ครบรอบ 2 ปีวิกฤตน้ำท่วม 2554 อยากจะสะท้อนข้อมูลปัญหาการบริหารจัดการน้ำของหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องว่ามิได้ตั้งใจ ที่จะนำไปสู่การพัฒนาระบบ หรือกลไกเดิมที่มีอยู่แล้วของประเทศ ให้มีประสิทธิภาพสามารถการันตี เพื่อสร้างความอุ่นใจให้กับพี่น้องประชาชนทั้งประเทศได้ว่า "จะไม่มีปัญหาน้ำท่วมใหญ่อีกต่อไปในประเทศไทย"
แต่ดูเหมือนว่า การเกิดน้ำท่วม ความทุกข์ร้อนของชาวบ้าน กำลังเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักการเมือง เพื่อที่จะใช้เป็นเหตุผลแบบมัดมือชก ในการผลักดันเมกกะโปรเจกต์ และใช้เงินจากภาษีของประชาชนอย่างสบายมือ โดยไร้การตรวจสอบ เงินกว่า 3.5 แสนล้าน มั่นช่างเป็นอะไรที่หอมหวนชวนอยากเร่งรีบใช้เสียเหลือเกิน กลางคืนก็นอนฝันเคลิ้มและหลงละเมอออกมาว่า "เมื่อไรจะได้เซ็นต์สัญญาซักที"
ก่อนหน้านี้งบกลาง 1.2 แสนล้านบาท ถูกนำมาใช้เป็นงบฉุกเฉิน หลังน้ำท่วมปี 2554 ใหม่ ๆ โดยใช้ข้ออ้างว่าเพื่อรีบเร่งในการชดเชย เยียวยา และป้องกันปัญหาน้ำท่วม ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่า ถูกนำไปเยียวยาผู้ประสบภัยเพียง 37.51% นอกนั้นทั้งหมดถูกนำไปละลายเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการคมนาคม เสริมถนนหนทางถึง 22.49% สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ 21.26% นำไปซ่อมแซมฟื้นฟูสถานที่ราชการ 6.65% นำไปซ่อมแซมสถานที่ศึกษา การบริการทางการแพทย์ 5.27% นำไปซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการช่วยน้ำท่วม 4.08% นำไปซ่อมแซมศาสนสถาน โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว 2.33% และอื่น ๆ อีก 0.39%
โครงการ สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีใครตรวจสอบหรือไม่ว่ามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วหรือไม่ ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้วหรือไม่ ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละพื้นที่แล้วหรือไม่
ณ วันนี้ เราจึงเริ่มเห็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นอุจาดทัศน์กันทั่วท้องถนนเกือบทุกสายในภาคกลาง และริมแม่น้ำ คือ "กำแพงกั้นน้ำริมแม่น้ำ ริมคลอง" และ "ผนังกั้นน้ำบนเกาะกลางถนน" ซึ่งมิได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายเลย ข้อมูลที่ภาครัฐพยายามกรอกหูโฆษณาชวนเชื่อต่อชาวบ้านคือ ถ้าสร้างแล้วน้ำจะไม่ท่วม
ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงคือ กำแพงกั้นน้ำจะเป็นตัวกีดกันทางเดินของน้ำ จะทำให้น้ำถูกกั้นยกระดับให้สูงขึ้นเอ่อล้นไปในพื้นที่เหนือน้ำ โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมจะมีมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีใครบอกชาวบ้าน
