เส้นทางคมนาคมระหว่างประเทศนำมาซึ่งการกระจายตัวทางเศรษฐกิจไปสู่ชุมชนสองข้างทาง ประเด็นนี้ถูกยกขึ้นนำในกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS จึงเกิดการสร้างถนนเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ภายใต้กรอบความร่วมมือดังกล่าว คู่ขนานไปกับการใกล้เข้ามาของการรวมเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนปลายปี 2558 เรื่องนี้ยิ่งต้องเป็น "ไฮไลต์" ให้เร่งผลักดัน
หนึ่งในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า "R9" พาดผ่านเมียนมาร์ (ยังไม่เสร็จเรียบร้อย)-ไทย-ลาว-เวียดนาม ระยะทางทั้งเส้นยาว 1,450 กม. แต่ถนนช่วงที่เปิดใช้จากไทย เริ่มที่ จ.มุกดาหาร ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เข้าแขวงสะหวันนะเขตในลาว ไปยังเมืองลาวบาวของเวียดนาม ผ่านเมืองเว้ และสิ้นสุดที่ดานัง ของเวียดนาม

ตั้งแต่เส้นทางนี้เปิดใช้ยังไม่พบการกระจายตัวทางเศรษฐกิจคึกคักอย่างที่คาดการณ์ สะท้อนให้เห็นว่า ถนนเชื่อมระหว่างประเทศไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ
การเปิดเส้นทาง R9 ที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการนำร่องตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS Cross Border Transport Agreement : CBTA ซึ่งยังมีข้อติดขัดที่เป็นอุปสรรคในการเดินรถระหว่างประเทศที่ชัดเจนคือ กฎระเบียบในการเดินรถระหว่างประเทศที่ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งค่าธรรมเนียมที่ด่านศุลกากร การอนุญาตให้รถต่างชาติวิ่งผ่านได้ตลอดเส้นทางในทุกประเทศที่ถนนตัดผ่าน มาตรฐานการตรวจสินค้าและคนเข้า-ออกระหว่างประเทศ เหล่านี้เป็นปัญหาในระดับนโยบายทางการเมืองที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งผลักดัน
นอกจากเส้นทาง R9 แล้ว ถนนเชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม ยังมีเส้นทาง "R12" ออกจากไทยที่ จ.นครพนม เข้าลาวที่แขวงคำม่วน ตัดเข้า จ.กวางบิ่งห์ของเวียดนาม บรรจบกับถนน "1A" ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักของประเทศเวียดนาม สามารถเดินทางขึ้นเหนือไปยังฮานอย และขึ้นเมืองกว่างซีของจีน
ศักยภาพที่ชัดเจนของ R12 คือ เป็นเส้นทางจากไทยที่เข้าเวียดนามสั้นที่สุด สั้นกว่าเส้นทางสาย R9 และตัดผ่านสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีทัศนียภาพสวยงาม ทั้งพระธาตุพนมใน จ.นครพนม ถ้ำกองลอ-นาตาน และกำแพงยักษ์ในแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เขตอุทยานแห่งชาติฟองยา-แก่บาง ซึ่งเป็นมรดกโลกตามคำประกาศของยูเนสโกในจ.กวางบิ่งห์ ของเวียดนาม
ได้ร่วมโครงการสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจเส้นทางหมายเลข R12 กับคณะ ซึ่งนำโดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายพิษณุ จันทร์วิทัน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์, นายชัยธันว์ พรหมศร ผอ.สำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง, นางสาวนิธิวดี มานิตกุล ผอ.กองส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ นายชาญชัย ชอบชื่นชม ผอ.สำนักงานศุลการกรภาคที่ 2 ร่วมสำรวจทางสายนี้ด้วยการโดยสารทางรถ เพื่อมองศักยภาพที่ชัดเจนของการพัฒนาเส้นทางนี้รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
