รัฐต้องกล้าฉีกหน้ากาก
เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อ ว่ายังมีมนุษย์ประเภทที่ฉกฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนของผู้อื่น อยู่ในบ้านนี้เมืองนี้
มนุษย์พันธุ์หน้าเนื้อใจเสือ???
มนุษย์พันธุ์ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ???
ทั้งๆที่อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในรอบนี้ ถือเป็นอีกครั้งของอุทกภัยครั้งใหญ่ในเมืองไทย เพราะมีพื้นที่จังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 33 จัหวัด และมีประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 2.5 – 2.8 ล้านคนแล้ว
ที่สำคัญยอดผู้เสียชีวิตนั้นพุ่งขึ้นไปถึง 94 ราย เกือบจะแตะร้อยรายเข้าไปแล้ว!!!
โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า เฉพาะในวันที่ 28 ต.ค. มีผู้ป่วยมารับบริการ 49,195 ราย ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 20-28 ต.ค. รวม 9 วัน พบผู้เจ็บป่วย 229,398 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 คือ น้ำกัดเท้า 110,111 ราย ที่เหลือเป็นไข้หวัดปวดเมื่อยร่างกาย และพบผู้ที่มีอาการเครียดนอนไม่หลับ ใจสั่น วิตกกังวล ร้อยละ 12 หรือประมาณ 25,233 คน
สำหรับผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 20-28 ต.ค. มีผู้เสียชีวิตรวม 94 ราย 20 จังหวัด มากที่สุดที่จังหวัดนครราชสีมา 18 ราย รองลงมาคือนครสวรรค์ 12 ราย ลพบุรี 11 ราย พระนครศรีอยุธยา 7 ราย บุรีรัมย์ 6 ราย ซึ่งในวันที่ 28 มีเสียชีวิตเพิ่ม 26 ราย คือที่นครราชสีมา 9 ราย นครสวรรค์ 1 ราย พระนครศรีอยุธยา 6 ราย นนทบุรี 2 ราย สุพรรณบุรี 4 ราย กำแพงเพชร 1 ราย และปทุมธานี 3 ราย ส่วนใหญ่จมน้ำเพราะลื่นพลัดตกน้ำ
เป็นความเดือดร้อนสาหัส แต่กลับมีกลิ่นตุๆยิ่งกว่ากลิ่นน้ำท่วมขัง เพราะเป็นกลิ่นของขบวนการเหลือบน้ำท่วม!!!
แม้ว่าตอนนี้อาจจะยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา แต่หากดูพฤติกรรมย้อนหลัง ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้มีการออกมาเปิดเผยถึงผลการตรวจสอบการติดตามงบประมาณและสุ่มตรวจ 280 โครงการทั่วประเทศในโครงการป้องกันบรรเทาอุทกภัย ปีงบประมาณ 2552
พบว่ากว่าร้อยละ 88 ที่พบความผิดปกติ หรือจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามระเบียบราชการ
ทำให้มีแนวโน้มว่าวิกฤตการณ์น้ำท่วมในปีนี้ ที่มีการเบปจ่ายงบประมาณในลักษณะเดียวกัน อาจเป็นโอกาสให้นักการเมืองและข้าราชการเข้ามาหาประโยชน์ได้อีก
เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า ทำไม ป.ป.ท. ออกมาพูดในจังหวะนี้ ในจังหวะที่กำลังเกิดภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่พอดี หากไม่ใช่ต้องการออกมากระแอมกระไอให้รู้ว่า มีคนรู้ทันนะ อย่าฉวยโอกาสกอบโกยกันนักเลย
ซึ่งปรากฏว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธาน กมธ.กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ก็ได้มีการออกมาขานรับทาง ป.ป.ท. ว่าการตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้ แม้จะยังไม่พบว่ามีการทุจริตเกี่ยวกับการใช้งบประมาณช่วยเหลือประชาชน แต่เรื่องแบบนี้โดยส่วนตัวเชื่อว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ตรวจสอบ ทั้งนี้ตน
ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในประเด็นทุจริตน้ำท่วม และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้
“การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆจำเป็นต้องกระบวนการตรวจสอบสิ่งของ แม้จะเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษหรือโครงการมีความเร่งด่วนก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสถูกต้อง ไม่เช่นนั้นการช่วยเหลือของรัฐบาลจะซ้ำรอยปลากระป๋องเน่าได้ และนักการเมืองอย่าหาผลประโยชน์บนความทุกข์ของประชาชน”นายไพบูลย์ กล่าว
