--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันจันทร์ที่ 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ศาลโลกนำเรื่องเข้าพิจารณาการ" สังหารหมู่ที่ราชประสงค์ "ในวาระพิเศษวาระแรกแล้ว

 



ลางร้ายสำหรับรัฐบาลไทย 

วันนี้ ดูเหมือนว่าความดิ้นรนพยายามสร้าง “กระบวนการปรองดองสมานฉันท์” ของนายอภิสิทธิ์ดูจะท่าจะไม่เป็นผล เพราะ ICG องค์กรนิรโทษกรรมสากล และ Human Rights Watch ได้ถอนตัวจากการมีส่วนร่วมกับกระบวนการสมานฉันท์จอมปลอมในศรีลังกา และได้ยังเผยแพร่แถลงการณ์ตักเตือนว่า

“ICG องค์การนิรโทษกรรมสากล และ Human Rights Watch ได้ปฏิเสธคำเชิญของคณะกรรมการเรียนรู้จากบทเรียนและสร้างความสมานฉันท์ปรองดอง (LLRC) แห่งศรีลังกา รัฐบาลศรีลังกาได้ตั้งคณะกรรมการดังกล่าวเพื่อเป็นเครื่องมือในการสร้างความสมานฉันท์และนำความยุติธรรมกลับคืนสู่ประเทศหลังจากสงครามการเมืองที่ยาวนานระหว่างรัฐบาลและกลุ่ม the Liberation Tigers of Tamil Eelam (LTTE) แต่กระนั้นคณะกรรมการล้มเหลวปฏิบัติตามมาตรฐานเบื้องต้น และยังทำลายโครงสร้างพื้นฐานและหลักการปฏิบัติ ”


เป็นที่แน่ชัดว่า นายกอภิสิทธิ์เพิกเฉยต่อคำแนะนำนี้ และทำให้หลายคนคิดว่าแผนการดังกล่าวเป็นแค่กระบวนการสมานฉันท์จอมปลอมที่ใช้ปกปิดความจริง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงอันอำมหิตในเดือนเมษายนและพฤษภาคมซึ่งทำให้มีผู้เสียชีวิตกว่า 90ราย ได้รับการปูนบำเหน็จ ในขณะที่จำนวนคนเสื้อแดงที่ถูกปฏิบัติอย่างไร้ความเป็นธรรมและถูกกักขังเพิ่มมากขึ้น

 สิ่งสำคัญคือคณะกรรมการไม่มีความจำเป็นที่จะต้องสอบสวนถึงข้อกล่าวหาอันน่าเชื่อถือหลายข้อที่มีต่อหน่วยความมั่นคงและกลุ่ม LTTE ว่าทั้งสองกลุ่มกระทำความผิดอาชญากรรมสงคราม กระบวนการพิจารณารับฟังที่มีขึ้นสองเดือนที่แล้วจนกระทั่งวันนี้ สมาชิกคณะกรรมการหลายคนที่ได้เกษียณอายุราชการไปแล้วไม่ได้พยายามจะตั้งคำถามถึงเหตุการณ์ความรุนแรงที่เล่าโดยฝ่ายรัฐบาล และยังปล่อยให้สมาชิกคณะกรรมการใหม่เข้าใจผิดถึงข้อเท็จจริงดังกล่าว


ในวันที่ 27 ตุลาคม พันเอกสรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกศอฉ. ได้แถลงต่อสื่อมวลชนว่า  “ที่ประชุมยังไม่มีการรายงานเรื่องนี้เข้ามา ขณะเดียวกันผมก็ไม่ชัดเจนในข้อกฎหมายว่าทำได้หรือไม่ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นที่รับรู้กันว่าอะไรเกิดขึ้น ไม่ใช่ทหารเราไปไล่ฆ่าประชาชน แต่เกิดจากการชุมนุมที่เกินขอบเขตกฎหมาย”  นอกจากนี้พันเอกสรรเสริญยังกล่าวว่า “ศาลในประเทศไทยก็วินิจฉัยรัฐบาลเป็นผู้ดูแลความมั่นคงมีอำนาจระงับยับยั้งเหตุการณ์ เพราะได้มีความพยายามต่อรองและได้ดำเนินการอย่างถึงที่สุดด้วยความรอบคอบ (สำหรับการดำเนินการสลายการชุมนุม) การดำเนินการของเจ้าหน้าที่จึงต้องทำด้วยหลักสากล มีการชี้แจงผ่านวิทยุ โทรทัศน์ และผ่านสื่อ รวมทั้งไม่ปิดกั้นเสรีภาพของสื่อมวลชน”

