--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันอังคารที่ 6 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

จับ..ชีพจรประเทศ หลังศึกเลือกตั้งซ่อม

ค่อนข้างฮือฮาพอสมควร สำหรับการวิพากษ์วิจารณ์การเมืองไทยอย่าง ตรงไปตรงมา “ฐิตินันท์ พงษ์สุทธิรักษ์” อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่สะท้อนแง่มุมผ่านเวทีราชดำเนินเสวนา โครงการร่วมปฏิรูปประเทศไทย ครั้งที่ 8 หัวข้อ “แนวโน้มสถานะประชาธิปไตยไทย ท่ามกลางความขัดแย้ง” ซึ่งจัดขึ้นโดยความร่วมมือของ สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย กับสถาบันอิศรา มูลนิธิพัฒนาสื่อมวลชน แห่งประเทศไทย

> ประชาธิปไตยไทยถึงทางตัน

อันมีเนื้อหาใจความพาดพิงไปถึง รัฐบาล ศอฉ. และคนเสื้อแดง ซึ่งถือเป็นคู่ขัดแย้งสำคัญที่นำพา ประเทศมาสู่จุดวังเวง ถอดความอย่างกระชับจาก มุมมองของอาจารย์ท่านนี้ตลอดกว่า 1 ชั่วโมง สรุปได้ว่า

“ขณะนี้ประชาธิปไตยกำลังถึงทางตัน จาก 1 ปี หลังสงกรานต์เลือด แสดงให้เห็นว่า มีการล้มเหลว การใช้สมานฉันท์ ไม่สามารถ เกิดการสมานฉันท์ได้ และหากเลือกตั้งจะไม่ สามารถเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จากกลไกมาตรการต่างๆ ที่เกิดขึ้น ศอฉ. จะยังคงอยู่ ต่อไป นอกจากนั้น ยังเกิดประชาธิปไตยไทย มีความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่มากขึ้น ซึ่งแม้ไม่ใช่รัฐประหารแต่ถ้ามีการอิงกันไปด้วยดี ระหว่างรัฐบาลกับทหาร จะเป็นปรากฏการณ์ ความเป็นเผด็จการพันธุ์ใหม่ เป็นเผด็จการพลเรือน เลื่อนขั้น”

“ส่วนการแก้ไขนั้นควรที่จะต้องปล่อยนักการเมืองที่ถูกห้ามเล่นการเมืองเข้ามา ไม่เช่นนั้นกลุ่มเสื้อแดงจะไม่มีทางเลือกใหม่ มีเพียงนักการเมืองกลุ่มเก่า สนามการเลือกตั้งก็ไม่เข้มข้นสิ่งที่น่าเป็น ห่วง จะเกิดสภาวการณ์จะเป็นไข่กับไก่มากขึ้น เหตุการณ์จะคงอยู่ต่อไป เป็นภาวะงูกินหาง ศอฉ.จะกลายเป็นอำนาจนิยม ไม่เลิกโดยง่าย แม้กระทั่งกองทัพที่เข้ามาจะไม่ถอย และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินจะยังขยายไปเรื่อย ซึ่งความเป็นจริงนั้น ไม่ควรจะมี พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เพราะไปละเมิดความเป็นพลเมืองของประเทศไทย และสร้างเป็นความรู้สึกที่ไม่ดี ในความรู้สึกของความเป็นประชาธิปไตยที่แท้จริง”