ขณะที่ นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู ในฐานะเลขานุการคณะ กมธ. กล่าวว่า งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยปัจจุบันพบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สามารถเบิกใช้งบประมาณได้ทันที ซึ่งการเบิกจ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนนั้นมองว่ายากที่จะตรวจสอบได้ ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสควรนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ ส่วนเรื่องทุจริตโครงการต่างๆของรัฐที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ ขณะนี้ทาง กมธ.ยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามาให้ตรวจสอบ
ส่วน นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ติดตามงบประมาณการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวเกิดมาจากความไม่โปร่งใสของการใช้งบประมาณที่นำไปใช้จ่าย โดยรัฐบาลได้กำหนดงบประมาณให้ 2 หน่วยงานใช้งบประมาณ คือ ส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สามารถใช้งบฉุกเฉินได้เลยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัด
และส่วนของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
นายอำพล วงศ์ศิริ รักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท.ตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ พร้อมจัดชุดเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็ว 5 ชุด ตรวจสอบการใช้งบภัยพิบัติของทุกจังหวัดที่ประสพภาวะน้ำท่วมในขณะนี้ โดยเฉพาะในจังหวัดที่ใช้งบแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำนวน 50-100 ล้านบาท ว่าได้ใช้จ่ายถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
โดยในการทำงานของชุดเคลื่อนที่เร็วจะลงพื้นที่ตรวจสอบในทางลับทันทีหากได้รับการร้องเรียน
ที่สำคัญจะมีหนังสือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้แจ้งรายละเอียดการใช้งบภัยพิบัติทำโครงการช่วยเหลือประชาชนที่จังหวัดได้รับปีละ 50 ล้านบาท ให้สำนักงาน ป.ป.ท.รับทราบ
และขอให้ทุกจังหวัดติดประกาศรายละเอียดการใช้งบภัยพิบัติไว้ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อให้ประชาชนหรือสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ
รวมทั้งได้ให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.ทั้ง 4 ภาค เร่งประชาสัมพันธุ์ผ่านวิทยุแห่งประเทศไทย ให้ประชาชนแจ้งเบาะแสการใช้งบภัยพิบัติที่ผิดปรกติทั้งการก่อสร้างถนน สะพาน แหล่งน้ำ ฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร หรือโครงการต่างๆ ในชุมชน ให้ ป.ป.ท.เข้าไปสอบสวนดำเนินคดีหากไม่โปร่งใส
นายอำพลระบุว่าป.ป.ท.จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบในลักษณะคู่ขนานไปด้วย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ เนื่องจากที่ผ่านมาเม็ดเงินงบประมาณถึงมือประชาชนไม่ถึงร้อยละ 10 โดยแนวทางการตรวจสอบจะใช้ฐานข้อมูลเดิม ซึ่ง ป.ป.ท.พบว่าบางจังหวัดมีการทุจริตงบประมาณเกินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
โดยในวันที่ 1 พ.ย. จะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษเพื่อทำความเข้าใจกันก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติการในพื้นที่จริงด้วย
“เบื้องต้นเราได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ว่า มีนายก อบต.บางแห่ง กักตุนของบริจาคไว้เฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตัวเองทำให้ชาวบานเดือดร้อน เตรียมจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับนายอำเภอที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งบภัยพิบัติปี 52 ไม่ถูกต้องในหลายพื้นที่ ได้ทยอยส่งสำนวนให้ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายแล้ว” รักษาการ ป.ป.ท. กล่าว