ตามมาด้วยคำชี้แจงของสมาชิกรัฐบาลอย่างนายเทพไท เสนพงศ์ “เหตุการณ์ดังกล่าวต่างจากการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ของกัมพูชา ซึ่งอยู่ในการตัดสินของศาลโลก แต่เหตุการณ์ความวุ่นวายในประเทศไทย เป็นความวุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศ และรัฐบาลไม่ได้มีเจตนาไปเข่นฆ่าประชาชน เป็นเพียงการบังคับใช้กฎหมายที่มีบทบัญญัติกฎหมายรับรอง จึงคิดว่าไม่สามารถนำไปฟ้องดำเนินคดีต่อศาลโลกได้”

หากพิจารณาคำอธิบายของศอฉ.และชี้แจงเหล่านี้ จะพบว่ามีความโดดเด่นอย่างมาก เพราะแนวความคิดของศอฉ. (ซึ่งเราสามารถตีความได้โดยทั่วไปว่าเป็นความคิดของกลุ่มอำมาตย์) แสดงให้เห็นว่ายังคงมีความพยายามที่จะปฏิเสธว่าทหารและตำรวจไม่ได้สังหารผู้ชุมนุม จุดยืนของศอฉ. แสดงให้เห็นถึงพยายามชี้นำสังคมในทางที่ผิดเท่าที่จะสามารถจินตนาการได้ ซึ่งขัดต่อหลักฐานที่ถูกเผยแพร่อย่างแพร่หลายในที่สาธารณะ และความพยายามนี้ช่วยอธิบายว่าเหตุใด รัฐบาลจึงปฏิเสธโอกาสในการเข้าถึงหลักฐานทางนิติเวชและพยายามที่จะปกปิดข้อเท็จจริงและข้อมูลอื่นที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าว และนี่คือตัวอย่างหนึ่งของการกระทำของรัฐบาลทีเราเลือกออกมาจากยุทธศาสตร์สร้างความยุ่งยากในการตรวจสอบเหตุการณ์ของรัฐบาลไทย ซึ่งแสดงในเห็นถึงความพยายามปฏิเสธการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรม นั้นคือการที่ศาลปฏิเสธคำร้องผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 19 คน ในวันที่ 27 สิงหาคม โดยเป็นคำร้องที่ขอดำเนินการชันสูตรศพทั้ง 9ศพที่ถูกสังหารหมู่ ด้วยผู้เชี่ยวชาญของผู้ถูกกล่าวหา

แม้รัฐบาลจะทำการชันสูตรศพดังกล่าว แต่จนถึงปัจจุบันรัฐบาลไม่เคยเปิดเผยผลการชันสูตรแก่ผู้ถูกกล่าวหา นอกจากนี้ ครอบครัวของผู้เสียชีวิตไม่ได้ดำเนินพิธีการเผาศพ เพื่อต้องการเก็บรักษาหลักฐาน ด้วยความหวังที่ว่า ความยุติธรรมจะเกิดขึ้นในที่สุด การปฏิเสธคำร้องดังกล่าวของศาลละเมิดต่อสนธิสัญญาระหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเรือนและสิทธิทางการเมือง (ICCPR) ซึ่งประเทศไทยได้ลงนามไว้ ICCPR บัญญัติว่า ผู้ถูกกล่าวหาทางอาญามีสิทธิเข้าถึงหลักฐานเช่นเดียวกับกับรัฐบาล เหตุผลเดียวที่ศาลใช้ปฏิเสธคือ อัยการเป็นผู้เดียวที่มีอำนาจในการร้องขอชันสูตร