> กลไกเลือกตั้งใหญ่เกิดยาก

“ประชาธิปไตยไทยถึงทางตัน สังเกตได้ว่าทางตันไม่ต้องการเข้าสู่การเลือกตั้งเร็ว คิดว่ารัฐบาลอภิสิทธิ์อาจอยู่เกือบครบเทอม เพราะผู้สนับสนุนของ รัฐบาลไม่ต้องการให้เลือกตั้ง เร็วๆ นี่คือเหตุผลหนึ่งที่ไม่สามารถทำให้ปรองดองกันได้ อย่างไรก็ตาม ยังมองว่า ถ้าตัว ต่อตัว ประชาธิปัตย์กับเพื่อไทยยังสูสี ดีไม่ดีอาจแพ้ เพราะเป็นพรรคร่วม เลือกตั้งเป็นทีม พรรคเพื่อไทยกึ่งโดดเดี่ยว อาจชนะได้ นี่คือแผนที่ปฏิบัติอยู่ พยายามจะผลักดันงบประมาณออกมา มีการเยียวยา อัดฉีด มีการเด็ดหัว สูบเลือดท่อน้ำเลี้ยงออก กดแกนนำ กวาดล้างฮาร์ดคอร์บ้าง ขู่บ้าง หวังว่าขบวนการเสื้อแดงอ่อนกำลัง ลง ดีไม่ดีหากมีการเยียวยา เพียงพอ คิดว่าจะทำให้เลือกตั้งเร็วไม่ได้ เขาจะต้องใช้เวลาให้มาก ที่สุด”

จับจากนัยที่ ส่งสัญญาณออกมาจากนักวิชาการท่านนี้ ล้วนบ่งบอกถึงแผน ที่ทางการเมือง ซึ่งยากที่ประ เทศไทยจะคลำทางไปสู่ประชาธิปไตยอันมาจากการเลือกตั้งได้โดยง่าย กระนั้นก็ตาม แม้บ้านเมืองนี้ ยังไม่สามารถปักหมุดการคืนอำนาจให้กับประชาชนอย่างชัดเจน

กลับปรากฏหลักกิโลเมตรแรกแห่ง เทศกาลเข้าคูหา พลันที่ “ทิวา เงินยวง” ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเสียชีวิตลง ในช่วงหลังการกระชับพื้นที่ราชประสงค์ เพียงไม่กี่วัน กระทั่ง นำไปสู่สมรภูมิยกที่ 3 ระหว่าง ฝ่ายรัฐบาลกับคนเสื้อแดง ก่อนจะนำมาซึ่งปรากฎการณ์สำคัญเชิงสัญลักษณ์

พลันที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายอย่าง “ก่อแก้ว พิกุลทอง” แกนนำ นปช. ลงชิงชัยในเก้าอี้ที่ว่างกับ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ที่เผอิญเกิดขึ้นใกล้เคียงกับสถานการณ์ร้อนทางการเมือง

“ทิวา เงินยวง” ส.ส.กทม. พรรคประชาธิปัตย์ ต้องเสียชีวิตลง ในช่วงหลังการกระชับพื้นที่ราชประสงค์เพียงไม่กี่วัน กระทั่งนำไปสู่สมรภูมิยกที่ 3 ระหว่าง ฝ่ายรัฐบาลกับคนเสื้อแดง ก่อนจะนำมาซึ่ง ปรากฏการณ์สำคัญเชิงสัญลักษณ์

พลันที่พรรคเพื่อไทยตัดสินใจส่งผู้ต้องหาคดีก่อการร้ายอย่าง “ก่อแก้ว พิกุลทอง” แกนนำ นปช. ลงชิงชัยในเก้าอี้ ที่ว่างกับ “พนิช วิกิตเศรษฐ์” ผู้สมัครจาก พรรคประชาธิปัตย์ ที่เผอิญเกิดขึ้นใกล้เคียงกับสถานการณ์ร้อนทางการเมือง อาทิ เหตุการบึ้มพรรคภูมิใจไทย รวมไปถึงการยิงถล่มคลังน้ำมัน ที่มีผ้ายันต์ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ แปะไว้อย่างอุกอาจ นักวิเคราะห์ทางการเมือง จึงเห็นไปในทิศทาง เดียวกันว่า การเลือกตั้งซ่อมเขต 6 คลองสามวา กทม. จะถือเป็นจุดหักเหทางการเมืองครั้งสำคัญอีกจุดหนึ่ง

ศึกวัดโมเมนตัมคะแนนนิยม

อย่างไรก็ตาม “อัษฎางค์ ปาณิกบุตร” นักวิชาการอิสระ ได้วิเคราะห์สถานการณ์ประเทศหลังการเลือกตั้งซ่อม ไว้อย่างน่าสนใจยิ่ง

