--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัฐสวัสดิการเฉลี่ยความเป็นธรรม

ลดเหลื่อมล้ำ

“หน้ากระดานเรียงหนึ่ง กดปุ่มอภิวัฒน์ประเทศ” ฉบับส่งท้ายเดือนตุลาคม ขอนำเสนอมุมมอง “บุญส่ง ชเลธร” ในฐานะผู้เชี่ยวชาญด้านรัฐสวัสดิการ และอดีตผู้นำนักศึกษายุค 14 ตุลาฯ หรือ “13 ขบถรัฐธรรมนูญ” ที่ถูกจับในข้อหาคอมมิวนิสต์ และปลุกปั่นต่อต้านรัฐบาลในขณะนั้น เป็นเหตุให้ต้อง เดินทางไปพำนักพักพิงในประเทศสวีเดนถึง 30 กว่าปี ก่อนจะเดินทางกลับสู่ประเทศไทย

โดยอดีตผู้นำนักศึกษายุค 14 ตุลาฯ ได้อรรถาธิบาย ถึงมิติ ทางการเมืองอันเกี่ยวเนื่อง กับพัฒนาการ และการเคลื่อนไหวภาคประชาชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน รวมไปถึงแนวทางรัฐสวัสดิการหรือสวัสดิการ สังคม ที่กำลังเป็นเงื่อนไขใหม่ที่รัฐบาลประกาศใช้เป็นกุญแจ สำคัญในการลดความเหลื่อมล้ำ ในสังคม

>> พัฒนาการในการเคลื่อนไหวภาคประชาชนจากอดีตสู่ปัจจุบัน

“การชุมนุมการเคลื่อนไหวของภาคประชาชนในอดีต อย่างเช่นเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 16 หรือ 6 ตุลาคม 19 ผู้เข้าร่วมชุมนุมทั้งนิสิตนักศึกษาและ ประชาชนจะไม่สลับซับซ้อน ประชาชนจะเคลื่อนอย่างเป็นเอกภาพในการต่อสู้กับเผด็จการรัฐบาลทหาร และที่สำคัญ จะเป็นไปโดยสันติวิธี แต่ในปัจจุบัน การเคลื่อนไหวค่อนข้างมีความสลับซับซ้อนสูง ส่งผลให้ประชาชนไร้เอกภาพ มีตัวแปรเข้ามาเกี่ยวข้องมาก อันเกี่ยวข้องไปถึงนักการเมือง ที่ต้องการครองอำนาจ รวมไป ถึงองค์กรอิสระ หรือแม้กระทั่ง บทบาทข้าราชการ ปัจจัยเหล่า นี้ ทำให้การชุมนุมเป็นไปโดยปราศจากสันติวิธี และมีแนวโน้มเป็นได้สูงว่า อาจจะถูก ล้อมปราบ ตอนนี้โลกมันเปลี่ยน ไปเยอะ สมัยก่อนเราต่อสู้กับเผด็จการทหาร ต่างกับปัจจุบัน ที่นักการเมืองมีอำนาจมาก ข้าราชการก็หันไปรับใช้นัก การเมืองมากกว่าที่จะทำหน้าที่ ของตัวเอง ความซับซ้อนในการต่อสู้จึงมีสูงมาก”

>> แนวทางแก้ไขเพื่อพัฒนาจิตสำนึกการชุมนุม

“ตรงนี้ขอยกตัวอย่างใน ประเทศสวีเดน กรอบกฎหมาย เกี่ยวกับเรื่องการชุมนุมของเขาแข็งแกร่งมาก เขาจะมีการ กำหนดที่ชัดเจนลงไปถึงแผน การชุมนุม ต้องแจ้งกับเจ้าหน้าที่รัฐให้ชัดเจนไปเลยว่า จะชุมนุม ที่ไหน ใช้ระยะเวลาเท่าไหร่ สถานที่แบบไหนไม่ควรก้าวข้าม รั้วเข้าไป จะมีการต่อรองกันได้ ระหว่างภาครัฐและเอกชน มีความเป็นระเบียบมากกว่าบ้าน เรามากนักเพราะประชาชนเขาเห็นแก่ส่วนรวมเป็นหลัก การประท้วงจึงไม่ทำให้สังคมเดือดร้อน คือประชาชนของเขามีสำนึกต่อสังคมสูง จึงไม่มี ปัญหาที่นำไปสู่ความรุนแรง ในส่วนประเทศไทยตอนนี้ ผมเห็น ว่าควรต้องมีการแก้ไขกฎหมายให้ชัดเจนถึงขอบข่ายการชุมนุม และบังคับใช้อย่างเป็นธรรม”