วัตถุประสงค์หนึ่งในการชันสูตรคือ การตรวจสอบทิศทางกระสุน ชนิดกระสุน และระยะทาง เพื่อพิสูจน์ว่าผู้เสียชีวิตเหล่านี้ถูกมือปืนซุ่มยิงทหาร หรือถูกยิงจากระดับพื้นดินโดยบุคคลอื่นตามที่รัฐบาลอ้าง และนี่คือประเด็นที่เจ้าหน้ารัฐล้มเหลวในการชันสูตรพลิกศพ การที่รัฐบาลปฏิเสธคำร้องของผู้ถูกกล่าวหา แสดงให้เห็นว่ารัฐบาลพยายามทำลายหลักฐานสำคัญที่จะระบุว่ามือปืนซุ่มยิงทหารได้สังหารประชาชน เพราะเมื่อการชันสูตรเสร็จสิ้นลง ศพเหล่านั้นจะถูกนำไปประกอบพิธีวางเพลิงศพ

เหตุใดจึงพยายามปกปิดผลการชันสูตร?

รัฐบาลได้จับกุมแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้าย ก่อนที่จะมีการสอบสวนข้อเท็จจริง หากมีข้อเท็จจริงที่จะพิสูจน์ข้อกล่าวหาของรัฐบาลที่ว่า มีกลุ่มหัวรุนแรงในการเคลื่อนไหวของคนเสื้อแดง รัฐบาลควรจะสอบสวนและระบุตัวบุคคลดังกล่าวให้แน่ชัด ก่อนที่จะกุมกุมแกนนำเสื้อแดงในข้อหาก่อการร้าย เพราะบุคคลเหล่านั้นเพียงแค่ใช้สิทธิตามกฎหมาย และยังเป็นสิทธิที่รับรองใน ICCPR ในการแสดงความคิดเห็นทางการเมืองเท่านั้น

* มาตรา ๘๑ รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านกฎหมายและการยุติธรรม ดังต่อไปนี้ (มีทั้งหมด ๕ ข้อ)  (๒) คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของบุคคลให้พ้นจากการล่วงละเมิด ทั้งโดยเจ้าหน้าที่ของรัฐและโดยบุคคลอื่น และต้องอำนวยความยุติธรรมแก่ประชาชนอย่างเท่าเทียมกัน* มาตรา ๘๒ รัฐต้องปฎิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี รวมทั้งตามพันธกรณีที่ได้กระทำไว้กับนานาประเทศและองค์การระหว่างประเทศ* มาตรา ๖ รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้  * มาตรา ๒๖ การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้     ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฎิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำผิด มิได้

* มาตรา ๔๐ บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม


แกนนำเสื้อแดงถูกปฏิเสธสิทธิในการเข้ารับฟังการพิจารณาคดีของตนเอง ในวันที่ 27 สิงหาคม แกนนำเสื้อแดงไม่ได้รับอนุญาตให้เข้ารับฟังการแจ้งข้อหาอย่างเป็นทางการ พร้อมทั้งชี้แจ้งและแก้ต่างข้อหาเหล่านั้น นอกจากนี้ ศาลยังได้กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตในเข้าฟังการพิจารณาคดีครั้งต่อไป ซึ่งการกระทำดังกล่าวเป็นการละเมิดบทบัญญัติใน ICCPR ที่ประกันความยุติธรรมในการพิจารณาคดี เพราะการกีดกันไม่ให้ผู้ถูกกล่าวหามีโอกาสที่จะสื่อสารกับทนายของคนเองในประเด็นที่เกี่ยวกับ ข้อหา/ข้อเท็จจริง/ข้อกล่าวหา และยังส่งผลต่อความสามารถในการตระเตรียมข้อแก้ต่างให้กับตนเองอีกด้วย เหตุผลที่พวกเขาถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าฟังการพิจารณาคดีคือ ห้องพิจารณามีขนาดคับแคบเกินไป อันแสดงให้เห็นถึงความไร้สาระของรัฐบาลนี้ในการจัดการกับคดีดังกล่าว (มีที่นั่ง 3 ที่นั่ง สำหรับทนายทั้ง 19 คน ในการพิจารณาคดีวันที่ 27 สิงหาคม) ครอบครัวของผู้ถูกกล่าวหายังถูกปฏิเสธไม่ให้เข้าร่วมรับฟังการพิจารณาคดีเช่นกัน ในขณะที่คำร้องขอให้พิจารณาคดีในห้องพิจารณาคดีที่มีขนาดใหญ่ขึ้นถูกปฏิเสธ

