่ง ซึ่งเราเห็นว่ารัฐบาลพยายาม จะแก้ปัญหานี้แต่ไม่ได้แก้ที่โครงสร้าง ก็ยังใช้นโยบายประชานิยมเหมือนรัฐบาลที่ ผ่านๆ มา”
>> ผ่ารากเน่าประเทศ
อย่างไรก็ดี ผมได้มองถึงปัญหาในประเทศใน 6 มิติ คือ 1.ประเทศมีการปกครอง ในระบอบประชาธิปไตยอย่างแท้จริง ซึ่ง ตอนนี้ต้องบอกว่ายังไม่ได้ปกครองด้วยระบอบ ประชาธิปไตยอย่างแท้จริง และลดลงภาย หลังรัฐประหาร 2549 ประเทศไทยไม่ได้มี สิทธิเสรีภาพอย่างที่หลายประเทศที่เป็นประ ชาธิปไตยมี เรามีปัญหาเรื่องภราดรภาพแน่นอน ความเสมอภาคไม่ต้องพูดถึง
2.เราต้องการสังคมและระบบการ เมืองที่ยึดมั่นในระบบนิติรัฐ นิติธรรม ดำรงอยู่ ได้ท่ามกลางความแตกต่างหลากหลายได้อย่างสันติ คนไม่จำเป็นต้องมีความเห็นเหมือน กันหรือจุดยืนทางการเมืองเหมือนกัน แต่พูด กันได้ด้วยเหตุด้วยผล และยึดหลักเสียงข้างมาก เราจะเห็นว่าการเลือกตั้งหลายประเทศ เมื่อผลการเลือกตั้งออกมาแล้วมันจบ แต่ประเทศนี้ไม่จบ ยังทำให้เกิดปัญหาอย่างต่อเนื่อง เราก็หวังว่าการเมืองสยามประเทศจะเป็นเช่นนานาอารยประเทศ
3.ระบบยุติธรรมต้องเป็นธรรม การเลือกตั้งต้องเป็นกลางและเป็นธรรม แต่ถ้ามี ปัญหาตั้งคำถามเรื่องนี้ ความวุ่นวายและวิกฤตการณ์ทางการเมืองก็จะเกิดขึ้นอีก เหมือนกรณีศาลรัฐธรรมนูญที่ยังคาใจคนจำนวนมาก และการยุบพรรคก็เป็นผลผลิตของรัฐธรรม นูญ 2550 ซึ่งเป็นผลผลิตของรัฐประหาร 2549 ซึ่งไม่มีประเทศไหนมีบทลงโทษเรื่องการ ยุบพรรคการเมือง เพราะทำให้สถาบันพรรค การเมืองอ่อนแอ ผู้สนับสนุนแนวคิดยุบพรรค ก็อาจจะบอกว่านี่เป็นประชาธิปไตยแบบไทยๆ ซึ่งมันก็คือความไม่เป็นประชาธิปไตย
4.ระบบเศรษฐกิจต้องเป็นประชาธิปไตย เราเห็นอยู่ว่ากลุ่มทุนขนาดใหญ่เขาเล่นอยู่หลัง ฉากตลอด และกลุ่มทุนก็ถือหางผู้ชนะ โดยไม่ดูว่าผู้ชนะมาด้วยครรลองที่ถูกต้องหรือไม่
5.ประชาชนส่วนใหญ่มีคุณภาพชีวิตที่ดี ซึ่งโยงกับการที่ประชาชนเข้าถึงสวัสดิการ พื้นฐานได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งหลายๆ รัฐบาลทำอยู่ในแง่ประชานิยม ไม่ใช่รัฐสวัสดิการ เพราะไม่มีรัฐบาลไหนเลยที่มีความกล้าหาญในการปฏิรูประบบภาษี และการปฏิรูปที่ดิน ซึ่งเป็นเรื่องพื้นฐานที่สุดที่จะทำให้เกิดประ ชาธิปไตยทางเศรษฐกิจและแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำแต่ถามว่าประเทศไทยมีเสรีภาพทางวิชาการในการวิพากษ์วิจารณ์หรือไม่ เพราะการปฏิรูปที่ดินจะไปแตะผลประโยชน์ของกลุ่มจารีตอนุรักษนิยมอย่างมาก เดิมคณะ ราษฎรหลัง 2475 ได้จัดการระบบไว้เรียบร้อย แล้ว แต่ว่าบ้านเมืองถอยหลังกลับหลังการรัฐประหาร 2490 แล้วสิ่งนี้ยิ่งตอกย้ำ ถ้าใคร อ่านวิกิลีกส์ ซึ่งสะท้อนว่าระบบการเมืองไทย มีมือที่มองไม่เห็นจริง ซึ่งเป็นปัญหา เพราะใน ระบบการเมืองประชาธิปไตยที่พัฒนาแล้ว ในประเทศยุโรปเขาจะจัดวางสถาบันและโครง สร้างอำนาจที่สอดคล้องกับหลักการประชา ธิปไตย จึงจะทำให้ระบบนี้เป็นประโยชน์ต่อประเทศและประชาชนส่วนใหญ่ สอดคล้องกับ หลักการประชาธิปไตย ในหลายประเทศเขาก็มีความก้าวหน้าที่จะทำให้สื่อมวลชน นักวิชาการ และประชาชนสามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ด้วยความปรารถนาดี และทำให้ระบอบพัฒนา ไ
ด้สอดคล้องกับโลกในศตวรรษที่ 20
6.ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นลดลง ซึ่งตอนนี้ไม่ได้ลดลง แต่กลับมากขึ้นและกระจาย ขึ้น เพราะรัฐบาลมีสภาพเป็นรัฐบาลผสม เสถียรภาพไม่แข็งแรง เป็นบุฟเฟ่ต์คาบิเน็ต ใครใคร่กิน-กิน ใครใคร่คอร์รัปชั่น-คอร์รัปชั่น หนักกว่าสมัยรัฐบาลชาติชายเพราะความเป็น Money Politics มันมากขึ้นๆ เพราะเกิดสภาวะแพ้ไม่ได้ จริงๆ ในการแข่งขันทางการเมืองมันต้องแพ้ได้ แล้วผลัดกันบริหาร แต่มันเกิดสภาวะแพ้ไม่ได้เพราะทุกคนมีคดี ก็เกรงว่าอีกฝ่ายที่เป็นขั้วตรงข้ามจะเล่นงานไล่หลัง ก็จึงเกิดผสมปนเปปัญหาซับซ้อนมากขึ้น
>> ปักหมุดเสริมสร้างรากแก้วอันยั่งยืน
“ข้อเสนอสำหรับประเด็นแรก การ เมืองประชาธิปไตย คือแก้ไขรัฐธรรมนูญให้เป็นประชาธิปไตย ไม่ใช่แก้เพื่อนักการเมืองหรือพรรคการเมืองเท่านั้น ต้องแก้ในประเด็น ที่ไม่เป็นประชาธิปไตย อย่างแก้ระบบเลือกตั้ง ประเทศไทยก็ใช้มาทุกระบบ แล้วทุกระบบก็มี ข้อดีข้อเสีย ได้เปรียบเสียเปรียบต่างกัน ฉะนั้น เราต้องไปดูประเด็นที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและสร้างปัญหาให้ระบอบประชาธิปไตยอย่าง มาก รัฐธรรมนูญบางหมวดก็ไม่มีการพูดถึงเลยเพราะกลัวติดคุก 18 ปี ซึ่งจริงๆ ต้องพูด เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ในอนาคตของประเทศไทยในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า ผมเคยเข้าไปร่วมในคณะกรรมการสมานฉันท์แห่งชาติ ผมเสนอให้มีสภาปฏิรูปประเทศไทย ซึ่งต้องรวมถึงการปฏิรูปสถาบันด้วย รวมไปถึงกฎหมาย วัฒนธรรม ศาสนา”
“ผมเสนอให้คณะกรรมการปฏิรูปมา จากการเลือกตั้งของประชาชน ไม่ใช่โดยการ แต่งตั้งของรัฐบาลอย่างที่ทำอยู่ แต่องค์กร ต้องมาจากประชาชนเราไม่อาจจะให้คนที่เรา เชื่อว่าเป็นคนดี หรือมีศีลธรรม ความรู้ความ สามารถสูงกว่าคนอื่นไปตัดสินใจแทนประ ชาชน มันไม่ใช่ประชาธิปไตย แต่ถ้าเอาคนเหล่านี้มาเป็นองค์ประกอบโดยมีส่วนร่วมของ ประชาชน ก็อาจจะได้ และอาจจะอยู่สัก 5-10 ปีแล้วก็สลายตัวไป เพราะเราเห็นอยู่แล้วว่าบ้านเมืองในระยะ 5-10 ปีข้างหน้ามีความเสี่ยงอะไร”
>> ยกเครื่องกระบวนการยุติธรรม
“สำหรับระบบศาลยุติธรรมก็ต้องปฏิรูป ตั้งแต่ต้นทาง คือตำรวจ อัยการ ศาล และให้ อำนาจตุลาการยึดโยงกับอำนาจประชาชนมากขึ้น ไม่ต้องเอาถึงขั้นสหรัฐอเมริกาก็ได้ แต่ให้มีอำนาจของประชาชนเกี่ยวข้องมากขึ้น เพราะธรรมนูญปกครองประเทศ 2475 เขียนชัดเจน อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย แต่วันนี้ผมไม่เห็นอำนาจศาลยึดโยงกับอำนาจประชาชนเลย
“ในส่วนประเด็นเรื่องการผูกขาดอำนาจ เศรษฐกิจ ก็โยงกับการผูกขาดอำนาจทาง การเมืองแล้วจะแก้ปัญหาอย่างไร ผมมองว่า ต้องทำไปพร้อมๆ กัน เราไม่อาจทำอย่างใด อย่างหนึ่งได้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองครั้งใหญ่ๆ ที่ทำให้ประเทศไหนก็ตามเป็นประ ชาธิปไตยล้วนเกิดจากผลของพัฒนาการทาง เศรษฐกิจแล้วนำมาสู่แรงกดดันทางการเมือง ทำให้ระบบเดิมต้องปรับเปลี่ยน อยู่อย่างเดิม ไม่ได้ เพราะระบบเศรษฐกิจเปลี่ยน และสิ่งนี้ จะเกิดขึ้นในประเทศจีนได้ และแน่นอนที่สุดไทยก็ไม่อาจหลีกเลี่ยงกฎ Dialectic ได้ ผม มองความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นว่าเป็นพลังระหว่างกิริยากับปฏิกิริยา ก็จะเกิดวิวัฒนา การปรับเปลี่ยนไปเรื่อยๆ”
“แต่เราอยากให้สิ่งที่เกิดขึ้นนั้นประ ชาชนส่วนใหญ่ได้ประโยชน์มีความสูญเสียน้อยที่สุด หลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่แน่นอน ว่าไม่มีใครต้านทานความเปลี่ยนแปลงได้ แต่ก็มีบางสังคมที่ขยับขึ้นแล้วตกลงมาได้ เพราะสังคมนั้นขาดการเตรียมพร้อมในทุกด้าน เราดูพัฒนาการของหลายประเทศ ทำไมการเปลี่ยนแปลงบางประเทศถึงรุนแรงนองเลือด ก็เพราะไม่เตรียมพร้อม และคนที่ไม่เตรียมพร้อมที่สุดก็คือคนชั้นนำ”
>> ปฏิรูปทั้งระบบวัคซีนสกัดเหตุนองเลือด
