--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันเสาร์ที่ 30 ตุลาคม พ.ศ. 2553

ศอฉ. ศาลอาญาโลก และความรับผิด



ในช่วงระยะเวลาอันสั้น คณะกรรมการโอเวลเลี่ยน (กลุ่มเผด็จการอำนาจนิยม) ของศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) ได้ชี้แจงการกระทำของตนเองด้วยเหตุผลที่แปลกประหลาด นอกจากจะคุมขังนักกิจกรรม นักข่าว และนักวิชาการแล้ว ศอฉ. ยังประกาศว่าแม่ค้าขายรองเท้าแตะที่มีลายพิมพ์หน้าคล้ายนายกรัฐมนตรีเป็นภัยต่อความมั่นคงภายในประเทศ

ดังนั้น จึงไม่มีมีใครคาดหวังว่าจะได้ยินอธิบายอย่างมีความรับผิดชอบและน่าเชื่อถือจากศอฉ. ในกรณีของการยื่นรายงานเบื้องต้นเพื่อแจ้งต่ออัยการศาลอาญาระหว่างประเทศ (ICC) ถึงเหตุการณ์การสลายการชุมนุมและการปฏิบัติต่อผู้ชุมนุม ซึ่งอาจเป็นการกระทำที่เข้าข่ายอาชญากรรมต่อมนุษยชาติ อย่างไรก็ตาม คำอธิบายของศอฉ.อาจจะทำให้กลุ่มคนที่ชอบวิพากษ์วิจารณ์รู้สึกประหลาดใจมากขึ้น

ในวันที่ 27 ตุลาคม พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า  “ที่ประชุมยังไม่มีการรายงานเรื่องนี้เข้ามา ขณะเดียวกันผมก็ไม่ชัดเจนในข้อกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นที่รับรู้กันว่าอะไรเกิดขึ้น ไม่ใช่ทหารเราไปไล่ฆ่าประชาชน แต่เกิดจากการชุมนุมที่เกินขอบเขตกฎหมาย

นอกจากนี้พันเอกสรรเสริญยังกล่าวว่า “ศาลในประเทศไทยก็วินิจฉัยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลความมั่นคงมีอำนาจระงับยับยั้งเหตุการณ์ เพราะได้มีความพยายามต่อรองและได้ดำเนินการอย่างถึงที่สุดด้วยความรอบคอบ (สำหรับการดำเนินการสลายการชุมนุม) การดำเนินการของเจ้าหน้าที่จึงต้องทำด้วยหลักสากล มีการชี้แจงผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และผ่านสื่อ รวมทั้งไม่ปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน”

ตามมาด้วยคำชี้แจงของสมาชิกรัฐบาลอย่างนายเทพไท เสนพงศ์ “เหตุการณ์ดังกล่าวต่างจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา ซึ่งอยู่ในการตัดสินของศาลโลก แต่เหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศไทย เป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศ และรัฐบาลไม่ได้มีเจตนาไปเข่นฆ่าประชาชน เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติกฎหมายรับรอง จึงคิดว่าไม่สามารถนำไปฟ้องดำเนินคดีต่อศาลโลกได้”
หากพิจารณาคำอธิบายของศอฉ.และชี้แจงเหล่านี้ จะพบว่ามีความโดดเด่นอย่างมาก เพราะแนวความคิดของศอฉ. (ซึ่งเราสามารถตีความได้โดยทั่วไปว่าเป็นความคิดของกลุ่มอำมาตย์) แสดงให้เห็นว่ายังคงมี

ความพยายามที่จะปฏิเสธว่าทหารและตำรวจไม่ได้สังหารผู้ชุมนุม จุดยืนของศอฉ. แสดงให้เห็นถึงพยายามชี้นำสังคมในทางที่ผิดเท่าที่จะสามารถจินตนาการได้ ซึ่งขัดต่อหลักฐานที่ถูกเผยแพร่อย่างแพร่หลายในที่สาธารณะ และความพยายามนี้ช่วยอธิบายว่าเหตุใด รัฐบาลจึงปฏิเสธโอกาสในการเข้าถึงหลักฐานทางนิติเวชและพยายามที่จะปกปิดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการกระทำของรัฐบาลทีเราเลือกออกมาจากยุทธศาสตร์สร้างความยุ่งยากในการตรวจสอบเหตุการณ์ของรัฐบาลไทย ซึ่งแสดงในเห็นถึงความพยายามปฏิเสธการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม นั้นคือการที่ศาลปฏิเสธคำร้องผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 19 คน ในวันที่ 27 สิงหาคม โดยเป็นคำร้องที่ขอดำเนินการชันสูตรศพทั้ง 9ศพที่ถูกสังหารหมู่ ด้วยผู้เชี่ยวชาญของผู้ถูกกล่าวหา

แม้รัฐบาลจะทำการชันสูตรศพดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลไม่เคยเปิดเผยผลการชันสูตรแก่ผู้ถูกกล่าวหา นอกจากนี้ ครอบครัวของผู้เสียชีวิตไม่ได้ดำเนินพิธีการเผาศพ เพื่อต้องการเก็บรักษาหลักฐาน ด้วยความหวังที่ว่า ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในที่สุด การปฏิเสธคำร้องดังกล่าวของศาลละเมิดต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามไว้ ICCPR บัญญัติว่า ผู้ถูกกล่าวหาทางอาญามีสิทธิเข้าถึงหลักฐานเช่นเดียวกับกับรัฐบาล เหตุผลเดียวที่ศาลใช้ปฏิเสธคือ อัยการเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจในการร้องขอชันสูตร