เมื่อพิจารณาจุดยืนของรัฐบาลอภิสิทธิ์ในคดีนี้จะพบว่า แทนที่จะแสดงข้อมูลที่สนับสนุนข้อกล่าวอ้างของตน รัฐบาลกลับพยายามอย่างมากที่จะปัดความรับผิดชอบต่อประชาคมโลก ข้อเท็จจริงคือ มีฝ่ายหนึ่งที่สนใจให้มีการนำเสนอข้อมูล หลักฐาน การสอบสวนและดำเนินคดีอย่างเปิดเผย และอีกฝ่ายที่กล่าวตนเองเท่านั้นที่มีสิทธิขาดในการพิจารณาตรวจสอบคดี โดยสรุป เรายินดีที่จะพิสูจน์หลักฐานที่ระบุว่ารัฐบาลกระทำความผิดจริงอย่างเปิดเผยในศาลยุติธรรม

จนถึงทุกวันนี้ พันเอกสรรเสริญ นายเทพไท และนายอภิสิทธิ์ รวมถึงบุคคลอื่นๆ ไม่ได้แสดงความมั่นใจต่อจุดยืนของตนเอง แต่กลับพยายามแสดงพฤติกรรมหลีกเลี่ยงความผิดของตนเอง

หลังเหตุการณ์ 19 พฤษภาคม ผ่านพ้นไปและดูท่าทีรัฐบาลอภิสิทธิยังกอดอำนาจแน่น จึงมีกลุ่มผู้รอบรู้ทางกฏหมายและการสืบสวนสอบสวน

ได้ ลงมือรวบรวมพยานหลักฐานอย่างละัเอียด เป็นขั้นเป็นตอน น่าเชื่อถือ เก็บพยานวัตถุ สอบปากคำพยานบุคคลที่รู้เห็นเหตุการณ์เป็นจำนวนมาก สอบกันแบบมืออาชีพ

สำคัญที่สุดผลการตรวจพิสูจน์ผู้เสียชีวิต เท่าที่สามารถรวบรวมได้ โดยผลการตรวจพิสูจน์ทางนิติเวช ยืนยันได้ว่า ส่วนใหญ่ผู้เสียชีวิตถูกกระสุนเข้าที่ศรีษะ

นั่นหมายความว่า คนตายจำนวนมากถูกยิงจากที่สูง ไม่ใช่ยิงในแนวระนาบ

เหมือน กรณี 6 ศพในวัดปทุมวนาราม ซึ่งมีการตรวจพบรอยกระสุนยิงลงบนพื้นซีเมนต์จนเป็นรูเต็มไปหมด ซึ่งเป็นไปไม่ได้ว่าจะยิงจากแนวราบ ต้องยิงจากที่สูงทั้งนั้น

ขณะที่มีภาพถ่าย คลิปวีดีโอ ละเอียดทุกมุม เห็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ พร้อมอาวุธยืนเล็งปืนอยู่เต็มรางรถไฟฟ้าบีทีเอส หน้าวัดปทุมนั่นเอง

ทีม นักกฏหมายและผู้รอบรู้ด้านการสืบสวนสอบสวนในไทยได้ลงมือรวบรวมพยาน หลักฐานเหล่านี้มาระยะหนึ่งแล้ว ก่อนประสานกับนายโรเบิรต์ อัมสเตอร์ดัม เพื่อนำไปประกอบการฟ้องร้องต่อศาลในต่างประเทศ