“หลังอภิสิทธิ์ 1 เราต้องปฏิรูป จึงจะหลีกเลี่ยงการนองเลือดและความสูญเสียได้ แต่ถ้าเราไม่ทำ แล้วเกิดความเปลี่ยนแปลงจากล่างสู่บน ซึ่งถ้าองค์กรด้านล่างมียุทธศาสตร์ที่ดี บ้านเมืองจะไม่ระส่ำระสาย แต่มัน จะรุนแรงแน่นอน บางประเทศที่กลับไปกลับมาเพราะเกิดสภาวะอนาธิปไตย เพราะศูนย์กลางอำนาจเดิมสูญเสียการควบคุมก็ไม่มีศูนย์กลางใหม่ หรือไม่เกิดการกระจายตัว แต่ทางออกของประเทศไทย ผมเชื่อในประชาธิปไตยผมมองว่าทางออกคือการฟังเสียงประ ชาชน คือการเลือกตั้ง แต่ต้องเป็นการเลือกตั้ง ที่บริสุทธิ์ยุติธรรมและเป็นกลาง ไม่ว่าผลการ เลือกตั้งจะออกมาอย่างไรนั่นคือเสียงของประชาชนและต้องยอมรับ แต่ต้องไม่ให้การเลือกตั้งนี้ถูกฉ้อฉลด้วยอำนาจรัฐและอำนาจ เงิน ปัญหาที่เกิดขึ้นคือมีคนบางกลุ่มคิดแทนประชาชน และเชื่อในความดีความสามารถของตัวเอง”
>> รัฐประหารรอบใหม่คือหายนะชาติ
“ผมมองว่าถ้ามีรัฐประหารอีกประเทศ ไทยจะถอยหลังยาว แล้วจะปิดประตูการรัฐ ประหารได้อย่างไร ข้ออ้างคือเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น เราก็ต้องสามารถลงโทษรัฐบาลที่ทุจริต คอร์รัปชั่นได้ด้วยระบบกฎหมาย ไม่ใช่กระ บวนการรถถังแล้วความเชื่อมั่นของนักลงทุน พัฒนาหลักสูตรประชาธิปไตยในโรงเรียนทหาร ให้ฝังแน่น ให้เป็นทหารประชาธิปไตย เป็นทหารของประชาชน ปฏิรูปเงินเดือนสวัสดิการให้มันดี แต่จะมีเงินพอหรือไม่นั้น ไม่ทราบเพราะว่าตอนนี้แจกเงินกันใหญ่ อีกสัก 4-5 ปีข้างหน้าจะมีปัญหาการเงินขนาดใหญ่”
“เปิดช่องให้กองทัพและอำมาตย์ทั้ง หลายเขามีบทบาททางการเมืองอย่างเหมาะสม ตามวิถีทางประชาธิปไตย ฉะนั้น ต้องกำหนด ในกฎหมายให้ชัดเจน เช่น กองทัพต้องพิทักษ์ รัฐธรรมนูญที่มาจากประชาชน หากจะมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องมาจาก สสร. และมีการเฉลิมฉลองรัฐธรรมนูญ 7 วัน 7 คืน เอาวันที่ 24 มิ.ย. มาเป็นวันชาติ ปรับปรุงกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ จะทำให้ระบอบประชาธิปไตยที่มีกษัตริย์เป็นประมุข และจะทำให้สถาบันยิ่งเข้มแข็งมากขึ้น ดูอย่าง อังกฤษจะเห็นว่าดีกว่าเยอะ การเอาเจ้า เอาสถาบันมาทำลายล้างทางการเมืองจะหยุดลง เพราะเราปรับปรุงกฎหมายไม่ให้เป็นเครื่องมือ ทำลายกันทางการเมือง ซึ่งการติดคุก 18 ปี ด้วยกฎหมายแบบนี้ มันไม่เหมาะสมกับศตวรรษ ที่ 21 เพราะมันผิดธรรมชาติ ผิดสภาวะแวดล้อมที่บ้านเมืองเปลี่ยนไปเยอะ”
“ที่สำคัญต้องกำหนดบทลงโทษผู้ก่อ การรัฐประหาร และศาลต้องกล้าตัดสินว่าผู้ทำการรัฐประหารเป็นกบฏ เราต้องไปดูกรณี ของประเทศตุรกี สเปน บางประเทศกษัตริย์ลงมาพิทักษ์รัฐธรรมนูญด้วยซ้ำไป แล้วบ้านเมืองถึงจะไปได้แบบก้าวกระโดด ศักยภาพของประเทศไทยควรจะพัฒนาได้แบบญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ แต่นี่แสดงว่ามีพลังบางอย่างที่ทำให้ไม่สามารถปฏิรูปได้ เราไม่มีการปฏิรูป ที่ดินอย่างจริงจัง แต่จุดแข็งคือเราสามารถยกเลิกระบบไพร่ ทาส ได้อย่างสันติวิธีนี่คือกษัตริย์ทียิ่งใหญ่ วางแผนระยะยาว ค่อยๆ เปลี่ยน และหลีกเลี่ยงความรุนแรง แต่ทุกวันนี้ ประชาชนจำนวนหนึ่งกลับอยากเป็นไพร่ จริงๆ ราษฎรในระบอบประชาธิปไตยต้องมีจิตสำนึก แบบพลเมือง ไม่ใช่สำนึกแบบไพร่ฟ้า เป็นวัฒนธรรมแบบอุปถัมภ์ รากของวัฒนธรรมไม่ได้เปลี่ยน เพราะประเทศไทยมีการอภิวัฒน์ไม่ได้เปลี่ยนแปลงแบบประเทศอื่น และในระดับระหว่างประเทศควรเสนอให้กฎบัตรอาเซียนไม่รับรองรัฐบาลที่มาจากการรัฐ ประหาร”
ชัดเจนในเนื้อหาใจความ และคงไม่ต้องอรรถาธิบายเพิ่มเติมว่า การเมืองสยาม ประเทศหลัง “อภิสิทธิ์ 1” จะพลิกโฉมไปสู่ แห่งหนใด
ที่มา.สยามธุรกิจ
****************************************************
วันอาทิตย์ที่ 26 ธันวาคม พ.ศ. 2553
จาตุรนต์'แนะเพื่อไทยเร่งปรับ
ขณะที่สถานการณ์ในพรรคเพื่อไทย เกิดความระส่ำระสายอันเป็นผลพวงจากเลือกตั้งซ่อมที่ผ่านมา บรรดาส.ส.จับทิศทางได้ว่ากระแสพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร แผ่วลงเห็นได้ชัด แถมท่อน้ำเลี้ยงก็ติดๆ ขัดๆ
ในส่วนของนปช.เองก็ปรับโฉมครั้งใหญ่ ภายใต้การนำของนางธิดา โตจิราการ ที่เน้นการต่อสู้แนวทางสันติ ล่าสุดได้เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯ เรียกร้องปล่อยแกนนำเสื้อแดงที่ถูกคุมขัง
นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย วิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของพรรคเพื่อไทยและกลุ่มนปช.ไว้ดังนี้
สถานการณ์การเมืองหลังประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ
ข้อดีจากการตัดสินยกคำร้องคือ ไม่ต้องตั้งรัฐบาลกันใหม่ เกิดภาวะสุญญากาศ หรือความไม่แน่นอนที่ประชาธิปัตย์จะกลับมาเป็นรัฐบาลได้อีกครั้ง
แต่ขณะเดียวกันได้สะสมปัญหาความไม่พอใจ ความไม่ยอมรับเชื่อถือในระบบ โดยเฉพาะระบบยุติธรรม ซ้ำเติมวิกฤตประเทศในระยะยาว
แม้อาจไม่ถึงขั้นเคลื่อนไหวต่อต้านทำร้ายศาล แต่จะแสดง ออกในรูปแบบอื่นๆ อันตรายในระยะยาวคือคนจะหวังพึ่งระบบยุติธรรมน้อยลง หันไปสู้นอกระบบมากขึ้น
ตอกย้ำซ้ำซากความเป็นสองมาตรฐาน
รัฐบาลประกาศนโยบายประชานิยมทันที
การวางนโยบายประชานิยมของรัฐบาล เป็นการเรียนรู้จากอดีตที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่เคยประสบความสำเร็จในการดำเนินการนโยบายใดๆ ที่ประชาชนจำได้และประทับใจ
พรรคประชาธิปัตย์จึงเรียนรู้จากปรากฏการณ์พรรคไทยรักไทยในอดีตที่ให้ความสำคัญกับนโยบาย ที่ผ่านมาการแก้ปัญหาของประชาธิปัตย์โดยเฉพาะด้านเศรษฐกิจไม่สามารถสร้างนโยบายที่เป็นเอกภาพได้ แก้ไม่ตรงจุด ทำให้ประเทศเสียโอกาส เข้าสู่วิกฤตที่หนักขึ้นและนานกว่าที่ควรจะเป็น
แต่นโยบายที่กำลังออกในช่วงนี้ เป็นนโยบายที่เตรียมเข้าสู่การเลือกตั้งโดยตรง มีทั้งแจกแถม ทำให้ประชาชนยากที่จะจำแนกแยกแยะระหว่างประชาธิปัตย์กับรัฐบาล
แต่หากวิเคราะห์ดีๆ ยังไม่ใช่การแก้ปัญหา เพราะไม่ได้ส่ง เสริมให้คนสู้หรือเพิ่มศักยภาพด้วยตัวเอง เป็นเพียงการแจก ต่างจากนโยบายไทยรักไทยที่มีหลักคิด ส่งเสริมให้คนตกปลาเป็น ไม่ใช่เอาปลาไปแจก
ต้องยอมรับว่าในระยะสั้นประชาธิปัตย์จะประสบความสำเร็จทางการเมืองได้มากพอสมควร ดังนั้นพรรคเพื่อไทยจะมีงานหนัก ถ้าสู้ก็จะต้องพัฒนานโยบายของตัวเอง
อาศัยจุดแข็งสำคัญที่คนยังเชื่อว่าพรรคที่เชื่อมโยงมาจากไทยรักไทย ทำนโยบายได้อย่างจริงจังมากกว่าพรรคอื่นๆ แต่สำคัญว่าจะพัฒนานโยบายให้ดีกว่า หรือแตกต่างประชาธิปัตย์ได้อย่างไร
ความเหมาะสมในการยุบสภาช่วงมี.ค.-เม.ย.54
หากจะแก้วิกฤตการเมืองต้องยุบสภาไปนานแล้ว แต่สถานการณ์การเมืองได้เลยช่วงนั้นไปแล้ว ในช่วงปัจจุบันที่มีการแก้รัฐธรรมนูญของรัฐบาล ประชาธิปัตย์น่าจะติดใจกรณีพรรคร่วมสามารถแย่งที่นั่งในภาคอีสานของเพื่อไทยได้
เขาจึงมองเห็นว่าการแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นเขตเล็ก น่าจะแย่งพื้นที่เพื่อไทยในพื้นที่ที่ไม่ถนัดได้ ฉะนั้นโอกาสที่จะแก้รัฐธรรมนูญสำเร็จจึงมีสูง
และการแก้กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ และกกต.แบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ จะใช้เวลา 6 เดือน นับเวลาประมาณเดือนพ.ค.54 รัฐบาลยังต้องการยุบสภาเร็วยิ่งขึ้น เพราะเห็นโอกาสร่วมกันชนะมีสูง
การจะยุบสภาช้าหรือเร็วจึงอยู่ที่การแก้รัฐธรรมนูญ นอกเหนือจากนั้นคือรัฐบาลประเมินความได้เปรียบในการเลือกตั้งได้ช่วงไหน
เพื่อไทยควรต่อสู้แนวทางใด
ต้องรักษากระแสนิยมให้สูงกว่าในปัจจุบัน เพราะต้องไปสู้กับอำนาจเงิน อำนาจรัฐของฝ่ายรัฐบาล เสียเปรียบรอบด้าน ดังนั้นต้องใช้ความล้มเหลวของรัฐบาล การทุจริตคอร์รัปชั่นที่ทำให้คะ แนนเสียงของรัฐบาลตก