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) กล่าวถึงการดูแลงบที่อาจจะรั่วไหลว่า ในแต่ละเงินงบประมาณที่จ่ายลงไปจะมีระบบไปกำกับดูแล เช่น เงินกองทุนบริจาคเราจะใช้เว็บไซต์ ทั้งไทยพลัส พีเอ็ม และสำนักนายกฯ แจ้งให้ทราบ ทั้งตัวเลขเงินเข้าออก
ส่วนตัวเลขที่เกี่ยวกับเงินงบประมาณด้านอื่น เช่น 5 พัน จะใช้หลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน ตรงนี้จะควบคุมได้ง่าย หากเป็นบ้านเช่าจะมีทะเบียนที่ชัดเจน
ส่วนงบที่อนุมัติให้ซื้อของไปนั้น รายละเอียดจะมีการอนุมัติไปสองส่วนที่สำคัญ คือ กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 70 ล้าน กับ 238 ล้านตอนหลัง และทุกรายการจะมีกรมบัญชีกลางและสำนักงบกำกับดูแล ขณะเดียวกันในที่ประชุม คชอ.จะมีภาคประชาสังคมที่มากำกับอยู่ด้วย
สำหรับงบกลางในการจัดซื้ออุปกรณ์จำเป็นให้ผู้ประสบอุทกภัย ในส่วนของเงินบริจาค 70 ล้านบาท ทางรัฐบาลได้ดำเนินการจัดเตรียมสุขาลอยน้ำ โดยปล่อยเป็นคาราวาน ส่วนงบประมาณอีก 238 ล้านบาท และเพิ่ม 106 ล้านบาท ให้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งสิ่งที่ประชาชนร้องขอมากที่สุดยังเป็นสุขา ก็พยายามจัดให้อย่างเพียงพอ
สำหรับงบประมาณที่รัฐบาลเตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เพื่ออนุมัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มีวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะที่การตรวจสอบทุจริตงบภัยพิบัติของ ป.ป.ท.ก่อนหน้านี้มีสรุปผลสอบการใช้งบภัยพิบัติประจำปีงบประมาณ 2552 พบว่าในการสุ่มตรวจสอบโครงการทั้งสิ้น 373 โครงการ มีโครงการที่ส่อใช้งบทุจริตมากถึง 274 โครงการ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการสุ่มตรวจสอบ 163 โครงการใน 6 จังหวัด พบว่าทุจริตโครงการมีการใช้งบที่ผิดปกติ
ส่วนโรคระบาดหลังน้ำท่วมยังไม่มีการระบาดเกิดขึ้น
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุม ส.ส.พรรค เรื่องปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่แถบภาคกลาง ว่า มติที่ประชุมได้มอบหมายให้ ส.ส.ในพื้นที่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและตั้งคณะทำงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องนี้ และจะมีการประสานกับภาครัฐบางส่วนด้วย ขณะที่ประชาชนผู้เดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วม สามารถร้องเรียนมายังพรรคทางโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทยได้
โดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้ประสานกับทุกฝ่ายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส. จะลงพื้นที่ตรวจสอบในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ภาคกลาง จังหวัดสระบุรี และที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมอย่างกว้างขวางอย่างจังหวัดนครราชสีมา
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานปราบโกง (สปก. 4-01) แถลงว่า พรรคได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรคและส.ส.ของพรรค โดยมีมติให้ส.ส.ของพรรคที่เป็นประธาน และรองประธานสภาฯทุกคณะ คณะติดตามและตรวจสอบรัฐบาล(คตร.) และสำนักงานปราบโกงเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการบูรณาการข้อมูลเพื่อเตรียมเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ เพื่อยุติการกู้มาโกง และการโกงชาติโกงแผ่นดิน โดยพรรคได้ย้ำมติให้เป็นนโยบายวาระเร่งด่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของพรรค และได้รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