อย่งน้อยก็ไม่ใช่การฟ้องร้องอย่างเลื่อนลอย

หาก แต่แนบพยานหลักฐาน รวมทั้งผลการตรวจพิสูจน์ศพ การตรวจที่เกิดเหตุ ที่รวบรวมอย่างเป็นระบบและหนาแน่นน่าเชื่อถือ พร้อม ๆ กับการยื่นฟ้องร้องด้วย

อย่างว่า เหตุการณ์เกิดขึ้นในกลางเมืองหลวง ต่อหน้าต่อตาประชาชนมากมาย ในยุคที่อุปกรณ์ไฮเทคมีอยู่ทุกครัวเรือน

ดังนั้นการบันทึกพยานหลักฐานในเหตุการณ์ดังกล่าว จึงยุบยั่บไปหมด

ขณะ เดียวกันนักกฏหมายและผู้เชี่ยวชาญด้้านสืบสวนสอบสวนจำนวนมาก ก็ไม่สามารถทนดูการเข่นฆ่ากันกลางเมืองโดยคำสั่งอันผิดพลาดของรัฐบาลได้

จึงมีการแอบลงมือรวมรวมเป็นรูปคดีสมบูรณ์แบบ เพื่อประสานกับทนายความระดับสากล ในการนำคดีนี้ไปพิสูจน์ในศาลระหว่างประเทศ



...นอกจากนี้ ศาลยังได้กล่าวว่า ผู้ถูกกล่าวหาเหล่านี้จะไม่ได้รับอนุญาตในเข้าฟังการพิจารณาคดีครั้งต่อไป ...

ศาลไทยน่าจะพิจารณาจาก ป.วิอาญา ลักษณะ 2 การพิจาณา ม.172 และ ม.172 ทวิ

แต่ถึงกระนั้นก็ตาม ในม.172 ทวิ (2)หรือ(3) ซึ่งหมายถึงกรณีที่คดีมีจำเลยจำนวนหลายคน จำเลยยังคงสิทธิที่จะรับการพิจารณาและสืบพยานต่อหน้า หากการจำกัดสิทธิของจำเลยตามมาตราดังกล่าว ก่อให้เกิดความเสียหายต่อจำเลย

ทั้งนี้ เจตนาของมาตรานี้ก็คือ ห้ามมิให้ศาลรับฟังการพิจาณาสืบพยานที่กระทำลับหลังและเป็นโทษหรือมีผลเสียหายกับจำเลย

นอกจากนี้ ม.172 ทวิ (1) กำหนดให้การพิจารณาสืบพยานสามารถทำลับหลังจำเลยได้หากทนายจำเลยและตัวจำเลยให้ความยินยอม  และจะต้องเป็นความผิดที่มีอัตราโทษสูงสุดไม่เกิน 10 ปี

แต่ในกรณีแกนนำเสื้อแดง ที่ถูกดำเนินคดีในข้อหาก่อการร้ายนั้น อัตราโทษสูงสุดถึงประหารชีวิตดังนั้น การพิจารณาสืบพยาน จะกระทำลับหลังจำเลยไม่ได้เด็ดขาด


ส่วนที่ ๔

สิทธิในกระบวนการยุติธรรม

*****************


มาตรา ๓๙   บุคคลไม่ต้องรับโทษทางอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้นบัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้

ในคดีอาญา ต้องสันนิษฐานไว้ก่อนว่าผู้ต้องหาหรือจำเลยไม่มีความผิด ก่อนมีคำพิพากษาอันถึงที่สุดแสดงว่าบุคคลใดได้กระทำความผิด จะปฏิบัติต่อบุคคลนั้นเสมือนเป็นผู้กระทำความผิดมิได้

