หลังการรัฐประหาร 49 เป็นต้นมา อดีตนายกรัฐมนตรี ทักษิณ ชินวัตร ได้กลายเป็นผู้ลี้ภัยคดีทางการเมือง ตลอด4 ปีต้องร่อนเร่พเนจรไปตามประเทศต่างๆตั้งแต่อังกฤษ ดูไบ ฮ่องกง กัมพูชา มอนเตเนโกร หรือแม้แต่ในแอฟริกาหลายประเทศ จนล่าสุดก็มีอีกประเทศหนึ่งที่ถูกเผยขึ้นมาโดยนิตยสาร Foreign Policy ซึ่งอยู่ในเครือวอชิงตันโพสต์ (Washington Post) ได้ออกบทความ ”อดีตผู้นำที่เลว” (Bad Exes) เขียนโดย Joshua E.Keating ได้ออกมาระบุว่าอดีตนายกทักษิณได้เข้าไปพำนักในเยอรมันนับปีโดยใช้ชื่ออื่น
จากการตรวจสอบของ SIU พบว่าการเข้าไปพำนักในประเทศเยอรมันของอดีตนายกทักษิณได้เข้าไปตั้งแต่เมื่อวันที่ 29 ธันวาคม 2008 ซึงเป็นช่วงต้นรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ที่เวลานั้นซึ่งยังไม่มีนโยบายการไล่ล่าอดีตนายก โดยการใช้ เชงเก้นวีซ่า (Schengen visa) ที่ออกจากประเทศฝรั่งเศส ซึ่งวีซ่าประเภทนี้สามารถเดินทางเข้าและออกประเทศในสหภาพยุโรปได้ 15 ประเทศในยุโรปที่เป็นสมาชิกสหภาพยุโรปได้แก่ประเทศ เยอรมัน ฝรั่งเศส อิตาลี สเปน สวีเดน เนเธอร์แลนด์ กรีซ ลักเซมเบิร์ก ไอซ์แลนด์ เป็นต้น โดยพำนักได้ตั้งแต่ 90 วัน ถึง 6 เดือน2
ทั้งนี้ จากการให้สัมภาษณ์ของเอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย ฯพณฯ ฮาน ชูมัคเกอร์ (Hanns Schumacher) เมื่อวันที่ 11 ตุลาคมแก่สำนักข่าวรอยเตอร์ว่า ได้สอบถามหน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นในกรุงบอนน์ (Bonn) ซึ่งเป็นผู้อนุมัติการให้พำนักในกรุงบอนน์ ประเทศเยอรมันแก่อดีตนายกทักษิณ และได้มีการตอบกลับมาพบว่าทางรัฐบาลท้องถิ่นในกรุงบอนน์ (Bonn) ได้อนุมัติการเข้ามาพำนักให้แก่พตท.ทักษิณจริงตั้งแต่ปลายปี 2008 แล้ว โดยใช้ที่อยู่ของทนายชาวเยอรมันที่มีชื่อเสียงคนหนึ่ง ได้ถูกรัฐบาลกลางของเยอรมันได้กดดันอย่างหนักจนในที่สุด พตท. ทักษิณก็ได้ออกจากเยอรมันเมื่อ 28 พฤษภาคม ปี 2009
ทางเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นในกรุงบอนน์ออกมากล่าวว่า ในช่วงเวลาดังกล่าว3 ชื่อของอดีตนายกทักษิณไม่ได้อยู่ในรายชื่อผู้ต้องห้ามในการเข้ามายังประเทศเยอรมันแต่อย่างใด คาดว่าทางอดีตนายกทักษิณได้ให้ทนายความชาวเยอรมันยื่นเอกสารต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง ที่พำนักในเยอรมัน จำนวนเงินที่จะนำเข้ามาใช้ในประเทศ ตลอดจนใบรับรองจากหน่วยงานด้านยุติธรรมในเยอรมันว่าไม่มีประวัติอาชญากรรม จนทำให้สามารถเข้าไปพำนักในประเทศเยอรมันได้ซึ่งไม่น่าเกิน 6 เดือนตามรูปแบบของเชงเก้นวีซ่า (Schengen visa)