เหตุใดจึงพยายามปกปิดผลการชันสูตร? วัตถุประสงค์หนึ่งในการชันสูตรคือ การตรวจสอบทิศทางกระสุน ชนิดกระสุน และระยะทาง เพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียชีวิตเหล่านี้ถูกมือปืนซุ่มยิงทหาร หรือถูกยิงจากระดับพื้นดินโดยบุคคลอื่นตามที่รัฐบาลอ้าง และนี่คือประเด็นที่เจ้าหน้ารัฐล้มเหลวในการชันสูตรพลิกศพ การที่รัฐบาลปฏิเสธคำร้องของผู้ถูกกล่าวหา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามทำลายหลักฐานสำคัญที่จะระบุว่ามือปืนซุ่มยิงทหารได้สังหารประชาชน เพราะเมื่อการชันสูตรเสร็จสิ้นลง ศพเหล่านั้นจะถูกนำไปประกอบพิธีวางเพลิงศพ

และยังเป็นที่น่าสังเกตว่า รัฐบาลได้จับกุมแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้าย ก่อนที่จะมีการสอบสวนข้อเท็จจริง หากมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาของรัฐบาลที่ว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงในการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง รัฐบาลควรจะสอบสวนและระบุตัวบุคคลดังกล่าวให้แน่ชัด ก่อนที่จะจับกุมแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้าย เพราะบุคคลเหล่านั้นเพียงแค่ใช้สิทธิตามกฎหมาย และยังเป็นสิทธิที่รับรองใน ICCPR ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเท่านั้น

ข้อสังเกตอีกประการหนึ่งคือ แกนนำเสื้อแดงถูกปฏิเสธสิทธิในการเข้ารับฟังการพิจารณาคดีของตนเอง ในวันที่ 27 สิงหาคม แกนนำเสื้อแดงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับฟังการแจ้งข้อหาอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งชี้แจ้งและแก้ต่างข้อหาเหล่านั้น นอกจากนี้ ศาลยังได้กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตในเข้าฟังการพิจารณาคดีครั้งต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดบทบัญญัติใน ICCPR ที่ประกันความยุติธรรมในการพิจารณาคดี เพราะการกีดกันไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสที่จะสื่อสารกับทนายของคนเองในประเด็นที่เกี่ยวกับ ข้อหา/ข้อเท็จจริง/ข้อกล่าวหา และยังส่งผลต่อความสามารถในการตระเตรียมข้อแก้ต่างให้กับตนเองอีกด้วย เหตุผลที่พวกเขาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาคดีคือ ห้องพิจารณามีขนาดคับแคบเกินไป อันแสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของรัฐบาลนี้ในการจัดการกับคดีดังกล่าว (มีที่นั่ง 3 ที่นั่ง สำหรับทนายทั้ง 19 คน ในการพิจารณาคดีวันที่ 27 สิงหาคม) ครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหายังถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีเช่นกัน ในขณะที่คำร้องขอให้พิจารณาคดีในห้องพิจารณาคดีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นถูกปฏิเสธ

หากยังมีคำถามอยู่อีกว่า เหตุใดรัฐบาลจึงต้องลงทุนและพยายามอย่างมากที่จะกีดกันไม่ให้การดำเนินคดีที่แท้จริงเกิดขึ้น อันเป็นการทำลายกระบวนการปรองดองสมานฉันท์ ทั้งนี้เพราะรัฐบาลกลัวคำตอบจากผลการการชันสูตรศพของเหยื่อหลายรายจากผู้เชี่ยวชาญอิสระ ดูเหมือนว่ากลุ่มอำมาตย์ทหารที่ควบคุมประเทศอยู่ในเวลานี้จะฝากความหวังไว้กับการพยายามปฏิเสธครั้งแล้วครั้งเล่าว่าการสังหารเหล่านี้ไม่เคยเกิดขึ้น

เมื่อพิจารณาจุดยืนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในคดีนี้จะพบว่า แทนที่จะแสดงข้อมูลที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตน รัฐบาลกลับพยายามอย่างมากที่จะปัดความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ข้อเท็จจริงคือ มีฝ่ายหนึ่งที่สนใจให้มีการนำเสนอข้อมูล หลักฐาน การสอบสวนและดำเนินคดีอย่างเปิดเผย และอีกฝ่ายที่กล่าวตนเองเท่านั้นที่มีสิทธิขาดในการพิจารณาตรวจสอบคดี โดยสรุป เรายินดีที่จะพิสูจน์หลักฐานที่ระบุว่ารัฐบาลกระทำความผิดจริงอย่างเปิดเผยในศาลยุติธรรม

จนถึงทุกวันนี้ พันเอกสรรเสริญ นายเทพไท และนายอภิสิทธิ์ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ไม่ได้แสดงความมั่นใจต่อจุดยืนของตนเอง แต่กลับพยายามแสดงพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความผิดของตนเอง

ที่มา:ประเทศไทย Robert Amsterdam

******************************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น