การเดินทางด้วยรถบัสบนเส้น R12 ครั้งนี้เริ่มสำรวจตั้งแต่เส้นทางใน จ.นครพนม-คำม่วน สปป.ลาว-เข้าลาว-กวางบิ่งห์ เวียดนาม-เว้-สิ้นสุดที่เมืองดานัง
การเดินทางผ่าน 3 ประเทศด้วยถนนนี้ ต้องผ่านด่านศุลกากรแรกที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน ซึ่งปัจจุบันกำลังเตรียมพร้อมให้มีการเดินรถผ่านแดนสะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบันด่านขยายเวลาการให้บริการมาเป็น 06.00-22.00 น.มาเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
บรรยากาศที่ด่านซึ่งเป็นวันอาทิตย์ไม่คึกคักเท่าที่ควร แต่ตัวแทนจาก จ.นครพนมกล่าวว่า เส้นทางนี้มีศักยภาพที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีรถผ่านแดนที่เส้นทางนี้มากขึ้นแล้ว และดัชนีการเติบโตของจังหวัดก็สามารถวัดได้จากการมีห้างค้าปลีกบิ๊กซีขนาดใหญ่มาเปิดกิจการแล้ว และมีขนาดใหญ่กว่าห้างค้าปลีกในจ.มุกดาหารด้วย

หนึ่งในเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจแนวตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor : EWEC) หรือที่เรียกกันคุ้นหูว่า "R9" พาดผ่านเมียนมาร์ (ยังไม่เสร็จเรียบร้อย)-ไทย-ลาว-เวียดนาม ระยะทางทั้งเส้นยาว 1,450 กม. แต่ถนนช่วงที่เปิดใช้จากไทย เริ่มที่ จ.มุกดาหาร ข้ามสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 2 เข้าแขวงสะหวันนะเขตในลาว ไปยังเมืองลาวบาวของเวียดนาม ผ่านเมืองเว้ และสิ้นสุดที่ดานัง ของเวียดนาม
ตั้งแต่เส้นทางนี้เปิดใช้ยังไม่พบการกระจายตัวทางเศรษฐกิจคึกคักอย่างที่คาดการณ์ สะท้อนให้เห็นว่า ถนนเชื่อมระหว่างประเทศไม่ใช่ปัจจัยหลักเพียงปัจจัยเดียวต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจไปยังท้องถิ่นต่าง ๆ
การเปิดเส้นทาง R9 ที่ผ่านมา เป็นการดำเนินการนำร่องตามความตกลงว่าด้วยการขนส่งข้ามพรมแดนในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง หรือ GMS Cross Border Transport Agreement : CBTA ซึ่งยังมีข้อติดขัดที่เป็นอุปสรรคในการเดินรถระหว่างประเทศที่ชัดเจนคือ กฎระเบียบในการเดินรถระหว่างประเทศที่ต้องเป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้งค่าธรรมเนียมที่ด่านศุลกากร การอนุญาตให้รถต่างชาติวิ่งผ่านได้ตลอดเส้นทางในทุกประเทศที่ถนนตัดผ่าน มาตรฐานการตรวจสินค้าและคนเข้า-ออกระหว่างประเทศ เหล่านี้เป็นปัญหาในระดับนโยบายทางการเมืองที่ประเทศต่าง ๆ ต้องเร่งผลักดัน
นอกจากเส้นทาง R9 แล้ว ถนนเชื่อมไทย-ลาว-เวียดนาม ยังมีเส้นทาง "R12" ออกจากไทยที่ จ.นครพนม เข้าลาวที่แขวงคำม่วน ตัดเข้า จ.กวางบิ่งห์ของเวียดนาม บรรจบกับถนน "1A" ซึ่งเป็นถนนเส้นหลักของประเทศเวียดนาม สามารถเดินทางขึ้นเหนือไปยังฮานอย และขึ้นเมืองกว่างซีของจีน