“ผมมองว่า ไม่ว่าใครจะชนะการเลือกตั้งในครั้งนี้ ก็ไม่น่ามีอะไรส่งผลต่อทิศทางของประเทศไทย เพราะเป็นแค่การ เลือกตั้งเสียงเดียว ย่อมไม่ส่งผลใดๆ แต่อย่างไรก็ตาม การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการพิสูจน์ว่า ฝ่ายที่ได้เปรียบทุกด้าน ไม่ว่าจะ เป็นการถืออำนาจรัฐในมือ เป็นฐานเสียงเก่า มีเครือข่ายค่อนข้างมาก และสามารถ หาเสียงได้โดยไม่ต้องหวั่น พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ จะสามารถชนะฝ่ายที่เสียเปรียบทุกด้านได้หรือไม่”

“หากเป็นฝ่ายพ่ายแพ้ หรือชนะ แบบไม่ขาดลอย ก็จะเป็นเครื่องชี้อะไร หลายประเด็น โดยเฉพาะเรื่องฐานเสียงที่ควรได้ แต่กลับไปเทให้ฝ่ายตรง ข้าม ซึ่งแสดงให้เห็นว่าคนในพื้นที่มอง ว่า ที่ผ่านมารัฐบาลดำเนินนโยบายและการบริหารราชการแผ่นดินผิดพลาด และเป็นสิ่งที่พรรคเพื่อไทยควรใช้ข้อนี้ในการหาเสียง ดีกว่าใช้ประเด็นหลัก หาเสียงโดยอิงเรื่องการสลายการชุมนุมหรือสองมาตรฐาน เพราะอาจไปเข้าข่ายผิด พ.ร.ก.ฉุกเฉิน และจะทำให้ได้เสียงชนชั้นกลางเพิ่มมากขึ้น”

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นแค่เสียง เดียว ไม่อาจเป็นตัวชี้วัดหรือเปลี่ยนแปลงอะไรได้ แต่สามารถบอกอะไรได้ หลายอย่างเพื่อให้สานต่ออะไรหลายๆ อย่างได้ ภาพจะสะท้อนออกมาอย่างชัดเจนว่าคนในพื้นที่นี้ ส่วนใหญ่อยู่ฝ่ายใด หากเพื่อไทยแพ้ขาดลอย ก็ต้องไปดูว่าตัวเองตกต่ำหรือไม่ ซึ่งครั้งนี้เป็นการชี้วัดคะแนนนิยมคนเสื้อแดงส่วนหนึ่ง เพราะเขตนั้นเป็นเขตที่มีคนมีฐานะดีค่อนข้างน้อย ส่วนจะลงคะแนนให้คนเสื้อแดงหรือไม่อย่างไร ก็อีกเรื่องหนึ่ง”

> แค่แผนนักการเมือง หาความชอบธรรม

ในขณะเดียวกัน “สมคิด เลิศไพฑูรย์” รองอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ก็มองไปในทิศทางเดียวกันกับ “อัษฎางค์ ปาณิกบุตร” นอกจาก

“การเลือกตั้งครั้งนี้ไม่น่ามีผลอะไรไม่ว่าใครเป็นฝ่ายชนะ แต่จะเป็นการพิสูจน์ ว่า คนในพื้นที่นั้น ชอบใครมากกว่ากันระหว่างประชาธิปัตย์ซึ่งเป็นรัฐบาลกับ เพื่อไทย ซึ่งเปรียบเสมือนตัวแทนคนเสื้อแดง ถ้าดูการเลือกตั้งที่ผ่านมา ทั้งสองพรรคต่างมีฐานเสียงใน กทม.ในพื้นที่แตกต่างกันออกไป เพราะฉะนั้น การเลือกตั้งครั้งนี้จะไม่มีผลอะไรต่อความเคลื่อนไหว ใดๆ ทางการเมือง”

“อย่างไรก็ตาม ครั้งนี้ทั้งสองฝ่ายพยายามพิสูจน์ว่าถ้าเพื่อไทยชนะ การปราบปรามที่ผ่านมาก็เหมือนกับการทำบกพร่องผิดพลาด แต่หากประชาธิปัตย์ชนะ ก็จะพิสูจน์ว่าสิ่งที่ทำมาทั้งหมดถูกต้อง แล้ว ทั้งสองฝ่ายต่างต้องการพิสูจน์แบบนี้ ในขณะที่คนก็พูดไปในทำนองนี้ แต่ผลมันไม่ได้มีผลกระทบอะไรเลย ส่วนเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็จะยกเว้นในบางพื้นที่ให้หา เสียงได้ แต่ก็จะมีเงื่อนไขบางอย่าง เช่น อาจต้องหาเสียงในลักษณะไม่กระทบต่อฝ่ายตรงข้ามหรืออื่นๆ ซึ่งกรอบกว้างมาก”

