--- พฤษภกาสร อีกกุญชรอันปลดปลง โททนต์เสน่งคง สำคัญหมายในกายมี นรชาติวางวาย มลายสิ้นทั้งอินทรีย์ สถิตทั่วแต่ชั่วดี ประดับไว้ในโลกา ---

วันพฤหัสบดีที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ลาว.เสือเศรษฐกิจตัวใหม่ใน AEC

ย้อนหลังไปไม่เกิน 20 ปี นักลงทุนไทยหลายคนไปพลาด ท่าเสียทีในลาว ทำให้ภาพพจน์การลงทุนลาวของคนไทยไม่ดีเท่าที่ควร

แต่มาถึงวันนี้สถานการณ์ เปลี่ยนไป ลาวกำลังก้าวเข้าสู่การลงทุนยุคใหม่ เป็นยุคที่มีสถาบันการเงินจำนวนมากรองรับและมีสิทธิพิเศษทางการ ค้ามากมายเป็นตัวกระตุ้น

ผมสรุปแบบนี้โดยยึดเอาข้อมูลที่ได้จากการบอกเล่าของ ดร.อ๊อด พงสะหวัน ประธานคณะกรรมการบริหารกลุ่ม บริษัท พงสะหวัน กรุ๊ป ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจใหญ่ เป็นเจ้าของกิจการธนาคาร พาณิชย์เอกชนที่ใหญ่ที่สุดในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งสายการบินพงสะหวันที่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็นลาวเซ็นทรัลแอร์ไลนส์สายการบินต้นทุนต่ำรายแรกของลาว นอกจากนี้ พงสะหวันกรุ๊ปยังมีธุรกิจค้าไม้และก่อสร้างในมือด้วย

ดร.อ๊อด บอกว่า ทุกวันนี้ลาวมีสถาบันการ เงินอยู่ 28 แห่งและจะเพิ่มเป็น 50 แห่งภายใน 2 ปีข้างหน้า ซึ่งสรุปได้ว่า ขณะนี้ลาวมีแหล่งเงินที่จะให้การสนับสนุนการลงทุนอย่างเหลือเฟือเมื่อประกอบเข้ากับศักยภาพพื้นฐานด้านทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากมายและสิทธิพิเศษทางการค้าในฐานะของประเทศกำลังพัฒนา ทำให้ลาวกลายเป็นแม่เหล็กก้อนใหญ่ที่จะดึง ดูดนักลงทุนมากขึ้น

ส่วนภาพฝังใจในอดีตของนักลงทุนไทยนั้น ดร.อ๊อดบอกว่า ที่ผ่านมาเป็นเรื่องของคนไทยที่ไม่เข้าใจคนลาว มองการลงทุนในลาวว่าจะต้องอิงกับกลุ่มผู้มีอิทธิพล หลายรายเข้าไปลงทุนในฐานะของคนร่ำรวย คิดว่าผู้มีอิทธิพลจะสามารถให้การสนับสนุนในเรื่องการทำธุรกิจได้ เมื่อทำไม่ได้เงินลงทุนก็สูญทวงคืนไม่ได้

สำหรับเคล็ดลับการลงทุนในลาวนั้น ดร. อ๊อดแนะนำว่า หากคิดจะลงทุนในประเทศไหน เราต้องทำความเข้าใจกับคนในประเทศนั้นก่อนแล้วก็อย่าไปเจรจาธุรกิจกับผู้มีอิทธิพลควรเจรจา กับนักธุรกิจโดยตรง ที่สำคัญต้องอย่าอวดร่ำอวดรวยจนถูกหลอก

ช่วงหนึ่งของการพูดคุย ดร.อ๊อด เล่าให้ฟังถึงการแข่งขันของสถาบันการเงินในลาวว่า ก่อนหน้านี้ใครๆ ก็มองว่าประเทศลาวจน คนลาวคงไม่มีเงิน แต่ท่านสามารถระดมเงินฝากเข้าแบงก์ตอนก่อตั้งได้ 1,000 ล้านดอลลาร์ ภายในเวลาไม่ถึง 1 เดือน ซึ่งเป็นการพิสูจน์ให้เห็นว่า คนลาวที่มีฐานะดีและมีเงินยัง มีอยู่มาก เพียงแต่เงินฝากของคนลาวจะอยู่กับแบงก์ไทยตามจังหวัดชายแดน

ท่านเล่าว่า ตอนที่ท่านระดมเงินฝากนั้น แบงก์พาณิชย์ ไทยระดับแนวหน้าแถวชายแดน ถึงกับกระเทือนเลยทีเดียว

เพราะฉะนั้น การแข่งขันของธนาคารพาณิชย์ในลาวจึงไม่ใช่เรื่องระดมเงินฝาก หากแต่อยู่ในฟากของการปล่อยสินเชื่อ

และนี่คือเคล็ดลับ ที่ดร.อ๊อดไม่ได้บอก แต่ผมจับประเด็นมาฝากเพื่อให้นักลงทุนไทยได้รู้ว่า สถานการณ์ทางด้านสินเชื่อในลาวขณะนี้ เอื้อ ต่อการที่จะไปลงทุนเพราะแต่ละแบงก์ในลาวต่าง ก็ต้องแบกรับภาระการหารายได้เพื่อมาจ่ายเป็นดอกเบี้ยให้กับผู้ฝากเงิน

ตอนหนึ่งของการพูดคุยผมได้เรียนถาม ดร.อ๊อดว่า การเป็นประเทศที่ไม่มีชายฝั่งทะเลจะเป็นอุปสรรคต่อการลงทุนหรือไม่ ดร.อ๊อดตอบ อย่างมั่นใจว่า เรื่องนี้ไม่ใช่ปัญหา เพราะลาวมีทาง ออกทะเลอยู่แล้ว 2 ด้านคือ ไทยและเวียดนาม อีกไม่นานเมื่อท่าเรือทวายในพม่าเสร็จ ลาวก็จะมีทางออกทะเลสู่มหาสมุทรอินเดีย

ที่สำคัญ เมื่อก้าวสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โอกาสที่ลาวจะกลายเป็นศูนย์กลาง ทั้งธุรกิจการเงินและการลงทุนก็จะยิ่งสูงขึ้น

ยิ่งฟังท่านคาดคะเนผมยิ่งมองว่า ในอนาคต อันไม่ไกลนัก ลาวจะก้าวขึ้นทัดเทียมกับทุกชาติในอาเซียนได้ไม่ยาก

ผมมองอย่างนี้เพราะผมเห็นว่าลาวเหมือน กับผืนแผ่นดินใหม่ที่ยังไม่มีใครบุกเบิก เมื่อถึงครา ต้องบุกเบิกถากถางลงทุน ทุกอย่างจะก้าวล้ำนำสมัย แถมเป็นการลงทุนโดยเงินของคนอื่นด้วย

เมื่อถึงเวลานั้น พี่ใหญ่ทั้งหลายก็จะกลายเป็นคนอุ้ยอ้ายปล่อยให้น้องน้อยอย่างลาว แซงหน้า แซงเหมือนกับที่ทุกวันนี้การสื่อสาร ของลาวก้าวข้ามไปถึง 4จี ในขณะที่ไทยยังทน ใช้ 3จี บกพร่องนี่แหละ

ที่มา.สยามธุรกิจ
--------------------------------------

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น