แต่เพื่อไทยต้องทำให้เกิดกระแสนิยมด้วยการทำให้เกิดความเข้มแข็ง คือมีผู้นำ แกนนำที่มีศักยภาพ และนโยบายที่ประชาชนยอมรับ โดยการมีส่วนร่วมของคนมีความรู้และส่วนร่วมของประชา ชน ผ่านนโยบายหลัก 2 ข้อคือ
1.ดำเนินประเทศไปสู่ประชาธิปไตย 2.ดำเนินนโยบายเพื่อแก้ปัญหาของประเทศทั้งเศรษฐกิจ และสังคมซึ่งต้องรีบทำ ที่ผ่านมาการพ่ายแพ้เลือกตั้งซ่อม เพราะขาดทั้งแกนนำ นโยบาย การสื่อสารประชาสัมพันธ์
ในส่วนของผู้นำ ทั้งผู้ที่จะมาเป็นฝ่ายค้าน หัว หน้าพรรค และผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ อย่างแรกต้องเลิกคิดว่าถ้ามีคนมาเป็นหัวหน้าพรรคแล้ว พรรคจะแตกแยก เพราะการไม่มีผู้นำที่แท้จริงก็ทำให้พรรคแตกแยกได้เช่นกัน
อาศัยช่วงที่รัฐบาลยุ่งอยู่กับการแก้รัฐธรรมนูญ ต้องทำให้เร็วเพราะมีเดิมพันที่สูงมาก ไม่เช่นนั้นเพื่อไทยจะแพ้ในครั้งหน้า และจะยากลำบากในการฟื้นพรรคให้เป็นที่นิยม
ดังนั้นต้องหาผู้นำให้เร็วที่สุด ทั้งหัวหน้าพรรคและผู้นำฝ่ายค้าน และผู้เสนอตัวเป็นนายกฯ อาจไม่จำเป็นต้องเป็นคนเดียวกันก็ได้ แต่ต้องรีบหา
เพื่อไทยควรแยกขาดจากคนเสื้อแดงหรือไม่
ให้แยกขาดไปเลยคงไม่ได้ เพราะมีบทบาทร่วมกันทั้งตัวบุคคลและการเคลื่อนไหวต่างๆ แต่ต่อไปต้องกำหนดบทบาทของทั้งสองส่วนให้ชัดเจน
เพื่อไทยต้องแก้ปัญหาของประเทศมากกว่าคนเสื้อแดงที่เน้นการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยหรือการเมืองเป็นหลัก การจะเข้ามาบริหารประเทศได้ต้องมีคนเสื้อแดงเป็นแนวร่วมสำคัญ
แต่ต้องมีแนวร่วมที่กว้างขวางมากกว่าคนเสื้อแดง ไม่ถูกกำหนดนโยบายโดยคนเสื้อแดง เพราะจะถูกคนจำนวนมากปฏิเสธ จึงต้องจัดความสัมพันธ์ให้พอดี
เปลี่ยนแกนนำนปช.มีผลอย่างไรต่อการเคลื่อนไหว
ที่ผ่านมาคนเสื้อแดงเน้นแนวทางสันติวิธีมาโดยตลอด เพียงแต่มีบางกลุ่มที่ควบคุมไม่ได้ ใช้ความรุนแรง และถูกเหมารวม การที่มี นางธิดา โตจิราการ เข้ามาเป็นแกนนำ จะทำให้ภาพคนเสื้อแดงชัดเจนในเรื่องสันติมากขึ้น
หากเสริมการนำได้ดี ทำหน้าที่ได้ดี จะทำให้นปช.ภายใต้การนำของนางธิดากับพวกเป็นแนวทางสันติ
ปรองดองรอบใหม่หลังนางธิดาพบนายกฯ
เป็นสัญญาณที่ดีหลังจากหลายคนหมดความหวังไปแล้ว ที่ผ่านมามีการทำงานปรองดองร่วมกันจากหลายฝ่าย แต่นายกฯไม่เคยเข้ามามีส่วนร่วม
หากรัฐบาลประสานงานจนแกนนำได้รับการประกันตัวออกมา ความปรองดองด้วยการเจราจาจะเกิดขึ้น
ข้อเสนอยุติคดีคนเสื้อแดงแลกกับหยุดเคลื่อนไหว
การยุติคดีของคนเสื้อแดงคงยากเพราะเรื่องเดินไปแล้ว และรัฐบาลตัดสินใจใช้กำลังสลายชุมนุม จนเกิดแพ้ชนะไปข้างหนึ่ง ต่อจากนี้ถ้าฝ่ายเสื้อแดงไม่ผิด รัฐบาลก็จะผิดฐานฆ่าประชาชน
รัฐบาลจึงต้องเดินหน้าหาผู้ก่อการร้ายเพื่อทำให้เห็นว่า การฆ่าประชาชนเป็นการฆ่าผู้ก่อการร้าย หรือผู้ก่อการร้ายฆ่ากันเอง
การต่อรองให้คนเสื้อแดงหยุดการเคลื่อนไหวก็เป็นไปไม่ได้อีก การเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตยเป็นเรื่องจำเป็นในสภาวะบ้านเมืองเช่นนี้ รัฐบาลควรส่งเสริมให้มีการเคลื่อนไหวอย่างสันติ หาแนวทางให้บ้านเมืองเป็นประชาธิปไตย มีความยุติธรรม
ถ้าเป็นเช่นนั้นได้ การเคลื่อนไหวจะค่อยๆ หมดความจำเป็นลงไป
สถานการณ์บ้านเมืองในปีหน้า
เมื่อยุติการชุมนุมด้วยการใช้ความรุนแรง คนเสื้อแดงจึงต้องเคลื่อนไหวต่อไปเพื่อปล่อยตัวผู้ต้องหา แต่ไม่น่าจะใหญ่โตหรือรุนแรงอะไรเพราะมีบทเรียนมา ความขัดแย้งรุนแรงนอกสภาจึงไม่น่าจะมีมากนัก
ในสภาก็ไม่น่ามีอะไรเข้มข้นมาก การเรียกร้องยุบสภาก็เลยมาแล้ว และใกล้ที่รัฐบาลจะยุบสภาเอง ความขัดแย้งจึงจะไปอยู่ที่หลังการเลือกตั้งครั้งหน้า
นิธิ เอียวศรีวงศ์:ข้อคิดจาก Insects
นิธิ เอียวศรีวงศ์
นี่จะเป็นอีกบทความหนึ่งของผมที่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่อย่านึกว่าเพราะมันยากนะครับ เป็นเพราะผมเองคิดไม่กระจ่างพอต่างหาก
ผมอ่านปฏิกิริยาของผู้คนหลากหลายที่มีต่อการ "ห้ามฉาย" ภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard แล้ว ก็คิดอะไรต่อไปอีกหลายเรื่อง แต่ไม่แตกสักเรื่องเดียว นอกจากการตั้งคำถามกับข้อสรุปที่อยู่เบื้องหลังการ "กลั่นกรอง" ข่าวสารข้อมูลที่สังคมพึงได้รับ อันเป็นข้อสรุปที่ไม่ได้มีเฉพาะในสังคมไทย แต่มีในเกือบทุกสังคมทั้งโลกกระมัง
ผมไม่เคยดูหนังเรื่องนี้แต่ก็จับความจากข่าวในทีวีและคำสัมภาษณ์ของคุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้สร้างได้ว่า เรื่องนี้คงเกี่ยวกับเพศที่สาม เพราะคุณธัญญ์วารินกล่าวว่า "คนเรามักถูกกำหนดให้รับบทบาททางสังคม ตามเพศ [ที่] เราถือกำเนิดมาแต่แรก โดยที่ไม่มีสิทธิเลือกในสิ่งที่เราต้องการ"
นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากแก่ผม ขอยกคำพูดของคุณธัญญ์วารินอีกว่า "คนเราในสังคม ต่างก็เป็น ′แมลงในสวนหลังบ้าน′ ของกันและกัน เราต่างไม่รู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย แม้ว่าเขาจะอยู่ใกล้เพียงแค่เอื้อม"
ผมก็เห็นด้วยกับผู้คนจำนวนมากที่คัดค้านมติ "ห้ามฉาย" ภาพยนตร์เรื่องนี้ของคณะกรรมการจัดเรตติ้ง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะประณามกระทรวงวัฒนธรรมได้หรือไม่ เพราะถ้าให้กระทรวงเข้าไปแทรกแซงสั่งคณะกรรมการให้อนุญาตได้ ก็ไม่รู้จะมีกรรมการไปทำไม ความเป็นอิสระของกรรมการน่าจะมีความสำคัญในการใช้วิจารณญาณโดยไม่ต้องเกรงใจ รัฐมนตรี หากกระทรวงจะต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ ก็น่าจะอยู่ตรงที่ว่าไปเลือก 7 มหากาฬนี้มานั่งเป็นกรรมการทำไม
เราจึงน่าจะกลับมาคิดทบทวนเรื่อง ที่มาของกรรมการ (ถ้าเรายังเชื่อในการจัดเรตติ้งอยู่) รวมทั้งคิดถึงเรตติ้งทั้ง 7 ว่า ควรจะมี "ห" หรือห้ามฉายในที่สาธารณะเอาไว้หรือไม่
และถ้าคิดก็ต้องกล้า คิดไปถึงหนังโป๊ และหนังอนาจารเด็กด้วยเลยนะครับว่า การมีเรตติ้ง "ห" ช่วยทำให้ไม่มีใครสร้างและฉายหนังโป๊หรือหนังอนาจารเด็กได้จริงหรือไม่
และ ถ้าจะทบทวนที่มาของกรรมการกันใหม่ ผมก็อยากให้ทบทวนหลักการพื้นฐานว่า กรรมการต้องเป็นผู้ "เชี่ยวชาญ" ด้วยเลย กฎหมายควรให้อำนาจแก่ความ "เชี่ยวชาญ" แค่ไหน? อย่าลืมว่า แม้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจอะไรไว้เลย ความ "เชี่ยวชาญ" ก็เป็นอำนาจในตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็เป็นอำนาจที่มีการถ่วงดุลในตัวเองด้วย เช่นผู้ "เชี่ยวชาญ" วิจารณ์หนังในสื่อ ก็มีคนที่อ้างว่าเชี่ยวชาญเหมือนกันออกมาคัดค้าน และถึงที่สุดแล้วสังคมเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อใคร คือจะดูหรือไม่ดูหนังเรื่องนั้น
ที่ผมห่วงก็เพราะจะเกิดประเพณีแบบ รัฐธรรมนูญ คือสงวนที่นั่งเอาไว้ให้แก่ "ผู้เชี่ยวชาญ" ที่ไม่ต้องพิสูจน์ เช่น อธิการบดี, ศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์, ผู้พิพากษา, ผู้เคยดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูง ฯลฯ คราวนี้ก็จะสงวนที่นั่งไว้ให้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนด้านภาพยนตร์อีก ผมเป็นห่วงลุงท้วมที่ชอบดูทีวีทั้งวัน แกจะได้ดูหนังที่ถูกรสนิยมของแกเมื่อไรล่ะครับ
เราจะปล่อยให้อำนาจของความ "เชี่ยวชาญ" รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นแค่ไหน?