ศักยภาพที่ชัดเจนของ R12 คือ เป็นเส้นทางจากไทยที่เข้าเวียดนามสั้นที่สุด สั้นกว่าเส้นทางสาย R9 และตัดผ่านสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติหลายแห่ง มีทัศนียภาพสวยงาม ทั้งพระธาตุพนมใน จ.นครพนม ถ้ำกองลอ-นาตาน และกำแพงยักษ์ในแขวงคำม่วนของ สปป.ลาว เขตอุทยานแห่งชาติฟองยา-แก่บาง ซึ่งเป็นมรดกโลกตามคำประกาศของยูเนสโกในจ.กวางบิ่งห์ ของเวียดนาม
ได้ร่วมโครงการสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจเส้นทางหมายเลข R12 กับคณะ ซึ่งนำโดยนายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ, นายพิษณุ จันทร์วิทัน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์, นายชัยธันว์ พรหมศร ผอ.สำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง, นางสาวนิธิวดี มานิตกุล ผอ.กองส่งเสริมเศรษฐสัมพันธ์และความร่วมมือ กรมเศรษฐกิจระหว่างประเทศ กระทรวงการต่างประเทศ และ นายชาญชัย ชอบชื่นชม ผอ.สำนักงานศุลการกรภาคที่ 2 ร่วมสำรวจทางสายนี้ด้วยการโดยสารทางรถ เพื่อมองศักยภาพที่ชัดเจนของการพัฒนาเส้นทางนี้รองรับการเติบโตทางเศรษฐกิจในอนาคต
การเดินทางด้วยรถบัสบนเส้น R12 ครั้งนี้เริ่มสำรวจตั้งแต่เส้นทางใน จ.นครพนม-คำม่วน สปป.ลาว-เข้าลาว-กวางบิ่งห์ เวียดนาม-เว้-สิ้นสุดที่เมืองดานัง
การเดินทางผ่าน 3 ประเทศด้วยถนนนี้ ต้องผ่านด่านศุลกากรแรกที่สะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 นครพนม-คำม่วน ซึ่งปัจจุบันกำลังเตรียมพร้อมให้มีการเดินรถผ่านแดนสะดวกยิ่งขึ้น ปัจจุบันด่านขยายเวลาการให้บริการมาเป็น 06.00-22.00 น.มาเป็นระยะเวลาเกือบ 1 ปีแล้ว
บรรยากาศที่ด่านซึ่งเป็นวันอาทิตย์ไม่คึกคักเท่าที่ควร แต่ตัวแทนจาก จ.นครพนมกล่าวว่า เส้นทางนี้มีศักยภาพที่จะเติบโตมากยิ่งขึ้น เนื่องจากมีรถผ่านแดนที่เส้นทางนี้มากขึ้นแล้ว และดัชนีการเติบโตของจังหวัดก็สามารถวัดได้จากการมีห้างค้าปลีกบิ๊กซีขนาดใหญ่มาเปิดกิจการแล้ว และมีขนาดใหญ่กว่าห้างค้าปลีกในจ.มุกดาหารด้วย
ด่านคำม่วน ของสปป.ลาว ซึ่งอยู่ติดกับด่านนครพนมของไทย บนสะพานมิตรภาพไทย-ลาว แห่งที่ 3
เส้นทางจากด่านนาพาวของ สปป.ลาวไปยังด่านจ่าลอของเวียดนามเป็นถนน 2 เลน ระยะทาง 150 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง สภาพถนนตัดผ่านที่ราบสูงและภูเขา มีช่วงเป็นพื้นที่ราบ สภาพถนนค่อนข้างดี มีบางช่วงสั้น ๆ ต้องปรับปรุง
มีชุมชนบ้านเรือนเป็นระยะ มีปั๊มน้ำมันจำนวน 2-3 แห่ง แต่ยังไม่มีจุดพักรถโดยสาร ระหว่างทางมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ตราสิงห์ของจีน ซึ่งมีกำลังการผลิต 800,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังพบเหมืองแร่ยิปซัมอีกด้วย ปัจจุบันแขวงคำม่วนมีบริษัทขุดแร่จำนวน 38 บริษัท ทั้งตะกั่ว หินปูน หินทราย โพแทสเซียม เหล็ก ยิปซัม และถ่านหิน เป็นต้น