โดยคาดว่าพรรคเพื่อไทยจะสามารถเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่น การประพฤติมิชอบ และการบริหารราชการแผ่นดินที่บกพร่องผิดพลาดได้ ประมาณกลางพฤศจิกายน
สำหรับรูปแบบการนำเสนอนั้นจะจัดเป็นนิทรรศการและเดินสายชี้แจงกับประชาชน รวมทั้งจะนำข้อมูลการทุจริตของรัฐบาลบันทึกเป็นซีดีและสมุดปกดำ เพื่อแจกจ่ายทั่วประเทศ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ากฎหมายเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อเอาผิดกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องในการทุจริตมาลงโทษตามอาญาแผ่นดินให้ได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันเดินหน้าสางทุจริตทุกหน่วยงาน และยืนยันว่าไม่มีแนวคิดที่จะกู้เงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู
“และได้สั่งการให้ทุกกระทรวงไปพิจารณาปรับลดงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือฟื้นฟูแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับงบกลางมากจนเกินไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้”
ปัญหาก็คือจริงๆแล้ว กรณีทุจริตน้ำท่วมครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ไม่ควรจะแค่ตั้งกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง แต่ควรจะต้องทำความจริงให้ปรากฏ เมื่อปรากฏผลสอบออกมาอย่างไรได้ความอย่างไร ควรนำผลสอบสวนนั้นมาชี้แจงกับประชาชนได้รู้ และเพื่อเป็นการประจานให้รู้กันไปเลยว่าใครบ้างที่คิดร้ายซ้ำเติมผู้คนที่กำลังเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมได้ลงคอ
เพราะมีกระแสว่าการทุจริตครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับเรื่องฐานเสียงของนักการเมือง เพื่อหวังผลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้าด้วย
ถ้าหวังผลแพ้ชนะในการเลือกตั้ง จนทำได้แม้แต่การซ้ำเติมความทุกข์ของผู้อื่นเช่นนี้ ต้องประจานให้เข็ด
คนหน้าเนื้อใจเสือพวกนี้... ปล่อยไว้ไม่ได้!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
เชื่อหรือไม่เชื่อ ก็ต้องเชื่อ ว่ายังมีมนุษย์ประเภทที่ฉกฉวยโอกาสบนความเดือดร้อนของผู้อื่น อยู่ในบ้านนี้เมืองนี้
มนุษย์พันธุ์หน้าเนื้อใจเสือ???
มนุษย์พันธุ์ปากปราศรัย น้ำใจเชือดคอ???
ทั้งๆที่อุทกภัยน้ำท่วมใหญ่ในรอบนี้ ถือเป็นอีกครั้งของอุทกภัยครั้งใหญ่ในเมืองไทย เพราะมีพื้นที่จังหวัดที่ได้รับความเดือดร้อนมากกว่า 33 จัหวัด และมีประชาชนผู้ที่ได้รับผลกระทบมากกว่า 2.5 – 2.8 ล้านคนแล้ว
ที่สำคัญยอดผู้เสียชีวิตนั้นพุ่งขึ้นไปถึง 94 ราย เกือบจะแตะร้อยรายเข้าไปแล้ว!!!
โดยนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงสาธารณสุข ให้ข้อมูลว่า เฉพาะในวันที่ 28 ต.ค. มีผู้ป่วยมารับบริการ 49,195 ราย ยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 20-28 ต.ค. รวม 9 วัน พบผู้เจ็บป่วย 229,398 ราย โรคที่พบมากอันดับ 1 คือ น้ำกัดเท้า 110,111 ราย ที่เหลือเป็นไข้หวัดปวดเมื่อยร่างกาย และพบผู้ที่มีอาการเครียดนอนไม่หลับ ใจสั่น วิตกกังวล ร้อยละ 12 หรือประมาณ 25,233 คน
สำหรับผู้เสียชีวิตตั้งแต่วันที่ 20-28 ต.ค. มีผู้เสียชีวิตรวม 94 ราย 20 จังหวัด มากที่สุดที่จังหวัดนครราชสีมา 18 ราย รองลงมาคือนครสวรรค์ 12 ราย ลพบุรี 11 ราย พระนครศรีอยุธยา 7 ราย บุรีรัมย์ 6 ราย ซึ่งในวันที่ 28 มีเสียชีวิตเพิ่ม 26 ราย คือที่นครราชสีมา 9 ราย นครสวรรค์ 1 ราย พระนครศรีอยุธยา 6 ราย นนทบุรี 2 ราย สุพรรณบุรี 4 ราย กำแพงเพชร 1 ราย และปทุมธานี 3 ราย ส่วนใหญ่จมน้ำเพราะลื่นพลัดตกน้ำ
เป็นความเดือดร้อนสาหัส แต่กลับมีกลิ่นตุๆยิ่งกว่ากลิ่นน้ำท่วมขัง เพราะเป็นกลิ่นของขบวนการเหลือบน้ำท่วม!!!