ถ้าไหนๆ จะทบทวนกันแล้ว ผมคิดว่าน่าจะคิดทบทวนระบบเรตติ้งซึ่งเราลอกมาจากสังคมอื่นด้วย ระบบเรตติ้งนั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า สื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ตัวเล็กๆ ที่อายุยังไม่ถึง 18 แต่ก็รวมไปถึงตัวโตๆ ที่อายุ 70 อย่างผมด้วย สื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์แน่ ถ้าไม่เชื่อเรื่องนี้ก็ไม่ต้องเชื่อเรื่องการศึกษาทุกชนิด (ครูก็เป็นสื่อชนิดหนึ่ง) แต่ความรู้เพียงเท่านี้ไม่พอที่เราจะไปกำกับควบคุมสื่อได้ เพราะอันที่จริงเราไม่รู้ดีว่าอิทธิพลของสื่อนั้นทำงานอย่างไร ในเงื่อนไขอะไร มากน้อยเพียงใด การรับสารจากสื่อนานาชนิดของมนุษย์นั้นผ่านกระบวนการที่สลับซับซ้อนอย่างไร กว่าจะมีผลต่อพฤติกรรม ฯลฯ ตัวพฤติกรรมมนุษย์เองก็มีที่มาสลับซับซ้อนด้วยปัจจัยหลากหลายชนิด เกินกว่าความรู้ของมนุษย์ในปัจจุบันจะหยั่งได้ทั่วถึง จะมาสรุปกันง่ายๆ ว่า เห็นเขาปล้ำผู้หญิงในหนัง ออกจากโรงหนังคนมีแรงทุกคนก็จะปล้ำผู้หญิงบ้าง ไม่ง่ายและมักง่ายไปหน่อยหรือครับ
ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งควรสำเหนียกไว้ด้วยก็คือ ระบบเรตติ้งในหลายสังคม เช่น สหรัฐนั้น ไม่มีอำนาจรัฐอยู่เบื้องหลังเลยนะครับ เป็นเรื่องตกลงพร้อมใจกันของแขนงต่างๆ ในธุรกิจภาพยนตร์ อย่างน้อยก็เพื่อสร้างมโนภาพว่ากูรับผิดชอบต่อสังคมนะเฟ้ย ในขณะที่ระบบเรตติ้งของไทยนั้นตั้งอยู่บนอำนาจรัฐเต็มๆ เลย
และเมื่อตั้งอยู่บนอำนาจรัฐ ก็ต้องมาดูการกระทำของคณะกรรมการว่าสอดคล้องกับนโยบายของรัฐหรือไม่ รัฐเพิ่งโอ่ไม่นานมานี้ว่า มีนโยบายจะทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นแขนงใหม่ที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย น่าประหลาดที่การสร้างสรรค์นั้น ไม่มีเทวดามาคอยชี้ว่าอย่างไหนคือสร้างสรรค์ และอย่างไหนไม่ใช่
ฉะนั้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเกิดขึ้นได้จากการทดลอง และการทดลองที่จะเกิดมรรคผลได้ ก็อยู่ที่เสรีภาพในการทดลอง ถ้ารัฐถืออำนาจคอยชี้ว่าอันนี้สร้างสรรค์ได้ อันนี้สร้างสรรค์ไม่ได้ ก็ไม่มีใครอยากทดลองสร้างสรรค์อะไร เพราะเสี่ยงที่จะหมดเนื้อหมดตัวได้ง่ายๆ
คณะกรรมการจัดเรตติ้งกำลังส่งสัญญาณแก่สังคมว่า อย่าทะลึ่งสร้างสรรค์อะไรที่กูไม่ชอบ ใช่ไหม?
คณะกรรมการให้เหตุผลในการ "แบน" หนังเรื่องนี้ว่า ขัดต่อศีลธรรมอันดี ผมจึงนึกเลยไปถึงเรื่องของ "ศีลธรรม" ซึ่งถูกใช้เป็นความชอบธรรมของอำนาจทุกชนิดในสังคมไทยอย่างหน้าด้านๆ มากขึ้นในเวลานี้
ผมคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมนั้นมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือด้านที่มุ่งจะผดุงสังคมให้ดำรงอยู่สืบไปได้ เช่น ละเว้นจากการฆ่า, ขโมย, ผิดลูกผิดเมีย, โกหก เป็นต้น อีกด้านหนึ่งเพื่อผดุงบุคคลให้ก้าวหน้าไปสู่จุดหมายสูงสุดทางศาสนา เช่น ละเว้นจากการเสพของมึนเมา
แม้ว่าการเสพอาจทำให้ง่วงแล้วเข้านอน (จึงได้ละเว้นจากการฆ่า, ขโมย, ผิดลูกผิดเมีย และโกหก ไปโดยปริยาย) แต่การเสพของมึนเมาทำให้ขาดสติ ถึงไม่ไปทำร้ายใครเลย ก็ทำร้ายตนเอง เพราะไม่ได้ละเว้นความชั่วเพราะใช้ปัญญาไตร่ตรองจริง หากเป็นเพราะเมาจนพับไปเลยทำชั่วไม่ได้ต่างหาก รวมทั้งขาดสติที่จะคอยเตือนตนเองถึงพระไตรลักษณ์ อันจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ยิ่งห่างไกลพระนิพพานเข้าไปอีก
ศีลธรรมด้านที่สองนี้มีในทุกศาสนานะ ครับ เดินทางลำบากลำบนเพื่อไปทำฮัจญ์ ไม่เกี่ยวอะไรกับสังคม แต่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าครบถ้วน จึงทำให้มั่นใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งอื่นๆ อย่างเคร่งครัดต่อไป เช่นเดียวกับผู้นับถือคาทอลิค ไม่กินเนื้อในวันศุกร์ ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับการผดุงสังคม
แต่เป็นการผดุงตนเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดทางศาสนา
ผมไม่ปฏิเสธว่าสองด้านของศีลธรรมนี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่มาก เช่น โกหกบ่อยๆ ก็ทำให้ต้องใช้สติไปในทางจำคำโกหกของตนให้ได้มากกว่าใช้ไปในทางที่เกิดปัญญา แต่สองด้านของศีลธรรมนี้มีอยู่จริง นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ด้วย
เรามักเอาสองด้านนี้มาปะปน กันอยู่เสมอ โดยลืมไปว่ารัฐและสังคมปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่กำกับศีลธรรมด้านที่หนึ่งแทน ศาสนามากแล้ว เช่น มีตำรวจไล่จับผู้ร้ายเป็นต้น (ตำรวจโบราณคือผู้ผดุงอำนาจรัฐหรือผู้ปกครอง ตำรวจสมัยปัจจุบันคือผู้ผดุงสังคม) แต่ในรัฐและสังคมที่อ่อนแอ เมื่อกลไกของรัฐก็ตาม ระบบการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ก็ตาม ทำงานอย่างห่วยแตก ก็มักจะยกเอาศีลธรรมเข้ามาพร่ำบ่นแทน (และมักไม่ได้ผลมากไปกว่าทำให้ผู้พูดกลายเป็นคนมีศีลธรรมขึ้นมา)
รัฐและสังคมไทยเป็นหนึ่งในรัฐและสังคมที่อ่อนแอในเรื่องนี้ กลไกรัฐอ่อนแอนั้น ผมขอไม่พูดถึง เพราะพูดกันมามากแล้ว แต่ผมอยากพูดถึงกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่อ่อนแอมากกว่า
นอกจากเรามีโรงเรียนที่ไม่มีพลังพอจะกล่อมเกลาคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาสู่สังคมอย่างที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมแล้ว หน่วยอื่นๆ ของการกล่อมเกลาทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว, ชุมชน, วัด, สื่อ, สังคมโดยรวม ฯลฯ ก็อ่อนแอพอๆ กันด้วย ผลคือเราต้องหันไปใช้รัฐที่มีกลไกอ่อนแอและสับปะรังเคของเรา ในการกำกับควบคุมพฤติกรรมพลเมืองอยู่เสมอ
การที่รัฐใช้อำนาจ "แบน" หนังที่รัฐเชื่อว่า ขืนปล่อยให้ดู เราจะเสียผู้เสียคนกันไปหมด ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกำกับควบคุมพลเมือง กูจะบังคับให้มึงมีศีลธรรมด้วยการปิดตา
อำนาจอันล้นเกินของรัฐซึ่งสังคมไทยก็มักยินดียกให้นี้ เมื่อเป็นรัฐที่อ่อนแอด้วยกลไกสับปะรังเค ย่อมไม่บังเกิดผลอะไรแน่นอนอยู่แล้ว แต่ที่เป็นอันตรายมากกว่าก็คือ ทำให้เราละเลยที่จะหันกลับไปสร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการกล่อมเกลาทาง สังคม จะโดยการฟื้นฟูบทบาทหน้าที่ของสถาบันและองค์กรเดิมๆ หรือคิดสร้างองค์กรและกระบวนการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับยุคสมัยขึ้นมาทำหน้าที่ก็ตาม ทั้งหมดนี้เราไม่ทำเลย แต่ยกอำนาจให้รัฐไปทำแบบห่วยแตกไปเรื่อยๆ
อำนาจที่รัฐมีนี้ รัฐนำไปใช้เพื่อ "ขโมย" ก็มากทีเดียว เช่น หากกรรมการจัดเรตติ้งมีอำนาจมากอย่างนี้ ก็เป็นไปได้ที่จะรับสินบนผู้สร้างหนัง เพราะผลประโยชน์รออยู่มหาศาลพอที่จะจ่ายได้ หรือเจ้าหน้าที่ปราบยาเสพติด รับสินบนเพื่อเอาชื่อออกจากบัญชีดำ หรือปล่อยให้คาราวานเล็ดลอดเข้ามา เพราะผลประโยชน์ก็รออยู่มหาศาลเหมือนกัน
เราไม่เคยคิดถึงการทำให้ ด้านความต้องการยาเสพติดลดลง หรือความต้องการทำอนาจารเด็กลดลง หรืออย่างน้อยก็ถูกตนเองและสังคมรอบข้างกำกับมากขึ้น รัฐอย่างเดียว - แม้แต่รัฐที่เข้มแข็ง - ก็ไม่สามารถกำกับศีลธรรมด้านที่สองคือผดุงบุคคลให้บรรลุจุดหมายสูงสุดทาง ศาสนาได้
ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับสองด้านของศีลธรรมก็คือ ถ้าเราคิดว่าหัวนมผู้หญิงเป็นอันตรายต่อศีลธรรมอันดี (หัวนมผู้หญิงหรือท่าทีต่อหัวนมผู้หญิงกันแน่?) เราก็จะปิดหัวนมผู้หญิงเอาไว้ให้แน่นหนา แต่เพื่อการนี้เราต้องแลกกับอะไรบ้าง?
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยก็ สองอย่าง หนึ่งคือเสรีภาพ และสองคือความสามารถในการจัดการตนเองเบื้องหน้าหัวนมผู้หญิง ยิ่งไปกว่านี้เราจะไว้ใจได้อย่างไรว่า อำนาจปิดหัวนมนี้จะถูกใช้เพื่อปิดหัวนมอย่างเดียว ไม่ได้ไปปิดอย่างอื่นๆ ซึ่งเป็นสิทธิที่เราพึงเห็นด้วย
มันคุ้มแน่หรือครับ?