ระยะเวลาผ่านด่านนาพาว และด่านจ่าลอ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะทางสั้น ๆ ใช้เวลาราวด่านละเกือบ 1 ชั่วโมง ในอนาคตหากมีการจัดทำระบบศุลกากรที่อำนวยความสะดวกให้มีการผ่านแดนสำหรับคนและสินค้า ณ จุดเดียว หรือที่เรียกว่า Single Window จะสามารถลดระยะเวลาให้สั้นลงได้มาก
หลังจากผ่านด่านจ่าลอ เข้าประเทศเวียดนาม เดินทางไปยัง จ.กวางบิ่งห์เป็นถนน 2 เลน ระยะทาง 125 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง เส้นทางส่วนใหญ่ยังคงตัดผ่านภูเขา คดเคี้ยวบางช่วง มีทัศนียภาพสวยงาม ชัดเจนว่าสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ และมีชุมชนริมเส้นทาง R12 คึกคักกว่าใน สปป.ลาว


เส้นทางจากด่านนาพาวของ สปป.ลาวไปยังด่านจ่าลอของเวียดนามเป็นถนน 2 เลน ระยะทาง 150 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง สภาพถนนตัดผ่านที่ราบสูงและภูเขา มีช่วงเป็นพื้นที่ราบ สภาพถนนค่อนข้างดี มีบางช่วงสั้น ๆ ต้องปรับปรุง
มีชุมชนบ้านเรือนเป็นระยะ มีปั๊มน้ำมันจำนวน 2-3 แห่ง แต่ยังไม่มีจุดพักรถโดยสาร ระหว่างทางมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจอยู่บ้าง เช่น โรงงานปูนซีเมนต์ตราสิงห์ของจีน ซึ่งมีกำลังการผลิต 800,000 ตัน/ปี นอกจากนี้ยังพบเหมืองแร่ยิปซัมอีกด้วย ปัจจุบันแขวงคำม่วนมีบริษัทขุดแร่จำนวน 38 บริษัท ทั้งตะกั่ว หินปูน หินทราย โพแทสเซียม เหล็ก ยิปซัม และถ่านหิน เป็นต้น
ระยะเวลาผ่านด่านนาพาว และด่านจ่าลอ ซึ่งอยู่ห่างกันเป็นระยะทางสั้น ๆ ใช้เวลาราวด่านละเกือบ 1 ชั่วโมง ในอนาคตหากมีการจัดทำระบบศุลกากรที่อำนวยความสะดวกให้มีการผ่านแดนสำหรับคนและสินค้า ณ จุดเดียว หรือที่เรียกว่า Single Window จะสามารถลดระยะเวลาให้สั้นลงได้มาก
หลังจากผ่านด่านจ่าลอ เข้าประเทศเวียดนาม เดินทางไปยัง จ.กวางบิ่งห์เป็นถนน 2 เลน ระยะทาง 125 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง เส้นทางส่วนใหญ่ยังคงตัดผ่านภูเขา คดเคี้ยวบางช่วง มีทัศนียภาพสวยงาม ชัดเจนว่าสามารถพัฒนาเป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ และมีชุมชนริมเส้นทาง R12 คึกคักกว่าใน สปป.ลาว
บรรยากาศการสัญจรที่ด่านนาพาว ของสปป.ลาว ติดกับด่านจ่าลอ ของเวียดนาม
กวางบิ่งห์มีเขตเศรษฐกิจพิเศษสำคัญ 2 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจห่อนลา และเขตเศรษฐกิจด่านตรวจคนเข้าเมืองจ่าลอ
การเดินทางสำรวจเส้นทางจากนครพนมสิ้นสุดที่ จ.กวางบิ่งห์ใช้เวลารวมราว 8 ชั่วโมง และยังพบจำนวนรถบรรทุกระหว่างทางไม่มากนัก
หากมองเส้นทาง R12 ณ จังหวัดกวางบิ่งห์ ในแง่ศักยภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สามารถใช้เส้นทางลงใต้ไปบรรจบกับเส้นทาง 1A ถนนหลักของเวียดนาม ไปยังจังหวัดถื่อเทียนเว้ หรือที่รู้จักกันว่า "เมืองเว้" เป็นระยะทาง 200 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง
เว้ เป็นเมืองมรดกโลกของยูเนสโก จึงมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก ปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจำนวน 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24.6%