หลังปี 2554 ทำให้รู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับน้ำเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมและนำมาบิดเบือนอย่างบูรณาการ ด้วยกลุ่มคนที่มีเครือข่ายถึงกัน ทั้งข้าราชการ และนักการเมือง รวมไปถึงนายทุนใหญ่ด้านการเกษตร การบูรณาการข้อมูลนี้นำไปสู่การจัดการกับทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการให้เกิดผลด้านลบกับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเขียนและพัฒนาเมกกะโปรเจกต์ต้องการ
ยิ่งน้ำท่วมมากเท่าไร ก็ยิ่งบูรณาการผลักดันเมกกะโปรเจกต์ออกมาได้มากเท่านั้น โดยไม่สนใจเลยว่าโครงการเหล่านั้นเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วในอนาคต จะส่งผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของรัฐบาลข้างหน้า แต่ ณ วันนี้ขอให้ข้าได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้างก่อนเป็นพอ
น้ำท่วมกว่า 30 จังหวัดในปีนี้เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ อีกตามเคย เพราะระบบสั่งการถูกรวบอำนาจมาไว้ที่ กบอ. พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่เฝ้าดูแล บริหารประตูระบายน้ำต่าง ๆ ไม่กล้าแม้กระทั่งจะเปิดปิดประตูระบายน้ำ ให้น้ำเอ่อล้นขนาดไหนก็ตาม เพราะกลัวถูกชาวบ้านฟ้องร้อง หากเปิดไปแล้วไปทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อื่น จึงต้องรอการสั่งการจากส่วนกลาง จาก กบอ. ทั้ง ๆ ที่ในอดีตปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิด
บางพื้นที่รู้ทั้งรู้ว่าถ้าเร่งระบายน้ำจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม แต่ก็มีความพยายามของใครบางคนที่ต้องการให้ทุกประตูน้ำปิดกั้นน้ำไว้ จนในที่สุดน้ำต้องมีทางไป จึงไปเอ่อล้นท่วมพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน หลังจากนั้นก็ต่อสายส่งซิกให้แกนนำหัวคะแนนไปบอกกับชาวบ้านว่า เป็นเพราะเราไม่มีเขื่อน น้ำจึงท่วมบ้าน ท่วมไร่นาเรา ดังนั้นชาวบ้านต้องช่วยกันออกมาสนับสนุนการสร้างเขื่อน และด่าพวกนักวิชาการ พวกเอ็นจีโอที่ต่อต้านเขื่อน
ในที่สุดปีนี้น้ำก็เกิดท่วมอีกในหลาย ๆ พื้นที่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะท่วม จึงไม่น่าแปลกใจ ที่กระแสการดันกระทรวงน้ำ กระแสให้เร่งรีบในการสร้างเขื่อน จะปรากฏออกมาในช่วงนี้ เพื่อใช้เป็นทางออกให้กับทางตัน ในการจัดการน้ำในวันนี้ เพื่อซื้อเวลา ต่อรองผลประโยชน์ สร้างภาพที่สับสนให้คนไทยทะเลาะกันเอง และยืมมือบริษัทต่างชาติมาเอี่ยวด้วย ทั้งจีน และเกาหลี
กระทรวงน้ำนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในการทำงานระดับชาติ เรามีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกรมชลประทาน อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกออกมา แต่เพื่อการจัดการกับงบประมาณที่ต้องเบ็ดเสร็จ ครบวงจร ตรงนี้จำเป็นและเข้าใจได้ แต่ผลกระทบทั้งแบบสะสม แบบเฉียบพลันจากการทำงานที่ไร้รูปแบบ ไร้กึ๋น และไร้ประสบการณ์เช่นนี้ เราจะสูญเสียอะไรอีกมาก และนี่จะกลายเป็นต้นแบบในการอ้างการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม มาสู่การจับเอาคนไทยเป็นข้ออ้าง เพื่อกระทำ และละเว้นการกระทำ อะไรบางอย่างต่อไปหรือไม่