มาตรา ๔๐  บุคคลย่อมมีสิทธิในกระบวนการยุติธรรม ดังต่อไปนี้

(๑)    สิทธิเข้าถึงกระบวนการยุติธรรมได้โดยง่าย สะดวก รวดเร็ว และทั่วถึง(๒)    สิทธิพื้นฐานในกระบวนการพิจารณา ซึ่งอย่างน้อยต้องมีหลักประกันขั้นพื้นฐานเรื่องการได้รับ      การพิจารณาโดยเปิดเผย การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างเพียงพอ การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน การคัดค้านผู้พิพากษาหรือตุลาการ การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ และการได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย คำพิพากษา หรือคำสั่ง(๓)    บุคคลย่อมมีสิทธิที่จะให้คดีของตนได้รับการพิจารณาอย่างถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม(๔)    ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา โจทย์ จำเลย คู่กรณี ผู้มีส่วนได้เสีย หรือพยานในคดี มีสิทธิได้รับการปฏิบัติที่เหมาะสมในการดำเนินการตามกระบวนการยุติธรรม รวมทั้งสิทธิในการได้รับการสอบสวนอย่างถูกต้อง รวดเร็ว เป็นธรรม และการไม่ให้ถ้อยคำเป็นปฏิปักษ์แก่ตนเอง(๕)    ผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จำเลย และพยานในคดีอาญา มีสิทธิได้รับการรับความคุ้มครอง และความช่วยเหลือที่จำเป็นและเหมาะสมจากรัฐ ส่วนค่าตอบแทน ค่าทดแทนและค่าใช้จ่ายที่จำเป็น ให้เป็นไปตามกฎหมายบัญญัติ(๖)    เด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ หรือผู้พิการ หรือผู้ทุพพลภาพ ย่อมมีสิทธิได้รับการคุ้มครองในการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีอย่างเหมาะสม และย่อมมีสิทธิได้รับการปฎิบัติที่เหมาะสมในคดีที่เกี่ยวกับความรุนแรงทางเพศ(๗)    ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวนหรือการพิจารณาคดีที่ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม โอกาสในการต่อสู้คดีอย่างเพียงพอ การตรวจสอบหรือได้รับทราบพยานหลักฐานตามสมควร การได้รับความช่วยเหลือในทางคดีจากทนายความ และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว (๘)    ในคดีแพ่ง บุคคลมีสิทธิได้รับการช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเหมาะสมจากรัฐ


หมายเหตุ > รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐



รายชื่อที่อัมสเตอร์ดัมสั่งฟ้องมีกี่คนจำไม่ได้จำได้แค่ว่าเป็นคณะกรรมการใน ศอฉ.ทั้งหมด

โดยเริ่มตั้งแต่ม้ากในฐานะหัวหน้ารัฐบาลเทือก ผอ. ศอฉ. แม่ทัพทั้ง 4 เหล่าทัพนายธาริต ผอ.ดีเอสไอ นอกนั้นจำไม่ได้

แต่น่าเสียดายตรงที่ว่าคนสั่งฆ่าตัวจริงซึ่งเราก็ยังไม่รู้ว่าเป็นใคร รู้แค่ว่าคนเสื้อแดงเรียกคนพวกนั้นว่า **ไอ้เฮี่ยสั่งฆ่า**มีชื่ออยู่บัญชีที่ถูกฟ้องด้วยหรือเปล่าก็ไม่รู้

สิ่งที่สงสัยและยังไม่มีใครตอบได้คือ

1...ตอนนี้ศาลโลกรับฟ้องแล้วใช่หรือไม่ถึงได้บรรจุเรื่องนี้เป็นวาระแรก

2...ถ้าคนที่มีรายชื่อถูกฟ้องครั้งนี้ไม่ยอมไปขึ้นศาลโลก จะทำอย่างไรศาลโลกมีมาตรการอะไรบ้างที่จะบังคับหรือทำให้คนพวกนี้ไปขึ้นศาลให้จงได้

ขอบคุณข้อมูล โดย :d-day ตาสว่าง และ Thai Free News 

**************************************************

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น