ส่วนนักท่องเที่ยวไทยในปี 2555 มีจำนวน 128,000 คน ส่วน 9 เดือนแรกในปี 2556 มีจำนวน 100,000 คน นอกจากนี้ยังมี
นักท่องเที่ยวจากจีน อิตาลี สเปน อังกฤษ สหรัฐ และแคนาดา เป็นต้น จึงเห็นได้ชัดว่า ศักยภาพการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่เมืองเว้มีสูงมาก

กวางบิ่งห์มีเขตเศรษฐกิจพิเศษสำคัญ 2 แห่ง คือ เขตเศรษฐกิจห่อนลา และเขตเศรษฐกิจด่านตรวจคนเข้าเมืองจ่าลอ
การเดินทางสำรวจเส้นทางจากนครพนมสิ้นสุดที่ จ.กวางบิ่งห์ใช้เวลารวมราว 8 ชั่วโมง และยังพบจำนวนรถบรรทุกระหว่างทางไม่มากนัก
หากมองเส้นทาง R12 ณ จังหวัดกวางบิ่งห์ ในแง่ศักยภาพการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจ สามารถใช้เส้นทางลงใต้ไปบรรจบกับเส้นทาง 1A ถนนหลักของเวียดนาม ไปยังจังหวัดถื่อเทียนเว้ หรือที่รู้จักกันว่า "เมืองเว้" เป็นระยะทาง 200 ก.ม. ใช้เวลาราว 3 ชั่วโมง
เว้ เป็นเมืองมรดกโลกของยูเนสโก จึงมีนักท่องเที่ยวหลั่งไหลเข้ามาจำนวนมาก ปี 2555 มีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาจำนวน 2.4 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 24.6%
ส่วนนักท่องเที่ยวไทยในปี 2555 มีจำนวน 128,000 คน ส่วน 9 เดือนแรกในปี 2556 มีจำนวน 100,000 คน นอกจากนี้ยังมี
นักท่องเที่ยวจากจีน อิตาลี สเปน อังกฤษ สหรัฐ และแคนาดา เป็นต้น จึงเห็นได้ชัดว่า ศักยภาพการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวที่เมืองเว้มีสูงมาก
ถนน R12 ช่วงก่อนเข้าเขตประเทศเวียดนามที่จ.กว่างบิงห์
ในทางเศรษฐกิจ เส้นทางเดียวกันนี้สามารถไปยังนครดานัง ด้วยระยะทาง 100 ก.ม. ใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง ปัจจุบันนครดานังมีจำนวนประชากร 951,7000 คน
มีสนามบินนานาชาติ กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก มีโรงงานใหม่ ๆ ผุดขึ้น และมีนิคมอุตสาหกรรมมากถึง 6 แห่ง นครดานังมีท่าเรือดานังพื้นที่ 12 ตร.กม. ความลึกท่าเรือราว 10-17 เมตร ภายในท่าเรือประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ท่าเรือเตียนซาและท่าเรือแม่น้ำห่าน
ท่าเรือแห่งนี้อยู่ตอนกลางประเทศเวียดนาม มีแผนขยายท่าเรือที่คาดว่าจะเสร็จช่วงปี 2558-2559 ท่าเรือแห่งนี้
ซึ่งมีข้อจำกัดคือ ต้องประสบมรสุมจำนวนมาก และยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือระดับนานาชาติ มีจำนวนสินค้ายังไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินค้าเกษตร อาหารทะเล สิ่งทอ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการส่งมายังเมืองนี้ มากกว่าเป็นท่าเรือที่กระจายสินค้าไปยังประเทศอื่น ๆ
ในเชิงท่องเที่ยว เมืองดานังเริ่มพัฒนาชายหาดของเมืองรับนักท่องเที่ยว และจากการสำรวจเส้นทางพบเห็นโรงแรม รีสอร์ต กาสิโน ผับ บาร์ และร้านอาหารจำนวนมากเปิดเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวตะวันตกจำนวนมากริมชายหาด และย่านธุรกิจของเมือง

ท่าเรือดานัง