การตั้งกระทรวงน้ำครั้งนี้ อยู่ในรูปแบบการคิดเดิมๆ เปลี่ยนเพียงกิจกรรม และรูปแบบของผลกระทบ แต่จะสร้างปัญหาออกมาแบบไร้รูปแบบ เพราะจะเป็นการลากเอาเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศไปไว้ในระบบงานของนักการเมืองที่กระสันอยากจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการน้ำ ไม่อยากจะเชื่อว่าผู้กุมอำนาจใน กบอ. เคยเป็นถึงอาจารย์พิเศษ ในสถาบันการศึกษา ที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ มาแล้ว ถ้าท่านคิดว่านี่เป็นคำตอบของปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำของไทย ขอให้ท่านคิดถึงวันที่มาสอนหนังสือนักศึกษา วันนั้นท่านคิดอะไร ท่านสอนคนเหล่านั้นว่าอะไร
กระทรวงน้ำหากคิดจะตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของใครบางคนแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 57 วรรคสอง โดยการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
กระทรวงน้ำ หากจะตั้งขึ้นมาก็เพียงเพื่อสนองตอบต่อความทะยานอยากที่ต้องการเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรกของใครบางคน คงไม่ใช่มีไว้สำหรับแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่มีไว้เพื่อเป็นกระทรวงพ่นน้ำลาย หรือกระทรวงปั้นน้ำเป็นตัวตามสไตล์ของผู้อยากเป็นรัฐมนตรีอย่างแน่นอน เพราะปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ไม่อาจแก้ได้ด้วยการตั้งกระทรวงเพื่อเพิ่มโควต้ารัฐมนตรีให้กับพรรคของตน เพราะการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีทั้งหลาย แต่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่มีอำนาจและมีความจริงใจในการแก้ปัญหาบ้านเมือง ซึ่งอาจเป็นแก่ระดับหัวหน้าหน่วยงาน เช่น ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี ส่วนตำแหน่งทางการเมืองอย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่สวมชุดเทวดาเป็นพญาเม็งรายชาตินี้หรือชาติไหนไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้เลย
ที่มา.สยามรัฐ
---------------------------------------------
แต่ดูเหมือนว่า การเกิดน้ำท่วม ความทุกข์ร้อนของชาวบ้าน กำลังเป็นการสร้างโอกาสให้กับนักการเมือง เพื่อที่จะใช้เป็นเหตุผลแบบมัดมือชก ในการผลักดันเมกกะโปรเจกต์ และใช้เงินจากภาษีของประชาชนอย่างสบายมือ โดยไร้การตรวจสอบ เงินกว่า 3.5 แสนล้าน มั่นช่างเป็นอะไรที่หอมหวนชวนอยากเร่งรีบใช้เสียเหลือเกิน กลางคืนก็นอนฝันเคลิ้มและหลงละเมอออกมาว่า "เมื่อไรจะได้เซ็นต์สัญญาซักที"
ก่อนหน้านี้งบกลาง 1.2 แสนล้านบาท ถูกนำมาใช้เป็นงบฉุกเฉิน หลังน้ำท่วมปี 2554 ใหม่ ๆ โดยใช้ข้ออ้างว่าเพื่อรีบเร่งในการชดเชย เยียวยา และป้องกันปัญหาน้ำท่วม ซึ่งข้อเท็จจริงพบว่า ถูกนำไปเยียวยาผู้ประสบภัยเพียง 37.51% นอกนั้นทั้งหมดถูกนำไปละลายเป็นการสร้างโครงสร้างพื้นฐานในการคมนาคม เสริมถนนหนทางถึง 22.49% สร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านน้ำ 21.26% นำไปซ่อมแซมฟื้นฟูสถานที่ราชการ 6.65% นำไปซ่อมแซมสถานที่ศึกษา การบริการทางการแพทย์ 5.27% นำไปซื้ออุปกรณ์เครื่องมือในการช่วยน้ำท่วม 4.08% นำไปซ่อมแซมศาสนสถาน โบราณสถาน สถานที่ท่องเที่ยว 2.33% และอื่น ๆ อีก 0.39%