แม้ว่าตอนนี้อาจจะยังจับไม่ได้คาหนังคาเขา แต่หากดูพฤติกรรมย้อนหลัง ซึ่งคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) ได้มีการออกมาเปิดเผยถึงผลการตรวจสอบการติดตามงบประมาณและสุ่มตรวจ 280 โครงการทั่วประเทศในโครงการป้องกันบรรเทาอุทกภัย ปีงบประมาณ 2552
พบว่ากว่าร้อยละ 88 ที่พบความผิดปกติ หรือจัดซื้อจัดจ้างไม่เป็นไปตามระเบียบราชการ
ทำให้มีแนวโน้มว่าวิกฤตการณ์น้ำท่วมในปีนี้ ที่มีการเบปจ่ายงบประมาณในลักษณะเดียวกัน อาจเป็นโอกาสให้นักการเมืองและข้าราชการเข้ามาหาประโยชน์ได้อีก
เป็นเรื่องที่น่าคิดว่า ทำไม ป.ป.ท. ออกมาพูดในจังหวะนี้ ในจังหวะที่กำลังเกิดภาวะน้ำท่วมครั้งใหญ่พอดี หากไม่ใช่ต้องการออกมากระแอมกระไอให้รู้ว่า มีคนรู้ทันนะ อย่าฉวยโอกาสกอบโกยกันนักเลย
ซึ่งปรากฏว่า นายไพบูลย์ นิติตะวัน ส.ว.สรรหา ในฐานะรองประธาน กมธ.กิจการองค์กรตามรัฐธรรมนูญและติดตามการบริหารงบประมาณ วุฒิสภา ก็ได้มีการออกมาขานรับทาง ป.ป.ท. ว่าการตรวจสอบการใช้งบประมาณของรัฐบาลในช่วงที่ผ่านมาของปีนี้ แม้จะยังไม่พบว่ามีการทุจริตเกี่ยวกับการใช้งบประมาณช่วยเหลือประชาชน แต่เรื่องแบบนี้โดยส่วนตัวเชื่อว่ามีโอกาสเกิดขึ้นได้หากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ได้ตรวจสอบ ทั้งนี้ตน
ดังนั้นจึงขอเรียกร้องให้นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีให้ความสำคัญในประเด็นทุจริตน้ำท่วม และนำตัวผู้กระทำผิดมาลงโทษตามกฎหมายให้ได้
“การจัดซื้อจัดจ้างต่างๆจำเป็นต้องกระบวนการตรวจสอบสิ่งของ แม้จะเป็นการจัดซื้อด้วยวิธีพิเศษหรือโครงการมีความเร่งด่วนก็ตาม ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความโปร่งใสถูกต้อง ไม่เช่นนั้นการช่วยเหลือของรัฐบาลจะซ้ำรอยปลากระป๋องเน่าได้ และนักการเมืองอย่าหาผลประโยชน์บนความทุกข์ของประชาชน”นายไพบูลย์ กล่าว
ขณะที่ นายรักพงษ์ ณ อุบล ส.ว.หนองบัวลำภู ในฐานะเลขานุการคณะ กมธ. กล่าวว่า งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัยปัจจุบันพบว่าผู้ว่าราชการจังหวัดและสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กระทรวงมหาดไทย สามารถเบิกใช้งบประมาณได้ทันที ซึ่งการเบิกจ่ายเพื่อช่วยเหลือประชาชนนั้นมองว่ายากที่จะตรวจสอบได้ ดังนั้นเพื่อความโปร่งใสควรนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาเปิดเผยให้สาธารณชนรับรู้ ส่วนเรื่องทุจริตโครงการต่างๆของรัฐที่เกี่ยวกับภัยพิบัติ ขณะนี้ทาง กมธ.ยังไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนเข้ามาให้ตรวจสอบ