อย่างไรก็ตาม ช่องทางธุรกิจไทยที่เห็นได้จากการสำรวจเส้นทางดังกล่าวจากนครพนมมายังดานังคือ การขนส่งสินค้าไทยเข้ามายังเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามนิยมสินค้าไทยอย่างสูง เพราะคุณภาพดีกว่าสินค้าจีน ระหว่างทางจากกวางบิ่งห์มายังเว้ มีย่านร้านสินค้าไทย ที่ชาวเวียดนามในจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาเพื่อซื้อสินค้าไทยโดยเฉพาะ
ทั้งนครพนม คำม่วน กวางบิ่งห์ เว้ และดานัง ต่างเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจตามเส้นทางสำรวจของคณะเดินทาง หากได้รับการผลักดันด้านกฎระเบียบจากภาครัฐของไทย ลาว และเวียดนาม
ที่ผ่านมาในการประชุม รมว.ช่วยต่างประเทศ ตามแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ครั้งที่ 2 ณ สะหวันนะเขต
ช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ภาครัฐจากทั้ง 3 ประเทศได้เห็นพ้องให้ผลักดันเส้นทาง R12 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางในกรอบความร่วมมือของ GMS เพื่อพัฒนาระเบียบการขนส่ง CBTA ให้ครอบคลุมเส้นทางนี้ให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐของทั้ง 3 ประเทศได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างกัน
สำรวจหลากหลายความคิดเห็นจากการเดินทางสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจเส้นทางถนนระหว่างประเทศสาย R9
นายพิษณุ จันทร์วิทัน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว กล่าวว่า เส้นทางนี้ตัดผ่าน 3 ประเทศ แต่ต้องมองถึงการกระจายตัวทางเศรษฐกิจของทุก ๆ ประเทศด้วย สปป.ลาวที่เป็นทางผ่านสามารถพัฒนาเส้นทางนี้ให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ แต่ต้องอาศัย?ความร่วมมือจากทั้งไทยและเวียดนามช่วยสนับสนุนด้วย ในแง่สินค้า ปัจจุบันไทยส่งผลไม้ไปยังเวียดนามจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไปทางเรือ เส้นทางนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสินค้าดังกล่าว แต่ต้องทำให้สินค้าที่ขนผ่านเส้นทางนี้ไปได้อย่างสะดวก ไม่มีการจัดเก็บภาษีเป็นสินค้านำเข้าหรือส่งออกเมื่อผ่านด่านระหว่างประเทศ ในแง่ความสัมพันธ์ ปัจจุบันมีชาวเวียดนามจำนวนมากเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องในไทยด้วยการบิน หากด่านระหว่างประเทศทำให้การเดินรถสะดวก เชื่อว่าจะมีการเดินทางด้วยรถจากระหว่างไทย-เวียดนามมากขึ้น ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วย
นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่า?เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด หากต้องการขนสินค้าไปยังเวียดนามและขึ้นไปยังเมืองกว่างซีของจีนได้ ซึ่งแน่นอนว่าจีนเป็นตลาดสินค้าใหญ่ที่เชื่อมต่อกับประเทศแถบอาเซียน แต่ปัจจุบันการเดินทางยังมีข้อติดขัดในทางกฎหมาย ที่ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของภาครัฐไทย ลาว และเวียดนามช่วยกันผลักดัน หากนำเส้นทางสายนี้เข้ากรอบ GMS ได้ ก็จะได้สิทธิประโยชน์จากการขจัดขั้นตอนที่ด่านศุลกากรให้สั้นลง มีธรรมเนียมในการขนส่งสินค้าและคนที่เป็นมาตรฐาน ลดระยะเวลาการเดินทางและเห็นต้นทุนที่ชัดเจนสำหรับภาคธุรกิจ ให้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