โดยระบบของการห้ามเข้าประเทศของผู้มีรายชื่อต้องห้ามนั้น รายชื่อผู้ที่ถูกห้ามเข้าประเทศเยอรมันจะต้องอยู่ในระบบฐานข้อมูลคนเข้าเมืองของกระทรวงการต่างประเทศโดยเจ้าหน้าที่กระทรวงการต่างประเทศต้องเป็นผู้กรอกลงในฐานข้อมูล ซึ่งย่อมเป็นคนละส่วนกับผู้ที่อนุมัติให้เข้ามาพำนักซึ่งเป็นส่วนของรัฐบาลท้องถิ่น เนื่องจากว่าประเทศเยอรมันได้แบ่งการปกครองออกเป็นมณฑลมีรัฐบาลท้องถิ่นเป็นของตนเองซึ่งมีอำนาจอนุมัติในระดับหนึ่งโดยไม่ต้องผ่านรัฐบาลกลาง และยิ่งใช้เชงเก้นวีซ่า (Schengen visa) ที่ออกจากประเทศฝรั่งเศสด้วยแล้วประกอบกับหลักฐานที่มีความน่าเชื่อถือ ย่อมไม่ยากที่จะผ่านการอนุมัติให้เข้ามาพำนักในกรุงบอนน์ได้
แต่ล่าสุดจากการให้สัมภาษณ์ของ ฯพณฯ ฮาน ชูมัคเกอร์ (Hanns Schumacher) แก่สำนักข่าวรอยเตอร์ได้บอกว่า ทางการเยอรมันได้แจ้งแก่ทนายที่ได้ให้ที่พำนักแก่อดีตนายกทักษิณจะถูกถอดใบอนุญาตและอาจมีความผิดกฎหมายถ้ายังให้อดีตนายกฯ พำนักอยู่ต่อไปและอาจถึงขั้นติดคุกก็เป็นได้
Germany Revokes Residence Permit for Thaksinการเข้าไปพำนักในประเทศต่างๆ ของอดีตนายกทักษิณโดยเฉพาะประเทศตะวันตก ต้องเผชิญกับแรงกดดันจากรัฐบาลของประเทศต่างๆ ตั้งแต่ไปอยู่ในประเทศอังกฤษในช่วงแรกๆ ก็ถูกรัฐบาลอังกฤษกดดันและถอดวีซ่าในการเข้าอังกฤษออกไป หลังจากเคลื่อนไหวทางการเมืองในเวลานั้น หรือช่วงที่ไปอยู่ในดูไบและมีการเคลื่อนไหวทางการเมืองที่รุนแรงมากๆ ก็ถูกรัฐบาลของดูไบสั่งห้ามเคลื่อนไหวทางการเมือง ในรูปการนี้การเดินทางไปประเทศตะวันตกที่เป็นประชาธิปไตยเข้มข้นของอดีตนายกทักษิณกลับเป็นไปด้วยความลำบากพอสมควร ต้องเดินทางไปยังประเทศเกิดใหม่หลายประเทศแทนซึ่งยังไม่มีความสัมพันธ์ในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนมายังประเทศไทย หรือเข้าไปพำนักในประเทศที่มีความสัมพันธ์ในเจ้าหน้าที่หรือนักการเมืองระดับสูงในรัฐบาลนั้นๆ เช่น ในรัสเซีย มอนเตเนโกร หรือบรูไน เป็นต้น
Germany revokes residence permit for Thaksin
Thailand's former prime minister, Thaksin Shinawatra, is no longer welcome in Germany. A
bureaucratic blunder had allowed him to reside legally in Bonn for half a year, despite his name
being on a blacklist.
Former Thai Prime Minister Thaksin Shinawatra spent six months almost unnoticed in the former German
capital Bonn.
Though declared a persona non grata, Thaksin managed to enter Germany on December 29, 2008 using
a Schengen visa issued in France. It allows a person to travel through much of the European Union on a
single visa.
Bonn authorities then issued the residence permit for Thaksin, who used his German lawyer's address.
Federal officials only learned about it in April and ordered it revoked.
"We asked Bonn to revoke the permit and they responded immediately," Hanns Schumacher, Germany's
ambassador to Thailand, told Reuters on Wednesday.