หมายเหตุ:เผยแพร่ครั้งแรกในมติชนออนไลน์
***************************************************
นี่จะเป็นอีกบทความหนึ่งของผมที่อ่านไม่ค่อยรู้เรื่อง แต่อย่านึกว่าเพราะมันยากนะครับ เป็นเพราะผมเองคิดไม่กระจ่างพอต่างหาก
ผมอ่านปฏิกิริยาของผู้คนหลากหลายที่มีต่อการ "ห้ามฉาย" ภาพยนตร์เรื่อง Insects in the Backyard แล้ว ก็คิดอะไรต่อไปอีกหลายเรื่อง แต่ไม่แตกสักเรื่องเดียว นอกจากการตั้งคำถามกับข้อสรุปที่อยู่เบื้องหลังการ "กลั่นกรอง" ข่าวสารข้อมูลที่สังคมพึงได้รับ อันเป็นข้อสรุปที่ไม่ได้มีเฉพาะในสังคมไทย แต่มีในเกือบทุกสังคมทั้งโลกกระมัง
ผมไม่เคยดูหนังเรื่องนี้แต่ก็จับความจากข่าวในทีวีและคำสัมภาษณ์ของคุณธัญญ์วาริน สุขะพิสิษฐ์ ผู้สร้างได้ว่า เรื่องนี้คงเกี่ยวกับเพศที่สาม เพราะคุณธัญญ์วารินกล่าวว่า "คนเรามักถูกกำหนดให้รับบทบาททางสังคม ตามเพศ [ที่] เราถือกำเนิดมาแต่แรก โดยที่ไม่มีสิทธิเลือกในสิ่งที่เราต้องการ"
นอกจากนี้ ยังมีอีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจมากแก่ผม ขอยกคำพูดของคุณธัญญ์วารินอีกว่า "คนเราในสังคม ต่างก็เป็น ′แมลงในสวนหลังบ้าน′ ของกันและกัน เราต่างไม่รู้ถึงการมีอยู่ของอีกฝ่าย แม้ว่าเขาจะอยู่ใกล้เพียงแค่เอื้อม"
ผมก็เห็นด้วยกับผู้คนจำนวนมากที่คัดค้านมติ "ห้ามฉาย" ภาพยนตร์เรื่องนี้ของคณะกรรมการจัดเรตติ้ง แต่ก็ไม่แน่ใจว่าจะประณามกระทรวงวัฒนธรรมได้หรือไม่ เพราะถ้าให้กระทรวงเข้าไปแทรกแซงสั่งคณะกรรมการให้อนุญาตได้ ก็ไม่รู้จะมีกรรมการไปทำไม ความเป็นอิสระของกรรมการน่าจะมีความสำคัญในการใช้วิจารณญาณโดยไม่ต้องเกรงใจ รัฐมนตรี หากกระทรวงจะต้องรับผิดชอบต่อกรณีนี้ ก็น่าจะอยู่ตรงที่ว่าไปเลือก 7 มหากาฬนี้มานั่งเป็นกรรมการทำไม
เราจึงน่าจะกลับมาคิดทบทวนเรื่อง ที่มาของกรรมการ (ถ้าเรายังเชื่อในการจัดเรตติ้งอยู่) รวมทั้งคิดถึงเรตติ้งทั้ง 7 ว่า ควรจะมี "ห" หรือห้ามฉายในที่สาธารณะเอาไว้หรือไม่
และถ้าคิดก็ต้องกล้า คิดไปถึงหนังโป๊ และหนังอนาจารเด็กด้วยเลยนะครับว่า การมีเรตติ้ง "ห" ช่วยทำให้ไม่มีใครสร้างและฉายหนังโป๊หรือหนังอนาจารเด็กได้จริงหรือไม่
และ ถ้าจะทบทวนที่มาของกรรมการกันใหม่ ผมก็อยากให้ทบทวนหลักการพื้นฐานว่า กรรมการต้องเป็นผู้ "เชี่ยวชาญ" ด้วยเลย กฎหมายควรให้อำนาจแก่ความ "เชี่ยวชาญ" แค่ไหน? อย่าลืมว่า แม้กฎหมายไม่ได้ให้อำนาจอะไรไว้เลย ความ "เชี่ยวชาญ" ก็เป็นอำนาจในตัวเองอยู่แล้ว แต่ก็เป็นอำนาจที่มีการถ่วงดุลในตัวเองด้วย เช่นผู้ "เชี่ยวชาญ" วิจารณ์หนังในสื่อ ก็มีคนที่อ้างว่าเชี่ยวชาญเหมือนกันออกมาคัดค้าน และถึงที่สุดแล้วสังคมเป็นผู้ตัดสินเองว่าจะเชื่อหรือไม่เชื่อใคร คือจะดูหรือไม่ดูหนังเรื่องนั้น
ที่ผมห่วงก็เพราะจะเกิดประเพณีแบบ รัฐธรรมนูญ คือสงวนที่นั่งเอาไว้ให้แก่ "ผู้เชี่ยวชาญ" ที่ไม่ต้องพิสูจน์ เช่น อธิการบดี, ศาสตราจารย์คณะรัฐศาสตร์, ผู้พิพากษา, ผู้เคยดำรงตำแหน่งบริหารระดับสูง ฯลฯ คราวนี้ก็จะสงวนที่นั่งไว้ให้แก่อาจารย์มหาวิทยาลัยที่สอนด้านภาพยนตร์อีก ผมเป็นห่วงลุงท้วมที่ชอบดูทีวีทั้งวัน แกจะได้ดูหนังที่ถูกรสนิยมของแกเมื่อไรล่ะครับ
เราจะปล่อยให้อำนาจของความ "เชี่ยวชาญ" รุกล้ำเข้าไปในพื้นที่ส่วนตัวของคนอื่นแค่ไหน?
ถ้าไหนๆ จะทบทวนกันแล้ว ผมคิดว่าน่าจะคิดทบทวนระบบเรตติ้งซึ่งเราลอกมาจากสังคมอื่นด้วย ระบบเรตติ้งนั้นตั้งอยู่บนสมมติฐานว่า สื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์ โดยเฉพาะมนุษย์ตัวเล็กๆ ที่อายุยังไม่ถึง 18 แต่ก็รวมไปถึงตัวโตๆ ที่อายุ 70 อย่างผมด้วย สื่อมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมมนุษย์แน่ ถ้าไม่เชื่อเรื่องนี้ก็ไม่ต้องเชื่อเรื่องการศึกษาทุกชนิด (ครูก็เป็นสื่อชนิดหนึ่ง) แต่ความรู้เพียงเท่านี้ไม่พอที่เราจะไปกำกับควบคุมสื่อได้ เพราะอันที่จริงเราไม่รู้ดีว่าอิทธิพลของสื่อนั้นทำงานอย่างไร ในเงื่อนไขอะไร มากน้อยเพียงใด การรับสารจากสื่อนานาชนิดของมนุษย์นั้นผ่านกระบวนการที่สลับซับซ้อนอย่างไร กว่าจะมีผลต่อพฤติกรรม ฯลฯ ตัวพฤติกรรมมนุษย์เองก็มีที่มาสลับซับซ้อนด้วยปัจจัยหลากหลายชนิด เกินกว่าความรู้ของมนุษย์ในปัจจุบันจะหยั่งได้ทั่วถึง จะมาสรุปกันง่ายๆ ว่า เห็นเขาปล้ำผู้หญิงในหนัง ออกจากโรงหนังคนมีแรงทุกคนก็จะปล้ำผู้หญิงบ้าง ไม่ง่ายและมักง่ายไปหน่อยหรือครับ
ที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งซึ่งควรสำเหนียกไว้ด้วยก็คือ ระบบเรตติ้งในหลายสังคม เช่น สหรัฐนั้น ไม่มีอำนาจรัฐอยู่เบื้องหลังเลยนะครับ เป็นเรื่องตกลงพร้อมใจกันของแขนงต่างๆ ในธุรกิจภาพยนตร์ อย่างน้อยก็เพื่อสร้างมโนภาพว่ากูรับผิดชอบต่อสังคมนะเฟ้ย ในขณะที่ระบบเรตติ้งของไทยนั้นตั้งอยู่บนอำนาจรัฐเต็มๆ เลย
และเมื่อตั้งอยู่บนอำนาจรัฐ ก็ต้องมาดูการกระทำของคณะกรรมการว่าสอดคล้องกับนโยบายของรัฐหรือไม่ รัฐเพิ่งโอ่ไม่นานมานี้ว่า มีนโยบายจะทำเศรษฐกิจสร้างสรรค์ให้เป็นแขนงใหม่ที่สำคัญของเศรษฐกิจไทย น่าประหลาดที่การสร้างสรรค์นั้น ไม่มีเทวดามาคอยชี้ว่าอย่างไหนคือสร้างสรรค์ และอย่างไหนไม่ใช่
ฉะนั้นเศรษฐกิจสร้างสรรค์จึงเกิดขึ้นได้จากการทดลอง และการทดลองที่จะเกิดมรรคผลได้ ก็อยู่ที่เสรีภาพในการทดลอง ถ้ารัฐถืออำนาจคอยชี้ว่าอันนี้สร้างสรรค์ได้ อันนี้สร้างสรรค์ไม่ได้ ก็ไม่มีใครอยากทดลองสร้างสรรค์อะไร เพราะเสี่ยงที่จะหมดเนื้อหมดตัวได้ง่ายๆ
คณะกรรมการจัดเรตติ้งกำลังส่งสัญญาณแก่สังคมว่า อย่าทะลึ่งสร้างสรรค์อะไรที่กูไม่ชอบ ใช่ไหม?