> คดียุบพรรคจุดเปลี่ยนการเมืองไทย

สุดท้าย “สมบัติ ธำรงธัญญวงศ์” อธิการบดี สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหาร ศาสตร์ (นิด้า) ได้แสดงมุมมองในกรณีเดียวกันไว้ได้น่าสนใจไม่แพ้กัน

“การเลือกตั้งครั้งนี้เป็นการเลือกคน เดียว ผลกระทบหรืออะไรจึงค่อนข้างน้อย แต่ประเด็นที่จะส่งผลกระทบมากกว่าเรื่อง การเลือกตั้งครั้งนี้คือคดียุบพรรค ซึ่งหาก มีการยุบพรรคขึ้นมา ประชาธิปัตย์ก็จะได้ รับผลกระทบมาก จนไม่สามารถบริหารประเทศต่อไปได้ ถึงแม้จะมีการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ แต่ก็จะกระทบกับเสถียรภาพของรัฐบาลอยู่ดี”

“ไม่ว่าจะพรรคไหนได้รับการเลือกตั้งในครั้งนี้ ก็จะไม่มีผลกระทบโดยตรงต่อประเทศ หากประชาธิปัตย์ได้ก็ถือเป็นเรื่องปกติ เพราะกระแสในกรุงเทพฯ และด้วยความเป็นรัฐบาลย่อมได้เปรียบอยู่แล้ว ซึ่งก็จะทำให้ประชาธิปัตย์มีความเชื่อมั่นมากขึ้น และเป็นประ โยชน์ต่อการเลือกตั้งในครั้งต่อไป แต่หากเพื่อไทยได้ ในแง่ขวัญกำลังใจก็จะเพิ่มขึ้น ส่งผลให้มีกำลังใจในการ เตรียมตัวเลือกตั้งครั้งใหม่ดีขึ้น เพราะมีฐานเสียงในภาคเหนือและอีสานอยู่แล้ว หากได้พื้นที่ในกรุงเทพฯ ด้วยก็จะเป็นผลดีต่อพรรคในอนาคต นอก จากนี้ยังจะแสดงให้เห็นว่า แม้จะถูกกล่าวหาว่ามีส่วนสนับสนุนในการก่อการร้ายที่ผ่านมา แต่ประชาชนก็ยังสนับสนุนอยู่”

> สมานฉันท์สร้างอนาคตประเทศ

“อย่างไรก็ตาม แม้การเลือกตั้ง ส.ข.ที่ผ่านมา ประชาธิปัตย์จะชนะการ เลือกตั้งแบบขาดลอยในเกือบทุกเขต แต่ต้องไม่ลืมว่าการเลือกตั้งในระดับท้องถิ่นกับระดับชาติมันต่างกัน ส่วนเรื่อง พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่น่าจะกระทบกับการเลือกตั้ง เนื่องจากทางรัฐบาลก็มีความ มั่นใจเช่นนี้ ประกอบกับในภาคใต้ที่มีการประกาศ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ก็สามารถ เลือกตั้งผ่านมาได้ทุกครั้ง เพราะฉะนั้น อาจมีการใช้กรณีภาคใต้เป็นต้นแบบในการเลือกตั้งครั้งนี้”

นอกจากนี้ อธิการบดีนิด้า ยังกล่าวทิ้งท้ายไว้อย่างมีข้อคิดว่า “ในยามที่บ้านเมืองเป็นแบบนี้ เราต้องไม่เป็นเครื่องมือของกลุ่มการเมืองใดๆ พี่น้องประชาชนควรสนับสนุนแนวทางที่สร้างความสมานสามัคคีมากกว่าความเป็นเอกภาพเท่านั้น จึงจะทำให้ประเทศมีอนาคต”

ที่มา.สยามธุรกิจ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น