ส่วน นายตุ่น จินตะเวช ส.ส.อุบลราชธานี พรรคชาติไทยพัฒนา ในฐานะกรรมาธิการ (กมธ.) ติดตามงบประมาณการบริหารงบประมาณ สภาผู้แทนราษฎร เปิดเผยว่า เรื่องดังกล่าวเกิดมาจากความไม่โปร่งใสของการใช้งบประมาณที่นำไปใช้จ่าย โดยรัฐบาลได้กำหนดงบประมาณให้ 2 หน่วยงานใช้งบประมาณ คือ ส่วนของผู้ว่าราชการจังหวัดที่สามารถใช้งบฉุกเฉินได้เลยไม่จำเป็นต้องขออนุญาตจากหน่วยงานต้นสังกัด
และส่วนของสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ซึ่งที่ผ่านมาไม่เคยมีการตรวจสอบเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด
นายอำพล วงศ์ศิริ รักษาการเลขาธิการสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตในภาครัฐ (ป.ป.ท.) เปิดเผยว่า นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค รัฐมนตรีว่าการ กระทรวงยุติธรรม ได้มอบหมายให้สำนักงาน ป.ป.ท.ตั้งศูนย์ปฏิบัติการพิเศษ พร้อมจัดชุดเฉพาะกิจเคลื่อนที่เร็ว 5 ชุด ตรวจสอบการใช้งบภัยพิบัติของทุกจังหวัดที่ประสพภาวะน้ำท่วมในขณะนี้ โดยเฉพาะในจังหวัดที่ใช้งบแก้ไขปัญหาดังกล่าวจำนวน 50-100 ล้านบาท ว่าได้ใช้จ่ายถูกต้องตามระเบียบหรือไม่
โดยในการทำงานของชุดเคลื่อนที่เร็วจะลงพื้นที่ตรวจสอบในทางลับทันทีหากได้รับการร้องเรียน
ที่สำคัญจะมีหนังสือไปถึงผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ให้แจ้งรายละเอียดการใช้งบภัยพิบัติทำโครงการช่วยเหลือประชาชนที่จังหวัดได้รับปีละ 50 ล้านบาท ให้สำนักงาน ป.ป.ท.รับทราบ
และขอให้ทุกจังหวัดติดประกาศรายละเอียดการใช้งบภัยพิบัติไว้ที่ศาลากลางจังหวัด เพื่อให้ประชาชนหรือสื่อมวลชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบการใช้งบประมาณ
รวมทั้งได้ให้เจ้าหน้าที่ ป.ป.ท.ทั้ง 4 ภาค เร่งประชาสัมพันธุ์ผ่านวิทยุแห่งประเทศไทย ให้ประชาชนแจ้งเบาะแสการใช้งบภัยพิบัติที่ผิดปรกติทั้งการก่อสร้างถนน สะพาน แหล่งน้ำ ฟื้นฟูพื้นที่การเกษตร หรือโครงการต่างๆ ในชุมชน ให้ ป.ป.ท.เข้าไปสอบสวนดำเนินคดีหากไม่โปร่งใส
นายอำพลระบุว่าป.ป.ท.จะเปิดโอกาสให้ประชาชนเข้าร่วมตรวจสอบในลักษณะคู่ขนานไปด้วย เพื่อให้เกิดความโปร่งใสในการใช้งบประมาณ เนื่องจากที่ผ่านมาเม็ดเงินงบประมาณถึงมือประชาชนไม่ถึงร้อยละ 10 โดยแนวทางการตรวจสอบจะใช้ฐานข้อมูลเดิม ซึ่ง ป.ป.ท.พบว่าบางจังหวัดมีการทุจริตงบประมาณเกินความเสียหายที่เกิดขึ้นจริง
โดยในวันที่ 1 พ.ย. จะเรียกประชุมเจ้าหน้าที่ชุดปฏิบัติการพิเศษเพื่อทำความเข้าใจกันก่อนลงพื้นที่ปฏิบัติการในพื้นที่จริงด้วย
“เบื้องต้นเราได้รับการร้องเรียนจากชาวบ้านในพื้นที่จังหวัดสระบุรี ว่า มีนายก อบต.บางแห่ง กักตุนของบริจาคไว้เฉพาะกลุ่มหัวคะแนนของตัวเองทำให้ชาวบานเดือดร้อน เตรียมจะส่งเจ้าหน้าที่ไปตรวจสอบข้อเท็จจริงต่อไป ส่วนความคืบหน้าการดำเนินคดีกับนายอำเภอที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งบภัยพิบัติปี 52 ไม่ถูกต้องในหลายพื้นที่ ได้ทยอยส่งสำนวนให้ ป.ป.ช.ตั้งอนุกรรมการไต่สวนข้อเท็จจริงตามกฎหมายแล้ว” รักษาการ ป.ป.ท. กล่าว
