ย้อนกลับไปในเดือนกรกฎาคม ปี 2553 นายกอภิสิทธิ์ได้คุยโวถึง “กระบวนการสมานฉันท์ปรองดอง” โดยองค์กรที่มีชื่อเสียงอย่างICG (International Crisis Group) ได้กล่าวถึงแผนการดังกล่าวว่า
“…. “แผนการ” ปรองดองสมานฉันท์แห่งชาติซึ่งเป็นข้อเสนอฝ่ายเดียวจากนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ไม่มีทางสัมฤทธิ์ผลหากฝ่ายตรงข้าม รวมถึงผู้นำที่ถูกขับไล่ลงจากตำแหน่งคนก่อนไม่มีส่วนร่วม การสอบสวนที่น่าเชื่อถือถึงเหตุการณ์ความรุนแรง การปฎิรูปกฎหมาย และการอภิปรายถึงความไม่เท่าเทียวไม่สามารถสมเร็จได้โดยปราศจากกลุ่มคนเสื้อแดงแนวร่วมทักษิณ สิ่งเหล่านี้ไม่มีทางเกิดขึ้นได้เลยหากแกนนำคนเสื้อแดงยังถูกกักขัง เพิกเฉย และหลบหนี ”
ICG ยังได้เผยแพร่ข้อแนะนำแนะนำ 16 ประการ เพื่อเป็นแนวทาง โดยข้อหนึ่งได้กล่าวอย่างชัดเจนว่ามีความจำเป็นที่ต้องให้ถอนกำลังทหารออกจากการดำเนินชีวิตของพลเรือนอย่างสิ้นเชิง คำแนะนำของ ICG ได้กล่าวถึงรัฐบาลไทยชุดปัจจุบันว่า
“ต้องมีการปฏิรูปเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ดูแลความปลอดภัยขั้นพื้นฐาน โดยมีการฝึกฝนเจ้าหน้าอย่างต่อเนื่อง และให้ค่าตอบแทนที่เหมาะสม ซึ่งจะทำให้เจ้าหน้าที่ตำรวจมีศักยภาพในการดูแลความปลอดภัยภายใน รวมถึงการควบคุมและดูแลผู้ชุมนุม โดยต้องมีการจำกัดหน้าที่ของกองทัพให้รับผิดชอบการปกป้องประเทศจากภายนอกเท่านั้น”
และเป็นที่แน่ชัดว่า นายกอภิสิทธิ์เพิกเฉยต่อคำแนะนำนี้ และทำให้หลายคนคิดว่าแผนการดังกล่าวเป็นแค่กระบวนการสมานฉันท์จอมปลอมที่ใช้ปกปิดความจริง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงอันอำมหิตในเดือนเมษายนและพฤษภาคมซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90ราย ได้รับการปูนบำเหน็จ ในขณะที่จำนวนคนเสื้อแดงที่ถูกปฏิบัติอย่างไร้ความเป็นธรรมและถูกกักขังเพิ่มมากขึ้น
วันนี้ ดูเหมือนว่าความดิ้นรนพยายามสร้าง “กระบวนการปรองดองสมานฉันท์” ของนายอภิสิทธิ์ดูจะท่าจะไม่เป็นผล เพราะ ICG องค์กรนิรโทษกรรมสากล และ Human Rights Watch ได้ถอนตัวจากการมีส่วนร่วมกับกระบวนการสมานฉันท์จอมปลอมในศรีลังกา และได้ยังเผยแพร่แถลงการณ์ตักเตือนว่า
“ICG องค์การนิรโทษกรรมสากล และ Human Rights Watch ได้ปฏิเสธคำเชิญของคณะกรรมการเรียนรู้จากบทเรียนและสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง (LLRC) แห่งศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมานฉันท์และนำความยุติธรรมกลับคืนสู่ประเทศหลังจากสงครามการเมืองที่ยาวนานระหว่างรัฐบาลและกลุ่ม the Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE) แต่กระนั้นคณะกรรมการล้มเหลวปฏิบัติตามมาตรฐานเบื้องต้น และยังทำลายโครงสร้างพื้นฐานและหลักการปฏิบัติ ”
สิ่งสำคัญคือคณะกรรมการไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสอบสวนถึงข้อกล่าวหาอันน่าเชื่อถือหลายข้อที่มีต่อหน่วยความมั่นคงและกลุ่ม LTTE ว่าทั้งสองกลุ่มกระทำความผิดอาชญากรรมสงคราม กระบวนการพิจารณารับฟังที่มีขึ้นสองเดือนที่แล้วจนกระทั่งวันนี้ สมาชิกคณะกรรมการหลายคนที่ได้เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่ได้พยายามจะตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เล่าโดยฝ่ายรัฐบาล และยังปล่อยให้สมาชิกคณะกรรมการใหม่เข้าใจผิดถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว
ความล้มเหลวนี้เกิดขึ้นจากการไม่มีกระบวนการคุ้มครองพยาน และความล้มเหลวที่ชัดเจนคือหากประชาชนคนไหนอ้างหรือยื่นหลักฐานการละเมิดกฎหมายมนุษยชนระหว่างประเทศก็จะถูกรัฐบาลประณามว่าเป็น “กบฏ” ”
สงครามกลางเมืองอันน่ากลัวอาจจะเลวร้ายกว่าที่เป็น เหมือนที่กำลังเกิดขึ้นในประเทศไทย แผนการปรองดองสมานฉันท์ของรัฐบาลศรีลังกาดูไม่ต่างจากแผนการปรองดองสมานฉันท์ของอภิสิทธิ์
ค่อนข้างจะแน่ชัดว่าเจ้าหน้าที่รัฐไทยกำลังเพิ่มภาระให้กับตนเองโดยการพยายามปกปิดความจริงและคุกคามระบอบประชาธิปไตย
และถึงเวลาแล้วที่เราจะร่วมกันประณามการกระทำของรัฐบาลไทย
ที่มา.Robert Amsterdam
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น