>> แนวทางปรองดองเพื่อลดความขัดแย้งที่กำลังดำเนิน ณ ปัจจุบัน

“การปรองดองที่พูด กันอยู่ในปัจจุบันนี้ มีลักษณะ ที่ไม่มีความเป็นรูปธรรม เพราะหากคิดจะปรองดองกันจริงๆ จะต้องทำกันอย่าง มีแบบแผน มีหลักการ ไม่ใช่แค่การเดินสายไปพูดคุย กันในวงแคบๆ เพราะหากถือธงปรองดองไปคุยกับคน นั้นคนนี้ เขาก็ยินดีปรองดอง กันทุกคนอยู่แล้ว แต่ก็ไม่มีสักคนเลยที่จะมานั่งพูดคุยถึงเรื่องแบบแผนและหลักการที่จะเดินแผนปรองดองไปข้างหน้า”

>> ข้อบริภาษเรื่อง 2 มาตรฐานจะมีผลต่อแผน ปรองดองหรือไม่

“อันที่จริง หากจะมอง ถึงมาตรฐานในสังคมไทยที่มักจะถูกกล่าวอ้างว่ามี 2 มาตรฐาน ผมเห็นว่าเรื่องแบบนี้มีมานานแล้วในสังคม บ้านเรา แต่หากจะพูดกันให้ถูกต้องจริงๆ คือ มันไม่เคยมีมาตรฐานใดเลย เพราะการตัดสินใจว่าอะไรคือ มาตรฐานอยู่ที่ผู้มีอำนาจ เด็ดขาดเท่านั้น ผู้รักษากฎหมายเองก็ไม่ได้ทำงานตาม หน้าที่ เพราะยังมีการแบ่งฝักแบ่งฝ่ายปล่อยให้เกียร์ว่าง ซึ่งเรื่องแบบนี้ควรแก้ที่นักการเมืองมากกว่า”

>> แนวคิดรัฐบาลเกี่ยวกับรัฐสวัสดิการที่จะใช้ลดความเหลื่อมล้ำ

“ก่อนอื่นต้องระบุก่อนว่า คุณอภิสิทธิ์ (เวชชาชีวะ) จะใช้แนวทางสวัสดิการสังคม แต่ผมมองว่า สวัสดิการสังคมหรือรัฐสวัสดิการ ตามเงื่อนไขและความหมายนั้น มันเหมือนกัน คราวนี้เราต้องรู้จักกับคำว่า รัฐสวัสดิการก่อน ว่าอะไรคือรัฐสวัสดิการ ที่ทำได้ และอะไรที่ต้องทำ สังคมไทยเป็นสังคมที่มีความเหลื่อมล้ำกันมากการมีรัฐสวัสดิการก็เพื่อเป็นการเฉลี่ยความเป็นธรรม ในสังคมเพื่อแก้ปัญหาในสังคมที่เกิดขึ้น ณ ขณะนี้”

“สำหรับการดำเนินงานในเรื่องนี้ ของรัฐบาลปัจจุบัน ต้องยอมรับว่าทำไปได้ หลายเรื่องแล้วแต่ยังขาดความเป็นเอกภาพในการทำงาน เพราะแต่ละกระทรวง ต่างคนต่างทำ ไม่มีการประสานงานที่เหมาะสม ที่สำคัญในเรื่องของความจริงใจ รัฐบาลเองก็ไม่ได้มีชัดเจนว่า เป็นแค่การหาเสียงหรือต้องการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนที่แท้จริง”

“ในส่วนที่ผมเป็นห่วงคือการที่ รัฐบาลทำให้รัฐสวัสดิการเป็นของฟรี จะทำ ให้สังคมเข้าใจผิดว่าเป็นเรื่องสามานย์ อย่างเช่น น้ำ ไฟฟรี หรือรถเมล์ฟรีเป็นเรื่องที่อันตรายมาก เพราะจะเกิดความเข้าใจผิด ในเรื่องของรัฐสวัสดิการ และจะเสียนิสัยใน ที่สุดเพราะอะไรๆ ก็ฟรีไปหมด เพราะฉะนั้น ควรจะมีการแบ่งเจ้าภาพให้ชัดเจนว่างานนี้รัฐเป็นผู้จัดสรรให้ได้ เรื่องแบบนี้ผู้รับบริการต้องดูแลเองหรือแม้แต่นายจ้างก็ต้องมีส่วนร่วม ซึ่งการจะทำรัฐสวัสดิการต้องทำให้มีแบบแผน มีระบบไม่ทำงานแบบทับซ้อนรัฐบาลต้องกำหนดนโยบายให้ ชัดเจน”

>> มุมมองเกี่ยวกับสวัสดิการด้านการศึกษาที่เป็นปัจจัยหลักในการพัฒนา องค์ความรู้ประชาชน