โครงการ สิ่งก่อสร้างเหล่านั้นมีใครตรวจสอบหรือไม่ว่ามีประสิทธิภาพ ประสิทธิผล และดำเนินการตามขั้นตอนของกฎหมายแล้วหรือไม่ ผ่านการศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมแล้วหรือไม่ ผ่านการมีส่วนร่วมของประชาชนในแต่ละพื้นที่แล้วหรือไม่
ณ วันนี้ เราจึงเริ่มเห็นสิ่งก่อสร้างที่เป็นอุจาดทัศน์กันทั่วท้องถนนเกือบทุกสายในภาคกลาง และริมแม่น้ำ คือ "กำแพงกั้นน้ำริมแม่น้ำ ริมคลอง" และ "ผนังกั้นน้ำบนเกาะกลางถนน" ซึ่งมิได้ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนผู้มีส่วนได้เสียตามกฎหมายเลย ข้อมูลที่ภาครัฐพยายามกรอกหูโฆษณาชวนเชื่อต่อชาวบ้านคือ ถ้าสร้างแล้วน้ำจะไม่ท่วม
ทั้ง ๆ ที่ข้อเท็จจริงคือ กำแพงกั้นน้ำจะเป็นตัวกีดกันทางเดินของน้ำ จะทำให้น้ำถูกกั้นยกระดับให้สูงขึ้นเอ่อล้นไปในพื้นที่เหนือน้ำ โอกาสที่จะเกิดน้ำท่วมในพื้นที่ที่ไม่เคยถูกน้ำท่วมจะมีมากขึ้น ข้อมูลเหล่านี้ไม่มีใครบอกชาวบ้าน
หลังปี 2554 ทำให้รู้ว่าข้อมูลเกี่ยวกับน้ำเป็นสิ่งที่ถูกควบคุมและนำมาบิดเบือนอย่างบูรณาการ ด้วยกลุ่มคนที่มีเครือข่ายถึงกัน ทั้งข้าราชการ และนักการเมือง รวมไปถึงนายทุนใหญ่ด้านการเกษตร การบูรณาการข้อมูลนี้นำไปสู่การจัดการกับทรัพยากรน้ำแบบบูรณาการให้เกิดผลด้านลบกับประเทศ ซึ่งเป็นสิ่งที่นักเขียนและพัฒนาเมกกะโปรเจกต์ต้องการ
ยิ่งน้ำท่วมมากเท่าไร ก็ยิ่งบูรณาการผลักดันเมกกะโปรเจกต์ออกมาได้มากเท่านั้น โดยไม่สนใจเลยว่าโครงการเหล่านั้นเมื่อก่อสร้างเสร็จแล้วในอนาคต จะส่งผลกระทบอะไรตามมาหรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของรัฐบาลข้างหน้า แต่ ณ วันนี้ขอให้ข้าได้เซ็นต์สัญญาว่าจ้างก่อนเป็นพอ
น้ำท่วมกว่า 30 จังหวัดในปีนี้เป็นเรื่องผิดธรรมชาติ อีกตามเคย เพราะระบบสั่งการถูกรวบอำนาจมาไว้ที่ กบอ. พนักงานเจ้าหน้าที่ ที่มีหน้าที่เฝ้าดูแล บริหารประตูระบายน้ำต่าง ๆ ไม่กล้าแม้กระทั่งจะเปิดปิดประตูระบายน้ำ ให้น้ำเอ่อล้นขนาดไหนก็ตาม เพราะกลัวถูกชาวบ้านฟ้องร้อง หากเปิดไปแล้วไปทำให้เกิดน้ำท่วมในพื้นที่อื่น จึงต้องรอการสั่งการจากส่วนกลาง จาก กบอ. ทั้ง ๆ ที่ในอดีตปัญหาเหล่านี้ไม่เคยเกิด
บางพื้นที่รู้ทั้งรู้ว่าถ้าเร่งระบายน้ำจะไม่ก่อให้เกิดปัญหาน้ำท่วม แต่ก็มีความพยายามของใครบางคนที่ต้องการให้ทุกประตูน้ำปิดกั้นน้ำไว้ จนในที่สุดน้ำต้องมีทางไป จึงไปเอ่อล้นท่วมพื้นที่เกษตรกรรม และพื้นที่อยู่อาศัยของชาวบ้าน หลังจากนั้นก็ต่อสายส่งซิกให้แกนนำหัวคะแนนไปบอกกับชาวบ้านว่า เป็นเพราะเราไม่มีเขื่อน น้ำจึงท่วมบ้าน ท่วมไร่นาเรา ดังนั้นชาวบ้านต้องช่วยกันออกมาสนับสนุนการสร้างเขื่อน และด่าพวกนักวิชาการ พวกเอ็นจีโอที่ต่อต้านเขื่อน
