โดย : บายไลน์ Resercher & Rewriter
ขานชื่อส.ส.โซนน้ำท่วม ใครเป็นใคร..ในวันวิกฤต หลังน้ำลดเจอ"ศึกน้ำลาย"
อุทกภัยในต้นฤดูหนาว พ.ศ.นี้ ขยายวงกว้างเกินกว่าที่คาดคิด ทั้งที่ราบสูง และที่ราบลุ่ม ข้อมูลล่าสุด กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สรุปรายงานสถานการณ์ในช่วงวันที่ 10 - 23 ต.ค. 2553 พบว่า มีพื้นที่ประสบอุทกภัย 30 จังหวัด 196 อำเภอ 1,419 ตำบล 9,365 หมู่บ้าน ปัจจุบันอุทกภัยคลี่คลายแล้ว 2 จังหวัด
ภาครัฐ ทั้งในส่วนฝ่ายการเมืองและฝ่ายราชการ ต้องเผชิญกับเสียงวิพากษ์วิจารณ์ว่า การบริหารจัดการในภาวะวิกฤติมีปัญหา ไม่ทันท่วงที และไม่ประสานงานกัน
สำหรับนักการเมืองที่เป็นตัวแทนของประชาชน ทั้งฝ่ายพรรคร่วมรัฐบาล และฝ่ายค้าน ไม่สู้จะมีข่าวคราวว่าได้แสดงตัวตนช่วยเหลือชาวบ้านในพื้นที่อย่างไรบ้าง ดังนั้นจึงขอขานชื่อ ส.ส. 10 จังหวัด ที่จมบาดาลหนักที่สุดสิบกว่าจังหวัดดังนี้
นครราชสีมา ถึงขั้นประกาศเป็นพื้นที่ภัยพิบัติทั้งจังหวัด น้ำท่วม 31 อำเภอ 376 ตำบล 2 ,158 หมู่บ้าน
พื้นที่น้ำท่วมส่วนใหญ่ เป็นอำเภอในเขตเลือกของ ส.ส.เขต สังกัดพรรคร่วมรัฐบาลคือ พรรคเพื่อแผ่นดิน พรรครวมชาติพัฒนา และ พรรคภูมิใจไทย
เขต 1 วัชรพล โตมรศักดิ์ รวมชาติพัฒนา นายประเสริฐ บุญชัยสุข พรรครวมชาติพัฒนา นายวรรณรัตน์ ชาญนุกูล พรรครวมชาติพัฒนา
เขต 2 ประนอม โพธิ์คำ เพื่อแผ่นดิน ,จิตรวรรณ หวังศุภกิจโกศล เพื่อแผ่นดิน ,พ.ต.ท.สมชาย เพศประเสริฐ เพื่อไทย
เขต 3 บุญเลิศ ครุฑขุนทด เพื่อไทย, ลินดา เชิดชัย เพื่อไทย, ประเสริฐ จันทรรวงทอง เพื่อไทย
เขต 4 ทัศนียา รัตนเศรษฐ รวมชาติพัฒนา, ระนองรักษ์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน, อนุวัฒน์ วิเศษจินดาวัฒน์ เพื่อแผ่นดิน
เขต 5 ภิรมย์ พลวิเศษ ภูมิใจไทย, สมชัย ฉัตรพัฒนศิริ รวมชาติพัฒนา เขต 6 พลพีร์ สุวรรณฉวี เพื่อแผ่นดิน
ชัยภูมิ เป็นจังหวัดที่ได้รับผลกระทบรองลงมาจากโคราช น้ำท่วม 16 อำเภอ 113 ตำบล 1,305 หมู่บ้าน
ส.ส.เขตเกือบทั้งจังหวัดเป็นฝ่ายค้าน มี ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลอยู่เพียงคนเดียว
เขต 1 เชวงศักดิ์ เร่งไพบูลย์วงษ์ ชาติไทยพัฒนา,เจริญ จรรย์โกมล เพื่อไทย,มานะ โลหะวณิชย์ เพื่อไทย
เขต 2 สุรวิทย์ คนสมบูรณ์ เพื่อไทย,ประสิทธิ์ ชัยวิรัตนะ เพื่อไทย
เขต 3 ปาริชาติ ชาลีเครือ เพื่อไทย, สุนทรี ชัยวิรัตนะ เพื่อไทย
ลพบุรี เป็นจังหวัดในที่ราบลุ่มภาคกลางที่โดนหนักที่สุดใน น้ำท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ 120 ตำบล 1,012 หมู่บ้าน
เขตเลือกตั้งที่เจอภัยธรรมชาติหนักหนาสาหัส จะเป็นพื้นที่ของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาล
เขต 1 มัลลิกา จิระพันธ์วาณิช ชาติไทยพัฒนา, ผ่องศรี ธาราภูมิ ประชาธิปัตย์,สุชาติ ลายน้ำเงิน เพื่อไทย
เขต 2 อำนวย คลังผา เพื่อไทย,นิยม วรปัญญา เพื่อไทย