คณะกรรมการให้เหตุผลในการ "แบน" หนังเรื่องนี้ว่า ขัดต่อศีลธรรมอันดี ผมจึงนึกเลยไปถึงเรื่องของ "ศีลธรรม" ซึ่งถูกใช้เป็นความชอบธรรมของอำนาจทุกชนิดในสังคมไทยอย่างหน้าด้านๆ มากขึ้นในเวลานี้
ผมคิดว่าสิ่งที่เรียกว่าศีลธรรมนั้นมีสองด้านเสมอ ด้านหนึ่งคือด้านที่มุ่งจะผดุงสังคมให้ดำรงอยู่สืบไปได้ เช่น ละเว้นจากการฆ่า, ขโมย, ผิดลูกผิดเมีย, โกหก เป็นต้น อีกด้านหนึ่งเพื่อผดุงบุคคลให้ก้าวหน้าไปสู่จุดหมายสูงสุดทางศาสนา เช่น ละเว้นจากการเสพของมึนเมา
แม้ว่าการเสพอาจทำให้ง่วงแล้วเข้านอน (จึงได้ละเว้นจากการฆ่า, ขโมย, ผิดลูกผิดเมีย และโกหก ไปโดยปริยาย) แต่การเสพของมึนเมาทำให้ขาดสติ ถึงไม่ไปทำร้ายใครเลย ก็ทำร้ายตนเอง เพราะไม่ได้ละเว้นความชั่วเพราะใช้ปัญญาไตร่ตรองจริง หากเป็นเพราะเมาจนพับไปเลยทำชั่วไม่ได้ต่างหาก รวมทั้งขาดสติที่จะคอยเตือนตนเองถึงพระไตรลักษณ์ อันจะทำให้เกิดความเบื่อหน่ายในการยึดมั่นถือมั่นต่างๆ ยิ่งห่างไกลพระนิพพานเข้าไปอีก
ศีลธรรมด้านที่สองนี้มีในทุกศาสนานะ ครับ เดินทางลำบากลำบนเพื่อไปทำฮัจญ์ ไม่เกี่ยวอะไรกับสังคม แต่ทำให้เกิดความภาคภูมิใจที่ได้ปฏิบัติตามคำสั่งของพระเจ้าครบถ้วน จึงทำให้มั่นใจที่จะปฏิบัติตามคำสั่งอื่นๆ อย่างเคร่งครัดต่อไป เช่นเดียวกับผู้นับถือคาทอลิค ไม่กินเนื้อในวันศุกร์ ก็ไม่เกี่ยวอะไรกับการผดุงสังคม
แต่เป็นการผดุงตนเพื่อบรรลุจุดหมายสูงสุดทางศาสนา
ผมไม่ปฏิเสธว่าสองด้านของศีลธรรมนี้มีความเชื่อมโยงกันอยู่มาก เช่น โกหกบ่อยๆ ก็ทำให้ต้องใช้สติไปในทางจำคำโกหกของตนให้ได้มากกว่าใช้ไปในทางที่เกิดปัญญา แต่สองด้านของศีลธรรมนี้มีอยู่จริง นอกจากจะเป็นประโยชน์ในการวิเคราะห์ด้วย
เรามักเอาสองด้านนี้มาปะปน กันอยู่เสมอ โดยลืมไปว่ารัฐและสังคมปัจจุบันเข้ามาทำหน้าที่กำกับศีลธรรมด้านที่หนึ่งแทน ศาสนามากแล้ว เช่น มีตำรวจไล่จับผู้ร้ายเป็นต้น (ตำรวจโบราณคือผู้ผดุงอำนาจรัฐหรือผู้ปกครอง ตำรวจสมัยปัจจุบันคือผู้ผดุงสังคม) แต่ในรัฐและสังคมที่อ่อนแอ เมื่อกลไกของรัฐก็ตาม ระบบการกล่อมเกลาทางสังคม (socialization) ก็ตาม ทำงานอย่างห่วยแตก ก็มักจะยกเอาศีลธรรมเข้ามาพร่ำบ่นแทน (และมักไม่ได้ผลมากไปกว่าทำให้ผู้พูดกลายเป็นคนมีศีลธรรมขึ้นมา)
รัฐและสังคมไทยเป็นหนึ่งในรัฐและสังคมที่อ่อนแอในเรื่องนี้ กลไกรัฐอ่อนแอนั้น ผมขอไม่พูดถึง เพราะพูดกันมามากแล้ว แต่ผมอยากพูดถึงกระบวนการกล่อมเกลาทางสังคมที่อ่อนแอมากกว่า
นอกจากเรามีโรงเรียนที่ไม่มีพลังพอจะกล่อมเกลาคนรุ่นใหม่ ให้เข้ามาสู่สังคมอย่างที่ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อสังคมแล้ว หน่วยอื่นๆ ของการกล่อมเกลาทางสังคม ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว, ชุมชน, วัด, สื่อ, สังคมโดยรวม ฯลฯ ก็อ่อนแอพอๆ กันด้วย ผลคือเราต้องหันไปใช้รัฐที่มีกลไกอ่อนแอและสับปะรังเคของเรา ในการกำกับควบคุมพฤติกรรมพลเมืองอยู่เสมอ
การที่รัฐใช้อำนาจ "แบน" หนังที่รัฐเชื่อว่า ขืนปล่อยให้ดู เราจะเสียผู้เสียคนกันไปหมด ก็เป็นส่วนหนึ่งของการกำกับควบคุมพลเมือง กูจะบังคับให้มึงมีศีลธรรมด้วยการปิดตา
อำนาจอันล้นเกินของรัฐซึ่งสังคมไทยก็มักยินดียกให้นี้ เมื่อเป็นรัฐที่อ่อนแอด้วยกลไกสับปะรังเค ย่อมไม่บังเกิดผลอะไรแน่นอนอยู่แล้ว แต่ที่เป็นอันตรายมากกว่าก็คือ ทำให้เราละเลยที่จะหันกลับไปสร้างความเข้มแข็งให้แก่กระบวนการกล่อมเกลาทาง สังคม จะโดยการฟื้นฟูบทบาทหน้าที่ของสถาบันและองค์กรเดิมๆ หรือคิดสร้างองค์กรและกระบวนการใหม่ๆ ที่สอดคล้องกับยุคสมัยขึ้นมาทำหน้าที่ก็ตาม ทั้งหมดนี้เราไม่ทำเลย แต่ยกอำนาจให้รัฐไปทำแบบห่วยแตกไปเรื่อยๆ
อำนาจที่รัฐมีนี้ รัฐนำไปใช้เพื่อ "ขโมย" ก็มากทีเดียว เช่น หากกรรมการจัดเรตติ้งมีอำนาจมากอย่างนี้ ก็เป็นไปได้ที่จะรับสินบนผู้สร้างหนัง เพราะผลประโยชน์รออยู่มหาศาลพอที่จะจ่ายได้ หรือเจ้าหน้าที่ปราบยาเสพติด รับสินบนเพื่อเอาชื่อออกจากบัญชีดำ หรือปล่อยให้คาราวานเล็ดลอดเข้ามา เพราะผลประโยชน์ก็รออยู่มหาศาลเหมือนกัน
เราไม่เคยคิดถึงการทำให้ ด้านความต้องการยาเสพติดลดลง หรือความต้องการทำอนาจารเด็กลดลง หรืออย่างน้อยก็ถูกตนเองและสังคมรอบข้างกำกับมากขึ้น รัฐอย่างเดียว - แม้แต่รัฐที่เข้มแข็ง - ก็ไม่สามารถกำกับศีลธรรมด้านที่สองคือผดุงบุคคลให้บรรลุจุดหมายสูงสุดทาง ศาสนาได้
ประเด็นสุดท้ายเกี่ยวกับสองด้านของศีลธรรมก็คือ ถ้าเราคิดว่าหัวนมผู้หญิงเป็นอันตรายต่อศีลธรรมอันดี (หัวนมผู้หญิงหรือท่าทีต่อหัวนมผู้หญิงกันแน่?) เราก็จะปิดหัวนมผู้หญิงเอาไว้ให้แน่นหนา แต่เพื่อการนี้เราต้องแลกกับอะไรบ้าง?
ผมคิดว่ามีอย่างน้อยก็ สองอย่าง หนึ่งคือเสรีภาพ และสองคือความสามารถในการจัดการตนเองเบื้องหน้าหัวนมผู้หญิง ยิ่งไปกว่านี้เราจะไว้ใจได้อย่างไรว่า อำนาจปิดหัวนมนี้จะถูกใช้เพื่อปิดหัวนมอย่างเดียว ไม่ได้ไปปิดอย่างอื่นๆ ซึ่งเป็นสิทธิที่เราพึงเห็นด้วย
มันคุ้มแน่หรือครับ?
หมายเหตุ:เผยแพร่ครั้งแรกในมติชนออนไลน์
***************************************************
พท.อ้างส.ส.ไปพบทักษิณเเค่อวยพรปีใหม่
นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึงกรณีที่ส.ส.พรรคเพื่อไทยบางกลุ่มที่กำลังจะเดินทางไปพบพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกฯ ในต่างประเทศว่า ถือเป็นความผูกพันส่วนตัว โดยเป็นการเดินทางไปขอพรปีใหม่เหมือนกับอดีตนายกฯหลายคนที่ถึงช่วงเทศกาลจะมีส.ส.เดินทางไปพบ โดยกลุ่มส.ส.ที่ไปพบนั้นคงไม่มีประเด็นทางการเมืองอย่างที่ตั้งข้อสังเกตว่าจะไปหารือเรื่องยุทธศาสตร์ของพรรค ,การตั้งหัวหน้าพรรคคนใหม่ หรือรายชื่อว่าที่นายกรัฐมนตรีคนต่อไป โดยขณะนี้พรรคเพื่อไทยยังมีนายยงยุทธ วิชัยดิษฐ เป็นหัวหน้าพรรคเหมือนเดิม เเละในปีหน้าหากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกฯประกาศยุบสภาฯ พรรคเพื่อไทยจะมีคนพร้อมชูเป็นนายกฯอย่างแน่นอน เเละคนที่พรรคจะเปิดชื่อออกมา มั่นใจว่าจะได้คะแนนเสียงและชนะเลือกตั้งแน่นอน โดยมีคนที่เหมาะสมและปรากฏเป็นข่าวไปแล้ว อาทิ พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ ประธานพรรค, ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง ประธานส.ส.พรรค, นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์ ส.ส.สัดส่วน แต่พรรคจะประกาศรายชื่อว่าที่นายกฯนั้น ต้องรอให้ยุบสภาฯก่อน หากประกาศออกไปเร็วคงไม่ดี จะโดนแผนสกัดดาวรุ่งทันที ดังนั้นพรรคจึงไม่ต้องรีบ อย่างไรก็ตามในปี 2554 พรรคจะทำการเมืองอย่างสร้างสรรค์ เน้นทำนโยบายออกสู่ประชาชน ตรวจสอบโครงการต่างๆของรัฐบาล และจัดสัมมนาปราศรัยพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศ และลดวิวาทะการเมือง
ที่มา.เนชั่น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ที่มา.เนชั่น
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
วันเสาร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2553
ดร.นันทวัฒน์ วิพากษ์"สังคมไร้กฎกติกา ใช้อารมณ์ความรู้สึกชี้นำ เอาคนไม่รู้จริงทำงาน"
ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์การเมืองปี 2554 ในแง่มุมของนักกฎหมายมหาชน หลังจากอ่านบทสัมภาษณ์พิเศษนี้แล้ว อาจเข้าใจการเมืองไทยปีหน้าได้ชัดเจนยิ่งขึ้น
วิเคราะห์การเมืองและรัฐธรรมนูญปีหน้า 2554 อย่างไร
การเลือกตั้งปีหน้าจะมีหลายองค์ประกอบ องค์ประกอบแรกที่เราดูกันอยู่หน้าจะเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ การแก้รัฐธรรมนูญในทางปฎิบัติ รัฐบาลไม่ได้อยากแก้ การแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นการซื้อเวลาในบางช่วง เพราะว่าคณะกรรมการชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาดูประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลเลือกไว้ 2 ประเด็น และ 2 ประเด็นที่รัฐบาลเลือกไม่ได้เป็นประเด็นใหม่ เป็นประเด็นที่คณะกรรมการของวุฒิสภาเขาทำกันมาแล้ว เพราะฉะนั้นก็เหมือนว่าการตั้ง 2 คณะกรรมการนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้ระยะเวลาอีกระยะเวลาหนึ่งยืนยันของเก่าที่ทำกันมาแล้ว อาจจะมีเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย
ตอนนี้รัฐธรรมนูญก็อยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา ผ่านรัฐสภาออกมาก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าจะเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งหรือไม่ ในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง ก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งด้วย ต้องยกร่างประกอบกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งไม่แน่ใจว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญร่างขึ้นมาใหม่จะยกร่างขึ้นมาใหม่จริงหรือจะเอาของ ปีพ.ศ.2540 มาแก้ เพราะมันย้อนกลับไปใช้ระบบเดิม อาจจะมีจำนวนที่แตกต่างกันบ้าง ใช้เวลานานเท่าไหร่ จะมีปัญหาในสภาหรือเปล่า วุฒิสภาจะเห็นด้วยหรือเปล่า ฉะนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็เพื่อที่จะเตรียมพร้อมในเลือกตั้ง เข้าใจว่าน่าจะหลังครึ่งปีแรกไปแล้ว และคงจะอยู่ในช่วงครึ่งปีสุดท้ายถ้าไม่มีอุบัติเหตุหรือปัญหาทางการเมือง
อะไรคือปัจจัยความเสี่ยงทางการเมือง
ปัจจัยความเสี่ยงมีหลายองค์ประกอบ รัฐธรรมนูญเป็นแค่องค์ประกอบเดียว อาจจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามา ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร เห็นอยู่แล้วว่าเดี๋ยวนี้มีการฟ้องร้องทั้งฝ่ายรัฐบาล ทั้งฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตามต่างอยู่ในองค์กรของรัฐบาลเต็มไปหมด อย่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ก็มีหลายเรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เองก็มี เราไม่แน่ใจว่าในระหว่างทางอุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า
เสียงวิพากษ์สถาบันทางการเมืองและองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศาล หนักหน่วงรุนแรงขึ้น จะนำไปสู่ความเสื่อมหรือไม่
จริง ๆ แล้ววันนี้ทุกแห่งมันก็วนกลับมาสู่จุดเดิมทั้งหมด สมัยตอนคุณทักษิณ(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เราก็พยายามพูดว่าสถาบันพวกนี้ได้รับการแต่งตั้งมาจากวุฒิสภาที่ไม่เป็นกลาง องค์กรพวกนี้ก็เป็นองค์กรสีเทา (คงจำกันได้) กกต. ชุดที่ถูกจับไปติดคุก 3-4 วัน ชุดนั้นก็กลายเป็น กกต. สีเทา แต่วันนี้คำถามที่ทุกคนคงจะตอบได้ว่ามันเหมือนกันหรือว่ามันต่างกันมันก็เป็นจุดแบบเดียวกันทุกองค์กร สุดท้ายมันก็กลับมาอยู่ที่เดิมแต่อยู่ที่การคัดเลือกตัวบุคคลมากกว่า เพราะว่าในระบบต่าง ๆ มันมีทั้ง 2 ส่วนประกอบ
ส่วนประกอบที่ 1 คือเป็นระดับมืออาชีพจริง ๆ และมีความรู้เรื่องนั้นจริง ๆ ส่วนประกอบที่ 2 เป็นส่วนที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ตัวอย่างเช่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เราต้องเลือกคนที่มีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญดีที่สุดในประเทศ ต้องมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญไม่ใช่ความรู้เรื่องนักกฎหมายทั่วไป
เพราะฉะนั้นความเสื่อมจะมาจาก 2 ส่วนเช่นกัน ส่วนของเจ้าตัวเองที่อยากเข้ามาอยู่ในตำแหน่ง ส่วนของคนที่เลือกก็ไม่ได้ใช้วิธีการคิดหรือตรรกะที่เป็นระบบเท่าที่ควร นักกฎหมายกับแพทย์คงคล้ายกันหรือว่านักรัฐศาสตร์กับแพทย์ก็คงจะคล้ายกัน คือต่างคนต่างมีความเชี่ยวชาญและความชำนาญ ฉะนั้นถ้าเอาคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ความชำนาญเข้ามา หรือว่ามี แต่ไม่ถึงระดับนั้น วิธีการมองปัญหาก็ย่อมไม่เหมือนกัน มันก็อยู่ในสภาพแบบนี้ต่อไป
อย่างที่ทราบว่ากฎหมายมหาชนและกฏหมายเอกชนพื้นฐานต่างกันมาก เกณฑ์ที่ศาลจะสั่งไม่รับเพราะว่าขาดอายุความ ถ้าเป็นกฎหมายเอกชนก็ไม่มีใครเถียง แต่ในเรื่องของกฎหมายมหาชนถ้าขาดอายุความแล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับประเทศชาติและประชาชน เราก็ต้องรับเหมือน เรายึดทรัพย์นักการเมืองที่โกง ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าโกงจับได้ว่าโกง แต่ว่านักการเมืองที่โกงขาดอายุความไปแล้ว ก็ปล่อยให้โกงประเทศชาติไปอย่างนั้น ตรงนี้คิดว่าไม่น่าจะใช่ ฉะนั้นตรรกะในการคิดของนักกฏหมายทำให้องค์กรมีปัญหาในทุกวันนี้ แล้วเราจะเห็นได้ว่าองค์กรที่มีปัญหาในทุกวันนี้ ที่มีการวิพากวิจารณ์ มีการพูดถึงคนเหล่านั้นที่มีพื้นเพมาจากกระบวนการยุติธรรมปกติทั่วไป นั่นก็คือ ศาลแพ่ง ศาลอาญาหรืออัยการทั้งสิ้น
หลายคนพูดตรงกันว่า การที่รัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่ได้เพราะ ประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น แต่ ประเด็นอยู่ที่ถ้ารัฐบาลทำถูกก็ต้องให้อยู่ ถ้ารัฐบาลทำผิดก็ต้องให้ไป ในทางปฎิบัติที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าในรัฐบาลของทักษิณทำผิด ทำผิดเยอะมากทุกคนก็ทราบ ทราบตั้งแต่ตอนที่เขายังอยู่ไม่ใช่หลังการปฎิวัติไปแล้ว เขาก็อยู่ต่อไปได้ เพราะเขามีฐานเสียงสนับสนุนอยู่มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดในการสนับสนุนต้องสนับสนุนในสิ่งที่ถูกมากกว่า คนที่เป็นรัฐบาลต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อคุณมุ่งมั่นที่จะมาบริหารประเทศแล้วโดยไม่มองประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน
รัฐบาลชุดนี้มุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาของประเทศ แต่เราจะเห็นได้ว่าระยะเวลาครึ่งหนึ่งของรัฐบาลที่อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ใช้เวลาหมดไปกับการปราบปรามและแก้ไขระบบทักษิณทั้งหมด ปัญหาหลักของประเทศก็จะไม่เกิดการแก้ไข ประกอบกับในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการทุจริต คอรัปปชั่น ซึ่งเกิดขึ้นในทุกรัฐบาล โดยคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ โครงการชุมชนพอเพียง แต่วันนี้ก็ยังไม่มีการให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น
เราสามารถพูดได้ว่าตอนที่ทักษิณถูกปฎิวัติออกไป ใช่ว่าสนามบินสุวรรณภูมิเสียหายหมด ใช้สนามบินไม่ได้ ถูกโกงแล้วต้องทิ้งมันก็ไม่ใช่ ทุกวันนี้ก็ยังใช้สนามบินอยู่ ทั้งหมดนี้มันคือข้อกล่าวอ้างเท่านั้นเอง ว่าสิ่งที่เขาทำมาไม่ถูกและข้อกล่าวอ้างนั้นก็ไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือไม่ถูก ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันก็มีแต่ข้อกล่าวอ้างทั้งนั้นเหมือนกัน ตัวเองจะทำ ตัวเองจะไม่ทำ แต่ก็ไม่ได้มีการพิสูจน์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันขาดการพิสูจน์ สังคมของเราเป็นคนยกประเด็นนี้ขึ้นมา ดุว่าเขา ลงโทษเขา ลงโทษทางสังคมว่าเขาไม่ดี ว่าเขาคิดไม่ดี เขาทำไม่ดี แต่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้สักเรื่อง ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ผิด
ทุกวันนี้เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายก็อึดอัดเหมือนกัน เพราะในวันนี้เราไม่ได้เอากฎหมายนำ แต่เราเอาอารมณ์ความรู้สึก เอาข้อคาดเดามานำหน้า ว่าฝ่ายนี้โกงฝ่ายนี้เลว ฝ่ายโน้นไม่ดี แต่พอจับได้ก็ไม่มีการชี้แจง ทุกอย่างดูเงียบหมด เพราะฉะนั้นองค์กรตามรัฐธรรมนูญถ้าจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องปรับ ปรับในหลักการ เอาคนที่มีความชำนาญจริง ๆ คุณต้องแม่นในกฎหมายและมีพื้นฐานพวกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญเรื่องของกฏหมายมหาชน
การเมืองไทยมีอนาคตแค่ไหน
เราเข้าไปสู่สังคมแบบใหม่ เป็นสังคมที่ไร้กฎกติกา ปีหน้าก็คงเหมือนเดิม ตราบใดที่เรายังฝ่าฝืน ไม่มีการจับกุม ไม่มีการปราบปราม มันก็ยังเป็นแบบนี้ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่ว่าสามารถทำได้ ก็ใช้กันต่อไป ไม่พอใจก็ใช้อำนาจนอกระบบ เพราะมันก็ยังมีปัญหาอยู่อย่างนี้ ตอนสงกรานต์ปี 52 เรามองว่าบ้านเมืองเราไม่มีอนาคตเลย ไร้ขื่อแป เอารถแก๊สมาจอดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปีที่แล้วยิ่งแย่ไปใหญ่ให้ใครไม่รู้มาปิดถนนตรงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย ปิดถนนได้เป็นเดือน เราทำย่างนั้นได้ไม่มีการลงโทษ คิดว่ามันแย่ จริง ๆ แล้วต้องลงโทษทุกฝ่าย เพราะถ้ายกเว้นได้เรื่องหนึ่งก็กลายเป็นว่ายกเว้นได้ทุกเรื่อง ยังไม่ต้องพูดถึงคุณภาพของคน พูดแล้วมันก็เหมือนเป็นการหมิ่นประมาท อย่างเราดูในต่างประเทศ คนที่เข้าไปสู่ตำแหน่งพวกนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จริง ถ้ายังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จริง มันก็ต้องต่อคิวกันไป แต่บ้านเราไม่ใช่เลย
ที่มา.มติชนออนไลน์
*****************************************************************
วิเคราะห์การเมืองและรัฐธรรมนูญปีหน้า 2554 อย่างไร