ในที่สุดปีนี้น้ำก็เกิดท่วมอีกในหลาย ๆ พื้นที่ ทั้ง ๆ ที่ไม่ควรจะท่วม จึงไม่น่าแปลกใจ ที่กระแสการดันกระทรวงน้ำ กระแสให้เร่งรีบในการสร้างเขื่อน จะปรากฏออกมาในช่วงนี้ เพื่อใช้เป็นทางออกให้กับทางตัน ในการจัดการน้ำในวันนี้ เพื่อซื้อเวลา ต่อรองผลประโยชน์ สร้างภาพที่สับสนให้คนไทยทะเลาะกันเอง และยืมมือบริษัทต่างชาติมาเอี่ยวด้วย ทั้งจีน และเกาหลี
กระทรวงน้ำนี้เป็นการสะท้อนให้เห็นถึงความไม่เข้าใจในการทำงานระดับชาติ เรามีกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีกรมชลประทาน อยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องแยกออกมา แต่เพื่อการจัดการกับงบประมาณที่ต้องเบ็ดเสร็จ ครบวงจร ตรงนี้จำเป็นและเข้าใจได้ แต่ผลกระทบทั้งแบบสะสม แบบเฉียบพลันจากการทำงานที่ไร้รูปแบบ ไร้กึ๋น และไร้ประสบการณ์เช่นนี้ เราจะสูญเสียอะไรอีกมาก และนี่จะกลายเป็นต้นแบบในการอ้างการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม มาสู่การจับเอาคนไทยเป็นข้ออ้าง เพื่อกระทำ และละเว้นการกระทำ อะไรบางอย่างต่อไปหรือไม่
การตั้งกระทรวงน้ำครั้งนี้ อยู่ในรูปแบบการคิดเดิมๆ เปลี่ยนเพียงกิจกรรม และรูปแบบของผลกระทบ แต่จะสร้างปัญหาออกมาแบบไร้รูปแบบ เพราะจะเป็นการลากเอาเรื่องสำคัญ เกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศไปไว้ในระบบงานของนักการเมืองที่กระสันอยากจะมีอำนาจเบ็ดเสร็จในการบริหารจัดการน้ำ ไม่อยากจะเชื่อว่าผู้กุมอำนาจใน กบอ. เคยเป็นถึงอาจารย์พิเศษ ในสถาบันการศึกษา ที่มีการเรียนการสอนเกี่ยวกับการจัดการสิ่งแวดล้อม และทรัพยากรศาสตร์ มาแล้ว ถ้าท่านคิดว่านี่เป็นคำตอบของปัญหาการจัดการทรัพยากรน้ำของไทย ขอให้ท่านคิดถึงวันที่มาสอนหนังสือนักศึกษา วันนั้นท่านคิดอะไร ท่านสอนคนเหล่านั้นว่าอะไร
กระทรวงน้ำหากคิดจะตั้งขึ้นมาเพื่อตอบสนองความต้องการของใครบางคนแล้ว ก็ต้องดำเนินการให้เป็นไปตามขั้นตอนของกฎหมาย โดยเฉพาะการเปิดโอกาสให้ประชาชนหรือผู้มีส่วนได้เสียทั่วประเทศได้มีโอกาสเข้ามามีส่วนร่วม ตามรัฐธรรมนูญ 2550 มาตรา 57 วรรคสอง โดยการจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
กระทรวงน้ำ หากจะตั้งขึ้นมาก็เพียงเพื่อสนองตอบต่อความทะยานอยากที่ต้องการเป็นรัฐมนตรีว่าการคนแรกของใครบางคน คงไม่ใช่มีไว้สำหรับแก้ปัญหาน้ำท่วม แต่มีไว้เพื่อเป็นกระทรวงพ่นน้ำลาย หรือกระทรวงปั้นน้ำเป็นตัวตามสไตล์ของผู้อยากเป็นรัฐมนตรีอย่างแน่นอน เพราะปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ไม่อาจแก้ได้ด้วยการตั้งกระทรวงเพื่อเพิ่มโควต้ารัฐมนตรีให้กับพรรคของตน เพราะการแก้ปัญหาต่าง ๆ ไม่ใช่ขึ้นอยู่กับรัฐมนตรีทั้งหลาย แต่ขึ้นอยู่กับตัวบุคคลที่มีอำนาจและมีความจริงใจในการแก้ปัญหาบ้านเมือง ซึ่งอาจเป็นแก่ระดับหัวหน้าหน่วยงาน เช่น ปลัดกระทรวง หรืออธิบดี ส่วนตำแหน่งทางการเมืองอย่างรัฐมนตรีว่าการกระทรวงที่สวมชุดเทวดาเป็นพญาเม็งรายชาตินี้หรือชาติไหนไม่มีทางที่จะแก้ปัญหาน้ำท่วมได้เลย
ที่มา.สยามรัฐ
---------------------------------------------
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น