“สำหรับเรื่องการศึกษาเรื่องนี้เป็นสิ่งที่ควรส่งเสริมเป็นอย่างมาก ในสหภาพ ยุโรปหลายต่อหลายประเทศสนับสนุนเรื่อง นี้มากในบางประเทศถึงกับเปิดโอกาสให้เรียนฟรีจนจบดอกเตอร์ แต่สำหรับบ้าน เราเปิดโอกาสให้เรียนฟรี 15 ปี แม้จะถือ ว่าไม่น้อย แต่ก็น่าจะมีการยกระดับให้สูงขึ้น เพื่อเปิดโอกาสทางการศึกษาให้มีความหลากหลายและกว้างขวางขึ้นไปกว่านี้”

“อย่างไรก็ดี สิ่งสำคัญที่สุด ที่รัฐบาล ควรให้ความสนใจ คือเรื่องของคุณภาพการศึกษา รัฐบาลต้องมีการพัฒนาให้มีมาตรฐาน เท่ากันทั้งในกรุงเทพฯและต่างจังหวัด เพื่อลดการหลั่งไหลของนักเรียนที่เดินทางเข้า มาแออัดในเมืองหลวง หรือแม้แต่ในกรุงเทพฯ เอง ก็ยังมีค่านิยมการแย่งกันเข้าเรียนในโรงเรียนดีๆ ไม่กี่แห่ง ซึ่งปัญหาก็มาจากมาตรฐานการศึกษาที่เหลื่อมล้ำกัน นั่นเอง”

>> ข้อห่วงใยเรื่องงบประมาณสนับสนุนการทำรัฐสวัสดิการ

“ในด้านของงบประมาณในการดำเนินงานรัฐสวัสดิการแน่นอนว่าจำเป็นต้องมาจากเงินภาษีอากร ซึ่งในเบื้องต้นอาจยังไม่จำเป็นนัก แต่ในอนาคตก็เป็นเรื่องที่จำเป็นแน่นอน ปัญหาอยู่ที่ว่าทำอย่างไรให้ประชาชนเต็มใจที่จะยอมจ่ายภาษี ในต่างประเทศโดยเฉพาะประเทศที่มีความเป็นรัฐสวัสดิการอย่างเต็มรูปแบบ เขามีการเก็บภาษีกันสูงมากถึง 50% หรืออาจถึง 80% แต่ที่เขาจ่ายเพราะเชื่อมั่น ว่าเงินที่จ่ายไปจะต้องได้รับการคืนกลับมา ในรูปของสวัสดิการสังคม”

“ต่างจากบ้านเราที่ยังขาดความน่า เชื่อถือในเรื่องนี้มาก ปัญหาการคอร์รัปชั่น เป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้คนไม่อยากที่จะ ยอมเสียภาษี เพราะไม่เชื่อในเรื่องกลไก รัฐว่า เงินที่จ่ายไปจะกลับคืนมาสู่สังคม แต่หากเรามีการจัดระบบการเก็บภาษีที่รัดกุม ป้องกันการรั่วไหลของรายได้รัฐ และ ปราบปรามการทุจริตคอร์รัปชั่นโดยเฉพาะ กับนักการเมืองได้อย่างเด็ดขาด ก็จะสามารถ เรียกศรัทธาจากประชาชนได้ และเขาจะยอมเสียภาษีในที่สุด เพราะเชื่อแน่ว่าเงินเหล่านั้นไม่ได้ตกหายไปไหน แต่จะกลับมา ในรูปแบบของรัฐสวัสดิการ อีกส่วนหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญ คือต้องมีการพัฒนา คนในชุมชนให้มีความเข้มแข็ง เพราะเงื่อนไขตรงนี้ จะเป็นรากฐานสำคัญของ รัฐสวัสดิการ อย่างไรก็ดี หากนักการเมือง ไม่เลิกโกงกินไม่รู้จักหน้าที่ชาติก็ล่ม รัฐสวัสดิการก็ไม่เกิด”

นั่นคือมุมมองอันแหลมคมของ “บุญส่ง ชเลธร” อดีตผู้นำนักศึกษายุค 14 ตุลาฯ อันเกี่ยวเนื่องกับการเคลื่อนไหวของภาคประชาชน ซึ่งทับซ้อนไปถึงข้อพิพาทเรื่องเลื่อมล้ำ 2 มาตรฐาน และทอดยอดไปถึงแนวทางรัฐสวัสดิการ ที่ ณ ปัจจุบันนี้ ได้กลายเป็นคนละเรื่องเดียวกัน ที่รัฐบาลภายใต้การนำของ “นายกฯ อภิสิทธิ์ เวชาชีวะ” ต้องขบให้ แตก เพื่อประโยชน์สุขและความสมานฉันท์ ในสังคมไทย

ที่มา.สยามธุรกิจ
************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น