Bonn authorities said Thaksin's name had not been on a list of people barred from Germany and he had
presented all the necessary documents. This included a certificate from a German federal justice agency
saying he had no criminal record. He had also proved he had adequate funds to live and a valid passport.
Officials said the absence of his name from the list of barred persons was the result of a data-entry
oversight by staff of the German foreign ministry.
"We informed the lawyer that the permit was revoked and should Thaksin still be in Germany, his stay
would be illegal and he would face detention," Schumacher said.
Options are waning
The former telecoms tycoon, who led Thailand for close to six years, was ousted from Thailand in a
military coup in 2006. He was convicted in absentia of corruption and has fled a two-year jail term at
home.
Germany is the latest country to shun the former leader, who continues to roam the globe with a variety
of passports and elude Thai authorities who say they are trying to extradite him. Britain revoked his visa
last year.
Bangkok has sought extradition agreements with the United Arab Emirates and Hong Kong, where
Thaksin has spent time since fleeing the country while on bail. His current whereabouts are unknown.
The German newspaper Sueddeutsche Zeitung said the former leader was now traveling on a
Nicaraguan diplomatic passport. A Thai foreign ministry official said Thaksin would be arrested if he
returned to Thailand. His Thai passport has been revoked.
sac/Reuters/AP/dpa
จากการที่บทความของนายโจชัว คีตติ้งได้เขียนถึงอดีตนายกทักษิณล่าสุด โดยเฉพาะเรื่องการเข้าไปพำนักในเยอรมันและถูกห้ามเข้าไปพำนักในเยอรมันนั้นต้องถือว่าเป็นเกมส์ที่เหนือเกินการคาดเดายิ่งนัก เพราะเรื่องดังกล่าวเป็นเรื่องตั้งแต่ปลายปี 2008 จนถึงช่วงกลางปี 2009 ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นข่าวที่เงียบมากในเวลานั้น เพราะทุกคนหันไปให้ความสนใจเรื่องเสื้อแดงในเวลานั้นเป็นหลัก แต่กลับถูกออกมาเปิดเผยอีกครั้งและท่าทีตอบกลับของทักษิณในครั้งนี้กลับนิ่มนวลเป็นอย่างมาก ไม่มีการฟ้องร้องผู้ใด เพียงแต่จะเขียนจดหมายชี้แจงไปยังสำนักพิมพ์และผู้ขียนบทความเท่านั้น ไม่มีการออกมาตอบผ่านทางทวิตเตอร์เหมือนอย่างครั้งก่อนๆแต่อย่างใด
และเมื่อดูการเคลื่อนไหวของทางอดีตนายกทักษิณในเวลานี้กลับเงียบเชียบเป็นอย่างยิ่ง ไม่มีการออกมาปรากฎตัวแต่อย่างใดแม้แต่ใน twitter ก็ตามที ประกอบกับการที่ นาย นพดล ปัทมะ กล้าออกมายื่นข้อเสนอเงินถึง 1 ล้านบาท ถ้าใครหาหลักฐานมาได้ ยิ่งเป็นที่น่าสงสัยเป็นอย่างยิ่งว่าเกมส์ต่อรองในครั้งนี้ จะไปจบลงที่ตรงไหนกันแน่และใครจะได้เงิน 1 ล้านนี้ไป ผู้ที่อยากได้เงินล้าน อาจต้องหาหลักฐานมายืนยันให้ชัดแจ้ง เพื่อตอบปัญหาข้อสงสัยต่างๆที่ผุดขึ้นมาในเวลานี้
- เข้าไปดูบทความอื่นของ Joshua E. Keating ได้ใน http://blog.foreignpolicy.com/jkeating [↩]
- สามารถเข้าไปดูรายละเอียดการสมัครSchengen visaได้ใน http://www.schengenvisa.cc/ [↩]
- เมื่อปี 2008 ซึ่งเป็นช่วงยื่นเข้าไปพำนักในเยอรมัน เป็นช่วงเปลี่ยนรัฐบาลจากรัฐบาลนายสมชายมาเป็นรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในช่วงนั้นยังไม่มีการไล่ล่าอดีตนายกทักษิณ [↩]
ที่มา Siam Intelligence Unit
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น