นายสาทิตย์ วงศ์หนองเตย รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการอำนวยการกำกับติดตามการช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย (คชอ.) กล่าวถึงการดูแลงบที่อาจจะรั่วไหลว่า ในแต่ละเงินงบประมาณที่จ่ายลงไปจะมีระบบไปกำกับดูแล เช่น เงินกองทุนบริจาคเราจะใช้เว็บไซต์ ทั้งไทยพลัส พีเอ็ม และสำนักนายกฯ แจ้งให้ทราบ ทั้งตัวเลขเงินเข้าออก
ส่วนตัวเลขที่เกี่ยวกับเงินงบประมาณด้านอื่น เช่น 5 พัน จะใช้หลักฐานสำเนาทะเบียนบ้าน ตรงนี้จะควบคุมได้ง่าย หากเป็นบ้านเช่าจะมีทะเบียนที่ชัดเจน
ส่วนงบที่อนุมัติให้ซื้อของไปนั้น รายละเอียดจะมีการอนุมัติไปสองส่วนที่สำคัญ คือ กรมการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย (ปภ.) 70 ล้าน กับ 238 ล้านตอนหลัง และทุกรายการจะมีกรมบัญชีกลางและสำนักงบกำกับดูแล ขณะเดียวกันในที่ประชุม คชอ.จะมีภาคประชาสังคมที่มากำกับอยู่ด้วย
สำหรับงบกลางในการจัดซื้ออุปกรณ์จำเป็นให้ผู้ประสบอุทกภัย ในส่วนของเงินบริจาค 70 ล้านบาท ทางรัฐบาลได้ดำเนินการจัดเตรียมสุขาลอยน้ำ โดยปล่อยเป็นคาราวาน ส่วนงบประมาณอีก 238 ล้านบาท และเพิ่ม 106 ล้านบาท ให้ดำเนินการช่วยเหลือประชาชน ซึ่งสิ่งที่ประชาชนร้องขอมากที่สุดยังเป็นสุขา ก็พยายามจัดให้อย่างเพียงพอ
สำหรับงบประมาณที่รัฐบาลเตรียมเสนอเข้าที่ประชุม ครม.เพื่ออนุมัติการช่วยเหลือผู้ประสบภัยที่มีวงเงินประมาณ 3,000 ล้านบาท ขณะที่การตรวจสอบทุจริตงบภัยพิบัติของ ป.ป.ท.ก่อนหน้านี้มีสรุปผลสอบการใช้งบภัยพิบัติประจำปีงบประมาณ 2552 พบว่าในการสุ่มตรวจสอบโครงการทั้งสิ้น 373 โครงการ มีโครงการที่ส่อใช้งบทุจริตมากถึง 274 โครงการ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายกว่า 50 ล้านบาท โดยภาคตะวันออกเฉียงเหนือจากการสุ่มตรวจสอบ 163 โครงการใน 6 จังหวัด พบว่าทุจริตโครงการมีการใช้งบที่ผิดปกติ
ส่วนโรคระบาดหลังน้ำท่วมยังไม่มีการระบาดเกิดขึ้น
ขณะที่ความเคลื่อนไหวของพรรคฝ่ายค้าน นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์ โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวภายหลังการประชุม ส.ส.พรรค เรื่องปัญหาน้ำท่วมในจังหวัดนครราชสีมาและพื้นที่แถบภาคกลาง ว่า มติที่ประชุมได้มอบหมายให้ ส.ส.ในพื้นที่ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลและตั้งคณะทำงาน ลงพื้นที่ตรวจสอบเรื่องนี้ และจะมีการประสานกับภาครัฐบางส่วนด้วย ขณะที่ประชาชนผู้เดือดร้อนจากเหตุน้ำท่วม สามารถร้องเรียนมายังพรรคทางโทรศัพท์หรือเว็บไซต์ของพรรคเพื่อไทยได้