การเลือกตั้งปีหน้าจะมีหลายองค์ประกอบ องค์ประกอบแรกที่เราดูกันอยู่หน้าจะเกี่ยวกับการแก้รัฐธรรมนูญ การแก้รัฐธรรมนูญในทางปฎิบัติ รัฐบาลไม่ได้อยากแก้ การแก้รัฐธรรมนูญดูเหมือนเป็นการซื้อเวลาในบางช่วง เพราะว่าคณะกรรมการชุดที่รัฐบาลตั้งขึ้นมาดูประเด็นต่างๆ ที่รัฐบาลเลือกไว้ 2 ประเด็น และ 2 ประเด็นที่รัฐบาลเลือกไม่ได้เป็นประเด็นใหม่ เป็นประเด็นที่คณะกรรมการของวุฒิสภาเขาทำกันมาแล้ว เพราะฉะนั้นก็เหมือนว่าการตั้ง 2 คณะกรรมการนี้ขึ้นมาก็เพื่อใช้ระยะเวลาอีกระยะเวลาหนึ่งยืนยันของเก่าที่ทำกันมาแล้ว อาจจะมีเปลี่ยนบ้างเล็กน้อย
ตอนนี้รัฐธรรมนูญก็อยู่ในการพิจารณาของรัฐสภา ผ่านรัฐสภาออกมาก็ไม่มีใครยืนยันได้ว่าจะเปลี่ยนแปลงการเลือกตั้งหรือไม่ ในเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงระบบเลือกตั้ง ก็หมายความว่าต้องเปลี่ยนกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับการเลือกตั้งด้วย ต้องยกร่างประกอบกฎหมายรัฐธรรมนูญใหม่ ซึ่งไม่แน่ใจว่ากฎหมายรัฐธรรมนูญร่างขึ้นมาใหม่จะยกร่างขึ้นมาใหม่จริงหรือจะเอาของ ปีพ.ศ.2540 มาแก้ เพราะมันย้อนกลับไปใช้ระบบเดิม อาจจะมีจำนวนที่แตกต่างกันบ้าง ใช้เวลานานเท่าไหร่ จะมีปัญหาในสภาหรือเปล่า วุฒิสภาจะเห็นด้วยหรือเปล่า ฉะนั้นการแก้ไขรัฐธรรมนูญกับกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญก็เพื่อที่จะเตรียมพร้อมในเลือกตั้ง เข้าใจว่าน่าจะหลังครึ่งปีแรกไปแล้ว และคงจะอยู่ในช่วงครึ่งปีสุดท้ายถ้าไม่มีอุบัติเหตุหรือปัญหาทางการเมือง
อะไรคือปัจจัยความเสี่ยงทางการเมือง
ปัจจัยความเสี่ยงมีหลายองค์ประกอบ รัฐธรรมนูญเป็นแค่องค์ประกอบเดียว อาจจะมีองค์ประกอบอื่น ๆ แทรกซ้อนเข้ามา ซึ่งเราก็ไม่ทราบว่าเรื่องอะไร เห็นอยู่แล้วว่าเดี๋ยวนี้มีการฟ้องร้องทั้งฝ่ายรัฐบาล ทั้งฝ่ายการเมืองต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นฝ่ายใดก็ตามต่างอยู่ในองค์กรของรัฐบาลเต็มไปหมด อย่าง คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ(ป.ป.ช.)ก็มีหลายเรื่อง คณะกรรมการการเลือกตั้ง(กกต.) เองก็มี เราไม่แน่ใจว่าในระหว่างทางอุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้นอีกหรือเปล่า
เสียงวิพากษ์สถาบันทางการเมืองและองค์กรที่ทำหน้าที่เป็นศาล หนักหน่วงรุนแรงขึ้น จะนำไปสู่ความเสื่อมหรือไม่
จริง ๆ แล้ววันนี้ทุกแห่งมันก็วนกลับมาสู่จุดเดิมทั้งหมด สมัยตอนคุณทักษิณ(พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร) เราก็พยายามพูดว่าสถาบันพวกนี้ได้รับการแต่งตั้งมาจากวุฒิสภาที่ไม่เป็นกลาง องค์กรพวกนี้ก็เป็นองค์กรสีเทา (คงจำกันได้) กกต. ชุดที่ถูกจับไปติดคุก 3-4 วัน ชุดนั้นก็กลายเป็น กกต. สีเทา แต่วันนี้คำถามที่ทุกคนคงจะตอบได้ว่ามันเหมือนกันหรือว่ามันต่างกันมันก็เป็นจุดแบบเดียวกันทุกองค์กร สุดท้ายมันก็กลับมาอยู่ที่เดิมแต่อยู่ที่การคัดเลือกตัวบุคคลมากกว่า เพราะว่าในระบบต่าง ๆ มันมีทั้ง 2 ส่วนประกอบ
ส่วนประกอบที่ 1 คือเป็นระดับมืออาชีพจริง ๆ และมีความรู้เรื่องนั้นจริง ๆ ส่วนประกอบที่ 2 เป็นส่วนที่ถูกคัดเลือกเข้ามา ตัวอย่างเช่นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ เราต้องเลือกคนที่มีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญดีที่สุดในประเทศ ต้องมีความรู้เรื่องรัฐธรรมนูญไม่ใช่ความรู้เรื่องนักกฎหมายทั่วไป
เพราะฉะนั้นความเสื่อมจะมาจาก 2 ส่วนเช่นกัน ส่วนของเจ้าตัวเองที่อยากเข้ามาอยู่ในตำแหน่ง ส่วนของคนที่เลือกก็ไม่ได้ใช้วิธีการคิดหรือตรรกะที่เป็นระบบเท่าที่ควร นักกฎหมายกับแพทย์คงคล้ายกันหรือว่านักรัฐศาสตร์กับแพทย์ก็คงจะคล้ายกัน คือต่างคนต่างมีความเชี่ยวชาญและความชำนาญ ฉะนั้นถ้าเอาคนที่ไม่มีความเชี่ยวชาญ ความชำนาญเข้ามา หรือว่ามี แต่ไม่ถึงระดับนั้น วิธีการมองปัญหาก็ย่อมไม่เหมือนกัน มันก็อยู่ในสภาพแบบนี้ต่อไป
อย่างที่ทราบว่ากฎหมายมหาชนและกฏหมายเอกชนพื้นฐานต่างกันมาก เกณฑ์ที่ศาลจะสั่งไม่รับเพราะว่าขาดอายุความ ถ้าเป็นกฎหมายเอกชนก็ไม่มีใครเถียง แต่ในเรื่องของกฎหมายมหาชนถ้าขาดอายุความแล้ว เป็นเรื่องที่เกี่ยวของกับประเทศชาติและประชาชน เราก็ต้องรับเหมือน เรายึดทรัพย์นักการเมืองที่โกง ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าโกงจับได้ว่าโกง แต่ว่านักการเมืองที่โกงขาดอายุความไปแล้ว ก็ปล่อยให้โกงประเทศชาติไปอย่างนั้น ตรงนี้คิดว่าไม่น่าจะใช่ ฉะนั้นตรรกะในการคิดของนักกฏหมายทำให้องค์กรมีปัญหาในทุกวันนี้ แล้วเราจะเห็นได้ว่าองค์กรที่มีปัญหาในทุกวันนี้ ที่มีการวิพากวิจารณ์ มีการพูดถึงคนเหล่านั้นที่มีพื้นเพมาจากกระบวนการยุติธรรมปกติทั่วไป นั่นก็คือ ศาลแพ่ง ศาลอาญาหรืออัยการทั้งสิ้น
หลายคนพูดตรงกันว่า การที่รัฐบาลชุดปัจจุบันอยู่ได้เพราะ ประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าประชาชนไม่มีทางเลือกอื่น แต่ ประเด็นอยู่ที่ถ้ารัฐบาลทำถูกก็ต้องให้อยู่ ถ้ารัฐบาลทำผิดก็ต้องให้ไป ในทางปฎิบัติที่ผ่านมาเราจะเห็นได้ว่าในรัฐบาลของทักษิณทำผิด ทำผิดเยอะมากทุกคนก็ทราบ ทราบตั้งแต่ตอนที่เขายังอยู่ไม่ใช่หลังการปฎิวัติไปแล้ว เขาก็อยู่ต่อไปได้ เพราะเขามีฐานเสียงสนับสนุนอยู่มาก ซึ่งเป็นสิ่งที่ผิดในการสนับสนุนต้องสนับสนุนในสิ่งที่ถูกมากกว่า คนที่เป็นรัฐบาลต้องทิ้งทุกสิ่งทุกอย่าง เมื่อคุณมุ่งมั่นที่จะมาบริหารประเทศแล้วโดยไม่มองประโยชน์ส่วนตัว ซึ่งรัฐบาลปัจจุบันก็เช่นเดียวกัน
รัฐบาลชุดนี้มุ่งมั่นที่จะแก้ปัญหาของประเทศ แต่เราจะเห็นได้ว่าระยะเวลาครึ่งหนึ่งของรัฐบาลที่อยู่มาจนถึงทุกวันนี้ ใช้เวลาหมดไปกับการปราบปรามและแก้ไขระบบทักษิณทั้งหมด ปัญหาหลักของประเทศก็จะไม่เกิดการแก้ไข ประกอบกับในช่วงเวลาที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการทุจริต คอรัปปชั่น ซึ่งเกิดขึ้นในทุกรัฐบาล โดยคนที่เกี่ยวข้องทั้งหมดก็เป็นสิ่งที่ยังมีอยู่ โครงการชุมชนพอเพียง แต่วันนี้ก็ยังไม่มีการให้คำตอบใดๆ ทั้งสิ้น
เราสามารถพูดได้ว่าตอนที่ทักษิณถูกปฎิวัติออกไป ใช่ว่าสนามบินสุวรรณภูมิเสียหายหมด ใช้สนามบินไม่ได้ ถูกโกงแล้วต้องทิ้งมันก็ไม่ใช่ ทุกวันนี้ก็ยังใช้สนามบินอยู่ ทั้งหมดนี้มันคือข้อกล่าวอ้างเท่านั้นเอง ว่าสิ่งที่เขาทำมาไม่ถูกและข้อกล่าวอ้างนั้นก็ไม่มีการพิสูจน์ว่าถูกหรือไม่ถูก ฉันใดก็ฉันนั้น รัฐบาลชุดปัจจุบันก็มีแต่ข้อกล่าวอ้างทั้งนั้นเหมือนกัน ตัวเองจะทำ ตัวเองจะไม่ทำ แต่ก็ไม่ได้มีการพิสูจน์เช่นเดียวกัน เพราะฉะนั้นมันขาดการพิสูจน์ สังคมของเราเป็นคนยกประเด็นนี้ขึ้นมา ดุว่าเขา ลงโทษเขา ลงโทษทางสังคมว่าเขาไม่ดี ว่าเขาคิดไม่ดี เขาทำไม่ดี แต่เราไม่สามารถพิสูจน์ได้สักเรื่อง ซึ่งตรงนี้เป็นสิ่งที่ผิด
ทุกวันนี้เป็นอาจารย์สอนวิชากฎหมายก็อึดอัดเหมือนกัน เพราะในวันนี้เราไม่ได้เอากฎหมายนำ แต่เราเอาอารมณ์ความรู้สึก เอาข้อคาดเดามานำหน้า ว่าฝ่ายนี้โกงฝ่ายนี้เลว ฝ่ายโน้นไม่ดี แต่พอจับได้ก็ไม่มีการชี้แจง ทุกอย่างดูเงียบหมด เพราะฉะนั้นองค์กรตามรัฐธรรมนูญถ้าจะทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ต้องปรับ ปรับในหลักการ เอาคนที่มีความชำนาญจริง ๆ คุณต้องแม่นในกฎหมายและมีพื้นฐานพวกนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งรัฐธรรมนูญเรื่องของกฏหมายมหาชน
การเมืองไทยมีอนาคตแค่ไหน
เราเข้าไปสู่สังคมแบบใหม่ เป็นสังคมที่ไร้กฎกติกา ปีหน้าก็คงเหมือนเดิม ตราบใดที่เรายังฝ่าฝืน ไม่มีการจับกุม ไม่มีการปราบปราม มันก็ยังเป็นแบบนี้ เพราะมีตัวอย่างให้เห็นกันอยู่ว่าสามารถทำได้ ก็ใช้กันต่อไป ไม่พอใจก็ใช้อำนาจนอกระบบ เพราะมันก็ยังมีปัญหาอยู่อย่างนี้ ตอนสงกรานต์ปี 52 เรามองว่าบ้านเมืองเราไม่มีอนาคตเลย ไร้ขื่อแป เอารถแก๊สมาจอดอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ ปีที่แล้วยิ่งแย่ไปใหญ่ให้ใครไม่รู้มาปิดถนนตรงหน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติด้วย ปิดถนนได้เป็นเดือน เราทำย่างนั้นได้ไม่มีการลงโทษ คิดว่ามันแย่ จริง ๆ แล้วต้องลงโทษทุกฝ่าย เพราะถ้ายกเว้นได้เรื่องหนึ่งก็กลายเป็นว่ายกเว้นได้ทุกเรื่อง ยังไม่ต้องพูดถึงคุณภาพของคน พูดแล้วมันก็เหมือนเป็นการหมิ่นประมาท อย่างเราดูในต่างประเทศ คนที่เข้าไปสู่ตำแหน่งพวกนี้ได้ ต้องเป็นคนที่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จริง ถ้ายังไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น ๆ จริง มันก็ต้องต่อคิวกันไป แต่บ้านเราไม่ใช่เลย
ที่มา.มติชนออนไลน์
*****************************************************************
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)