นายชัยธันว์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง กล่าวว่า ?การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นการเปิดประตูเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางนี้ตัดผ่านเขา มีทางโค้งหลายจุด ?ยังไม่เหมาะกับการเดินทางของรถบรรทุกใหญ่ ๆ นัก ?การสนับสนุนเส้นทางนี้ต้องอาศัยการพัฒนาภายในประเทศทั้ง 3 ประเทศ และต้องมองความคุ้มค่า เพราะแน่นอนว่าต้องเป็นเอกชนที่เข้ามาใช้เส้นทางนี้เพื่อให้เกิดการ?กระจายตัวทางเศรษฐกิจ ต้องมองไปถึงว่าแต่ละประเทศจะได้ประโยชน์อย่างไร ควรสนับสนุนสินค้าชนิดไหน พร้อม ๆ กับการพัฒนา?ด้านกฎระเบียบที่เป็นซอฟต์แวร์เข้ามาสนับสนุนถนนที่เป็นฮาร์ดแวร์
ในทางเศรษฐกิจ เส้นทางเดียวกันนี้สามารถไปยังนครดานัง ด้วยระยะทาง 100 ก.ม. ใช้เวลาราว 2 ชั่วโมง ปัจจุบันนครดานังมีจำนวนประชากร 951,7000 คน
มีสนามบินนานาชาติ กำลังเติบโตทางเศรษฐกิจสูงมาก มีโรงงานใหม่ ๆ ผุดขึ้น และมีนิคมอุตสาหกรรมมากถึง 6 แห่ง นครดานังมีท่าเรือดานังพื้นที่ 12 ตร.กม. ความลึกท่าเรือราว 10-17 เมตร ภายในท่าเรือประกอบด้วย 2 ส่วนหลักคือ ท่าเรือเตียนซาและท่าเรือแม่น้ำห่าน
ท่าเรือแห่งนี้อยู่ตอนกลางประเทศเวียดนาม มีแผนขยายท่าเรือที่คาดว่าจะเสร็จช่วงปี 2558-2559 ท่าเรือแห่งนี้
ซึ่งมีข้อจำกัดคือ ต้องประสบมรสุมจำนวนมาก และยังไม่ได้รับการพัฒนาเป็นท่าเรือระดับนานาชาติ มีจำนวนสินค้ายังไม่มากนัก ส่วนใหญ่เป็นสินค้าวัตถุดิบ เช่น สินค้าเกษตร อาหารทะเล สิ่งทอ ซึ่งเป็นสินค้าที่ต้องการส่งมายังเมืองนี้ มากกว่าเป็นท่าเรือที่กระจายสินค้าไปยังประเทศอื่น ๆ
ในเชิงท่องเที่ยว เมืองดานังเริ่มพัฒนาชายหาดของเมืองรับนักท่องเที่ยว และจากการสำรวจเส้นทางพบเห็นโรงแรม รีสอร์ต กาสิโน ผับ บาร์ และร้านอาหารจำนวนมากเปิดเพื่อรับนักท่องเที่ยวชาวจีนและชาวตะวันตกจำนวนมากริมชายหาด และย่านธุรกิจของเมือง
ท่าเรือดานัง
อย่างไรก็ตาม ช่องทางธุรกิจไทยที่เห็นได้จากการสำรวจเส้นทางดังกล่าวจากนครพนมมายังดานังคือ การขนส่งสินค้าไทยเข้ามายังเมืองต่าง ๆ เหล่านี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในเวียดนาม เนื่องจากเวียดนามนิยมสินค้าไทยอย่างสูง เพราะคุณภาพดีกว่าสินค้าจีน ระหว่างทางจากกวางบิ่งห์มายังเว้ มีย่านร้านสินค้าไทย ที่ชาวเวียดนามในจังหวัดใกล้เคียงเดินทางมาเพื่อซื้อสินค้าไทยโดยเฉพาะ
ทั้งนครพนม คำม่วน กวางบิ่งห์ เว้ และดานัง ต่างเป็นเมืองที่มีศักยภาพในการพัฒนาให้เกิดการกระจายตัวทางเศรษฐกิจตามเส้นทางสำรวจของคณะเดินทาง หากได้รับการผลักดันด้านกฎระเบียบจากภาครัฐของไทย ลาว และเวียดนาม
ที่ผ่านมาในการประชุม รมว.ช่วยต่างประเทศ ตามแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก ครั้งที่ 2 ณ สะหวันนะเขต