พระนครศรีอยุธยา เจอภาวะน้ำเอ่อล้นจาก 3 แม่น้ำคือ เจ้าพระยา, ลพบุรี และแม่น้ำน้อย ท่วมพื้นที่ 5 อำเภอ 54 ตำบล 297 หมู่บ้าน กรุงเก่าเป็นพื้นที่ ส.ส.เขตค่อนจังหวัด เหลือเพียงหนึ่งเดียวคือชาติไทยพัฒนา
เขต 1 สุรเชษฐ์ ชัยโกศล เพื่อไทย, พ้อง ชีวานันท์ เพื่อไทย, เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร ชาติไทยพัฒนา
เขต 2 สุรศักดิ์ พันธ์เจริญวรกุล เพื่อไทย, วิทยา บุรณศิริ เพื่อไทย
สระบุรี เป็นที่ราบภาคกลางอีกจังหวัดหนึ่ง ซึ่งเจอน้ำทะลักจากเขื่อนป่าสัก และน้ำล้นจากทางด้านอยุธย น้ำท่วมในพื้นที่ 13 อำเภอ 111 ตำบล 973 หมู่บ้าน
พื้นที่น้ำท่วมเป็นเขตเลือกตั้งของ ส.ส.พรรคร่วมรัฐบาลทั้งหมด
เขต 1 กัลยา รุ่งวิจิตรชัย ประชาธิปัตย์,ร.ต.ปรพล อดิเรกสาร ภูมิใจไทย
เขต 2 วัชรพงศ์ คูวิจิตรสุวรรณ ประชาธิปัตย์, องอาจ วงษ์ประยูร ประชาธิปัตย์
ชัยนาท น้ำท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 40 ตำบล 342 หมู่บ้าน
ส.ส.เขตมี 2 คน แยกกันอยู่คนละพรรค เขต 1 ชัยวัฒน์ ทรัพย์รวงทอง เพื่อไทย,พรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ภูมิใจไทย
สุพรรณบุรี น้ำท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ 61 ตำบล 304 หมู่บ้าน
ดั่งที่ทราบกัน เมืองสุพรรณเป็นฐานที่มั่นของพรรคชาติไทยพัฒนา หรือ "บรรหารยกจังหวัด"
เขต 1 นพดล มาตรศรี, นิติวัฒน์ จันทร์สว่าง, ชาญชัย ประเสริฐสุวรรณ เขต 2 เจรจา เที่ยงธรรม, พัชรี โพธสุธน
อ่างทอง น้ำเจ้าพระยาไหลเข้าท่วมพื้นที่ 7 อำเภอ 52 ตำบล 215 หมู่บ้าน
ในทางการเมือง ก็เป็นพื้นที่ของพรรคชาติไทยพัฒนาเหมือนกัน ส.ส.เขต จึงมีนามสกุลเดียวกันคือ ภราดร ปริศนานันทกุล และภคิน ปริศนานันทกุล
นนทบุรี ปลายน้ำที่กำลังอ่วมจากน้ำเหนือและน้ำหนุน เข้าท่วมพื้นที่ 6 อำเภอ
ส.ส.เขตก็แบ่งกันไป ฝ่ายรัฐบาลและฝ่ายค้าน
เขต 1 อุดมเดช รัตนเสถียร เพื่อไทย,นิทัศน์ ศรีนนท์ เพื่อไทย,มานะศักดิ์ จันทร์ประสงค์ ภูมิใจไทย
เขต 2 ณรงค์ จันทนดิษฐ ประชาธิปัตย์,ทศพล เพ็งส้ม ประชาธิปัตย์,พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย เพื่อไทย
ปทุมธานี น้ำท่วมซ้ำซาก เพราะเจอน้ำที่ไหลมาจากแม่น้ำเจ้าพระยา ,เขื่อนป่าสัก และเขื่อนท่าด่าน
จังหวัดนี้ "เพื่อไทยยกจังหวัด" ทั้งเขต 1 สุรพงษ์ อึ้งอัมพรวิไล, สุทิน นพขำ เขต 2 พรพิมล ธรรมสาร, ว่าที่ ร.ต.สุเมธ ฤทธาคนี, ชูชาติ หาญสวัสดิ์ พรรคเพื่อไทย
บุรีรัมย์ กลายเป็นเมืองทางผ่านของน้ำที่ไหลมาจากโคราช ทำให้ท่วมพื้นที่ 11 อำเภอ
แม้ ส.ส.เขตอาจจะมีบางพรรคแทรกเข้ามา แต่โดยส่วนใหญ่ ก็อยู่ในสังกัด "บ้านใหญ่ชิดชอบ" โดยเฉพาะพื้นที่ลำปลายมาศ ของ โสภณ ซารัมย์ รมว.คมนาคม
ส่วนที่เหลือเกือบ 20 จังหวัด น้ำท่วมกระจายตัว ได้รับผลกระทบไม่หนักเท่ากับจังหวัดที่กล่าวมาข้างต้น
ว่ากันว่า "น้ำท่วม" หรือ "แล้งเข็ญ" ล้วนเป็นวาทกรรมที่ "นักเลือกตั้ง" ใช้ประโยชน์ในทางการเมืองได้ทั้งสิ้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น