โดยนายปลอดประสพ สุรัสวดี รองหัวหน้าพรรคเพื่อไทย จะเป็นผู้ประสานกับทุกฝ่ายในเรื่องดังกล่าว ซึ่งกรรมการบริหารพรรค และ ส.ส. จะลงพื้นที่ตรวจสอบในส่วนของจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พื้นที่ภาคกลาง จังหวัดสระบุรี และที่ได้รับผลกระทบน้ำท่วมอย่างกว้างขวางอย่างจังหวัดนครราชสีมา
น.อ.อนุดิษฐ์ นาครทรรพ ส.ส.กทม.ในฐานะผู้อำนวยการสำนักงานปราบโกง (สปก. 4-01) แถลงว่า พรรคได้มีการประชุมกรรมการบริหารพรรคและส.ส.ของพรรค โดยมีมติให้ส.ส.ของพรรคที่เป็นประธาน และรองประธานสภาฯทุกคณะ คณะติดตามและตรวจสอบรัฐบาล(คตร.) และสำนักงานปราบโกงเตรียมความพร้อมเพื่อดำเนินการบูรณาการข้อมูลเพื่อเตรียมเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่นอย่างเป็นระบบ เพื่อยุติการกู้มาโกง และการโกงชาติโกงแผ่นดิน โดยพรรคได้ย้ำมติให้เป็นนโยบายวาระเร่งด่วนที่สำคัญอย่างยิ่งของพรรค และได้รีบดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
โดยคาดว่าพรรคเพื่อไทยจะสามารถเปิดโปงการทุจริตคอรัปชั่น การประพฤติมิชอบ และการบริหารราชการแผ่นดินที่บกพร่องผิดพลาดได้ ประมาณกลางพฤศจิกายน
สำหรับรูปแบบการนำเสนอนั้นจะจัดเป็นนิทรรศการและเดินสายชี้แจงกับประชาชน รวมทั้งจะนำข้อมูลการทุจริตของรัฐบาลบันทึกเป็นซีดีและสมุดปกดำ เพื่อแจกจ่ายทั่วประเทศ ทั้งนี้ได้มอบหมายให้ฝ่ากฎหมายเป็นผู้รับผิดชอบในการดำเนินการเพื่อเอาผิดกับนักการเมืองที่เกี่ยวข้องในการทุจริตมาลงโทษตามอาญาแผ่นดินให้ได้
นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ยืนยันเดินหน้าสางทุจริตทุกหน่วยงาน และยืนยันว่าไม่มีแนวคิดที่จะกู้เงินเพื่อช่วยเหลือฟื้นฟู
“และได้สั่งการให้ทุกกระทรวงไปพิจารณาปรับลดงบประมาณ เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินการช่วยเหลือฟื้นฟูแล้ว เพื่อไม่ให้เป็นภาระกับงบกลางมากจนเกินไป ซึ่งเรื่องดังกล่าวจะนำเข้าสู่การพิจารณาในการประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจ ในวันจันทร์ที่ 1 พฤศจิกายนนี้”
ปัญหาก็คือจริงๆแล้ว กรณีทุจริตน้ำท่วมครั้งนี้ นายอภิสิทธิ์ ไม่ควรจะแค่ตั้งกรรมการสอบสวนหาข้อเท็จจริง แต่ควรจะต้องทำความจริงให้ปรากฏ เมื่อปรากฏผลสอบออกมาอย่างไรได้ความอย่างไร ควรนำผลสอบสวนนั้นมาชี้แจงกับประชาชนได้รู้ และเพื่อเป็นการประจานให้รู้กันไปเลยว่าใครบ้างที่คิดร้ายซ้ำเติมผู้คนที่กำลังเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมได้ลงคอ
เพราะมีกระแสว่าการทุจริตครั้งนี้ เกี่ยวข้องกับเรื่องฐานเสียงของนักการเมือง เพื่อหวังผลต่อคะแนนเสียงในการเลือกตั้งครั้งหน้าด้วย
ถ้าหวังผลแพ้ชนะในการเลือกตั้ง จนทำได้แม้แต่การซ้ำเติมความทุกข์ของผู้อื่นเช่นนี้ ต้องประจานให้เข็ด
คนหน้าเนื้อใจเสือพวกนี้... ปล่อยไว้ไม่ได้!!!
ที่มา.บางกอกทูเดย์
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น