ช่วงเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา ภาครัฐจากทั้ง 3 ประเทศได้เห็นพ้องให้ผลักดันเส้นทาง R12 เข้าเป็นส่วนหนึ่งของเส้นทางในกรอบความร่วมมือของ GMS เพื่อพัฒนาระเบียบการขนส่ง CBTA ให้ครอบคลุมเส้นทางนี้ให้ประชาชน ภาคธุรกิจ และภาครัฐของทั้ง 3 ประเทศได้รับประโยชน์สูงสุดจากการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเชื่อมโยงระหว่างกัน
สำรวจหลากหลายความคิดเห็นจากการเดินทางสำรวจศักยภาพทางเศรษฐกิจเส้นทางถนนระหว่างประเทศสาย R9
นายพิษณุ จันทร์วิทัน เอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ สปป.ลาว กล่าวว่า เส้นทางนี้ตัดผ่าน 3 ประเทศ แต่ต้องมองถึงการกระจายตัวทางเศรษฐกิจของทุก ๆ ประเทศด้วย สปป.ลาวที่เป็นทางผ่านสามารถพัฒนาเส้นทางนี้ให้เป็นเส้นทางท่องเที่ยวได้ แต่ต้องอาศัย?ความร่วมมือจากทั้งไทยและเวียดนามช่วยสนับสนุนด้วย ในแง่สินค้า ปัจจุบันไทยส่งผลไม้ไปยังเวียดนามจำนวนมาก แต่ปัจจุบันไปทางเรือ เส้นทางนี้เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับสินค้าดังกล่าว แต่ต้องทำให้สินค้าที่ขนผ่านเส้นทางนี้ไปได้อย่างสะดวก ไม่มีการจัดเก็บภาษีเป็นสินค้านำเข้าหรือส่งออกเมื่อผ่านด่านระหว่างประเทศ ในแง่ความสัมพันธ์ ปัจจุบันมีชาวเวียดนามจำนวนมากเดินทางไปเยี่ยมญาติพี่น้องในไทยด้วยการบิน หากด่านระหว่างประเทศทำให้การเดินรถสะดวก เชื่อว่าจะมีการเดินทางด้วยรถจากระหว่างไทย-เวียดนามมากขึ้น ถือเป็นการอำนวยความสะดวกให้ประชาชนของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วย
นายจุลพงษ์ โนนศรีชัย ผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่า?เส้นทางนี้เป็นเส้นทางที่สั้นที่สุด หากต้องการขนสินค้าไปยังเวียดนามและขึ้นไปยังเมืองกว่างซีของจีนได้ ซึ่งแน่นอนว่าจีนเป็นตลาดสินค้าใหญ่ที่เชื่อมต่อกับประเทศแถบอาเซียน แต่ปัจจุบันการเดินทางยังมีข้อติดขัดในทางกฎหมาย ที่ต้องอาศัยนโยบายทางการเมืองของภาครัฐไทย ลาว และเวียดนามช่วยกันผลักดัน หากนำเส้นทางสายนี้เข้ากรอบ GMS ได้ ก็จะได้สิทธิประโยชน์จากการขจัดขั้นตอนที่ด่านศุลกากรให้สั้นลง มีธรรมเนียมในการขนส่งสินค้าและคนที่เป็นมาตรฐาน ลดระยะเวลาการเดินทางและเห็นต้นทุนที่ชัดเจนสำหรับภาคธุรกิจ ให้เข้ามาใช้ประโยชน์ได้เต็มที่
นายชัยธันว์ พรหมศร ผู้อำนวยการสำนักบริหารโครงการทางหลวงระหว่างประเทศ กรมทางหลวง กล่าวว่า ?การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเป็นการเปิดประตูเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งควบคู่ไปกับการพัฒนาสาธารณูปโภค เส้นทางนี้ตัดผ่านเขา มีทางโค้งหลายจุด ?ยังไม่เหมาะกับการเดินทางของรถบรรทุกใหญ่ ๆ นัก ?การสนับสนุนเส้นทางนี้ต้องอาศัยการพัฒนาภายในประเทศทั้ง 3 ประเทศ และต้องมองความคุ้มค่า เพราะแน่นอนว่าต้องเป็นเอกชนที่เข้ามาใช้เส้นทางนี้เพื่อให้เกิดการ?กระจายตัวทางเศรษฐกิจ ต้องมองไปถึงว่าแต่ละประเทศจะได้ประโยชน์อย่างไร ควรสนับสนุนสินค้าชนิดไหน พร้อม ๆ กับการพัฒนา?ด้านกฎระเบียบที่เป็นซอฟต์แวร์เข้ามาสนับสนุนถนนที่เป็นฮาร์ดแวร์
ที่มา.ประชาชาติธุรกิจ
----------------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น